โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
“ลุงทำประมงมานาน จับปลามามาก ความผูกพันของผมกับปลามันมีมานานแล้วและมากๆด้วย ผมจึงลืมปลาไม่ได้ เพราะปลานี่แหละทำให้ผมสบายมาจนทุกวันนี้ เลยอยากตอบแทนบุญคุณของปลา จึงได้คิดสลักหินให้เป็นปลา และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เพราะปลาหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว”
ลุงกิตติ สินอุดม กล่าวถึงแรงบันดาลใจ ในการนำหินมาสร้างสรรค์แกะสลักเป็นปลาและสัตว์ทะเลอีกหลากหลาย ก่อนจัดตั้งเป็น“พิพิธภัณฑ์ปลาหิน”ขึ้นมา
อย่างไรก็ดีกว่าจะมีวันนี้ของพิพิธภัณฑ์ปลาหินนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากใจรักแล้ว ลุงกิตติยังต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่นไม่ย่นย่อท้อ ใช้ความเพียรพยายามอย่างสูง(เกือบ 30 ปี) ในการการเปลี่ยนหินให้เป็นปลาที่ดูคล้ายประหนึ่งว่าพวกมันมีชีวิต
นับเป็นการเปลี่ยนหินให้เป็นปลาที่ดูน่าทึ่งกระไรปานนั้น
1...
“พิพิธภัณฑ์ปลาหิน” ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งโดยคุณลุง“กิตติ สินอุดม” ชายวัย 80 ปี ผู้มีพื้นเพเดิมเป็นคน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ก่อนที่จะย้ายตามบิดามาตั้งแต่วัยเยามาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อทำกิจการ “แพปลาสินอุดม” ที่เป็นทั้งชาวประมงและรับซื้อสัตว์ทะเลทุกชนิด
ลุงกิตติ เล่าว่า เมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว ท้องทะเลในอ่าวสุราษฎร์ตั้งแต่ดอนสักถึงท่าฉางนั้นอุดมสมบูรณ์มาก ทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะปลานั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ปลามาก และแต่ละชนิดก็มีในปริมาณมาก บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นบางครั้งถ้าเราพายเรือมาเรื่อยๆตามชายฝั่ง จะมีปลากระโดดเข้ามาในเรือ ให้เราเอากลับไปแกงกลับไปทางอาหารได้ อร่อยไปเลย ...แต่หลังจากปี 2546 เป็นต้นมา ความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้แทบไม่เหลืออยู่เลย
อย่างไรก็ดี คนสมัยก่อนจะจับปลา จับสัตว์น้ำกันแบบพอเพียง พอกิน พอขาย ไม่จับปลาล้างผลาญแบบสมัยนี้ ที่ใช้เรืออวนลาก อวนรุน ระเบิดปลา อวนลากคู่ ลอบตาถี่ ที่เป็นการทำลายทรัพยากรทางทะเลอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ลุงกิตติบอกว่าต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไป ไม่อย่างนั้นทะเลไทยจะไม่เหลืออะไรให้คนรุ่นหลัง
ด้วยความที่เป็นชาวประมงผูกพันกับปลาและสัตว์น้ำทะเลมาช้านาน ในปี พ.ศ. 2533 ลุงกิตติจึงได้ทดลองนำหินที่ไม่ใช่ประโยชน์จากการก่อสร้างถนนมาแกะสลักเป็นรูปปลา เป็นหิน“ปลาในฝัน” ซึ่งเป็นงานแกะสลักปลาหินตัวแรกของลุงกิตติ โดยลุงใช้ความเพียรพยายามในการแกะสลักอยู่เป็นเดือน
แต่ปัจจุบันถ้าจะแกะสลักปลาหินแบบนี้ลุงจะใช้เวลาแค่ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
แม้จะไม่มีพื้นฐานการเรียนด้านศิลปะหรือการแกะสลักจากที่ใดๆ แต่ลุงกิตติก็ใช้ฝีมือ ความเพียรพยายาม แรงกายแรงใจ แกะสลักปลาแต่ละตัวขึ้นด้วยความรักโดยจำจากประสบการณ์ในการพบเจอปลาแต่ละชนิดของลุง จากตัวแรกในปี 2533 ก็มีตัวที่สอง สาม สี่ ฯลฯ ตามมาเรื่อยๆ
สำหรับอุปกรณ์ในการแกะสลักของลุงกิตตินั้นก็มีแค่ ค้อน เหล็กสกัด และอุปกรณ์ขัดมัน โดยขั้นตอนในการทำนั้นเริ่มจาก วาดรูปปลาร่างแบบลงบนหิน จากนั้นนำเหล็กสกัดมาแกะสลักรูปปลาต่างๆ เมื่อเสร็จแล้วเก็บรายละเอียดด้วยการขัดให้พื้นผิวเรียบ เนี้ยบ จนเป็นมันแวววาว ก็จะได้ปลาหินที่ดูสวยงามมาหนึ่งชิ้น
หลังลุงกิตติเกษียณตัวเองจากกิจการแพปลาแล้วให้ลูกๆรับช่วงต่อ แต่ด้วยความผูกพัน ความรักและหลงใหลในสัตว์ทะเลทุกชนิด ลุงกิตติจึงยังคงมุ่งหน้าทำในสิ่งที่รักต่อไป ด้วยการนำหินที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นหินอ่อน หินทราย หินปูน หินแกรนิต หินฟันม้า ฯ ที่แต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติและสีสันเฉพาะตัว ให้ลุงกิตติได้แกะสลักสร้างสรรค์เป็นปลาและสัตว์ทะเลอีกหลากหลายนานาชนิด
วันนี้กว่า 27 ปี ผ่านมา ลุงกิตติได้ทำการแกะสลักหินเป็นรูปปลาและสัตว์น้ำทะเลอื่นๆอีกกว่า 3 พัน ด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์ของตัวเอง
2…
แม้จะมีคนมาติดต่อของซื้องานแกะสลักปลาหินของลุงกิตติกันเป็นจำนวนมาก แต่ลุงแก“ไม่ขาย” เพราะตั้งปณิธานไว้แน่วแน่ว่า จะนำรวบรวมปลาหินที่แกะสลักไว้มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณปลา และเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์ทะเลต่างๆ เพราะปลาหลายชนิดที่ลุงกิตติแกะสลักขึ้นจากประสบการณ์ตรงที่เคยพบเจอด้วยตัวเอง วันนี้มีสูญพันธุ์หรือหายสาบสูญไปก็มาก
ลุงกิตติ เล่าว่า จะทำอย่างไรให้คนรุ่นหลังได้รู้จักสัตว์ทะเลต่างๆให้มากขึ้น ตนจึงเลือกที่จะใช้ก้อนหินซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงคงทนถาวรคงสภาพอยู่ได้ยาวนาน มาลงมือแกะสลักหินเป็นรูปปลาและสัตว์ทะเลแต่ละชนิด โดยอาศัยความจำลักษณะของปลาแต่ละตัวจากสมัยทำประมง
งานนี้หากทำคนเดียว เก็บไว้ดูคนเดียว มันย่อมไม่เกิดประโยชน์มากนัก ลุงกิตติจึงได้นำปลาหินและสัตว์ทะเลหินที่แกะสลักไว้มากมาย มาจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์ปลาหิน”ขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปได้ชม โดยมีการจัดแสดงอย่างเรียบง่ายแบบบ้านๆ ในอาคารโถงโล่ง มีการจัดแสดงปลาหินไว้ทั่วบริเวณ มีการจัดวางเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มปลาน้ำจืด ปลาทะเล สัตว์น้ำทะเลอื่นๆ กลุ่มปลาเล็กปลาน้อยตามปะการัง รวมถึงปลาที่ประดับไว้ตามรั้วกำแพงของพิพิธภัณฑ์
หลายๆคนยกให้พิพิธภัณฑ์ปลาหินเป็นอะควาเรียมปลาหิน ที่อุดมไปด้วยปลาหินและสัตว์ทะเลหินๆต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปลาเก๋า ปลากะพง ปลาโอ ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาการ์ตูน กุ้ง หอย ปู ม้าน้ำ หมึก กุ้งมังกร แมงดาทะเล ปลากระเบน กบ จระเข้ และอื่นๆอีกมากมาย
เรียกว่าถ้ารวมชนิดสายพันธุ์ปลาและสัตว์ทะเลแล้ว ในอะควาเรียมปลาหินแห่งนี้มีสายพันธุ์และชนิดของปลามากกว่าในท้องทะเลอ่าวสุราษฎร์ในปัจจุบันเสียอีก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าปลาหลายชนิดสูญพันธุ์จากอ่าวสุราษฎร์ไปแล้ว หรือบางชนิดก็เหลือน้อยมาก อาทิ ปลาแก้ว ปลาโคบมัน ปลาจวดเทียน ปลาฉนาก ฉลามดอก ฯลฯ
ลุงกิตติบอกกับผมว่า ชีวิตนี้ตั้งใจที่จะแกะสลักปลาหินในอ่าวไทยแทบทุกชนิดให้ได้มากที่สุด
วันนี้ลุงแกะสลักปลาและสัตว์ทะเลต่างๆไปมากมายเกือบแทบทุกชนิดแล้ว แต่ก็ยังมีปลาบางชนิดที่ลุงกิตติยังไม่ได้แกะสลักก็อย่างเช่น ฉลามวาฬ หรือ วาฬ เพราะต้องใช้หินขนาดใหญ่ และต้องมีพื้นที่กว้างในการจัดแสดง โดยปลาบางตัวลุงกิตติใช้เวลาแกะนานถึง 3 เดือน แต่บางตัวก็ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ส่วนตัวที่แกะสลักยากที่สุดก็เป็นพวกกุ้ง ปู ที่มีขา มีหนวดเยอะ เพราะจะแกะยาก เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะ
สำหรับรูปแบบการแกะสลักปลาหินของลุงกิตติ ปลาหลายชนิดลุงแกแกะสลักเท่าตัวจริง บางชนิดแกะขยายใหญ่กว่าตัวจริง ส่วนบางชนิดก็ย่อส่วนลงมา ขึ้นอยู่กับขนาดของหิน
เดิมลุงกิตติจะแกะสลักแบบไม่ได้ดูสีของหิน แต่หลังจากที่บ่มเพาะฝีมือและประสบการณ์ ปลาหินที่ลุงกิตติแกะสลักในยุคหลังๆจะอิงจากธรรมชาติของหินก้อนนั้นๆ ทั้งสีของหิน ลวดลาย และพื้นผิวของหิน ที่ดูแล้วมีความเป็นธรรมชาติสวยงาม รวมถึงปลาและสัตว์ทะเลจำนวนมากก็แกะได้อย่างพลิ้วไหว ดูมีชีวิตชีวา
อีกทั้งลุงกิตติยังมีการแฝงลูกเล่นไว้ในงานแกะสลักอีก อย่างเช่น การแกะกลารวมกันเป็นฝูง การแกะปลาตีนคู่เกาะอยู่บนเท้าคนเพื่อสื่อให้รู้ว่านี่คือปลาตีน การแกะปลากระเบน หมึก เกาะอยู่ตามก้อนหินแบบดูมีชีวิต การแกะปลาจูบ(หรือปลาหมอตาล)ที่เป็นรูปปลา 2 ตัวหัวหน้าเข้าหาเหมือนจะมาจูบกัน แล้วเว้นช่องในกรอบไว้ให้คนเอาหน้าไปถ่ายรูปคู่กับปลาจูบ เป็นต้น
นอกจากนี้ลุงกิตติยังมีการกสลักหินเป็นขนม ของกิน อย่างเช่น ขนมถ้วยฟู ทับทิมกรอบ บัวลอยไข่หวาน ปาท่องโก๋ ปลากระป๋อง และผลงานชุด“อาหารพันปีทะเลจำลอง” ที่เป็นการแกะสลักหินเป็นเมนูอาหารทะเลต่างๆที่เราคุ้นเคย อย่างพวก ปลา ปู กุ้ง หมึก แบบเสิร์ฟอยู่ในจานมาแบบชุดใหญ่ไฟกระพริบ ที่ดูน่ากินไม่น้อย
สำหรับพิพิธภัณฑ์ปลาหินแห่งนี้ แม้ลุงกิตติจะแกะสลักขึ้นจากหินที่ไร้ชีวิต แต่ว่าลุงแกสามารถสร้างสรรค์ออกมาได้ดั่งมีชีวิต
และผลจากความมุ่งมั่นตั้งใจ ความเพียรพยายามอันยาวนาน ทำให้ลุงกิตติได้รับการคัดเลือกให้เป็น “คนดี ศรีสุราษฎร์ อำเภอดอนสัก” ประจำปี 2555 เป็นอีกหนึ่งรางวัลของชีวิต
3…
หลังผมได้เดินชมในพิพิธภัณฑ์ปลาหิน พร้อมฟังคำอธิบายและเรื่องราวต่างๆจากลุงกิตติจนทั่ว บอกได้เลยว่านี่เป็นอีกหนึ่งอะเมซิ่งสุราษฎร์ กับแหล่งรวมของดีที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในเมืองไทย เพราะปัจจุบันยังไม่เห็นที่ไหนมีการนำหินมาแกะสลักเป็นสัตว์ทะเลแล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบนี้
นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ใครเมื่อผ่านมายัง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ด้วยของดีที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นถึงเพียงนี้ ผมเห็นว่าทางผู้หลักผู้ใหญ่ในสุราษฎร์ฯ หรือผู้มีอันจะกิน นักการเมืองที่ร่ำรวย น่าจะมาช่วยส่งเสริมพัฒนาพิพิธภัณฑ์ปลาหิน (แต่อย่าเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการการจัดแสดง ป้ายชื่อสถานที่ รวมถึงทำป้ายให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ และในอีกหลายเรื่อง เพื่อให้ที่นี่มีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้นกว่านี้
เพราะพิพิธภัณฑ์ปลาหินนั้น มีของดี มีระดับความน่าสนใจ ที่มากกว่าแค่ในระดับท้องถิ่น มากกว่าในระดับจังหวัด
แต่เป็นความน่าสนใจในระดับประเทศที่น่าทึ่งไม่น้อย
4…
“เห็นมัจฉา พรายพริ้ว บนริ้วหิน
เจ้าโบยบิน จากทะเล สู่เคหา
สลักเสลา เรือนร่าง กลางศิลา
ใส่วิญญา เหมือนหิน มีวิญญาณ
ชื่อกิตติ สินอุดม คมเชิงศิลป์
ชายผู้มี จินตนา มหาศาล
ภูมิปัญญา ระบือเลื่อง เฟื่องผลงาน
ฝากตำนาน ปลาหิน คู่ถิ่นไทย”
บทกลอนจาก พิพิธภัณฑ์ปลาหิน
******************************************
พิพิธภัณฑ์ปลาหิน ตั้งอยู่ที่ 34/15 หมู่ 5 ตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 4142 ดอนสัก-ขนอม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (แล้วแต่จะสนับสนุน) สอบถามรายละเอียดโทร. 0 7737 1197
และสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ปลาหิน ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7728-8817-9
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“ลุงทำประมงมานาน จับปลามามาก ความผูกพันของผมกับปลามันมีมานานแล้วและมากๆด้วย ผมจึงลืมปลาไม่ได้ เพราะปลานี่แหละทำให้ผมสบายมาจนทุกวันนี้ เลยอยากตอบแทนบุญคุณของปลา จึงได้คิดสลักหินให้เป็นปลา และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เพราะปลาหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว”
ลุงกิตติ สินอุดม กล่าวถึงแรงบันดาลใจ ในการนำหินมาสร้างสรรค์แกะสลักเป็นปลาและสัตว์ทะเลอีกหลากหลาย ก่อนจัดตั้งเป็น“พิพิธภัณฑ์ปลาหิน”ขึ้นมา
อย่างไรก็ดีกว่าจะมีวันนี้ของพิพิธภัณฑ์ปลาหินนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากใจรักแล้ว ลุงกิตติยังต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่นไม่ย่นย่อท้อ ใช้ความเพียรพยายามอย่างสูง(เกือบ 30 ปี) ในการการเปลี่ยนหินให้เป็นปลาที่ดูคล้ายประหนึ่งว่าพวกมันมีชีวิต
นับเป็นการเปลี่ยนหินให้เป็นปลาที่ดูน่าทึ่งกระไรปานนั้น
1...
“พิพิธภัณฑ์ปลาหิน” ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งโดยคุณลุง“กิตติ สินอุดม” ชายวัย 80 ปี ผู้มีพื้นเพเดิมเป็นคน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ก่อนที่จะย้ายตามบิดามาตั้งแต่วัยเยามาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อทำกิจการ “แพปลาสินอุดม” ที่เป็นทั้งชาวประมงและรับซื้อสัตว์ทะเลทุกชนิด
ลุงกิตติ เล่าว่า เมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว ท้องทะเลในอ่าวสุราษฎร์ตั้งแต่ดอนสักถึงท่าฉางนั้นอุดมสมบูรณ์มาก ทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะปลานั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ปลามาก และแต่ละชนิดก็มีในปริมาณมาก บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นบางครั้งถ้าเราพายเรือมาเรื่อยๆตามชายฝั่ง จะมีปลากระโดดเข้ามาในเรือ ให้เราเอากลับไปแกงกลับไปทางอาหารได้ อร่อยไปเลย ...แต่หลังจากปี 2546 เป็นต้นมา ความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้แทบไม่เหลืออยู่เลย
อย่างไรก็ดี คนสมัยก่อนจะจับปลา จับสัตว์น้ำกันแบบพอเพียง พอกิน พอขาย ไม่จับปลาล้างผลาญแบบสมัยนี้ ที่ใช้เรืออวนลาก อวนรุน ระเบิดปลา อวนลากคู่ ลอบตาถี่ ที่เป็นการทำลายทรัพยากรทางทะเลอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ลุงกิตติบอกว่าต้องกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไป ไม่อย่างนั้นทะเลไทยจะไม่เหลืออะไรให้คนรุ่นหลัง
ด้วยความที่เป็นชาวประมงผูกพันกับปลาและสัตว์น้ำทะเลมาช้านาน ในปี พ.ศ. 2533 ลุงกิตติจึงได้ทดลองนำหินที่ไม่ใช่ประโยชน์จากการก่อสร้างถนนมาแกะสลักเป็นรูปปลา เป็นหิน“ปลาในฝัน” ซึ่งเป็นงานแกะสลักปลาหินตัวแรกของลุงกิตติ โดยลุงใช้ความเพียรพยายามในการแกะสลักอยู่เป็นเดือน
แต่ปัจจุบันถ้าจะแกะสลักปลาหินแบบนี้ลุงจะใช้เวลาแค่ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
แม้จะไม่มีพื้นฐานการเรียนด้านศิลปะหรือการแกะสลักจากที่ใดๆ แต่ลุงกิตติก็ใช้ฝีมือ ความเพียรพยายาม แรงกายแรงใจ แกะสลักปลาแต่ละตัวขึ้นด้วยความรักโดยจำจากประสบการณ์ในการพบเจอปลาแต่ละชนิดของลุง จากตัวแรกในปี 2533 ก็มีตัวที่สอง สาม สี่ ฯลฯ ตามมาเรื่อยๆ
สำหรับอุปกรณ์ในการแกะสลักของลุงกิตตินั้นก็มีแค่ ค้อน เหล็กสกัด และอุปกรณ์ขัดมัน โดยขั้นตอนในการทำนั้นเริ่มจาก วาดรูปปลาร่างแบบลงบนหิน จากนั้นนำเหล็กสกัดมาแกะสลักรูปปลาต่างๆ เมื่อเสร็จแล้วเก็บรายละเอียดด้วยการขัดให้พื้นผิวเรียบ เนี้ยบ จนเป็นมันแวววาว ก็จะได้ปลาหินที่ดูสวยงามมาหนึ่งชิ้น
หลังลุงกิตติเกษียณตัวเองจากกิจการแพปลาแล้วให้ลูกๆรับช่วงต่อ แต่ด้วยความผูกพัน ความรักและหลงใหลในสัตว์ทะเลทุกชนิด ลุงกิตติจึงยังคงมุ่งหน้าทำในสิ่งที่รักต่อไป ด้วยการนำหินที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นหินอ่อน หินทราย หินปูน หินแกรนิต หินฟันม้า ฯ ที่แต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติและสีสันเฉพาะตัว ให้ลุงกิตติได้แกะสลักสร้างสรรค์เป็นปลาและสัตว์ทะเลอีกหลากหลายนานาชนิด
วันนี้กว่า 27 ปี ผ่านมา ลุงกิตติได้ทำการแกะสลักหินเป็นรูปปลาและสัตว์น้ำทะเลอื่นๆอีกกว่า 3 พัน ด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์ของตัวเอง
2…
แม้จะมีคนมาติดต่อของซื้องานแกะสลักปลาหินของลุงกิตติกันเป็นจำนวนมาก แต่ลุงแก“ไม่ขาย” เพราะตั้งปณิธานไว้แน่วแน่ว่า จะนำรวบรวมปลาหินที่แกะสลักไว้มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ก็เพื่อตอบแทนบุญคุณปลา และเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์ทะเลต่างๆ เพราะปลาหลายชนิดที่ลุงกิตติแกะสลักขึ้นจากประสบการณ์ตรงที่เคยพบเจอด้วยตัวเอง วันนี้มีสูญพันธุ์หรือหายสาบสูญไปก็มาก
ลุงกิตติ เล่าว่า จะทำอย่างไรให้คนรุ่นหลังได้รู้จักสัตว์ทะเลต่างๆให้มากขึ้น ตนจึงเลือกที่จะใช้ก้อนหินซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงคงทนถาวรคงสภาพอยู่ได้ยาวนาน มาลงมือแกะสลักหินเป็นรูปปลาและสัตว์ทะเลแต่ละชนิด โดยอาศัยความจำลักษณะของปลาแต่ละตัวจากสมัยทำประมง
งานนี้หากทำคนเดียว เก็บไว้ดูคนเดียว มันย่อมไม่เกิดประโยชน์มากนัก ลุงกิตติจึงได้นำปลาหินและสัตว์ทะเลหินที่แกะสลักไว้มากมาย มาจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์ปลาหิน”ขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปได้ชม โดยมีการจัดแสดงอย่างเรียบง่ายแบบบ้านๆ ในอาคารโถงโล่ง มีการจัดแสดงปลาหินไว้ทั่วบริเวณ มีการจัดวางเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มปลาน้ำจืด ปลาทะเล สัตว์น้ำทะเลอื่นๆ กลุ่มปลาเล็กปลาน้อยตามปะการัง รวมถึงปลาที่ประดับไว้ตามรั้วกำแพงของพิพิธภัณฑ์
หลายๆคนยกให้พิพิธภัณฑ์ปลาหินเป็นอะควาเรียมปลาหิน ที่อุดมไปด้วยปลาหินและสัตว์ทะเลหินๆต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปลาเก๋า ปลากะพง ปลาโอ ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาการ์ตูน กุ้ง หอย ปู ม้าน้ำ หมึก กุ้งมังกร แมงดาทะเล ปลากระเบน กบ จระเข้ และอื่นๆอีกมากมาย
เรียกว่าถ้ารวมชนิดสายพันธุ์ปลาและสัตว์ทะเลแล้ว ในอะควาเรียมปลาหินแห่งนี้มีสายพันธุ์และชนิดของปลามากกว่าในท้องทะเลอ่าวสุราษฎร์ในปัจจุบันเสียอีก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าปลาหลายชนิดสูญพันธุ์จากอ่าวสุราษฎร์ไปแล้ว หรือบางชนิดก็เหลือน้อยมาก อาทิ ปลาแก้ว ปลาโคบมัน ปลาจวดเทียน ปลาฉนาก ฉลามดอก ฯลฯ
ลุงกิตติบอกกับผมว่า ชีวิตนี้ตั้งใจที่จะแกะสลักปลาหินในอ่าวไทยแทบทุกชนิดให้ได้มากที่สุด
วันนี้ลุงแกะสลักปลาและสัตว์ทะเลต่างๆไปมากมายเกือบแทบทุกชนิดแล้ว แต่ก็ยังมีปลาบางชนิดที่ลุงกิตติยังไม่ได้แกะสลักก็อย่างเช่น ฉลามวาฬ หรือ วาฬ เพราะต้องใช้หินขนาดใหญ่ และต้องมีพื้นที่กว้างในการจัดแสดง โดยปลาบางตัวลุงกิตติใช้เวลาแกะนานถึง 3 เดือน แต่บางตัวก็ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง ส่วนตัวที่แกะสลักยากที่สุดก็เป็นพวกกุ้ง ปู ที่มีขา มีหนวดเยอะ เพราะจะแกะยาก เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะ
สำหรับรูปแบบการแกะสลักปลาหินของลุงกิตติ ปลาหลายชนิดลุงแกแกะสลักเท่าตัวจริง บางชนิดแกะขยายใหญ่กว่าตัวจริง ส่วนบางชนิดก็ย่อส่วนลงมา ขึ้นอยู่กับขนาดของหิน
เดิมลุงกิตติจะแกะสลักแบบไม่ได้ดูสีของหิน แต่หลังจากที่บ่มเพาะฝีมือและประสบการณ์ ปลาหินที่ลุงกิตติแกะสลักในยุคหลังๆจะอิงจากธรรมชาติของหินก้อนนั้นๆ ทั้งสีของหิน ลวดลาย และพื้นผิวของหิน ที่ดูแล้วมีความเป็นธรรมชาติสวยงาม รวมถึงปลาและสัตว์ทะเลจำนวนมากก็แกะได้อย่างพลิ้วไหว ดูมีชีวิตชีวา
อีกทั้งลุงกิตติยังมีการแฝงลูกเล่นไว้ในงานแกะสลักอีก อย่างเช่น การแกะกลารวมกันเป็นฝูง การแกะปลาตีนคู่เกาะอยู่บนเท้าคนเพื่อสื่อให้รู้ว่านี่คือปลาตีน การแกะปลากระเบน หมึก เกาะอยู่ตามก้อนหินแบบดูมีชีวิต การแกะปลาจูบ(หรือปลาหมอตาล)ที่เป็นรูปปลา 2 ตัวหัวหน้าเข้าหาเหมือนจะมาจูบกัน แล้วเว้นช่องในกรอบไว้ให้คนเอาหน้าไปถ่ายรูปคู่กับปลาจูบ เป็นต้น
นอกจากนี้ลุงกิตติยังมีการกสลักหินเป็นขนม ของกิน อย่างเช่น ขนมถ้วยฟู ทับทิมกรอบ บัวลอยไข่หวาน ปาท่องโก๋ ปลากระป๋อง และผลงานชุด“อาหารพันปีทะเลจำลอง” ที่เป็นการแกะสลักหินเป็นเมนูอาหารทะเลต่างๆที่เราคุ้นเคย อย่างพวก ปลา ปู กุ้ง หมึก แบบเสิร์ฟอยู่ในจานมาแบบชุดใหญ่ไฟกระพริบ ที่ดูน่ากินไม่น้อย
สำหรับพิพิธภัณฑ์ปลาหินแห่งนี้ แม้ลุงกิตติจะแกะสลักขึ้นจากหินที่ไร้ชีวิต แต่ว่าลุงแกสามารถสร้างสรรค์ออกมาได้ดั่งมีชีวิต
และผลจากความมุ่งมั่นตั้งใจ ความเพียรพยายามอันยาวนาน ทำให้ลุงกิตติได้รับการคัดเลือกให้เป็น “คนดี ศรีสุราษฎร์ อำเภอดอนสัก” ประจำปี 2555 เป็นอีกหนึ่งรางวัลของชีวิต
3…
หลังผมได้เดินชมในพิพิธภัณฑ์ปลาหิน พร้อมฟังคำอธิบายและเรื่องราวต่างๆจากลุงกิตติจนทั่ว บอกได้เลยว่านี่เป็นอีกหนึ่งอะเมซิ่งสุราษฎร์ กับแหล่งรวมของดีที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในเมืองไทย เพราะปัจจุบันยังไม่เห็นที่ไหนมีการนำหินมาแกะสลักเป็นสัตว์ทะเลแล้วจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบนี้
นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ใครเมื่อผ่านมายัง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ด้วยของดีที่มีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นถึงเพียงนี้ ผมเห็นว่าทางผู้หลักผู้ใหญ่ในสุราษฎร์ฯ หรือผู้มีอันจะกิน นักการเมืองที่ร่ำรวย น่าจะมาช่วยส่งเสริมพัฒนาพิพิธภัณฑ์ปลาหิน (แต่อย่าเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการการจัดแสดง ป้ายชื่อสถานที่ รวมถึงทำป้ายให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ และในอีกหลายเรื่อง เพื่อให้ที่นี่มีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้นกว่านี้
เพราะพิพิธภัณฑ์ปลาหินนั้น มีของดี มีระดับความน่าสนใจ ที่มากกว่าแค่ในระดับท้องถิ่น มากกว่าในระดับจังหวัด
แต่เป็นความน่าสนใจในระดับประเทศที่น่าทึ่งไม่น้อย
4…
“เห็นมัจฉา พรายพริ้ว บนริ้วหิน
เจ้าโบยบิน จากทะเล สู่เคหา
สลักเสลา เรือนร่าง กลางศิลา
ใส่วิญญา เหมือนหิน มีวิญญาณ
ชื่อกิตติ สินอุดม คมเชิงศิลป์
ชายผู้มี จินตนา มหาศาล
ภูมิปัญญา ระบือเลื่อง เฟื่องผลงาน
ฝากตำนาน ปลาหิน คู่ถิ่นไทย”
บทกลอนจาก พิพิธภัณฑ์ปลาหิน
******************************************
พิพิธภัณฑ์ปลาหิน ตั้งอยู่ที่ 34/15 หมู่ 5 ตำบลดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 4142 ดอนสัก-ขนอม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (แล้วแต่จะสนับสนุน) สอบถามรายละเอียดโทร. 0 7737 1197
และสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ปลาหิน ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทร. 0-7728-8817-9
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com