Youtube :Travel MGR
จากข่าวดังสะเทือนใจนักประวัติศาสตร์-โบราณคดีไทย เมื่อกรมศิลปากรได้ออกประกาศลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2562 เรื่องแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน "ภาพเขียนสีเขายะลา" ตำบลลิดล-ตำบลยะลา อ.เมือง จ.ยะลา โดยให้มีการปรับลดพื้นที่เขายะลา ประมาณ 190 ไร่ จึงทำให้เหลือพื้นที่ 697 ไร่ 35 ตารางวา
ในประกาศระบุว่า ขณะนี้พื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งหินอุตสาหกรรม และจากสาเหตุแหล่งหินอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง จึงทำให้จำเป็นต้องใช้แหล่งหินอุตสาหกรรมจากเขายะลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานภาพเขียนสี และเพื่อเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนแหล่งหินอุตสาหกรรม และลดปัญหาการเกิดเหตุของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 อธิบดีกรมศิลปากร จึงประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ตามประกาศ
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเศร้าหนักขึ้นไปอีกเมื่อพบว่าภาพเขียนสีบางกลุ่มภาพที่มีขนาดกว่า 3 เมตร ได้พังทลายและเสียหายจากการระเบิดหินในการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองหินไปเสียอีก
แม้ทางกรมศิลปากรจะออกมาชี้แจงว่าการประกาศนี้ไม่ใช่การเพิกถอนจากการเป็นแหล่งโบราณคดี แต่เป็นการประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานโดยรอบภาพเขียนสีเขายะลา ส่วนการพังทลายดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2551 จากรอยเลื่อน และการกัดเซาะของน้ำใต้ดิน ทำให้รอยแตกขยายกว้างขึ้น ประกอบกับบริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นโพรง รวมถึงการทำเหมืองในอดีตด้วยวิธีแบบโบราณที่มีมาก่อนการให้ประทานบัตร ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมการพังทลาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับสัมปทานเหมืองหินที่อยู่โดยรอบแต่อย่างใด แต่กระแสข่าวดังกล่าวก็ยังทำให้หลายคนรู้สึกว่า น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ในการดูแลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญยิ่งของไทย
สำหรับ “ภาพเขียนสีเขายะลา” นั้น ถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งของ จ.ยะลา แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก หลายคนเพิ่งทราบว่ามีแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ก็เมื่อมีข่าวการแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานนี่เอง เราจึงขอรวบรวมข้อมูล ลักษณะ และความสำคัญของภาพเขียนสีเหล่านี้มาให้ทราบกันโดยทั่วไป
ข้อมูลจากฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระบุว่า “เขายะลา” เป็นภูเขาหินปูน ทอดตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดยะลา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 80-270 เมตร ยาวประมาณ 2.7 กิโลเมตร กว้างที่สุดทางตอนใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร จากการสำรวจของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา และ หจก.คูน้ำคันดิน พบถ้ำและเพิงผาบนเขายะลาหลายแห่ง ตั้งแต่ส่วนตอนล่างของเขาไปจนส่วนยอดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบในลักษณะหุบเขา ปัจจุบันพื้นที่เขายะลาทางด้านทิศเหนือและตะวันออกบางส่วนถูกระเบิดทำลายจากการทำเหมืองหินปูน
กรมศิลปากรได้สำรวจและศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่เขายะลาถึง 6 ครั้งด้วยกันตั้งแต่ พ.ศ.2541-2553 โดยในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2541 นั้น สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา สำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เขายะลาเป็นครั้งแรก เนื่องจากจะมีการทำเหมืองหินปูนที่เขายะลา และศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ ได้เขียนบทความ “แหล่งโบราณคดีภูเขายะลา” เพื่อนำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการสำรวจเขายะลา
การสำรวจนั้นได้พบถ้ำและเพิงผาบนเขายะลาหลายแห่ง และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สัมพันธ์กับการพำนักอาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และภาพเขียนสี โดยภาพเขียนสีนั้นพบใน 4 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่
1. แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาตอแล (ตอลัง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขายะลา ลักษณะของภาพเขียนสีเป็นภาพเขียนสีแดง เป็นภาพมือทาบและภาพสัญลักษณ์ เขียนด้วยเทคนิคการลงสี (Pictograph) ด้วยสีแดง สันนิษฐานว่าเขียนด้วยดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) ทั้งสิ้น 13 ภาพ ประกอบด้วยภาพมือทาบด้วยมือซ้าย กลุ่มภาพเส้นตรง กลุ่มภาพเส้นตรงสลับจุดปะ ภาพคล้ายบันได และมี 2 ภาพ ที่ไม่สามารถระบุได้
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีกลุ่มคนขนาดเล็กเข้ามาอาศัยพักพิงชั่วคราวที่เขายะลาแห่งนี้และสร้างสรรค์ภาพเขียนสีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยภาพเขียนสีอาจเป็นสัญลักษณ์แทนกลุ่มคนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณนี้ และอาจจะรู้จักการใช้ระบบตัวเลขหรือการนับกับระบบปฏิทินหรือการนับวันที่ เห็นได้จากภาพลายขีดเส้นขนานหรือลายบันได เพื่อวัตถุประสงค์บางประการที่ไม่อาจทราบได้แน่ชัด และกลุ่มคนเหล่านี้อาจมีพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการใช้มือซ้าย และพิธีกรรมอุดมสมบูรณ์ เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจสำหรับการผลิตอาหาร
2. แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาและโพรงหินด้านทิศใต้ของเขายะลา ลักษณะภาพเขียนสีเป็นการเขียนลงบนผนังหินด้วยสีดำแบบทึบ แสดงภาพกลุ่มคนและสัตว์ (ช้าง) อยู่ปะปนกัน เชื่อว่ารูปส่วนใหญ่น่าจะเป็นภาพเขียนในสมัยปัจจุบันที่เขียนทับลงบนภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์
ภาพเขียนสีดำเป็นภาพกลุ่มคน คนติดอาวุธ โขลงช้าง และช้างติดสัปคับ เป็นการเขียนด้วยการลงสีดำ (Black Pictograph) อาจเขียนจากวัตถุดิบ เช่น ดินดำ (Black soil) ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่พบได้ทั่วไปบนภูเขา หรือผงฝุ่นถ่าน หรือเขม่าไฟ
กำหนดอายุภาพเขียนสีกลุ่มนี้อย่างคร่าวๆ ได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และอาจมีการเขียนทับซ้อนอีกครั้งในภายหลังช่วงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น โดยน่าจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางหรือการอพยพเคลื่อนย้ายที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาพเขียนสีที่ถ้ำไวกิ้งหรือถ้ำพญานาค เกาะพีพีเล จ.กระบี่
3. ภาพเขียนสีบริเวณเพิงหินช่องทางเดินตอนใต้ของเขายะลา พบเป็นภาพเดี่ยวบริเวณเพิงผาด้านทิศใต้ เขียนแบบลงสี (Pictograph) จากดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) เป็นแบบกิ่งไม้ (Stick man) ศีรษะเป็นภาพครึ่งวงกลมมีเส้นตรงยื่นออกมาจากปาก สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพคนเป่าไม้ซาง หรือเป่าลูกดอก
จากการศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับภาพเขียนสีรูปคนเป่าไม้ซางที่แหล่งโบราณคดีถ้ำศิลป์ จ.ยะลา และแหล่งภาพเขียนสีถ้ำทากุต (Tagut Cave) กัวราเบอริง รัฐกลันตัง ประเทศมาเลเซีย
4. ภาพเขียนสีบริเวณด้านทิศใต้ของเขายะลา ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยชั่วคราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณหุบเขาและโพรงถ้ำด้านตะวันตกของเขายะลา และบริเวณหน้าเพิงผาภาพเขียนสีด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขายะลา
และนอกจากภาพเขียนสีล้ำค่านี้แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์กระดูกสัตว์ (เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากที่สุด) เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบ เครื่องมือหินกะเทาะ โกลนขวานหิน ขวานหินไม่มีบ่า เป็นต้น
ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่ใช่ของที่จะเจอกันได้ง่ายๆ แถมยังอยู่รอดปลอดภัยมาเป็นพันๆ ปีให้เราได้ศึกษากัน จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางออกในการอนุรักษ์และดูแลให้เหมาะสมและเข้มงวดมากกว่านี้ มิใช่ทำให้เกิดข้อครหาว่าเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการเหมืองหินขยายขอบเขตการทำเหมืองหินเข้ามาประชิดแหล่งภาพเขียนสีโบราณมากขึ้น เสี่ยงสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญเหล่านี้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
จากข่าวดังสะเทือนใจนักประวัติศาสตร์-โบราณคดีไทย เมื่อกรมศิลปากรได้ออกประกาศลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2562 เรื่องแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน "ภาพเขียนสีเขายะลา" ตำบลลิดล-ตำบลยะลา อ.เมือง จ.ยะลา โดยให้มีการปรับลดพื้นที่เขายะลา ประมาณ 190 ไร่ จึงทำให้เหลือพื้นที่ 697 ไร่ 35 ตารางวา
ในประกาศระบุว่า ขณะนี้พื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งหินอุตสาหกรรม และจากสาเหตุแหล่งหินอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง จึงทำให้จำเป็นต้องใช้แหล่งหินอุตสาหกรรมจากเขายะลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานภาพเขียนสี และเพื่อเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนแหล่งหินอุตสาหกรรม และลดปัญหาการเกิดเหตุของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 อธิบดีกรมศิลปากร จึงประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ตามประกาศ
ไม่เพียงเท่านั้น ยังเศร้าหนักขึ้นไปอีกเมื่อพบว่าภาพเขียนสีบางกลุ่มภาพที่มีขนาดกว่า 3 เมตร ได้พังทลายและเสียหายจากการระเบิดหินในการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองหินไปเสียอีก
แม้ทางกรมศิลปากรจะออกมาชี้แจงว่าการประกาศนี้ไม่ใช่การเพิกถอนจากการเป็นแหล่งโบราณคดี แต่เป็นการประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานโดยรอบภาพเขียนสีเขายะลา ส่วนการพังทลายดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2551 จากรอยเลื่อน และการกัดเซาะของน้ำใต้ดิน ทำให้รอยแตกขยายกว้างขึ้น ประกอบกับบริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นโพรง รวมถึงการทำเหมืองในอดีตด้วยวิธีแบบโบราณที่มีมาก่อนการให้ประทานบัตร ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมการพังทลาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับสัมปทานเหมืองหินที่อยู่โดยรอบแต่อย่างใด แต่กระแสข่าวดังกล่าวก็ยังทำให้หลายคนรู้สึกว่า น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้ในการดูแลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญยิ่งของไทย
สำหรับ “ภาพเขียนสีเขายะลา” นั้น ถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งของ จ.ยะลา แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก หลายคนเพิ่งทราบว่ามีแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ก็เมื่อมีข่าวการแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานนี่เอง เราจึงขอรวบรวมข้อมูล ลักษณะ และความสำคัญของภาพเขียนสีเหล่านี้มาให้ทราบกันโดยทั่วไป
ข้อมูลจากฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระบุว่า “เขายะลา” เป็นภูเขาหินปูน ทอดตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดยะลา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 80-270 เมตร ยาวประมาณ 2.7 กิโลเมตร กว้างที่สุดทางตอนใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร จากการสำรวจของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา และ หจก.คูน้ำคันดิน พบถ้ำและเพิงผาบนเขายะลาหลายแห่ง ตั้งแต่ส่วนตอนล่างของเขาไปจนส่วนยอดที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบในลักษณะหุบเขา ปัจจุบันพื้นที่เขายะลาทางด้านทิศเหนือและตะวันออกบางส่วนถูกระเบิดทำลายจากการทำเหมืองหินปูน
กรมศิลปากรได้สำรวจและศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่เขายะลาถึง 6 ครั้งด้วยกันตั้งแต่ พ.ศ.2541-2553 โดยในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2541 นั้น สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา สำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เขายะลาเป็นครั้งแรก เนื่องจากจะมีการทำเหมืองหินปูนที่เขายะลา และศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ ได้เขียนบทความ “แหล่งโบราณคดีภูเขายะลา” เพื่อนำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการสำรวจเขายะลา
การสำรวจนั้นได้พบถ้ำและเพิงผาบนเขายะลาหลายแห่ง และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สัมพันธ์กับการพำนักอาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และภาพเขียนสี โดยภาพเขียนสีนั้นพบใน 4 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่
1. แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาตอแล (ตอลัง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขายะลา ลักษณะของภาพเขียนสีเป็นภาพเขียนสีแดง เป็นภาพมือทาบและภาพสัญลักษณ์ เขียนด้วยเทคนิคการลงสี (Pictograph) ด้วยสีแดง สันนิษฐานว่าเขียนด้วยดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) ทั้งสิ้น 13 ภาพ ประกอบด้วยภาพมือทาบด้วยมือซ้าย กลุ่มภาพเส้นตรง กลุ่มภาพเส้นตรงสลับจุดปะ ภาพคล้ายบันได และมี 2 ภาพ ที่ไม่สามารถระบุได้
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีกลุ่มคนขนาดเล็กเข้ามาอาศัยพักพิงชั่วคราวที่เขายะลาแห่งนี้และสร้างสรรค์ภาพเขียนสีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยภาพเขียนสีอาจเป็นสัญลักษณ์แทนกลุ่มคนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณนี้ และอาจจะรู้จักการใช้ระบบตัวเลขหรือการนับกับระบบปฏิทินหรือการนับวันที่ เห็นได้จากภาพลายขีดเส้นขนานหรือลายบันได เพื่อวัตถุประสงค์บางประการที่ไม่อาจทราบได้แน่ชัด และกลุ่มคนเหล่านี้อาจมีพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการใช้มือซ้าย และพิธีกรรมอุดมสมบูรณ์ เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจสำหรับการผลิตอาหาร
2. แหล่งภาพเขียนสีบริเวณเพิงผาและโพรงหินด้านทิศใต้ของเขายะลา ลักษณะภาพเขียนสีเป็นการเขียนลงบนผนังหินด้วยสีดำแบบทึบ แสดงภาพกลุ่มคนและสัตว์ (ช้าง) อยู่ปะปนกัน เชื่อว่ารูปส่วนใหญ่น่าจะเป็นภาพเขียนในสมัยปัจจุบันที่เขียนทับลงบนภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์
ภาพเขียนสีดำเป็นภาพกลุ่มคน คนติดอาวุธ โขลงช้าง และช้างติดสัปคับ เป็นการเขียนด้วยการลงสีดำ (Black Pictograph) อาจเขียนจากวัตถุดิบ เช่น ดินดำ (Black soil) ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่พบได้ทั่วไปบนภูเขา หรือผงฝุ่นถ่าน หรือเขม่าไฟ
กำหนดอายุภาพเขียนสีกลุ่มนี้อย่างคร่าวๆ ได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และอาจมีการเขียนทับซ้อนอีกครั้งในภายหลังช่วงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น โดยน่าจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางหรือการอพยพเคลื่อนย้ายที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับภาพเขียนสีที่ถ้ำไวกิ้งหรือถ้ำพญานาค เกาะพีพีเล จ.กระบี่
3. ภาพเขียนสีบริเวณเพิงหินช่องทางเดินตอนใต้ของเขายะลา พบเป็นภาพเดี่ยวบริเวณเพิงผาด้านทิศใต้ เขียนแบบลงสี (Pictograph) จากดินสีแดงหรือแร่เฮมาไทต์ (Hematite) เป็นแบบกิ่งไม้ (Stick man) ศีรษะเป็นภาพครึ่งวงกลมมีเส้นตรงยื่นออกมาจากปาก สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพคนเป่าไม้ซาง หรือเป่าลูกดอก
จากการศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับภาพเขียนสีรูปคนเป่าไม้ซางที่แหล่งโบราณคดีถ้ำศิลป์ จ.ยะลา และแหล่งภาพเขียนสีถ้ำทากุต (Tagut Cave) กัวราเบอริง รัฐกลันตัง ประเทศมาเลเซีย
4. ภาพเขียนสีบริเวณด้านทิศใต้ของเขายะลา ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยชั่วคราวยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณหุบเขาและโพรงถ้ำด้านตะวันตกของเขายะลา และบริเวณหน้าเพิงผาภาพเขียนสีด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเขายะลา
และนอกจากภาพเขียนสีล้ำค่านี้แล้ว ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์กระดูกสัตว์ (เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากที่สุด) เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบ เครื่องมือหินกะเทาะ โกลนขวานหิน ขวานหินไม่มีบ่า เป็นต้น
ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ไม่ใช่ของที่จะเจอกันได้ง่ายๆ แถมยังอยู่รอดปลอดภัยมาเป็นพันๆ ปีให้เราได้ศึกษากัน จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางออกในการอนุรักษ์และดูแลให้เหมาะสมและเข้มงวดมากกว่านี้ มิใช่ทำให้เกิดข้อครหาว่าเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการเหมืองหินขยายขอบเขตการทำเหมืองหินเข้ามาประชิดแหล่งภาพเขียนสีโบราณมากขึ้น เสี่ยงสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญเหล่านี้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR