โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
เช้าวันอากาศหนาวเหน็บ
บางจังหวะเวลาที่สายลมพัดวูบไหวโชยปะทะ มันช่างหนาวยะเยือกกรีดลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของร่างกาย
ยอดดอยเสมอดาวในเช้าวันนี้ ขาวโพลนไปด้วยม่านหมอกปกคลุมหนาทึบราวกับจะกลืนกินร่างกายของผมที่เดินลุยฝ่ามันไป ทั้งๆที่เมื่อไม่กี่ชั่วโมงของค่ำคืนที่ผ่านมา ยอดดอยเสมอดาวฟ้าใสกระจ่าง เต็มไปด้วยมวลหมู่ดาวทะเลดาวที่ดารดาษพร่างพราวเต็มฟ้า ซึ่งนั่นก็ทำให้ผมได้เข้าใจว่าทำไมดอยแห่งนี้ถึงชื่อว่า
“ดอยเสมอดาว”
สิ่งประหลาดที่เสาดินนาน้อย-คอกเสือ
“ดอยเสมอดาว” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน ในระหว่างทางจากเมืองน่านสู่ดอยเสมอดาวมีธรรมชาติประหลาดทางธรณีวิทยาให้ตื่นตาตื่นใจกัน 2 แห่งด้วยกัน เริ่มจาก “เสาดินนาน้อย”(หรือ “ฮ่อมจ๊อม”) และ “คอกเสือ” ที่ตั้งใกล้ๆกัน(ห่างกันราว 800 เมตร) ใน ต.เชียงของ และเป็นส่วนหนึ่งของ อช.ศรีน่าน
เสาดินนาน้อยและคอกเสือเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาคล้าย “แพะเมืองผี” ที่แพร่ ตามข้อมูลวิชาการใน(เอกสารนำเที่ยวของททท.)ระบุว่า ที่นี่น่าจะมีอายุราว 10,000 - 30,000 ปี และเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน ก่อนจะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย แล้วถูก ดิน น้ำ ลม กัดเซาะ เกิดเป็นธรรมชาติรูปร่างประหลาด
สำหรับคอกเสือนั้น มีลักษณะเป็นหลุมดินกว้าง มีบันไดทางเดินลงไปดูประติมากรรมดินที่เด่นไปด้วยแนวกำแพงกินยักษ์และภูเขาดินทรงเจดีย์ให้ได้ตื่นตาตื่นใจกับการสรรค์สร้างของธรรมชาติ เหตุที่บริเวณนี้เรียกว่าคอกเสือ เนื่องมาจากในอดีตแถบนี้มีเสืออาศัยอยู่จำนวนมาก พวกมักจะออกมาไล่กินวัวควาย และหมูที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ เหล่าชาวบ้านจึงช่วยกันไล่ต้อนเสือให้ลงไปในหลุมดินแล้วช่วยกันปาก้อนหินและไม้แหลมขว้างใส่เสือจนตาย
ส่วนเสาดินนาน้อยที่อยู่ห่างจากคอกเสือไปไม่ไกลนั้น มีพื้นที่ราว 20 ไร่ เมื่อผมได้เข้าไปเดินเที่ยวในนั้น มันเหมือนดังเดินหลุดเข้าไปในอีกโลกหนึ่งอันน่าตื่นตาตื่นใจของประติมากรรมธรรมชาติรูปทรงประหลาด เป็นเสา เป็นแท่ง เป็นภูเขาแหลมลูกเล็กๆ หรือเป็นแนวกำแพงดินยึกไปยักมา ซึ่งหลายจุดมีชื่อเรียกขาน ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำเสือโคร่ง เสาปู่เขียว เสาอี่บด ซอกถ้ำโพรงดินมนุษย์ยุคหิน เป็นต้น
ผาชู้คู่ตำนานรัก 3 เส้ากับธงชาติสายยาว
ก่อนที่ผมจะเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยเสมอดาว บนเส้นทางก่อนถึงยอดดอยประมาณ 4 กม. เป็นที่ตั้งของ “ผาชู้” อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวไฮไลท์ของอุทยานฯศรีน่าน
ผาชู้เป็นผาหินขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านโดดเด่น ที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดชมทะเลหมอกอันงดงาม และจุดชมวิวชั้นดี สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของขุนเขาและสายน้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยว นอกจากนี้ที่ผาชู้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักและจุดกางเต็นท์ให้นักท่องเที่ยวมาเลือกพักค้างแรมกันแบบใกล้ชิดธรรมชาติ
สำหรับชื่อของผาชู้นั้น ข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่า คำว่า “ชู้” ในที่นี่ ไม่ได้หมายถึงชู้สาว แต่หมายถึงคนรัก ซึ่งที่นี่มีตำนานรัก 3 เส้าอันแสนรันทด ระหว่าง “เจ้าจ๋วง” หนุ่มรูปงามเจ้าแขวงเมืองศรีษะเกษ กับ“เจ้าจันทน์ผา”(เจ้าจันทร์) และสาว“เอื้อง”(เจ้าเอื้อง)
เจ้าจันทน์ผาเป็นชายาของเจ้าจ๋วงอยู่แล้วแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ส่วนเอื้องเป็นสาวงามลูกสาวพรานป่าที่เจ้าจ๋วงมาพบรักในระหว่างออกล่าสัตว์และได้ครองคู่กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เจ้าจันทน์ผาซึ่งเห็นสามีตัวเองหายไปจะตามมาพบเจ้าจ๋วงอยู่กับสาวเอื้อง
เมื่อเกิดปัญหาความรักอีรุงตุงนัง 2 หญิง 1 ชาย ขึ้น ทำให้สุดท้ายหญิงสาวทั้งสองยื่นคำขาดให้เจ้าจ๋วงต้องเลือกใครคนใดคนหนึ่ง เจ้าจ๋วงตัดสินใจไม่ได้เพราะรักทั้งคู่ จึงอธิษฐานว่า
“...ถ้าความรักของเราทั้งสามเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นรักแท้ตราบชั่วนิรันดร์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คู่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาล...”
แล้วเจ้าจ๋วงก็กระโดดหน้าผาตาย เจ้าจันทน์ผาเห็นดังนั้นก็กระโดดหน้าผาตายตาม ทำให้เอื้องที่เกรงกลัวบาปกรรมกระโดดหน้าผาตายไปอีกคน
เจ้าจ๋วงเมื่อตายแล้วกลายเป็น “ต้นจ๋วง” หรือ “สนเขา” เจ้าจันทน์ผาร่างไปตายติดอยู่บนหิน กลายเป็น “ต้นจันทน์ผา” ส่วนร่างของสาวเอื้องตายไปติดอยู่บนต้นไม้กลายเป็น “ต้นเอื้อง” หรือ กล้วยไม้
นี่แม้จะเป็นเพียงตำนาน แต่ว่าการที่บริเวณผาชู้มีต้นจันทน์ผาตามธรรมชาติขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ถือเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ตำนานรัก 3 เส้าเรื่องผาชู้ดูสมจริงสมจังมากยิ่งขึ้น
นอกจากตำนานรักอันลือลั่นตำนานนี้แล้ว ที่มาของชื่อผาชู้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “เชิดชู”บ้าง มาจากคำว่า“ชูธง”บ้าง เพราะบนยอดผาชู้นั้น มีเสาธงชาติไทยชักธงชาติปลิวไสวตั้งอยู่
เป็นเสาธงชาติอันขึ้นชื่อเพราะมีสายชักธงชาติยาวที่สุดในประเทศไทยถึง 200 เมตร(ไป-กลับ)เลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของผาชู้ที่มีคนนิยมไปถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก
ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย
ต่อจากนั้นผมกับเพื่อนๆเดินทางมาถึงดอยเสมอดาวในช่วงเย็นของวัน ก่อนที่ตะวันจะตกดิน พวกเราช่วยกันจัดเตรียมอาหาร ข้าวของ ส่วนเต็นท์ที่พักนั้นไม่ต้อง เพราะทางอุทยานฯเขากางเตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้วบนตีนดอยในบรรยากาศแสนเยี่ยม บนตีนดอยที่มองเข้าไปเห็น“ผาหัวสิงห์” ตั้งเด่นตระหง่าน
สำหรับผาหัวสิงห์นั้นเป็นดังสัญลักษณ์ของดอยเสมอดาว มีลักษณะเป็นผาหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนสิงโตนอนหมอบชูคอหันไปทางทิศตะวันออก หากใครต้องการขึ้นไปชมวิวบนผาหัวสิงห์ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ให้นำทางขึ้นไป ซึ่งด้านบนก็จะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศา
ในเย็นย่ำของวันนั้น หลังดวงตะวันลอยคล้อยต่ำทอแสงอ่อนๆ ผมใช้ช่วงจังหวะนี้เคลื่อนตัวไปสู่ฝั่งทิศตะวันตก เพื่อสัมผัสกับแสงตะวันยามโพล้เพล้ที่เปลี่ยนจากกราดเกรี้ยวมาเป็นอ่อนโยนนุ่มนวล ค่อยๆฉาบทออาบไล้ไร่ข้าวโพดและขุนเขาน้อยใหญ่ทางฝั่งนี้เป็นสีทองอร่าม โดยมีกระท่อมน้อยเดียวดายตั้งเด่นอยู่ 2 หลัง ดูคล้ายบ้านตุ๊กตาในวัยเยา
ครั้นเมื่อตะวันลับฟ้า แสงแห่งวันค่อยๆลาลับ ดอยเสมอดาวถูกแทนที่ด้วยม่านรัตติกาลที่โรยตัวเข้าคลี่คลุม
ค่ำคืนนี้บนม่านฟ้าเหนือยอดดอยเสมอดาว ท้องโปร่งใสเป็นใจ สามารถมองเห็นทะเลดาวระยิบระยับกว้างไกล โดยเฉพาะบน“ลานดูดาว”ทางยอดเนินฝั่งตะวันออก ที่เป็นจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ จุดชมวิว และจุดชมดาว ที่เมื่อจากตีนเนินมองแหงนขึ้นไปจะเห็นภาพของยอดดอยอยู่ไล่เลี่ยในระดับเดียวกับหมู่ดาวที่พร่างพราว
เป็น “ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย” ที่หากใครได้มายืนนับดาวกับคนรักหรือคนที่รู้ใจนั้น นับเป็นบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติกเหลือคณา
แต่หากว่าใครที่มายืนชมดาวคนเดียว บางทีความรู้สึกที่ได้รับอาจแตกต่างออกไป กลายเป็นช่างว้าเหว่เปลี่ยวเหงา
แม้ดวงดาวจำนวนมหาศาลบนฟากฟ้าก็มิอาจถมเต็มความเปลี่ยวเหงานั้นได้
ทะเลหมอกชวนฝัน
แม้ค่ำคืนที่แล้ว ท้องฟ้าจะใสโปร่ง
แต่ยอดดอยเสมอดาวในเช้าวันนี้กลับขาวโพลนไปด้วยม่านหมอกปกคลุมหนาทึบ ชนิดที่ใครหลายคนเห็นแล้วอาจถอดใจว่า เช้านี้คงไม่ได้ยลทะเลหมอกที่ขึ้นชื่อของดอยแห่งนี้กันแล้ว
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ม่านหมอกรอบๆตัวค่อยๆลอยเลื่อนเลือนหาย เปิดทัศนียภาพเบื้องหน้าของจุดชมวิวบนบานดูดาวให้เห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของเบื้องล่าง กับภาพทะเลหมอกอันหนาแน่นที่ลอยเป็นปุยดูนุ่มนวลชวนแหวกว่ายอยู่ในซอกหลืบของหุบเขาเป็นแนวยาว ยิ่งยามที่แสงตะวันสาดส่องโผล่ลอดทะเลแนวม่านเมฆเป็นเส้นลำ ยิ่งทำให้ทะเลหมอกแห่งนี้ดูงดงามราวภาพฝัน
เป็นภาพฝันบนความจริงแห่งดอยเสมอดาวที่ผมเห็นแล้วช่างตราตรึงใจกระไรปานนั้น
******************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน โทร.0 5473 1714
หมายเหตุ : บทความนี้เรียบเรียงใหม่จากบทความ “ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย”...ทะเลหมอกชวนฝันแห่งเมือง “น่าน”
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
เช้าวันอากาศหนาวเหน็บ
บางจังหวะเวลาที่สายลมพัดวูบไหวโชยปะทะ มันช่างหนาวยะเยือกกรีดลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของร่างกาย
ยอดดอยเสมอดาวในเช้าวันนี้ ขาวโพลนไปด้วยม่านหมอกปกคลุมหนาทึบราวกับจะกลืนกินร่างกายของผมที่เดินลุยฝ่ามันไป ทั้งๆที่เมื่อไม่กี่ชั่วโมงของค่ำคืนที่ผ่านมา ยอดดอยเสมอดาวฟ้าใสกระจ่าง เต็มไปด้วยมวลหมู่ดาวทะเลดาวที่ดารดาษพร่างพราวเต็มฟ้า ซึ่งนั่นก็ทำให้ผมได้เข้าใจว่าทำไมดอยแห่งนี้ถึงชื่อว่า
“ดอยเสมอดาว”
สิ่งประหลาดที่เสาดินนาน้อย-คอกเสือ
“ดอยเสมอดาว” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน ในระหว่างทางจากเมืองน่านสู่ดอยเสมอดาวมีธรรมชาติประหลาดทางธรณีวิทยาให้ตื่นตาตื่นใจกัน 2 แห่งด้วยกัน เริ่มจาก “เสาดินนาน้อย”(หรือ “ฮ่อมจ๊อม”) และ “คอกเสือ” ที่ตั้งใกล้ๆกัน(ห่างกันราว 800 เมตร) ใน ต.เชียงของ และเป็นส่วนหนึ่งของ อช.ศรีน่าน
เสาดินนาน้อยและคอกเสือเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาคล้าย “แพะเมืองผี” ที่แพร่ ตามข้อมูลวิชาการใน(เอกสารนำเที่ยวของททท.)ระบุว่า ที่นี่น่าจะมีอายุราว 10,000 - 30,000 ปี และเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน ก่อนจะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย แล้วถูก ดิน น้ำ ลม กัดเซาะ เกิดเป็นธรรมชาติรูปร่างประหลาด
สำหรับคอกเสือนั้น มีลักษณะเป็นหลุมดินกว้าง มีบันไดทางเดินลงไปดูประติมากรรมดินที่เด่นไปด้วยแนวกำแพงกินยักษ์และภูเขาดินทรงเจดีย์ให้ได้ตื่นตาตื่นใจกับการสรรค์สร้างของธรรมชาติ เหตุที่บริเวณนี้เรียกว่าคอกเสือ เนื่องมาจากในอดีตแถบนี้มีเสืออาศัยอยู่จำนวนมาก พวกมักจะออกมาไล่กินวัวควาย และหมูที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ เหล่าชาวบ้านจึงช่วยกันไล่ต้อนเสือให้ลงไปในหลุมดินแล้วช่วยกันปาก้อนหินและไม้แหลมขว้างใส่เสือจนตาย
ส่วนเสาดินนาน้อยที่อยู่ห่างจากคอกเสือไปไม่ไกลนั้น มีพื้นที่ราว 20 ไร่ เมื่อผมได้เข้าไปเดินเที่ยวในนั้น มันเหมือนดังเดินหลุดเข้าไปในอีกโลกหนึ่งอันน่าตื่นตาตื่นใจของประติมากรรมธรรมชาติรูปทรงประหลาด เป็นเสา เป็นแท่ง เป็นภูเขาแหลมลูกเล็กๆ หรือเป็นแนวกำแพงดินยึกไปยักมา ซึ่งหลายจุดมีชื่อเรียกขาน ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำเสือโคร่ง เสาปู่เขียว เสาอี่บด ซอกถ้ำโพรงดินมนุษย์ยุคหิน เป็นต้น
ผาชู้คู่ตำนานรัก 3 เส้ากับธงชาติสายยาว
ก่อนที่ผมจะเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยเสมอดาว บนเส้นทางก่อนถึงยอดดอยประมาณ 4 กม. เป็นที่ตั้งของ “ผาชู้” อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวไฮไลท์ของอุทยานฯศรีน่าน
ผาชู้เป็นผาหินขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านโดดเด่น ที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดชมทะเลหมอกอันงดงาม และจุดชมวิวชั้นดี สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของขุนเขาและสายน้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยว นอกจากนี้ที่ผาชู้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักและจุดกางเต็นท์ให้นักท่องเที่ยวมาเลือกพักค้างแรมกันแบบใกล้ชิดธรรมชาติ
สำหรับชื่อของผาชู้นั้น ข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่า คำว่า “ชู้” ในที่นี่ ไม่ได้หมายถึงชู้สาว แต่หมายถึงคนรัก ซึ่งที่นี่มีตำนานรัก 3 เส้าอันแสนรันทด ระหว่าง “เจ้าจ๋วง” หนุ่มรูปงามเจ้าแขวงเมืองศรีษะเกษ กับ“เจ้าจันทน์ผา”(เจ้าจันทร์) และสาว“เอื้อง”(เจ้าเอื้อง)
เจ้าจันทน์ผาเป็นชายาของเจ้าจ๋วงอยู่แล้วแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ส่วนเอื้องเป็นสาวงามลูกสาวพรานป่าที่เจ้าจ๋วงมาพบรักในระหว่างออกล่าสัตว์และได้ครองคู่กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เจ้าจันทน์ผาซึ่งเห็นสามีตัวเองหายไปจะตามมาพบเจ้าจ๋วงอยู่กับสาวเอื้อง
เมื่อเกิดปัญหาความรักอีรุงตุงนัง 2 หญิง 1 ชาย ขึ้น ทำให้สุดท้ายหญิงสาวทั้งสองยื่นคำขาดให้เจ้าจ๋วงต้องเลือกใครคนใดคนหนึ่ง เจ้าจ๋วงตัดสินใจไม่ได้เพราะรักทั้งคู่ จึงอธิษฐานว่า
“...ถ้าความรักของเราทั้งสามเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นรักแท้ตราบชั่วนิรันดร์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คู่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาล...”
แล้วเจ้าจ๋วงก็กระโดดหน้าผาตาย เจ้าจันทน์ผาเห็นดังนั้นก็กระโดดหน้าผาตายตาม ทำให้เอื้องที่เกรงกลัวบาปกรรมกระโดดหน้าผาตายไปอีกคน
เจ้าจ๋วงเมื่อตายแล้วกลายเป็น “ต้นจ๋วง” หรือ “สนเขา” เจ้าจันทน์ผาร่างไปตายติดอยู่บนหิน กลายเป็น “ต้นจันทน์ผา” ส่วนร่างของสาวเอื้องตายไปติดอยู่บนต้นไม้กลายเป็น “ต้นเอื้อง” หรือ กล้วยไม้
นี่แม้จะเป็นเพียงตำนาน แต่ว่าการที่บริเวณผาชู้มีต้นจันทน์ผาตามธรรมชาติขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ถือเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ตำนานรัก 3 เส้าเรื่องผาชู้ดูสมจริงสมจังมากยิ่งขึ้น
นอกจากตำนานรักอันลือลั่นตำนานนี้แล้ว ที่มาของชื่อผาชู้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “เชิดชู”บ้าง มาจากคำว่า“ชูธง”บ้าง เพราะบนยอดผาชู้นั้น มีเสาธงชาติไทยชักธงชาติปลิวไสวตั้งอยู่
เป็นเสาธงชาติอันขึ้นชื่อเพราะมีสายชักธงชาติยาวที่สุดในประเทศไทยถึง 200 เมตร(ไป-กลับ)เลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของผาชู้ที่มีคนนิยมไปถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก
ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย
ต่อจากนั้นผมกับเพื่อนๆเดินทางมาถึงดอยเสมอดาวในช่วงเย็นของวัน ก่อนที่ตะวันจะตกดิน พวกเราช่วยกันจัดเตรียมอาหาร ข้าวของ ส่วนเต็นท์ที่พักนั้นไม่ต้อง เพราะทางอุทยานฯเขากางเตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้วบนตีนดอยในบรรยากาศแสนเยี่ยม บนตีนดอยที่มองเข้าไปเห็น“ผาหัวสิงห์” ตั้งเด่นตระหง่าน
สำหรับผาหัวสิงห์นั้นเป็นดังสัญลักษณ์ของดอยเสมอดาว มีลักษณะเป็นผาหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนสิงโตนอนหมอบชูคอหันไปทางทิศตะวันออก หากใครต้องการขึ้นไปชมวิวบนผาหัวสิงห์ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ให้นำทางขึ้นไป ซึ่งด้านบนก็จะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศา
ในเย็นย่ำของวันนั้น หลังดวงตะวันลอยคล้อยต่ำทอแสงอ่อนๆ ผมใช้ช่วงจังหวะนี้เคลื่อนตัวไปสู่ฝั่งทิศตะวันตก เพื่อสัมผัสกับแสงตะวันยามโพล้เพล้ที่เปลี่ยนจากกราดเกรี้ยวมาเป็นอ่อนโยนนุ่มนวล ค่อยๆฉาบทออาบไล้ไร่ข้าวโพดและขุนเขาน้อยใหญ่ทางฝั่งนี้เป็นสีทองอร่าม โดยมีกระท่อมน้อยเดียวดายตั้งเด่นอยู่ 2 หลัง ดูคล้ายบ้านตุ๊กตาในวัยเยา
ครั้นเมื่อตะวันลับฟ้า แสงแห่งวันค่อยๆลาลับ ดอยเสมอดาวถูกแทนที่ด้วยม่านรัตติกาลที่โรยตัวเข้าคลี่คลุม
ค่ำคืนนี้บนม่านฟ้าเหนือยอดดอยเสมอดาว ท้องโปร่งใสเป็นใจ สามารถมองเห็นทะเลดาวระยิบระยับกว้างไกล โดยเฉพาะบน“ลานดูดาว”ทางยอดเนินฝั่งตะวันออก ที่เป็นจุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ จุดชมวิว และจุดชมดาว ที่เมื่อจากตีนเนินมองแหงนขึ้นไปจะเห็นภาพของยอดดอยอยู่ไล่เลี่ยในระดับเดียวกับหมู่ดาวที่พร่างพราว
เป็น “ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย” ที่หากใครได้มายืนนับดาวกับคนรักหรือคนที่รู้ใจนั้น นับเป็นบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติกเหลือคณา
แต่หากว่าใครที่มายืนชมดาวคนเดียว บางทีความรู้สึกที่ได้รับอาจแตกต่างออกไป กลายเป็นช่างว้าเหว่เปลี่ยวเหงา
แม้ดวงดาวจำนวนมหาศาลบนฟากฟ้าก็มิอาจถมเต็มความเปลี่ยวเหงานั้นได้
ทะเลหมอกชวนฝัน
แม้ค่ำคืนที่แล้ว ท้องฟ้าจะใสโปร่ง
แต่ยอดดอยเสมอดาวในเช้าวันนี้กลับขาวโพลนไปด้วยม่านหมอกปกคลุมหนาทึบ ชนิดที่ใครหลายคนเห็นแล้วอาจถอดใจว่า เช้านี้คงไม่ได้ยลทะเลหมอกที่ขึ้นชื่อของดอยแห่งนี้กันแล้ว
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ม่านหมอกรอบๆตัวค่อยๆลอยเลื่อนเลือนหาย เปิดทัศนียภาพเบื้องหน้าของจุดชมวิวบนบานดูดาวให้เห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของเบื้องล่าง กับภาพทะเลหมอกอันหนาแน่นที่ลอยเป็นปุยดูนุ่มนวลชวนแหวกว่ายอยู่ในซอกหลืบของหุบเขาเป็นแนวยาว ยิ่งยามที่แสงตะวันสาดส่องโผล่ลอดทะเลแนวม่านเมฆเป็นเส้นลำ ยิ่งทำให้ทะเลหมอกแห่งนี้ดูงดงามราวภาพฝัน
เป็นภาพฝันบนความจริงแห่งดอยเสมอดาวที่ผมเห็นแล้วช่างตราตรึงใจกระไรปานนั้น
******************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน โทร.0 5473 1714
หมายเหตุ : บทความนี้เรียบเรียงใหม่จากบทความ “ดอยเสมอดาว = ดาวเสมอดอย”...ทะเลหมอกชวนฝันแห่งเมือง “น่าน”
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com