xs
xsm
sm
md
lg

คุณค่าประโยชน์น่ารู้..อาหารฟังก์ชั่นรังนกแอ่นกินรัง (ข่าวประชาสัมพันธ์)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อ.กัญชลี ทิมาภรณ์
นักโภชนาการ


ฮิปโปเครติส บิดาทางการแพทย์ของชาวกรีก กว่า 2,500 ปีมาแล้ว ได้ใช้แนวคิดเรื่องการใช้อาหารเป็นยาหรือช่วยส่งเสริมสุขภาพมานานเช่นเดียวกับการแพทย์แผนตะวันออก ปัจจุบันความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการพบว่าอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนี้ต่างก็มีองค์ประกอบที่มีผลต่อการทำงานของร่างกายและส่งผลต่อสุขภาพของคนเราทั้งสิ้น เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะให้ประโยช์คุณค่าทางโภชนาการเท่านั้นแต่ยังมีสารที่มีผลต่อการทำงานของร่างกายซึ่งเราเรียกว่า สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาแนวคิดนี้มาเป็นอาหารฟังก์ชั่นนั่นเอง

หนึ่งในบรรดาอาหารฟังก์ชันที่นิยมกันอย่างมากของคนจีนเป็นเวลานานนับพันปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง คือ รังนกแอ่นกินรัง (Edible-nest Swiftlet) ซึ่งถือว่าเป็นของล้ำค่าที่มักมอบเป็นของขวัญให้กับเชื้อพระวงศ์และข้าราชการระดับสูง ปัจจุบันรังนกยังถือเป็นของหายากและมีราคาแพงมากจนได้รับฉายาว่า ทองคำขาวแห่งท้องทะเล ในตำราแพทย์แผนจีนจะใช้รังนกเป็นส่วนผสมในตำรับยา เพราะเชื่อกันว่า รังนกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังชั้นดีในการฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ บำรุงสุขภาพเด็กที่ไม่แข็งแรง และส่งเสริมสุขภาพ โดยช่วยการย่อยและการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น เพราะเหตุนี้จึงมีการกล่าวว่าการรับประทานรังนกช่วยให้อายุยืน และชะลอความชรา

สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่ารังนก มีโปรตีนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเหมือนกับฮอร์โมนชนิดหนึ่งคือ Epidermal Growth Factor (EGF) ที่มีอยู่ในคน ซึ่งตามธรรมชาติแล้ว EGF จะมีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลผิว ยังมีการศึกษาพบว่าช่วยกระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาว (Leukocytes) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ นอกจากนี้คณะนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นยังวิจัยพบว่าในรังนกมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยไกลโคโปรตีนในรังนกแอ่นกินรังแท้ จะทำหน้าที่จับกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึงช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าจับกับเซลในร่างกายได้ เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาจากนักวิจัยของประเทศญี่ปุ่น พบว่า สัตว์ทดลองที่กินสารสกัดจากรังนกจะมีความแข็งแรงของกระดูกเพิ่มขึ้นโดยวัดจากค่าปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น และมีค่าไฮดรอกซี่โพรลีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างคอลลาเจนเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นรังนกจึงอาจมีประโยชน์ในการเพิ่มมวลกระดูกและช่วยเรื่องผิวพรรณในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีอยู่ในรังนกจะให้คุณค่าแก่ร่างกายอย่างไรอีกบ้าง

รังนกแท้จากธรรมชาติมาจากน้ำลายของนกแอ่น มีสีขาว บางทีก็เห็นเป็นสีแดง ซึ่งเกิดจากอาหารและแร่ธาตุในถ้ำที่นกทำรัง โดยไม่ได้เกิดจากนกแอ่นกระอักเลือดตามที่บางคนเข้าใจกัน เพราะถ้าเป็นเลือดจริงมันจะถูกอากาศออกซิไดซ์โปรตีนให้รังนกนั้นเป็นสีดำมากกว่า ในปัจจุบันรังนกแท้มีราคาแพงขึ้นอย่างมากจนทำให้มีการผลิตรังนกปลอมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยสายตาเปล่า โดยรังนกปลอมส่วนใหญ่จะผลิตจากยางไม้ชนิดหนึ่ง คือ ยางคารายา โชคดีที่ปัจจุบันสามารถตรวจสอบความแตกต่างของรังนกแท้และรังนกปลอมได้โดยการตรวจวิเคราะห์ทางเคมีร่วมกับการใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (Infrared spectroscopy) ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อรังนกที่มีฉลากระบุผู้ผลิตจำหน่ายที่ชัดเจน มีเครื่องหมาย อย.รับรอง มีวันผลิต และมีราคาเหมาะสม

ด้วยแนวคิดของการใช้อาหารในการส่งเสริมสุขภาพนี้ทำให้อาหารฟังก์ชั่นอย่าง รังนกแอ่นได้รับความนิยมและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนรักสุขภาพมาจนยุคปัจจุบันนี้ ควบคู่กับการมีวิถีชีวิตที่ดี เช่น ออกกำลังกายให้สอดคล้องกับอายุและสภาพร่างกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงปริมาณอาหารที่หลากหลายเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายและกิจวัตรประจำวัน องค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้ จะส่งผลให้เรามีสุขภาพ และพลามัยที่ดีต่อไป

เอกสารอ้างอิง
• นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล. รังนกทรรศนะแพทย์จีน.หมอชาวบ้าน ปี33 ฉบับที่ 389 (2554): 10-18.
• Guo, C. T., Takahashi, T., Bukawa, W.Takahashi, N.,Yagi, H., Kato, K., Hidari, K. I. P. J., Miyamoto, D., Suzuki, T. and Suzuki, Y. (2006). Edible Bird’s Nest Extract Inhibits Influenza Virus Infection. Antiviral Research. 70: 140-146.
• Kong Y.C. et al. (1986) Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlets's (Collocalia) nest. Biochem Intern 13: 521-531.
• Kong Y.C., Tsao S.W., Song M.E. and Ng M.H. (1989) Potentiated of mitogenic response by extracts of the swiftlet's (Apus) nest collected from Huai-Ji. Acta Zoologica Sinica. 35: 429-35.
• Lim CK & Earl of Cranbrook (2002). Swiflets of Borneo: Builders of Edible Nests. Borneo: Natural History Publications.
• Matsukawa N., et al. Improvement of bone strength and dermal thickness due to dietary edible bird’s nest extract in ovariectomized rats. Biosci. Biotechnol. Biochem., 2011; 75 (3): 590-592.
• Norhayati, M.K., Azman, O. and Nazaimoon, W.M. (2010), “Preliminary Study of the Nutritional Content of Malaysian Edible Bird’s Nest”, Mal J Nutr 16(3): 389-396.
กำลังโหลดความคิดเห็น