Facebook :Travel @ Manager
สำหรับการออกไปเดินทางท่องเที่ยว หลายคนอาจมุ่งหน้าไปยังสถานที่ท่องเที่ยวปลายทางแต่เพียงอย่างเดียว แต่สำหรับ “ตะลอนเที่ยว” นิยมจะชื่นชมสิ่งที่น่าสนใจรายทางควบคู่กันไปด้วย เพราะจะทำให้การเดินทางในแต่ละครั้งมีรสชาติมากขึ้น ได้พบได้เจออะไรใหม่ๆ แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน ที่สำคัญ ยังทำให้เราได้สัมผัสถึงความเป็นท้องถิ่นในแต่ละแห่งอีกด้วย
อย่างเช่น การเดินทางในครั้งนี้ เราตั้งใจจะเดินทางกันไปที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี แต่ก่อนจะไปถึงสังขละบุรี ระหว่างทางก็มีจุดให้แวะเที่ยวอีกหลายแห่งเลยทีเดียว
เริ่มต้นจุดแรกกันที่ “วัดถ้ำเสือ” อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ที่นี่แนะนำให้มาถึงกันตั้งแต่เช้าๆ จะได้ไม่ร้อนมากนัก เพราะมาถึงวัดแล้วต้องเดินขึ้นบันไดไปด้านบน แต่ถ้าใครเดินไม่ไหว ที่นี่ก็มีบริการรถรางไฟฟ้าขึ้น - ลง ด้วย
สิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกคนเข้ามาที่นี่ ก็เพื่อมาสักการะพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในกาญจนบุรี ตัวองค์พระงดงาม ประดับด้วยโมเสกสีเหลืองอมทองดูอร่ามไปทั้งองค์ ไหว้พระเสร็จแล้วจะเดินไปชมวิวทุ่งหน้ากว้างๆ ให้สดชื่นที่ด้านหลังองค์พระ หรือถ้าเดินไหวก็แนะนำให้ขึ้นไปยังพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท บนชั้นต่างๆ ก็จะประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านบนเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งที่ชั้นอื่นๆ ก็มีหน้าต่างรับลม และชมความงามของวิวรอบๆ และจะได้เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นสีทอง ตัดกับความเขียวขจีของทุ่งนาที่อยู่โดยรอบ
ออกจากวัดถ้ำเสือมาไม่นาน ก็ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ที่ต้องห้ามพลาดเลย ก็คือ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันจุดนี้ถือเป็นไฮไลต์อีกแห่งหนึ่งของกาญจนบุรี ที่จะต้องแวะมาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ได้เห็นสะพานเหล็กที่ทอดข้ามผ่านแม่น้ำแควใหญ่ พร้อมกับวิวรอบๆ
แต่ถ้าใครอยากสัมผัสเส้นทางรถไฟ ก็สามารถมาดักรอขึ้นรถไฟที่บริเวณสถานีรถไฟใกล้กับสะพานได้ โดยแต่ละวันก็จะมีรถไฟวิ่งข้ามสะพานตามตารางเวลา (ตรวจสอบตารางรถไฟข้ามสะพานได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย) ซึ่งรถไฟก็จะวิ่งไปตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ ตรงไปสุดอยู่ที่สถานีน้ำตก บริเวณน้ำตกไทรโยคน้อย
และจุดหนึ่งที่รถไฟวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นมุมโค้งสวยๆ ติดริมแม่น้ำ นั่นก็คือ “ถ้ำกระแซ” ซึ่งสามารถมาได้ทั้งการนั่งรถไฟ (สามารถลงรถไฟได้ที่บริเวณสถานีถ้ำกระแซ) หรือขับรถเข้ามา บริเวณนี้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่ง เป็นถ้ำขนาดเล็กที่เคยเป็นที่พักอาศัยของเชลยศึกเมื่อครั้งมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมได้โดยสามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน และหากเดินออกมาบริเวณปากถ้ำ ก็จะเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นเส้นทางการคมนาคมทางรถไฟ โดยตัวสะพานถ้ำกระแซนั้น เป็นสะพานไม้เลียบหน้าผา มีความยาวกว่า 450 เมตร เส้นทางจะโค้งเลียบเขาไป ด้านหนึ่งติดกับภูเขา อีกด้านเบื้องล่างเป็นแม่น้ำแควน้อย มองแล้วสวยงามน่าชม
จากถ้ำกระแซ ก็ได้เวลาออกเดินทางต่อไปยัง “สังขละบุรี” เมืองชายแดนที่ล้อมรอบด้วยขุนเขาและป่าไม้เขียวขจี ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่ผสมผสานชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่เห็นเด่นชัด ก็คือ ชาวไทย และชาวมอญ ซึ่งชาวมอญสังขละบุรีนี้ อพยพมาจากฝั่งพม่า มาตั้งรกรากอยู่ที่สังขละบุรีแห่งนี้นับร้อยปี กระทั่งมีการสร้างเขื่อน ชาวมอญจึงต้องย้ายจากเมืองสังขละเก่าที่ถูกน้ำในเขื่อนท่วม ขึ้นมาอยู่ยังเมืองสังขละในปัจจุบัน
สังขละบุรีถูกแยกออกเป็นสองฝั่ง โดยมีแม่น้ำซองกาเลียกั้นกลาง ฝั่งไทย เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ร้านค้า และตลาดประจำอำเภอ ส่วนฝั่งมอญ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญสังขละบุรี ที่ยังดำรงวิถีชีวิตตามแบบฉบับของชาวมอญไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และความศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ (อดีตเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม) เทพเจ้าของชาวมอญ
หากอยากสัมผัสวิถีชาวมอญในยามเช้า อยากรู้ว่าชาวมอญสังขละทำอะไรบ้าง แนะนำให้มาทำบุญตักบาตรในยามเช้าที่ฝั่งมอญ บริเวณใกล้ๆ กับสะพานมอญ เพราะนี่เป็นหนึ่งในเส้นทางที่พระสงฆ์จากวัดวังก์วิเวการามจะมาบิณฑบาตในยามเช้า
ถ้าเป็นชาวบ้านที่นี่ เขาจะตักบาตรด้วยข้าวสวยเพียงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมีดอกไม้ใส่ลงไปในบาตรด้วย และที่แปลกตาจากนักท่องเที่ยวอีกอย่าง ก็คือ ทั้งสาวน้อยสาวใหญ่ จะสวมใส่ผ้าถุงมาตักบาตรกันทุกคน อีกทั้งยังมีผ้าผืนเล็กที่ใช้พาดอยู่บนบ่าเพื่อความเรียบร้อย
แต่หากเป็นนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาตักบาตร ก็จะมีร้านค้าวางขายเรียงรายอยู่สองข้างทาง บ้างก็เป็นของตักบาตรชุดใหญ่ บ้างก็เป็นชุดเล็ก ที่มีทั้งข้าวสวย ผลไม้ ขนมนมเนย และดอกไม้จัดไว้เป็นชุด นอกจากนี้ยังมีบริการให้หยิบยืมผ้านุ่งผ้าถุงและโสร่ง สำหรับใส่ตักบาตรเสมือนชาวมอญแท้ๆ บางแห่งก็ยังมีบริการประแป้งบนใบหน้าเป็นลวดลายต่างๆ ตามแบบฉบับชาวมอญ เรียกว่าจัดให้เต็มยศ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเป็นชาวมอญสังขละอย่างแท้จริง
อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญสังขละ นั่นก็คือ “สะพานมอญ” หรือ “สะพานอุตตมานุสรณ์” ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อให้ชาวบ้านใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำซองกาเลีย เดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างฝั่งไทยและฝั่งมอญ โดยมีหลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง ซึ่งตัวสะพานมีความยาว 850 เมตร นับว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
สะพานมอญชำรุดลงหลังจากเหตุการณ์น้ำป่าและน้ำฝนพัดผ่านเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ทำให้ช่วงกลางของสะพานพังลงมาเป็นระยะทางกว่า 50 เมตร จึงมีการสร้างสะพานลูกบวบขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านใช้ทดแทนสะพานไม้มอญที่ชำรุด และภายหลังการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีการเปิดสะพานมอญให้ใช้เป็นจุดเชื่อมระหว่างสองฝั่งดังเดิม
ใครมาเที่ยวที่สะพานมอญ ก็มักจะแวะถ่ายรูปกับมุมสวยๆ ให้เห็นทั้งสะพานไม้ บ้านเรือน ป่าเขา และสายน้ำ แต่หากจะให้ได้บรรยากาศมากจริงๆ แนะนำให้มาซื้อ หรือหาเช่าชุดมอญมาถ่ายรูปบนสะพาน ยิ่งประแป้งเป็นรูปสวยๆ บนหน้าแล้ว ก็ยิ่งเหมือนหนุ่มสาวมอญเข้าไปใหญ่
อย่างที่บอกไปแล้วว่าชาวมอญสังขละอพยพย้ายขึ้นมาจากเมืองสังขละเก่าที่จมน้ำไปแล้ว แต่หากเมื่อยามน้ำแล้ง น้ำในแม่น้ำและในเขื่อนก็จะลดลงไปเป็นอันมาก จนกระทั่งซากเก่าแก่ของวัดและพื้นที่บางแห่งโผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เห็นอย่างที่เรากำลังจะไปชมกัน
จากบริเวณสะพานมอญ จะมีร้านค้าหลายร้านที่ให้บริการล่องเรือออกไปชมซากวัดเก่าที่จมอยู่ใต้น้ำ “ตะลอนเที่ยว” ก็นั่งเรือออกจากที่นั่นเช่นกัน เรือล่องออกมาตามแม่น้ำซองกาเลีย จนมาถึงบริเวณ “สามสบ” หรือ “สามประสบ” อันเป็นจุดรวมของลำน้ำสามสาย คือ ซองกาเลีย รันตี และบิคลี่ ตรงมาอีกนิดก็จะเป็นบริเวณของ “วัดวังก์วิเวการาม (เก่า)”
“วัดวังก์วิเวการาม (เก่า)” หรือเมืองบาดาลนี้ เป็นวัดเก่าที่หลวงพ่ออุตตมะสร้างขึ้น ก่อนจะจมอยู่ใต้ผืนน้ำในเขื่อน แต่ก็จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นในช่วงหน้าแล้งของทุกปี (ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ซากที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ก็คือ พระอุโบสถหลังเก่า กุฏิของหลวงพ่ออุตตมะ และหอระฆัง
เมื่อเหยียบขึ้นบนผืนดินบริเวณวัดบ้านเก่า จะมีมัคคุเทศก์ชาวมอญตัวน้อยมาแนะนำวัดบ้านเก่าและพาไปชมยังสถานที่ต่างๆ อย่างที่กุฏิเดิมของหลวงพ่ออุตตมะ มัคคุเทศก์น้อยก็ชี้ชวนให้ดูซากเก่าๆ ที่ยังเหลืออยู่ บอกว่าตรงนั้นเอาไว้ใช้ทำอะไร ตรงนี้คืออะไร แต่ที่น่าสนใจก็คือ กุฏิหลังนี้ใช้เหล็กจากทางรถไฟสายมรณะที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำเป็นคานสร้างกุฏิ ซึ่งก็ยังมีหลักฐานให้เห็นได้อย่างชัดเจน เดินมาอีกนิดก็จะเป็นพระอุโบสถหลังเก่าที่ยังมีโครงสร้างบางส่วนให้เห็นอยู่ ภายในมีภาพถ่ายของหลวงพ่ออุตตมะตั้งอยู่ให้ได้สักการะกัน
กลับขึ้นเรืออีกครั้ง คราวนี้มุ่งหน้ามายังฝั่งตรงข้ามกับวัดบ้านเก่า เป็นริมฝั่งแม่น้ำที่ต้องเดินขึ้นเนินผ่านป่าเขาไปอีกนิดก็จะถึง “วัดสมเด็จ (เก่า)” วัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งที่ย้ายเมืองสังขละบุรีเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำเหมือนกับวัดบ้านเก่า
ภายในวัดสมเด็จ (เก่า) ยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ รอบๆ ตัวโบสถ์ก็ยังคงมีร่องรอยของลวดลายปูนปั้นให้เห็นอยู่บ้าง แต่ตัวโบสถ์นั้นถูกต้นไทรใหญ่ที่อยู่รอบๆ โอบล้อมไปส่วนหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีการสร้างวัดสมเด็จแห่งใหม่ขึ้นบริเวณริมถนน ก่อนถึงตัวเมืองสังขละบุรี
อีกวัดหนึ่งที่จมอยู่ใต้น้ำเช่นกัน นั่นคือ “วัดศรีสุวรรณ (เก่า)” วัดนี้จะอยู่ใต้น้ำมากกว่าวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่จึงทำได้เพียงนั่งเรือวนรอบๆ
สำหรับทั้งสามวัดนี้ ถือว่าเป็นตัวแทนของคนสามชนชาติ ได้แก่ วัดวังก์วิเวการาม เป็นตัวแทนชาวมอญ วัดสมเด็จ เป็นตัวแทนชาวไทย และ วัดศรีสุวรรณ เป็นตัวแทนชาวกะเหรี่ยง โดยคนทั้งสามชนชาตินั้นก็สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียวในพื้นที่บริเวณนี้
ล่องเรือชมวัดเก่ากันแล้ว ก็ถึงเวลาขึ้นฝั่ง มาไหว้ “เจดีย์พุทธคยา” บนฝั่งมอญ เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ บนยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ซึ่งภายในนั้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เจดีย์องค์นี้จึงสร้างโดยจำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ลักษณะฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวเจดีย์สีทองอร่าม มีลวดลายปูนปั้น และพระพุทธรูปปางต่างๆ วางเรียงรายอยู่โดยรอบองค์เจดีย์
เจดีย์พุทธคยาองค์นี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวมอญสังขละเป็นอันมาก และยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาสักการะและชมความงามของเจดีย์ไม่ขาดสาย โดยพื้นที่ว่างด้านหน้าองค์เจดีย์ที่เป็นลานกว้าง เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนา อาทิ งานรดน้ำต้นโพธิ์ในช่วงวันวิสาขบูชา รวมไปถึงเป็นลานกิจกรรมประเพณีของชาวมอญสังขละอีกด้วย
สำหรับ “วัดวังก์วิเวการาม” วัดเดิมที่จมน้ำไป ก็มีการสร้างขึ้นใหม่ที่บนฝั่งมอญ ปัจจุบันก็อยู่ใกล้ๆ กับเจดีย์พุทธคยา จุดสำคัญของวัด ก็คือ ที่ “ปราสาทเก้ายอด” ซึ่งเป็นศิลปะแบบมอญ ภายในประดิษฐานสรีรสังขารของหลวงพ่ออุตตมะ สามารถเข้าไปกราบสักการะได้
เที่ยวในเมืองสังขละกันจนอิ่มใจ ก็มุ่งหน้าไปกันที่ “ด่านเจดีย์สามองค์” ด่านชายแดนไทย - พม่า ที่เดินทางไปอีกไม่ไกลนัก อย่างที่บอกว่าเป็นชายแดนไทย - พม่า ที่เชื่อมต่อระหว่าง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และ อ.พญาตองซู ประเทศพม่า สมัยก่อนเป็นเส้นทางเดินทัพสำคัญระหว่างไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ทำให้สามารถเดินทัพได้ง่ายกว่าเส้นทางอื่นๆ ที่ต้องเดินผ่านเขาสูง
บริเวณด่านก็จะมีสิ่งสำคัญ ก็คือ “เจดีย์สามองค์” ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า ชาวบ้านที่อพยพมาจากฝั่งพม่า เข้ามาสู่ฝั่งไทย จะถือหินกันมาคนละก้อน มาเรียงกันไว้จนเป็นหินสามกอง และถูกปรับปรุงก่อสร้างจนกลายเป็นเจดีย์สามองค์แบบที่เห็นทุกวันนี้
ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นด่านชายแดนที่สามารถข้ามไปมาหาสู่กันได้ โดยบริเวณด่านมีบริษัททัวร์ที่เปิดรับทำวีซ่าและบัตรผ่านข้ามแดนไป - กลับภายใน 1 วัน โดยจะนำทัวร์ในฝั่งพม่า นอกจากนี้บริเวณด่านก็ยังมีสินค้าวางขายอยู่หลายร้าน มีทั้งเครื่องไม้ต่างๆ เครื่องประดับ อาหาร - ของฝากจากพม่า ให้เลือกซื้อหาติดไม้ติดมือกลับบ้านได้
เส้นทางท่องเที่ยวจากกาญจนบุรี ถึงสังขละบุรี “ตะลอนเที่ยว” เลือกแวะเที่ยวเก็บเกี่ยวมาตามรายทาง แต่ต้องบอกว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตามรายทางไม่ได้มีแค่นี้ แต่เนื่องจากเวลามีน้อย ก็คงต้องคัดสรรสถานที่เป็นบางแห่ง หากใครมีเวลามากกว่านี้ ถ้าได้แวะเที่ยวแวะชิมไปทุกที่ คงมีความสุขและได้ประสบการณ์มากกว่านี้แน่ๆ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
สำหรับการออกไปเดินทางท่องเที่ยว หลายคนอาจมุ่งหน้าไปยังสถานที่ท่องเที่ยวปลายทางแต่เพียงอย่างเดียว แต่สำหรับ “ตะลอนเที่ยว” นิยมจะชื่นชมสิ่งที่น่าสนใจรายทางควบคู่กันไปด้วย เพราะจะทำให้การเดินทางในแต่ละครั้งมีรสชาติมากขึ้น ได้พบได้เจออะไรใหม่ๆ แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน ที่สำคัญ ยังทำให้เราได้สัมผัสถึงความเป็นท้องถิ่นในแต่ละแห่งอีกด้วย
อย่างเช่น การเดินทางในครั้งนี้ เราตั้งใจจะเดินทางกันไปที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี แต่ก่อนจะไปถึงสังขละบุรี ระหว่างทางก็มีจุดให้แวะเที่ยวอีกหลายแห่งเลยทีเดียว
เริ่มต้นจุดแรกกันที่ “วัดถ้ำเสือ” อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ที่นี่แนะนำให้มาถึงกันตั้งแต่เช้าๆ จะได้ไม่ร้อนมากนัก เพราะมาถึงวัดแล้วต้องเดินขึ้นบันไดไปด้านบน แต่ถ้าใครเดินไม่ไหว ที่นี่ก็มีบริการรถรางไฟฟ้าขึ้น - ลง ด้วย
สิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกคนเข้ามาที่นี่ ก็เพื่อมาสักการะพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในกาญจนบุรี ตัวองค์พระงดงาม ประดับด้วยโมเสกสีเหลืองอมทองดูอร่ามไปทั้งองค์ ไหว้พระเสร็จแล้วจะเดินไปชมวิวทุ่งหน้ากว้างๆ ให้สดชื่นที่ด้านหลังองค์พระ หรือถ้าเดินไหวก็แนะนำให้ขึ้นไปยังพระเจดีย์เกศแก้วปราสาท บนชั้นต่างๆ ก็จะประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านบนเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งที่ชั้นอื่นๆ ก็มีหน้าต่างรับลม และชมความงามของวิวรอบๆ และจะได้เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นสีทอง ตัดกับความเขียวขจีของทุ่งนาที่อยู่โดยรอบ
ออกจากวัดถ้ำเสือมาไม่นาน ก็ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ที่ต้องห้ามพลาดเลย ก็คือ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันจุดนี้ถือเป็นไฮไลต์อีกแห่งหนึ่งของกาญจนบุรี ที่จะต้องแวะมาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ได้เห็นสะพานเหล็กที่ทอดข้ามผ่านแม่น้ำแควใหญ่ พร้อมกับวิวรอบๆ
แต่ถ้าใครอยากสัมผัสเส้นทางรถไฟ ก็สามารถมาดักรอขึ้นรถไฟที่บริเวณสถานีรถไฟใกล้กับสะพานได้ โดยแต่ละวันก็จะมีรถไฟวิ่งข้ามสะพานตามตารางเวลา (ตรวจสอบตารางรถไฟข้ามสะพานได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย) ซึ่งรถไฟก็จะวิ่งไปตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ ตรงไปสุดอยู่ที่สถานีน้ำตก บริเวณน้ำตกไทรโยคน้อย
และจุดหนึ่งที่รถไฟวิ่งผ่าน ซึ่งเป็นมุมโค้งสวยๆ ติดริมแม่น้ำ นั่นก็คือ “ถ้ำกระแซ” ซึ่งสามารถมาได้ทั้งการนั่งรถไฟ (สามารถลงรถไฟได้ที่บริเวณสถานีถ้ำกระแซ) หรือขับรถเข้ามา บริเวณนี้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่ง เป็นถ้ำขนาดเล็กที่เคยเป็นที่พักอาศัยของเชลยศึกเมื่อครั้งมาสร้างทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งปัจจุบันนี้เปิดให้เข้าชมได้โดยสามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน และหากเดินออกมาบริเวณปากถ้ำ ก็จะเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ ที่ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นเส้นทางการคมนาคมทางรถไฟ โดยตัวสะพานถ้ำกระแซนั้น เป็นสะพานไม้เลียบหน้าผา มีความยาวกว่า 450 เมตร เส้นทางจะโค้งเลียบเขาไป ด้านหนึ่งติดกับภูเขา อีกด้านเบื้องล่างเป็นแม่น้ำแควน้อย มองแล้วสวยงามน่าชม
จากถ้ำกระแซ ก็ได้เวลาออกเดินทางต่อไปยัง “สังขละบุรี” เมืองชายแดนที่ล้อมรอบด้วยขุนเขาและป่าไม้เขียวขจี ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่ผสมผสานชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่เห็นเด่นชัด ก็คือ ชาวไทย และชาวมอญ ซึ่งชาวมอญสังขละบุรีนี้ อพยพมาจากฝั่งพม่า มาตั้งรกรากอยู่ที่สังขละบุรีแห่งนี้นับร้อยปี กระทั่งมีการสร้างเขื่อน ชาวมอญจึงต้องย้ายจากเมืองสังขละเก่าที่ถูกน้ำในเขื่อนท่วม ขึ้นมาอยู่ยังเมืองสังขละในปัจจุบัน
สังขละบุรีถูกแยกออกเป็นสองฝั่ง โดยมีแม่น้ำซองกาเลียกั้นกลาง ฝั่งไทย เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ร้านค้า และตลาดประจำอำเภอ ส่วนฝั่งมอญ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญสังขละบุรี ที่ยังดำรงวิถีชีวิตตามแบบฉบับของชาวมอญไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และความศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ (อดีตเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม) เทพเจ้าของชาวมอญ
หากอยากสัมผัสวิถีชาวมอญในยามเช้า อยากรู้ว่าชาวมอญสังขละทำอะไรบ้าง แนะนำให้มาทำบุญตักบาตรในยามเช้าที่ฝั่งมอญ บริเวณใกล้ๆ กับสะพานมอญ เพราะนี่เป็นหนึ่งในเส้นทางที่พระสงฆ์จากวัดวังก์วิเวการามจะมาบิณฑบาตในยามเช้า
ถ้าเป็นชาวบ้านที่นี่ เขาจะตักบาตรด้วยข้าวสวยเพียงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมีดอกไม้ใส่ลงไปในบาตรด้วย และที่แปลกตาจากนักท่องเที่ยวอีกอย่าง ก็คือ ทั้งสาวน้อยสาวใหญ่ จะสวมใส่ผ้าถุงมาตักบาตรกันทุกคน อีกทั้งยังมีผ้าผืนเล็กที่ใช้พาดอยู่บนบ่าเพื่อความเรียบร้อย
แต่หากเป็นนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาตักบาตร ก็จะมีร้านค้าวางขายเรียงรายอยู่สองข้างทาง บ้างก็เป็นของตักบาตรชุดใหญ่ บ้างก็เป็นชุดเล็ก ที่มีทั้งข้าวสวย ผลไม้ ขนมนมเนย และดอกไม้จัดไว้เป็นชุด นอกจากนี้ยังมีบริการให้หยิบยืมผ้านุ่งผ้าถุงและโสร่ง สำหรับใส่ตักบาตรเสมือนชาวมอญแท้ๆ บางแห่งก็ยังมีบริการประแป้งบนใบหน้าเป็นลวดลายต่างๆ ตามแบบฉบับชาวมอญ เรียกว่าจัดให้เต็มยศ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเป็นชาวมอญสังขละอย่างแท้จริง
อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญสังขละ นั่นก็คือ “สะพานมอญ” หรือ “สะพานอุตตมานุสรณ์” ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อให้ชาวบ้านใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำซองกาเลีย เดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างฝั่งไทยและฝั่งมอญ โดยมีหลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง ซึ่งตัวสะพานมีความยาว 850 เมตร นับว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
สะพานมอญชำรุดลงหลังจากเหตุการณ์น้ำป่าและน้ำฝนพัดผ่านเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ทำให้ช่วงกลางของสะพานพังลงมาเป็นระยะทางกว่า 50 เมตร จึงมีการสร้างสะพานลูกบวบขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านใช้ทดแทนสะพานไม้มอญที่ชำรุด และภายหลังการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีการเปิดสะพานมอญให้ใช้เป็นจุดเชื่อมระหว่างสองฝั่งดังเดิม
ใครมาเที่ยวที่สะพานมอญ ก็มักจะแวะถ่ายรูปกับมุมสวยๆ ให้เห็นทั้งสะพานไม้ บ้านเรือน ป่าเขา และสายน้ำ แต่หากจะให้ได้บรรยากาศมากจริงๆ แนะนำให้มาซื้อ หรือหาเช่าชุดมอญมาถ่ายรูปบนสะพาน ยิ่งประแป้งเป็นรูปสวยๆ บนหน้าแล้ว ก็ยิ่งเหมือนหนุ่มสาวมอญเข้าไปใหญ่
อย่างที่บอกไปแล้วว่าชาวมอญสังขละอพยพย้ายขึ้นมาจากเมืองสังขละเก่าที่จมน้ำไปแล้ว แต่หากเมื่อยามน้ำแล้ง น้ำในแม่น้ำและในเขื่อนก็จะลดลงไปเป็นอันมาก จนกระทั่งซากเก่าแก่ของวัดและพื้นที่บางแห่งโผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เห็นอย่างที่เรากำลังจะไปชมกัน
จากบริเวณสะพานมอญ จะมีร้านค้าหลายร้านที่ให้บริการล่องเรือออกไปชมซากวัดเก่าที่จมอยู่ใต้น้ำ “ตะลอนเที่ยว” ก็นั่งเรือออกจากที่นั่นเช่นกัน เรือล่องออกมาตามแม่น้ำซองกาเลีย จนมาถึงบริเวณ “สามสบ” หรือ “สามประสบ” อันเป็นจุดรวมของลำน้ำสามสาย คือ ซองกาเลีย รันตี และบิคลี่ ตรงมาอีกนิดก็จะเป็นบริเวณของ “วัดวังก์วิเวการาม (เก่า)”
“วัดวังก์วิเวการาม (เก่า)” หรือเมืองบาดาลนี้ เป็นวัดเก่าที่หลวงพ่ออุตตมะสร้างขึ้น ก่อนจะจมอยู่ใต้ผืนน้ำในเขื่อน แต่ก็จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นในช่วงหน้าแล้งของทุกปี (ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) ซากที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ก็คือ พระอุโบสถหลังเก่า กุฏิของหลวงพ่ออุตตมะ และหอระฆัง
เมื่อเหยียบขึ้นบนผืนดินบริเวณวัดบ้านเก่า จะมีมัคคุเทศก์ชาวมอญตัวน้อยมาแนะนำวัดบ้านเก่าและพาไปชมยังสถานที่ต่างๆ อย่างที่กุฏิเดิมของหลวงพ่ออุตตมะ มัคคุเทศก์น้อยก็ชี้ชวนให้ดูซากเก่าๆ ที่ยังเหลืออยู่ บอกว่าตรงนั้นเอาไว้ใช้ทำอะไร ตรงนี้คืออะไร แต่ที่น่าสนใจก็คือ กุฏิหลังนี้ใช้เหล็กจากทางรถไฟสายมรณะที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำเป็นคานสร้างกุฏิ ซึ่งก็ยังมีหลักฐานให้เห็นได้อย่างชัดเจน เดินมาอีกนิดก็จะเป็นพระอุโบสถหลังเก่าที่ยังมีโครงสร้างบางส่วนให้เห็นอยู่ ภายในมีภาพถ่ายของหลวงพ่ออุตตมะตั้งอยู่ให้ได้สักการะกัน
กลับขึ้นเรืออีกครั้ง คราวนี้มุ่งหน้ามายังฝั่งตรงข้ามกับวัดบ้านเก่า เป็นริมฝั่งแม่น้ำที่ต้องเดินขึ้นเนินผ่านป่าเขาไปอีกนิดก็จะถึง “วัดสมเด็จ (เก่า)” วัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งที่ย้ายเมืองสังขละบุรีเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำเหมือนกับวัดบ้านเก่า
ภายในวัดสมเด็จ (เก่า) ยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ รอบๆ ตัวโบสถ์ก็ยังคงมีร่องรอยของลวดลายปูนปั้นให้เห็นอยู่บ้าง แต่ตัวโบสถ์นั้นถูกต้นไทรใหญ่ที่อยู่รอบๆ โอบล้อมไปส่วนหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีการสร้างวัดสมเด็จแห่งใหม่ขึ้นบริเวณริมถนน ก่อนถึงตัวเมืองสังขละบุรี
อีกวัดหนึ่งที่จมอยู่ใต้น้ำเช่นกัน นั่นคือ “วัดศรีสุวรรณ (เก่า)” วัดนี้จะอยู่ใต้น้ำมากกว่าวัดอื่นๆ ส่วนใหญ่จึงทำได้เพียงนั่งเรือวนรอบๆ
สำหรับทั้งสามวัดนี้ ถือว่าเป็นตัวแทนของคนสามชนชาติ ได้แก่ วัดวังก์วิเวการาม เป็นตัวแทนชาวมอญ วัดสมเด็จ เป็นตัวแทนชาวไทย และ วัดศรีสุวรรณ เป็นตัวแทนชาวกะเหรี่ยง โดยคนทั้งสามชนชาตินั้นก็สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียวในพื้นที่บริเวณนี้
ล่องเรือชมวัดเก่ากันแล้ว ก็ถึงเวลาขึ้นฝั่ง มาไหว้ “เจดีย์พุทธคยา” บนฝั่งมอญ เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ บนยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ซึ่งภายในนั้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เจดีย์องค์นี้จึงสร้างโดยจำลองแบบมาจากเจดีย์ที่พุทธคยา ลักษณะฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวเจดีย์สีทองอร่าม มีลวดลายปูนปั้น และพระพุทธรูปปางต่างๆ วางเรียงรายอยู่โดยรอบองค์เจดีย์
เจดีย์พุทธคยาองค์นี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวมอญสังขละเป็นอันมาก และยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาสักการะและชมความงามของเจดีย์ไม่ขาดสาย โดยพื้นที่ว่างด้านหน้าองค์เจดีย์ที่เป็นลานกว้าง เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนา อาทิ งานรดน้ำต้นโพธิ์ในช่วงวันวิสาขบูชา รวมไปถึงเป็นลานกิจกรรมประเพณีของชาวมอญสังขละอีกด้วย
สำหรับ “วัดวังก์วิเวการาม” วัดเดิมที่จมน้ำไป ก็มีการสร้างขึ้นใหม่ที่บนฝั่งมอญ ปัจจุบันก็อยู่ใกล้ๆ กับเจดีย์พุทธคยา จุดสำคัญของวัด ก็คือ ที่ “ปราสาทเก้ายอด” ซึ่งเป็นศิลปะแบบมอญ ภายในประดิษฐานสรีรสังขารของหลวงพ่ออุตตมะ สามารถเข้าไปกราบสักการะได้
เที่ยวในเมืองสังขละกันจนอิ่มใจ ก็มุ่งหน้าไปกันที่ “ด่านเจดีย์สามองค์” ด่านชายแดนไทย - พม่า ที่เดินทางไปอีกไม่ไกลนัก อย่างที่บอกว่าเป็นชายแดนไทย - พม่า ที่เชื่อมต่อระหว่าง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และ อ.พญาตองซู ประเทศพม่า สมัยก่อนเป็นเส้นทางเดินทัพสำคัญระหว่างไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ทำให้สามารถเดินทัพได้ง่ายกว่าเส้นทางอื่นๆ ที่ต้องเดินผ่านเขาสูง
บริเวณด่านก็จะมีสิ่งสำคัญ ก็คือ “เจดีย์สามองค์” ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า ชาวบ้านที่อพยพมาจากฝั่งพม่า เข้ามาสู่ฝั่งไทย จะถือหินกันมาคนละก้อน มาเรียงกันไว้จนเป็นหินสามกอง และถูกปรับปรุงก่อสร้างจนกลายเป็นเจดีย์สามองค์แบบที่เห็นทุกวันนี้
ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นด่านชายแดนที่สามารถข้ามไปมาหาสู่กันได้ โดยบริเวณด่านมีบริษัททัวร์ที่เปิดรับทำวีซ่าและบัตรผ่านข้ามแดนไป - กลับภายใน 1 วัน โดยจะนำทัวร์ในฝั่งพม่า นอกจากนี้บริเวณด่านก็ยังมีสินค้าวางขายอยู่หลายร้าน มีทั้งเครื่องไม้ต่างๆ เครื่องประดับ อาหาร - ของฝากจากพม่า ให้เลือกซื้อหาติดไม้ติดมือกลับบ้านได้
เส้นทางท่องเที่ยวจากกาญจนบุรี ถึงสังขละบุรี “ตะลอนเที่ยว” เลือกแวะเที่ยวเก็บเกี่ยวมาตามรายทาง แต่ต้องบอกว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจตามรายทางไม่ได้มีแค่นี้ แต่เนื่องจากเวลามีน้อย ก็คงต้องคัดสรรสถานที่เป็นบางแห่ง หากใครมีเวลามากกว่านี้ ถ้าได้แวะเที่ยวแวะชิมไปทุกที่ คงมีความสุขและได้ประสบการณ์มากกว่านี้แน่ๆ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager