xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “ปูผี” หรือ “ปูลม” เจ้าหน้าที่เทศบาลประจำชายหาด ผู้ที่วิ่งเร็วมากถึง 4 เมตร/วินาที

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
เฟซบุ๊กเพจอุทยานแห่งชาติเขาหลัก - ลำรู่ จ.พังงา เผยภาพ “ปูผี” หรือ “ปูลม" ที่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่เทศบาลประจำชายหาด คอยทำความสะอาดโดยการเก็บเศษปลา เศษหอย และวัชพืชที่ลอยมาเกยตื้นบนชายหาด ปูลมจึงเป็นผู้รักษาสมดุลธรรมชาติ และระบบนิเวศบริเวณชายหาด

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
คำว่า "ปูลม" ในภาษาไทยได้มาจากลักษณะการวิ่งของปูที่เร็วมาก ส่วนในภาษาอังกฤษ เรียกว่า “ปูผี” (Ghost Crab) มาจากสีซีดๆ ของปู และออกหากินเวลากลางคืน

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
“ปูลม” เป็นปูน้ำเค็มขนาดเล็กในสกุล Ocypode ปูลมมีก้านตาที่ยาว สามารถหุบพับลงตามแนวนอน โยกไปข้างหน้าและหลังก็ได้ ปูลมสามารถมองเห็นวัตถุ เช่น มนุษย์ ได้ไกลอย่างน้อย 45 เมตรจึงทำให้ไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าใกล้มันได้เลย ก้ามของปูยาวไม่เท่ากัน ก้ามใหญ่อาจจะอยู่ทางด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ หากสังเกตที่กระดองของปูลมจะพบสัญลักษณ์คล้ายวงเล็บ

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
ปูลมเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ภายในกระดองของปูแบ่งออกเป็นช่อง ซึ่งแต่ละช่องบรรจุอวัยวะช่วยหายใจ ทำหน้าที่คล้ายปอดของคนเราในการดึงออกซิเจนเข้ามาในขณะที่ปล่อยของเสีย (คาร์บอนไดออกไซด์) ผ่านเหงือกที่เปียก ซึ่งสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ปูลมสามารถปรับตัวอยู่บนบกได้

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
ปูลมเป็นนักวิ่งที่เร็วมาก สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 4 เมตรต่อวินาที ปูลมมีขาเดินทั้งหมด 4 คู่ ปูลมจะวิ่งหรือเดินทางด้านข้าง เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูง ปูลมจะใช้ขาคู่ที่ 1 และคู่ที่ 4 วิ่งเท่านั้น และยิ่งตกใจมากเท่าไหร่ก็จะวิ่งเร็วมากเท่านั้น

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
ปูลมจะผสมพันธุ์โดยอาศัยอิทธิพลของดวงจันทร์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะอยู่ในหลุมสักพักรอให้ไข่ได้รับการพัฒนา และเมื่อน้ำขึ้นสูงตัวเมียจะออกจากหลุม และเมื่อน้ำซัดเข้าหาตัวก็จะยกตัวขึ้น-ลงแรงๆ เพื่อสะบัดไข่ให้ลอยออกไปในทะเล
ปูลมนั้นอยู่ระหว่างผู้ล่าและผู้บริโภค แต่เราอาจถือได้ว่าปูลมอยู่บนสุดของผู้ล่าตามแนวชายหาด อาหารของปูลมก็ได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ขุดรูตื้นๆ อยู่ตามแนวชายหาด ได้แก่ พวกไอโซพอด หอย และไส้เดือน บางทีก็กินไข่เต่าทะเลที่ถูกฝังอยู่บริเวณนั้นด้วย

เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui
นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่าเมื่อไข่เต่าฟักเป็นตัว ปูลมก็จับลูกเต่าที่เพิ่งจะออกจากเปลือกไข่และกำลังเดินลงสู่ทะเลอีกด้วย ศัตรูของปูลมได้แก่ นกที่หากินตามแนวชายฝั่ง

เครดิตภาพ Sarawut Plongnui
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ Khaolak-Lamru National Park


เครดิตภาพ  Sarawut Plongnui


#########################################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น