โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ปกติในช่วงหน้าหนาวเช่นนี้ นักท่องเที่ยวมักจะขึ้นเหนือไปหาหนาว ไปสัมผัสกับบรรยากาศของทะเลหมอกอันสวยงามละมุนฟูฟ่อง หรือไปชมความงามของมวลหมู่ดอกไม้หลากสีสันอันสดใสสดสวย
แต่สำหรับในการขึ้นเหนือไปหาหนาวของผมในทริปนี้ กลับแปลกแตกต่างออกไป เนื่องจากเป็นการเดินทางไปสัมผัสกับความแข็งแกร่งอลังการของหน้าผาดินอันหน้าตื่นตาตื่นใจนาม “ผาช่อ” แหล่งท่องเที่ยวอันซีนน้องใหม่แห่ง จ.เชียงใหม่ ที่แม้จะเพิ่งเปิดตัว(อย่างเป็นทางการ)ได้ไม่นานแต่ก็ถือว่ามาแรงไม่น้อย
1...
ผาช่อ ตั้งอยู่ที่ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง อุทยานฯที่แม้จะไม่ใช่อุทยานฯชื่อดัง แต่ว่าก็มีสิ่งน่าสนใจให้สัมผัสเที่ยวชมกันหลากหลายพอดู ไม่ว่าจะเป็น เที่ยวน้ำตก เที่ยวถ้ำ ศึกษาธรรมชาติ ดูนก ล่องแพ ชมวิว และที่ถือเป็นไฮไลท์ไม่ควรพลาดในอุทยานฯแม่วางก็คือ การไปสัมผัสกับงามอันน่าตื่นตาตื่นใจของ “ผาช่อ” ที่วันนี้ทางอุทยานฯมีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติพร้อมป้ายสื่อความหมายต่างๆให้ศึกษากันรวม 10 สถานี
เส้นทางสายนี้มีระยะทางประมาณ 900 เมตร ในเส้นทางเดินเท้าไป-กลับย้อนทางเดิม โดยมีเส้นทางเดินวงรอบอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากผาช่อจุดไฮไลท์แล้วมาบรรจบในเส้นทางเดิมใกล้ๆกับสถานีที่ 7 ใช้เวลาเดินเที่ยวชมประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นสำหรับพวกช่างภาพที่ถ่ายรูปกันอย่างละเลียดเก็บละเอียด หรือพวกที่ชอบเซลฟี่กันแบบเก็บแทบทุกจุดของพื้นที่
หลังผมกับเพื่อนๆเดินทางมาถึงยังลานจอดรถของอุทยานฯ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ออกมาคอยโบกรถ ทักทายให้คำแนะนำด้วยความโอภาปราศรัยใบหน้าที่แย้มยิ้ม ซึ่งแม้ที่นี่จะมีเจ้าหน้าที่น้อย แต่เท่าที่ผมเห็นพวกเขาต่างก็พยายามและตั้งใจกันเต็มที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว(ส่วนใครที่เจออะไรที่แตกต่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน)
จากลานจอดรถเดินไปอีกหน่อยก็เป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยมีจุดชมวิวอยู่ใกล้ๆที่เมื่อมองลงไปจะเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าแม่วางอันกว้างไกล ซึ่งในวันที่ท้องฟ้าเป็นใจเราสามารถมองเห็นวิวคาบเกี่ยวได้ถึง 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง โดยจากซ้ายไปขวา จะมองเห็นจุดสำคัญๆ อาทิ วิวใน จ.ลำปาง แหล่งท่องเที่ยวผาแดง อช.แม่วาง วัดพระธาตุดอยน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ดอยหัวช้าง จ.ลำพูน วัดพระธาตุดอยโมคคัลลาน์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น อ้อ!?! แต่นี่เป็นการมองเห็นกันแบบไกลลิบตา ซึ่งใครอยากรู้ว่าจุดไหนเป็นจุดไหนแบบชัวร์ๆก็ให้ดูภาพที่ทางอุทยานฯเขาทำไว้ประกอบการชมวิวได้
เอาล่ะเมื่อชมวิวกันพอหอมปากหอมคอ(หรืออาจจะเหม็นปากเหม็นคอสำหรับบางคน) ที่นี่ก็ได้ฤกษ์ออกเดินเท้าสู่ผาช่อกันแล้ว โดยด้านซ้ายของจุดชมวิวจะมีทางเดินลงผ่านเส้นทางป่าโปร่งแล้วจากนั้นก็เป็นเส้นทางเดินไปตามทางน้ำเก่า ซึ่งระหว่างนี้จะผ่านป้ายสื่อความหมาย ไล่ไปจากหนึ่งไปถึงสิบ ได้แก่ 1.มะม่วงหัวแมงวัน ไม้มีพิษ 2.เหมือดคน 3.ชะมวง พืชอาหารและยา 4.ปรงป่าพืชบำรุงดิน 5.แก้มขาว ใบต่างดอก 6.เถาว์มะหนัง 7.คำมอกหลวง 8.ปอเต่าให้ 9.เสาโรมัน และ 10.ผาช่อ
ในจุดสื่อความหมาย 10 สถานีนี้ เท่าที่ผมสังเกตเห็น ตั้งแต่สถานีที่ 1 ไปถึง สถานี 8 มีคนสนใจอ่านป้ายหรือหยุดพิจารณาข้อมูลมองดูสภาพพื้นที่กันน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่จุดไฮไลท์ สถานีที่ 9 และ10 เลย ขณะที่บริเวณจุด“หินแม่น้ำ” ที่อยู่ระหว่างสถานี 4 กับ 5 นั้น ก็ถือเป็นดังพระรองที่มีความน่าสนใจอยู่ในระดับพอตัว(แต่คนมักจะเดินผ่านไป)
ที่บริเวณจุดหินแม่น้ำหากดูเผินๆผ่านๆอาจจะไม่มีอะไรน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้น แต่ว่ามันก็มีมนต์เสน่ห์ในลักษณะทางธรณีวิทยาซ่อนอยู่ กับลักษณะของหินแม่น้ำกลมมนที่ฝังตัวอยู่ในชั้นดินซึ่งจากป้ายข้อมูลระบุว่า
...เป็นชั้นดินตะกอนที่มีหินแม่น้ำแทรกตัวอยู่ หินแม่น้ำเหล่านี้เกิดจากการกร่อนทางน้ำ เป็นตะกอนที่ไหลไปตามการพัดพาของทางน้ำ เกิดการครูด ถู ไถ กลิ้ง บริเวณพื้นท้องน้ำและด้านข้างของทางน้ำ หรืออาจเคลื่อนที่ชนกันเอง ทำให้หินตะกอนมีขนาดเล็กลงและกลมมน(สันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางเดิน(ไหล)ของแม่น้ำปิงมาก่อน)...
หินแม่น้ำเหล่านี้ต้องใช้เวลาสร้างสรรค์มากกว่า 5 ล้านปี ถึงจะมีสภาพอย่างในปัจจุบัน ที่ในหลายช่วงหลายตอนจะมีลักษะเป็นก้อนหินเรียงตัวอยู่บนชั้นตะกอนอย่างสวยงามคล้ายมีคนมาจับเรียงไว้ แต่นี่เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ
และในจุดนี้หากใครถอดรองเท้าเดิน(เท้าเปล่า)บนก้อนหิน เท้าเราก็จะได้สัมผัสกับก้อนหินกลมมนน้อยใหญ่หลากหลาย เป็นดังการนวดเท้า การทำสปาธรรมชาติ ในบรรยากาศธรรมชาติที่น่าสนใจไม่น้อย
2…
จากก้อนหินจุดพระรอง เส้นทางจะพาเดินไปตามร่องน้ำเก่าผ่านสถานีต่างๆก่อนไปถึงยังจุดเดินขึ้นสู่ผาช่อ ณ “ม่อนลองแฮง” ที่ทางอุทยานฯทำเป็นบันไดเดินขึ้นไปบนทางที่สูงชันพอประมาณสู่เนินเบื้องบน เป็นการ“ลองแรง”ดังชื่อม่อน ก่อนจะถึงยังจุดชมวิวที่เมื่อมองลงไปจะเห็นลักษณะพิเศษทางธรณีวิทยาเกิดเป็นเสาดินตั้งตระหง่านอยู่หลายแท่ง ซึ่งทางอุทยานฯเรียกขานจุดนี้ว่า “เสาโรมัน”
เสาโรมันเป็นจุดสื่อความหมายสถานีที่ 9 มีลักษณะเป็นเสาดินสูงประมาณ 30 เมตร บนแท่งเสาดินมีลวดลายที่เกิดจากการทับถมกันเป็นชั้นๆของตะกอนในช่วงปลายยุคเทอร์เชียรี่(ยุคที่แผ่นทวีปเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งปัจจุบันแล้ว) ต่อมาเกิดการแปรสัณฐานของธรณีวิทยา บริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้น แล้วถูกกัดเซาะโดยน้ำ โดยลม
ทั้งนี้ในข้อมูลได้สันนิษฐานว่า การกัดเซาะช่วงแรกๆในบริเวณนี้ อาจมีลักษณะเป็นหน้าผาเหมือนกับผาช่อ(ที่อยู่ใกล้ๆกัน) จนเมื่อกาลเวลาผ่านไป หน้าผาถูกชะล้าง กัดเซาะลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงเสาดินที่มีลวดลายอันเกิดการสร้างสรรค์ของธรรมชาติอันสวยงาม
3...
จากจุดชมวิวเสาโรมัน ผมเดินต่อไปตามเส้นทางที่นำลงสู่เบื้องล่างเมื่อไปถึงยังบริเวณนี้ที่เป็นจุดไฮไลท์ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้ามันช่างชวนตื่นตะลึงน่าตื่นตาตื่นใจดีเหลือเกิน
สำหรับบริเวณนี้เป็นสถานีที่ 10 มีนามว่า “ผาช่อ” เป็นจุดไฮไลท์สำคัญประจำทริป
ผาช่อ เกิดจากตะกอนที่สะสมบริเวณขอบแอ่งและเชิงเขาของแนวเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ตั้งแต่ปลายยุคเทอร์เชียรี่(ประมาณ 5 ล้านปีก่อน) ซึ่งสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเส้นทางไหลของแม่น้ำมาก่อน(สังเกตได้จากก้อนกรวดก้อนหินที่มีลักษณะกลมมนคล้ายหินแม่น้ำที่กระจัดกระจายอยู่ตามเนื้อดิน)
ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานธรณี บริเวณนี้ถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นพื้นที่เนินเขาและที่ลาดลอนชัน ซึ่งในข้อมูล(จากป้าย)ได้ระบุว่า เนื่องจากตะกอนในยุคเทอร์เชียรี่มีอายุไม่มากนัก จึงยังไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหินแข็ง ขณะที่ชั้นตะกอนของหินกรวดและหินทรายที่วางตัวเป็นชั้นสลับกัน มีคุณสมบัติคงทนต่อการสึกกร่อนต่างกัน
ครั้นเมื่อถูกลมฝนน้ำกัดเซาะชะล้างหน้าดินกินเวลายาวนาน บริเวณนี้ก็ได้กลายเป็นหน้าผาดินและเสาดินที่มีรูปร่างแปลกตาที่ถูกขนานนามว่า “ผาช่อ” กับลักษณะของหน้าผาดินสูงประมาณ 30 เมตร ที่ตั้งตระหง่านเงื้อม
ผาช่อ แม้ดูแข็งแกร่ง ขรึมขลัง แต่ว่าก็เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งความงามจาก โดยเฉพาะกับริ้วรอยความงามจากเส้นสายลวดลาย(ดิน) อันเกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ
สำหรับชื่อผาช่อนั้นได้แต่ใดมา จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ พี่เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่า ชื่อ ผาช่อ มาจากลักษณะของหน้าผาที่ดูเป็นช่อเป็นชั้น(ประมาณคล้ายดอกไม้ที่เป็นช่อๆ) ชาวบ้านที่นี่จึงเรียกขานผาดินอันสวยงามแห่งนี้ว่าผาช่อ
อย่างไรก็ดีในการเดินเที่ยวผาช่อนั้น นักท่องเที่ยวต้องเดินไปตามเส้นทางที่อุทยานฯกำหนด จัดทำไว้ให้ อย่าออกนอกเส้นทาง อีกทั้งยังห้ามไปสัมผัสกับหน้าผาดิน(ในจุดที่เป็นผาช่อ) เพราะผาช่อเป็นตะกอนที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ ซึ่งถูกปัจจัยทางธรรมชาติทำให้ผุกร่อนตามกาลเวลาอยู่แล้ว การเข้าไปสัมผัสจึงเป็นการเร่งให้เกิดความเสียหายเร็วขึ้น
ดังนั้นการเที่ยวผาช่อจึงต้องดูแต่ตามืออย่าต้อง ส่วนใครหากอยากจะเก็บความประทับใจด้วยการบันทึกภาพนั้นก็สามารถทำกันได้อย่างเต็มที่ เพราะถึงแม้ว่าที่ผาช่อจะมีบริเวณเดียวให้เดินเที่ยวชม แต่ว่าเมื่อเราเดินเปลี่ยนมุมไป มุมมองของผาช่อก็จะเปลี่ยนไปตาม ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์ความงามที่มีมุมให้ถ่ายรูปกันหลายจุดทีเดียว
นับได้ว่าผาช่อเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์เล็กๆทางธรณีวิทยาอันชวนทึ่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเที่ยวอย่างมีสำนึก ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ผาช่อเอาไว้ให้ยืนอยู่ยั้งตราบนานเท่านาน
*****************************************
ผาช่อ ตั้งอยู่ที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ภายในอุทยานฯนอกจากผาช่อแล้วก็มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ กิ่วเสือเต้น(เป็นประติมากรรมธรรมชาติคล้ายผาแต้ม) ดอยผาตั้ง น้ำตกขุนป๊วย น้ำตกตาดหมอก น้ำตกปลาดุกแดง น้ำตกแม่วาง ล่องแพแม่แจ่ม
การเดินทางสู่ผาช่อ จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางอำเภอสันป่าตอง เข้าสู่อำเภอดอยหล่อ จากนั้นจะมีป้ายข้างทางบอกทางไป แหล่งท่องเที่ยวผาช่อ ให้ขับไปตามเส้นทางนั้น โดยในช่วงประมาณ 7 กม. ก่อนถึงผาช่อจะเป็นถนนลูกรัง แต่รถเก๋งสามารถขับเข้าถึงได้ แต่ต้องขับด้วยความระมัดระวัง
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเกี่ยวผาช่อและการเดินทางสู่ผาช่อเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่วาง โทร. 0-5381-8348,081-881-4729 หรือสอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.เชียงใหม่ เชื่อมโยงกับผาช่อได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0-5327-6140-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ปกติในช่วงหน้าหนาวเช่นนี้ นักท่องเที่ยวมักจะขึ้นเหนือไปหาหนาว ไปสัมผัสกับบรรยากาศของทะเลหมอกอันสวยงามละมุนฟูฟ่อง หรือไปชมความงามของมวลหมู่ดอกไม้หลากสีสันอันสดใสสดสวย
แต่สำหรับในการขึ้นเหนือไปหาหนาวของผมในทริปนี้ กลับแปลกแตกต่างออกไป เนื่องจากเป็นการเดินทางไปสัมผัสกับความแข็งแกร่งอลังการของหน้าผาดินอันหน้าตื่นตาตื่นใจนาม “ผาช่อ” แหล่งท่องเที่ยวอันซีนน้องใหม่แห่ง จ.เชียงใหม่ ที่แม้จะเพิ่งเปิดตัว(อย่างเป็นทางการ)ได้ไม่นานแต่ก็ถือว่ามาแรงไม่น้อย
1...
ผาช่อ ตั้งอยู่ที่ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง อุทยานฯที่แม้จะไม่ใช่อุทยานฯชื่อดัง แต่ว่าก็มีสิ่งน่าสนใจให้สัมผัสเที่ยวชมกันหลากหลายพอดู ไม่ว่าจะเป็น เที่ยวน้ำตก เที่ยวถ้ำ ศึกษาธรรมชาติ ดูนก ล่องแพ ชมวิว และที่ถือเป็นไฮไลท์ไม่ควรพลาดในอุทยานฯแม่วางก็คือ การไปสัมผัสกับงามอันน่าตื่นตาตื่นใจของ “ผาช่อ” ที่วันนี้ทางอุทยานฯมีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติพร้อมป้ายสื่อความหมายต่างๆให้ศึกษากันรวม 10 สถานี
เส้นทางสายนี้มีระยะทางประมาณ 900 เมตร ในเส้นทางเดินเท้าไป-กลับย้อนทางเดิม โดยมีเส้นทางเดินวงรอบอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากผาช่อจุดไฮไลท์แล้วมาบรรจบในเส้นทางเดิมใกล้ๆกับสถานีที่ 7 ใช้เวลาเดินเที่ยวชมประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นสำหรับพวกช่างภาพที่ถ่ายรูปกันอย่างละเลียดเก็บละเอียด หรือพวกที่ชอบเซลฟี่กันแบบเก็บแทบทุกจุดของพื้นที่
หลังผมกับเพื่อนๆเดินทางมาถึงยังลานจอดรถของอุทยานฯ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ออกมาคอยโบกรถ ทักทายให้คำแนะนำด้วยความโอภาปราศรัยใบหน้าที่แย้มยิ้ม ซึ่งแม้ที่นี่จะมีเจ้าหน้าที่น้อย แต่เท่าที่ผมเห็นพวกเขาต่างก็พยายามและตั้งใจกันเต็มที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว(ส่วนใครที่เจออะไรที่แตกต่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน)
จากลานจอดรถเดินไปอีกหน่อยก็เป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยมีจุดชมวิวอยู่ใกล้ๆที่เมื่อมองลงไปจะเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าแม่วางอันกว้างไกล ซึ่งในวันที่ท้องฟ้าเป็นใจเราสามารถมองเห็นวิวคาบเกี่ยวได้ถึง 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง โดยจากซ้ายไปขวา จะมองเห็นจุดสำคัญๆ อาทิ วิวใน จ.ลำปาง แหล่งท่องเที่ยวผาแดง อช.แม่วาง วัดพระธาตุดอยน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ดอยหัวช้าง จ.ลำพูน วัดพระธาตุดอยโมคคัลลาน์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น อ้อ!?! แต่นี่เป็นการมองเห็นกันแบบไกลลิบตา ซึ่งใครอยากรู้ว่าจุดไหนเป็นจุดไหนแบบชัวร์ๆก็ให้ดูภาพที่ทางอุทยานฯเขาทำไว้ประกอบการชมวิวได้
เอาล่ะเมื่อชมวิวกันพอหอมปากหอมคอ(หรืออาจจะเหม็นปากเหม็นคอสำหรับบางคน) ที่นี่ก็ได้ฤกษ์ออกเดินเท้าสู่ผาช่อกันแล้ว โดยด้านซ้ายของจุดชมวิวจะมีทางเดินลงผ่านเส้นทางป่าโปร่งแล้วจากนั้นก็เป็นเส้นทางเดินไปตามทางน้ำเก่า ซึ่งระหว่างนี้จะผ่านป้ายสื่อความหมาย ไล่ไปจากหนึ่งไปถึงสิบ ได้แก่ 1.มะม่วงหัวแมงวัน ไม้มีพิษ 2.เหมือดคน 3.ชะมวง พืชอาหารและยา 4.ปรงป่าพืชบำรุงดิน 5.แก้มขาว ใบต่างดอก 6.เถาว์มะหนัง 7.คำมอกหลวง 8.ปอเต่าให้ 9.เสาโรมัน และ 10.ผาช่อ
ในจุดสื่อความหมาย 10 สถานีนี้ เท่าที่ผมสังเกตเห็น ตั้งแต่สถานีที่ 1 ไปถึง สถานี 8 มีคนสนใจอ่านป้ายหรือหยุดพิจารณาข้อมูลมองดูสภาพพื้นที่กันน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่จุดไฮไลท์ สถานีที่ 9 และ10 เลย ขณะที่บริเวณจุด“หินแม่น้ำ” ที่อยู่ระหว่างสถานี 4 กับ 5 นั้น ก็ถือเป็นดังพระรองที่มีความน่าสนใจอยู่ในระดับพอตัว(แต่คนมักจะเดินผ่านไป)
ที่บริเวณจุดหินแม่น้ำหากดูเผินๆผ่านๆอาจจะไม่มีอะไรน่าสนใจหรือน่าตื่นเต้น แต่ว่ามันก็มีมนต์เสน่ห์ในลักษณะทางธรณีวิทยาซ่อนอยู่ กับลักษณะของหินแม่น้ำกลมมนที่ฝังตัวอยู่ในชั้นดินซึ่งจากป้ายข้อมูลระบุว่า
...เป็นชั้นดินตะกอนที่มีหินแม่น้ำแทรกตัวอยู่ หินแม่น้ำเหล่านี้เกิดจากการกร่อนทางน้ำ เป็นตะกอนที่ไหลไปตามการพัดพาของทางน้ำ เกิดการครูด ถู ไถ กลิ้ง บริเวณพื้นท้องน้ำและด้านข้างของทางน้ำ หรืออาจเคลื่อนที่ชนกันเอง ทำให้หินตะกอนมีขนาดเล็กลงและกลมมน(สันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางเดิน(ไหล)ของแม่น้ำปิงมาก่อน)...
หินแม่น้ำเหล่านี้ต้องใช้เวลาสร้างสรรค์มากกว่า 5 ล้านปี ถึงจะมีสภาพอย่างในปัจจุบัน ที่ในหลายช่วงหลายตอนจะมีลักษะเป็นก้อนหินเรียงตัวอยู่บนชั้นตะกอนอย่างสวยงามคล้ายมีคนมาจับเรียงไว้ แต่นี่เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ
และในจุดนี้หากใครถอดรองเท้าเดิน(เท้าเปล่า)บนก้อนหิน เท้าเราก็จะได้สัมผัสกับก้อนหินกลมมนน้อยใหญ่หลากหลาย เป็นดังการนวดเท้า การทำสปาธรรมชาติ ในบรรยากาศธรรมชาติที่น่าสนใจไม่น้อย
2…
จากก้อนหินจุดพระรอง เส้นทางจะพาเดินไปตามร่องน้ำเก่าผ่านสถานีต่างๆก่อนไปถึงยังจุดเดินขึ้นสู่ผาช่อ ณ “ม่อนลองแฮง” ที่ทางอุทยานฯทำเป็นบันไดเดินขึ้นไปบนทางที่สูงชันพอประมาณสู่เนินเบื้องบน เป็นการ“ลองแรง”ดังชื่อม่อน ก่อนจะถึงยังจุดชมวิวที่เมื่อมองลงไปจะเห็นลักษณะพิเศษทางธรณีวิทยาเกิดเป็นเสาดินตั้งตระหง่านอยู่หลายแท่ง ซึ่งทางอุทยานฯเรียกขานจุดนี้ว่า “เสาโรมัน”
เสาโรมันเป็นจุดสื่อความหมายสถานีที่ 9 มีลักษณะเป็นเสาดินสูงประมาณ 30 เมตร บนแท่งเสาดินมีลวดลายที่เกิดจากการทับถมกันเป็นชั้นๆของตะกอนในช่วงปลายยุคเทอร์เชียรี่(ยุคที่แผ่นทวีปเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งปัจจุบันแล้ว) ต่อมาเกิดการแปรสัณฐานของธรณีวิทยา บริเวณนี้ถูกยกตัวขึ้น แล้วถูกกัดเซาะโดยน้ำ โดยลม
ทั้งนี้ในข้อมูลได้สันนิษฐานว่า การกัดเซาะช่วงแรกๆในบริเวณนี้ อาจมีลักษณะเป็นหน้าผาเหมือนกับผาช่อ(ที่อยู่ใกล้ๆกัน) จนเมื่อกาลเวลาผ่านไป หน้าผาถูกชะล้าง กัดเซาะลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงเสาดินที่มีลวดลายอันเกิดการสร้างสรรค์ของธรรมชาติอันสวยงาม
3...
จากจุดชมวิวเสาโรมัน ผมเดินต่อไปตามเส้นทางที่นำลงสู่เบื้องล่างเมื่อไปถึงยังบริเวณนี้ที่เป็นจุดไฮไลท์ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้ามันช่างชวนตื่นตะลึงน่าตื่นตาตื่นใจดีเหลือเกิน
สำหรับบริเวณนี้เป็นสถานีที่ 10 มีนามว่า “ผาช่อ” เป็นจุดไฮไลท์สำคัญประจำทริป
ผาช่อ เกิดจากตะกอนที่สะสมบริเวณขอบแอ่งและเชิงเขาของแนวเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ตั้งแต่ปลายยุคเทอร์เชียรี่(ประมาณ 5 ล้านปีก่อน) ซึ่งสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเส้นทางไหลของแม่น้ำมาก่อน(สังเกตได้จากก้อนกรวดก้อนหินที่มีลักษณะกลมมนคล้ายหินแม่น้ำที่กระจัดกระจายอยู่ตามเนื้อดิน)
ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานธรณี บริเวณนี้ถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นพื้นที่เนินเขาและที่ลาดลอนชัน ซึ่งในข้อมูล(จากป้าย)ได้ระบุว่า เนื่องจากตะกอนในยุคเทอร์เชียรี่มีอายุไม่มากนัก จึงยังไม่เปลี่ยนสภาพเป็นหินแข็ง ขณะที่ชั้นตะกอนของหินกรวดและหินทรายที่วางตัวเป็นชั้นสลับกัน มีคุณสมบัติคงทนต่อการสึกกร่อนต่างกัน
ครั้นเมื่อถูกลมฝนน้ำกัดเซาะชะล้างหน้าดินกินเวลายาวนาน บริเวณนี้ก็ได้กลายเป็นหน้าผาดินและเสาดินที่มีรูปร่างแปลกตาที่ถูกขนานนามว่า “ผาช่อ” กับลักษณะของหน้าผาดินสูงประมาณ 30 เมตร ที่ตั้งตระหง่านเงื้อม
ผาช่อ แม้ดูแข็งแกร่ง ขรึมขลัง แต่ว่าก็เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งความงามจาก โดยเฉพาะกับริ้วรอยความงามจากเส้นสายลวดลาย(ดิน) อันเกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ
สำหรับชื่อผาช่อนั้นได้แต่ใดมา จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ พี่เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่า ชื่อ ผาช่อ มาจากลักษณะของหน้าผาที่ดูเป็นช่อเป็นชั้น(ประมาณคล้ายดอกไม้ที่เป็นช่อๆ) ชาวบ้านที่นี่จึงเรียกขานผาดินอันสวยงามแห่งนี้ว่าผาช่อ
อย่างไรก็ดีในการเดินเที่ยวผาช่อนั้น นักท่องเที่ยวต้องเดินไปตามเส้นทางที่อุทยานฯกำหนด จัดทำไว้ให้ อย่าออกนอกเส้นทาง อีกทั้งยังห้ามไปสัมผัสกับหน้าผาดิน(ในจุดที่เป็นผาช่อ) เพราะผาช่อเป็นตะกอนที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ ซึ่งถูกปัจจัยทางธรรมชาติทำให้ผุกร่อนตามกาลเวลาอยู่แล้ว การเข้าไปสัมผัสจึงเป็นการเร่งให้เกิดความเสียหายเร็วขึ้น
ดังนั้นการเที่ยวผาช่อจึงต้องดูแต่ตามืออย่าต้อง ส่วนใครหากอยากจะเก็บความประทับใจด้วยการบันทึกภาพนั้นก็สามารถทำกันได้อย่างเต็มที่ เพราะถึงแม้ว่าที่ผาช่อจะมีบริเวณเดียวให้เดินเที่ยวชม แต่ว่าเมื่อเราเดินเปลี่ยนมุมไป มุมมองของผาช่อก็จะเปลี่ยนไปตาม ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์ความงามที่มีมุมให้ถ่ายรูปกันหลายจุดทีเดียว
นับได้ว่าผาช่อเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์เล็กๆทางธรณีวิทยาอันชวนทึ่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเที่ยวอย่างมีสำนึก ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ผาช่อเอาไว้ให้ยืนอยู่ยั้งตราบนานเท่านาน
*****************************************
ผาช่อ ตั้งอยู่ที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วาง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ภายในอุทยานฯนอกจากผาช่อแล้วก็มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ กิ่วเสือเต้น(เป็นประติมากรรมธรรมชาติคล้ายผาแต้ม) ดอยผาตั้ง น้ำตกขุนป๊วย น้ำตกตาดหมอก น้ำตกปลาดุกแดง น้ำตกแม่วาง ล่องแพแม่แจ่ม
การเดินทางสู่ผาช่อ จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางอำเภอสันป่าตอง เข้าสู่อำเภอดอยหล่อ จากนั้นจะมีป้ายข้างทางบอกทางไป แหล่งท่องเที่ยวผาช่อ ให้ขับไปตามเส้นทางนั้น โดยในช่วงประมาณ 7 กม. ก่อนถึงผาช่อจะเป็นถนนลูกรัง แต่รถเก๋งสามารถขับเข้าถึงได้ แต่ต้องขับด้วยความระมัดระวัง
ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเกี่ยวผาช่อและการเดินทางสู่ผาช่อเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติแม่วาง โทร. 0-5381-8348,081-881-4729 หรือสอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆใน จ.เชียงใหม่ เชื่อมโยงกับผาช่อได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0-5327-6140-2
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com