โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ถือเป็นข่าวน่ายินดียิ่งของชาวไทย เมื่อองค์การยูเนสโก(UNESCO) ได้ประกาศให้“อุทยานธรณีสตูล”(Satun Geopark) พื้นที่แหล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสตูล เป็นพื้นที่“อุทยานธรณีโลก”(Satun UNESCO Global Geopark) แห่งแรกของเมืองไทย และเป็นลำดับที่ 5 ของอาเซียน
อุทยานธรณีโลกนอกจากจะมีคุณค่าเทียบได้กับมรดกโลกแล้ว อุทยานธรณีโลกสตูลแห่งนี้ยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอันหลากหลาย บางสิ่งดูน่ามหัศจรรย์ บางสิ่งดูน่าทึ่ง และหลายสิ่งเป็นเรื่องน่ารู้ที่น่าสนใจยิ่ง
และนี่ก็คือ 12 สิ่งคัดสรร ซึ่งเป็นปรากฏธรรมชาติอันโดดเด่น ไม่ธรรมดาของอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ขอเชิญทัศนากันได้
1.กลุ่มหินตะรุเตา เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย : แผ่นดินของสตูลยุคปัจจุบัน เกือบทั้งหมดเป็นหินตะกอนทะเลแห่ง“มหายุคพาลีโอโซอิก”(*อ่านข้อมูลประกอบ(เบื้องต้น)ท้ายเรื่อง) ที่เริ่มต้นจากการเป็นพื้นทะเลยุค“แคมเบรียน”(ประมาณ 542-488 ล้านปี) ก่อนที่เปลือกโลกจะชนกันและยกตัวขึ้นในมหายุคหลัง เกิดเป็นผืนแผ่นดินสตูลในปัจจุบัน ซึ่งมีชุดหินที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยคือ“กลุ่มหินตะรุเตา”แห่งยุคแคมเบรียนให้โลกได้ศึกษาหาความรู้กัน
2.ภูมิประเทศแบบคาสต์ : หนึ่งในลักษณะทางธรณีที่เด่นชัดของอุทยานธรณีโลกสตูลนั้นก็คือ ลักษณะภูมิประเทศแบบ“คาสต์”(Karst) ที่เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหินปูน มีน้ำฝน(ที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ)เป็นตัวกระทำ ทำให้หินปูนเปลี่ยนสภาพเกิดเป็นลักษณะทางธรณีอันหลากหลาย อาทิ ภูเขาหินปูน หุบเขาลึกมีธารน้ำไหล ถ้ำ ถ้ำธารลอด หลุมยุบ และน้ำตก เป็นต้น ซึ่งพบความหลากหลายแบบนี้ได้ทั่วไปในอุทยานธรณีโลก สตูล
3.มหัศจรรย์เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย : เขาโต๊ะหงายเป็นเขาลูกโดดๆตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เขาลูกนี้มีหน้าผาริมทะเลที่สูงชัน ซึ่งมีปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ปรากฏอยู่ในบริเวณช่วงหนึ่งของหน้าผา กับการชนกันหรือรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายสีแดงแห่งยุคแคมเบรียน(542-488 ล้านปี) และ หินปูนสีเทาแห่งยุคออร์โดวิเชียน(488-444 ล้านปี) ที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกกระทำให้หิน 2 ยุคเคลื่อนตัวมาชนกัน
ปัจจุบันทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้ทำสะพานเดินศึกษาธรรมชาติเลียบหน้าผาดังกล่าว ให้ผู้สนใจได้เดินไปเที่ยวชมบริเวณรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค พร้อมทั้งทำจุดเดินข้ามผ่านระหว่าง 2 ยุค คือช่วง(หิน)ยุคแคมเบรียนสู่(หิน)ยุคออร์โดวิเชียน(ไป-กลับ) ณ จุดแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนเรากำลังเดินก้าวข้ามกาลเวลาจาก(หิน)ยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่ง
นอกจากนี้ที่บริเวณริมชายหาดยังมีแนวหินทรายสีแดง ที่เป็นหินทรายกลุ่มหินตะรุเตาซึ่งเป็นหินทรายที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยให้สัมผัสในความงามกันอีกด้วย
4.ฟอสซิลแลนด์ แดนสตูล : หนึ่งในจุดเด่นสำคัญของอุทยานธรณีโลกสตูลก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งที่มีการค้นพบ“ซากดึกดำบรรพ์”หรือ“ฟอสซิล”เป็นจำนวนมาก ในหลากหลายรูปแบบ(ประเภทของฟอสซิลสิ่งมีชีวิตที่พบ) หลากหลายพื้นที่ ทั้งบนพื้นดิน ภูเขา ลำธาร ในทะเล จนสตูลได้รับการเรียกขานว่าเป็น“ฟอสซิลแลนด์ แดนสตูล”
5.ดินแดนแห่งมหายุคพาลีโอโซอิก : สิ่งสำคัญอันดับต้นๆที่ทำให้อุทยานธรณีสตูล ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอุทยานธรณีโลกก็คือที่นี่เป็นดินแดนแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกที่มีการค้นพบฟอสซิลครบทั้ง 6 ยุคย่อย(ของมหายุคพาลีโอโซอิก)แห่งเดียวในเมืองไทย
นอกจากนี้นักวิชาการด้านธรณีวิทยาในพื้นที่ที่ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับฟอสซิลในจังหวัดสตูล ยังให้ข้อมูลว่า อุทยานธรณีโลกสตูลเป็นเพียงไม่กี่แห่งในโลก หรืออาจเป็นเพียงแห่งเดียวในโลก ที่มีการค้นพบฟอสซิลในมหายุคพาลีโอโซอิกครบทั้ง 6 ยุค ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าทึ่งไม่น้อยเลย
ฟอสซิลเด่นๆแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกที่ถูกค้นพบในอุทยานธรณีโลกสตูล นั้นก็มีหลากหลาย อย่างเช่น การค้นพบฟอสซิลซากหอยกาบคู่ และซากหอย“นอติลอยต์”(สัตว์ในชั้นเดียวกับหมึก หมึกยักษ์ และนอติลุส) ขนาดใหญ่และชัดเจนมากที่“ศาลทวดโต๊ะสามยอด”, การค้นพบ“แบรคิโอพอด”สัตว์ทะเลที่มีรูปร่างคล้ายหอยสองฝาที่เกาะตะบัน
การพบซากฟอสซิลจำนวนมากในบริเวณ“เขาน้อย” ซึ่งมีซากฟอสซิลหลากหลายอยู่ในเนื้อหินแทบทุกตารางเมตรของที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น พลับพลึงทะเล แบรคิโอพอด(หอยกาบคู่) แกรปโตไลต์ สัตว์ทะเลขนาดเล็กมีลักษณะเป็นเส้นดูคล้ายรอยขีดเขียนบนก้อนหิน และการค้นพบฟอสซิล“ไทรโลไบต์” ที่จะอธิบายถึงในลำดับต่อไป
สำหรับแหล่งที่มีการรวบรวมฟอสซิลมาจัดแสดงให้ชมครบทั้ง 6 ยุคย่อยก็คือที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา” ที่ก่อตั้งโดย “ครูนก : ธรรมรัตน์ นุตะธีระ” คุณครูวิทยาศาสตร์ ที่พานักเรียนออกไปเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยครูนกได้พาเด็กๆออกไปศึกษา ออกไปเรียนรู้เรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ แล้วนำตัวอย่างบางส่วนที่ค้นพบในพื้นที่มาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
6.แหล่งไทรโลไบต์ : ไทรโลไบต์เป็นสัตว์ที่มีรยางค์เป็นข้อปล้อง เป็นต้นตระกูลแมงดาทะเลโบราณ ไทรโลไบต์ถือกำเนิดในกลางยุคแคมเบรียน และดำรงเผ่าพันธุ์มาอย่างยาวนานจนสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน อันเป็นการสิ้นสุดของมหายุคพาลีโอโซอิก
ไทรโลไบต์เป็นฟอสซิลยอดนิยมอันดับสองของโลกรองจากไดโนเสาร์ ปัจจุบันมีการค้นพบฟอสซิลไทรโลไบต์ถึงมากกว่า 20,000 สปีชีส์
ในเมืองไทยมีการค้นพบไทรโลไบต์ในหลายจังหวัด อาทิ เลย แพร่ สระบุรี ชุมพร และสตูล ซึ่งมีการค้นพบไทรโลไบต์จำนวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในเมืองไทย รวมถึงมีการค้นพบไทรโลไบต์สายพันธุ์ใหม่ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศไทยถึง 4 สายพันธุ์ โดยแหล่งค้นพบไทรโลไบต์สำคัญในสตูลนั้น ได้แก่ที่ “เขาน้อย”แหล่งรวมฟอสซิลมากมาย และที่ “อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา”
7.แหล่งหินสาหร่าย : สโตรมาโตไลต์ เป็นหนึ่งในฟอสซิลสำคัญที่พบที่อุทยานธรณีโลก สโตรมาโตไลต์ เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไฟลัมไซยาโนแบคทีเรีย หรือ“สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน” ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลก เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปีที่แล้ว
โลกในยุคนั้นภายในนํ้าจะมีสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สาหร่ายพวกนี้จะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในการสร้างก๊าซออกซิเจนให้กับโลกในยุคแรกๆ เมื่อสาหร่ายผู้สร้างออกซิเจนเหล่านี้สิ้นอายุขัย มันก็จะค่อยทับถมกันจนกลายเป็นหินตะกอน(ใช้เวลานานมากเป็นแสนเป็นล้านปี) เกิดเป็นหินที่เรียกขานกันว่า“หินสาหร่าย” ซึ่งพบไม่มากในโลกนี้
สำหรับแหล่งที่มีการค้นพบหินสาหร่ายสำคัญในสตูลนั้นได้แก่ ที่ลานหินป่าพน แหล่งหินสาหร่ายท่าแร่ และ แหล่ง“หินสาหร่าย ศาลทวดบุญส่ง” ที่มีลักษณะพิเศษเป็นหินโผล่คล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่ ชั้นหินบางวางเรียงซ้อนกันดูสวยงามแปลกตา
8.ฟอสซิลช้างสเตโกดอน : นอกจากการค้นพบฟอสซิลครบทั้ง 6 ยุคย่อยแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกแล้ว จังหวัดสตูลยังมีการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่นๆ(หลังมหายุคพาลีโอซิก) อาทิ การค้นพบฟอสซิลฟันกรามของช้างเอลิฟาสที่เป็นบรรพบุรุษของช้างเอเชีย อายุประมาณ 1.1 ล้านปี ฟอสซิลกระดูกฟันของแรดโบราณ ฟอสซิลของแรดสมัยไพลสโตซีน(ประมาณ 2 ล้าน-11,700 ปีมาแล้ว) พบฟอสซิลกระซู่ เต่า หอย หมึก และการค้นพบ “ฟอสซิลฟันกรามของช้างสเตโกดอน”ที่ถือเป็นอีกหนึ่งการค้นพบสำคัญของบ้านเรา
การค้นพบครั้งนี้เริ่มจากความบังเอิญเมื่อชาวบ้านเข้าไปหากุ้งก้มกรามในถ้ำวังกล้วย(ในเดือน เม.ย. 51) แล้วพบวัตถุบางอย่างดูไม่คุ้นตา ซึ่งตอนแรกเข้าใจกันว่าเป็นฟันจระเข้ แต่เมื่อนำวัตถุดังกล่าวไปให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบ พบว่าเป็นฟอสซิลกระดูกฟันกรามของช้าง“สเตโกดอน” ที่มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลายถึงต้นยุคไพลสโตซีน มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีมาแล้ว สเตโกดอนเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในวิวัฒนาการของสัตว์ตระกูลช้างที่มีอายุเก่าแก่กว่าช้าง“แมมมอธ”(รุ่นที่ 8-อายุราว 20,000 ปีก่อน)ที่เรารู้จักกันดี
ผลจากการค้นพบฟอสซิลช้างสเตโกดอน ทางเจ้าของพื้นที่นำโดยนาย“ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ”หรือ“นายกโอเล่ย์”นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงเดินหน้าต่อยอด พัฒนาถ้ำวังกล้วยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พร้อมเปลี่ยนชื่อเรียกขานเป็น“ถ้ำเลสเตโกดอน” ตามลักษณะของถ้ำที่มีธารน้ำไหลผ่าน ผนวกกับชื่อของซากฟอสซิลกรามช้างสเตโกดอนที่ประสบพบเจอในถ้ำแห่งนี้
นอกจากนี้ยังมีการสร้าง “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า”ขึ้น ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาฟอสซิลที่พบในท้องที่ อ.ทุ่งหว้า และใน จ.สตูล พร้อมทั้งเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ให้ผู้สนใจได้เข้าไปเที่ยวชม
ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นอกจากมีการจัดแสดงสิ่งน่าสนใจต่างๆ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙, ประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งหว้า, ซากขวานหินของมนุษย์โบราณ ยังมีการจัดแสดงฟอสซิลต่างๆที่ค้นพบในจังหวัดสตูลให้ชมกัน นำโดยไฮไลท์คือ ฟอสซิลกระดูกฟันของแรดโบราณ และฟอสซิสกรามช้างสเตโกดอนที่พบเจอที่ถ้ำวังกล้วย
ส่วนผลพวงอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆหลังการพบฟอสซิลช้างสเตโกดอนก็คือ ความพยายามจัดตั้ง“อุทยานธรณีสตูล”(ตามแนวทางของกรมทรัพยากรธรณี)ขึ้นตั้งแต่ปี 2554 จนได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีสตูล : Satun Geopark) ในระดับท้องถิ่นในปี 2557 และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในปี 2559 ก่อนจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานธรณีโลก สตูล” จากองค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 61 ที่ผ่านมา
9.เกาะงาม ไม่ธรรมดา : อุทยานธรณีโลก สตูล ไม่ได้มีแค่พื้นที่ธรณีบนฝั่งจังหวัดสตูลเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ในส่วนของท้องทะเลในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา กับสภาพธรรมชาติอันน่าพิศวงอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
ความน่าทึ่งแห่งหมู่เกาะตะรุเตากับ “ซุ้มประตูหิน” บนเกาะไข่ ที่มีลักษณะเป็นแนวหินยื่นยาวจากตัวเกาะโค้งทอดตัวลงบนชายหาด ผลงานการสร้างสรรค์อันน่าทึ่งของธรรมชาติ, “หาดหินงาม” แห่งเกาะหินงาม เกาะที่ไม่มีหาดทราย แต่มีก้อนหินงามๆ ก้อนมนๆ ทรงกลม รี อยู่เต็มหาด ถือเป็นความงามที่แตกต่างไปจากเกาะอื่นๆทั่วไป, แหล่งแมงดาทะเลโบราณ อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา ที่มีการพบฟอสซิลของไทร์โลไบต์หลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
หรือความน่าทึ่งของทะเลแห่งหมู่เกาะเภตรา ได้แก่ “ลำดับชั้นหินเกาะลิดีเล็ก” ที่กลุ่มหินปูนโผล่เป็นหย่อมเล็กๆตามแนวชายหาด,“ปราสาทหินพันยอด”บนเกาะเขาใหญ่ กับปรากฏการณ์หินปูนกลางทะเล ที่ถูกสายฝนกัดกร่อนจนยอดมีลักษณะแหลมคมคล้ายเข็มนับพัน
10.เมืองแห่งถ้ำ : ความเป็นดินแดนที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์ ทำให้สตูลมากไปด้วยถ้ำมากมายจนได้รับการเรียกขานว่าเป็น“เมือง 100 ถ้ำ”
สำหรับถ้ำเด่นๆที่ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในสตูลนั้นก็มี “ถ้ำอุไรทอง”ที่ตั้งอยู่ใต้ภูเขาหินปูนลูกโดดๆ มีลักษณะเป็นคล้ายถ้ำลอด คือสามารถเดินลอดไปยังอีกฝั่งได้ “ถ้ำเจ็ดคต” เป็นถ้ำธารลอดหินปูนยุคออร์โดวิเชียน มีธารน้ำไหลจากปากถ้ำฝั่งตะวันออกไปทะลุปากถ้ำฝั่งตะวันตก ที่นี่เป็นจุดพายเรือคายัคชมความงามของถ้ำน้ำลอดที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ
“ถ้ำเลสเตโกดอน” ถ้ำธารลอดในเทือกเขาหินปูนมีความยาวกว่า 4 กม. มีลักษณะเด่นคือมีน้ำทะเลไหลเข้าไปในถ้ำ(ในช่วงน้ำทะเลหนุน) จนถูกยกให้เป็นถ้ำน้ำเค็มที่ยาวที่สุดในเมืองไทย
ถ้ำเลสเตโกดอน หรือถ้ำวังกล้วยเดิม นอกจากจะเป็นแหล่งค้นพบฟอสซิลของช้างสเตโกดอนแล้ว ภายในถ้ำแห่งนี้ยังมีการค้นพบฟอสซิลอื่นๆอีก อาทิ ฟอสซิลฟันกรามของช้างเอลิฟาสที่เป็นบรรพบุรุษของช้างเอเชีย อายุประมาณ 1.1 ล้านปี, ฟอสซิลของแรดสมัยไพลสโตซีน(ประมาณ 2 ล้าน-11,700 ปีมาแล้ว), ฟอสซิลกระซู่ เต่า หอย หมึก รวมไปถึงขวานหินของมนุษย์โบราณ รวมแล้วซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้นกว่า 300 ชิ้นเลยทีเดียว
ปัจจุบันหน้าถ้ำเลสเตโกดอนมีการสร้างประติมากรรมช้างโบราณ แรดโบราณ โดยเฉพาะช้างสเตโกดอนไว้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้มาเยือนได้รับรู้ถึงลักษณะและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกัน
ขณะที่ภายในถ้ำเลสเตโกดอนนั้นงดงามไปด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หินงอกหินย้อยตามเพดาน-ผนังถ้ำ หินประกานเพชร หินที่มีสายน้ำไหลผ่านดูคล้ายม่านน้ำตกเล็กๆภายในถ้ำ เสาหิน หินรูปหลอด ทำนบหิน ซึ่งปัจจุบันถ้ำเลสเตโกดอนยังคงเป็น“ถ้ำเป็น” ซึ่งนักท่องเที่ยวห้ามไปแตะ จับ สัมผัส หินงอกหินย้อยที่กำลังเติบโตมีชีวิตภายในถ้ำอย่างเด็ดขาด!!!
สำหรับการเข้าไปเที่ยวในถ้ำเลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวต้องนั่งเรือคายักเข้าไป โดยจุดลงเรือจะอยู่ที่หน้าปากถ้ำ บริเวณบ้านคีรีวง ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า ติดกับถนนทางหลวงหมายเลข 416 เรือแคนูลำหนึ่งบรรทุกได้ 3 คน คือนักท่องเที่ยว 2 คน และนายท้าย 1 คน ที่เป็นทั้งฝีพายและไกด์คอยให้ข้อมูลต่างๆ กับนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่จะล่องเรือคายักจะต้องสวมเสื้อชูชีพ หมวกกันกระแทก พร้อมทั้งมีไฟฉาย เพราะในถ้ำจะมืดสนิท
และด้วยการบริหารจัดการที่ดีทำให้ถ้ำเลสเตโกดอนได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือรางวัล“กินรี”ประจำปี 2558 มาครอง การันตีในคุณภาพและความตั้งใจจริงของชาวชุมชน
11. มหัศจรรย์ถ้ำภูผาเพชร : ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก สตูล ยังมีอีกหนึ่งถ้ำสำคัญนั่นก็คือ“ถ้ำภูผาเพชร” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในถ้ำมหัศจรรย์ของเมืองไทย
ถ้ำภูผาเพชร ตั้งอยู่ที่บ้านภูผาเพชร ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องต่างๆกว่า 20 ห้อง(แต่เปิดให้เที่ยวชมในบางส่วน) อาทิ ห้องปะการัง ห้องม่านเพชร ห้องพญานาค ห้องลานเพลิน เป็นต้น
เมื่อเดินขึ้นเขาแล้วมุดปากถ้ำเล็กๆเข้าไปในในถ้ำแล้ว ก็จะพบกับความยิ่งใหญ่อลังการและความวิจิตรตระการตาของหินงอกหินย้อยน้อยใหญ่อันชวนตื่นตะลึง ไม่ว่าจะเป็น หินงอกที่เป็นเสามหึมาค้ำเพดานถ้ำ หินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายปะการัง ตะกอนหินโบราณที่สะสมเป็นสันเส้นทางยาวมองดูคล้ายลำตัวพญานาค
รวมไปถึงไฮไลท์คือโถงถํ้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ “โถงป่าเสาหิน” ที่เป็นโถงใหญ่อลังการสูงราวๆ 50 เมตร กว้างราว 80 เมตร ภายในงดงามไปด้วยหินงอกหินย้อย และเสาหินจำนวนมากอันงดงามวิจิตร ซึ่งบริเวณนี้มีการติดตั้งไฟระบบเซ็นเซอร์ไว้ด้วย
ส่วนไฮไลท์โถงถ้ำอีกจุดหนึ่งคือ“ห้องแสงมรกต” ที่เป็นโถงถ้ำใหญ่บนเพดานมีช่องโหว่ดุงดังประตูสวรรค์ ให้แสงแดดสาดส่องลอดเข้ามากระทบกับก้อนหินใหญ่กลางลาน จะเกิดเป็นสีเขียวมรกตดูสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
นอกจากจะเป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงามในอันดับต้นๆของเมืองไทยแล้ว ถ้ำภูผาเพชรยังเป็นถ้ำที่มีองค์ประกอบของระบบถ้ำสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ภายในถ้ำแห่งนี้เราจะได้พบกับองค์ประกอบ(สมบูรณ์)ของระบบถ้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หินงอก หินย้อย,เสาถ้ำ, ริ้วถ้ำ, ทำนบถ้ำ, ไข่มุกถํ้า, น้อยหน่าถํ้า, หลอดถํ้า หินย้อยตามหาแสง,หินงอกแบบนํ้ากระเด็น นํ้าตกถํ้า บ่อน้ำถ้ำ ฯลฯ นับเป็นถ้ำ(เป็น)ที่สามารถให้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของถ้ำได้เป็นอย่างดี
12.มหัศจรรย์ภาพพ่อ : ภายในถ้ำภูผาเพชรยังมีอันซีนอันน่าทึ่งนั่นก็คือ“ภาพพ่อ” ที่จะอยู่ในส่วนท้ายๆของจุดเดินชมถ้ำ กับหินก้อนหนึ่งที่อยู่ด้านบนเหนือหัวใกล้ๆกับเพดานถ้ำ ซึ่งดูคล้ายกับภาพ“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙”พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย กำลังน้อมพระเศียรลงรับดอกบัวจากแม่เฒ่าตุ้มที่มารอรับเสด็จ ที่นครพนมเมื่อหลายสิบปีก่อน
นับเป็นภาพปรากฏการณ์ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างออกมาดูน่ามหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ชนิดที่หลายๆคนเห็นแล้วอดน้ำตาคลอหน่วยไม่ได้
และนี่ก็คือ 12 สิ่งคัดสรร ซึ่งเป็นปรากฏธรรมชาติอันโดดเด่น ไม่ธรรมดาของอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งหลังจากนี้ไปทั้งรัฐบาล หน่วยงานเกี่ยวข้อง ชุมชนในพื้นที่ ร่วมถึงคนไทยทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาอุทยานธรณีโลกเอาไว้ให้ดีๆให้คงอยู่คู่กับโลกตลอดไป
..................................................................................
หมายเหตุ : มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) มีอายุประมาณ 542-251 ล้านปี(ก่อนยุคไดโนเสาร์-มหายุคมีโซโซอิก-251-65 ล้านปี) เป็นยุคแห่งสัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายดึกดำบรรพ์ และภูเขาสาหร่ายก่อนที่จะมีสัตว์มีครีบเกิดขึ้นบนโลกใบนี้
มหายุคพาลีโอโซอิกแบ่งออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซรูเลียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส และ เพอร์เมียน (หลังยุคเพอร์เมียนก็เข้าสู่มหายุคมีโซโซอิกซึ่งถือเป็นยุคทองของไดโนเสาร์)
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ถือเป็นข่าวน่ายินดียิ่งของชาวไทย เมื่อองค์การยูเนสโก(UNESCO) ได้ประกาศให้“อุทยานธรณีสตูล”(Satun Geopark) พื้นที่แหล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสตูล เป็นพื้นที่“อุทยานธรณีโลก”(Satun UNESCO Global Geopark) แห่งแรกของเมืองไทย และเป็นลำดับที่ 5 ของอาเซียน
อุทยานธรณีโลกนอกจากจะมีคุณค่าเทียบได้กับมรดกโลกแล้ว อุทยานธรณีโลกสตูลแห่งนี้ยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอันหลากหลาย บางสิ่งดูน่ามหัศจรรย์ บางสิ่งดูน่าทึ่ง และหลายสิ่งเป็นเรื่องน่ารู้ที่น่าสนใจยิ่ง
และนี่ก็คือ 12 สิ่งคัดสรร ซึ่งเป็นปรากฏธรรมชาติอันโดดเด่น ไม่ธรรมดาของอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ขอเชิญทัศนากันได้
1.กลุ่มหินตะรุเตา เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย : แผ่นดินของสตูลยุคปัจจุบัน เกือบทั้งหมดเป็นหินตะกอนทะเลแห่ง“มหายุคพาลีโอโซอิก”(*อ่านข้อมูลประกอบ(เบื้องต้น)ท้ายเรื่อง) ที่เริ่มต้นจากการเป็นพื้นทะเลยุค“แคมเบรียน”(ประมาณ 542-488 ล้านปี) ก่อนที่เปลือกโลกจะชนกันและยกตัวขึ้นในมหายุคหลัง เกิดเป็นผืนแผ่นดินสตูลในปัจจุบัน ซึ่งมีชุดหินที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยคือ“กลุ่มหินตะรุเตา”แห่งยุคแคมเบรียนให้โลกได้ศึกษาหาความรู้กัน
2.ภูมิประเทศแบบคาสต์ : หนึ่งในลักษณะทางธรณีที่เด่นชัดของอุทยานธรณีโลกสตูลนั้นก็คือ ลักษณะภูมิประเทศแบบ“คาสต์”(Karst) ที่เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหินปูน มีน้ำฝน(ที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ)เป็นตัวกระทำ ทำให้หินปูนเปลี่ยนสภาพเกิดเป็นลักษณะทางธรณีอันหลากหลาย อาทิ ภูเขาหินปูน หุบเขาลึกมีธารน้ำไหล ถ้ำ ถ้ำธารลอด หลุมยุบ และน้ำตก เป็นต้น ซึ่งพบความหลากหลายแบบนี้ได้ทั่วไปในอุทยานธรณีโลก สตูล
3.มหัศจรรย์เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย : เขาโต๊ะหงายเป็นเขาลูกโดดๆตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เขาลูกนี้มีหน้าผาริมทะเลที่สูงชัน ซึ่งมีปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ปรากฏอยู่ในบริเวณช่วงหนึ่งของหน้าผา กับการชนกันหรือรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค คือหินทรายสีแดงแห่งยุคแคมเบรียน(542-488 ล้านปี) และ หินปูนสีเทาแห่งยุคออร์โดวิเชียน(488-444 ล้านปี) ที่เกิดจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกกระทำให้หิน 2 ยุคเคลื่อนตัวมาชนกัน
ปัจจุบันทางอช.หมู่เกาะเภตรา ได้ทำสะพานเดินศึกษาธรรมชาติเลียบหน้าผาดังกล่าว ให้ผู้สนใจได้เดินไปเที่ยวชมบริเวณรอยสัมผัสของหิน 2 ยุค พร้อมทั้งทำจุดเดินข้ามผ่านระหว่าง 2 ยุค คือช่วง(หิน)ยุคแคมเบรียนสู่(หิน)ยุคออร์โดวิเชียน(ไป-กลับ) ณ จุดแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนเรากำลังเดินก้าวข้ามกาลเวลาจาก(หิน)ยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่ง
นอกจากนี้ที่บริเวณริมชายหาดยังมีแนวหินทรายสีแดง ที่เป็นหินทรายกลุ่มหินตะรุเตาซึ่งเป็นหินทรายที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยให้สัมผัสในความงามกันอีกด้วย
4.ฟอสซิลแลนด์ แดนสตูล : หนึ่งในจุดเด่นสำคัญของอุทยานธรณีโลกสตูลก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งที่มีการค้นพบ“ซากดึกดำบรรพ์”หรือ“ฟอสซิล”เป็นจำนวนมาก ในหลากหลายรูปแบบ(ประเภทของฟอสซิลสิ่งมีชีวิตที่พบ) หลากหลายพื้นที่ ทั้งบนพื้นดิน ภูเขา ลำธาร ในทะเล จนสตูลได้รับการเรียกขานว่าเป็น“ฟอสซิลแลนด์ แดนสตูล”
5.ดินแดนแห่งมหายุคพาลีโอโซอิก : สิ่งสำคัญอันดับต้นๆที่ทำให้อุทยานธรณีสตูล ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอุทยานธรณีโลกก็คือที่นี่เป็นดินแดนแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกที่มีการค้นพบฟอสซิลครบทั้ง 6 ยุคย่อย(ของมหายุคพาลีโอโซอิก)แห่งเดียวในเมืองไทย
นอกจากนี้นักวิชาการด้านธรณีวิทยาในพื้นที่ที่ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับฟอสซิลในจังหวัดสตูล ยังให้ข้อมูลว่า อุทยานธรณีโลกสตูลเป็นเพียงไม่กี่แห่งในโลก หรืออาจเป็นเพียงแห่งเดียวในโลก ที่มีการค้นพบฟอสซิลในมหายุคพาลีโอโซอิกครบทั้ง 6 ยุค ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าทึ่งไม่น้อยเลย
ฟอสซิลเด่นๆแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกที่ถูกค้นพบในอุทยานธรณีโลกสตูล นั้นก็มีหลากหลาย อย่างเช่น การค้นพบฟอสซิลซากหอยกาบคู่ และซากหอย“นอติลอยต์”(สัตว์ในชั้นเดียวกับหมึก หมึกยักษ์ และนอติลุส) ขนาดใหญ่และชัดเจนมากที่“ศาลทวดโต๊ะสามยอด”, การค้นพบ“แบรคิโอพอด”สัตว์ทะเลที่มีรูปร่างคล้ายหอยสองฝาที่เกาะตะบัน
การพบซากฟอสซิลจำนวนมากในบริเวณ“เขาน้อย” ซึ่งมีซากฟอสซิลหลากหลายอยู่ในเนื้อหินแทบทุกตารางเมตรของที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น พลับพลึงทะเล แบรคิโอพอด(หอยกาบคู่) แกรปโตไลต์ สัตว์ทะเลขนาดเล็กมีลักษณะเป็นเส้นดูคล้ายรอยขีดเขียนบนก้อนหิน และการค้นพบฟอสซิล“ไทรโลไบต์” ที่จะอธิบายถึงในลำดับต่อไป
สำหรับแหล่งที่มีการรวบรวมฟอสซิลมาจัดแสดงให้ชมครบทั้ง 6 ยุคย่อยก็คือที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา” ที่ก่อตั้งโดย “ครูนก : ธรรมรัตน์ นุตะธีระ” คุณครูวิทยาศาสตร์ ที่พานักเรียนออกไปเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยครูนกได้พาเด็กๆออกไปศึกษา ออกไปเรียนรู้เรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ แล้วนำตัวอย่างบางส่วนที่ค้นพบในพื้นที่มาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
6.แหล่งไทรโลไบต์ : ไทรโลไบต์เป็นสัตว์ที่มีรยางค์เป็นข้อปล้อง เป็นต้นตระกูลแมงดาทะเลโบราณ ไทรโลไบต์ถือกำเนิดในกลางยุคแคมเบรียน และดำรงเผ่าพันธุ์มาอย่างยาวนานจนสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน อันเป็นการสิ้นสุดของมหายุคพาลีโอโซอิก
ไทรโลไบต์เป็นฟอสซิลยอดนิยมอันดับสองของโลกรองจากไดโนเสาร์ ปัจจุบันมีการค้นพบฟอสซิลไทรโลไบต์ถึงมากกว่า 20,000 สปีชีส์
ในเมืองไทยมีการค้นพบไทรโลไบต์ในหลายจังหวัด อาทิ เลย แพร่ สระบุรี ชุมพร และสตูล ซึ่งมีการค้นพบไทรโลไบต์จำนวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในเมืองไทย รวมถึงมีการค้นพบไทรโลไบต์สายพันธุ์ใหม่ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศไทยถึง 4 สายพันธุ์ โดยแหล่งค้นพบไทรโลไบต์สำคัญในสตูลนั้น ได้แก่ที่ “เขาน้อย”แหล่งรวมฟอสซิลมากมาย และที่ “อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา”
7.แหล่งหินสาหร่าย : สโตรมาโตไลต์ เป็นหนึ่งในฟอสซิลสำคัญที่พบที่อุทยานธรณีโลก สโตรมาโตไลต์ เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไฟลัมไซยาโนแบคทีเรีย หรือ“สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน” ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลก เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปีที่แล้ว
โลกในยุคนั้นภายในนํ้าจะมีสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สาหร่ายพวกนี้จะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมา ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในการสร้างก๊าซออกซิเจนให้กับโลกในยุคแรกๆ เมื่อสาหร่ายผู้สร้างออกซิเจนเหล่านี้สิ้นอายุขัย มันก็จะค่อยทับถมกันจนกลายเป็นหินตะกอน(ใช้เวลานานมากเป็นแสนเป็นล้านปี) เกิดเป็นหินที่เรียกขานกันว่า“หินสาหร่าย” ซึ่งพบไม่มากในโลกนี้
สำหรับแหล่งที่มีการค้นพบหินสาหร่ายสำคัญในสตูลนั้นได้แก่ ที่ลานหินป่าพน แหล่งหินสาหร่ายท่าแร่ และ แหล่ง“หินสาหร่าย ศาลทวดบุญส่ง” ที่มีลักษณะพิเศษเป็นหินโผล่คล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่ ชั้นหินบางวางเรียงซ้อนกันดูสวยงามแปลกตา
8.ฟอสซิลช้างสเตโกดอน : นอกจากการค้นพบฟอสซิลครบทั้ง 6 ยุคย่อยแห่งมหายุคพาลีโอโซอิกแล้ว จังหวัดสตูลยังมีการค้นพบฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่นๆ(หลังมหายุคพาลีโอซิก) อาทิ การค้นพบฟอสซิลฟันกรามของช้างเอลิฟาสที่เป็นบรรพบุรุษของช้างเอเชีย อายุประมาณ 1.1 ล้านปี ฟอสซิลกระดูกฟันของแรดโบราณ ฟอสซิลของแรดสมัยไพลสโตซีน(ประมาณ 2 ล้าน-11,700 ปีมาแล้ว) พบฟอสซิลกระซู่ เต่า หอย หมึก และการค้นพบ “ฟอสซิลฟันกรามของช้างสเตโกดอน”ที่ถือเป็นอีกหนึ่งการค้นพบสำคัญของบ้านเรา
การค้นพบครั้งนี้เริ่มจากความบังเอิญเมื่อชาวบ้านเข้าไปหากุ้งก้มกรามในถ้ำวังกล้วย(ในเดือน เม.ย. 51) แล้วพบวัตถุบางอย่างดูไม่คุ้นตา ซึ่งตอนแรกเข้าใจกันว่าเป็นฟันจระเข้ แต่เมื่อนำวัตถุดังกล่าวไปให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบ พบว่าเป็นฟอสซิลกระดูกฟันกรามของช้าง“สเตโกดอน” ที่มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลายถึงต้นยุคไพลสโตซีน มีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีมาแล้ว สเตโกดอนเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในวิวัฒนาการของสัตว์ตระกูลช้างที่มีอายุเก่าแก่กว่าช้าง“แมมมอธ”(รุ่นที่ 8-อายุราว 20,000 ปีก่อน)ที่เรารู้จักกันดี
ผลจากการค้นพบฟอสซิลช้างสเตโกดอน ทางเจ้าของพื้นที่นำโดยนาย“ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ”หรือ“นายกโอเล่ย์”นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงเดินหน้าต่อยอด พัฒนาถ้ำวังกล้วยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พร้อมเปลี่ยนชื่อเรียกขานเป็น“ถ้ำเลสเตโกดอน” ตามลักษณะของถ้ำที่มีธารน้ำไหลผ่าน ผนวกกับชื่อของซากฟอสซิลกรามช้างสเตโกดอนที่ประสบพบเจอในถ้ำแห่งนี้
นอกจากนี้ยังมีการสร้าง “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า”ขึ้น ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาฟอสซิลที่พบในท้องที่ อ.ทุ่งหว้า และใน จ.สตูล พร้อมทั้งเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ให้ผู้สนใจได้เข้าไปเที่ยวชม
ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นอกจากมีการจัดแสดงสิ่งน่าสนใจต่างๆ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ ๙, ประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งหว้า, ซากขวานหินของมนุษย์โบราณ ยังมีการจัดแสดงฟอสซิลต่างๆที่ค้นพบในจังหวัดสตูลให้ชมกัน นำโดยไฮไลท์คือ ฟอสซิลกระดูกฟันของแรดโบราณ และฟอสซิสกรามช้างสเตโกดอนที่พบเจอที่ถ้ำวังกล้วย
ส่วนผลพวงอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆหลังการพบฟอสซิลช้างสเตโกดอนก็คือ ความพยายามจัดตั้ง“อุทยานธรณีสตูล”(ตามแนวทางของกรมทรัพยากรธรณี)ขึ้นตั้งแต่ปี 2554 จนได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีสตูล : Satun Geopark) ในระดับท้องถิ่นในปี 2557 และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในปี 2559 ก่อนจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้รับการประกาศให้เป็น “อุทยานธรณีโลก สตูล” จากองค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 61 ที่ผ่านมา
9.เกาะงาม ไม่ธรรมดา : อุทยานธรณีโลก สตูล ไม่ได้มีแค่พื้นที่ธรณีบนฝั่งจังหวัดสตูลเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ในส่วนของท้องทะเลในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา กับสภาพธรรมชาติอันน่าพิศวงอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
ความน่าทึ่งแห่งหมู่เกาะตะรุเตากับ “ซุ้มประตูหิน” บนเกาะไข่ ที่มีลักษณะเป็นแนวหินยื่นยาวจากตัวเกาะโค้งทอดตัวลงบนชายหาด ผลงานการสร้างสรรค์อันน่าทึ่งของธรรมชาติ, “หาดหินงาม” แห่งเกาะหินงาม เกาะที่ไม่มีหาดทราย แต่มีก้อนหินงามๆ ก้อนมนๆ ทรงกลม รี อยู่เต็มหาด ถือเป็นความงามที่แตกต่างไปจากเกาะอื่นๆทั่วไป, แหล่งแมงดาทะเลโบราณ อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา ที่มีการพบฟอสซิลของไทร์โลไบต์หลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
หรือความน่าทึ่งของทะเลแห่งหมู่เกาะเภตรา ได้แก่ “ลำดับชั้นหินเกาะลิดีเล็ก” ที่กลุ่มหินปูนโผล่เป็นหย่อมเล็กๆตามแนวชายหาด,“ปราสาทหินพันยอด”บนเกาะเขาใหญ่ กับปรากฏการณ์หินปูนกลางทะเล ที่ถูกสายฝนกัดกร่อนจนยอดมีลักษณะแหลมคมคล้ายเข็มนับพัน
10.เมืองแห่งถ้ำ : ความเป็นดินแดนที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์ ทำให้สตูลมากไปด้วยถ้ำมากมายจนได้รับการเรียกขานว่าเป็น“เมือง 100 ถ้ำ”
สำหรับถ้ำเด่นๆที่ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในสตูลนั้นก็มี “ถ้ำอุไรทอง”ที่ตั้งอยู่ใต้ภูเขาหินปูนลูกโดดๆ มีลักษณะเป็นคล้ายถ้ำลอด คือสามารถเดินลอดไปยังอีกฝั่งได้ “ถ้ำเจ็ดคต” เป็นถ้ำธารลอดหินปูนยุคออร์โดวิเชียน มีธารน้ำไหลจากปากถ้ำฝั่งตะวันออกไปทะลุปากถ้ำฝั่งตะวันตก ที่นี่เป็นจุดพายเรือคายัคชมความงามของถ้ำน้ำลอดที่สวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ
“ถ้ำเลสเตโกดอน” ถ้ำธารลอดในเทือกเขาหินปูนมีความยาวกว่า 4 กม. มีลักษณะเด่นคือมีน้ำทะเลไหลเข้าไปในถ้ำ(ในช่วงน้ำทะเลหนุน) จนถูกยกให้เป็นถ้ำน้ำเค็มที่ยาวที่สุดในเมืองไทย
ถ้ำเลสเตโกดอน หรือถ้ำวังกล้วยเดิม นอกจากจะเป็นแหล่งค้นพบฟอสซิลของช้างสเตโกดอนแล้ว ภายในถ้ำแห่งนี้ยังมีการค้นพบฟอสซิลอื่นๆอีก อาทิ ฟอสซิลฟันกรามของช้างเอลิฟาสที่เป็นบรรพบุรุษของช้างเอเชีย อายุประมาณ 1.1 ล้านปี, ฟอสซิลของแรดสมัยไพลสโตซีน(ประมาณ 2 ล้าน-11,700 ปีมาแล้ว), ฟอสซิลกระซู่ เต่า หอย หมึก รวมไปถึงขวานหินของมนุษย์โบราณ รวมแล้วซากดึกดำบรรพ์ที่พบนั้นกว่า 300 ชิ้นเลยทีเดียว
ปัจจุบันหน้าถ้ำเลสเตโกดอนมีการสร้างประติมากรรมช้างโบราณ แรดโบราณ โดยเฉพาะช้างสเตโกดอนไว้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้มาเยือนได้รับรู้ถึงลักษณะและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกัน
ขณะที่ภายในถ้ำเลสเตโกดอนนั้นงดงามไปด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หินงอกหินย้อยตามเพดาน-ผนังถ้ำ หินประกานเพชร หินที่มีสายน้ำไหลผ่านดูคล้ายม่านน้ำตกเล็กๆภายในถ้ำ เสาหิน หินรูปหลอด ทำนบหิน ซึ่งปัจจุบันถ้ำเลสเตโกดอนยังคงเป็น“ถ้ำเป็น” ซึ่งนักท่องเที่ยวห้ามไปแตะ จับ สัมผัส หินงอกหินย้อยที่กำลังเติบโตมีชีวิตภายในถ้ำอย่างเด็ดขาด!!!
สำหรับการเข้าไปเที่ยวในถ้ำเลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวต้องนั่งเรือคายักเข้าไป โดยจุดลงเรือจะอยู่ที่หน้าปากถ้ำ บริเวณบ้านคีรีวง ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า ติดกับถนนทางหลวงหมายเลข 416 เรือแคนูลำหนึ่งบรรทุกได้ 3 คน คือนักท่องเที่ยว 2 คน และนายท้าย 1 คน ที่เป็นทั้งฝีพายและไกด์คอยให้ข้อมูลต่างๆ กับนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่จะล่องเรือคายักจะต้องสวมเสื้อชูชีพ หมวกกันกระแทก พร้อมทั้งมีไฟฉาย เพราะในถ้ำจะมืดสนิท
และด้วยการบริหารจัดการที่ดีทำให้ถ้ำเลสเตโกดอนได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือรางวัล“กินรี”ประจำปี 2558 มาครอง การันตีในคุณภาพและความตั้งใจจริงของชาวชุมชน
11. มหัศจรรย์ถ้ำภูผาเพชร : ในพื้นที่อุทยานธรณีโลก สตูล ยังมีอีกหนึ่งถ้ำสำคัญนั่นก็คือ“ถ้ำภูผาเพชร” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในถ้ำมหัศจรรย์ของเมืองไทย
ถ้ำภูผาเพชร ตั้งอยู่ที่บ้านภูผาเพชร ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ แบ่งเป็นห้องต่างๆกว่า 20 ห้อง(แต่เปิดให้เที่ยวชมในบางส่วน) อาทิ ห้องปะการัง ห้องม่านเพชร ห้องพญานาค ห้องลานเพลิน เป็นต้น
เมื่อเดินขึ้นเขาแล้วมุดปากถ้ำเล็กๆเข้าไปในในถ้ำแล้ว ก็จะพบกับความยิ่งใหญ่อลังการและความวิจิตรตระการตาของหินงอกหินย้อยน้อยใหญ่อันชวนตื่นตะลึง ไม่ว่าจะเป็น หินงอกที่เป็นเสามหึมาค้ำเพดานถ้ำ หินงอกหินย้อยรูปร่างคล้ายปะการัง ตะกอนหินโบราณที่สะสมเป็นสันเส้นทางยาวมองดูคล้ายลำตัวพญานาค
รวมไปถึงไฮไลท์คือโถงถํ้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ “โถงป่าเสาหิน” ที่เป็นโถงใหญ่อลังการสูงราวๆ 50 เมตร กว้างราว 80 เมตร ภายในงดงามไปด้วยหินงอกหินย้อย และเสาหินจำนวนมากอันงดงามวิจิตร ซึ่งบริเวณนี้มีการติดตั้งไฟระบบเซ็นเซอร์ไว้ด้วย
ส่วนไฮไลท์โถงถ้ำอีกจุดหนึ่งคือ“ห้องแสงมรกต” ที่เป็นโถงถ้ำใหญ่บนเพดานมีช่องโหว่ดุงดังประตูสวรรค์ ให้แสงแดดสาดส่องลอดเข้ามากระทบกับก้อนหินใหญ่กลางลาน จะเกิดเป็นสีเขียวมรกตดูสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก
นอกจากจะเป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงามในอันดับต้นๆของเมืองไทยแล้ว ถ้ำภูผาเพชรยังเป็นถ้ำที่มีองค์ประกอบของระบบถ้ำสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ภายในถ้ำแห่งนี้เราจะได้พบกับองค์ประกอบ(สมบูรณ์)ของระบบถ้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หินงอก หินย้อย,เสาถ้ำ, ริ้วถ้ำ, ทำนบถ้ำ, ไข่มุกถํ้า, น้อยหน่าถํ้า, หลอดถํ้า หินย้อยตามหาแสง,หินงอกแบบนํ้ากระเด็น นํ้าตกถํ้า บ่อน้ำถ้ำ ฯลฯ นับเป็นถ้ำ(เป็น)ที่สามารถให้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของถ้ำได้เป็นอย่างดี
12.มหัศจรรย์ภาพพ่อ : ภายในถ้ำภูผาเพชรยังมีอันซีนอันน่าทึ่งนั่นก็คือ“ภาพพ่อ” ที่จะอยู่ในส่วนท้ายๆของจุดเดินชมถ้ำ กับหินก้อนหนึ่งที่อยู่ด้านบนเหนือหัวใกล้ๆกับเพดานถ้ำ ซึ่งดูคล้ายกับภาพ“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙”พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย กำลังน้อมพระเศียรลงรับดอกบัวจากแม่เฒ่าตุ้มที่มารอรับเสด็จ ที่นครพนมเมื่อหลายสิบปีก่อน
นับเป็นภาพปรากฏการณ์ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างออกมาดูน่ามหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ชนิดที่หลายๆคนเห็นแล้วอดน้ำตาคลอหน่วยไม่ได้
และนี่ก็คือ 12 สิ่งคัดสรร ซึ่งเป็นปรากฏธรรมชาติอันโดดเด่น ไม่ธรรมดาของอุทยานธรณีโลกสตูล ซึ่งหลังจากนี้ไปทั้งรัฐบาล หน่วยงานเกี่ยวข้อง ชุมชนในพื้นที่ ร่วมถึงคนไทยทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาอุทยานธรณีโลกเอาไว้ให้ดีๆให้คงอยู่คู่กับโลกตลอดไป
..................................................................................
หมายเหตุ : มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) มีอายุประมาณ 542-251 ล้านปี(ก่อนยุคไดโนเสาร์-มหายุคมีโซโซอิก-251-65 ล้านปี) เป็นยุคแห่งสัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายดึกดำบรรพ์ และภูเขาสาหร่ายก่อนที่จะมีสัตว์มีครีบเกิดขึ้นบนโลกใบนี้
มหายุคพาลีโอโซอิกแบ่งออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซรูเลียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส และ เพอร์เมียน (หลังยุคเพอร์เมียนก็เข้าสู่มหายุคมีโซโซอิกซึ่งถือเป็นยุคทองของไดโนเสาร์)
....................................................................................................
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager