โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ดึกดื่น เดือนดับ ดาวเด่น...
เขาดั้นด้น ด่อมดุ่ม เดินเดี่ยว
เดียวดาย ดูดาว ดารดาษ
...บนดอยโดด
ณ เวลาดึกดื่นค่อนคืนนี้เช่นนี้ ด้วยวิถีนักล่า(?) ทำให้เขาต้องอดตาหลับขับตานอน ขึ้นมายืนเปล่าเปลี่ยวบนยอดดอยอันหนาวเหน็บ
เปล่า?!? เขาไม่ได้พกปืนมาล่าเสือดำ หากแต่พกกล้องมาล่าช้าง บนดอยสูงที่มีโอกาสพบเจอ“ทางช้างเผือก” อันสวยงามแจ่มกระจ่างตาที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ดอยแห่งนี้มีนามว่า“สวนยาหลวง”
ดอยที่ในอดีตเป็นดินแดนแห่งยาพิษร้าย ก่อนที่ปัจจุบันจะกลายมาเป็นดอยสวยรุ่มรวยกาแฟหอมกรุ่นกลิ่น
ไม่เพียงเท่านั้น วันนี้ดอยสวนยาหลวงยังมีอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ในจังหวัดน่านที่กำลังมาแรง รอคอยให้นักเดินทางขาลุยขึ้นไปสัมผัสความงามกันสักครั้ง หรือหลายๆครั้ง
1.
“ดอยสวนยาหลวง” ชื่อนี้มีที่มาจากเมื่อครั้งอดีตดอยแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นขนาดใหญ่ของชาวเขาเผ่าเมี่ยน(เย้า) ที่อพยพจากทางตอนใต้ของจีนเข้ามามาอยู่ที่ภาคเหนือของเมืองไทยเมื่อนานมาแล้ว(สวนยา =ยาฝิ่น, หลวง = ใหญ่)
ต่อมาด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการช่วยเหลือชาวไทยภูเขาในพื้นที่ภาคเหนือของไทย โครงการต่างๆใต้ร่มพระบารมีจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อมุ่งสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆแทน
ดอยสวนยาหลวง(รวมถึงดอยสูงอื่นๆในภาคเหนือ) ซึ่งเดิมเต็มไปด้วยไร่ฝิ่น พืชอันตรายที่เป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย จึงค่อยๆถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นแหล่งปลูกพืชอย่างเช่น ข้าวโพด พริก ฝ้าย และพืชล้มลุกอื่นๆ
กระทั่งในปี พ.ศ. 2532 เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อทางการได้เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกกาแฟ(พันธุ์อาราบิก้า) หลังจากนั้นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้หันมาทดลองปลูกกาแฟส่งขาย ปรากฏว่าได้ผลผลิตดีมีกำไรงาม ส่งผลให้วันนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดอยสวนยาหลวง(ชาวเมี่ยน-หมู่บ้านสันเจริญ) ต่างหันมาปลูกกาแฟเป็นอาชีพหลัก เพราะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ดอยสวนยาหลวง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยศึกษาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยกาด อ.ปง จ.พะเยา มียอดสูงสุดประมาณ 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่ต่างเรียกขานดอยแห่งนี้ว่า “ดอยสัน” ตามลักษณะของภูมิประเทศที่เป็นแนวสันเขารอยต่อระหว่างจังหวัดน่าน(ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา)กับพะเยา(ต.ผาช้างน้อย อ.ปง) ซึ่งสามารถเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยสวนยาหลวงได้ทั้งสองฝั่ง (แต่ขึ้นทางฝั่งจังหวัดน่านจะลำบากน้อยกว่า ย้ำว่าลำบากน้อยกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะสะดวกสบายมากกว่า)
ชื่อดอยสันสอดคล้องกับที่มาของชื่อหมู่บ้าน“สันเจริญ” (ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา) ชุมชนชาวเมี่ยนที่มีความเกี่ยวพันกับชื่อดอยสวนยาหลวงตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
บ้านสันเจริญ เป็นหมู่บ้านขนาดย่อมท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม อยู่ห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ 70 กม. และอยู่ห่างจากยอดดอยสวนยาหลวงประมาณ 10 กม.ที่นี่เป็นทั้งจุดเที่ยว ทางผ่าน และจุดแวะสำคัญของผู้ที่จะเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดดอยสวนยาหลวง(หากขึ้นทางฝั่งน่าน)
โดยหลังจากที่ผมกับคณะเดินทางจากตัวเมืองน่านมาถึงยังหมู่บ้านสันเจริญ พวกเราก็ตรงรี่ไปยังจุดนัดพบคือ“ร้านกาแฟ ลาเปี้ยน”(Lapien) ที่วันนี้เป็นดังจุดประสานงานและศูนย์กลางในการติดต่อขึ้นไปเที่ยวบนยอดดอยสวนยาหลวง
ร้านกาแฟ ลาเปี้ยน หากดูผ่านๆจากด้านนอก จะดูไม่ค่อยเหมือนร้านกาแฟสักเท่าไหร่ (แต่ดูเหมือนฟาร์มไก่ชนมากกว่า) แต่ทว่าเมื่อเดินเข้าไปด้านใน ผมก็ได้พบกับร้านกาแฟเล็กๆที่ตกแต่งอย่างกิ๊บเก๋ร่วมสมัย พร้อมกับเจ้าของร้านร่างเล็กแต่มี“ฝันใหญ่” คือคุณ“ภูวนาท เจริญรัตนนุกุล” หรือ คุณ“กริช”(Grit) หนุ่มชาวเมี่ยน ผู้ลงดอยไปใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เมืองมาอย่างหลากหลาย(สายอาชีพ) ก่อนที่สุดท้ายจะพบว่า การหวนคืนสู่ดอยสวนยาหลวงแผ่นดินเกิด และการกลับมาทำกาแฟตามพื้นฐานอาชีพที่ตัวเองถนัดเชี่ยวชาญนั้นเป็นดีที่สุด
กริชนอกจากจะปลูกกาแฟ รับซื้อกาแฟ พัฒนาสายพันธุ์กาแฟ และทำสิ่งอื่นๆเกี่ยวกับกาแฟอันหลากหลายแล้ว เขายังเปิดร้านกาแฟ(ที่บ้าน)พร้อมทั้งมีผลิตภัณฑ์กาแฟของตัวเองในชื่อแบรนด์ “ลาเปี้ยน คอฟฟี่”(Lapien Coffee) ซึ่งเป็นการนำเอาชื่อต้นตระกูลของเขาคือครอบครัวชาวลาเปี้ยนแห่งหมู่บ้านสันเจริญมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์กาแฟ โดยมุ่งเน้นการผลิตกาแฟดีเป็นมิตรต่อธรรมชาติ เพื่อให้คนกันป่าอาศัยอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน โดยน้อมนำแนวเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทาง
นอกจากกาแฟแล้ว วันนี้หนุ่มกริชยังหันมาจับงานด้านการท่องเที่ยวภายในชุมชนเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ โดยหลังจากที่เขาพาเพื่อนๆในเมืองมาเที่ยวบ้าน มาจิบกาแฟ แล้วก็เลยต่อด้วยการพาขึ้นไปชมความงามของยอดดอยสวนยาหลวง ที่แต่เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนรู้จักกันเฉพาะในวงแคบ
เมื่อเพื่อนของกริชกลับไปก็ได้นำภาพและเรื่องราวความประทับใจของดอยสวนยาหลวงไปเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้ชื่อเสียงของดอยแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีคนทยอยขึ้นมาเที่ยวตามเรื่อยๆ พร้อมช่วยเผยแพร่ แชร์ต่อๆกันไป จนวันนี้ดอยสวนยาหลวงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรงของจังหวัดน่านไปแล้ว
สำหรับเรื่องท่องเที่ยวนี้ แม้จะเป็นอาชีพเสริมที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่นี่ก็คืออีกหนึ่ง“เส้นทางฝัน”ของเขา เพราะกริชเรียนจบมาทางด้านการท่องเที่ยว และมีโอกาสได้ใช้วิชาชีพที่ตัวเองร่ำเรียนมาอยู่พักหนึ่งในเมืองใหญ่ ก่อนที่จะหวนคืนถิ่นกลับขึ้นดอย
และวันนี้เขาก็มุ่งมั่นตั้งใจทำด้านกาแฟควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว เพื่อเดินไปตามเส้นทางฝันของตัวเอง
2.
หลังจากหนุ่มกริชชงกาแฟหอมกรุ่น(ตามสั่ง)ให้กับชาวคณะเราแล้ว ต่อไปก็เป็นการเปลี่ยนรถจากรถ(ตู้)ที่นั่งมาหันมาใช้บริการรถกระบะของชุมชน ซึ่งเส้นทางขึ้นยอดดอยสวนยาหลวงนั้น เป็นถนนลูกรัง แคบ สูงชัน ทางลดเลี้ยวเคี้ยว ต้องใช้รถโฟร์วีลหรือรถกระบะที่มีพลังขับเคลื่อนสูง ที่สำคัญคือสารถีผู้ขับต้องชำนาญเส้นทาง ไม่งั้นอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดอันตราย หรือเกิดการเอาไม่อยู่ ติดแหงกไปไม่เป็นในระหว่างทางได้
เมื่อรถพร้อม คนพร้อม พวกเราก็ขึ้นรถกระบะ(ผู้หญิงนั่งหน้า ผู้ชายนั่งท้าย)ออกตะลุยขึ้นสู่บนยอดดอยสวนยาหลวงในทันที ซึ่งหลังรถวิ่งไปบนทางลาดยางได้ไม่นาน สภาพเส้นทางก็เปลี่ยนไปกลายเป็นถนนลูกรังทางแคบคดเคี้ยว กระเด้งกระดอน ชนิดที่พวกเราต้องใช้วิทยายุทธ์ นั่งเกร็งลมปราณ และเกร็งอวัยวะต่างๆกันจนตัวเกร็ง
ระหว่างทางบางจุดเมื่อมีรถสวนมา โชเฟอร์ก็ต้องหาจังหวะถอยหลบกันเป็นที่ลุ้นระทึก แต่ก็ต้องยอมรับว่านี่เป็นอีกหนึ่งเส้นทางสายสวย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสายกาแฟ ที่ชาวบ้านสันเจริญได้ปลูกกาแฟไล่เรื่อยขึ้นมาจากตีนดอยไปจนเกือบๆถึงปลายดอย
หลังนั่งเกร็งบนรถกระบะมาหลายกิโล(เมตร) งานนี้คุณ“ชูชาติ แซ่ลี้”หรือ“น้าป่า”(น้าของกริช) หัวหน้าทีมขับรถผู้รุ่มรวยอารมณ์ขันเหมือนดังรู้ใจ พาแวะจอดระหว่างทางให้พวกเราลงเดินยืนเส้นยืดสายคลายอาการเกร็ง ตรงบริเวณแปลงสตรอว์เบอร์รี่เล็กๆของชาวบ้านที่ช่วงนี้กำลังออกลูกสีแดงสดใสชวนให้เก็บกินเป็นยิ่งนัก
และก็ดูเหมือนว่าน้าป่าแกจะรู้ใจพวกเราอีกแล้ว เพราะแกบอกว่า แปลงสตรอว์เบอร์รี่ที่นี่ชาวบ้านไม่ได้ปลูกขาย แต่ปลูกเอาไว้เก็บกินกันเอง สามารถเก็บกินลูกสดๆได้ เพราะเขาปลูกแบบปลอดสารพิษ
พอน้าป่าพูดจบ เท่านั้นแหละ แต่ละคนในทริปต่างก็มีโลกส่วนตัว เดินหาแง่มุมของตัวเองเก็บสตรอว์เบอร์รี่สีแดงสดมาเคี้ยวกินกร้วมๆกันอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งต้องยอมรับว่าสตรอว์เบอร์รี่แปลงนี้มันหวานฉ่ำ อร่อยมาก
อย่างไรก็ดีก่อนอำลาจากแปลงสตรอว์เบอร์รี่แสนอร่อย น้าป่าได้บอกกับพวกเราว่า สตรอว์เบอร์รี่แปลงนี้แม้จะเก็บกินได้ ปลอดภัยไร้สารพิษ แต่ว่าน้าแกยังไม่ได้บอกกับเจ้าของเลยว่า จะพาคนขึ้นมาเก็บกิน
งานนี้ทำเอาแต่ละคนในทริปต่างกลับมามีโลกส่วนตัวอีกครั้ง กระโดดขึ้นรถหาแง่มุมของตัวเอง และบอกสารถีว่าให้รีบขับรถขึ้นดอยแต่โดยพลัน
ส่วนถ้าเจ้าของแปลงสตรอว์เบอร์รี่จะมาเก็บสตางต์ ก็เก็บกับน้าป่าได้เลย
พวกเราเชียร์!!!
จากแปลงสตรอว์เบอร์รี่ รถกระบะพาเราไต่ขึ้นดอยสูงไปเรื่อยๆ ผ่านเส้นทางช่วงท้ายๆ ที่เป็นไร่กาแฟบนดอย มีที่พักเก็บกาแฟของชาวบ้านอยู่ 2-3 จุด ก่อนจะเข้าสู่เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ฟื้นตัวมาหลังการปลูกฝิ่น ดูร่มรื่นเขียวครึ้ม เย็นสบาย
หลังจากนั้นอีกไม่นานเราก็มาถึงยังยอดดอยสวนยาหลวง ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวสันเขาทอดยาว สภาพบนนี้เป็นป่าทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้เล็กขึ้นสลับ เพราะมีลมแรง ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้
บนยอดดอยมีป้ายดอยสวนยาหลวงตั้งเด่นอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างน่านกับพะเยา พร้อมกับธงชาติไทยพัดปลิวไสว(แต่เป็นธงชาติขาดแหว่ง ถ้าใครสามารถเปลี่ยนได้ รบกวนช่วยเปลี่ยนด้วยก็ดี)
บนยอดดอยสวนยาหลวงนี้ สามารถชมวิวได้ในรอบทิศทาง ฝั่งตะวันตกเป็นพะเยา ฝั่งตะวันออกเป็นน่าน
ในวันที่ฟ้าเป็นใจ บนนี้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ในหลากหลายอรรถรส ไม่ว่าจะเป็น ยามเย็นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ลาลับทางฝั่งพะเยา ยามเช้าที่สามารถเห็นตะวันเบิกฟ้าทางฝั่งน่าน และทะเลหมอกอันสวยงามกว้างไกล และอีกหนึ่งไฮไลท์คือการดูเดือนดาวยามราตรี ที่ในยามวิกาลดึกสงัดของคืนเดือนมืดที่นี่ถือเป็นแหล่งดูดาว ถ่ายภาพทางช้างเผือกได้อย่างสวยงามแจ่มกระจ่างชัดตามากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย(ในช่วงที่ทางช้างเผือกปรากฏ)
อย่างไรก็ดี หากวันไหนดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ(เหมือนอย่างในวันที่ผมไป)บนนี้ก็ยังมีวิวทิวทัศน์อันสวยงามกว้างไกลของแนวเทือกเขาสูงให้ชมกันได้อย่างเพลิดเพลิน
นอกจากนี้บนยอดดอยสวนยาหลวงที่มีอากาศเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บวกกับสายลมที่พัดกระโชกแรง ทำเอาบนนี้หนาวเย็นสะท้าน ซึ่งแม้ช่วงนี้จะเป็นหน้าร้อน ที่อากาศในเมืองกรุงฯร้อนระยับ แต่บนยอดดอยแห่งนี้กลับมีอากาศหนาวเหน็บ ชวนให้เหล่านักเดินทางผู้รักความท้าทาย
...หนีร้อนมานอนหนาว ดูดาวพราวพร่าง ดูจันทร์กระจ่าง ดูทางช้างเผือกงามเด่น...บนดอยสวนยาหลวงแห่งนี้กัน
3.
ตะวันลับฟ้า วิกาลมาเยือน
เนื่องจากคืนนี้เป็นคืนเดือนเพ็ญจันทร์กระจ่าง จึงหมดสิทธิ์มองเห็นทางช้างเผือก
พวกเราจึงเปลี่ยนแผนจากเดิมที่คิดว่าจะกางเต็นท์นอนบนยอดดอย ลงมานอนโฮมสเตย์ในที่พักเก็บกาแฟของชาวบ้าน ซึ่งทางทีมงานของกริชได้จัดเตรียมอาหารไว้คอยท่าอยู่แล้ว มีทั้งอาหารพื้นถิ่นของที่นี่และอาหารอีกส่วนหนึ่งที่พวกเราซื้อมาจากตลาด
ขณะที่ในเรื่องของเครื่องดื่มนั้น ใครชอบดื่มอะไรเป็นพิเศษ ก็ให้นำขึ้นมาเอง แต่แนะนำว่าไม่ต้องนำกาแฟขึ้นมา เพราะที่นี่เขาเป็นแหล่งผลิตกาแฟ จึงมีกาแฟรสชาติเยี่ยมไว้บริการอยู่แล้ว
ที่สำคัญคือหนุ่มกริชเขามีไฮไลท์ คือการ “ดริปบนดอย คอยตะวัน” หรือ “ดริปกาแฟ แลตะวัน” จัดเตรียมไว้ให้ตั้งแต่ย่ำรุ่งของวันถัดไป ซึ่งในเช้ามืดของเช้าวันใหม่นี้ พวกเราเดินทางกลับขึ้นมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดดอยสวนยาหลวงอีกครั้ง
ในระหว่างนี้ กริชก็ได้นำชุดกาแฟที่เตรียมมา จัดการดริปกาแฟกันสดๆบนยอดดอยในระหว่างเฝ้ารอคอยตะวัน เสิร์ฟให้พวกเราได้จิบรับอรุณยามเช้ากันอย่างถ้วนทั่วหน้า
นี่นับเป็นอีกหนึ่งอารมณ์กาแฟที่สุดแสนฟิน ค่อยๆละเลียดจิบกาแฟไปท่ามกลางบรรยากาศอันหนาวเหน็บ ควบคู่ไปกับการเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง เพราะในเช้าวันนี้ ดวงตะวันได้แย้มเบิกฟ้า อวดโฉมเป็นไข่แดงดวงกลมโตให้พวกเราได้ตื่นตาตื่นใจกันอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะค่อยๆสาดแสงเจิดจ้าอาบไล้ทุ่งหญ้าไปทั่วยอดดอย ซึ่งมาพร้อมๆกับกาแฟที่จิบอย่างเพลิดเพลินจนหมดแก้วไปอย่างไม่รู้ตัว
4.
เมื่อแสงตะวันสาดส่องแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้เวลาที่พวกเราต้องเดินทางลงจากดอย ซึ่งในระหว่างนี่เราไปแวะถ่ายรูปตามจุดชมวิวต่างๆในระหว่างทาง อีก 2-3 จุด นำโดยจุดชมวิวบริเวณองค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรในลักษณะเดียวกับที่วัดพระธาตุเขาน้อย ในตัวเมืองน่าน
ต่อจากนั้นกริช น้าป่า ก็พาผมกับคณะขึ้นรถกระบะ เดินทางผ่านลงดอยในเส้นทางเก่าบนถนนลูกรังที่คดเคี้ยวสูงชัน มุ่งหน้ากลับคืนสู่หมู่บ้านสันเจริญอีกครั้ง
สำหรับถนนสายนี้ นอกจากจะเป็นเส้นทางสายกาแฟหอมกรุ่นกลิ่นของชาวบ้านสันเจริญแล้ว ยังเป็นเส้นทางเดินตามฝันของหนุ่มชาวเมี่ยนคนหนึ่ง และเป็นเส้นทางออกไปตามหาฝันของนักเดินทางผู้รักความท้าทายจำนวนมาก
ความฝัน...บางคนเลือกที่จะมุ่งมั่นเดินทางไปไขว่คว้า
ความฝัน...บางคนเลือกที่จะใช้เป็นพลังเติมเต็มต่อสู้กับโลกแห่งความจริงอันโหดร้าย
ความฝัน...หลายคนเลือกที่จะปล่อยให้มันผ่านเลย มลายหายไป พร้อมกับหลับอีกหนึ่งตื่น....
สอบถามข้อมูล การท่องเที่ยวดอยสวนยาหลวงและหมู่บ้านสันเจริญเพิ่มเติมได้ที่ “คุณกริช : ภูวนาท เจริญรัตนนุกุล” โทร. 086-390-7737 หรือดูที่ เฟซบุกแฟนเพจ ท่องเที่ยวดอยสวนยาหลวง บ้านสันเจริญ
และสามารถสอบถามข้อมูล รายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดน่านเชื่อมโยงกับดอยสวนยาหลวง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ (พื้นที่รับผิดชอบแพร่ น่าน) โทร.0-5452-1127 ทุกวันในเวลาราชการ
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ดึกดื่น เดือนดับ ดาวเด่น...
เขาดั้นด้น ด่อมดุ่ม เดินเดี่ยว
เดียวดาย ดูดาว ดารดาษ
...บนดอยโดด
ณ เวลาดึกดื่นค่อนคืนนี้เช่นนี้ ด้วยวิถีนักล่า(?) ทำให้เขาต้องอดตาหลับขับตานอน ขึ้นมายืนเปล่าเปลี่ยวบนยอดดอยอันหนาวเหน็บ
เปล่า?!? เขาไม่ได้พกปืนมาล่าเสือดำ หากแต่พกกล้องมาล่าช้าง บนดอยสูงที่มีโอกาสพบเจอ“ทางช้างเผือก” อันสวยงามแจ่มกระจ่างตาที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ดอยแห่งนี้มีนามว่า“สวนยาหลวง”
ดอยที่ในอดีตเป็นดินแดนแห่งยาพิษร้าย ก่อนที่ปัจจุบันจะกลายมาเป็นดอยสวยรุ่มรวยกาแฟหอมกรุ่นกลิ่น
ไม่เพียงเท่านั้น วันนี้ดอยสวนยาหลวงยังมีอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในฐานะแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ในจังหวัดน่านที่กำลังมาแรง รอคอยให้นักเดินทางขาลุยขึ้นไปสัมผัสความงามกันสักครั้ง หรือหลายๆครั้ง
1.
“ดอยสวนยาหลวง” ชื่อนี้มีที่มาจากเมื่อครั้งอดีตดอยแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นขนาดใหญ่ของชาวเขาเผ่าเมี่ยน(เย้า) ที่อพยพจากทางตอนใต้ของจีนเข้ามามาอยู่ที่ภาคเหนือของเมืองไทยเมื่อนานมาแล้ว(สวนยา =ยาฝิ่น, หลวง = ใหญ่)
ต่อมาด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการช่วยเหลือชาวไทยภูเขาในพื้นที่ภาคเหนือของไทย โครงการต่างๆใต้ร่มพระบารมีจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อมุ่งสร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆแทน
ดอยสวนยาหลวง(รวมถึงดอยสูงอื่นๆในภาคเหนือ) ซึ่งเดิมเต็มไปด้วยไร่ฝิ่น พืชอันตรายที่เป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย จึงค่อยๆถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นแหล่งปลูกพืชอย่างเช่น ข้าวโพด พริก ฝ้าย และพืชล้มลุกอื่นๆ
กระทั่งในปี พ.ศ. 2532 เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อทางการได้เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกกาแฟ(พันธุ์อาราบิก้า) หลังจากนั้นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้หันมาทดลองปลูกกาแฟส่งขาย ปรากฏว่าได้ผลผลิตดีมีกำไรงาม ส่งผลให้วันนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดอยสวนยาหลวง(ชาวเมี่ยน-หมู่บ้านสันเจริญ) ต่างหันมาปลูกกาแฟเป็นอาชีพหลัก เพราะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ดอยสวนยาหลวง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยศึกษาการอนุรักษ์ต้นน้ำดอยกาด อ.ปง จ.พะเยา มียอดสูงสุดประมาณ 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่ต่างเรียกขานดอยแห่งนี้ว่า “ดอยสัน” ตามลักษณะของภูมิประเทศที่เป็นแนวสันเขารอยต่อระหว่างจังหวัดน่าน(ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา)กับพะเยา(ต.ผาช้างน้อย อ.ปง) ซึ่งสามารถเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยสวนยาหลวงได้ทั้งสองฝั่ง (แต่ขึ้นทางฝั่งจังหวัดน่านจะลำบากน้อยกว่า ย้ำว่าลำบากน้อยกว่า ไม่ได้หมายความว่าจะสะดวกสบายมากกว่า)
ชื่อดอยสันสอดคล้องกับที่มาของชื่อหมู่บ้าน“สันเจริญ” (ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา) ชุมชนชาวเมี่ยนที่มีความเกี่ยวพันกับชื่อดอยสวนยาหลวงตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
บ้านสันเจริญ เป็นหมู่บ้านขนาดย่อมท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม อยู่ห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ 70 กม. และอยู่ห่างจากยอดดอยสวนยาหลวงประมาณ 10 กม.ที่นี่เป็นทั้งจุดเที่ยว ทางผ่าน และจุดแวะสำคัญของผู้ที่จะเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดดอยสวนยาหลวง(หากขึ้นทางฝั่งน่าน)
โดยหลังจากที่ผมกับคณะเดินทางจากตัวเมืองน่านมาถึงยังหมู่บ้านสันเจริญ พวกเราก็ตรงรี่ไปยังจุดนัดพบคือ“ร้านกาแฟ ลาเปี้ยน”(Lapien) ที่วันนี้เป็นดังจุดประสานงานและศูนย์กลางในการติดต่อขึ้นไปเที่ยวบนยอดดอยสวนยาหลวง
ร้านกาแฟ ลาเปี้ยน หากดูผ่านๆจากด้านนอก จะดูไม่ค่อยเหมือนร้านกาแฟสักเท่าไหร่ (แต่ดูเหมือนฟาร์มไก่ชนมากกว่า) แต่ทว่าเมื่อเดินเข้าไปด้านใน ผมก็ได้พบกับร้านกาแฟเล็กๆที่ตกแต่งอย่างกิ๊บเก๋ร่วมสมัย พร้อมกับเจ้าของร้านร่างเล็กแต่มี“ฝันใหญ่” คือคุณ“ภูวนาท เจริญรัตนนุกุล” หรือ คุณ“กริช”(Grit) หนุ่มชาวเมี่ยน ผู้ลงดอยไปใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เมืองมาอย่างหลากหลาย(สายอาชีพ) ก่อนที่สุดท้ายจะพบว่า การหวนคืนสู่ดอยสวนยาหลวงแผ่นดินเกิด และการกลับมาทำกาแฟตามพื้นฐานอาชีพที่ตัวเองถนัดเชี่ยวชาญนั้นเป็นดีที่สุด
กริชนอกจากจะปลูกกาแฟ รับซื้อกาแฟ พัฒนาสายพันธุ์กาแฟ และทำสิ่งอื่นๆเกี่ยวกับกาแฟอันหลากหลายแล้ว เขายังเปิดร้านกาแฟ(ที่บ้าน)พร้อมทั้งมีผลิตภัณฑ์กาแฟของตัวเองในชื่อแบรนด์ “ลาเปี้ยน คอฟฟี่”(Lapien Coffee) ซึ่งเป็นการนำเอาชื่อต้นตระกูลของเขาคือครอบครัวชาวลาเปี้ยนแห่งหมู่บ้านสันเจริญมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์กาแฟ โดยมุ่งเน้นการผลิตกาแฟดีเป็นมิตรต่อธรรมชาติ เพื่อให้คนกันป่าอาศัยอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน โดยน้อมนำแนวเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทาง
นอกจากกาแฟแล้ว วันนี้หนุ่มกริชยังหันมาจับงานด้านการท่องเที่ยวภายในชุมชนเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ โดยหลังจากที่เขาพาเพื่อนๆในเมืองมาเที่ยวบ้าน มาจิบกาแฟ แล้วก็เลยต่อด้วยการพาขึ้นไปชมความงามของยอดดอยสวนยาหลวง ที่แต่เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนรู้จักกันเฉพาะในวงแคบ
เมื่อเพื่อนของกริชกลับไปก็ได้นำภาพและเรื่องราวความประทับใจของดอยสวนยาหลวงไปเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้ชื่อเสียงของดอยแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีคนทยอยขึ้นมาเที่ยวตามเรื่อยๆ พร้อมช่วยเผยแพร่ แชร์ต่อๆกันไป จนวันนี้ดอยสวนยาหลวงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรงของจังหวัดน่านไปแล้ว
สำหรับเรื่องท่องเที่ยวนี้ แม้จะเป็นอาชีพเสริมที่เกิดขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจ แต่นี่ก็คืออีกหนึ่ง“เส้นทางฝัน”ของเขา เพราะกริชเรียนจบมาทางด้านการท่องเที่ยว และมีโอกาสได้ใช้วิชาชีพที่ตัวเองร่ำเรียนมาอยู่พักหนึ่งในเมืองใหญ่ ก่อนที่จะหวนคืนถิ่นกลับขึ้นดอย
และวันนี้เขาก็มุ่งมั่นตั้งใจทำด้านกาแฟควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว เพื่อเดินไปตามเส้นทางฝันของตัวเอง
2.
หลังจากหนุ่มกริชชงกาแฟหอมกรุ่น(ตามสั่ง)ให้กับชาวคณะเราแล้ว ต่อไปก็เป็นการเปลี่ยนรถจากรถ(ตู้)ที่นั่งมาหันมาใช้บริการรถกระบะของชุมชน ซึ่งเส้นทางขึ้นยอดดอยสวนยาหลวงนั้น เป็นถนนลูกรัง แคบ สูงชัน ทางลดเลี้ยวเคี้ยว ต้องใช้รถโฟร์วีลหรือรถกระบะที่มีพลังขับเคลื่อนสูง ที่สำคัญคือสารถีผู้ขับต้องชำนาญเส้นทาง ไม่งั้นอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดอันตราย หรือเกิดการเอาไม่อยู่ ติดแหงกไปไม่เป็นในระหว่างทางได้
เมื่อรถพร้อม คนพร้อม พวกเราก็ขึ้นรถกระบะ(ผู้หญิงนั่งหน้า ผู้ชายนั่งท้าย)ออกตะลุยขึ้นสู่บนยอดดอยสวนยาหลวงในทันที ซึ่งหลังรถวิ่งไปบนทางลาดยางได้ไม่นาน สภาพเส้นทางก็เปลี่ยนไปกลายเป็นถนนลูกรังทางแคบคดเคี้ยว กระเด้งกระดอน ชนิดที่พวกเราต้องใช้วิทยายุทธ์ นั่งเกร็งลมปราณ และเกร็งอวัยวะต่างๆกันจนตัวเกร็ง
ระหว่างทางบางจุดเมื่อมีรถสวนมา โชเฟอร์ก็ต้องหาจังหวะถอยหลบกันเป็นที่ลุ้นระทึก แต่ก็ต้องยอมรับว่านี่เป็นอีกหนึ่งเส้นทางสายสวย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสายกาแฟ ที่ชาวบ้านสันเจริญได้ปลูกกาแฟไล่เรื่อยขึ้นมาจากตีนดอยไปจนเกือบๆถึงปลายดอย
หลังนั่งเกร็งบนรถกระบะมาหลายกิโล(เมตร) งานนี้คุณ“ชูชาติ แซ่ลี้”หรือ“น้าป่า”(น้าของกริช) หัวหน้าทีมขับรถผู้รุ่มรวยอารมณ์ขันเหมือนดังรู้ใจ พาแวะจอดระหว่างทางให้พวกเราลงเดินยืนเส้นยืดสายคลายอาการเกร็ง ตรงบริเวณแปลงสตรอว์เบอร์รี่เล็กๆของชาวบ้านที่ช่วงนี้กำลังออกลูกสีแดงสดใสชวนให้เก็บกินเป็นยิ่งนัก
และก็ดูเหมือนว่าน้าป่าแกจะรู้ใจพวกเราอีกแล้ว เพราะแกบอกว่า แปลงสตรอว์เบอร์รี่ที่นี่ชาวบ้านไม่ได้ปลูกขาย แต่ปลูกเอาไว้เก็บกินกันเอง สามารถเก็บกินลูกสดๆได้ เพราะเขาปลูกแบบปลอดสารพิษ
พอน้าป่าพูดจบ เท่านั้นแหละ แต่ละคนในทริปต่างก็มีโลกส่วนตัว เดินหาแง่มุมของตัวเองเก็บสตรอว์เบอร์รี่สีแดงสดมาเคี้ยวกินกร้วมๆกันอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งต้องยอมรับว่าสตรอว์เบอร์รี่แปลงนี้มันหวานฉ่ำ อร่อยมาก
อย่างไรก็ดีก่อนอำลาจากแปลงสตรอว์เบอร์รี่แสนอร่อย น้าป่าได้บอกกับพวกเราว่า สตรอว์เบอร์รี่แปลงนี้แม้จะเก็บกินได้ ปลอดภัยไร้สารพิษ แต่ว่าน้าแกยังไม่ได้บอกกับเจ้าของเลยว่า จะพาคนขึ้นมาเก็บกิน
งานนี้ทำเอาแต่ละคนในทริปต่างกลับมามีโลกส่วนตัวอีกครั้ง กระโดดขึ้นรถหาแง่มุมของตัวเอง และบอกสารถีว่าให้รีบขับรถขึ้นดอยแต่โดยพลัน
ส่วนถ้าเจ้าของแปลงสตรอว์เบอร์รี่จะมาเก็บสตางต์ ก็เก็บกับน้าป่าได้เลย
พวกเราเชียร์!!!
จากแปลงสตรอว์เบอร์รี่ รถกระบะพาเราไต่ขึ้นดอยสูงไปเรื่อยๆ ผ่านเส้นทางช่วงท้ายๆ ที่เป็นไร่กาแฟบนดอย มีที่พักเก็บกาแฟของชาวบ้านอยู่ 2-3 จุด ก่อนจะเข้าสู่เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ฟื้นตัวมาหลังการปลูกฝิ่น ดูร่มรื่นเขียวครึ้ม เย็นสบาย
หลังจากนั้นอีกไม่นานเราก็มาถึงยังยอดดอยสวนยาหลวง ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวสันเขาทอดยาว สภาพบนนี้เป็นป่าทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้เล็กขึ้นสลับ เพราะมีลมแรง ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้
บนยอดดอยมีป้ายดอยสวนยาหลวงตั้งเด่นอยู่บนเขตรอยต่อระหว่างน่านกับพะเยา พร้อมกับธงชาติไทยพัดปลิวไสว(แต่เป็นธงชาติขาดแหว่ง ถ้าใครสามารถเปลี่ยนได้ รบกวนช่วยเปลี่ยนด้วยก็ดี)
บนยอดดอยสวนยาหลวงนี้ สามารถชมวิวได้ในรอบทิศทาง ฝั่งตะวันตกเป็นพะเยา ฝั่งตะวันออกเป็นน่าน
ในวันที่ฟ้าเป็นใจ บนนี้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ในหลากหลายอรรถรส ไม่ว่าจะเป็น ยามเย็นที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ลาลับทางฝั่งพะเยา ยามเช้าที่สามารถเห็นตะวันเบิกฟ้าทางฝั่งน่าน และทะเลหมอกอันสวยงามกว้างไกล และอีกหนึ่งไฮไลท์คือการดูเดือนดาวยามราตรี ที่ในยามวิกาลดึกสงัดของคืนเดือนมืดที่นี่ถือเป็นแหล่งดูดาว ถ่ายภาพทางช้างเผือกได้อย่างสวยงามแจ่มกระจ่างชัดตามากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย(ในช่วงที่ทางช้างเผือกปรากฏ)
อย่างไรก็ดี หากวันไหนดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ(เหมือนอย่างในวันที่ผมไป)บนนี้ก็ยังมีวิวทิวทัศน์อันสวยงามกว้างไกลของแนวเทือกเขาสูงให้ชมกันได้อย่างเพลิดเพลิน
นอกจากนี้บนยอดดอยสวนยาหลวงที่มีอากาศเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บวกกับสายลมที่พัดกระโชกแรง ทำเอาบนนี้หนาวเย็นสะท้าน ซึ่งแม้ช่วงนี้จะเป็นหน้าร้อน ที่อากาศในเมืองกรุงฯร้อนระยับ แต่บนยอดดอยแห่งนี้กลับมีอากาศหนาวเหน็บ ชวนให้เหล่านักเดินทางผู้รักความท้าทาย
...หนีร้อนมานอนหนาว ดูดาวพราวพร่าง ดูจันทร์กระจ่าง ดูทางช้างเผือกงามเด่น...บนดอยสวนยาหลวงแห่งนี้กัน
3.
ตะวันลับฟ้า วิกาลมาเยือน
เนื่องจากคืนนี้เป็นคืนเดือนเพ็ญจันทร์กระจ่าง จึงหมดสิทธิ์มองเห็นทางช้างเผือก
พวกเราจึงเปลี่ยนแผนจากเดิมที่คิดว่าจะกางเต็นท์นอนบนยอดดอย ลงมานอนโฮมสเตย์ในที่พักเก็บกาแฟของชาวบ้าน ซึ่งทางทีมงานของกริชได้จัดเตรียมอาหารไว้คอยท่าอยู่แล้ว มีทั้งอาหารพื้นถิ่นของที่นี่และอาหารอีกส่วนหนึ่งที่พวกเราซื้อมาจากตลาด
ขณะที่ในเรื่องของเครื่องดื่มนั้น ใครชอบดื่มอะไรเป็นพิเศษ ก็ให้นำขึ้นมาเอง แต่แนะนำว่าไม่ต้องนำกาแฟขึ้นมา เพราะที่นี่เขาเป็นแหล่งผลิตกาแฟ จึงมีกาแฟรสชาติเยี่ยมไว้บริการอยู่แล้ว
ที่สำคัญคือหนุ่มกริชเขามีไฮไลท์ คือการ “ดริปบนดอย คอยตะวัน” หรือ “ดริปกาแฟ แลตะวัน” จัดเตรียมไว้ให้ตั้งแต่ย่ำรุ่งของวันถัดไป ซึ่งในเช้ามืดของเช้าวันใหม่นี้ พวกเราเดินทางกลับขึ้นมาเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดดอยสวนยาหลวงอีกครั้ง
ในระหว่างนี้ กริชก็ได้นำชุดกาแฟที่เตรียมมา จัดการดริปกาแฟกันสดๆบนยอดดอยในระหว่างเฝ้ารอคอยตะวัน เสิร์ฟให้พวกเราได้จิบรับอรุณยามเช้ากันอย่างถ้วนทั่วหน้า
นี่นับเป็นอีกหนึ่งอารมณ์กาแฟที่สุดแสนฟิน ค่อยๆละเลียดจิบกาแฟไปท่ามกลางบรรยากาศอันหนาวเหน็บ ควบคู่ไปกับการเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง เพราะในเช้าวันนี้ ดวงตะวันได้แย้มเบิกฟ้า อวดโฉมเป็นไข่แดงดวงกลมโตให้พวกเราได้ตื่นตาตื่นใจกันอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะค่อยๆสาดแสงเจิดจ้าอาบไล้ทุ่งหญ้าไปทั่วยอดดอย ซึ่งมาพร้อมๆกับกาแฟที่จิบอย่างเพลิดเพลินจนหมดแก้วไปอย่างไม่รู้ตัว
4.
เมื่อแสงตะวันสาดส่องแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้เวลาที่พวกเราต้องเดินทางลงจากดอย ซึ่งในระหว่างนี่เราไปแวะถ่ายรูปตามจุดชมวิวต่างๆในระหว่างทาง อีก 2-3 จุด นำโดยจุดชมวิวบริเวณองค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพรในลักษณะเดียวกับที่วัดพระธาตุเขาน้อย ในตัวเมืองน่าน
ต่อจากนั้นกริช น้าป่า ก็พาผมกับคณะขึ้นรถกระบะ เดินทางผ่านลงดอยในเส้นทางเก่าบนถนนลูกรังที่คดเคี้ยวสูงชัน มุ่งหน้ากลับคืนสู่หมู่บ้านสันเจริญอีกครั้ง
สำหรับถนนสายนี้ นอกจากจะเป็นเส้นทางสายกาแฟหอมกรุ่นกลิ่นของชาวบ้านสันเจริญแล้ว ยังเป็นเส้นทางเดินตามฝันของหนุ่มชาวเมี่ยนคนหนึ่ง และเป็นเส้นทางออกไปตามหาฝันของนักเดินทางผู้รักความท้าทายจำนวนมาก
ความฝัน...บางคนเลือกที่จะมุ่งมั่นเดินทางไปไขว่คว้า
ความฝัน...บางคนเลือกที่จะใช้เป็นพลังเติมเต็มต่อสู้กับโลกแห่งความจริงอันโหดร้าย
ความฝัน...หลายคนเลือกที่จะปล่อยให้มันผ่านเลย มลายหายไป พร้อมกับหลับอีกหนึ่งตื่น....
สอบถามข้อมูล การท่องเที่ยวดอยสวนยาหลวงและหมู่บ้านสันเจริญเพิ่มเติมได้ที่ “คุณกริช : ภูวนาท เจริญรัตนนุกุล” โทร. 086-390-7737 หรือดูที่ เฟซบุกแฟนเพจ ท่องเที่ยวดอยสวนยาหลวง บ้านสันเจริญ
และสามารถสอบถามข้อมูล รายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในจังหวัดน่านเชื่อมโยงกับดอยสวนยาหลวง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ (พื้นที่รับผิดชอบแพร่ น่าน) โทร.0-5452-1127 ทุกวันในเวลาราชการ
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager