โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
อช.ภูกระดึง ประกาศแจ้งปิดการท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 63 ระบุพิษไฟป่า ภัยแล้ง ทำให้ต้องเลื่อนปิดป่าเร็วขึ้น 2 เดือน แต่ยกเว้นวันที่ 18-19 เม.ย. 63 ที่เปิดให้ผู้สนใจขึ้นเพื่อสรงน้ำองค์พระพุทธเมตตาเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ตามประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
เพจ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง - Phu Kradueng National Park ประกาศแจ้งปิดการท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึง ในฤดูกาล 62-63 ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 63 อันเนื่องมาจากผลกระทบของไฟป่าและภัยแล้ง ดังนี้
เนื่องจากการเกิดไฟป่าบริเวณยอดภูกระดึง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าสนเขาเป็นพื้นที่กว้าง สภาพอากาศแห้งแล้งความชื้นมีน้อย และปริมาณน้ำฝนในช่วงที่ผ่านมามีน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพื่อใช้รองรับและบริการนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบ และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรและการท่องเที่ยว จึงมีความประสงค์ขอปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บริเวณยอดภูกระดึง (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง) ก่อนกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน 2563 ทั้งนี้ ยกเว้นวันที่ 18-19 เมษายน 2563 เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในการสรงน้ำองค์พระพุทธเมตตา
สำหรับปีนี้ (2563) ภูกระดึงประสบกับปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ในช่วงค่ำของวันที่ 16 ก.พ. 63 ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ด้านล่างแล้วเชื้อไฟปลิวกระจายขึ้นสู่ยอดภูกระดึง ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะช่วยกันดับไฟป่าอย่างเหน็ดเหนื่อยจนสถานการณ์คลี่คลาย
โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายจงคล้าย วรพงศธร นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล และนายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ และคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดทส. เยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ทั้งนี้คณะผู้บริหาร ทส.ได้เดินเท้าเพื่อสำรวจพื้นที่และสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวบริเวณผานกแอ่น และมอบขยะแก่นักท่องเที่ยว คนละ 1 กิโลกรัม เพื่อนำกลับลงไปทิ้งด้านล่าง ตามนโยบายโครงการขยะคืนถิ่นของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง และยังมอบถุงผ้าแก่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้าบนภูกระดึงเพื่อรณรงค์ลดการใช้พลาสติกแบบหูหิ้ว
นอกจากนี้ คณะผู้บริหาร ทส. ยังได้ร่วมกันทำแนวป้องกันไฟป่าบริเวณหลังองค์พระพุทธเมตตา โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้ให้กำลังใยแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและดับไฟป่าจากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าบนภูกระดึงที่ผ่านมา
นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า วันนี้เราต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่อยู่บนภูกระดึงทุก ๆ คน เพราะว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าหากไม่ได้พวกเขาเหล่านี้ สถานการณ์ไฟป่าบนภูกระดึงคงจะไม่สามารถควบคุมได้เช่นนี้ ด้วยความมักง่าย ด้วยความคิดไม่รอบคอบของคนบางคน ทำให้พื้นที่กว่า 10% บนอุทยานแห่งชาติภูกระดึงแห่งนี้หายไป โชคยังดี จากการสำรวจเมื่อวานนี้เห็นได้ว่า สภาพต้นสนหรือต้นไม้ทั้งหลาย เริ่มแตกหน่อ เริ่มเจริญเติบโตกันใหม่
ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า พื้นที่ที่มีการไหม้ไปแล้วนั้น ประมาณ 80% สามารถที่จะฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องรอให้ถึงฤดูฝนก่อน ต้องมีปริมาณน้ำมา เพราะตอนนี้หนึ่งในปัญหาสำคัญของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงก็คือ ปัญหาภัยแล้ง ไม่ต่างจากหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย ปริมาณน้ำบนภูกระดึงในปีนี้ไม่เยอะเหมือนปีก่อนๆ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมปีนี้ อุทยานแห่งชาติภูกระดึงต้องปิดเร็วขึ้นอีก 2 เดือน จากนี้ไป เราปิด 6 เดือน เพื่อให้สภาพภูมิประเทศแถวนี้ สามารถฟื้นฟูตัวเองได้
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันสามารถควบคุมไฟป่าบนยอดภูกระดึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว สรุปมีพื้นที่เสียหายรวม 3,400 ไร่ แบ่งเป็นจุดที่เสียหายมาก 2-3 โซน โดยจุดที่เสียหายมากที่สุดอยู่บริเวณป่าสนสามใบแถวผานาน้อยประมาณ 1,400 ไร่และบริเวณหลังแป-หมากดูก ถือเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าสนเสียหายหนักในรอบ 7 ปี คาดว่าหลังเจอฝนแรกตกลงมาประมาณช่วงเดือน มี.ค. จะช่วยให้ผืนป่าภูกระดึงฟื้นฟูได้เร็วขึ้นและมีโอกาสรอดร้อยละ 80
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตตลอดกาลของเมืองไทยไปแล้ว มียอดภูกระดึงตั้งอยู่บนความสูง 1,288 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าขึ้นไปบนยอดเขาสูงในระยะทางประมาณ 7 กม. ผ่านซำต่าง ๆ อาทิ ซำแฮ่ก ซำแคร่ ไปจนถึง “หลังแป” หรือยอดภูกระดึง
ยอดภูกระดึง มีลักษณะเป็นหน้าผาตัดกว้างใหญ่ลักษณะรูปหัวใจ แต่หลายคนก็ยอมลำบากเดินขึ้นไปเพื่อถ่ายรูปเคียงคู่กับป้าย “ครั้งหนึ่งในชีวิต เราคือผู้พิชิตภูกระดึง” เป็นที่ระลึกบริเวณหลังแป อีกทั้งยังเพื่อไปสัมผัสกับอากาศหนาวและความงดงามของทิวทัศน์ด้านบน
เมื่อขึ้นไปถึงยอดภูแล้ว ก็พลาดไม่ได้ที่จะไปชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าตรู่ ที่ “ผานกแอ่น” ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับลานกางเต็นท์ และชมพระอาทิตย์ตกดินในยามพลบค่ำ
นอกจากนี้ก็ยังมีจุดไฮไลท์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูกระดึงก็คือ “ผาหล่มสัก” ซึ่งถือได้ว่าเป็นผาที่มีคนไปรอชมมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ด้วยองค์ประกอบของความงามยามอาทิตย์อัสดงที่ลงตัว ทั้งต้นสนเดียวดายที่มีกิ่งยื่นออกไปรับกับชะง่อนหินที่ยื่นไปยังหน้าผา
นอกจากนี้บนยอดภูกระดึงยังมีเส้นทางสายน้ำตกอันชุ่มฉ่ำ ที่มีน้ำตกน่าสนใจ อาทิ อาทิ น้ำตกโผนพบ น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกถ้ำสอเหนือ ฯลฯ เป็นต้น
ทุก ๆ ปี ในสถานการณ์ปกติ อุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงเป็นเวลา 8 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ให้นักท่องเที่ยวเดินเท้าขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึง พร้อมท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง และจะปิดภูกระดึงเพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นเป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน เพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นตัว
อย่างไรก็ดีสำหรับฤดูกาลท่องเที่ยว 2562-2563 ภูกระดึงประสบกับปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ และวิกฤติภัยแล้ง ทำให้อุทยานแห่งชาติภูกระดึงต้องเลื่อนเวลาการปิดการท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึงเร็วขึ้นมาอีก 2 เดือน เป็นวันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน เพื่อให้ธรรมชาติบนภูกระดึงได้มีเวลาฟื้นฟูยาวนานขึ้นเป็นเวลา 6 เดือน
***************************************************
“ภูกระดึง” ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย โทร. 0-4281-0833 จองบ้านพัก โทร. 0-4281-0834
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
อช.ภูกระดึง ประกาศแจ้งปิดการท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 63 ระบุพิษไฟป่า ภัยแล้ง ทำให้ต้องเลื่อนปิดป่าเร็วขึ้น 2 เดือน แต่ยกเว้นวันที่ 18-19 เม.ย. 63 ที่เปิดให้ผู้สนใจขึ้นเพื่อสรงน้ำองค์พระพุทธเมตตาเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ตามประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
เพจ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง - Phu Kradueng National Park ประกาศแจ้งปิดการท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึง ในฤดูกาล 62-63 ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 63 อันเนื่องมาจากผลกระทบของไฟป่าและภัยแล้ง ดังนี้
เนื่องจากการเกิดไฟป่าบริเวณยอดภูกระดึง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าสนเขาเป็นพื้นที่กว้าง สภาพอากาศแห้งแล้งความชื้นมีน้อย และปริมาณน้ำฝนในช่วงที่ผ่านมามีน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำกักเก็บเพื่อใช้รองรับและบริการนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบ และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรและการท่องเที่ยว จึงมีความประสงค์ขอปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บริเวณยอดภูกระดึง (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง) ก่อนกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน 2563 ทั้งนี้ ยกเว้นวันที่ 18-19 เมษายน 2563 เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในการสรงน้ำองค์พระพุทธเมตตา
สำหรับปีนี้ (2563) ภูกระดึงประสบกับปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ในช่วงค่ำของวันที่ 16 ก.พ. 63 ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ด้านล่างแล้วเชื้อไฟปลิวกระจายขึ้นสู่ยอดภูกระดึง ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะช่วยกันดับไฟป่าอย่างเหน็ดเหนื่อยจนสถานการณ์คลี่คลาย
โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายจงคล้าย วรพงศธร นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล และนายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานฯ และคณะผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดทส. เยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ทั้งนี้คณะผู้บริหาร ทส.ได้เดินเท้าเพื่อสำรวจพื้นที่และสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวบริเวณผานกแอ่น และมอบขยะแก่นักท่องเที่ยว คนละ 1 กิโลกรัม เพื่อนำกลับลงไปทิ้งด้านล่าง ตามนโยบายโครงการขยะคืนถิ่นของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง และยังมอบถุงผ้าแก่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้าบนภูกระดึงเพื่อรณรงค์ลดการใช้พลาสติกแบบหูหิ้ว
นอกจากนี้ คณะผู้บริหาร ทส. ยังได้ร่วมกันทำแนวป้องกันไฟป่าบริเวณหลังองค์พระพุทธเมตตา โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้ให้กำลังใยแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและดับไฟป่าจากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าบนภูกระดึงที่ผ่านมา
นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า วันนี้เราต้องขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่อยู่บนภูกระดึงทุก ๆ คน เพราะว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าหากไม่ได้พวกเขาเหล่านี้ สถานการณ์ไฟป่าบนภูกระดึงคงจะไม่สามารถควบคุมได้เช่นนี้ ด้วยความมักง่าย ด้วยความคิดไม่รอบคอบของคนบางคน ทำให้พื้นที่กว่า 10% บนอุทยานแห่งชาติภูกระดึงแห่งนี้หายไป โชคยังดี จากการสำรวจเมื่อวานนี้เห็นได้ว่า สภาพต้นสนหรือต้นไม้ทั้งหลาย เริ่มแตกหน่อ เริ่มเจริญเติบโตกันใหม่
ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า พื้นที่ที่มีการไหม้ไปแล้วนั้น ประมาณ 80% สามารถที่จะฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องรอให้ถึงฤดูฝนก่อน ต้องมีปริมาณน้ำมา เพราะตอนนี้หนึ่งในปัญหาสำคัญของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงก็คือ ปัญหาภัยแล้ง ไม่ต่างจากหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย ปริมาณน้ำบนภูกระดึงในปีนี้ไม่เยอะเหมือนปีก่อนๆ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมปีนี้ อุทยานแห่งชาติภูกระดึงต้องปิดเร็วขึ้นอีก 2 เดือน จากนี้ไป เราปิด 6 เดือน เพื่อให้สภาพภูมิประเทศแถวนี้ สามารถฟื้นฟูตัวเองได้
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันสามารถควบคุมไฟป่าบนยอดภูกระดึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว สรุปมีพื้นที่เสียหายรวม 3,400 ไร่ แบ่งเป็นจุดที่เสียหายมาก 2-3 โซน โดยจุดที่เสียหายมากที่สุดอยู่บริเวณป่าสนสามใบแถวผานาน้อยประมาณ 1,400 ไร่และบริเวณหลังแป-หมากดูก ถือเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าสนเสียหายหนักในรอบ 7 ปี คาดว่าหลังเจอฝนแรกตกลงมาประมาณช่วงเดือน มี.ค. จะช่วยให้ผืนป่าภูกระดึงฟื้นฟูได้เร็วขึ้นและมีโอกาสรอดร้อยละ 80
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตตลอดกาลของเมืองไทยไปแล้ว มียอดภูกระดึงตั้งอยู่บนความสูง 1,288 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าขึ้นไปบนยอดเขาสูงในระยะทางประมาณ 7 กม. ผ่านซำต่าง ๆ อาทิ ซำแฮ่ก ซำแคร่ ไปจนถึง “หลังแป” หรือยอดภูกระดึง
ยอดภูกระดึง มีลักษณะเป็นหน้าผาตัดกว้างใหญ่ลักษณะรูปหัวใจ แต่หลายคนก็ยอมลำบากเดินขึ้นไปเพื่อถ่ายรูปเคียงคู่กับป้าย “ครั้งหนึ่งในชีวิต เราคือผู้พิชิตภูกระดึง” เป็นที่ระลึกบริเวณหลังแป อีกทั้งยังเพื่อไปสัมผัสกับอากาศหนาวและความงดงามของทิวทัศน์ด้านบน
เมื่อขึ้นไปถึงยอดภูแล้ว ก็พลาดไม่ได้ที่จะไปชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าตรู่ ที่ “ผานกแอ่น” ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับลานกางเต็นท์ และชมพระอาทิตย์ตกดินในยามพลบค่ำ
นอกจากนี้ก็ยังมีจุดไฮไลท์ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูกระดึงก็คือ “ผาหล่มสัก” ซึ่งถือได้ว่าเป็นผาที่มีคนไปรอชมมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ด้วยองค์ประกอบของความงามยามอาทิตย์อัสดงที่ลงตัว ทั้งต้นสนเดียวดายที่มีกิ่งยื่นออกไปรับกับชะง่อนหินที่ยื่นไปยังหน้าผา
นอกจากนี้บนยอดภูกระดึงยังมีเส้นทางสายน้ำตกอันชุ่มฉ่ำ ที่มีน้ำตกน่าสนใจ อาทิ อาทิ น้ำตกโผนพบ น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกถ้ำสอเหนือ ฯลฯ เป็นต้น
ทุก ๆ ปี ในสถานการณ์ปกติ อุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวบนยอดภูกระดึงเป็นเวลา 8 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ให้นักท่องเที่ยวเดินเท้าขึ้นไปพิชิตยอดภูกระดึง พร้อมท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง และจะปิดภูกระดึงเพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นเป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน เพื่อให้ธรรมชาติพักฟื้นตัว
อย่างไรก็ดีสำหรับฤดูกาลท่องเที่ยว 2562-2563 ภูกระดึงประสบกับปัญหาไฟป่าครั้งใหญ่ และวิกฤติภัยแล้ง ทำให้อุทยานแห่งชาติภูกระดึงต้องเลื่อนเวลาการปิดการท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึงเร็วขึ้นมาอีก 2 เดือน เป็นวันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน เพื่อให้ธรรมชาติบนภูกระดึงได้มีเวลาฟื้นฟูยาวนานขึ้นเป็นเวลา 6 เดือน
***************************************************
“ภูกระดึง” ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย โทร. 0-4281-0833 จองบ้านพัก โทร. 0-4281-0834
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR