โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
โฆษณาเครื่องดื่มตัวหนึ่งบอกเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน แต่ความที่ผมไม่ดื่มเครื่องดื่มชนิดนั้น เป้าหมายของผมในทริปนี้จึงเปลี่ยนจากพุ่งชนมาเป็นการ “มุด-ลอด”เข้าไปแทน
เพราะสถานที่ที่ผมจะไปนั้นมันคือ “ถ้ำแม่อุสุ” หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดตาก อยู่ในความรับผิดชอบของ “อุทยานแห่งชาติแม่เมย” หากใครได้มีโอกาสมาเที่ยวที่อุทยานฯแห่งนี้แล้ว ไม่ควรพลาดการเข้าไปชมความมหัศจรรย์ของถ้ำแม่อุสุด้วยประการทั้งปวง
ตำนานเสือสมิงสำนึกผิด
ถ้ำแม่อุสุไม่เพียงสวยงามน่าตื่นตื่นใจ แต่ยังมีตำนานเรื่องเล่าที่น่าตื่นใจไม่แพ้กัน โดยจากข้อมูลของทางอุทยานฯแม่เมยระบุว่า
...ถ้ำแม่อุสุถูกค้นพบก่อน ปี พ.ศ. 2530 ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ค้นพบคนแรก ชาวปะกะญอ(ปกากะญอ)เรียกถ้ำแม่อุสุว่า “ทีหนึปู่” แปลว่าน้ำไหลเข้าไปในถ้ำ มีเรื่องเล่าสืบทอดกันว่า เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันพระจันทร์เต็มดวง ชาวบ้านจะได้ยินเสียงดนตรีดังสนั่นหวั่นไหวในถ้ำ เหมือนกับว่ามีงานเทศกาล
บ้างก็เล่าว่าในถ้ำมีเสือสมิงอาศัยอยู่ ครั้งหนึ่งได้กินชาวบ้านไปคนหนึ่ง พอตกค่ำแฟนสาวก็รู้ว่าแฟนตัวเองถูกเสือกินตายก็นั่งร้องไห้อยู่ตรงหน้าถ้ำทั้งวันทั้งคืน ไม่ยอมกินข้าวกินปลา จนเสือแปลงกายออกมาขอโทษ และขอรับผิดชอบในสิ่งที่ทำเอาไว้ และจะเลี้ยงดูตลอดชีวิต...
นั่นเป็นตำนานเล่าขาน ที่ฟังดูแล้วเสือสมิงตัวนี้ดูมีมโนธรรมไม่น้อย เพราะยังกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำไป ต่างจากนักการเมืองหลายๆคนในบ้านเราที่เมื่อทำผิด นอกจากจะไม่ยอมรับผิดชอบแล้ว ยังมาลอยหน้าลอยตาโกหกพกลมอีกว่าตนเป็นคนดีทำเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชน ไอ้คนพวกนี้มันต้องให้เสือสมิงขบลากไปกินให้สิ้นเรื่องสิ้นราว
อย่างไรก็ดีกับเรื่องนี้ผมก็ขอย้ำอีกทีว่านี่เป็นเพียงตำนานเท่านั้น เพราะฉะนั้นสาวคนใดที่อยากจะเปลี่ยนแฟน หรือไม่สบอารมณ์แฟนคนเก่า จะหลอกแฟนของตัวเองให้มาที่ถ้ำนี้ เพื่อให้เสือสมิงขบ ลากไปกินนั้น คงต้องไปคิดหาวิธีอื่นแทน
อันซีน โรงละครใต้พิภพ
ถ้ำแม่อุสุ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามมากในอันดับต้นๆของเมืองไทย ได้รับการขนานนามให้เป็น “โรงละครใต้พิภพ” และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ ซึ่งจะอันซีนอย่างไรนั้น เดี๋ยวเข้าไปในถ้ำแล้วคงรู้กัน แต่ตอนนี้ผมขอเปลี่ยนชุดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการลุยถ้ำแม่อุสุเสียก่อน เพราะการจะเข้าไปชมความงามภายในถ้ำต้องเดินลุยน้ำประมาณน่อง(หรือเอวขอบางคนเข้าไป) เนื่องจากถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำน้ำลอด มีลำธารแม่อุสุไหลผ่านลอดหายเข้าไปใต้เพิงผา ดูแล้วสมเป็นอันซีนจริงๆ เพราะเมื่อมองจากภายนอกจะไม่รู้เลยว่าใต้ผาแห่งนี้มีความมหัศจรรย์ของธรรมชาติแฝงเร้นอยู่
เมื่อผมกับเพื่อนๆ เปลี่ยนองค์ทรงเครื่องเตรียมลุยกันพร้อมแล้ว พี่เจ้าหน้าที่คนนำทางก็พาเดินเลียบริมตลิ่ง ก่อนหย่อนขาเดินลุยไปในล้ำห้วย ซึ่งพวกเราก็ต้องทำอย่างนั้นเช่นกัน
สายน้ำในลำห้วยลึกในระดับน่อง พวกเราค่อยๆเดินลุยไปอย่างระมัดระวัง กับสายน้ำสูงในระดับนี้ ถ้าไม่เมาคงไม่มีใครจมน้ำตาย แต่ถ้าเราลื่นล้มหัวคะมำไป กล้องของพวกเขาที่พกมานะสิจะตาย งานนี้จึงค่อยๆไปแบบเนิบ เน้นช้าแต่ชัวร์เป็นสำคัญ
หลังจากเดินลุยน้ำใต้โถงเพดานถ้ำไปประมาณ 260 เมตร เราก็มาถึงยังทางขึ้นถ้ำที่มีการปรับทางทำเป็นบันไดไว้ แต่ใครที่จะก้าวขึ้นต้องระมัดระวังให้ดี เพราะการก้าวตัวขึ้นในช่วงนี้ลื่นใช่เล่น
ภายในถ้ำแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ ห้องแรกมีความสูง 15-20 เมตร มีความยาวประมาณ 40 เมตร มีหินงอกหินย้อยรูปร่างประหลาดให้ดูแล้วจินตนาการการตามกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หินรูปร่างคล้ายสิงโต มีหินผ้าม่านเป็นชั้นๆ หินหัวช้าง หินทรงเจดีย์ รวมไปถึงหินที่ได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำแม่อุสุนั่นก็คือ หินรูปชาวอาข่าแบกของไว้ข้างหลัง
หินก้อนนี้หากส่งไปให้ถูกมุม มองให้ถูกมุม สามารถจินตนาการตามได้ไม่ยาก ส่วนใครจะมองเป็นชาวเขาเผ่าอื่นที่ไม่ใช่อาข่าก็สุดแท้แต่ แต่ผมมองเห็นคุณยายชาวอาข่าเดินแบกของอยู่
ห้องถัดไปห้องที่ 2 มีเพดานถ้ำสูง 15 เมตรขึ้นไป มีความยาวร่วมๆ 65 เมตรแน่ะ ห้องนี้จัดเป็นห้องไฮไลท์ มีมุมอันซีนไทยแลนด์เป็นมุมถ่ายรูปยอดฮิตที่ปรากฏตามหนังสือและเว็บไซต์ท่องเที่ยวทั่วไป แต่มีเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวต้องไปให้ถูกเวลากับช่วงที่แสงแดดยามบ่ายส่องลอดโพรงถ้ำเข้ามาเห็นเป็นลำขนาดใหญ่ ดูปานประหนึ่งสปอร์ตไลท์ขนาดยักษ์ที่ธรรมชาติประทานให้มา
แสงสวรรค์ลำนี้ได้สาดส่องเข้ามาเน้นขับให้ภายในโถงถ้ำห้องนี้เกิดภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ กับหินงอกหินย้อยรูปทรงแปลกตาที่เกิดขึ้นอย่างมีจังหวะจะโคน ไล่องค์ประกอบไปสู่ด้านในที่มีเสาหินสูงใหญ่รูปทรงสวยงามตั้งตระหง่านเงื้อม โดยมีผนังถ้ำด้านหลังที่เป็นริ้วหินงอกหินย้อยซ้อนชั้นเป็นม่านความงามรองรับ ขณะที่ด้านบนเพดานถ้ำอันโอ่โถงนั้นก็มีหินย้อยแหลมๆย้อยลงมาช่วยเสริมความงาม ซึ่งนี่นับเป็นองค์ประกอบมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างที่สื่อถึงความเป็นโรงละครใต้พิภพได้เป็นอย่างดี
จากห้องที่สอง เส้นทางดูเผินๆเหมือนจะจบลงแค่นี้ เพราะเบื้องหน้ามีแนวหินงอกหินย้อยขนาดใหญ่ตั้งเป็นม่านผนังขวางตระหง่านอยู่ แต่พี่เจ้าหน้าที่ได้พาปีนขึ้นไปในช่องเล็กๆ พร้อมบอกให้ทุกคนมุดแทรกตัวตามเข้าไป
โอว...ทางช่วงนี้ลื่นระยับ ผมต้องลงทุนเดิน 4 ขา พร้อมเอาก้นไถลตัวผ่านซอกม่านหินเพื่อไปโผล่ในห้องถัดไป
สำหรับห้องที่ 3 นี้ เป็นห้องที่มีโถงสูงที่สุดอยู่ในราว 20-05 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ภายในมีหินรูปร่างประหลาดแปลกตาให้ชมกันจำนวนหนึ่ง ไม่มากเท่าห้องที่ 2 แต่ว่า หินหลายก้อนถือว่ามีจุดเด่นชวนให้จินตนาการตามได้ดีทีเดียว อย่างเช่น หินรูปฉลามอ้าปาก หินตาหินยาย หรือหินรูปพระปรางค์แล้ว หินหลายก้อนยังมีตะไคร่เกาะเขียว ขณะที่บางก้อนเป็นหินเป็นที่กำลังเติบโต ชุ่มไปด้วยน้ำหินปูนที่หยดลงมาจากเบื้องบน เห็นเนื้อหินขาวเนียนไม่ต่างไปจากผิวสาวหมวยวัยกระเตาะ
หลายคนบอกเวลาเข้าถ้ำอย่าไปสัมผัสหินเป็นเด็ดขาด อันนี้ถูกต้องเพราะจะทำให้หินเป็น เป็นหินตาย เท่ากับเป็นการฆาตกรรมสิ่งมีชีวิตที่มีอายุนับพันนับหมื่นไปไปในทันที อย่างไรก็ดี ไม่เพียงหินเป็นเท่านั้น หินงอกหินย้อยๆอื่นๆที่บางก้อนอาจดูเหมือนหินตายก็ห้ามไปสัมผัสจับต้อง ถูกได้ จับได้ สัมผัสได้ก็แต่หินที่ทางอุทยานฯอนุญาตให้จับต้องได้เท่านั้น(ให้สังเกตจากการสัมผัส จับ ต้องของเจ้าหน้าที่นำทาง)
สิ่งน่าสนใจในห้องที่ 3 ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะเมื่อเดินลึกไปอีกจะพบกับไฮไลท์คือมุมชมวิวที่สามารถมองลงไปเห็นห้องโถงสูงของถ้ำในช่วงสุดท้ายที่ดูออกแนวเหวนิดๆเพราะมันมีช่วงที่ตัดลึกลงไป แต่นี่นับเป็นอีกหนึ่งจุดที่ดูสวยงามอลังการไม่น้อย เพราะมีแสงธรรมชาติส่องลอดเข้ามากระทบ เห็นกลุ่มหินงอกหินย้อยที่มีทั้งข้างบนข้างล่าง แต่ถ้าใครที่จะเดินเลาะแนวขอบหินไปชมพื้นเบื้องล่างต้องระมัดระวังให้ดี เพราะถ้าตกลงไป ไม่ตายก็พิการ
อันซีน ทางลุยน้ำ
หลังถ่ายภาพ ชื่นชม กับความสวยงามของโถงในช่วงสุดท้ายแล้ว พวกเราเดินย้อนไปในเส้นทางสายเก่าเพื่อกลับออกจากถ้ำ เพราะถ้ำแห่งนี้เข้ามาทางไหนก็กลับออกไปทางนั้น
ระหว่างทางช่วงที่เดินลุยน้ำกลับ ผมเห็นที่บริเวณปากทางเข้าถ้ำที่ได้เคยผ่านเข้ามา มีนักท่องเที่ยวคณะอื่นเดินลุยน้ำสวนเข้ามา เกิดเป็นภาพซีลูเอทของกลุ่มคนในเงามืดเดินลุยลำห้วยที่สะท้อนแสงสว่างภายนอกและภายในถ้ำ เกิดเป็นละลอกคลื่นเขียวพริบพราย มีฉากหลังเป็นเนินหญ้าสีเขียว ยามมีคนเดินผ่านเห็นเป็นภาพเงามืดตัดกับแสงสว่างจ้าภายนอกถ้ำ ดูสวยงามน่ายลจนหลายๆคนที่หันมามองตามต้องหยิบกล้องขึ้นมาชักภาพกันคนละหลายๆช็อต
นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมุมอันซีนของถ้ำอันซีนแห่งนี้ที่มีให้ได้ยลกันจนถึงโค้งสุดท้าย
นี่ไยมิใช่อันซีนที่เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจว่า...ในชีวิตคนเราที่มัวแต่มุ่งมองไปยังจุดหมายเบื้องหน้า บางครั้งหากหันมามองย้อนหลัง แล้วทบทวนสิ่งต่างๆที่เคยทำไว้บ้างก็คงจะดีไม่น้อย...
**************************************************
ถ้ำแม่อุสุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอุทยานแห่งชาติแม่เมย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าสองยางไปทางเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 105 สายแม่สอด-แม่สะเรียง เลยกิโลเมตรที่ 94 ไปเล็กน้อย จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงถ้ำแม่อุสุ
ถ้ำแม่อุสุ สามารถเที่ยวชมได้ในฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน การเข้าเที่ยวชมภายในถ้ำควรมีไฟฉาย และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่เมย โทร. 0-5557-7409 และสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก และสถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับถ้ำแม่อุสุ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองตากได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร. 0-5551-4341 -3
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
โฆษณาเครื่องดื่มตัวหนึ่งบอกเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน แต่ความที่ผมไม่ดื่มเครื่องดื่มชนิดนั้น เป้าหมายของผมในทริปนี้จึงเปลี่ยนจากพุ่งชนมาเป็นการ “มุด-ลอด”เข้าไปแทน
เพราะสถานที่ที่ผมจะไปนั้นมันคือ “ถ้ำแม่อุสุ” หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดตาก อยู่ในความรับผิดชอบของ “อุทยานแห่งชาติแม่เมย” หากใครได้มีโอกาสมาเที่ยวที่อุทยานฯแห่งนี้แล้ว ไม่ควรพลาดการเข้าไปชมความมหัศจรรย์ของถ้ำแม่อุสุด้วยประการทั้งปวง
ตำนานเสือสมิงสำนึกผิด
ถ้ำแม่อุสุไม่เพียงสวยงามน่าตื่นตื่นใจ แต่ยังมีตำนานเรื่องเล่าที่น่าตื่นใจไม่แพ้กัน โดยจากข้อมูลของทางอุทยานฯแม่เมยระบุว่า
...ถ้ำแม่อุสุถูกค้นพบก่อน ปี พ.ศ. 2530 ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ค้นพบคนแรก ชาวปะกะญอ(ปกากะญอ)เรียกถ้ำแม่อุสุว่า “ทีหนึปู่” แปลว่าน้ำไหลเข้าไปในถ้ำ มีเรื่องเล่าสืบทอดกันว่า เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันพระจันทร์เต็มดวง ชาวบ้านจะได้ยินเสียงดนตรีดังสนั่นหวั่นไหวในถ้ำ เหมือนกับว่ามีงานเทศกาล
บ้างก็เล่าว่าในถ้ำมีเสือสมิงอาศัยอยู่ ครั้งหนึ่งได้กินชาวบ้านไปคนหนึ่ง พอตกค่ำแฟนสาวก็รู้ว่าแฟนตัวเองถูกเสือกินตายก็นั่งร้องไห้อยู่ตรงหน้าถ้ำทั้งวันทั้งคืน ไม่ยอมกินข้าวกินปลา จนเสือแปลงกายออกมาขอโทษ และขอรับผิดชอบในสิ่งที่ทำเอาไว้ และจะเลี้ยงดูตลอดชีวิต...
นั่นเป็นตำนานเล่าขาน ที่ฟังดูแล้วเสือสมิงตัวนี้ดูมีมโนธรรมไม่น้อย เพราะยังกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำไป ต่างจากนักการเมืองหลายๆคนในบ้านเราที่เมื่อทำผิด นอกจากจะไม่ยอมรับผิดชอบแล้ว ยังมาลอยหน้าลอยตาโกหกพกลมอีกว่าตนเป็นคนดีทำเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชน ไอ้คนพวกนี้มันต้องให้เสือสมิงขบลากไปกินให้สิ้นเรื่องสิ้นราว
อย่างไรก็ดีกับเรื่องนี้ผมก็ขอย้ำอีกทีว่านี่เป็นเพียงตำนานเท่านั้น เพราะฉะนั้นสาวคนใดที่อยากจะเปลี่ยนแฟน หรือไม่สบอารมณ์แฟนคนเก่า จะหลอกแฟนของตัวเองให้มาที่ถ้ำนี้ เพื่อให้เสือสมิงขบ ลากไปกินนั้น คงต้องไปคิดหาวิธีอื่นแทน
อันซีน โรงละครใต้พิภพ
ถ้ำแม่อุสุ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามมากในอันดับต้นๆของเมืองไทย ได้รับการขนานนามให้เป็น “โรงละครใต้พิภพ” และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ ซึ่งจะอันซีนอย่างไรนั้น เดี๋ยวเข้าไปในถ้ำแล้วคงรู้กัน แต่ตอนนี้ผมขอเปลี่ยนชุดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการลุยถ้ำแม่อุสุเสียก่อน เพราะการจะเข้าไปชมความงามภายในถ้ำต้องเดินลุยน้ำประมาณน่อง(หรือเอวขอบางคนเข้าไป) เนื่องจากถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำน้ำลอด มีลำธารแม่อุสุไหลผ่านลอดหายเข้าไปใต้เพิงผา ดูแล้วสมเป็นอันซีนจริงๆ เพราะเมื่อมองจากภายนอกจะไม่รู้เลยว่าใต้ผาแห่งนี้มีความมหัศจรรย์ของธรรมชาติแฝงเร้นอยู่
เมื่อผมกับเพื่อนๆ เปลี่ยนองค์ทรงเครื่องเตรียมลุยกันพร้อมแล้ว พี่เจ้าหน้าที่คนนำทางก็พาเดินเลียบริมตลิ่ง ก่อนหย่อนขาเดินลุยไปในล้ำห้วย ซึ่งพวกเราก็ต้องทำอย่างนั้นเช่นกัน
สายน้ำในลำห้วยลึกในระดับน่อง พวกเราค่อยๆเดินลุยไปอย่างระมัดระวัง กับสายน้ำสูงในระดับนี้ ถ้าไม่เมาคงไม่มีใครจมน้ำตาย แต่ถ้าเราลื่นล้มหัวคะมำไป กล้องของพวกเขาที่พกมานะสิจะตาย งานนี้จึงค่อยๆไปแบบเนิบ เน้นช้าแต่ชัวร์เป็นสำคัญ
หลังจากเดินลุยน้ำใต้โถงเพดานถ้ำไปประมาณ 260 เมตร เราก็มาถึงยังทางขึ้นถ้ำที่มีการปรับทางทำเป็นบันไดไว้ แต่ใครที่จะก้าวขึ้นต้องระมัดระวังให้ดี เพราะการก้าวตัวขึ้นในช่วงนี้ลื่นใช่เล่น
ภายในถ้ำแห่งนี้แบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ ห้องแรกมีความสูง 15-20 เมตร มีความยาวประมาณ 40 เมตร มีหินงอกหินย้อยรูปร่างประหลาดให้ดูแล้วจินตนาการการตามกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หินรูปร่างคล้ายสิงโต มีหินผ้าม่านเป็นชั้นๆ หินหัวช้าง หินทรงเจดีย์ รวมไปถึงหินที่ได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของถ้ำแม่อุสุนั่นก็คือ หินรูปชาวอาข่าแบกของไว้ข้างหลัง
หินก้อนนี้หากส่งไปให้ถูกมุม มองให้ถูกมุม สามารถจินตนาการตามได้ไม่ยาก ส่วนใครจะมองเป็นชาวเขาเผ่าอื่นที่ไม่ใช่อาข่าก็สุดแท้แต่ แต่ผมมองเห็นคุณยายชาวอาข่าเดินแบกของอยู่
ห้องถัดไปห้องที่ 2 มีเพดานถ้ำสูง 15 เมตรขึ้นไป มีความยาวร่วมๆ 65 เมตรแน่ะ ห้องนี้จัดเป็นห้องไฮไลท์ มีมุมอันซีนไทยแลนด์เป็นมุมถ่ายรูปยอดฮิตที่ปรากฏตามหนังสือและเว็บไซต์ท่องเที่ยวทั่วไป แต่มีเงื่อนไขว่านักท่องเที่ยวต้องไปให้ถูกเวลากับช่วงที่แสงแดดยามบ่ายส่องลอดโพรงถ้ำเข้ามาเห็นเป็นลำขนาดใหญ่ ดูปานประหนึ่งสปอร์ตไลท์ขนาดยักษ์ที่ธรรมชาติประทานให้มา
แสงสวรรค์ลำนี้ได้สาดส่องเข้ามาเน้นขับให้ภายในโถงถ้ำห้องนี้เกิดภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ กับหินงอกหินย้อยรูปทรงแปลกตาที่เกิดขึ้นอย่างมีจังหวะจะโคน ไล่องค์ประกอบไปสู่ด้านในที่มีเสาหินสูงใหญ่รูปทรงสวยงามตั้งตระหง่านเงื้อม โดยมีผนังถ้ำด้านหลังที่เป็นริ้วหินงอกหินย้อยซ้อนชั้นเป็นม่านความงามรองรับ ขณะที่ด้านบนเพดานถ้ำอันโอ่โถงนั้นก็มีหินย้อยแหลมๆย้อยลงมาช่วยเสริมความงาม ซึ่งนี่นับเป็นองค์ประกอบมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสรรค์สร้างที่สื่อถึงความเป็นโรงละครใต้พิภพได้เป็นอย่างดี
จากห้องที่สอง เส้นทางดูเผินๆเหมือนจะจบลงแค่นี้ เพราะเบื้องหน้ามีแนวหินงอกหินย้อยขนาดใหญ่ตั้งเป็นม่านผนังขวางตระหง่านอยู่ แต่พี่เจ้าหน้าที่ได้พาปีนขึ้นไปในช่องเล็กๆ พร้อมบอกให้ทุกคนมุดแทรกตัวตามเข้าไป
โอว...ทางช่วงนี้ลื่นระยับ ผมต้องลงทุนเดิน 4 ขา พร้อมเอาก้นไถลตัวผ่านซอกม่านหินเพื่อไปโผล่ในห้องถัดไป
สำหรับห้องที่ 3 นี้ เป็นห้องที่มีโถงสูงที่สุดอยู่ในราว 20-05 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ภายในมีหินรูปร่างประหลาดแปลกตาให้ชมกันจำนวนหนึ่ง ไม่มากเท่าห้องที่ 2 แต่ว่า หินหลายก้อนถือว่ามีจุดเด่นชวนให้จินตนาการตามได้ดีทีเดียว อย่างเช่น หินรูปฉลามอ้าปาก หินตาหินยาย หรือหินรูปพระปรางค์แล้ว หินหลายก้อนยังมีตะไคร่เกาะเขียว ขณะที่บางก้อนเป็นหินเป็นที่กำลังเติบโต ชุ่มไปด้วยน้ำหินปูนที่หยดลงมาจากเบื้องบน เห็นเนื้อหินขาวเนียนไม่ต่างไปจากผิวสาวหมวยวัยกระเตาะ
หลายคนบอกเวลาเข้าถ้ำอย่าไปสัมผัสหินเป็นเด็ดขาด อันนี้ถูกต้องเพราะจะทำให้หินเป็น เป็นหินตาย เท่ากับเป็นการฆาตกรรมสิ่งมีชีวิตที่มีอายุนับพันนับหมื่นไปไปในทันที อย่างไรก็ดี ไม่เพียงหินเป็นเท่านั้น หินงอกหินย้อยๆอื่นๆที่บางก้อนอาจดูเหมือนหินตายก็ห้ามไปสัมผัสจับต้อง ถูกได้ จับได้ สัมผัสได้ก็แต่หินที่ทางอุทยานฯอนุญาตให้จับต้องได้เท่านั้น(ให้สังเกตจากการสัมผัส จับ ต้องของเจ้าหน้าที่นำทาง)
สิ่งน่าสนใจในห้องที่ 3 ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะเมื่อเดินลึกไปอีกจะพบกับไฮไลท์คือมุมชมวิวที่สามารถมองลงไปเห็นห้องโถงสูงของถ้ำในช่วงสุดท้ายที่ดูออกแนวเหวนิดๆเพราะมันมีช่วงที่ตัดลึกลงไป แต่นี่นับเป็นอีกหนึ่งจุดที่ดูสวยงามอลังการไม่น้อย เพราะมีแสงธรรมชาติส่องลอดเข้ามากระทบ เห็นกลุ่มหินงอกหินย้อยที่มีทั้งข้างบนข้างล่าง แต่ถ้าใครที่จะเดินเลาะแนวขอบหินไปชมพื้นเบื้องล่างต้องระมัดระวังให้ดี เพราะถ้าตกลงไป ไม่ตายก็พิการ
อันซีน ทางลุยน้ำ
หลังถ่ายภาพ ชื่นชม กับความสวยงามของโถงในช่วงสุดท้ายแล้ว พวกเราเดินย้อนไปในเส้นทางสายเก่าเพื่อกลับออกจากถ้ำ เพราะถ้ำแห่งนี้เข้ามาทางไหนก็กลับออกไปทางนั้น
ระหว่างทางช่วงที่เดินลุยน้ำกลับ ผมเห็นที่บริเวณปากทางเข้าถ้ำที่ได้เคยผ่านเข้ามา มีนักท่องเที่ยวคณะอื่นเดินลุยน้ำสวนเข้ามา เกิดเป็นภาพซีลูเอทของกลุ่มคนในเงามืดเดินลุยลำห้วยที่สะท้อนแสงสว่างภายนอกและภายในถ้ำ เกิดเป็นละลอกคลื่นเขียวพริบพราย มีฉากหลังเป็นเนินหญ้าสีเขียว ยามมีคนเดินผ่านเห็นเป็นภาพเงามืดตัดกับแสงสว่างจ้าภายนอกถ้ำ ดูสวยงามน่ายลจนหลายๆคนที่หันมามองตามต้องหยิบกล้องขึ้นมาชักภาพกันคนละหลายๆช็อต
นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมุมอันซีนของถ้ำอันซีนแห่งนี้ที่มีให้ได้ยลกันจนถึงโค้งสุดท้าย
นี่ไยมิใช่อันซีนที่เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจว่า...ในชีวิตคนเราที่มัวแต่มุ่งมองไปยังจุดหมายเบื้องหน้า บางครั้งหากหันมามองย้อนหลัง แล้วทบทวนสิ่งต่างๆที่เคยทำไว้บ้างก็คงจะดีไม่น้อย...
**************************************************
ถ้ำแม่อุสุ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอุทยานแห่งชาติแม่เมย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าสองยางไปทางเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 105 สายแม่สอด-แม่สะเรียง เลยกิโลเมตรที่ 94 ไปเล็กน้อย จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงถ้ำแม่อุสุ
ถ้ำแม่อุสุ สามารถเที่ยวชมได้ในฤดูแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม-เมษายน การเข้าเที่ยวชมภายในถ้ำควรมีไฟฉาย และควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่เมย โทร. 0-5557-7409 และสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก และสถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับถ้ำแม่อุสุ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองตากได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานตาก โทร. 0-5551-4341 -3
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager