Facebook :Travel @ Manager
กระแสข่าว "หมูป่าติดถ้ำ" ที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ. เชียงราย เป็นข่าวใหญ่ระดับโลกที่หลายๆ คนติดตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่การเริ่มค้นหาจนค้นพบและนำตัวทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คนออกจากถ้ำได้สำเร็จ และในตอนนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงรักษาร่างกายเตรียมกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ
เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้สึกอินไปกับข่าว จนอาจเกิดความรู้สึกว่า "ถ้ำ" เป็นสถานที่ที่อันตราย น่ากลัว ไม่ควรเข้าใกล้ และหลายๆ ท่านซึ่งเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองอาจยกตัวอย่างข่าวนี้สู่บุตรหลานญาติพี่น้อง พร้อมกับสำทับว่า "อย่าไปเที่ยวถ้ำ!"
งานนี้แม้ "ถ้ำ" จะไม่ได้เป็นนางร้าย แต่อาจถูกความกลัวและความเป็นห่วงบดบังจนคนอาจมองไม่เห็นถึงเสน่ห์และประโยชน์เอนกอนันต์ของถ้ำก็เป็นได้ เราจึงขอนำข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำอย่างปลอดภัย รวมถึงเสน่ห์ของถ้ำจากทัศนะของกูรูเรื่องถ้ำอย่าง ชัยพร ศิริพรไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำและนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ที่สำรวจถ้ำมาแล้วทั่วเมืองไทย
ชัยพร เป็นผู้ที่เคยสำรวจถ้ำหลวงมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อเกิดกรณีทีมหมูป่าติดอยู่ในถ้ำก็ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ภายในถ้ำ และได้มีบทบาทในภารกิจร่วมค้นหาทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 ชีวิต โดยได้ลงไปอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-11 ก.ค. เพื่อทำภารกิจในการเบี่ยงทางน้ำที่จะเข้าถ้ำ ประสานทีมสำรวจถ้ำ ประสานกับภาคเอกชนที่จะมาช่วยก่อสร้างระบบผันน้ำต่างๆ รวมถึงการสำรวจหาโพรงถ้ำที่คาดว่าจะอาจจะเชื่อมไปยังโถงหลักที่เด็กๆ อยู่
“ผมดูเรื่องของการสำรวจโครงสร้างทางธรณีเพื่อหาโพรงถ้ำเชื่อมต่อไปเนินนมสาว และหาจุดน้ำมุดที่เป็นเหตุให้น้ำเข้าไปท่วมในถ้ำ ทั้งทางตอนเหนือทางห้วยน้ำดั้น และทางใต้ห้วยปากหินไฟ เมื่อเจอแล้วก็สร้างฝายเบี่ยงทางน้ำ เป็นการร่วมมือกันหลายส่วนมาก ทั้งกรมทรัพยากรธรณีที่สำรวจ กรมชลประทานช่วยดูและออกแบบ กรมอุทยานฯ หน่วยงานอื่นๆ รวมไปถึงภาคเอกชนด้วย ชาวบ้านก็มาช่วยเป็นสองสามร้อยคนอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้ทุกอย่างเสร็จอย่างรวดเร็วเหมือนเนรมิตเลย เราช่วยดูจุดเจาะระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากที่เด็กๆ ออกมาได้แล้วก็หยุดภารกิจตรงนั้น” ชัยพร เล่าถึงภารกิจในเหตุการณ์ที่เป็นความสนใจของทุกคนในช่วงนั้น
แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ชัยพรก็ได้กลับมาเยือนถ้ำหลวงอีกครั้ง หลังจากที่เคยเข้าไปสำรวจถ้ำมาแล้วก่อนหน้านี้ในปี 2559
“ที่ผ่านมาเคยไปเที่ยวถ้ำหลวงมาก่อนหน้านี้ 2-3 ครั้ง และเพิ่งไปอีกครั้งในปี 2559 ที่ได้ไปสำรวจทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อระบบถ้ำ เข้าไปเพื่อสำรวจเส้นทาง สำรวจชั้นหิน วัดคาร์บอนไดออกไซด์ วัดอุณหภูมิ ดูลักษณะหินงอกหินย้อย ดูการใช้พื้นที่รอบๆ ถ้ำ พบว่าภายในถ้ำมีหลายโถงหลายชั้น มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม บางส่วนเป็นถ้ำตาย (ไม่มีการเติบโตทางธรณีวิทยา) บางส่วนเป็นถ้ำเป็น (ยังมีหินงอกหินย้อยที่งอกได้อีก) และถ้ำนี้ยังมีวิวัฒนาการค่อนข้างนาน ตอนไปปีนหน้าผาเพื่อหาโพรงที่เชื่อมโถงถ้ำ ขนาดความสูงประมาณพันกว่าเมตรยังมีถ้ำด้านบนเลยและมีหลายชั้นด้วย เป็นถ้ำยุคเก่าๆ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้มีวิวัฒนาการมายาวนาน มีการยกตัวของแผ่นดินมาตลอดทำให้เกิดถ้ำหลายชั้นขึ้น”
“ตอนนั้นทีมผมสำรวจอย่างละเอียดเฉพาะ 800 เมตรแรกเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปจนลึก แต่ก็เห็นสภาพแล้วว่าข้างในค่อนข้างอันตราย มีแอ่งลึก 10 กว่าเมตรตั้งแต่ปากถ้ำ มีแอ่งรูปตัวยูยาวๆ และขนาดไปหน้าแล้งยังมีโคลนเต็มไปหมด ถ้าเข้าไปลึกกว่านี้ก็คงจะต้องเจอสภาพที่หนักกว่านี้แน่” ชัยพร กล่าว
ชัยพรยังกล่าวถึงถ้ำอื่นๆ ในเมืองไทยที่มีลักษณะคล้ายถ้ำหลวง อาทิ ถ้ำนกนางแอ่น ถ้ำลำคลองงู จ.กาญจนบุรี ถ้ำน้ำลาง ถ้ำแม่ละนา ถ้ำซู่ซ่า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งถ้ำเหล่านี้เป็นถ้ำน้ำลอดที่น้ำท่วมได้ ในหน้าฝนบางแห่งจะปิดไม่ให้เข้าและบางแห่งจะเปิดให้เข้าเฉพาะบางโถงถ้ำเท่านั้น ต้องใช้ความระมัดระวัง ควรรู้ลักษณะการไหลของน้ำว่ามาจากทางไหน รู้ว่าน้ำจะขึ้นสูงเท่าใด ซึ่งสามารถสังเกตจากรอยน้ำหรือรอยตะกอนดินในถ้ำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีถ้ำน้ำเขาศิวะ จ.สระแก้ว ซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปีและสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าฝนตกจนระดับน้ำขึ้นสูงเจ้าหน้าที่ก็จะสั่งปิดไม่ให้เข้า รวมไปถึงถ้ำแม่อุสุ จ.ตาก ที่ตอนนี้ประกาศปิดไม่ให้เข้าเนื่องจากระดับน้ำขึ้นสูง เป็นต้น
เมื่อถามว่า เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการเที่ยวถ้ำหลังจากนี้หากไม่อยากให้เกิดกรณีเช่นเดียวกับทีมหมูป่า ชัยพรกล่าวว่า
“ถ้าเป็นถ้ำท่องเที่ยวที่เป็นจุด Showcase ทั่วไป มีแสงสว่าง มีไฟ มีบันได มีองค์ประกอบต่างๆ พร้อม อย่างถ้ำพระที่เข้าไปไหว้พระเฉยๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับถ้ำหลวงหรือถ้ำอื่นๆ ที่เป็นถ้ำแนวผจญภัย มีจุดที่อันตราย มีช่วงที่ห้ามเข้าแบบนี้ต้องระวัง”
ชัยพรยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นักท่องเที่ยวควรเตรียมความพร้อมและเตรียมความรู้เกี่ยวกับถ้ำมากพอสมควร แต่งกายอย่างรัดกุม เตรียมแสงไฟให้พร้อม ควรมีไฟสำรองไว้ 2-3 ดวง ถ้ามีคนนำทางจะดีมาก แต่ถ้าไปกันเองก็ควรเตรียมพร้อมนำน้ำและอาหารสำรองไปด้วยเผื่อเกิดอุบัติเหตุ และต้องมีการติดต่อที่ดีพอ หรือต้องแจ้งคนข้างนอกก่อนว่าเราจะเข้าไปตรงไหน เขาจะได้รู้เผื่อจะหายไปนาน
“เมื่อสองสามเดือนก่อนผมไปแถวพิษณุโลกที่ถ้ำเดือนถ้ำดาวที่เป็นถ้ำน้ำเช่นกัน ก็ได้นัดแนะกับเจ้าหน้าที่ด้านนอกว่าถ้ามีฝนตกช่วยมาแจ้งหน่อย เมื่อเข้าไปพักหนึ่งก็มีคนเข้ามาตามบอกว่ามีฝนตกให้ออกมา และเคยไปที่ถ้ำแม่ละนาที่แม่ฮ่องสอน ก็สังเกตว่าน้ำมีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นน้ำขุ่นก็ไม่ควรจะเข้าไป แต่ถ้าน้ำสีใสก็แสดงว่าฝนตกในโซนอื่น ไม่ได้ตกโดยตรงที่นี่เป็นต้น แต่ทางที่ดีก็คือให้ถามเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านที่นั่น” ชัยพรเล่าประสบการณ์
หลังจากภารกิจของการค้นหาและกู้ชีพทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตแล้ว ในส่วนของถ้ำหลวงก็จะเป็นภารกิจในการฟื้นฟูและสำรวจถ้ำเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป ชัยพรในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำแนะนำว่าควรสำรวจอย่างละเอียดก่อนจะเปิดให้เข้าไปท่องเที่ยวอีกครั้ง
“ควรสำรวจถ้ำให้ชัดเจน รู้ว่าโถงแต่ละโถงสูงต่ำเท่าไร มีอะไรสำคัญ มีอะไรอันตรายต้องระบุให้ชัดเจน แล้วค่อยมาวิเคราะห์และประเมินเพื่อจัดทำเส้นทางว่าควรเปิดแค่ไหน ตรงไหนเข้าได้ ตรงไหนไม่ควรให้เข้า จริงๆ แล้วหลายๆ ส่วนก็ควรสงวนไว้เพราะมีหินงอกหินย้อยหรือสิ่งมีชีวิตที่หายาก ควรจะต้องทำเส้นทางเดินหรือสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นสะพานหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ให้ปลอดภัยทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมในถ้ำ อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของคนที่ดูแลถ้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงควรจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมว่าควรเข้าไปเที่ยวละกี่คน หรือวันละกี่คน เพื่อให้การดูแลทั่วถึง
หลังจากเกิดเหตุการณ์หมูป่าติดถ้ำแล้ว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำอย่างชัยพรไม่อยากให้คนกลัวถ้ำ เพราะถ้ำมีเสน่ห์และเป็นมากกว่าแหล่งท่องเที่ยว
“ผมมักจะพูดกับคนที่ไม่เข้าใจเรื่องถ้ำเสมอว่า ‘ถ้ำไม่ใช่แค่รูในภูเขา’ โดยทั่วไปแล้วถ้ำก็คือแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเที่ยวชมภูมิประเทศนอกถ้ำ และข้างในถ้ำก็มีมีสิ่งตระการตาให้ชมอย่างหินงอกหินย้อย มีสิ่งมีชีวิตชนิดที่ไม่พบที่ภายนอกถ้ำ นอกจากนั้นถ้ำยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ น้ำผุดน้ำพุที่เราเห็นในหน้าแล้งก็มาจากน้ำระบบถ้ำ อีกทั้งถ้ำยังเป็นแหล่งโบราณคดีชั้นหนึ่ง สถานที่หลายแห่งที่พบร่องรอยของมนุษย์โบราณบรรพบุรุษของเราก็คือในถ้ำ เป็นที่ศึกษาวิวัฒนาการของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น”
“ส่วนด้านธรณีวิทยาเราอาจศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ไม่ง่ายแล้วเพราะถูกน้ำพัดพาไป แต่เราสามารถศึกษาเรื่องแผ่นดินไหว เรื่องการยกตัวของแผ่นดิน เรื่องสภาพภูมิอากาศในสมัยโบราณจากถ้ำได้ เรียกว่าความเป็นมาในอดีตซ่อนตัวอยู่ในถ้ำทั้งหมด ที่สำคัญถ้ำยังช่วยเราเรื่องลดโลกร้อนได้ด้วย ที่เรียกว่า ‘คาร์บอน ซิงค์’ (Carbon Sink) โดยเมื่อฝนตกลงมามันจะละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเปลี่ยนเป็นกรดคาร์บอนิก พอถึงพื้นดินก็จะละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ แล้วพอมันซึมเข้าไปตามรอยแตกของหินปูนซึ่งมีแร่แคลไซต์อยู่หรือแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่มันก็จะละลาย เปลี่ยนสภาพคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สเป็นน้ำไว้ในถ้ำ เรียกว่าเป็นการเก็บคาร์บอนไว้ในระบบถ้ำ นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมาก” ชัยพร กล่าวพร้อมทั้งสรุปว่า
“ดังนั้นถ้ำไม่ใช่แค่รูในภูเขา และไม่ใช่แค่แหล่งท่องเที่ยว แต่มันมีมิติที่มากมาย จึงก็อยากจะให้หันมาศึกษาเรื่องถ้ำให้มากเพื่อการอนุรักษ์ หลังจากนี้อาจจะมีคนกลัวการเที่ยวถ้ำ ก็อยากจะแนะนำว่าจริงๆ ถ้ำมีหลายแบบ มันมีสิ่งมหัศจรรย์และสิ่งสวยงามที่เราจะได้พบในถ้ำ อยากให้เห็นตรงนั้นและค่อยอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้มันเกี่ยวกับมนุษย์ยังไง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังไง มันจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้น และในระยะยาวผมคิดว่าคนท้องถิ่นก็จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว และถ้ำก็จะถูกรักษาไว้ด้วย”
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
กระแสข่าว "หมูป่าติดถ้ำ" ที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ. เชียงราย เป็นข่าวใหญ่ระดับโลกที่หลายๆ คนติดตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่การเริ่มค้นหาจนค้นพบและนำตัวทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คนออกจากถ้ำได้สำเร็จ และในตอนนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงรักษาร่างกายเตรียมกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ
เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้สึกอินไปกับข่าว จนอาจเกิดความรู้สึกว่า "ถ้ำ" เป็นสถานที่ที่อันตราย น่ากลัว ไม่ควรเข้าใกล้ และหลายๆ ท่านซึ่งเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองอาจยกตัวอย่างข่าวนี้สู่บุตรหลานญาติพี่น้อง พร้อมกับสำทับว่า "อย่าไปเที่ยวถ้ำ!"
งานนี้แม้ "ถ้ำ" จะไม่ได้เป็นนางร้าย แต่อาจถูกความกลัวและความเป็นห่วงบดบังจนคนอาจมองไม่เห็นถึงเสน่ห์และประโยชน์เอนกอนันต์ของถ้ำก็เป็นได้ เราจึงขอนำข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวถ้ำอย่างปลอดภัย รวมถึงเสน่ห์ของถ้ำจากทัศนะของกูรูเรื่องถ้ำอย่าง ชัยพร ศิริพรไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำและนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ที่สำรวจถ้ำมาแล้วทั่วเมืองไทย
ชัยพร เป็นผู้ที่เคยสำรวจถ้ำหลวงมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อเกิดกรณีทีมหมูป่าติดอยู่ในถ้ำก็ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ภายในถ้ำ และได้มีบทบาทในภารกิจร่วมค้นหาทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 ชีวิต โดยได้ลงไปอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-11 ก.ค. เพื่อทำภารกิจในการเบี่ยงทางน้ำที่จะเข้าถ้ำ ประสานทีมสำรวจถ้ำ ประสานกับภาคเอกชนที่จะมาช่วยก่อสร้างระบบผันน้ำต่างๆ รวมถึงการสำรวจหาโพรงถ้ำที่คาดว่าจะอาจจะเชื่อมไปยังโถงหลักที่เด็กๆ อยู่
“ผมดูเรื่องของการสำรวจโครงสร้างทางธรณีเพื่อหาโพรงถ้ำเชื่อมต่อไปเนินนมสาว และหาจุดน้ำมุดที่เป็นเหตุให้น้ำเข้าไปท่วมในถ้ำ ทั้งทางตอนเหนือทางห้วยน้ำดั้น และทางใต้ห้วยปากหินไฟ เมื่อเจอแล้วก็สร้างฝายเบี่ยงทางน้ำ เป็นการร่วมมือกันหลายส่วนมาก ทั้งกรมทรัพยากรธรณีที่สำรวจ กรมชลประทานช่วยดูและออกแบบ กรมอุทยานฯ หน่วยงานอื่นๆ รวมไปถึงภาคเอกชนด้วย ชาวบ้านก็มาช่วยเป็นสองสามร้อยคนอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้ทุกอย่างเสร็จอย่างรวดเร็วเหมือนเนรมิตเลย เราช่วยดูจุดเจาะระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากที่เด็กๆ ออกมาได้แล้วก็หยุดภารกิจตรงนั้น” ชัยพร เล่าถึงภารกิจในเหตุการณ์ที่เป็นความสนใจของทุกคนในช่วงนั้น
แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ชัยพรก็ได้กลับมาเยือนถ้ำหลวงอีกครั้ง หลังจากที่เคยเข้าไปสำรวจถ้ำมาแล้วก่อนหน้านี้ในปี 2559
“ที่ผ่านมาเคยไปเที่ยวถ้ำหลวงมาก่อนหน้านี้ 2-3 ครั้ง และเพิ่งไปอีกครั้งในปี 2559 ที่ได้ไปสำรวจทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อระบบถ้ำ เข้าไปเพื่อสำรวจเส้นทาง สำรวจชั้นหิน วัดคาร์บอนไดออกไซด์ วัดอุณหภูมิ ดูลักษณะหินงอกหินย้อย ดูการใช้พื้นที่รอบๆ ถ้ำ พบว่าภายในถ้ำมีหลายโถงหลายชั้น มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม บางส่วนเป็นถ้ำตาย (ไม่มีการเติบโตทางธรณีวิทยา) บางส่วนเป็นถ้ำเป็น (ยังมีหินงอกหินย้อยที่งอกได้อีก) และถ้ำนี้ยังมีวิวัฒนาการค่อนข้างนาน ตอนไปปีนหน้าผาเพื่อหาโพรงที่เชื่อมโถงถ้ำ ขนาดความสูงประมาณพันกว่าเมตรยังมีถ้ำด้านบนเลยและมีหลายชั้นด้วย เป็นถ้ำยุคเก่าๆ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้มีวิวัฒนาการมายาวนาน มีการยกตัวของแผ่นดินมาตลอดทำให้เกิดถ้ำหลายชั้นขึ้น”
“ตอนนั้นทีมผมสำรวจอย่างละเอียดเฉพาะ 800 เมตรแรกเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปจนลึก แต่ก็เห็นสภาพแล้วว่าข้างในค่อนข้างอันตราย มีแอ่งลึก 10 กว่าเมตรตั้งแต่ปากถ้ำ มีแอ่งรูปตัวยูยาวๆ และขนาดไปหน้าแล้งยังมีโคลนเต็มไปหมด ถ้าเข้าไปลึกกว่านี้ก็คงจะต้องเจอสภาพที่หนักกว่านี้แน่” ชัยพร กล่าว
ชัยพรยังกล่าวถึงถ้ำอื่นๆ ในเมืองไทยที่มีลักษณะคล้ายถ้ำหลวง อาทิ ถ้ำนกนางแอ่น ถ้ำลำคลองงู จ.กาญจนบุรี ถ้ำน้ำลาง ถ้ำแม่ละนา ถ้ำซู่ซ่า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งถ้ำเหล่านี้เป็นถ้ำน้ำลอดที่น้ำท่วมได้ ในหน้าฝนบางแห่งจะปิดไม่ให้เข้าและบางแห่งจะเปิดให้เข้าเฉพาะบางโถงถ้ำเท่านั้น ต้องใช้ความระมัดระวัง ควรรู้ลักษณะการไหลของน้ำว่ามาจากทางไหน รู้ว่าน้ำจะขึ้นสูงเท่าใด ซึ่งสามารถสังเกตจากรอยน้ำหรือรอยตะกอนดินในถ้ำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีถ้ำน้ำเขาศิวะ จ.สระแก้ว ซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปีและสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าฝนตกจนระดับน้ำขึ้นสูงเจ้าหน้าที่ก็จะสั่งปิดไม่ให้เข้า รวมไปถึงถ้ำแม่อุสุ จ.ตาก ที่ตอนนี้ประกาศปิดไม่ให้เข้าเนื่องจากระดับน้ำขึ้นสูง เป็นต้น
เมื่อถามว่า เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการเที่ยวถ้ำหลังจากนี้หากไม่อยากให้เกิดกรณีเช่นเดียวกับทีมหมูป่า ชัยพรกล่าวว่า
“ถ้าเป็นถ้ำท่องเที่ยวที่เป็นจุด Showcase ทั่วไป มีแสงสว่าง มีไฟ มีบันได มีองค์ประกอบต่างๆ พร้อม อย่างถ้ำพระที่เข้าไปไหว้พระเฉยๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับถ้ำหลวงหรือถ้ำอื่นๆ ที่เป็นถ้ำแนวผจญภัย มีจุดที่อันตราย มีช่วงที่ห้ามเข้าแบบนี้ต้องระวัง”
ชัยพรยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นักท่องเที่ยวควรเตรียมความพร้อมและเตรียมความรู้เกี่ยวกับถ้ำมากพอสมควร แต่งกายอย่างรัดกุม เตรียมแสงไฟให้พร้อม ควรมีไฟสำรองไว้ 2-3 ดวง ถ้ามีคนนำทางจะดีมาก แต่ถ้าไปกันเองก็ควรเตรียมพร้อมนำน้ำและอาหารสำรองไปด้วยเผื่อเกิดอุบัติเหตุ และต้องมีการติดต่อที่ดีพอ หรือต้องแจ้งคนข้างนอกก่อนว่าเราจะเข้าไปตรงไหน เขาจะได้รู้เผื่อจะหายไปนาน
“เมื่อสองสามเดือนก่อนผมไปแถวพิษณุโลกที่ถ้ำเดือนถ้ำดาวที่เป็นถ้ำน้ำเช่นกัน ก็ได้นัดแนะกับเจ้าหน้าที่ด้านนอกว่าถ้ามีฝนตกช่วยมาแจ้งหน่อย เมื่อเข้าไปพักหนึ่งก็มีคนเข้ามาตามบอกว่ามีฝนตกให้ออกมา และเคยไปที่ถ้ำแม่ละนาที่แม่ฮ่องสอน ก็สังเกตว่าน้ำมีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นน้ำขุ่นก็ไม่ควรจะเข้าไป แต่ถ้าน้ำสีใสก็แสดงว่าฝนตกในโซนอื่น ไม่ได้ตกโดยตรงที่นี่เป็นต้น แต่ทางที่ดีก็คือให้ถามเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านที่นั่น” ชัยพรเล่าประสบการณ์
หลังจากภารกิจของการค้นหาและกู้ชีพทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตแล้ว ในส่วนของถ้ำหลวงก็จะเป็นภารกิจในการฟื้นฟูและสำรวจถ้ำเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป ชัยพรในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำแนะนำว่าควรสำรวจอย่างละเอียดก่อนจะเปิดให้เข้าไปท่องเที่ยวอีกครั้ง
“ควรสำรวจถ้ำให้ชัดเจน รู้ว่าโถงแต่ละโถงสูงต่ำเท่าไร มีอะไรสำคัญ มีอะไรอันตรายต้องระบุให้ชัดเจน แล้วค่อยมาวิเคราะห์และประเมินเพื่อจัดทำเส้นทางว่าควรเปิดแค่ไหน ตรงไหนเข้าได้ ตรงไหนไม่ควรให้เข้า จริงๆ แล้วหลายๆ ส่วนก็ควรสงวนไว้เพราะมีหินงอกหินย้อยหรือสิ่งมีชีวิตที่หายาก ควรจะต้องทำเส้นทางเดินหรือสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นสะพานหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ให้ปลอดภัยทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมในถ้ำ อีกปัจจัยหนึ่งคือเรื่องของคนที่ดูแลถ้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงควรจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมว่าควรเข้าไปเที่ยวละกี่คน หรือวันละกี่คน เพื่อให้การดูแลทั่วถึง
หลังจากเกิดเหตุการณ์หมูป่าติดถ้ำแล้ว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำอย่างชัยพรไม่อยากให้คนกลัวถ้ำ เพราะถ้ำมีเสน่ห์และเป็นมากกว่าแหล่งท่องเที่ยว
“ผมมักจะพูดกับคนที่ไม่เข้าใจเรื่องถ้ำเสมอว่า ‘ถ้ำไม่ใช่แค่รูในภูเขา’ โดยทั่วไปแล้วถ้ำก็คือแหล่งท่องเที่ยว ทั้งเที่ยวชมภูมิประเทศนอกถ้ำ และข้างในถ้ำก็มีมีสิ่งตระการตาให้ชมอย่างหินงอกหินย้อย มีสิ่งมีชีวิตชนิดที่ไม่พบที่ภายนอกถ้ำ นอกจากนั้นถ้ำยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ น้ำผุดน้ำพุที่เราเห็นในหน้าแล้งก็มาจากน้ำระบบถ้ำ อีกทั้งถ้ำยังเป็นแหล่งโบราณคดีชั้นหนึ่ง สถานที่หลายแห่งที่พบร่องรอยของมนุษย์โบราณบรรพบุรุษของเราก็คือในถ้ำ เป็นที่ศึกษาวิวัฒนาการของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น”
“ส่วนด้านธรณีวิทยาเราอาจศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ไม่ง่ายแล้วเพราะถูกน้ำพัดพาไป แต่เราสามารถศึกษาเรื่องแผ่นดินไหว เรื่องการยกตัวของแผ่นดิน เรื่องสภาพภูมิอากาศในสมัยโบราณจากถ้ำได้ เรียกว่าความเป็นมาในอดีตซ่อนตัวอยู่ในถ้ำทั้งหมด ที่สำคัญถ้ำยังช่วยเราเรื่องลดโลกร้อนได้ด้วย ที่เรียกว่า ‘คาร์บอน ซิงค์’ (Carbon Sink) โดยเมื่อฝนตกลงมามันจะละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเปลี่ยนเป็นกรดคาร์บอนิก พอถึงพื้นดินก็จะละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ แล้วพอมันซึมเข้าไปตามรอยแตกของหินปูนซึ่งมีแร่แคลไซต์อยู่หรือแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่มันก็จะละลาย เปลี่ยนสภาพคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สเป็นน้ำไว้ในถ้ำ เรียกว่าเป็นการเก็บคาร์บอนไว้ในระบบถ้ำ นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมาก” ชัยพร กล่าวพร้อมทั้งสรุปว่า
“ดังนั้นถ้ำไม่ใช่แค่รูในภูเขา และไม่ใช่แค่แหล่งท่องเที่ยว แต่มันมีมิติที่มากมาย จึงก็อยากจะให้หันมาศึกษาเรื่องถ้ำให้มากเพื่อการอนุรักษ์ หลังจากนี้อาจจะมีคนกลัวการเที่ยวถ้ำ ก็อยากจะแนะนำว่าจริงๆ ถ้ำมีหลายแบบ มันมีสิ่งมหัศจรรย์และสิ่งสวยงามที่เราจะได้พบในถ้ำ อยากให้เห็นตรงนั้นและค่อยอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้มันเกี่ยวกับมนุษย์ยังไง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังไง มันจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากขึ้น และในระยะยาวผมคิดว่าคนท้องถิ่นก็จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว และถ้ำก็จะถูกรักษาไว้ด้วย”
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager