Facebook :Travel @ Manager
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้หากใครไม่อยากออกเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไกลๆ ลองหันมาเที่ยวรอบเมืองกรุงกันบ้าง สนุกแล้วยังได้ความรู้กับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ไทย-มอญ ที่อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เพราะในทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่วันนี้ - 19 สิงหาคม 2561 ทางจังหวัดปทุมธานีได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในรูปแบบการท่องเที่ยวทางน้ำ ชวนผู้ที่สนใจล่องเรือดูวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไหว้พระทำบุญ ชมโบราณสถาน สัมผัสวิถีชีวิตไทย-มอญ กับแบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยในแต่ละวันจะมีเรือออกบริการวันละ 2 ลำ คือ รอบเช้า 09.00 น. และ รอบบ่าย 13.30 น. ซึ่งในแต่ละลำนั้นจะเป็นเส้นทางไหว้พระที่ไม่เหมือนกัน ใครสะดวกเวลาไหนก็มาลงทะเบียนกันได้บริเวณที่วัดบางเตยนอก สำหรับในทริปนี้จะขอพาไปท่องเที่ยวไหว้พระในเส้นทางที่สอง หรือเป็นเรือรอบบ่ายนั่นเอง
หลังจากที่ลงทะเบียนร่วมเดินทางล่องเรือในช่วงบ่ายกันเรียบร้อย จากนั้นรอเจ้าหน้าที่เรียกขึ้นเรือ โดยวัดแรกของเส้นทางนี้คือ “วัดจันทน์กะพ้อ” เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอ.สามโคก เป็นวัดของชาวไทยรามัญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี พ.ศ.2357 ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และได้สร้างวัดนี้ขึ้น เดิมให้ชื่อว่า “วัดโก๊วะ” ซึ่งเป็นภาษามอญ แปลว่า “ต้นจันทน์กะพ้อ” เพราะบริเวณนี้มีต้นจันทน์กะพ้อขึ้นอยู่ ชาวไทยรามัญถือว่าเป็นไม้มงคล เช่นเดียวกับต้นราชพฤกษ์ ต้นจันทน์กะพ้อเป็นต้นไม้ตระกูลยาง ยูง มีดอกสีขาวสะอาด คล้ายดอกพะยอม มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำจัน มีขึ้นมากทางใต้ และเพื่อให้สะดวกในการเรียกชื่อ จึงเปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดจันทน์กะพ้อ” เมื่อปีพ.ศ.2490
“วัดจันทน์กะพ้อ” นับเป็นวัดตัวอย่างที่ดีทางด้านอาคารสถานที่สิ่งก่อสร้าง เช่น พระอุโบสถ วิหาร กุฏิ และหอประชุม โรงทาน ล้วนแล้วแต่ประณีตบรรจงสวยงาม เป็นศิลปะทรงไทยประยุกต์ ผสมศิลปะไทยรามัญ ในบริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่น้อย ทั้งยืนต้นและล้มลุก ปลูกประดับสวยงามเป็นพิเศษ มีป้ายบอกชื่อและมีคำสุภาษิตติดไว้เพื่อเป็นคติเตือนใจให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมด้วย
สำหรับวัดที่สองที่จะพาไปก็คือ “วัดสวนมะม่วง” จากข้อมูลของวัดได้กล่าวไว้ว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2398 โดยตั้งขึ้นตามสภาพแวดล้อมรอบวัดที่เป็นสวนมะม่วง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วิหาร เจดีย์ราย และเจดีย์มอญ
โดยวิหารของวัดนี้เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีมุขและบันไดทางขึ้นด้านหน้า ตรงบันไดทางขึ้นประดับลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้ประดับช่อฟ้า ใบระกา และเครื่องลำยองประดับกระจกมุงกระเบื้องดินเผา จากการขุดศึกษาทางโบราณคดีพบพื้นทางเดินปูอิฐอยู่ด้านนอกอาคารทางทิศตะวันตก และปรากฏแนวก่อเรียงอิฐคล้ายแนวกำแพงแก้วอยู่ติดกับฐานเจดีย์ราย
ส่วนของเจดีย์รายมีจำนวน 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวิหาร ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมทรงเครื่องตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ และจากการขุดศึกษาทางโบราณคดียังพบร่องรอยฐานเจดีย์รายอีกจำนวน 4 องค์ ปรากฏอยู่ในบริเวณด้านข้างวิหารทั้งสองด้าน
นอกจากนั้นยังมีเจดีย์มอญ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จากประวัติกล่าวว่าเป็นเจดีย์มอญที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศพม่าในช่วงราว 100 ปีที่ผ่านมา
จากนั้นล่องเรือต่อไปยัง “วัดเจดีย์ทอง” เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมของชาวมอญ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี วัดนี้ถือเป็นวัดเก่าตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รกร้างไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ.2310 จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาขนาดใหญ่ หินทรายแดง ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีรามัญอพยพหนีพม่ามาจากเมืองเมาะตะมะโดยมีพระยาเจ่งเป็นผู้นำ เข้ามาอยู่ทั่วเมืองสามโคก เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรขึ้นใหม่
ภายในวัดมีเจดีย์แบบมอญ มีชื่อเรียกว่า “เจดีย์ทอง” ก่อตั้งอยู่หน้าวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบการก่อสร้างแบบอนันทเจดีย์ในเมืองพุกาม รูปทรงระฆังก่อด้วยอิฐบนฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มจรนำโค้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้านลงรักปิดทองประดับกระจกสี ยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเมอญทั่วไปและเจดีย์ทรวปราสาทมอญ ประดับด้วยเครื่องถ้วยอย่างจีน นอกจากนี้ยังมีกุฏิเรือนไทยและกุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ ซึ่งเป็นอาคารที่มีคุณค่า ตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักและลายฉลุเชิงชาย ช่องลม ที่งดงามยิ่งนัก
และภายในหอสวดมนต์มีหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปลักษณะปางมารวิชัย สร้างจากหินหยกขาวพม่าแกะสลักด้วยมือ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก ตั้งแต่ฐานจรดถึงเกศสูงประมาณ 2 ศอก เป็นศิลปกรรมแบบมอญ มีอายุกว่า 100 ปี นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามอย่างมาก และถือเป็นที่นับถือของชาวบ้านบริเวณวัดแห่งนี้และระแวกใกล้เคียง โดยมีความเชื่อกันว่าหากใครได้กราบไหว้ขอพรก็จะสมมาตรปรารถนา
อีกหนึ่งวัดที่มีความสนใจก็คือ “วัดท้ายเกาะใหญ่” เป็นวัดสมัยอยุธยา ชาวมอญได้รับโปรดเกล้าให้มาตั้งบ้านเรือนได้บูรณะขึ้นมาใหม่ ในอดีตเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ศาลาสองหลังริมแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งเสด็จประพาสต้นเมืองประทุม สำหรับโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์มอญ หอสวดมนต์ กุฏิเรือนไทย
โดยเจดีย์มอญของวัดท้ายเกาะใหญ่ มีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองแห่งเมืองย่างกุ้ง ฐานสี่เหลี่ยมมีลานทักษิณากำแพงแก้วล้อมรอบ ฐานขั้นที่สามเป็นที่ตั้งของเจดีย์ประธาน ทรงจอมแห และมีเจดีย์ประจำทั้ง 4 ทิศ ยอดฉัตรทาสีทองเหลืองอร่าม โดดเด่นอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา
ปิดท้ายที่ “วัดโบสถ์” มีชื่อเดิมว่า วัดสร้อยนางหงส์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ อย่างเช่น พระประธานและพระลำดับในโบสถ์ ใบเสมาหินชนวนศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น รูปพระธรรมและธรรมาสน์ยอดโดมในสมัยรัตนโกสินทร์
ปัจจุบันวัดโบสถ์เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คือ “หลวงพ่อเหลือ” เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา ประดิษฐานในโบสถ์ ซึ่งในอดีตภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปจำนวนทั้งหมด 12 องค์ ต่อมาในปีพ.ศ.2507 มีขโมยได้เข้ามาลักพระพุทธรูป แต่พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นศิลาและมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ขโมยจึงตัดเศียรพระพุทธรูปไป คงเหลือพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่ไม่ถูกตัดเศียร ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเหลือ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มีรูปปั้นพระพุทธรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ปางเทศนาธรรมองค์ใหญ่ มีหลวงพ่อพุทธโสธรองค์ใหญ่ มีวิหารท้าวจตุคามรามเทพ วิหารพระสีวลี หลวงปู่ทวด มีพระพุทธรูปและเกจิอาจารย์ให้กราบไหว้ขอพร นอกจากนี้ยังมีตลาดริมน้ำขายอาหารและของฝากที่ระลึก และมีวังมัจฉาปลาหน้าวัดด้วย
ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ หากใครกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวใกล้กรุงก็ลองมาล่องเรือท่องเที่ยวไหว้พระ ชมวิถีวัฒนธรรมไทย-มอญ กันได้ที่อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งจะให้บริการฟรีจนถึงวันอาทิตย์ที่ 19 ส.ค. 61 นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี โทร. 08-4064-0033
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้หากใครไม่อยากออกเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไกลๆ ลองหันมาเที่ยวรอบเมืองกรุงกันบ้าง สนุกแล้วยังได้ความรู้กับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ไทย-มอญ ที่อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เพราะในทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่วันนี้ - 19 สิงหาคม 2561 ทางจังหวัดปทุมธานีได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในรูปแบบการท่องเที่ยวทางน้ำ ชวนผู้ที่สนใจล่องเรือดูวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไหว้พระทำบุญ ชมโบราณสถาน สัมผัสวิถีชีวิตไทย-มอญ กับแบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยในแต่ละวันจะมีเรือออกบริการวันละ 2 ลำ คือ รอบเช้า 09.00 น. และ รอบบ่าย 13.30 น. ซึ่งในแต่ละลำนั้นจะเป็นเส้นทางไหว้พระที่ไม่เหมือนกัน ใครสะดวกเวลาไหนก็มาลงทะเบียนกันได้บริเวณที่วัดบางเตยนอก สำหรับในทริปนี้จะขอพาไปท่องเที่ยวไหว้พระในเส้นทางที่สอง หรือเป็นเรือรอบบ่ายนั่นเอง
หลังจากที่ลงทะเบียนร่วมเดินทางล่องเรือในช่วงบ่ายกันเรียบร้อย จากนั้นรอเจ้าหน้าที่เรียกขึ้นเรือ โดยวัดแรกของเส้นทางนี้คือ “วัดจันทน์กะพ้อ” เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอ.สามโคก เป็นวัดของชาวไทยรามัญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี พ.ศ.2357 ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และได้สร้างวัดนี้ขึ้น เดิมให้ชื่อว่า “วัดโก๊วะ” ซึ่งเป็นภาษามอญ แปลว่า “ต้นจันทน์กะพ้อ” เพราะบริเวณนี้มีต้นจันทน์กะพ้อขึ้นอยู่ ชาวไทยรามัญถือว่าเป็นไม้มงคล เช่นเดียวกับต้นราชพฤกษ์ ต้นจันทน์กะพ้อเป็นต้นไม้ตระกูลยาง ยูง มีดอกสีขาวสะอาด คล้ายดอกพะยอม มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำจัน มีขึ้นมากทางใต้ และเพื่อให้สะดวกในการเรียกชื่อ จึงเปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดจันทน์กะพ้อ” เมื่อปีพ.ศ.2490
“วัดจันทน์กะพ้อ” นับเป็นวัดตัวอย่างที่ดีทางด้านอาคารสถานที่สิ่งก่อสร้าง เช่น พระอุโบสถ วิหาร กุฏิ และหอประชุม โรงทาน ล้วนแล้วแต่ประณีตบรรจงสวยงาม เป็นศิลปะทรงไทยประยุกต์ ผสมศิลปะไทยรามัญ ในบริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่น้อย ทั้งยืนต้นและล้มลุก ปลูกประดับสวยงามเป็นพิเศษ มีป้ายบอกชื่อและมีคำสุภาษิตติดไว้เพื่อเป็นคติเตือนใจให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมด้วย
สำหรับวัดที่สองที่จะพาไปก็คือ “วัดสวนมะม่วง” จากข้อมูลของวัดได้กล่าวไว้ว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2398 โดยตั้งขึ้นตามสภาพแวดล้อมรอบวัดที่เป็นสวนมะม่วง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วิหาร เจดีย์ราย และเจดีย์มอญ
โดยวิหารของวัดนี้เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีมุขและบันไดทางขึ้นด้านหน้า ตรงบันไดทางขึ้นประดับลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้ประดับช่อฟ้า ใบระกา และเครื่องลำยองประดับกระจกมุงกระเบื้องดินเผา จากการขุดศึกษาทางโบราณคดีพบพื้นทางเดินปูอิฐอยู่ด้านนอกอาคารทางทิศตะวันตก และปรากฏแนวก่อเรียงอิฐคล้ายแนวกำแพงแก้วอยู่ติดกับฐานเจดีย์ราย
ส่วนของเจดีย์รายมีจำนวน 2 องค์ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวิหาร ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมทรงเครื่องตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ และจากการขุดศึกษาทางโบราณคดียังพบร่องรอยฐานเจดีย์รายอีกจำนวน 4 องค์ ปรากฏอยู่ในบริเวณด้านข้างวิหารทั้งสองด้าน
นอกจากนั้นยังมีเจดีย์มอญ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จากประวัติกล่าวว่าเป็นเจดีย์มอญที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศพม่าในช่วงราว 100 ปีที่ผ่านมา
จากนั้นล่องเรือต่อไปยัง “วัดเจดีย์ทอง” เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมของชาวมอญ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไว้ได้เป็นอย่างดี วัดนี้ถือเป็นวัดเก่าตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รกร้างไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ.2310 จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาขนาดใหญ่ หินทรายแดง ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีรามัญอพยพหนีพม่ามาจากเมืองเมาะตะมะโดยมีพระยาเจ่งเป็นผู้นำ เข้ามาอยู่ทั่วเมืองสามโคก เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรขึ้นใหม่
ภายในวัดมีเจดีย์แบบมอญ มีชื่อเรียกว่า “เจดีย์ทอง” ก่อตั้งอยู่หน้าวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบการก่อสร้างแบบอนันทเจดีย์ในเมืองพุกาม รูปทรงระฆังก่อด้วยอิฐบนฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มจรนำโค้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้านลงรักปิดทองประดับกระจกสี ยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเมอญทั่วไปและเจดีย์ทรวปราสาทมอญ ประดับด้วยเครื่องถ้วยอย่างจีน นอกจากนี้ยังมีกุฏิเรือนไทยและกุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ ซึ่งเป็นอาคารที่มีคุณค่า ตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักและลายฉลุเชิงชาย ช่องลม ที่งดงามยิ่งนัก
และภายในหอสวดมนต์มีหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปลักษณะปางมารวิชัย สร้างจากหินหยกขาวพม่าแกะสลักด้วยมือ ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก ตั้งแต่ฐานจรดถึงเกศสูงประมาณ 2 ศอก เป็นศิลปกรรมแบบมอญ มีอายุกว่า 100 ปี นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามอย่างมาก และถือเป็นที่นับถือของชาวบ้านบริเวณวัดแห่งนี้และระแวกใกล้เคียง โดยมีความเชื่อกันว่าหากใครได้กราบไหว้ขอพรก็จะสมมาตรปรารถนา
อีกหนึ่งวัดที่มีความสนใจก็คือ “วัดท้ายเกาะใหญ่” เป็นวัดสมัยอยุธยา ชาวมอญได้รับโปรดเกล้าให้มาตั้งบ้านเรือนได้บูรณะขึ้นมาใหม่ ในอดีตเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ศาลาสองหลังริมแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งเสด็จประพาสต้นเมืองประทุม สำหรับโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์มอญ หอสวดมนต์ กุฏิเรือนไทย
โดยเจดีย์มอญของวัดท้ายเกาะใหญ่ มีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองแห่งเมืองย่างกุ้ง ฐานสี่เหลี่ยมมีลานทักษิณากำแพงแก้วล้อมรอบ ฐานขั้นที่สามเป็นที่ตั้งของเจดีย์ประธาน ทรงจอมแห และมีเจดีย์ประจำทั้ง 4 ทิศ ยอดฉัตรทาสีทองเหลืองอร่าม โดดเด่นอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา
ปิดท้ายที่ “วัดโบสถ์” มีชื่อเดิมว่า วัดสร้อยนางหงส์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ อย่างเช่น พระประธานและพระลำดับในโบสถ์ ใบเสมาหินชนวนศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น รูปพระธรรมและธรรมาสน์ยอดโดมในสมัยรัตนโกสินทร์
ปัจจุบันวัดโบสถ์เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คือ “หลวงพ่อเหลือ” เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา ประดิษฐานในโบสถ์ ซึ่งในอดีตภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปจำนวนทั้งหมด 12 องค์ ต่อมาในปีพ.ศ.2507 มีขโมยได้เข้ามาลักพระพุทธรูป แต่พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นศิลาและมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ขโมยจึงตัดเศียรพระพุทธรูปไป คงเหลือพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่ไม่ถูกตัดเศียร ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเหลือ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
มีรูปปั้นพระพุทธรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ปางเทศนาธรรมองค์ใหญ่ มีหลวงพ่อพุทธโสธรองค์ใหญ่ มีวิหารท้าวจตุคามรามเทพ วิหารพระสีวลี หลวงปู่ทวด มีพระพุทธรูปและเกจิอาจารย์ให้กราบไหว้ขอพร นอกจากนี้ยังมีตลาดริมน้ำขายอาหารและของฝากที่ระลึก และมีวังมัจฉาปลาหน้าวัดด้วย
ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ หากใครกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวใกล้กรุงก็ลองมาล่องเรือท่องเที่ยวไหว้พระ ชมวิถีวัฒนธรรมไทย-มอญ กันได้ที่อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งจะให้บริการฟรีจนถึงวันอาทิตย์ที่ 19 ส.ค. 61 นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี โทร. 08-4064-0033
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager