โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ มี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด หรือ “เบญจมหาบูชาสถาน” ได้แก่
1. เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
2. พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจก์โถ่
3. เจดีย์ชเวมอดอร์ (เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี
4. เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม
5. พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
จะเห็นได้ว่าใน 5 สิ่ง มีเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นพระพุทธรูปคือ “พระมหามัยมุนี” ที่หากใครไปมัณฑะเลย์แล้วไม่ได้ไปสักการบูชาท่าน ก็เหมือนว่ายังไปไม่ถึงมัณฑะเลย์
“พระมหามัยมุนี” พระพุทธรูปมีชีวิต
แม้ชาวพม่าส่วนใหญ่จะเชื่อว่า พระมหามัยมุนีสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ตามประวัติและตำนานส่วนใหญ่ระบุตรงกันว่า พระมหามัยมุนีสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 688 โดยพระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ชาวยะไข่แห่งเมืองธรรมวดี แคว้นยะไข่
พระเจ้าจันทสุริยะมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างมาก ใฝ่ฝันว่าอยากกราบไหว้พระพุทธองค์ จึงทำการสร้างพระพุทธรูปเพื่อตัวแทนของพระองค์ขึ้น ซึ่งในการสร้างมีตำนานปลีกย่อยกว่าการสร้างพระพุทธรูปของบ้านเรา คือ เมื่อเททองหล่อไป 2 ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในครั้งที่ 3 จู่ๆ ก็มีบุคคลลึกลับที่เชื่อกันว่าเป็นเทวดาจำแลงมาเททองให้จนประสบความสำเร็จ เป็นพระพุทธรูปอันงดงามจนถึงปัจจุบัน
พระมหามัยมุนีได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปมีชีวิต เพราะชาวพม่าเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้มาประทานลมหายใจอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในพระวรกายของพระพุทธรูปองค์นี้
พระมหามัยมุนีจึงเป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์ที่มีชีวิตจิตใจ ใครที่มากราบไหว้บูชาจะได้รับศรัทธาอันสูงล้ำ
พระเจ้าเนื้อนิ่ม มหาศรัทธาของชาวพุทธ
พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อทองสำริด ปางมารวิชัยทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง 9 ฟุต สูง 12 ฟุต ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ “วัดมหามัยมุนี” หรือชื่อแท้ดั้งเดิมคือ วัดปยกยี (Payagyi) ที่หมายถึงวัดยะไข่ เพราะเดิมพระมหามัยมุนีประดิษฐานอยู่ที่เมืองยะไข่
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความวิจิตรงดงามของท่าน ทำให้เป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่ามาหลายยุคหลายสมัย มีความพยายามที่จะย้ายท่านจากเมืองยะไข่มาสู่เมืองหลวงของตน แต่ไม่มีผู้ใดสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกมาจากเมืองยะไข่ได้ จนกระทั่งในสมัย “พระเจ้าปดุง” ถึงสามารถอัญเชิญพระมหามัยมุนีข้ามแม่น้ำอิรวดีมาประทับที่มัณฑะเลย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2327
ในเรื่องนี้ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์พม่า วิเคาระห์ตั้งข้อสังเกตไว้ในหนังสือ “สู่ลุ่มอิรวดี” ว่า ผลจากความสำเร็จในการอัญเชิญพระมหามัยมุนี ทำให้พระเจ้าปดุงมีความฮึกเหิมเชื่อมั่นว่าพระองค์มีพลานุภาพเหนือกว่ามหาราชองค์อื่นๆ ในอดีต (ของพม่า) ไม่ว่าจะเป็น บุเรงนองมหาราช อโนรธามหาราช หรืออลองพญามาหราช พระเจ้าปดุงจึงยกพลกรีธาทัพยกมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 2 ครั้ง ในศึกเก้าทัพ และศึกรบพม่าที่ท่าดินแดง แต่ต้องแพ้พ่ายกลับไปทั้ง 2 ครั้ง
กลับมาที่เรื่องของพระมหามัยมุนีกันต่อ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องลือระบือไกล ทำให้แต่ละวันมีชาวพม่า ชาวพุทธชาติอื่นๆ และรวมถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทย หลั่งไหลมาสักการบูชาท่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เช้ายันเย็น มีเหล่าบุรุษมาเข้าคิวต่อแถวขึ้นไปปิดทององค์พระกันอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ชายสามารถขึ้นไปปิดทององค์พระแบบถึงตัวใกล้ชิดได้ แต่ห้ามปิดทองบริเวณพระพักตร์หรือหน้า ส่วนผู้หญิงนั้นห้าม ให้กราบไหว้บูชาที่ด้านล่าง โดยมีเขตห้ามผู้หญิงล้ำเข้าไป ส่วนใครอยากจะปิดทองก็ให้ฝากผู้ชายขึ้นไปปิดแทน เพราะศรัทธานั้นอยู่ที่ใจ
ด้วยแรงศรัทธาจากมหาชนเดินทางมาปิดทองกันเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน มีการปิดทับซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ทองคำเปลวที่องค์พระพอกพูนมหาศาลจนพระวรกายอวบอ้วนมีตะปุ่มตะป่ำทั่วไปหมดทั้งด้านหน้าด้านหลัง จนใครหลายๆ คนเรียกขานท่านว่า “พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม” หรือ “พระเจ้าเนื้อนิ่ม” ซึ่งผมได้ลองกดนิ้วลงไปในบางจุด ปรากฏว่านุ่มมือสมชื่อ
ส่วนพระพักตร์ที่ไม่ได้ปิดทองที่ดูเปล่งรัศมีอิ่มเอิบเปี่ยมพลังแห่งศรัทธานั้น ไกด์ชาวพม่าที่นำเที่ยวมัณฑะเลย์บอกกับผมว่าพระพักตร์หรือใบหน้าของพระมหามัยมุนีในแต่ละยุคสมัยจะดูเปลี่ยนไปตามรูปทรงของทองที่ปิดพระวรกาย โดยที่วัดมหามัยมุนีได้มีรูปภาพแสดงองค์พระมหามัยมุนีให้แต่ละยุคให้พิสูจน์ ซึ่งผมดูแล้วพบว่าพระพักตร์ของท่านใน 4 ยุคดูไม่เหมือนกันจริงๆ ด้วย
นับเป็นความน่ามหัศจรรย์ที่หากมองในทางวิทยาศาสตร์ มุมมองของพระพักตร์ที่เปลี่ยนไปอาจเกิดจากการสะท้อนแสงเงา เกิดจากการประมวลภาพของสายตาตามพระวรกายที่เปลี่ยนไป แต่หากมองในทางศาสนาแล้ว
นี่ล้วนเกิดจากมหาศรัทธาอันยิ่งใหญ่ที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธรูปองค์นี้
รับขวัญวันใหม่กับ “พิธีล้างพระพักตร์”
ปกติเวลาผมอยู่กรุงเทพฯ จะเป็นคนตื่นสาย เพราะไม่ชอบมาผจญรถติดในยามเช้า แต่ในวันนี้ที่มัณฑะเลย์ แม้จะต้องตื่นแต่มืดแต่ดึกก่อนไก่โห่ตั้งแต่ตีสามกว่าๆ ผมก็เต็มใจยินดี เพื่อที่เราจะได้ไปทัน “พิธีล้างพระพักตร์” พระมหามัยมุนี พิธีแห่งความศรัทธาที่จัดสืบต่อกันมานับพันปี
ไกด์ชาวพม่าบอกกับผมว่า พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี ปฏิบัติต่อเนื่องกันมากว่าพันปีแล้ว พิธีนี้มาจากความเชื่อนับแต่โบราณกาลของชาวพม่าที่ว่า พระมหามัยมุนีนี้ได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า (ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น) จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิตมีลมหายใจ ดังนั้นจึงต้องจัดพิธีล้างหน้า แปรงฟัน เหมือนกับคนเราให้ในทุกๆ เช้าของทุกวัน โดยไม่มีเว้นวันฝนตกหนักหรือวันหยุดพิเศษใดๆ
พิธีล้างพระพักตร์จะเริ่มขึ้นเมื่อหลวงพ่อเจ้าอาวาสถือกุญแจมาไขในเวลาประมาณตีสาม 45 นาที มีวงดนตรีมโหรีเล่นสดๆ ประโคมบอกให้รู้ จากนั้นเวลาประมาณตี 4 ขั้นตอนการล้างพระพักตร์จะเริ่มขึ้น มีการคลุมผ้าพระวรกายขององค์พระ ถวายอาหารผลไม้ เปลี่ยนดอกไม้เก่าออกไป นำดอกไม้ใหม่มาถวาย
จากนั้นเป็นการล้างพระพักตร์ที่มีส่วนผสมของน้ำไม้จันทน์หอมและ “ทานาคา” สมุนไพรทำแป้งพม่าที่หลายคนคุ้นหูดี โดยขั้นตอนการล้างพระพักตร์จะล้างด้วยขันทอง 3 ครั้ง ขันเงิน 3 ครั้ง และขันธรรมดา 3 ครั้ง มีการแปรงพระโอษฐ์ (ริมฝีปาก) ที่เป็นดังการแปรงฟันให้ท่าน และมีการเช็ดหน้าที่มีคนนำผ้าเช็ดหน้ามาถวาย เช็ดวันหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 100 ผืน ซึ่งพิธีจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
หลังการล้างพระพักตร์เสร็จพระผู้นำการล้างพระพักตร์จะนำ “รัก” มาทาองค์พระ แล้วจึงนำปิดทอง ซึ่งช่วงนี้จะมีคนมารอต่อแถวเข้าคิวยาวทั้งชาวพม่าและนักท่องเที่ยว โดยชาวพม่าเชื่อว่าการได้ปิดทองพระมหามัยมุนีในยามเช้าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับการปฏิบัติภารกิจในวันนั้น ส่วนใครที่ได้ปิดทองเป็นคนแรกต่อจากพระผู้นำพิธี ผู้นั้นจะได้รับมงคลอย่างสูงล้ำ
นอกจากจะมากราบไหว้ปิดทองแล้ว ผมยังเห็นหลายคนยังมานั่งสมาธิ สวดมนต์ นับประคำ ซึ่งถือเป็นเรื่องชินตาของที่นี่นับตั้งแต่เช้าไปจนค่ำมืด ส่วนผู้หญิงที่แม้จะขึ้นไปปิดทองไม่ได้ ทางวัดกันเขตไว้ ก็ดูจะไม่เป็นอุปสรรคต่อศรัทธา เพราะมีการเดินทางมากราบไหว้ นั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำบุญ ทำทาน กันอยู่ทั่วไป
สำหรับผมการเที่ยวชมความศรัทธาแห่งพระพุทธศาสนาที่พม่า ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมและสัมผัสกับพิธีล้างหน้าพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้เห็นถึงมหาศรัทธาอันแรงกล้าของชาวพม่าที่มีต่อพระมหามัยมุนีแล้ว งานนี้ผมมองพม่าแล้วไม่ขอย้อนมาดูตนครับ
เพราะเมื่อย้อนมาดู เจอพฤติกรรมของ “เณรคำ” หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า “ไอ้คำ” แล้ว บอกคำเดียวว่า
เสื่อม!!!
****************************************
นอกจากพระมหามัยมุนีแล้ว ที่วัดมหามัยมุนี ยังมีสิ่งน่าสนใจได้แก้อาคารสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แบบพม่า รูปเคารพ ศิลปวัตถุต่างๆ โดยที่ด้านข้างวิหารพระมาหมัยมุนีมีศาลาเก็บเทวรูปหล่อสำริดศิลปะขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นรูปทวารบาล สิงห์และช้างเอราวัณ ซึ่งชาวพม่าเชื่อว่าใครที่เจ็บปวดตรงส่วนไหนของร่างกาย ให้มาลูบคลำตรงส่วนนั้นของเทวรูปก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือช่วยรักษาอาการได้
นอกจากนี้ที่วัดมหามัยมุนียังเป็นตลาดขายของที่ระลึกที่สำคัญ มีสินค้าที่ระลึกมากมายให้เลือกซื้อส่วนใครที่ไปในตอนเช้าจะมีพระ-เณร มาบิณฑบาตเรี่ยรายบุญ มีอาหาร-ขนมพื้นบ้านมาขาย อีกทั้งยังจะได้พบกับภาพวิถีชีวิตอันน่าสนใจให้สัมผัสกัน
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com
ประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ มี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด หรือ “เบญจมหาบูชาสถาน” ได้แก่
1. เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
2. พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจก์โถ่
3. เจดีย์ชเวมอดอร์ (เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี
4. เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม
5. พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
จะเห็นได้ว่าใน 5 สิ่ง มีเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นพระพุทธรูปคือ “พระมหามัยมุนี” ที่หากใครไปมัณฑะเลย์แล้วไม่ได้ไปสักการบูชาท่าน ก็เหมือนว่ายังไปไม่ถึงมัณฑะเลย์
“พระมหามัยมุนี” พระพุทธรูปมีชีวิต
แม้ชาวพม่าส่วนใหญ่จะเชื่อว่า พระมหามัยมุนีสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ตามประวัติและตำนานส่วนใหญ่ระบุตรงกันว่า พระมหามัยมุนีสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 688 โดยพระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ชาวยะไข่แห่งเมืองธรรมวดี แคว้นยะไข่
พระเจ้าจันทสุริยะมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างมาก ใฝ่ฝันว่าอยากกราบไหว้พระพุทธองค์ จึงทำการสร้างพระพุทธรูปเพื่อตัวแทนของพระองค์ขึ้น ซึ่งในการสร้างมีตำนานปลีกย่อยกว่าการสร้างพระพุทธรูปของบ้านเรา คือ เมื่อเททองหล่อไป 2 ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในครั้งที่ 3 จู่ๆ ก็มีบุคคลลึกลับที่เชื่อกันว่าเป็นเทวดาจำแลงมาเททองให้จนประสบความสำเร็จ เป็นพระพุทธรูปอันงดงามจนถึงปัจจุบัน
พระมหามัยมุนีได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปมีชีวิต เพราะชาวพม่าเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้มาประทานลมหายใจอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในพระวรกายของพระพุทธรูปองค์นี้
พระมหามัยมุนีจึงเป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์ที่มีชีวิตจิตใจ ใครที่มากราบไหว้บูชาจะได้รับศรัทธาอันสูงล้ำ
พระเจ้าเนื้อนิ่ม มหาศรัทธาของชาวพุทธ
พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อทองสำริด ปางมารวิชัยทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง 9 ฟุต สูง 12 ฟุต ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ “วัดมหามัยมุนี” หรือชื่อแท้ดั้งเดิมคือ วัดปยกยี (Payagyi) ที่หมายถึงวัดยะไข่ เพราะเดิมพระมหามัยมุนีประดิษฐานอยู่ที่เมืองยะไข่
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความวิจิตรงดงามของท่าน ทำให้เป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่ามาหลายยุคหลายสมัย มีความพยายามที่จะย้ายท่านจากเมืองยะไข่มาสู่เมืองหลวงของตน แต่ไม่มีผู้ใดสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกมาจากเมืองยะไข่ได้ จนกระทั่งในสมัย “พระเจ้าปดุง” ถึงสามารถอัญเชิญพระมหามัยมุนีข้ามแม่น้ำอิรวดีมาประทับที่มัณฑะเลย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2327
ในเรื่องนี้ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์พม่า วิเคาระห์ตั้งข้อสังเกตไว้ในหนังสือ “สู่ลุ่มอิรวดี” ว่า ผลจากความสำเร็จในการอัญเชิญพระมหามัยมุนี ทำให้พระเจ้าปดุงมีความฮึกเหิมเชื่อมั่นว่าพระองค์มีพลานุภาพเหนือกว่ามหาราชองค์อื่นๆ ในอดีต (ของพม่า) ไม่ว่าจะเป็น บุเรงนองมหาราช อโนรธามหาราช หรืออลองพญามาหราช พระเจ้าปดุงจึงยกพลกรีธาทัพยกมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 2 ครั้ง ในศึกเก้าทัพ และศึกรบพม่าที่ท่าดินแดง แต่ต้องแพ้พ่ายกลับไปทั้ง 2 ครั้ง
กลับมาที่เรื่องของพระมหามัยมุนีกันต่อ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องลือระบือไกล ทำให้แต่ละวันมีชาวพม่า ชาวพุทธชาติอื่นๆ และรวมถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทย หลั่งไหลมาสักการบูชาท่านเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เช้ายันเย็น มีเหล่าบุรุษมาเข้าคิวต่อแถวขึ้นไปปิดทององค์พระกันอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ชายสามารถขึ้นไปปิดทององค์พระแบบถึงตัวใกล้ชิดได้ แต่ห้ามปิดทองบริเวณพระพักตร์หรือหน้า ส่วนผู้หญิงนั้นห้าม ให้กราบไหว้บูชาที่ด้านล่าง โดยมีเขตห้ามผู้หญิงล้ำเข้าไป ส่วนใครอยากจะปิดทองก็ให้ฝากผู้ชายขึ้นไปปิดแทน เพราะศรัทธานั้นอยู่ที่ใจ
ด้วยแรงศรัทธาจากมหาชนเดินทางมาปิดทองกันเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน มีการปิดทับซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ทองคำเปลวที่องค์พระพอกพูนมหาศาลจนพระวรกายอวบอ้วนมีตะปุ่มตะป่ำทั่วไปหมดทั้งด้านหน้าด้านหลัง จนใครหลายๆ คนเรียกขานท่านว่า “พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม” หรือ “พระเจ้าเนื้อนิ่ม” ซึ่งผมได้ลองกดนิ้วลงไปในบางจุด ปรากฏว่านุ่มมือสมชื่อ
ส่วนพระพักตร์ที่ไม่ได้ปิดทองที่ดูเปล่งรัศมีอิ่มเอิบเปี่ยมพลังแห่งศรัทธานั้น ไกด์ชาวพม่าที่นำเที่ยวมัณฑะเลย์บอกกับผมว่าพระพักตร์หรือใบหน้าของพระมหามัยมุนีในแต่ละยุคสมัยจะดูเปลี่ยนไปตามรูปทรงของทองที่ปิดพระวรกาย โดยที่วัดมหามัยมุนีได้มีรูปภาพแสดงองค์พระมหามัยมุนีให้แต่ละยุคให้พิสูจน์ ซึ่งผมดูแล้วพบว่าพระพักตร์ของท่านใน 4 ยุคดูไม่เหมือนกันจริงๆ ด้วย
นับเป็นความน่ามหัศจรรย์ที่หากมองในทางวิทยาศาสตร์ มุมมองของพระพักตร์ที่เปลี่ยนไปอาจเกิดจากการสะท้อนแสงเงา เกิดจากการประมวลภาพของสายตาตามพระวรกายที่เปลี่ยนไป แต่หากมองในทางศาสนาแล้ว
นี่ล้วนเกิดจากมหาศรัทธาอันยิ่งใหญ่ที่ชาวพุทธมีต่อพระพุทธรูปองค์นี้
รับขวัญวันใหม่กับ “พิธีล้างพระพักตร์”
ปกติเวลาผมอยู่กรุงเทพฯ จะเป็นคนตื่นสาย เพราะไม่ชอบมาผจญรถติดในยามเช้า แต่ในวันนี้ที่มัณฑะเลย์ แม้จะต้องตื่นแต่มืดแต่ดึกก่อนไก่โห่ตั้งแต่ตีสามกว่าๆ ผมก็เต็มใจยินดี เพื่อที่เราจะได้ไปทัน “พิธีล้างพระพักตร์” พระมหามัยมุนี พิธีแห่งความศรัทธาที่จัดสืบต่อกันมานับพันปี
ไกด์ชาวพม่าบอกกับผมว่า พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี ปฏิบัติต่อเนื่องกันมากว่าพันปีแล้ว พิธีนี้มาจากความเชื่อนับแต่โบราณกาลของชาวพม่าที่ว่า พระมหามัยมุนีนี้ได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า (ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น) จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิตมีลมหายใจ ดังนั้นจึงต้องจัดพิธีล้างหน้า แปรงฟัน เหมือนกับคนเราให้ในทุกๆ เช้าของทุกวัน โดยไม่มีเว้นวันฝนตกหนักหรือวันหยุดพิเศษใดๆ
พิธีล้างพระพักตร์จะเริ่มขึ้นเมื่อหลวงพ่อเจ้าอาวาสถือกุญแจมาไขในเวลาประมาณตีสาม 45 นาที มีวงดนตรีมโหรีเล่นสดๆ ประโคมบอกให้รู้ จากนั้นเวลาประมาณตี 4 ขั้นตอนการล้างพระพักตร์จะเริ่มขึ้น มีการคลุมผ้าพระวรกายขององค์พระ ถวายอาหารผลไม้ เปลี่ยนดอกไม้เก่าออกไป นำดอกไม้ใหม่มาถวาย
จากนั้นเป็นการล้างพระพักตร์ที่มีส่วนผสมของน้ำไม้จันทน์หอมและ “ทานาคา” สมุนไพรทำแป้งพม่าที่หลายคนคุ้นหูดี โดยขั้นตอนการล้างพระพักตร์จะล้างด้วยขันทอง 3 ครั้ง ขันเงิน 3 ครั้ง และขันธรรมดา 3 ครั้ง มีการแปรงพระโอษฐ์ (ริมฝีปาก) ที่เป็นดังการแปรงฟันให้ท่าน และมีการเช็ดหน้าที่มีคนนำผ้าเช็ดหน้ามาถวาย เช็ดวันหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 100 ผืน ซึ่งพิธีจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
หลังการล้างพระพักตร์เสร็จพระผู้นำการล้างพระพักตร์จะนำ “รัก” มาทาองค์พระ แล้วจึงนำปิดทอง ซึ่งช่วงนี้จะมีคนมารอต่อแถวเข้าคิวยาวทั้งชาวพม่าและนักท่องเที่ยว โดยชาวพม่าเชื่อว่าการได้ปิดทองพระมหามัยมุนีในยามเช้าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับการปฏิบัติภารกิจในวันนั้น ส่วนใครที่ได้ปิดทองเป็นคนแรกต่อจากพระผู้นำพิธี ผู้นั้นจะได้รับมงคลอย่างสูงล้ำ
นอกจากจะมากราบไหว้ปิดทองแล้ว ผมยังเห็นหลายคนยังมานั่งสมาธิ สวดมนต์ นับประคำ ซึ่งถือเป็นเรื่องชินตาของที่นี่นับตั้งแต่เช้าไปจนค่ำมืด ส่วนผู้หญิงที่แม้จะขึ้นไปปิดทองไม่ได้ ทางวัดกันเขตไว้ ก็ดูจะไม่เป็นอุปสรรคต่อศรัทธา เพราะมีการเดินทางมากราบไหว้ นั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำบุญ ทำทาน กันอยู่ทั่วไป
สำหรับผมการเที่ยวชมความศรัทธาแห่งพระพุทธศาสนาที่พม่า ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมและสัมผัสกับพิธีล้างหน้าพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้เห็นถึงมหาศรัทธาอันแรงกล้าของชาวพม่าที่มีต่อพระมหามัยมุนีแล้ว งานนี้ผมมองพม่าแล้วไม่ขอย้อนมาดูตนครับ
เพราะเมื่อย้อนมาดู เจอพฤติกรรมของ “เณรคำ” หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า “ไอ้คำ” แล้ว บอกคำเดียวว่า
เสื่อม!!!
****************************************
นอกจากพระมหามัยมุนีแล้ว ที่วัดมหามัยมุนี ยังมีสิ่งน่าสนใจได้แก้อาคารสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์แบบพม่า รูปเคารพ ศิลปวัตถุต่างๆ โดยที่ด้านข้างวิหารพระมาหมัยมุนีมีศาลาเก็บเทวรูปหล่อสำริดศิลปะขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นรูปทวารบาล สิงห์และช้างเอราวัณ ซึ่งชาวพม่าเชื่อว่าใครที่เจ็บปวดตรงส่วนไหนของร่างกาย ให้มาลูบคลำตรงส่วนนั้นของเทวรูปก็จะทำให้อาการดีขึ้นหรือช่วยรักษาอาการได้
นอกจากนี้ที่วัดมหามัยมุนียังเป็นตลาดขายของที่ระลึกที่สำคัญ มีสินค้าที่ระลึกมากมายให้เลือกซื้อส่วนใครที่ไปในตอนเช้าจะมีพระ-เณร มาบิณฑบาตเรี่ยรายบุญ มีอาหาร-ขนมพื้นบ้านมาขาย อีกทั้งยังจะได้พบกับภาพวิถีชีวิตอันน่าสนใจให้สัมผัสกัน
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com