Facebook :Travel @ Manager
"วัดไชย...วัดไชยวัฒนาราม..." เกศสุรางค์ชี้มือไป ... วัดไชยวัฒนาราม สวยงามอร่ามเรือง ตั้งตระหง่าน "บ้านเราอยู่ใกล้ๆกับวัดไชยหรือคะเนี่ย" (ช่วงหนึ่งจากละคร “บุพเพสันนิวาส”)
นี่เป็นภาพของกรุงศรีอยุธยา ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ตัวละครเอกจากเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ได้มองเห็นผ่านสายตาตัวเอง หลังจากที่เคยได้ร่ำเรียนและศึกษามาจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ และหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า
สำหรับใครที่กำลังอินและฟินกับละครดังเรื่องนี้ คงอยากจะไปตามรอยแม่หญิงการะเกด (เกศสุรางค์) และคุณพี่หมื่น กันที่ “อยุธยา” ว่าแล้วก็นุ่งโจง ห่มสไบ เตรียมตัวไปเที่ยวกันได้เลยเจ้าค่ะ
มาเริ่มต้นกันจากที่บ้านคุณพี่หมื่นสุนทรเทวา ที่อยู่ริมคลอง ใกล้กับวัดไชยวัฒนาราม หากพายเรือออกจากคลอง ก็จะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ล่องมาเรื่อยๆ ก็จะผ่านหน้าวัดไชยวัฒนาราม แบบที่ได้เห็นความงามสง่าแบบภาพในละคร
ส่วนในปัจจุบัน “วัดไชยวัฒนาราม” เป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญของพระนครศรีอยุธยา ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายภาพความงดงาม โดยเฉพาะในช่วงที่ละครกำลังโด่งดังนี้ ก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมมากขึ้นหลายเท่าตัว บางคนก็แต่งองค์ทรงเครื่องในชุดไทยหลากหลายแบบ เพื่อมาถ่ายภาพตามรอยละครกัน จนทางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีการจัดกิจกรรม “แต่งชุดไทย ชมวัดไชยวัฒนาราม” ให้มาร่วมสนุกกัน
“วัดไชยวัฒนาราม” เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยมีการนำรูปแบบแผนผังของวัดมาจากนครวัด มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีปรางค์บริวารอยู่รายล้อม แล้วก็มีระเบียงคดภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์
มุมยอดฮิตในการถ่ายรูปที่วัดไชยวัฒนาราม อยู่ที่หน้าวัด บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หันหน้ากลับเข้ามาทางวัด จะเห็นปรางค์ประธานองค์ใหญ่เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง มีปรางค์บริวารอยู่รอบๆ พร้อมกับสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้มองเห็นวัดในมุมเดียวกับที่แม่หญิงการะเกดมองเห็นผ่านซุ้มประตูวัดในละคร
มาดูช่วงกลางวันก็ว่าสวยแล้ว แต่ช่วงย่ำค่ำ พระอาทิตย์ตกดิน ก็จะมีการเปิดไฟส่องสว่างรอบๆ วัด ทำให้องค์พระปรางค์ดูงามอร่ามโดดเด่นเสียยิ่งกว่าตอนกลางวัน น่าเสียดายที่ช่วงนี้มีการบูรณะบางส่วนภายในวัด จนทำให้มุมถ่ายรูปน้อยลงไปด้วย แต่ลองเดินดูรอบๆ วัด และบริเวณระเบียงคด ก็มีจุดสวยๆ หลายจุดให้ได้ชม
กลับมาลงเรือเที่ยวกันต่อกับคุณพี่หมื่น ล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา จะผ่านปากคลองขุนละครไชย ที่ปากคลองจะมีประตูช่องกุด มีตลาดบ้านจีน โรงเหล้า โรงละคร และโรงน้ำชา ซึ่งในปัจจุบันก็จะเป็นย่านที่ตั้งของ “วัดนัดบุญยอแซฟ” นั่นเอง
ถัดมาอีกหน่อยก็จะเป็น “วัดพุทไธศวรรย์” ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน หากจำกันได้ วัดนี้จะปรากฏอยู่ในฉากที่แม่หญิงการะเกดแอบตามคุณพี่หมื่นมา จนมาเจอเข้ากับประตูอาคมที่อยู่ในเขตวัด และมาพบกับอาจารย์ชีปะขาว
วัดพุทไธศวรรย์ ก็เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ศิลปะอยุธยาตอนต้นผสมศิลปะแบบขอม มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่โดยรอบ ด้านข้างพระปรางค์มีมณฑปข้าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ส่วนด้านหน้าก็มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์
ด้วยเหตุที่วัดนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในช่วงการเสียกรุงครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่นอกเมือง จึงทำให้ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือให้เราเห็นได้อีกมากมาย แม้ว่าจะมีบางส่วนพังทลายลงไปบ้างก็ตาม
ใครที่อยากถ่ายรูปจุดเดียวกับแม่หญิงการะเกดแบบเป๊ะๆ ให้เดินมาบริเวณประตูด้านหลังองค์ปรางค์ประธาน คือจุดที่เป็นประตูลงอาคม พอผ่านประตูเข้ามาก็จะเห็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามภายในระเบียงคด ถ้าได้ใส่ชุดไทยมาเดินอยู่ตามทางก็ดูเก๋ไก๋ไม่น้อย
จากหน้าวัดพุทไธศวรรย์ คุณพี่หมื่นก็จะพาแม่หญิงการะเกดเข้าไปในพระนครทางประตูคลองฉะไกรน้อย ตรงเข้าไปที่ป่าผ้าเหลือง (ตลาดผ้าเหลือง) ซึ่งคลองฉะไกรน้อยนี้เดิมเชื่อมระหว่างบึงพระรามด้านในพระนครออกมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบัน คลองนี้และคลองดั้งเดิมอีกหลายสายก็ตื้นเขินไปจนเกือบหมดแล้ว
จากบริเวณป่าผ้าเหลือง แม่หญิงการะเกดก็แลเห็นวัดที่ดูโดดเด่นงดงาม นั่นคือ “วัดมงคลบพิตร” หรือในปัจจุบันก็คือ “วิหารพระมงคลบพิตร” ที่ภายในประดิษฐาน “พระมงคลบพิตร” พระพุทธรูปโบราณองค์ใหญ่ สันนิษฐานว่าเดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาได้มีการอัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ (จุดที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน) และมีการสร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาได้รับความเสียหายเมื่อช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วจึงมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจนกลายเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีทองอร่ามแบบที่เห็นในปัจจุบัน
ซึ่งวิหารพระมงคลบพิตรนี้ก็ตั้งอยู่ใกล้กับ “วัดพระศรีสรรเพชญ์” วัดหลวงในสมัยนั้น และใกล้กับ “พระราชวังโบราณ” ในยุคกรุงศรีอยุธยา
คุณพี่หมื่นล่องเรือกลับออกมาทางเดิม เพื่อจะตรงไปที่ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชี ซึ่งระหว่างทางจะต้องผ่านบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักบรรจบกัน จุดนี้จะมีเรือสำเภาจากต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยาจอดเรียงรายอยู่ โดยสินค้าสำคัญที่ทางอยุธยาส่งออกขายก็มีพวกเครื่องเทศ พริกไทย ข้าว ของป่า ไม้กฤษณา กำยาน น้ำมันครั่ง และเครื่องถ้วยสังคโลกของสุโขทัย
และบริเวณสามเปลี่ยมปากแม่น้ำนี้เอง ก็จะมีป้อมสำคัญตั้งอยู่ คือ “ป้อมเพชร” ถือเป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์จากจำนวน 16 ป้อมที่อยู่รอบพระนคร เพราะเป็นประตูเมืองที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาจากโลกภายนอก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ติดต่อกับต่างชาติอีกด้วย
ปัจจุบัน แม้ป้อมเพชรจะหลงเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ก็ยังเป็นจุดที่มีความสวยงาม สามารถมายืนชมวิวจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย ทางซ้ายมือจะเป็นแม่น้ำป่าสัก มี “วัดพนัญเชิง” ตั้งอยู่ทางฝั่งตรงข้ามป้อม ส่วนด้านขวามือเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มี “วัดบางกระจะ” ตั้งอยู่ตรงข้ามป้อม
ส่วนท่าเรือจ้างวัดนางชี จะต้องพายเรือต่อไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกเล็กน้อย ก็จะได้ขึ้นท่าทางฝั่งขวามือ ซึ่งตลาดแห่งนี้จะอยู่บริเวณหน้า “ชุมชนโปรตุเกส” โดยชุมชนแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ในบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยานั้น ชาวโปรตุเกสถือเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามา มีการเจริญสัมพันธไมตรีกันอย่างเป็นทางการ จากนั้น ชาวโปรตุเกสมีความดีความชอบในการเข้าร่วมสงคราม จึงได้รับพระราชทานที่ดินเป็นบำเหน็จรางวัล ให้ชาวโปรตุเกสมาตั้งบ้านเรือนและสร้างวัดถือศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี
ในหมู่บ้านโปรตุเกสยุคกรุงศรีอยุธยา จะมีโบสถ์ในคริสต์ศาสนาอยู่ 3 แห่ง คือ โบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน, โบสถ์คณะฟรานซิสกัน และ โบสถ์เซนต์เปาโล (คณะเยซูอิต) ในปัจจุบัน หากมาที่หมู่บ้านโปรตุเกสก็จะพบเพียงแค่ซากโบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน และบริเวณด้านหน้าโบสถ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการขุดค้นพบสุสานที่มีโครงกระดูกมนุษย์ฝังอยู่กว่า 200 โครง ซึ่งมีการจัดแสดงเป็นตัวอย่าง และมีนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกสด้วย
อีกจุดหนึ่งที่ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครบุพเพสันนิวาส คือ “วัดเชิงท่า” ซึ่งในเรื่องนั้นกำหนดให้เป็นวัดเดิมอโยธยา เป็นตอนที่บ้านออกญาโหราธิบดีนั่งเรือมาทำบุญกันที่วัด ฉากนี้ถ่ายทำกันในศาลาการเปรียญหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา
และภายในวัดแห่งนี้ยังมีจุดน่าสนใจอีกก็คือ พระปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาท โดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดแต่เดิม (หันหน้ามาทางแม่น้ำ) สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่ เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่สามารถพบได้ที่วัดเชิงท่าแห่งนี้ที่เดียว
ตามรอยแม่หญิงการะเกดกับคุณพี่หมื่นมาเที่ยวอยุธยากันหลายที่พอควรแล้ว แต่ต้องบอกว่าในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคล หมู่บ้านญี่ปุ่น หรือจะเป็นแหล่งช้อปปิ้งทั้งตลาดน้ำอโยธยา และแหล่งโรตีสายไหมอร่อยๆ แถวหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ใครมีเวลาว่างก็เชิญมาเที่ยวชมกันได้นะเจ้าคะ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
"วัดไชย...วัดไชยวัฒนาราม..." เกศสุรางค์ชี้มือไป ... วัดไชยวัฒนาราม สวยงามอร่ามเรือง ตั้งตระหง่าน "บ้านเราอยู่ใกล้ๆกับวัดไชยหรือคะเนี่ย" (ช่วงหนึ่งจากละคร “บุพเพสันนิวาส”)
นี่เป็นภาพของกรุงศรีอยุธยา ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ตัวละครเอกจากเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ได้มองเห็นผ่านสายตาตัวเอง หลังจากที่เคยได้ร่ำเรียนและศึกษามาจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ และหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า
สำหรับใครที่กำลังอินและฟินกับละครดังเรื่องนี้ คงอยากจะไปตามรอยแม่หญิงการะเกด (เกศสุรางค์) และคุณพี่หมื่น กันที่ “อยุธยา” ว่าแล้วก็นุ่งโจง ห่มสไบ เตรียมตัวไปเที่ยวกันได้เลยเจ้าค่ะ
มาเริ่มต้นกันจากที่บ้านคุณพี่หมื่นสุนทรเทวา ที่อยู่ริมคลอง ใกล้กับวัดไชยวัฒนาราม หากพายเรือออกจากคลอง ก็จะมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ล่องมาเรื่อยๆ ก็จะผ่านหน้าวัดไชยวัฒนาราม แบบที่ได้เห็นความงามสง่าแบบภาพในละคร
ส่วนในปัจจุบัน “วัดไชยวัฒนาราม” เป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญของพระนครศรีอยุธยา ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายภาพความงดงาม โดยเฉพาะในช่วงที่ละครกำลังโด่งดังนี้ ก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมมากขึ้นหลายเท่าตัว บางคนก็แต่งองค์ทรงเครื่องในชุดไทยหลากหลายแบบ เพื่อมาถ่ายภาพตามรอยละครกัน จนทางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีการจัดกิจกรรม “แต่งชุดไทย ชมวัดไชยวัฒนาราม” ให้มาร่วมสนุกกัน
“วัดไชยวัฒนาราม” เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยมีการนำรูปแบบแผนผังของวัดมาจากนครวัด มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีปรางค์บริวารอยู่รายล้อม แล้วก็มีระเบียงคดภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์
มุมยอดฮิตในการถ่ายรูปที่วัดไชยวัฒนาราม อยู่ที่หน้าวัด บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หันหน้ากลับเข้ามาทางวัด จะเห็นปรางค์ประธานองค์ใหญ่เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง มีปรางค์บริวารอยู่รอบๆ พร้อมกับสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้มองเห็นวัดในมุมเดียวกับที่แม่หญิงการะเกดมองเห็นผ่านซุ้มประตูวัดในละคร
มาดูช่วงกลางวันก็ว่าสวยแล้ว แต่ช่วงย่ำค่ำ พระอาทิตย์ตกดิน ก็จะมีการเปิดไฟส่องสว่างรอบๆ วัด ทำให้องค์พระปรางค์ดูงามอร่ามโดดเด่นเสียยิ่งกว่าตอนกลางวัน น่าเสียดายที่ช่วงนี้มีการบูรณะบางส่วนภายในวัด จนทำให้มุมถ่ายรูปน้อยลงไปด้วย แต่ลองเดินดูรอบๆ วัด และบริเวณระเบียงคด ก็มีจุดสวยๆ หลายจุดให้ได้ชม
กลับมาลงเรือเที่ยวกันต่อกับคุณพี่หมื่น ล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา จะผ่านปากคลองขุนละครไชย ที่ปากคลองจะมีประตูช่องกุด มีตลาดบ้านจีน โรงเหล้า โรงละคร และโรงน้ำชา ซึ่งในปัจจุบันก็จะเป็นย่านที่ตั้งของ “วัดนัดบุญยอแซฟ” นั่นเอง
ถัดมาอีกหน่อยก็จะเป็น “วัดพุทไธศวรรย์” ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน หากจำกันได้ วัดนี้จะปรากฏอยู่ในฉากที่แม่หญิงการะเกดแอบตามคุณพี่หมื่นมา จนมาเจอเข้ากับประตูอาคมที่อยู่ในเขตวัด และมาพบกับอาจารย์ชีปะขาว
วัดพุทไธศวรรย์ ก็เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ศิลปะอยุธยาตอนต้นผสมศิลปะแบบขอม มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่โดยรอบ ด้านข้างพระปรางค์มีมณฑปข้าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ส่วนด้านหน้าก็มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์
ด้วยเหตุที่วัดนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในช่วงการเสียกรุงครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่นอกเมือง จึงทำให้ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือให้เราเห็นได้อีกมากมาย แม้ว่าจะมีบางส่วนพังทลายลงไปบ้างก็ตาม
ใครที่อยากถ่ายรูปจุดเดียวกับแม่หญิงการะเกดแบบเป๊ะๆ ให้เดินมาบริเวณประตูด้านหลังองค์ปรางค์ประธาน คือจุดที่เป็นประตูลงอาคม พอผ่านประตูเข้ามาก็จะเห็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามภายในระเบียงคด ถ้าได้ใส่ชุดไทยมาเดินอยู่ตามทางก็ดูเก๋ไก๋ไม่น้อย
จากหน้าวัดพุทไธศวรรย์ คุณพี่หมื่นก็จะพาแม่หญิงการะเกดเข้าไปในพระนครทางประตูคลองฉะไกรน้อย ตรงเข้าไปที่ป่าผ้าเหลือง (ตลาดผ้าเหลือง) ซึ่งคลองฉะไกรน้อยนี้เดิมเชื่อมระหว่างบึงพระรามด้านในพระนครออกมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในปัจจุบัน คลองนี้และคลองดั้งเดิมอีกหลายสายก็ตื้นเขินไปจนเกือบหมดแล้ว
จากบริเวณป่าผ้าเหลือง แม่หญิงการะเกดก็แลเห็นวัดที่ดูโดดเด่นงดงาม นั่นคือ “วัดมงคลบพิตร” หรือในปัจจุบันก็คือ “วิหารพระมงคลบพิตร” ที่ภายในประดิษฐาน “พระมงคลบพิตร” พระพุทธรูปโบราณองค์ใหญ่ สันนิษฐานว่าเดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาได้มีการอัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ (จุดที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน) และมีการสร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาได้รับความเสียหายเมื่อช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วจึงมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจนกลายเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีทองอร่ามแบบที่เห็นในปัจจุบัน
ซึ่งวิหารพระมงคลบพิตรนี้ก็ตั้งอยู่ใกล้กับ “วัดพระศรีสรรเพชญ์” วัดหลวงในสมัยนั้น และใกล้กับ “พระราชวังโบราณ” ในยุคกรุงศรีอยุธยา
คุณพี่หมื่นล่องเรือกลับออกมาทางเดิม เพื่อจะตรงไปที่ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชี ซึ่งระหว่างทางจะต้องผ่านบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักบรรจบกัน จุดนี้จะมีเรือสำเภาจากต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยาจอดเรียงรายอยู่ โดยสินค้าสำคัญที่ทางอยุธยาส่งออกขายก็มีพวกเครื่องเทศ พริกไทย ข้าว ของป่า ไม้กฤษณา กำยาน น้ำมันครั่ง และเครื่องถ้วยสังคโลกของสุโขทัย
และบริเวณสามเปลี่ยมปากแม่น้ำนี้เอง ก็จะมีป้อมสำคัญตั้งอยู่ คือ “ป้อมเพชร” ถือเป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์จากจำนวน 16 ป้อมที่อยู่รอบพระนคร เพราะเป็นประตูเมืองที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาจากโลกภายนอก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ติดต่อกับต่างชาติอีกด้วย
ปัจจุบัน แม้ป้อมเพชรจะหลงเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ก็ยังเป็นจุดที่มีความสวยงาม สามารถมายืนชมวิวจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย ทางซ้ายมือจะเป็นแม่น้ำป่าสัก มี “วัดพนัญเชิง” ตั้งอยู่ทางฝั่งตรงข้ามป้อม ส่วนด้านขวามือเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มี “วัดบางกระจะ” ตั้งอยู่ตรงข้ามป้อม
ส่วนท่าเรือจ้างวัดนางชี จะต้องพายเรือต่อไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกเล็กน้อย ก็จะได้ขึ้นท่าทางฝั่งขวามือ ซึ่งตลาดแห่งนี้จะอยู่บริเวณหน้า “ชุมชนโปรตุเกส” โดยชุมชนแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ในบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยานั้น ชาวโปรตุเกสถือเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามา มีการเจริญสัมพันธไมตรีกันอย่างเป็นทางการ จากนั้น ชาวโปรตุเกสมีความดีความชอบในการเข้าร่วมสงคราม จึงได้รับพระราชทานที่ดินเป็นบำเหน็จรางวัล ให้ชาวโปรตุเกสมาตั้งบ้านเรือนและสร้างวัดถือศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี
ในหมู่บ้านโปรตุเกสยุคกรุงศรีอยุธยา จะมีโบสถ์ในคริสต์ศาสนาอยู่ 3 แห่ง คือ โบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน, โบสถ์คณะฟรานซิสกัน และ โบสถ์เซนต์เปาโล (คณะเยซูอิต) ในปัจจุบัน หากมาที่หมู่บ้านโปรตุเกสก็จะพบเพียงแค่ซากโบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน และบริเวณด้านหน้าโบสถ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการขุดค้นพบสุสานที่มีโครงกระดูกมนุษย์ฝังอยู่กว่า 200 โครง ซึ่งมีการจัดแสดงเป็นตัวอย่าง และมีนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกสด้วย
อีกจุดหนึ่งที่ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครบุพเพสันนิวาส คือ “วัดเชิงท่า” ซึ่งในเรื่องนั้นกำหนดให้เป็นวัดเดิมอโยธยา เป็นตอนที่บ้านออกญาโหราธิบดีนั่งเรือมาทำบุญกันที่วัด ฉากนี้ถ่ายทำกันในศาลาการเปรียญหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา
และภายในวัดแห่งนี้ยังมีจุดน่าสนใจอีกก็คือ พระปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาท โดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดแต่เดิม (หันหน้ามาทางแม่น้ำ) สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่ เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่สามารถพบได้ที่วัดเชิงท่าแห่งนี้ที่เดียว
ตามรอยแม่หญิงการะเกดกับคุณพี่หมื่นมาเที่ยวอยุธยากันหลายที่พอควรแล้ว แต่ต้องบอกว่าในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคล หมู่บ้านญี่ปุ่น หรือจะเป็นแหล่งช้อปปิ้งทั้งตลาดน้ำอโยธยา และแหล่งโรตีสายไหมอร่อยๆ แถวหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ใครมีเวลาว่างก็เชิญมาเที่ยวชมกันได้นะเจ้าคะ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager