โดย : ตะลอนเที่ยว (travel_astvmgr@hotmail.com)
ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสม ไกลจากการรุกรานของกองทัพเรืออังกฤษ และด้วยความเชื่อว่าภูเขามัณฑะเลย์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่นี่
ปี พ.ศ. 2400 “พระเจ้ามินดง”จึงทรงสร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้น(หลังย้ายราชธานีจากกรุงอมรปุระ) ในบริเวณระหว่างภูเขามัณฑะเลย์กับแม่น้ำอิระวดี พร้อมกับตั้งชื่อเมืองตามภูเขาว่าเมือง“มัณฑะเลย์”
กว่า 155 ปี มัณฑะเลย์ ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฝน ผ่านความเจริญรุ่งโรจน์ การล่มสลาย และสามารถฟื้นตัวมาเป็นเมืองมัณฑะเลย์ในทุกวันนี้ ที่นอกจากจะเป็นเมืองเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์สำคัญแล้ว มัณฑะเลย์ยังเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของสหภาพเมียนมาร์หรือ ประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกันมาแต่ช้านาน
ภูเขามัณฑะเลย์
ภูเขามัณฑะเลย์อัน(เชื่อว่า)ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่กลางเมืองมัณฑะเลย์นั้น ทุกๆเย็นบนยอดเขาแห่งนี้จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คน เพราะบนนี้ถือเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกและจุดชมวิวเมืองมัณฑะเลย์ชั้นดี ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” ไม่ขอพลาดการขึ้นไปกินลมชมวิวบนนั้นด้วยประการทั้งปวง
แต่ว่าในระหว่างทางขึ้นเราขอแวะ “วัดมัณฑะเลย์จอคทอคยี” ที่บริเวณเชิงเขา เพื่อนมัสการพระพุทธรูปหินอ่อนองค์โตที่วัดแห่งนี้เอาฤกษ์เอาชัยกันก่อน
พระพุทธรูปที่ว่าสร้างในสมัยพระเจ้ามินดง แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2408 ด้วยการสลักเสลาหินอ่อนเพียงก้อนเดียวให้ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันงดงาม(แบบพม่า) พระพักตร์เปี่ยมรอยยิ้ม(ชาวพม่าเชื่อว่าพระพักตร์คล้ายพระเจ้ามินดง) ซึ่งแม้จะมีองค์ใหญ่โตแต่ว่าสมส่วนชวนกราบไหว้ ที่สำคัญพระองค์นี้เคยเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพม่า ก่อนจะถูกล้มแชมป์โดยพระพุทธรูปหินอ่อนสร้างใหม่ในเมืองย่างกุ้งเมื่อไม่กี่ปีมานี้
หลังเปี่ยมกุศลผลบุญจากพระพุทธรูปหินอ่อนที่ปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ พม่าแล้ว “ตะลอนเที่ยว” และคณะก็รีรอนั่งรถสองแถวปุเลงๆขึ้นสู่ยอดเขามัณฑะเลย์ทันที
ก่อนทางขึ้นเขามีรูปปั้นสิงห์สีขาวตัวใหญ่สไตล์พม่า 2 ตัว ตั้งตระหง่านเป็นผู้เฝ้าทางขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าเป็นสิงห์ศักดิ์สิทธิ์ นิยมมากราบไหว้ขอพร โดยเฉพาะการขอลูกว่ากันว่าสัมฤทธิ์ผลมานักต่อนัก สาวๆคนไหนที่แต่งงานแล้วยังไม่มีลูกหากมีโอกาสผ่านไปก็ลองไปขอกันได้ ส่วนใครที่ยังไม่แต่งงานควรขอให้เจอเนื้อคู่ก่อนเป็นอย่างแรก แล้วจึงค่อยกลับมาขอลูกต่อในเสต็ปต่อไป
ในเส้นทางก่อนถึงยอดเขามัณฑะเลย์ยังมีวิหารบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถัดไปตรงใกล้จะถึงยอดเขาประดิษฐาน “พระชเวยัตตอ” หรือที่พม่าเรียกว่า “พระปางพยากรณ์” เป็นพระยืนองค์ใหญ่ปิดทองเหลืองอร่ามสุกใส ยกพระหัตถ์ชี้ลงไปยังเมืองมัณฑะเลย์ ตามตำนานระบุว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเขาลูกนี้ ได้ทรงทำนายว่าในอนาคตเมืองนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเผยแผ่พุทธศาสนาที่สำคัญ
สำหรับภูเขามัณฑะเลย์มีความสูง 236 เมตร หากใครอยากเดินที่นี่มีบันได 7,292 ขั้นให้เดิน แต่อ้อ อย่าลืมคูณ 2 ของขาลงด้วย
เมื่อมาถึงบนยอดเขา ทางขึ้นจุดชมวิวของที่นี่นับว่าเก๋ไม่หยอกเป็นบันไดเลื่อน 2-3 ชั้น ให้ค่อยๆเลื่อนขึ้นๆไปสู่วิหารตองซูพญา ที่เป็นอาคารทรงมณฑป มีระเบียงให้เดินชมวิวรอบทิศ แต่ทิศที่ได้รับความนิยมที่สุดคือทิศตะวันตก ที่เมื่อมองออกไปจะสวนกับแสงของดวงอาทิตย์ยามเย็นที่กำลังอ่อนแสงลอยคล้อยต่ำใกล้ลาลับขอบฟ้า
ณ เบื้องหน้า เรามองเห็นแม่น้ำอิระวดีที่ไหลผ่าน ต้องแสงยามเย็นส่งประกายระยิบระยับ เห็นสภาพตัวเมืองมัณฑะเลย์ที่ขึ้นเกาะกลุ่มเรียงรายกันไป ซึ่งนี่ถือเป็นภาพที่ต้องเก็บไว้ในความทรงจำ เพราะในอนาคตหลังเปิดเออีซี พม่าเปิดประเทศมากขึ้น ความเจริญต่างๆที่หลั่งไหลเข้ามา จะทำให้กายภาพของเมืองเปลี่ยนไปและภาพนี้ก็จะดูผิดแผกแปลกตาไปจากที่เราเห็นในยุคนี้ พ.ศ.นี้
พระราชวังมัณฑะเลย์
สัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเมืองมัณฑะเลย์ก็คือ“พระราชวังมัณฑะเลย์” ที่ใครมาเมืองนี้แล้ว ต้องหาโอกาสเข้าไปเที่ยวชม ไม่งั้นจะมาไม่ถึงมัณฑะเลย์โดยสมบูรณ์
พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างในสมัยพระเจ้ามินดง ด้วยการรื้อพระราชวังเดิมจากเมืองอมรปุระ(ราชธานีเก่า)มาสร้างใหม่ที่นี่ จากนั้นพระเจ้าสีป่อทรงโปรดให้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายหลัง
พระราชวังมัณฑะเลย์องค์ดั้งเดิมก่อสร้างอย่างวิจิตร ประกอบด้วยอาคารไม้จำนวนมาก หลายหลังมีการสลักเสลา ปิดทอง อย่างสวยงาม แต่...อนิจจา อาคารพระราชวังเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงอย่างราบคาบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระราชวังมัณฑะเลย์ที่เห็นในปัจจุบันนี้จึงเป็นการจำลองของดั้งเดิมมาสร้างใหม่ให้นักเที่ยวได้เที่ยวชมกัน
ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์อันยิ่งใหญ่โอ่โถง โดดเด่นไปด้วยพระราชมณเฑียรทองสูง 7 ชั้น หลังคามุงสังกะสีในเอกลักษณ์พม่า ขณะที่ท้องพระโรงที่ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญมีรูปจำลองของพระเจ้าสีป่อกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่ากับพระนางศุภยลัตพระมเหสีทรราชย์
นอกจากนี้ยังมีสิงหาสนบัลลังก์องค์จำลอง(องค์จริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองย่างกุ้ง) จัดแสดงหุ่นจำลองของพระเจ้ามินดงและพระมเหสีประทับนั่งอยู่คู่กันในบัลลังก์ ขณะที่เหนือขึ้นไปบนหลังคาของพระตำหนักบางหลังจะมีป้อมเล็กๆสีขาวตั้งอยู่ นี่คือป้อมที่ทหารยามมาคอยไล่แร้งกา ไม่ให้มาบินโฉบเฉี่ยวอยู่เหนือบรรดาพระราชวงศ์ทั้งหลาย เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งอัปมงคล
ส่วนใครที่ต้องการเห็นพระตำหนักต่างๆในมุมสูง “ตะลอนเที่ยว” ขอแนะนำให้เดินบันไดเวียนขึ้นไปบนยอดหอคอยชมวิว ซึ่งเดิมพระเจ้าสีป่อให้เป็นที่ส่องชมเมืองมัณฑะเลย์ และให้ทหารคอยสอดส่องดูกองทัพเรือของอังกฤษ
หอคอยชมวิวแห่งนี้หลายคนเรียกว่า “หอคอยศุภยลัต” เพราะเมื่ออังกฤษส่งทหาร กองทัพเรือเข้ามาโจมตีพม่า ทหารได้มากราบทูล แต่พระนางศุภยลัตที่มั่นอกมั่นใจว่ากองทัพอังกฤษไม่กล้ายกทัพมาราวีพม่าไม่เชื่อ ก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยการขึ้นไปดูกับตาตัวเองบนหอคอย เมื่อขึ้นไปถึงบนนั้นลมแทบจับเพราะเห็นกองทัพเรืออังกฤษเรียงรายเต็มแม่น้ำอิระวดีไปหมด และนั่นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดนางร้ายออกอาการสติแตกอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะกลับเข้าสู่สภาะวะปกติและลงมาถูกทหารอังกฤษคุมตัว อัปเปหิออกไปจากพม่า ปิดฉากอาณาจักรรัตนบุระอังวะนับแต่บัดนั้น
วัดชเวนันดอ
แม้พระราชวังมัณฑะเลย์จะถูกทำลายลงจนราบคาบ แต่ยังมีอาคารหลังหนึ่งที่รอดจากไฟสงครามมานั่นก็คือ พระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ามินดง เพราะหลังจากพระเจ้ามินดงสวรรคตพระเจ้าสีป่อโปรดฯให้ย้ายพระตำหนักแห่งนี้ออกจากวัง(ตามความเชื่อว่าพลังพระราชบิดาสวรรคตต้องทำการย้ายพระตำหนัก)มาไว้ยังที่ที่เป็น“วัดชเวนันดอ”ในปัจจุบัน
พระตำหนักพระเจ้ามินดงหรือพระตำหนักชเวนันดอ เป็นอาคารไม้ก่อสร้างอย่างสวยงามสมส่วน โดยเฉพาะลวดลายแกะสลักประดับตกแต่งที่มีอยู่ไปทั่วอาคาร ไม่ว่าจะเป็นที่ผนัง เชิงชาย ปั้นลม ระเบียง บานประตู-หน้าต่าง กรอบประตู-หน้าต่าง ต่างแกะสลักได้อย่างวิจิตรงดงามยิ่งนัก นับเป็นผลงานมาสเตอร์พีชแห่งการแกะสลักไม้ ที่ ณ วันนี้ยังหางานฝีมือที่ไหนมาเปรียบมิได้
นักท่องเที่ยวจำนวนมากเมื่อมาที่พระตำหนักแห่งนี้แล้วอดใจไม่ได้ที่จะต้องถ่ายรูปกับงานแกะสลักอันวิจิตรเหล่านี้ โดยเฉพาะการยืนโผล่หน้า โผล่ตัวออกมาตามช่องบานประตู นั้นถือเป็นฉากยอดฮิต ที่ถ่ายเสร็จแล้วก็รีบอัพขึ้นเฟซบุ๊คให้กดไลค์กันในบัดดล
วัดกุโสดอ
สิ่งก่อสร้างสำคัญมากอีกแห่งหนึ่งในมัณฑะเลย์ที่พระเจ้ามินดงทรงสร้างขึ้นนั่นก็คือ “วัดกุโสดอ” ที่สร้างขึ้นพร้อมๆกับการสร้างเมืองในปี พ.ศ. 2400
วัดกุโสดอเป็นวัดที่พระเจ้ามินดงทรงโปรดฯให้มีการจัดสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 ของโลกขึ้น โดยทรงให้จารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ลงบนแผ่นหินอ่อน 729 แผ่น รวม 1,428 หน้า และได้สร้างมณฑปสีขาวครอบแผ่นจารึกหินอ่อนเหล่านี้ไว้(1 แผ่นต่อ 1 มณฑป)เรียงรายรอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม
สีผ่องไกด์นำเที่ยวในทริปนี้บอกกับ“ตะลอนเที่ยว” ว่า ถ้านำแผ่นหินอ่อนมารวมกันจะนับเป็นหนังสือเล่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยทีเดียว
อ้อ!?! และนี่น่าจะเป็นหนังสือเล่มที่หนักที่สุดในโลกอีกด้วย
พระมหามัยมุนี
พม่ามี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ได้แก่ 1.เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง 2.พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจ่ก์โถ่ 3.เจดีย์ชเวมอดอร์(เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี 4.เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม และ พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
จะเห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดทั้งหมดมีหนึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นพระพุทธรูป
พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง 9 ฟุต สูง 12 ฟุต กษัตริย์แห่งแคว้นยะไข่ คือ พระจันทสุริยะโปรดฯให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 689
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความวิจิตงดงามของพระมหามัยมุนีทำให้เป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่ามาหลายยุคหลายสมัย แต่ไม่ใครผู้ใดสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากเมืองยะไข่ได้ กระทั่งมาถึงในสมัย “พระเจ้าปดุง” จึงสามารถอัญเชิญมาประทับที่มัณฑะเลย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2327
พระมหามัยมุนีประดิษฐานอยู่ที่วัดพระมหามัยมุนีหรือวัดปยกยี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ นอกจากองค์พระพระมหามัยมุนีอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ที่นี่ยังมี สิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตัวอาคารสถาปัตยกรรม ลวดลายประดับ เทวรูปสำริดโบราณที่ชาวพม่าเชื่อว่าหากเจ็บป่วยตรงไหนแล้วไปลูบคลำ ณ บริเวณนั้นของเทวรูปแล้วจะทำให้หายได้
นอกจากนี้ที่วัดแห่งนี้ยังจัดพื้นที่ไว้ให้ขายของที่ระลึกมากหลายทั้ง แป้งทานาคา งานแกะสลักไม้ ตุ๊กตา หยก(จริงหรือปลอมไม่รู้) พระพุทธรูป เทวรูปที่คนขายอ้างว่าเป็นของโบราณ และอื่นๆอีกสารพัดสารพัน เหตุที่วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในแหล่งขายของที่ระลึกสำคัญของมัณฑะเลย์ เป็นเพราะแต่ละวันมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้องค์พระมหามัยมุนีกันเป็นจำนวนมากทั้งนักท่องเที่ยวและชาวพม่า
สำหรับศรัทธาที่ชาวพม่าปฏิบัติให้ความเคารพต่อพระมหามัยมุนีนั้น “ตะลอนเที่ยว” เห็นแล้วอดทึ่งไม่ได้ เพราะแต่ละวันจะมีชาวพม่าหลั่งไหลมาสักการบูชาท่านกันเป็นจำนวนมาก ต่อแถวยาวเหยียดตั้งแต่เช้ามืดจนถึงค่ำแล้ว นั่นจึงทำให้ปริมาณทองคำเปลวจากมหาศรัทธาที่ปิดทับรอบๆพระวรกายนับจากอดีตถึงปัจจุบันมีจำนวนมากมายมหาศาล พอกพูนเป็นเนื้อนูนตะปุ่มตะป่ำไปทั่วองค์พระ(ว่ากันว่ามีการลอกทองคำเปลวเก่าออกไปหลายครั้งแล้ว) จนพระมหามัยมุนี ได้รับการเรียกขานว่า “พระเจ้าเนื้อนิ่ม” หรือ “พระพุทธรูปเนื้อนิ่ม”
“ตะลอนเที่ยว” เมื่อได้ขึ้นบนฐานไปปิดทององค์พระแล้ว ได้ลองใช้นิ้วกดบางช่วงดู ปรากฏว่านุ่มมือสมชื่อ แต่งานนี้มีข้อแม้ว่าให้เฉพาะผู้ชายขึ้นไปปิดทองเท่านั้น ส่วนผู้หญิงห้าม ให้กราบไว้อยู่ข้างล่าง และไม่เข้ามาเข้ามาใกล้ชิดได้เท่าผู้ชาย แต่ถ้าผู้หญิงคนไหนอยากปิดทองก็ให้ฝากผู้ชายนำทองไปปิดให้แทน
อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงมหาศรัทธาของชาวพม่ามีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ “พิธีล้างพระพักตร์”พระมหามัยมุนี
พิธีนี้มาจากความเชื่อนับแต่โบราณกาลของชาวพม่าที่ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต มีลมหายใจ ตั้งนั้นจึงต้องจัดพิธีล้างหน้า แปรงฟัน เหมือนกับคนเราให้ในทุกๆเช้า และมีการปฏิบัติสืบทอดกันมานับเป็นเวลาร้อยปี
ทุกๆเช้า ชาวพม่า(ปัจจุบันรวมนักท่องเที่ยวที่ศรัทธาและสนใจชมพิธีเข้าไปด้วย)จะตื่นกันราวตีสาม เพื่อมารอทำพิธีล้างหน้าพระพักตร์ในช่วงตี 4 เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวันฝนตกหนัก
“ตะลอนเที่ยว” มีโอกาสได้เข้าร่วมและสัมผัสกับพิธีล้างหน้าพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้เห็นถึงมหาศรัทธาอันแรงกล้าของชาวพม่าที่มีต่อพระมหามัยมุนีแล้ว อดประหวั่นต่อศรัทธาจอมปลอม ศรัทธาแห่งการหลอกลวง และศรัทธามาร์เก็ตติ้ง ที่เกิดขึ้นกับพุทธพาณิชย์จำนวนมากที่บ้านเราในยุคนี้ พ.ศ.นี้มิได้
*****************************************
“มิงกาละบา” เป็นภาษาพม่าแปลว่าสวัสดี
การเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ปัจจุบันมีสายการบินแอร์เอเชีย บินตรง“กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์” 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2515-9999 หรือดูที่ www.airasia.com
ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสม ไกลจากการรุกรานของกองทัพเรืออังกฤษ และด้วยความเชื่อว่าภูเขามัณฑะเลย์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับที่นี่
ปี พ.ศ. 2400 “พระเจ้ามินดง”จึงทรงสร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้น(หลังย้ายราชธานีจากกรุงอมรปุระ) ในบริเวณระหว่างภูเขามัณฑะเลย์กับแม่น้ำอิระวดี พร้อมกับตั้งชื่อเมืองตามภูเขาว่าเมือง“มัณฑะเลย์”
กว่า 155 ปี มัณฑะเลย์ ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฝน ผ่านความเจริญรุ่งโรจน์ การล่มสลาย และสามารถฟื้นตัวมาเป็นเมืองมัณฑะเลย์ในทุกวันนี้ ที่นอกจากจะเป็นเมืองเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์สำคัญแล้ว มัณฑะเลย์ยังเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของสหภาพเมียนมาร์หรือ ประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกันมาแต่ช้านาน
ภูเขามัณฑะเลย์
ภูเขามัณฑะเลย์อัน(เชื่อว่า)ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่กลางเมืองมัณฑะเลย์นั้น ทุกๆเย็นบนยอดเขาแห่งนี้จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คน เพราะบนนี้ถือเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกและจุดชมวิวเมืองมัณฑะเลย์ชั้นดี ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” ไม่ขอพลาดการขึ้นไปกินลมชมวิวบนนั้นด้วยประการทั้งปวง
แต่ว่าในระหว่างทางขึ้นเราขอแวะ “วัดมัณฑะเลย์จอคทอคยี” ที่บริเวณเชิงเขา เพื่อนมัสการพระพุทธรูปหินอ่อนองค์โตที่วัดแห่งนี้เอาฤกษ์เอาชัยกันก่อน
พระพุทธรูปที่ว่าสร้างในสมัยพระเจ้ามินดง แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2408 ด้วยการสลักเสลาหินอ่อนเพียงก้อนเดียวให้ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันงดงาม(แบบพม่า) พระพักตร์เปี่ยมรอยยิ้ม(ชาวพม่าเชื่อว่าพระพักตร์คล้ายพระเจ้ามินดง) ซึ่งแม้จะมีองค์ใหญ่โตแต่ว่าสมส่วนชวนกราบไหว้ ที่สำคัญพระองค์นี้เคยเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพม่า ก่อนจะถูกล้มแชมป์โดยพระพุทธรูปหินอ่อนสร้างใหม่ในเมืองย่างกุ้งเมื่อไม่กี่ปีมานี้
หลังเปี่ยมกุศลผลบุญจากพระพุทธรูปหินอ่อนที่ปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ พม่าแล้ว “ตะลอนเที่ยว” และคณะก็รีรอนั่งรถสองแถวปุเลงๆขึ้นสู่ยอดเขามัณฑะเลย์ทันที
ก่อนทางขึ้นเขามีรูปปั้นสิงห์สีขาวตัวใหญ่สไตล์พม่า 2 ตัว ตั้งตระหง่านเป็นผู้เฝ้าทางขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าเป็นสิงห์ศักดิ์สิทธิ์ นิยมมากราบไหว้ขอพร โดยเฉพาะการขอลูกว่ากันว่าสัมฤทธิ์ผลมานักต่อนัก สาวๆคนไหนที่แต่งงานแล้วยังไม่มีลูกหากมีโอกาสผ่านไปก็ลองไปขอกันได้ ส่วนใครที่ยังไม่แต่งงานควรขอให้เจอเนื้อคู่ก่อนเป็นอย่างแรก แล้วจึงค่อยกลับมาขอลูกต่อในเสต็ปต่อไป
ในเส้นทางก่อนถึงยอดเขามัณฑะเลย์ยังมีวิหารบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถัดไปตรงใกล้จะถึงยอดเขาประดิษฐาน “พระชเวยัตตอ” หรือที่พม่าเรียกว่า “พระปางพยากรณ์” เป็นพระยืนองค์ใหญ่ปิดทองเหลืองอร่ามสุกใส ยกพระหัตถ์ชี้ลงไปยังเมืองมัณฑะเลย์ ตามตำนานระบุว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเขาลูกนี้ ได้ทรงทำนายว่าในอนาคตเมืองนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเผยแผ่พุทธศาสนาที่สำคัญ
สำหรับภูเขามัณฑะเลย์มีความสูง 236 เมตร หากใครอยากเดินที่นี่มีบันได 7,292 ขั้นให้เดิน แต่อ้อ อย่าลืมคูณ 2 ของขาลงด้วย
เมื่อมาถึงบนยอดเขา ทางขึ้นจุดชมวิวของที่นี่นับว่าเก๋ไม่หยอกเป็นบันไดเลื่อน 2-3 ชั้น ให้ค่อยๆเลื่อนขึ้นๆไปสู่วิหารตองซูพญา ที่เป็นอาคารทรงมณฑป มีระเบียงให้เดินชมวิวรอบทิศ แต่ทิศที่ได้รับความนิยมที่สุดคือทิศตะวันตก ที่เมื่อมองออกไปจะสวนกับแสงของดวงอาทิตย์ยามเย็นที่กำลังอ่อนแสงลอยคล้อยต่ำใกล้ลาลับขอบฟ้า
ณ เบื้องหน้า เรามองเห็นแม่น้ำอิระวดีที่ไหลผ่าน ต้องแสงยามเย็นส่งประกายระยิบระยับ เห็นสภาพตัวเมืองมัณฑะเลย์ที่ขึ้นเกาะกลุ่มเรียงรายกันไป ซึ่งนี่ถือเป็นภาพที่ต้องเก็บไว้ในความทรงจำ เพราะในอนาคตหลังเปิดเออีซี พม่าเปิดประเทศมากขึ้น ความเจริญต่างๆที่หลั่งไหลเข้ามา จะทำให้กายภาพของเมืองเปลี่ยนไปและภาพนี้ก็จะดูผิดแผกแปลกตาไปจากที่เราเห็นในยุคนี้ พ.ศ.นี้
พระราชวังมัณฑะเลย์
สัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเมืองมัณฑะเลย์ก็คือ“พระราชวังมัณฑะเลย์” ที่ใครมาเมืองนี้แล้ว ต้องหาโอกาสเข้าไปเที่ยวชม ไม่งั้นจะมาไม่ถึงมัณฑะเลย์โดยสมบูรณ์
พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างในสมัยพระเจ้ามินดง ด้วยการรื้อพระราชวังเดิมจากเมืองอมรปุระ(ราชธานีเก่า)มาสร้างใหม่ที่นี่ จากนั้นพระเจ้าสีป่อทรงโปรดให้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายหลัง
พระราชวังมัณฑะเลย์องค์ดั้งเดิมก่อสร้างอย่างวิจิตร ประกอบด้วยอาคารไม้จำนวนมาก หลายหลังมีการสลักเสลา ปิดทอง อย่างสวยงาม แต่...อนิจจา อาคารพระราชวังเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงอย่างราบคาบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระราชวังมัณฑะเลย์ที่เห็นในปัจจุบันนี้จึงเป็นการจำลองของดั้งเดิมมาสร้างใหม่ให้นักเที่ยวได้เที่ยวชมกัน
ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์อันยิ่งใหญ่โอ่โถง โดดเด่นไปด้วยพระราชมณเฑียรทองสูง 7 ชั้น หลังคามุงสังกะสีในเอกลักษณ์พม่า ขณะที่ท้องพระโรงที่ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญมีรูปจำลองของพระเจ้าสีป่อกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่ากับพระนางศุภยลัตพระมเหสีทรราชย์
นอกจากนี้ยังมีสิงหาสนบัลลังก์องค์จำลอง(องค์จริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองย่างกุ้ง) จัดแสดงหุ่นจำลองของพระเจ้ามินดงและพระมเหสีประทับนั่งอยู่คู่กันในบัลลังก์ ขณะที่เหนือขึ้นไปบนหลังคาของพระตำหนักบางหลังจะมีป้อมเล็กๆสีขาวตั้งอยู่ นี่คือป้อมที่ทหารยามมาคอยไล่แร้งกา ไม่ให้มาบินโฉบเฉี่ยวอยู่เหนือบรรดาพระราชวงศ์ทั้งหลาย เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งอัปมงคล
ส่วนใครที่ต้องการเห็นพระตำหนักต่างๆในมุมสูง “ตะลอนเที่ยว” ขอแนะนำให้เดินบันไดเวียนขึ้นไปบนยอดหอคอยชมวิว ซึ่งเดิมพระเจ้าสีป่อให้เป็นที่ส่องชมเมืองมัณฑะเลย์ และให้ทหารคอยสอดส่องดูกองทัพเรือของอังกฤษ
หอคอยชมวิวแห่งนี้หลายคนเรียกว่า “หอคอยศุภยลัต” เพราะเมื่ออังกฤษส่งทหาร กองทัพเรือเข้ามาโจมตีพม่า ทหารได้มากราบทูล แต่พระนางศุภยลัตที่มั่นอกมั่นใจว่ากองทัพอังกฤษไม่กล้ายกทัพมาราวีพม่าไม่เชื่อ ก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยการขึ้นไปดูกับตาตัวเองบนหอคอย เมื่อขึ้นไปถึงบนนั้นลมแทบจับเพราะเห็นกองทัพเรืออังกฤษเรียงรายเต็มแม่น้ำอิระวดีไปหมด และนั่นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดนางร้ายออกอาการสติแตกอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะกลับเข้าสู่สภาะวะปกติและลงมาถูกทหารอังกฤษคุมตัว อัปเปหิออกไปจากพม่า ปิดฉากอาณาจักรรัตนบุระอังวะนับแต่บัดนั้น
วัดชเวนันดอ
แม้พระราชวังมัณฑะเลย์จะถูกทำลายลงจนราบคาบ แต่ยังมีอาคารหลังหนึ่งที่รอดจากไฟสงครามมานั่นก็คือ พระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ามินดง เพราะหลังจากพระเจ้ามินดงสวรรคตพระเจ้าสีป่อโปรดฯให้ย้ายพระตำหนักแห่งนี้ออกจากวัง(ตามความเชื่อว่าพลังพระราชบิดาสวรรคตต้องทำการย้ายพระตำหนัก)มาไว้ยังที่ที่เป็น“วัดชเวนันดอ”ในปัจจุบัน
พระตำหนักพระเจ้ามินดงหรือพระตำหนักชเวนันดอ เป็นอาคารไม้ก่อสร้างอย่างสวยงามสมส่วน โดยเฉพาะลวดลายแกะสลักประดับตกแต่งที่มีอยู่ไปทั่วอาคาร ไม่ว่าจะเป็นที่ผนัง เชิงชาย ปั้นลม ระเบียง บานประตู-หน้าต่าง กรอบประตู-หน้าต่าง ต่างแกะสลักได้อย่างวิจิตรงดงามยิ่งนัก นับเป็นผลงานมาสเตอร์พีชแห่งการแกะสลักไม้ ที่ ณ วันนี้ยังหางานฝีมือที่ไหนมาเปรียบมิได้
นักท่องเที่ยวจำนวนมากเมื่อมาที่พระตำหนักแห่งนี้แล้วอดใจไม่ได้ที่จะต้องถ่ายรูปกับงานแกะสลักอันวิจิตรเหล่านี้ โดยเฉพาะการยืนโผล่หน้า โผล่ตัวออกมาตามช่องบานประตู นั้นถือเป็นฉากยอดฮิต ที่ถ่ายเสร็จแล้วก็รีบอัพขึ้นเฟซบุ๊คให้กดไลค์กันในบัดดล
วัดกุโสดอ
สิ่งก่อสร้างสำคัญมากอีกแห่งหนึ่งในมัณฑะเลย์ที่พระเจ้ามินดงทรงสร้างขึ้นนั่นก็คือ “วัดกุโสดอ” ที่สร้างขึ้นพร้อมๆกับการสร้างเมืองในปี พ.ศ. 2400
วัดกุโสดอเป็นวัดที่พระเจ้ามินดงทรงโปรดฯให้มีการจัดสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 ของโลกขึ้น โดยทรงให้จารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ลงบนแผ่นหินอ่อน 729 แผ่น รวม 1,428 หน้า และได้สร้างมณฑปสีขาวครอบแผ่นจารึกหินอ่อนเหล่านี้ไว้(1 แผ่นต่อ 1 มณฑป)เรียงรายรอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม
สีผ่องไกด์นำเที่ยวในทริปนี้บอกกับ“ตะลอนเที่ยว” ว่า ถ้านำแผ่นหินอ่อนมารวมกันจะนับเป็นหนังสือเล่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกเลยทีเดียว
อ้อ!?! และนี่น่าจะเป็นหนังสือเล่มที่หนักที่สุดในโลกอีกด้วย
พระมหามัยมุนี
พม่ามี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ได้แก่ 1.เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง 2.พระธาตุอินทร์แขวน เมืองไจ่ก์โถ่ 3.เจดีย์ชเวมอดอร์(เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี 4.เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม และ พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
จะเห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดทั้งหมดมีหนึ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นพระพุทธรูป
พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยทรงเครื่อง หน้าตักกว้าง 9 ฟุต สูง 12 ฟุต กษัตริย์แห่งแคว้นยะไข่ คือ พระจันทสุริยะโปรดฯให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 689
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความวิจิตงดงามของพระมหามัยมุนีทำให้เป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่ามาหลายยุคหลายสมัย แต่ไม่ใครผู้ใดสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากเมืองยะไข่ได้ กระทั่งมาถึงในสมัย “พระเจ้าปดุง” จึงสามารถอัญเชิญมาประทับที่มัณฑะเลย์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2327
พระมหามัยมุนีประดิษฐานอยู่ที่วัดพระมหามัยมุนีหรือวัดปยกยี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ นอกจากองค์พระพระมหามัยมุนีอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ที่นี่ยังมี สิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตัวอาคารสถาปัตยกรรม ลวดลายประดับ เทวรูปสำริดโบราณที่ชาวพม่าเชื่อว่าหากเจ็บป่วยตรงไหนแล้วไปลูบคลำ ณ บริเวณนั้นของเทวรูปแล้วจะทำให้หายได้
นอกจากนี้ที่วัดแห่งนี้ยังจัดพื้นที่ไว้ให้ขายของที่ระลึกมากหลายทั้ง แป้งทานาคา งานแกะสลักไม้ ตุ๊กตา หยก(จริงหรือปลอมไม่รู้) พระพุทธรูป เทวรูปที่คนขายอ้างว่าเป็นของโบราณ และอื่นๆอีกสารพัดสารพัน เหตุที่วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในแหล่งขายของที่ระลึกสำคัญของมัณฑะเลย์ เป็นเพราะแต่ละวันมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้องค์พระมหามัยมุนีกันเป็นจำนวนมากทั้งนักท่องเที่ยวและชาวพม่า
สำหรับศรัทธาที่ชาวพม่าปฏิบัติให้ความเคารพต่อพระมหามัยมุนีนั้น “ตะลอนเที่ยว” เห็นแล้วอดทึ่งไม่ได้ เพราะแต่ละวันจะมีชาวพม่าหลั่งไหลมาสักการบูชาท่านกันเป็นจำนวนมาก ต่อแถวยาวเหยียดตั้งแต่เช้ามืดจนถึงค่ำแล้ว นั่นจึงทำให้ปริมาณทองคำเปลวจากมหาศรัทธาที่ปิดทับรอบๆพระวรกายนับจากอดีตถึงปัจจุบันมีจำนวนมากมายมหาศาล พอกพูนเป็นเนื้อนูนตะปุ่มตะป่ำไปทั่วองค์พระ(ว่ากันว่ามีการลอกทองคำเปลวเก่าออกไปหลายครั้งแล้ว) จนพระมหามัยมุนี ได้รับการเรียกขานว่า “พระเจ้าเนื้อนิ่ม” หรือ “พระพุทธรูปเนื้อนิ่ม”
“ตะลอนเที่ยว” เมื่อได้ขึ้นบนฐานไปปิดทององค์พระแล้ว ได้ลองใช้นิ้วกดบางช่วงดู ปรากฏว่านุ่มมือสมชื่อ แต่งานนี้มีข้อแม้ว่าให้เฉพาะผู้ชายขึ้นไปปิดทองเท่านั้น ส่วนผู้หญิงห้าม ให้กราบไว้อยู่ข้างล่าง และไม่เข้ามาเข้ามาใกล้ชิดได้เท่าผู้ชาย แต่ถ้าผู้หญิงคนไหนอยากปิดทองก็ให้ฝากผู้ชายนำทองไปปิดให้แทน
อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงมหาศรัทธาของชาวพม่ามีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ก็คือ “พิธีล้างพระพักตร์”พระมหามัยมุนี
พิธีนี้มาจากความเชื่อนับแต่โบราณกาลของชาวพม่าที่ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต มีลมหายใจ ตั้งนั้นจึงต้องจัดพิธีล้างหน้า แปรงฟัน เหมือนกับคนเราให้ในทุกๆเช้า และมีการปฏิบัติสืบทอดกันมานับเป็นเวลาร้อยปี
ทุกๆเช้า ชาวพม่า(ปัจจุบันรวมนักท่องเที่ยวที่ศรัทธาและสนใจชมพิธีเข้าไปด้วย)จะตื่นกันราวตีสาม เพื่อมารอทำพิธีล้างหน้าพระพักตร์ในช่วงตี 4 เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวันฝนตกหนัก
“ตะลอนเที่ยว” มีโอกาสได้เข้าร่วมและสัมผัสกับพิธีล้างหน้าพระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้เห็นถึงมหาศรัทธาอันแรงกล้าของชาวพม่าที่มีต่อพระมหามัยมุนีแล้ว อดประหวั่นต่อศรัทธาจอมปลอม ศรัทธาแห่งการหลอกลวง และศรัทธามาร์เก็ตติ้ง ที่เกิดขึ้นกับพุทธพาณิชย์จำนวนมากที่บ้านเราในยุคนี้ พ.ศ.นี้มิได้
*****************************************
“มิงกาละบา” เป็นภาษาพม่าแปลว่าสวัสดี
การเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ปัจจุบันมีสายการบินแอร์เอเชีย บินตรง“กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์” 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2515-9999 หรือดูที่ www.airasia.com