โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) เฟซบุ๊ก Travel-Unlimited-เที่ยวถึงไหนถึงกัน
“สุโขทัย”นอกจากจะเป็นเมืองมรดกโลกเลื่องชื่อแล้ว จังหวัดนี้ยังมากไปด้วยเสน่ห์ของบรรยากาศแห่งวิถีแบบไทยๆที่เชื่อมผสานกาลเวลาระหว่างอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกันได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
ด้วยเหตุนี้ทางการทองเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จึงนำเสน่ห์ของวิถีแบบไทยๆ ใน จ.สุโขทัย มาคัดสรรจัดทำเป็นโครงการนำร่อง “เส้นทางข้าวไทย”(Thai Rice Tour) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ ก่อนที่จะนำไปประมวลพัฒนาศักยภาพให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่มีรูปแบบพิเศษเฉพาะตัว แล้วนำไปต่อยอดให้เกิดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
พิจิกา โรจน์ศตพงศ์ ประธานชมรมสื่ออาหาร ผู้ประสานงานหลักของโครงการนี้ ให้ข้อมูลกับผมว่า สุโขทัยเป็นหนึ่งในเมืองที่เด่นเรื่องวิถีของข้าว วิถีของการทำนาอันโดดเด่นควบคู่ไปกับวิถีชุมชน วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของมรดกโลก รวมถึงเป็นเมืองที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบ Slow Life - Slow Travel & Slow Food
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแบบ Slow Life - Slow Travel เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงไปสัมผัสเรียนรู้ชุมชนอย่างใกล้ชิดอย่างละเลียดลึก รวมถึงทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ Slow Food ที่ในโครงการนี้ใช้อ้างอิงคือ ไม่ใช่การบริโภคอาหารสำเร็จรูปแบบเร่งด่วน หากแต่เป็นการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุง ผ่านการคัดสรรวัตุดิบ โดยมีนักท่องเที่ยวเป็นผู้ร่วมประกอบอาหาร
สำหรับรูปแบบของกิจกรรมท่องเที่ยวในโครงการนี้ ผมขอแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่ กิจกรรม ท่องเที่ยวสัมผัสแหล่งมรดกโลก เรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรม และการเรียนรู้วิถีข้าว-ชาวนาไทยผ่านโครงการเกษตรอินทรีย์
ท่องแดนมรดกโลก
ปี พ.ศ. 2534 ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” เป็นมรดกโลก(ทางวัฒนธรรม) อันประกอบไปด้วย “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” ใน จ.สุโขทัย และ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ใน จ.กำแพงเพชร (ที่ผมจะไม่ขอพูดถึงในที่นี้)
สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย(อ.เมือง) มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ (ในเขตกำแพงเมืองเก่าชั้นใน) คือ “วัดมหาธาตุ” วัดที่โดดเด่นไปด้วยเจดีย์ทรง “พุ่มข้าวบิณฑ์” หรือทรง “ดอกบัวตูม” และพระประธานแห่งวิหารหลวง ที่มีพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์อมยิ้ม ดูอิ่มบุญเปี่ยมศรัทธา
นอกจากนี้ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยยังมีวัดเด่นๆ ที่น่าสนใจในเขตกำแพงเมืองเก่า คือ “วัดศรีสวาย”ที่มีสิ่งสำคัญคือปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง 3 องค์ และ“วัดสระศรี” ที่เป็นหนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ตกสะท้อนเงาผ่านน้ำอันสวยงาม และมีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นไฮไลต์สำคัญ
ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย(อ.ศรีสัชนาลัย) มี 3 วัดสำคัญ คือ “วัดนางพญา” ที่มีลวดลายปูนปั้นโบราณ งานฝีมือวิจิตรประณีตอันงดงาม
“วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ที่มีเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม อีกทั้งยังมีเจดีย์รายและอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะผสมผสานจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลังกา พุกาม และศรีวิชัย
“วัดช้างล้อม” ที่มีเจดีย์ประธานทรงลังกาที่โดยรอบฐานทั้งสี่มีงานปูนปั้นช้างรวม 39 เชือก เป็นงานปูนปั้นช้างในลักษณะยืนเต็มตัวแยกออกมาจากผนัง จากฝีมืออันยอดเยี่ยมของช่างโบราณที่สวยงามและคลาสสิกมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย
นั่นก็เป็นบางส่วนของโบราณสถานสำคัญในแหล่งมรดกโลกทั้ง 2 แห่งที่โครงการนี้พาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์ ซึ่งสำหรับสอดรับกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นก็คือ การปั่นจักรยานเที่ยวชมโบราณสถานอย่างใกล้ชิด หรือหากใครมีเวลาน้อยและมาเป็นหมู่คณะก็สามารถเลือกนั่งรถรางนำชมพื้นที่พร้อมลงแวะชมอย่างใกล้ชิดในจุดสำคัญ โดยมีไกด์ของอุทยานฯ มาคอยให้ข้อมูลความรู้ โดยล่าสุดทางอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้จัดให้มีไกด์เยาวชน(ไกด์น้อย) จากเยาวชนในพื้นที่มาร่วมให้ข้อมูลความรู้กับนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
เรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรม
จากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เรียนรู้รากเหง้าความเป็นเป็นไทย มาดูกิจกรรมท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิต ชุมชน วัฒนธรรมในสุโขทัยกันบ้าง
จังหวัดสุโขทัยมี “บ้านนาต้นจั่น” ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอันโดดเด่นที่มีดีกรีคว้ารางวัลทางการท่องเที่ยวต่างๆ มามากมาย
บ้านนาต้นจั่น เป็นชุมชนน่าอยู่ สงบงาม ผู้คนน่ารัก นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่จะเลือกเที่ยวแบบขาจรครึ่งวัน, 1 วัน, หรือจะมาพักค้างแบบโฮมสเตย์ก็สามารถทำได้ โดยสิ่งน่าสนใจที่บ้านนาต้นจั่นนั้นมีอยู่หลากหลายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
-การมาดูกระบวนการผลิต“ผ้าหมักโคลน”กับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สร้างสรรค์ให้เกิดผ้าหมักโคลนอันเป็นเอกลักษณ์สวยงาม ใส่สบาย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อผ้าหมักโคลนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ที่ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
-กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยว ชมท้องไร่ท้องนา พร้อมเข้าสวนไปเก็บผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน ลองกอง ลำไย
-ชมการทอผ้าของชาวบ้าน
-ชมการทำและร่วมอุดหนุนตุ๊กตาบาร์โหน ตุ๊กตาที่นอกจากจะสวยงาม ขยับได้แล้ว ยังมีคุณประโยชน์เป็นเครื่องช่วยออกกำลังกายมือ กับงานภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสรรค์โดยคุณตาวงศ์ เสาฟั่น อายุกว่า 87 ปี กับลูกชายที่มารับช่วงสืบงานภูมิปัญญาต่อจากคุณพ่อ
นอกจากนี้ล่าสุดทางบ้านนาต้นจั่นยังเปิดจุดชมวิวและจุดชมทะเลหมอกที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในช่วงหน้าหนาวนี้อีกด้วย
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้มาเที่ยวบ้านนาต้นจั่นไม่ควรพลาดก็คือ การรับประทานอาหารพื้นบ้านของที่นี่ นำโดยเมนูเด็ดชื่อดังในระดับรับแขกบ้านแขกเมือง คือ “ข้าวเปิ๊บ” หรือ “ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง” ที่ก๋วยเตี๋ยวพื้นบ้านชนิดหนึ่ง มีวิธีการทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ พร้อมใส่วุ้นเส้น ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือผักอื่นๆ ลงไปบนแผ่นแป้ง รวมถึงใส่ไข่ ใส่หมูแดง หมูสับ ลงไปในน้ำซุปด้วย ขณะที่เมนูพื้นบ้านที่น่าสนใจอื่นก็มี “ก๋วยเตี๋ยวแบ”, “แกงแค” และ “น้ำพริกซอกไข่” เป็นต้น
ในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัย ยังมี“พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านหาดเสี้ยว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งและดำเนินการโดย “อ.สาธร โสรัจประสพสันติ” ชาวบ้านหาดเสี้ยวผู้มีใจรักในผ้าทอโบราณและต้องการนำเสนอวิถีแห่งชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวให้คนภายนอกได้รับรู้ ซึ่งที่นี่ได้จัดแสดงผ้าทอลายโบราณ ผ้าเก่าแก่ ผ้าทอชิ้นเยี่ยม และผ้าทอทรงคุณค่าเอาไว้มากมาย อาทิ ซิ่นตีนจกเก้าลายบ้านหาดเสี้ยว ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม(เชียงใหม่) ลำพูน อุตรดิตถ์ ผ้าซิ่นที่ใช้ในพิธีบวชนาคช้างบ้านหาดเสี้ยว ผ้าทอมือชาวไทยพวน รวมถึง 2 ผืนไฮไลต์คือ “ผ้าซิ่นทองคำ”(ซิ่นไหมคำ) เป็นซิ่นเจ้านายเชียงตุงอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี และผ้าซิ่นทองคำผืนใหม่ที่ถูกทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานอันวิจิตรงดงาม
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ยังจัดแสดงเครื่องใช้ข้าวของโบราณหายากต่างๆอีกมากมาย ซึ่งที่นี่เปิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ศึกษาวิถีชาวไทยพวน ที่หากใครติดต่อไปล่วงหน้าก็จะได้ อ.สาธร มาเป็นวิทยากรบรรยายได้อย่างอรรถรส ทั้งสนุก มัน ฮา แต่ก็ได้เนื้อหาสาระกลับไป
จาก อ.ศรีสัชนาลัย ไปที่ชุมชน“คลองกระจง” ใน อ.สวรรคโลก กันบ้าง ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็น “หมู่บ้านใบตอง” หรือ “ชุมชนใบตอง” ที่เป็นแหล่งผลิตใบตองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยส่งขายไปทั้งในและต่างประเทศ
ใบตองที่ชุมชนคลองกระจงตัดส่งขายเป็นใบตองกล้วยตานีที่มีคุณบัติเด่นคือ ใบหนา เหนียว ห่ออาหารแล้วไม่ติด ไม่เปลี่ยนรสชาติอาหาร โดยตำบลคลองกระจงมีการปลูกกล้วยเพื่อตัดใบตองส่งขายมากถึงกว่า 8 พันไร่ วันหนึ่งๆสามารถตัดส่งขายเฉลี่ยได้มากถึง 30 ตันเลยทีเดียว สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ดีทีเดียว นับเป็นข้อมูลที่เมื่อผมได้รับรู้แล้วถึงกับทึ่ง อึ้งไม่น้อย แต่นั่นก็ยังไม่อึ้งเท่ากับข้อมูลที่ได้รู้ว่า ชาวบ้านที่ส่งใบตองขายที่นี่ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาอยู่มากโขเลยทีเดียว
มาถึงอีกหนึ่งกิจกรรมที่เต็มไปด้วยสีสันของโครงการนี้ก็คือการได้เรียนรู้ในกระบวนการทำสังคโลกที่ “สุเทพสังคโลก” (ปั่นจักรยานจากที่พักไปทำ) เพื่อทำการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติต่องานเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของสุโขทัยที่มีการผลิตสืบสานต่อกันมาอย่างช้านานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผู้ที่มาเยือนที่นี่จะได้รวมวาดลวดลายลงบนชามสังคโลก(ที่รอการนำไปเผา) งานนี้แต่ละคนจะได้งัดวิชาศิลปะที่เคยเรียนมาในวัยเยาว์แบบทุ่มเทสุดฝีมือมาใช้กับชามใบนี้อย่างเต็มที่ เพื่อเก็บเป็นที่ระลึกติดตัวกลับบ้าน นับเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซชิ้นเดียวของแต่ละคนที่มีชิ้นเดียวในโลก เพราะถ้าให้วาดใหม่ก็คงวาดได้ไม่เหมือนเดิม
เรียนรู้วิถีการทำนา
มาถึงกิจกรรมที่ถือเป็นหัวใจของงานกับการเรียนรู้วิถีข้าวไทย-วิถีชาวนาไทย ที่เป็นการลงมือในภาคปฏิบัติ กับกิจกรรมห้องเรียนกลางแจ้ง ในโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ซึ่งเหตุที่โครงการเส้นทางข้าวไทยเลือกที่นี่ เพราะมีความพร้อม มีการจัดการที่ดี และที่นี่ได้จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการสอนทำนามาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว
งานนี้ผู้เข้าร่วมโครงการต่างทดลองเป็นชาวนา(ชั่วคราว)ด้วยการเปลี่ยนชุดเป็นชาวนา ใส่เสื้อกางเกงม่อฮ่อม จากนั้นขึ้นรถอีแต๋นไปเรียนรู้พันธุ์ข้าวต่างๆที่ปลูกในโครงการ ชมโรงสีข้าว ลองหัดคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว และไปสนุกกับกิจกรรมเก็บไข่เป็ดในเล้าที่ไข่บางฟองแม่เป็ดเพิ่งไข่ออกมายังอุ่นๆ บางฟองยังมีขี้เป็ดติดอยู่หมาดๆ เลย
เมื่อแต่ละคนเก็บไข่เป็ดกันแล้ว เหล่ามวลหมู่เป็ดก็ร้อง “กั่บ กั่บ กั่บ” เป็นอันได้เวลาต้องกลับออกจากเล้าไปเก็บพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษสดๆ จากต้น จากแปลง เพื่อนำไปทำอาหารเย็น
จากนั้นก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่หลายคนชอบกันมาก เพราะได้ไปให้อาหารควาย เล่นกับเจ้าควายแสนรู้ที่นำโดยดาราดังคือ “เจ้าแซม” ควายเผือกตัวโตที่มีคนไปขอถ่ายรูปกับมันเป็นจำนวนมาก บางคนก็ขึ้นไปขี่หลังมันในอารมณ์ไอ้ขวัญจากแผลเก่ากันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังเห็นควายหลายๆ ตัวหนีร้อนลงไปนอนปลักกันเป็นที่เพลิดเพลิน ชนิดที่เห็นแล้วชวนให้อดคิดไม่ได้ว่า “จมปลักอย่างควายดีกว่าจมปลักอย่างคนเป็นแน่แท้”
หลังจากนั้นก็ถึงเวลาไปทดลองเป็นชาวนำปลูกข้าว ปักดำกล้า ซึ่งทางโครงการได้เตรียมไว้ให้ปักดำในแปลงสาธิต ที่งานนี้วิถีคนเมืองหลายๆ คนที่ก้มหน้าดูมือถือเล่นโซเชียลมีเดีย ต้องหันมาก้มหน้าดูดินปักดำกล้าให้หลังสู้ฟ้ารับรู้ความร้อนของแดดที่แผดเผาและความยากลำบากของชาวนา
เสร็จการการเป็นชาวนาแล้ว ในช่วงบ่ายเราเดินทางเข้าสู่ที่พัก(เดอะ เลเจนด้า สุโขทัย บูติค รีสอร์ท)เพื่อนำพืชผักที่เก็บมามาประกอบอาหารในเมนูต่างๆ ซึ่งนี่นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สนุกเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้สำคัญของใครหลายๆ คน เพราะปกติไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตของคนเมืองจำนวนมากจะซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารฟาสต์ฟูดกิน แต่เมื่อได้มาลองหุงข้าวเอง ทำกับข้าวเอง สำหรับคนที่เคยทำกับข้าวกินเป็นกิจวัตรอยู่แล้วนั้นคงไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนคนที่เคยผ่านการทำอาหารมาบ้างก็พอเอาตัวรอดได้ แต่กับคนที่ถนัดแต่กิน ทำกับข้าวไม่ค่อยเป็นอย่างผมนี่ถือว่างานหินไม่น้อย
เอาเฉพาะแค่เมนูเบสิกที่ดูเหมือนทำง่ายอย่างการเจียวไข่ ที่ผมพอมีฝีมืออยู่บ้าง 2-3 กระบวนท่า แต่ว่าเมื่อต้องมาเจอกับการทอดไข่ด้วยเตาถ่านก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน เพราะปกติเคยเจียวไข่ด้วยเตาแก๊สคุมความแรง-เบาของไฟได้ แต่เตาคุมไฟยากลำบากกว่า ซึ่งการได้เจียวไข่ด้วยเตาถ่านแบบนี้ทำให้ผมอดนึกถึงเพลง “นายไข่เจียว” ของ “วงเฉลียง” ขึ้นมาไม่ได้
นอกจากนี้การหุงข้าวเช็ดน้ำก็ทำให้ผมอดคิดไปถึงสมัยเด็กและสมัยที่เข้าค่ายลูกเสือเมื่อครั้งเยาว์วัยไม่ได้ เพราะด้วยวิถีการหุงข้าวยุคใหม่ที่หันมาใช้หม้อไฟฟ้ามันทำให้ผมไม่ได้สัมผัสกับการหุงข้าวเช็ดน้ำมานานมากแล้ว
จำได้ว่าสมัยเด็กที่อยู่ต่างจังหวัด เวลาที่แม่หุงข้าวเช็ดน้ำด้วยเตาถ่านให้กิน ผลพลอยได้ตามมาหลายต่อหลายครั้งที่ผมมักจะไม่ยอมพลาดก็คือการไปเฝ้าขอ“น้ำข้าว”มาดื่ม ซึ่งนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่บรรยากาศแบบนั้นเมื่อครั้งเยาว์วัยหวนคืน
น้ำข้าวร้อนๆ เหยาะเกลือนิดหน่อยพอเค็มปะแล่มๆ โอ้ววว...เอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม
ครับและนี่ก็เป็นกิจกรรมหลักๆ ของโครงการนำร่องเส้นทางข้าวไทย ที่ในอนาคตคงจะมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ผู้สนใจได้มีโอกาสได้ไปสัมผัสมากขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งของวิถีไทยที่นับวันยิ่งลดน้อยถอยลงไปทุกที
นอกจากนี้การได้ลงมือทำนาเอง ได้เรียนรู้ความยากลำบากของชาวนา ได้ลงมาปลูกข้าวเอง หุงข้าวเอง กินข้าวที่ตัวเองหุง มันทำให้คนเมืองที่กินข้าวเป็นอาหารหลักอย่างผม ได้รับรู้ถึงคุณค่าของข้าวไทยมากขึ้น และรับรู้ถึงคุณค่าของชาวนาที่มีพระคุณต่อคนกินข้าวอย่างเหลือล้น
อา..แต่เมื่อชาวนามีบุญคุณกับพวกเราอย่างเหลือล้นปานนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าคนที่โกงกินเงินชาวนาจากโครงการจำนำข้าวไปเป็นเงินจำนวนมหาศาล จิตใจของพวกเขาทำด้วยอะไร???
**************************************************************
หมายเหตุ : กิจกรรมในบทความนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับโปรแกรม เนื่องจากเป็นทริป “เส้นทางขาวไทย” เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งสามารถนำไปเพิ่มเติม ตัดทอน หรือต่อยอดให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในอนาคต
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
“สุโขทัย”นอกจากจะเป็นเมืองมรดกโลกเลื่องชื่อแล้ว จังหวัดนี้ยังมากไปด้วยเสน่ห์ของบรรยากาศแห่งวิถีแบบไทยๆที่เชื่อมผสานกาลเวลาระหว่างอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกันได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
ด้วยเหตุนี้ทางการทองเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จึงนำเสน่ห์ของวิถีแบบไทยๆ ใน จ.สุโขทัย มาคัดสรรจัดทำเป็นโครงการนำร่อง “เส้นทางข้าวไทย”(Thai Rice Tour) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ ก่อนที่จะนำไปประมวลพัฒนาศักยภาพให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่มีรูปแบบพิเศษเฉพาะตัว แล้วนำไปต่อยอดให้เกิดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
พิจิกา โรจน์ศตพงศ์ ประธานชมรมสื่ออาหาร ผู้ประสานงานหลักของโครงการนี้ ให้ข้อมูลกับผมว่า สุโขทัยเป็นหนึ่งในเมืองที่เด่นเรื่องวิถีของข้าว วิถีของการทำนาอันโดดเด่นควบคู่ไปกับวิถีชุมชน วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของมรดกโลก รวมถึงเป็นเมืองที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวแบบ Slow Life - Slow Travel & Slow Food
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแบบ Slow Life - Slow Travel เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงไปสัมผัสเรียนรู้ชุมชนอย่างใกล้ชิดอย่างละเลียดลึก รวมถึงทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ Slow Food ที่ในโครงการนี้ใช้อ้างอิงคือ ไม่ใช่การบริโภคอาหารสำเร็จรูปแบบเร่งด่วน หากแต่เป็นการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการปรุง ผ่านการคัดสรรวัตุดิบ โดยมีนักท่องเที่ยวเป็นผู้ร่วมประกอบอาหาร
สำหรับรูปแบบของกิจกรรมท่องเที่ยวในโครงการนี้ ผมขอแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่ กิจกรรม ท่องเที่ยวสัมผัสแหล่งมรดกโลก เรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรม และการเรียนรู้วิถีข้าว-ชาวนาไทยผ่านโครงการเกษตรอินทรีย์
ท่องแดนมรดกโลก
ปี พ.ศ. 2534 ยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” เป็นมรดกโลก(ทางวัฒนธรรม) อันประกอบไปด้วย “อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” ใน จ.สุโขทัย และ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ใน จ.กำแพงเพชร (ที่ผมจะไม่ขอพูดถึงในที่นี้)
สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย(อ.เมือง) มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ (ในเขตกำแพงเมืองเก่าชั้นใน) คือ “วัดมหาธาตุ” วัดที่โดดเด่นไปด้วยเจดีย์ทรง “พุ่มข้าวบิณฑ์” หรือทรง “ดอกบัวตูม” และพระประธานแห่งวิหารหลวง ที่มีพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์อมยิ้ม ดูอิ่มบุญเปี่ยมศรัทธา
นอกจากนี้ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยยังมีวัดเด่นๆ ที่น่าสนใจในเขตกำแพงเมืองเก่า คือ “วัดศรีสวาย”ที่มีสิ่งสำคัญคือปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง 3 องค์ และ“วัดสระศรี” ที่เป็นหนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ตกสะท้อนเงาผ่านน้ำอันสวยงาม และมีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นไฮไลต์สำคัญ
ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย(อ.ศรีสัชนาลัย) มี 3 วัดสำคัญ คือ “วัดนางพญา” ที่มีลวดลายปูนปั้นโบราณ งานฝีมือวิจิตรประณีตอันงดงาม
“วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ที่มีเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม อีกทั้งยังมีเจดีย์รายและอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะผสมผสานจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลังกา พุกาม และศรีวิชัย
“วัดช้างล้อม” ที่มีเจดีย์ประธานทรงลังกาที่โดยรอบฐานทั้งสี่มีงานปูนปั้นช้างรวม 39 เชือก เป็นงานปูนปั้นช้างในลักษณะยืนเต็มตัวแยกออกมาจากผนัง จากฝีมืออันยอดเยี่ยมของช่างโบราณที่สวยงามและคลาสสิกมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย
นั่นก็เป็นบางส่วนของโบราณสถานสำคัญในแหล่งมรดกโลกทั้ง 2 แห่งที่โครงการนี้พาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์ ซึ่งสำหรับสอดรับกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นก็คือ การปั่นจักรยานเที่ยวชมโบราณสถานอย่างใกล้ชิด หรือหากใครมีเวลาน้อยและมาเป็นหมู่คณะก็สามารถเลือกนั่งรถรางนำชมพื้นที่พร้อมลงแวะชมอย่างใกล้ชิดในจุดสำคัญ โดยมีไกด์ของอุทยานฯ มาคอยให้ข้อมูลความรู้ โดยล่าสุดทางอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้จัดให้มีไกด์เยาวชน(ไกด์น้อย) จากเยาวชนในพื้นที่มาร่วมให้ข้อมูลความรู้กับนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
เรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรม
จากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เรียนรู้รากเหง้าความเป็นเป็นไทย มาดูกิจกรรมท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิต ชุมชน วัฒนธรรมในสุโขทัยกันบ้าง
จังหวัดสุโขทัยมี “บ้านนาต้นจั่น” ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอันโดดเด่นที่มีดีกรีคว้ารางวัลทางการท่องเที่ยวต่างๆ มามากมาย
บ้านนาต้นจั่น เป็นชุมชนน่าอยู่ สงบงาม ผู้คนน่ารัก นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่จะเลือกเที่ยวแบบขาจรครึ่งวัน, 1 วัน, หรือจะมาพักค้างแบบโฮมสเตย์ก็สามารถทำได้ โดยสิ่งน่าสนใจที่บ้านนาต้นจั่นนั้นมีอยู่หลากหลายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
-การมาดูกระบวนการผลิต“ผ้าหมักโคลน”กับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สร้างสรรค์ให้เกิดผ้าหมักโคลนอันเป็นเอกลักษณ์สวยงาม ใส่สบาย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อผ้าหมักโคลนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ที่ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
-กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยว ชมท้องไร่ท้องนา พร้อมเข้าสวนไปเก็บผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน ลองกอง ลำไย
-ชมการทอผ้าของชาวบ้าน
-ชมการทำและร่วมอุดหนุนตุ๊กตาบาร์โหน ตุ๊กตาที่นอกจากจะสวยงาม ขยับได้แล้ว ยังมีคุณประโยชน์เป็นเครื่องช่วยออกกำลังกายมือ กับงานภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างสรรค์โดยคุณตาวงศ์ เสาฟั่น อายุกว่า 87 ปี กับลูกชายที่มารับช่วงสืบงานภูมิปัญญาต่อจากคุณพ่อ
นอกจากนี้ล่าสุดทางบ้านนาต้นจั่นยังเปิดจุดชมวิวและจุดชมทะเลหมอกที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในช่วงหน้าหนาวนี้อีกด้วย
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้มาเที่ยวบ้านนาต้นจั่นไม่ควรพลาดก็คือ การรับประทานอาหารพื้นบ้านของที่นี่ นำโดยเมนูเด็ดชื่อดังในระดับรับแขกบ้านแขกเมือง คือ “ข้าวเปิ๊บ” หรือ “ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง” ที่ก๋วยเตี๋ยวพื้นบ้านชนิดหนึ่ง มีวิธีการทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ พร้อมใส่วุ้นเส้น ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือผักอื่นๆ ลงไปบนแผ่นแป้ง รวมถึงใส่ไข่ ใส่หมูแดง หมูสับ ลงไปในน้ำซุปด้วย ขณะที่เมนูพื้นบ้านที่น่าสนใจอื่นก็มี “ก๋วยเตี๋ยวแบ”, “แกงแค” และ “น้ำพริกซอกไข่” เป็นต้น
ในพื้นที่ อ.ศรีสัชนาลัย ยังมี“พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านหาดเสี้ยว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งและดำเนินการโดย “อ.สาธร โสรัจประสพสันติ” ชาวบ้านหาดเสี้ยวผู้มีใจรักในผ้าทอโบราณและต้องการนำเสนอวิถีแห่งชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวให้คนภายนอกได้รับรู้ ซึ่งที่นี่ได้จัดแสดงผ้าทอลายโบราณ ผ้าเก่าแก่ ผ้าทอชิ้นเยี่ยม และผ้าทอทรงคุณค่าเอาไว้มากมาย อาทิ ซิ่นตีนจกเก้าลายบ้านหาดเสี้ยว ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม(เชียงใหม่) ลำพูน อุตรดิตถ์ ผ้าซิ่นที่ใช้ในพิธีบวชนาคช้างบ้านหาดเสี้ยว ผ้าทอมือชาวไทยพวน รวมถึง 2 ผืนไฮไลต์คือ “ผ้าซิ่นทองคำ”(ซิ่นไหมคำ) เป็นซิ่นเจ้านายเชียงตุงอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี และผ้าซิ่นทองคำผืนใหม่ที่ถูกทอขึ้นเพื่อใช้ในพิธีแต่งงานอันวิจิตรงดงาม
นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ยังจัดแสดงเครื่องใช้ข้าวของโบราณหายากต่างๆอีกมากมาย ซึ่งที่นี่เปิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ศึกษาวิถีชาวไทยพวน ที่หากใครติดต่อไปล่วงหน้าก็จะได้ อ.สาธร มาเป็นวิทยากรบรรยายได้อย่างอรรถรส ทั้งสนุก มัน ฮา แต่ก็ได้เนื้อหาสาระกลับไป
จาก อ.ศรีสัชนาลัย ไปที่ชุมชน“คลองกระจง” ใน อ.สวรรคโลก กันบ้าง ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็น “หมู่บ้านใบตอง” หรือ “ชุมชนใบตอง” ที่เป็นแหล่งผลิตใบตองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยส่งขายไปทั้งในและต่างประเทศ
ใบตองที่ชุมชนคลองกระจงตัดส่งขายเป็นใบตองกล้วยตานีที่มีคุณบัติเด่นคือ ใบหนา เหนียว ห่ออาหารแล้วไม่ติด ไม่เปลี่ยนรสชาติอาหาร โดยตำบลคลองกระจงมีการปลูกกล้วยเพื่อตัดใบตองส่งขายมากถึงกว่า 8 พันไร่ วันหนึ่งๆสามารถตัดส่งขายเฉลี่ยได้มากถึง 30 ตันเลยทีเดียว สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ดีทีเดียว นับเป็นข้อมูลที่เมื่อผมได้รับรู้แล้วถึงกับทึ่ง อึ้งไม่น้อย แต่นั่นก็ยังไม่อึ้งเท่ากับข้อมูลที่ได้รู้ว่า ชาวบ้านที่ส่งใบตองขายที่นี่ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาอยู่มากโขเลยทีเดียว
มาถึงอีกหนึ่งกิจกรรมที่เต็มไปด้วยสีสันของโครงการนี้ก็คือการได้เรียนรู้ในกระบวนการทำสังคโลกที่ “สุเทพสังคโลก” (ปั่นจักรยานจากที่พักไปทำ) เพื่อทำการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติต่องานเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของสุโขทัยที่มีการผลิตสืบสานต่อกันมาอย่างช้านานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผู้ที่มาเยือนที่นี่จะได้รวมวาดลวดลายลงบนชามสังคโลก(ที่รอการนำไปเผา) งานนี้แต่ละคนจะได้งัดวิชาศิลปะที่เคยเรียนมาในวัยเยาว์แบบทุ่มเทสุดฝีมือมาใช้กับชามใบนี้อย่างเต็มที่ เพื่อเก็บเป็นที่ระลึกติดตัวกลับบ้าน นับเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซชิ้นเดียวของแต่ละคนที่มีชิ้นเดียวในโลก เพราะถ้าให้วาดใหม่ก็คงวาดได้ไม่เหมือนเดิม
เรียนรู้วิถีการทำนา
มาถึงกิจกรรมที่ถือเป็นหัวใจของงานกับการเรียนรู้วิถีข้าวไทย-วิถีชาวนาไทย ที่เป็นการลงมือในภาคปฏิบัติ กับกิจกรรมห้องเรียนกลางแจ้ง ในโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ซึ่งเหตุที่โครงการเส้นทางข้าวไทยเลือกที่นี่ เพราะมีความพร้อม มีการจัดการที่ดี และที่นี่ได้จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการสอนทำนามาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว
งานนี้ผู้เข้าร่วมโครงการต่างทดลองเป็นชาวนา(ชั่วคราว)ด้วยการเปลี่ยนชุดเป็นชาวนา ใส่เสื้อกางเกงม่อฮ่อม จากนั้นขึ้นรถอีแต๋นไปเรียนรู้พันธุ์ข้าวต่างๆที่ปลูกในโครงการ ชมโรงสีข้าว ลองหัดคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว และไปสนุกกับกิจกรรมเก็บไข่เป็ดในเล้าที่ไข่บางฟองแม่เป็ดเพิ่งไข่ออกมายังอุ่นๆ บางฟองยังมีขี้เป็ดติดอยู่หมาดๆ เลย
เมื่อแต่ละคนเก็บไข่เป็ดกันแล้ว เหล่ามวลหมู่เป็ดก็ร้อง “กั่บ กั่บ กั่บ” เป็นอันได้เวลาต้องกลับออกจากเล้าไปเก็บพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษสดๆ จากต้น จากแปลง เพื่อนำไปทำอาหารเย็น
จากนั้นก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่หลายคนชอบกันมาก เพราะได้ไปให้อาหารควาย เล่นกับเจ้าควายแสนรู้ที่นำโดยดาราดังคือ “เจ้าแซม” ควายเผือกตัวโตที่มีคนไปขอถ่ายรูปกับมันเป็นจำนวนมาก บางคนก็ขึ้นไปขี่หลังมันในอารมณ์ไอ้ขวัญจากแผลเก่ากันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังเห็นควายหลายๆ ตัวหนีร้อนลงไปนอนปลักกันเป็นที่เพลิดเพลิน ชนิดที่เห็นแล้วชวนให้อดคิดไม่ได้ว่า “จมปลักอย่างควายดีกว่าจมปลักอย่างคนเป็นแน่แท้”
หลังจากนั้นก็ถึงเวลาไปทดลองเป็นชาวนำปลูกข้าว ปักดำกล้า ซึ่งทางโครงการได้เตรียมไว้ให้ปักดำในแปลงสาธิต ที่งานนี้วิถีคนเมืองหลายๆ คนที่ก้มหน้าดูมือถือเล่นโซเชียลมีเดีย ต้องหันมาก้มหน้าดูดินปักดำกล้าให้หลังสู้ฟ้ารับรู้ความร้อนของแดดที่แผดเผาและความยากลำบากของชาวนา
เสร็จการการเป็นชาวนาแล้ว ในช่วงบ่ายเราเดินทางเข้าสู่ที่พัก(เดอะ เลเจนด้า สุโขทัย บูติค รีสอร์ท)เพื่อนำพืชผักที่เก็บมามาประกอบอาหารในเมนูต่างๆ ซึ่งนี่นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สนุกเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้สำคัญของใครหลายๆ คน เพราะปกติไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตของคนเมืองจำนวนมากจะซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารฟาสต์ฟูดกิน แต่เมื่อได้มาลองหุงข้าวเอง ทำกับข้าวเอง สำหรับคนที่เคยทำกับข้าวกินเป็นกิจวัตรอยู่แล้วนั้นคงไม่ใช่เรื่องยาก ส่วนคนที่เคยผ่านการทำอาหารมาบ้างก็พอเอาตัวรอดได้ แต่กับคนที่ถนัดแต่กิน ทำกับข้าวไม่ค่อยเป็นอย่างผมนี่ถือว่างานหินไม่น้อย
เอาเฉพาะแค่เมนูเบสิกที่ดูเหมือนทำง่ายอย่างการเจียวไข่ ที่ผมพอมีฝีมืออยู่บ้าง 2-3 กระบวนท่า แต่ว่าเมื่อต้องมาเจอกับการทอดไข่ด้วยเตาถ่านก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน เพราะปกติเคยเจียวไข่ด้วยเตาแก๊สคุมความแรง-เบาของไฟได้ แต่เตาคุมไฟยากลำบากกว่า ซึ่งการได้เจียวไข่ด้วยเตาถ่านแบบนี้ทำให้ผมอดนึกถึงเพลง “นายไข่เจียว” ของ “วงเฉลียง” ขึ้นมาไม่ได้
นอกจากนี้การหุงข้าวเช็ดน้ำก็ทำให้ผมอดคิดไปถึงสมัยเด็กและสมัยที่เข้าค่ายลูกเสือเมื่อครั้งเยาว์วัยไม่ได้ เพราะด้วยวิถีการหุงข้าวยุคใหม่ที่หันมาใช้หม้อไฟฟ้ามันทำให้ผมไม่ได้สัมผัสกับการหุงข้าวเช็ดน้ำมานานมากแล้ว
จำได้ว่าสมัยเด็กที่อยู่ต่างจังหวัด เวลาที่แม่หุงข้าวเช็ดน้ำด้วยเตาถ่านให้กิน ผลพลอยได้ตามมาหลายต่อหลายครั้งที่ผมมักจะไม่ยอมพลาดก็คือการไปเฝ้าขอ“น้ำข้าว”มาดื่ม ซึ่งนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่บรรยากาศแบบนั้นเมื่อครั้งเยาว์วัยหวนคืน
น้ำข้าวร้อนๆ เหยาะเกลือนิดหน่อยพอเค็มปะแล่มๆ โอ้ววว...เอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม
ครับและนี่ก็เป็นกิจกรรมหลักๆ ของโครงการนำร่องเส้นทางข้าวไทย ที่ในอนาคตคงจะมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ผู้สนใจได้มีโอกาสได้ไปสัมผัสมากขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งของวิถีไทยที่นับวันยิ่งลดน้อยถอยลงไปทุกที
นอกจากนี้การได้ลงมือทำนาเอง ได้เรียนรู้ความยากลำบากของชาวนา ได้ลงมาปลูกข้าวเอง หุงข้าวเอง กินข้าวที่ตัวเองหุง มันทำให้คนเมืองที่กินข้าวเป็นอาหารหลักอย่างผม ได้รับรู้ถึงคุณค่าของข้าวไทยมากขึ้น และรับรู้ถึงคุณค่าของชาวนาที่มีพระคุณต่อคนกินข้าวอย่างเหลือล้น
อา..แต่เมื่อชาวนามีบุญคุณกับพวกเราอย่างเหลือล้นปานนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าคนที่โกงกินเงินชาวนาจากโครงการจำนำข้าวไปเป็นเงินจำนวนมหาศาล จิตใจของพวกเขาทำด้วยอะไร???
**************************************************************
หมายเหตุ : กิจกรรมในบทความนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับโปรแกรม เนื่องจากเป็นทริป “เส้นทางขาวไทย” เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งสามารถนำไปเพิ่มเติม ตัดทอน หรือต่อยอดให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในอนาคต
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com