โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทย
แต่ใครและใครหลายคนต่างอดน้อยใจแทนช้างไทยไม่ได้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้กระแส “แพนด้าฟีเวอร์”ได้บดบังรัศมีช้างไทยจนมิด ชนิดที่เจ้าของปางช้างบางคนถึงขนาดต้องนำช้างมาทาสีขาว-ดำให้คล้ายแพนด้า เพื่อประชดต่อความเป็นไปของสังคมไทย
มาวันนี้แม้กระแสแพนด้าเงียบหาย(และจะถูกส่งกลับเมืองจีนอีกไม่นาน) แต่สถานการณ์ช้างไทยก็ไม่ได้ดีขึ้น
ช้างบ้านเรายังคงถูกฆ่า ถูกทำร้าย ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ดีในข่าวร้าย ข่าวลบ เกี่ยวกับช้างไทย ก็ยังมีข่าวด้านดี ด้านบวก ของช้างไทยให้ชื่นใจกันบ้าง โดยหนึ่งในนั้นก็คือสถานการณ์ช้างไทยที่ “อุทยานแห่งชาติกุยบุรี” จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่วันนี้ถูกยกให้เป็น “ซาฟารีเมืองไทย”
กุยบุรีโมเดล
“...ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า...”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2542 ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
พระราชดำรัสข้างต้นถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการแก้ปัญหา บริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าแห่งผืนป่ากุยบุรี ซึ่งเดิมผืนป่าแห่งนี้มีความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าสูงมากเพราะหลังจากผืนป่ากุยบุรีถูกทำลายเรื่อยมากว่า 50 ปีเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกสับปะรด ทำให้แหล่งอาหาร แหล่งหากินของสัตว์ป่าถูกทำลายลดน้อยถอยลง
โดยเฉพาะในช่วงปี 2525-2528 เมื่อไร่สับปะรดรุกคืบผืนป่าอย่างหนัก ขยายเขตไปกินพื้นที่ป่าสงวนกุยบุรี(ยุคนั้นยังไม่ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติกุยบุรี) ช้างป่าที่ขาดแคลนแหล่งอาหารก็ออกจากป่าลงมาหากินสับปะรดตามไร่ของชาวบ้าน แถมพวกมันยังติดใจในรสชาติความหวานอร่อย ทำให้ช่างป่ากุยบุรีจำนวนมาก เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หันมาเลือกกินสับปะรดของชาวไร่แทน จนชาวบ้านหลายคนแทบสิ้นเนื้อประตัวจากการถูกช้างป่ายกโขลงลงมากินสับปะรดในไร่ เพราะสิ่งที่พวกเขาเฝ้าเพียรปลูกมา ถูกโขลงช้างถล่มกินหมดสิ้นเพียงชั่วข้ามคืน
นั่นจึงเกิดหนังชีวิตเรื่องราวความขัดแย้ง การเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างป่าเรื่อยมา มีช้างป่าถูกฆ่าตายไปหลายตัว ทั้งการวางยา ช็อตไฟฟ้า ยิง ฆ่า เผานั่งยาง ขณะที่ชาวบ้านที่ไม่ได้ฆ่าช้างนั้นพอตกกลางคืนก็ต้องเล่นเอาล่อเอาเถิดหาวิธีสารพัดมาไล่ช้างป่าไม่เป็นอันหลับอันนอน เสียสุขภาพไปตามๆกัน เพราะแรกๆช้างจะกลัวต่อวิธีการไล่รูปแบบใหม่ๆ แต่เมื่อพวกมันชินก็จะกลับลงมาถล่มไร่เหมือนเดิม
ความนี้เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อันเป็นที่มาของ“โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ในปี พ.ศ. 2541
พ่อหลวงของเราทรงให้แนวทางการแก้ปัญหาด้วยการฟื้นฟู สร้างความสมบูรณ์ให้กับผืนป่า ใช้วิธีการปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก คือให้ผืนป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ ที่สำคัญคือต้องสร้างแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้กับช้างป่า สัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโป่งเทียม ปลูกพืชอาหารสัตว์ แหล่งน้ำของสัตว์
ขณะที่ในส่วนของชาวบ้าน ชาวไร่ก็ช่วยเหลือด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำสำหรับเพาะปลูก ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เน้นความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยมีพระราชดำรัสที่หยิบยกมาข้างต้นเป็นดังจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ฉุกคิด พิจารณา และน้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นแนวทางทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆในผืนป่ากุยบุรี ซึ่งต่อมาภายหลังได้เรียกว่า “กุยบุรีโมเดล”
กุยบุรีโมเดลประสบผลสำเร็จอย่างสูง สามารถลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าลงไปมากโข ช้างป่ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นแต่ปริมาณการทำลายพืชไร่ของช้างป่ากลับลดลง ในขณะที่ปริมาณกระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆก็เพิ่มขึ้น พบสัตว์ผู้ล่าอย่างเสือโคร่ง เสือดาวหรือเสือดำ อีกทั้งยังได้พบกับสัตว์ป่าหายาก สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของโลกภายในพื้นที่อีกด้วย
นอกจากนี้กุยบุรีโมเดลยังเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านแถบนั้นจำนวนมากที่มีต่อช้างป่า อีกทั้งยังก่อให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน ที่นี่เด่นมากในเรื่องของกิจกรรมชมช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมกับฉายา“กุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย” ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ชูให้เป็น 1 ใน 10 แหล่งท่องเที่ยว ที่น่ามหัศจรรย์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ซาฟารีเมืองไทย
ผมไปป่ากุยบุรีครั้งแรกเมื่อกว่า 15 ปีที่แล้ว ตอนนั้นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างยังดุเดือด แถมแนวทางแก้ปัญหาก็ดูมืดมนตีบตัน ไม่รู้ว่าช้างป่าจะต้องตายไปอีกกี่ตัว ไร่สับปะรดของชาวบ้านจะต้องเสียหายจากการถูกช้างป่าลงกินบุฟเฟ่ต์กลางดึกอีกเท่าไหร่
หนังชีวิตเรื่องนี้แม้ยังไม่จบ แต่การกลับไปกุยบุรีของผมหนล่าสุดนี้ ดูเหมือนปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจะคลี่คลายลงไปมาก
วันนั้นผมกับเพื่อนๆไปถึงอุทยานแห่งชาติกุยบุรีช่วงประมาณเกือบ 4 โมงเย็น พวกเราไปเจอกับคนขับรถพาชมสัตว์ตามที่นัดแนะไว้ โดยมี “น้องมายด์ : จุฑามาศ ณ ตะกั่วทุ่ง” ไกด์(น้อย)อาสามาเป็นผู้ช่วยนำชม
น้องมายด์บอกกับผมว่า ปัจจุบันช้างป่าที่กุยบุรีประมาณ 230 ตัว (ราวๆ 20 ฝูง) และมีกระทิงประมาณ 150 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากในอดีต เพราะจากข้อมูลที่ผมอ่านเจอ ในปี 2547 พบว่าที่ป่ากุยบุรีมีช้างป่าประมาณ 160 ตัว และกระทิงประมาณ 60 ตัว
สำหรับจุดชมช้าง กระทิง ในอุทยานฯ มี 3 จุดหลักๆ คือ จุดโป่งสลัดได จุดหน่วยป่ายาง และจุดหน้าผา แต่เราสามารถพบเห็นช้างออกหากินได้ทั่วไปในระหว่างทาง
จากนั้นเมื่อทุกคนพร้อม รถกระบะได้ออกแล่นพาเรานั่งไปไปตามเส้นทางที่ทางอุทยานฯจัดไว้ โดยระหว่างทางมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่ขับมอเตอร์ไซค์ล่วงหน้ามาจอดรอตรงทางแยกแห่งหนึ่ง พร้อมกับชี้ให้ดูช้างป่า 2 ตัวกำลังออกหากิน
เพียงเห็นแค่นี้ก็ถือว่าสร้างความตื่นเต้นให้กับผมไม่น้อยแล้ว แต่ดูเหมือนว่าเจ้าช้าง 2 ตัวนี่มันจะแค่มาหยั่งเชิง ดูต้นทางเท่านั้น เพราะสักพักก็มีช้างอีกหลายตัวเดินตามกันมาเป็นโขลง แถมมีลูกช้างน่ารักเดินตามมาอีก 2-3 ตัว
นี่คือความประทับใจครั้งแรกต่อช้างป่าของทริปนี้ที่ผมเจอ และถือเป็นการเจอช้างป่าที่เยอะที่สุดในวันนั้น เพราะหลังจากนั้นก็เจอช้างออกหากินให้เห็นกันจะจะๆ ใกล้ๆ อีก 2-3 จุด รวมไปถึงกวาง และเนื้อทรายที่เดินโชว์เขาสวยของมัน
น้องมายด์ให้คำแนะนำว่า การเจอช้างใกล้แบบนี้ ต้องตื่นตัวและสังเกตดีๆ เพราะช้างบางตัวมันดุ ถ้าหากมันออกอาการหูตั้ง มองตรงมา รถต้องรีบแล่นออกทันที เพราะนี่คืออาการเตรียมชาร์ตของเจ้าช้างป่าตัวนั้น
หลังจากพบเจอช้างแบบโชคช่วยในระหว่างทางแล้ว พวกเราก็ไปเฝ้าที่บริเวณจุดหน้าผา ซึ่งเป็นจุดชมช้างป่า กระทิง มีลักษณะเป็นหน้าผาเตี้ยๆ มองออกไปเบื้องหน้าเป็นแนวป่าละเมาะ ถัดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้าง มีฉากหลังเป็นขุนเขา นับเป็นจุดที่มีวิวทิวทัศน์ที่งดงามไม่น้อย แต่ประทานโทษ!!! ที่จุดหน้าผาในเย็นวันนั้น หลังเฝ้ารออยู่นานสองนาน เวลาก็ปาเข้าไป 5 โมงกว่า แต่ที่นี่ไม่มีวี่แววช้างหรือกระทิงสักตัวมาอวดโฉมให้เห็น
อย่างไรก็ดีความหวังเรายังไม่หมด เมื่อได้รับวิทยุแจ้งจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่า ได้ยินเสียงกระทิงดังอยู่แถวจุดโป่งสลัดได งานนี้เล่นเอาทุกคนหูผึ่ง พี่คนขับรีบนำพวกเราไปคอยท่ายังจุดนั้น ซึ่งเมื่อไปถึงผมเห็นเพียงทุ่งหญ้าป่าเขา ส่วนเจ้าหน้าที่ยืนยิ้ม บอกกระทิงเริ่มลงมาแล้ว พร้อมชี้ให้ดูจุดดำลิบๆใต้ต้นไม้ที่อยู่ห่างออกไปนับร้อยเมตร เห็นจุดดำๆ 2-3 จุด ค่อยๆเคลื่อนไหว
จากนั้นเพียงอึดใจชั่วหม้อข้าวเดือด จุดดำๆค่อยๆเพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว มองเห็นกระทิงฝูงใหญ่ขนาดใหญ่หลายสิบตัว ค่อยๆเคลื่อนตัวออกจากดงไม้ เดินและเล็มทุ่งหญ้าอย่างคุ้นเคย กระทิงฝูงนี้พี่เจ้าหน้าที่บอกเป็นกลุ่มกระทิงฝูงใหญ่สุดในผืนป่ากุยบุรีมีประมาณ 80 กว่าตัว(ที่นี่มีกระทิงอยู่ 3 ฝูงด้วยกัน)
ระหว่างที่ผมยืนดูกระทิงนับสิบหากินอยู่เพลินนั้นๆ เบื้องบนท้องฟ้ามีเสียงนกแก๊กร้องดังสนั่น พร้อมๆกับมีนกแก๊กฝูงใหญ่ร่วม 30-40 ตัวค่อยๆบินผ่านหน้าไปเป็นแถวยาว นี่นับเป็นภาพที่ชวนประทับใจไม่น้อย เพราะเบื้องบนเห็นนกแก๊ก เบื้องล่างเห็นกระทิง ส่วนเบื้องหลังก็ไม่มีกระเทยมาคอยยืนให้หวาดเสียวเล่น
หลังนกแก๊กบินผ่านไปความตื่นเต้นยังมีอยู่เมื่อ เจ้าหน้าที่บอกว่าเห็นวัวแดง 1 ตัว มาออกหากินร่วมฝูงกับกระทิงด้วย วัวแดงตัวนี้เป็นตัวผู้มีสีดำกลืนไปกับกระทิง(วัวแดงตัวเมียจะมีสีแดงน้ำตาล) แต่จุดสังเกตคือตอนที่มันหันก้นมา จะเห็นเป็นวงหรือแพมเพิสสีขาว เหมือนดังการประกาศศักดาให้รู้ว่า ข้าคือวัวแดง ไม่ใช่กระทิง ก่อนที่มันจะเดินหากินกลมกลืนไปกับฝูงกระทิงแบบไม่สนใจมนุษย์ที่ยืนดูมันอยู่ลิบๆ ก่อนที่แสงแดดจะลาลับไปทำให้พวกเราต้องตัดใจล่ำลาจากพวกมัน แล้วออกจากป่าก่อนค่ำมืด เพื่อความปลอดภัย
ครับและนี่ก็คือเสน่ห์ของผืนป่า“กุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย” ที่ผมขอยกให้นี่เป็นหนึ่งในจุดชมสัตว์ป่าที่ดีที่สุดในเมืองไทย เพราะนอกจากในพื้นที่จะมีช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆชุกชุมให้ชมแล้ว ที่นี่ยังมีการบริหารจัดการที่ดี มีเจ้าหน้าที่คอยลาดตระเวน และประจำตามจุดต่างๆที่ช้างมักออกหากิน เมื่อช้างหรือกระทิงออกตรงจุดไหน จนท.ก็จะวิทยุแจ้งกับคนขับรถนำเที่ยวมาเฝ้าดูบริเวณนั้น นั่นจึงทำให้โอกาสเจอช้างป่าและกระทิงของนักท่องเที่ยวมีมากถึง 70-80% แต่จะเจอมากเจอน้อยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
บางคนโชคดีมากเจอช้างในหลักร้อย บางคนเจอหลักสิบ บางคนเจอหลักหน่วย และบางคนที่ดวงแตกไม่เจอช้างเลยสักตัวก็มี แต่ถึงยังไงที่นี่ก็ยังมีครอบครัวช้างปูน พ่อ-แม่-ลูก ยืนเด่นอยู่ที่ป้ายปากทางเข้า-ออกจุดตระเวนชมสัตว์ให้ดูเป็นการย้อมใจแบบเซ็งในอารมณ์พอสมควร
ส่วนใครที่คิดว่าที่นี่มีแรด เพราะเคยได้ข้อมูลว่าเมื่อเร็วๆนี้มีแรดโผล่ที่ป่ากุยบุรีนั้น ผมก็ขอยืนยันอีกหนึ่งเสียงว่านั่นเป็นความเข้าใจผิด ที่กุยบุรีแม้จะมีช้างเยอะ กระทิงแยะ และมีสัตว์อื่นๆอีกมากหลาย
แต่ที่นี่ไม่มีแรด!!!ตามข้อมูลที่แชร์กันสนั่นเฟซบุ๊คแต่อย่างใด
*****************************************
อุทยานแห่งชาติกุยบุรีประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ. 2542 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 605,625 ไร่ หรือประมาณ 969 ตารางกิโลเมตร นอกจากช้างป่า และกระทิง ที่นี่ยังมีสัตว์ป่าอื่นๆชุกชุม โดยมีสัตว์น่าสนใจ อาทิ วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ หมาไม้ หมาไน เก้ง กวาง กระจง เนื้อทราย สมเสร็จ หมูป่า เม่นใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นจุดดูนก มีนกแก๊กจำนวนมากให้ชม เป็นจุดดูผีเสื้อ อีกทั้งยังมีน้ำตกและเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ผู้สนใจได้ออกเดินป่าทัศนาธรรมชาติ
สำหรับผู้ที่ต้องการดูช้างป่า กระทิง สามารถติดต่อเช่ารถกระบะ(ของชาวบ้าน)ได้ในราคาคันละ 800 บาท(ราคา ณ เดือน ก.ย. 56) นั่งได้ประมาณ 8-10 คน หากใครจะขับรถชมสัตว์ป่าด้วยตัวเอง ต้องเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยเสียคันละ 100 บาท สำหรับค่าไกด์ท้องถิ่นพาชม และประสานงานกับเจ้าหน้าที่เวลาช้าง กระทิง ออก
ทั้งนี้อุทยานฯ กุยบุรีเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโขลงช้างป่าและกระทิงตั้งแต่เวลา 13.00-18.00 น. ทุกวัน โดยได้จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้วันละไม่เกิน 280 คน เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม และเป็นไปตามมาตรการดูแลความปลอดภัย จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ไม่มีการจำกัดจำนวน โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นกลุ่มหรือเดินทางส่วนตัวจะต้องใช้รถยนต์ของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กุยบุรี ในอัตราเหมาจ่ายคันละ 850 บาทต่อนักท่องเที่ยว 8 คน (ข้อมูลปี 57) ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานฯกุยบุรี โทร. 0-3264-6292
และสามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆเชื่อมโยงกับอุทยานฯกุยบุรี ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0-3251 3885, 0-3251-3871, 0-3251-3854
**********************************************************
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทย
แต่ใครและใครหลายคนต่างอดน้อยใจแทนช้างไทยไม่ได้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้กระแส “แพนด้าฟีเวอร์”ได้บดบังรัศมีช้างไทยจนมิด ชนิดที่เจ้าของปางช้างบางคนถึงขนาดต้องนำช้างมาทาสีขาว-ดำให้คล้ายแพนด้า เพื่อประชดต่อความเป็นไปของสังคมไทย
มาวันนี้แม้กระแสแพนด้าเงียบหาย(และจะถูกส่งกลับเมืองจีนอีกไม่นาน) แต่สถานการณ์ช้างไทยก็ไม่ได้ดีขึ้น
ช้างบ้านเรายังคงถูกฆ่า ถูกทำร้าย ปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ดีในข่าวร้าย ข่าวลบ เกี่ยวกับช้างไทย ก็ยังมีข่าวด้านดี ด้านบวก ของช้างไทยให้ชื่นใจกันบ้าง โดยหนึ่งในนั้นก็คือสถานการณ์ช้างไทยที่ “อุทยานแห่งชาติกุยบุรี” จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่วันนี้ถูกยกให้เป็น “ซาฟารีเมืองไทย”
กุยบุรีโมเดล
“...ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า...”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2542 ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
พระราชดำรัสข้างต้นถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อการแก้ปัญหา บริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าแห่งผืนป่ากุยบุรี ซึ่งเดิมผืนป่าแห่งนี้มีความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าสูงมากเพราะหลังจากผืนป่ากุยบุรีถูกทำลายเรื่อยมากว่า 50 ปีเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกสับปะรด ทำให้แหล่งอาหาร แหล่งหากินของสัตว์ป่าถูกทำลายลดน้อยถอยลง
โดยเฉพาะในช่วงปี 2525-2528 เมื่อไร่สับปะรดรุกคืบผืนป่าอย่างหนัก ขยายเขตไปกินพื้นที่ป่าสงวนกุยบุรี(ยุคนั้นยังไม่ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติกุยบุรี) ช้างป่าที่ขาดแคลนแหล่งอาหารก็ออกจากป่าลงมาหากินสับปะรดตามไร่ของชาวบ้าน แถมพวกมันยังติดใจในรสชาติความหวานอร่อย ทำให้ช่างป่ากุยบุรีจำนวนมาก เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หันมาเลือกกินสับปะรดของชาวไร่แทน จนชาวบ้านหลายคนแทบสิ้นเนื้อประตัวจากการถูกช้างป่ายกโขลงลงมากินสับปะรดในไร่ เพราะสิ่งที่พวกเขาเฝ้าเพียรปลูกมา ถูกโขลงช้างถล่มกินหมดสิ้นเพียงชั่วข้ามคืน
นั่นจึงเกิดหนังชีวิตเรื่องราวความขัดแย้ง การเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างป่าเรื่อยมา มีช้างป่าถูกฆ่าตายไปหลายตัว ทั้งการวางยา ช็อตไฟฟ้า ยิง ฆ่า เผานั่งยาง ขณะที่ชาวบ้านที่ไม่ได้ฆ่าช้างนั้นพอตกกลางคืนก็ต้องเล่นเอาล่อเอาเถิดหาวิธีสารพัดมาไล่ช้างป่าไม่เป็นอันหลับอันนอน เสียสุขภาพไปตามๆกัน เพราะแรกๆช้างจะกลัวต่อวิธีการไล่รูปแบบใหม่ๆ แต่เมื่อพวกมันชินก็จะกลับลงมาถล่มไร่เหมือนเดิม
ความนี้เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อันเป็นที่มาของ“โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ในปี พ.ศ. 2541
พ่อหลวงของเราทรงให้แนวทางการแก้ปัญหาด้วยการฟื้นฟู สร้างความสมบูรณ์ให้กับผืนป่า ใช้วิธีการปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก คือให้ผืนป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ ที่สำคัญคือต้องสร้างแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้กับช้างป่า สัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโป่งเทียม ปลูกพืชอาหารสัตว์ แหล่งน้ำของสัตว์
ขณะที่ในส่วนของชาวบ้าน ชาวไร่ก็ช่วยเหลือด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำสำหรับเพาะปลูก ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เน้นความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยมีพระราชดำรัสที่หยิบยกมาข้างต้นเป็นดังจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ฉุกคิด พิจารณา และน้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นแนวทางทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆในผืนป่ากุยบุรี ซึ่งต่อมาภายหลังได้เรียกว่า “กุยบุรีโมเดล”
กุยบุรีโมเดลประสบผลสำเร็จอย่างสูง สามารถลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าลงไปมากโข ช้างป่ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นแต่ปริมาณการทำลายพืชไร่ของช้างป่ากลับลดลง ในขณะที่ปริมาณกระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆก็เพิ่มขึ้น พบสัตว์ผู้ล่าอย่างเสือโคร่ง เสือดาวหรือเสือดำ อีกทั้งยังได้พบกับสัตว์ป่าหายาก สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของโลกภายในพื้นที่อีกด้วย
นอกจากนี้กุยบุรีโมเดลยังเปลี่ยนทัศนคติของชาวบ้านแถบนั้นจำนวนมากที่มีต่อช้างป่า อีกทั้งยังก่อให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน ที่นี่เด่นมากในเรื่องของกิจกรรมชมช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมกับฉายา“กุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย” ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ชูให้เป็น 1 ใน 10 แหล่งท่องเที่ยว ที่น่ามหัศจรรย์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ซาฟารีเมืองไทย
ผมไปป่ากุยบุรีครั้งแรกเมื่อกว่า 15 ปีที่แล้ว ตอนนั้นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างยังดุเดือด แถมแนวทางแก้ปัญหาก็ดูมืดมนตีบตัน ไม่รู้ว่าช้างป่าจะต้องตายไปอีกกี่ตัว ไร่สับปะรดของชาวบ้านจะต้องเสียหายจากการถูกช้างป่าลงกินบุฟเฟ่ต์กลางดึกอีกเท่าไหร่
หนังชีวิตเรื่องนี้แม้ยังไม่จบ แต่การกลับไปกุยบุรีของผมหนล่าสุดนี้ ดูเหมือนปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจะคลี่คลายลงไปมาก
วันนั้นผมกับเพื่อนๆไปถึงอุทยานแห่งชาติกุยบุรีช่วงประมาณเกือบ 4 โมงเย็น พวกเราไปเจอกับคนขับรถพาชมสัตว์ตามที่นัดแนะไว้ โดยมี “น้องมายด์ : จุฑามาศ ณ ตะกั่วทุ่ง” ไกด์(น้อย)อาสามาเป็นผู้ช่วยนำชม
น้องมายด์บอกกับผมว่า ปัจจุบันช้างป่าที่กุยบุรีประมาณ 230 ตัว (ราวๆ 20 ฝูง) และมีกระทิงประมาณ 150 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากในอดีต เพราะจากข้อมูลที่ผมอ่านเจอ ในปี 2547 พบว่าที่ป่ากุยบุรีมีช้างป่าประมาณ 160 ตัว และกระทิงประมาณ 60 ตัว
สำหรับจุดชมช้าง กระทิง ในอุทยานฯ มี 3 จุดหลักๆ คือ จุดโป่งสลัดได จุดหน่วยป่ายาง และจุดหน้าผา แต่เราสามารถพบเห็นช้างออกหากินได้ทั่วไปในระหว่างทาง
จากนั้นเมื่อทุกคนพร้อม รถกระบะได้ออกแล่นพาเรานั่งไปไปตามเส้นทางที่ทางอุทยานฯจัดไว้ โดยระหว่างทางมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่ขับมอเตอร์ไซค์ล่วงหน้ามาจอดรอตรงทางแยกแห่งหนึ่ง พร้อมกับชี้ให้ดูช้างป่า 2 ตัวกำลังออกหากิน
เพียงเห็นแค่นี้ก็ถือว่าสร้างความตื่นเต้นให้กับผมไม่น้อยแล้ว แต่ดูเหมือนว่าเจ้าช้าง 2 ตัวนี่มันจะแค่มาหยั่งเชิง ดูต้นทางเท่านั้น เพราะสักพักก็มีช้างอีกหลายตัวเดินตามกันมาเป็นโขลง แถมมีลูกช้างน่ารักเดินตามมาอีก 2-3 ตัว
นี่คือความประทับใจครั้งแรกต่อช้างป่าของทริปนี้ที่ผมเจอ และถือเป็นการเจอช้างป่าที่เยอะที่สุดในวันนั้น เพราะหลังจากนั้นก็เจอช้างออกหากินให้เห็นกันจะจะๆ ใกล้ๆ อีก 2-3 จุด รวมไปถึงกวาง และเนื้อทรายที่เดินโชว์เขาสวยของมัน
น้องมายด์ให้คำแนะนำว่า การเจอช้างใกล้แบบนี้ ต้องตื่นตัวและสังเกตดีๆ เพราะช้างบางตัวมันดุ ถ้าหากมันออกอาการหูตั้ง มองตรงมา รถต้องรีบแล่นออกทันที เพราะนี่คืออาการเตรียมชาร์ตของเจ้าช้างป่าตัวนั้น
หลังจากพบเจอช้างแบบโชคช่วยในระหว่างทางแล้ว พวกเราก็ไปเฝ้าที่บริเวณจุดหน้าผา ซึ่งเป็นจุดชมช้างป่า กระทิง มีลักษณะเป็นหน้าผาเตี้ยๆ มองออกไปเบื้องหน้าเป็นแนวป่าละเมาะ ถัดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้าง มีฉากหลังเป็นขุนเขา นับเป็นจุดที่มีวิวทิวทัศน์ที่งดงามไม่น้อย แต่ประทานโทษ!!! ที่จุดหน้าผาในเย็นวันนั้น หลังเฝ้ารออยู่นานสองนาน เวลาก็ปาเข้าไป 5 โมงกว่า แต่ที่นี่ไม่มีวี่แววช้างหรือกระทิงสักตัวมาอวดโฉมให้เห็น
อย่างไรก็ดีความหวังเรายังไม่หมด เมื่อได้รับวิทยุแจ้งจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่า ได้ยินเสียงกระทิงดังอยู่แถวจุดโป่งสลัดได งานนี้เล่นเอาทุกคนหูผึ่ง พี่คนขับรีบนำพวกเราไปคอยท่ายังจุดนั้น ซึ่งเมื่อไปถึงผมเห็นเพียงทุ่งหญ้าป่าเขา ส่วนเจ้าหน้าที่ยืนยิ้ม บอกกระทิงเริ่มลงมาแล้ว พร้อมชี้ให้ดูจุดดำลิบๆใต้ต้นไม้ที่อยู่ห่างออกไปนับร้อยเมตร เห็นจุดดำๆ 2-3 จุด ค่อยๆเคลื่อนไหว
จากนั้นเพียงอึดใจชั่วหม้อข้าวเดือด จุดดำๆค่อยๆเพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว มองเห็นกระทิงฝูงใหญ่ขนาดใหญ่หลายสิบตัว ค่อยๆเคลื่อนตัวออกจากดงไม้ เดินและเล็มทุ่งหญ้าอย่างคุ้นเคย กระทิงฝูงนี้พี่เจ้าหน้าที่บอกเป็นกลุ่มกระทิงฝูงใหญ่สุดในผืนป่ากุยบุรีมีประมาณ 80 กว่าตัว(ที่นี่มีกระทิงอยู่ 3 ฝูงด้วยกัน)
ระหว่างที่ผมยืนดูกระทิงนับสิบหากินอยู่เพลินนั้นๆ เบื้องบนท้องฟ้ามีเสียงนกแก๊กร้องดังสนั่น พร้อมๆกับมีนกแก๊กฝูงใหญ่ร่วม 30-40 ตัวค่อยๆบินผ่านหน้าไปเป็นแถวยาว นี่นับเป็นภาพที่ชวนประทับใจไม่น้อย เพราะเบื้องบนเห็นนกแก๊ก เบื้องล่างเห็นกระทิง ส่วนเบื้องหลังก็ไม่มีกระเทยมาคอยยืนให้หวาดเสียวเล่น
หลังนกแก๊กบินผ่านไปความตื่นเต้นยังมีอยู่เมื่อ เจ้าหน้าที่บอกว่าเห็นวัวแดง 1 ตัว มาออกหากินร่วมฝูงกับกระทิงด้วย วัวแดงตัวนี้เป็นตัวผู้มีสีดำกลืนไปกับกระทิง(วัวแดงตัวเมียจะมีสีแดงน้ำตาล) แต่จุดสังเกตคือตอนที่มันหันก้นมา จะเห็นเป็นวงหรือแพมเพิสสีขาว เหมือนดังการประกาศศักดาให้รู้ว่า ข้าคือวัวแดง ไม่ใช่กระทิง ก่อนที่มันจะเดินหากินกลมกลืนไปกับฝูงกระทิงแบบไม่สนใจมนุษย์ที่ยืนดูมันอยู่ลิบๆ ก่อนที่แสงแดดจะลาลับไปทำให้พวกเราต้องตัดใจล่ำลาจากพวกมัน แล้วออกจากป่าก่อนค่ำมืด เพื่อความปลอดภัย
ครับและนี่ก็คือเสน่ห์ของผืนป่า“กุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย” ที่ผมขอยกให้นี่เป็นหนึ่งในจุดชมสัตว์ป่าที่ดีที่สุดในเมืองไทย เพราะนอกจากในพื้นที่จะมีช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆชุกชุมให้ชมแล้ว ที่นี่ยังมีการบริหารจัดการที่ดี มีเจ้าหน้าที่คอยลาดตระเวน และประจำตามจุดต่างๆที่ช้างมักออกหากิน เมื่อช้างหรือกระทิงออกตรงจุดไหน จนท.ก็จะวิทยุแจ้งกับคนขับรถนำเที่ยวมาเฝ้าดูบริเวณนั้น นั่นจึงทำให้โอกาสเจอช้างป่าและกระทิงของนักท่องเที่ยวมีมากถึง 70-80% แต่จะเจอมากเจอน้อยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
บางคนโชคดีมากเจอช้างในหลักร้อย บางคนเจอหลักสิบ บางคนเจอหลักหน่วย และบางคนที่ดวงแตกไม่เจอช้างเลยสักตัวก็มี แต่ถึงยังไงที่นี่ก็ยังมีครอบครัวช้างปูน พ่อ-แม่-ลูก ยืนเด่นอยู่ที่ป้ายปากทางเข้า-ออกจุดตระเวนชมสัตว์ให้ดูเป็นการย้อมใจแบบเซ็งในอารมณ์พอสมควร
ส่วนใครที่คิดว่าที่นี่มีแรด เพราะเคยได้ข้อมูลว่าเมื่อเร็วๆนี้มีแรดโผล่ที่ป่ากุยบุรีนั้น ผมก็ขอยืนยันอีกหนึ่งเสียงว่านั่นเป็นความเข้าใจผิด ที่กุยบุรีแม้จะมีช้างเยอะ กระทิงแยะ และมีสัตว์อื่นๆอีกมากหลาย
แต่ที่นี่ไม่มีแรด!!!ตามข้อมูลที่แชร์กันสนั่นเฟซบุ๊คแต่อย่างใด
*****************************************
อุทยานแห่งชาติกุยบุรีประกาศจัดตั้งในปี พ.ศ. 2542 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 605,625 ไร่ หรือประมาณ 969 ตารางกิโลเมตร นอกจากช้างป่า และกระทิง ที่นี่ยังมีสัตว์ป่าอื่นๆชุกชุม โดยมีสัตว์น่าสนใจ อาทิ วัวแดง เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ หมาไม้ หมาไน เก้ง กวาง กระจง เนื้อทราย สมเสร็จ หมูป่า เม่นใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นจุดดูนก มีนกแก๊กจำนวนมากให้ชม เป็นจุดดูผีเสื้อ อีกทั้งยังมีน้ำตกและเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ผู้สนใจได้ออกเดินป่าทัศนาธรรมชาติ
สำหรับผู้ที่ต้องการดูช้างป่า กระทิง สามารถติดต่อเช่ารถกระบะ(ของชาวบ้าน)ได้ในราคาคันละ 800 บาท(ราคา ณ เดือน ก.ย. 56) นั่งได้ประมาณ 8-10 คน หากใครจะขับรถชมสัตว์ป่าด้วยตัวเอง ต้องเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยเสียคันละ 100 บาท สำหรับค่าไกด์ท้องถิ่นพาชม และประสานงานกับเจ้าหน้าที่เวลาช้าง กระทิง ออก
ทั้งนี้อุทยานฯ กุยบุรีเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโขลงช้างป่าและกระทิงตั้งแต่เวลา 13.00-18.00 น. ทุกวัน โดยได้จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้วันละไม่เกิน 280 คน เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม และเป็นไปตามมาตรการดูแลความปลอดภัย จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ไม่มีการจำกัดจำนวน โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นกลุ่มหรือเดินทางส่วนตัวจะต้องใช้รถยนต์ของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กุยบุรี ในอัตราเหมาจ่ายคันละ 850 บาทต่อนักท่องเที่ยว 8 คน (ข้อมูลปี 57) ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานฯกุยบุรี โทร. 0-3264-6292
และสามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆเชื่อมโยงกับอุทยานฯกุยบุรี ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0-3251 3885, 0-3251-3871, 0-3251-3854
**********************************************************
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com