พ.ต.อ.สังวรณ์ ภู่ไพจิตรกุล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ และกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูกโยกย้ายให้ไปช่วยราชการที่ จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวถึงกรณีที่นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนฯ ระบุว่า เหตุที่ พ.ต.อ.สังวรณ์ ถูกขอให้ไปช่วยราชการนอกพื้นที่ จังหวัดบุรีรัมย์ อาจเป็นเพราะมีกรณีถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมนายเปียง โสมวิเศษ ผู้ต้องหากระทำผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน ว่า นายสมชัยอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวว่า ขณะนั้นไม่ได้รับการประสานงานจากสถานีตำรวจภูธรอาจสามารถ ว่า นายเปียง เป็นผู้ต้องหาคดีอาญาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และไม่เคยรู้จักนายเปียง มาก่อน จนกระทั่งได้รับแจ้งเหตุทุจริตการเลือกตั้งที่ อำเภอพลับพลา จังหวัดบุรีรัมย์ จากนายเปียง ในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งนายเปียง นำชาวบ้าน อำเภอพลับพลา เข้าแจ้งต่อ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าได้รับเงินจากหัวคะแนนพรรคพลังประชาชน ให้ไปลงคะแนนเลือกตั้งให้ผู้สมัครพรรคพลังประชาชน จึงขอให้มีการสอบสวน
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่จับกุมนายเปียง ทั้งที่มีหมายจับจากศาลจังหวัดร้อยเอ็ด เชื่อว่าเป็นการพยายามทำลายน้ำหนักพยานในคดีซื้อเสียงที่ตนดำเนินคดีอยู่ และมีนายเปียงเป็นพยาน
นอกจากนี้ นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต 2 จังหวัดบุรีรัมย์ น้องชายของ พ.ต.อ.วรกร ทิมาตฤกะ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวน 4 ของ กกต.กลาง คงกลัวว่าตัวเองจะสอบตก จึงร้องว่าตนเอาพยานซึ่งเป็นคนที่มีหมายจับมาเป็นพยานคดีเอาผิดพรรคพลังประชาชนที่ซื้อเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่เขาพยายามทำลายน้ำหนักพยาน แต่ตนมีหลักฐานว่าได้ชี้แจงไปยัง ป.ป.ช. แล้วว่า ขณะดำเนินการให้นายเปียงเป็นพยาน ไม่ได้รับแจ้งจากสถานีตำรวจภูธรอาจสามารถ ว่า นายเปียงเป็นผู้ต้องหามีหมายจับ เมื่อไม่เคยได้รับการประสานมาก่อน จึงไม่มีฐานข้อมูลในขณะนั้น
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวแสดงความมั่นใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองแน่นอน เพราะหลังจากได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่จังหวัดศรีสะเกษแล้ว มีคำสั่งให้นายตำรวจที่สนิทกับนักการเมืองในพื้นที่ไปรับตำแหน่งแทน
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวว่า ขณะนั้นไม่ได้รับการประสานงานจากสถานีตำรวจภูธรอาจสามารถ ว่า นายเปียง เป็นผู้ต้องหาคดีอาญาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และไม่เคยรู้จักนายเปียง มาก่อน จนกระทั่งได้รับแจ้งเหตุทุจริตการเลือกตั้งที่ อำเภอพลับพลา จังหวัดบุรีรัมย์ จากนายเปียง ในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งนายเปียง นำชาวบ้าน อำเภอพลับพลา เข้าแจ้งต่อ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าได้รับเงินจากหัวคะแนนพรรคพลังประชาชน ให้ไปลงคะแนนเลือกตั้งให้ผู้สมัครพรรคพลังประชาชน จึงขอให้มีการสอบสวน
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่จับกุมนายเปียง ทั้งที่มีหมายจับจากศาลจังหวัดร้อยเอ็ด เชื่อว่าเป็นการพยายามทำลายน้ำหนักพยานในคดีซื้อเสียงที่ตนดำเนินคดีอยู่ และมีนายเปียงเป็นพยาน
นอกจากนี้ นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.เขต 2 จังหวัดบุรีรัมย์ น้องชายของ พ.ต.อ.วรกร ทิมาตฤกะ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวน 4 ของ กกต.กลาง คงกลัวว่าตัวเองจะสอบตก จึงร้องว่าตนเอาพยานซึ่งเป็นคนที่มีหมายจับมาเป็นพยานคดีเอาผิดพรรคพลังประชาชนที่ซื้อเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่เขาพยายามทำลายน้ำหนักพยาน แต่ตนมีหลักฐานว่าได้ชี้แจงไปยัง ป.ป.ช. แล้วว่า ขณะดำเนินการให้นายเปียงเป็นพยาน ไม่ได้รับแจ้งจากสถานีตำรวจภูธรอาจสามารถ ว่า นายเปียงเป็นผู้ต้องหามีหมายจับ เมื่อไม่เคยได้รับการประสานมาก่อน จึงไม่มีฐานข้อมูลในขณะนั้น
พ.ต.อ.สังวรณ์ กล่าวแสดงความมั่นใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองแน่นอน เพราะหลังจากได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่จังหวัดศรีสะเกษแล้ว มีคำสั่งให้นายตำรวจที่สนิทกับนักการเมืองในพื้นที่ไปรับตำแหน่งแทน