โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
ปลายปี 54 ช่วงก่อนวันปีใหม่เพียงไม่กี่วัน...
ผมและคณะภายใต้การนำของ “พี่ทิด -อาทิตย์ แสงจันทร์”กับ “พี่ตอน-ไหนจ้อย แซ่เติ๋น” สองเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า มือฉมังแห่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ได้ใช้เวลา 3 วันเต็มๆ เดินสมบุกสมบันบุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงเขา ข้ามลำห้วย ปีนป่าย ขึ้นไปเป็นผู้พิชิตยอดเขา “โมโกจู” แห่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หนึ่งในยอดเขาที่ได้ชื่อว่าโหดที่สุดในประเทศไทย
ครั้นเมื่อสามารถลุยขึ้นไปถึงบนยอดได้ ความท้อแท้ ความเหน็ดเหนื่อย มลายหายไปกลายเป็นความยินดี ความภาคภูมิใจที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราสามารถเอาชนะอุปสรรคความยากลำบากต่างๆ ขึ้นไปยืนอยู่บนนั้น
โดยชัยชนะที่สำคัญนั้นก็คือการเอาชนะใจตัวเองนั่นเอง
1...
ยอดเขาโมโกจู ตั้งอยู่บนบนระดับความสูง 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเล มี “หินเรือใบ” เป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่น บนนี้ให้ความรู้สึกดังรอยต่อของสวรรค์กับโลกมนุษย์ ซึ่งหากสวรรค์มีจริงเราขึ้นสูงทะลุฟ้าไปก็จะเป็นที่อยู่ของเหล่านางฟ้า เทวดา ส่วนถ้าเดินกลับลงไปก็จะเป็นดินแดนของมนุษย์ที่ผมย่ำต๊อกเดินลุยขึ้นมา แต่ถ้าเกิดเล่นพิเรนทร์จนทำให้เกิดพลาดพลั้งตกยอดเขาไป หนทางหลังลาลับย่อมไม่พ้นการไปสวรรค์หรือลงนรก
เมื่อขึ้นมายืนบนยอดเขาโมโกจู ใกล้ชิดหินเรือใบ เราสามารถมองลงไปเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศารอบตัว ซึ่งนอกจากภาพอันน่ายลของขุนเขาน้อยใหญ่ ทะเลหมอกยามเช้า พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตกแล้ว ยังมีภาพความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่วงก์ ที่พี่ตอนแกเรียกว่าเป็น “ทะเลบล็อกโคลี่” เพราะมันเขียวขจีดูไกลๆ คล้ายแปลงบล็อกโคลี่ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมเป็นแผ่นผืนติดต่อกันไปลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศ
ทะเลบล็อกโคลี่ ถือเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาพิทักษ์ป่าที่นี่ ที่สามารถดูแลรักษาป่าใหญ่ผืนนี้ไว้ให้ยังคงความสมบูรณ์เป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่สุดท้ายมันได้ถูกทำลายอย่างเลือดเย็นด้วยโครงการสร้าง “เขื่อนแม่วงก์” ที่ไม่นอกจากจะเป็นการทำลายความภาคภูมิใจของผู้พิทักษ์รักษาป่าที่นี่ทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้านแล้ว
นี่ยังถือเป็นหนึ่งในโครงการที่มีการทำลายป่าครั้งมโหฬารอีกครั้งหนึ่งของเมืองไทย
2...
ผืนป่าแม่วงก์ อยู่ภายใต้การดูแลอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปี 2530 มีพื้นที่ 558,750 ไร่ ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ นครสวรรค์ และ กำแพงเพชร
ป่าแม่วงก์ มีอาณาเขตติดกับ 2 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสำคัญ คือ “ห้วยขาแข้ง” (มรดกโลก)และอุ้มผาง ซึ่งชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่า ป่าแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 279,050 ไร่ อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนอีกประมาณ 279,700 ไร่ อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
ป่าแม่วงก์ เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตก ผืนป่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ถ้าเชื่อมรวมกับผืนป่าในพม่าที่มีอาณาเขตติดต่อกัน นี่คือ ผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเอเชีย ป่าใหญ่ผืนนี้
ภายในผืนป่าแม่วงก์ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และ นก ที่นี่มีสภาพของป่าอันหลากหลาย อาทิ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาสูง หรือป่าเมฆ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง อีกทั้งยังมีป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่
ขณะที่ทรัพยากรสัตว์ป่าที่แม่วงก์ มีการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน 22 ชนิด 11 วงศ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 7 ชนิด 4 วงศ์ ปลาน้ำจืด 68 ชนิด 14 วงศ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด 57 ชนิด 26 วงศ์ เช่น วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว หมีหมา หมีควาย มี 3 ชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน คือ สมเสร็จ เลียงผา และ เก้งหม้อ โดยในเส้นทางเดินสู่ยอดโมโกจู ผมเห็นเงาไหวๆของเก้งกระโดดผ่านไป ซึ่ง พี่ทิด บอกว่า มันคือเก้งหม้อสัตว์หายากของเมืองไทย ด้านเหล่าพี่ลูกหาบก็พบกับวัวแดง 2 ตัว สวน ถุงเท้า แพมเพอร์ส ออกหากินในระหว่างทาง ส่วนที่พวกเราพบเห็นไปตลอดทาง ก็คือ รอยตีนเสือและขี้เสือ สัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ซึ่งป่าแม่วงก์ถือเป็นถิ่นที่อยู่ที่หากินของเสือโคร่งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย
นอกจากนี้ ที่ป่าแม่วงก์ ยังเป็นแหล่งดูนกชั้นดีของเมืองไทย เพราะมีนกมากถึง 305 ชนิด 53 วงศ์ มีนกหายาก อาทิ นกเงือกคอแดง นกกาฮัง นกกระเต็นขาวใหญ่ นกแต้วแร้วใหญ่หัวสีน้ำตาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรของป่าแม่วงก์เหล่านี้ ดูจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรต่อประเทศนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ครม.ในวันที่ 10 เม.ย.55 อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
เรื่องนี้ทันทีที่เป็นข่าวออกมา ผู้รู้ทันอย่างสมาคมต่อต้านโลกร้อน ที่นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ออกมาแถลงการณ์คัดค้านทันที โดยเขาระบุว่า หากสร้างเขื่อนแม่วงก์เมืองไทยจะต้องสูญเสียพื้นที่ปาไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปกว่า 13,000 ไร่ ที่ถือเป็นพื้นที่ป่าไม้สักที่มีความหนาแน่นเป็นอันดับสองรองประเทศรองจากผืนป่าในอุทยานแห่งชาติแม่ยม (แก่งเสือเต้น) จ.แพร่ (หนึ่งในพื้นที่ที่ถูกเสนอให้สร้างเขื่อนเหมือนกัน) ซึ่งจะถูกนำมาเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ ในการทำสัมปทานไม้ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท
อีกทั้งการก่อสร้างเขื่อนยังเป็นการสร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้
“แต่รัฐบาลยุคนี้ กลับใช้ข้ออ้างปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี 2554 มาเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการเร่งรีบการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยมิได้พิจารณาเลยว่า น้ำท่วมที่ผ่านมาเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาลและหน่วยงานราชการทั้งระบบ มากกว่าการไม่มีเขื่อนต่างหาก” สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ระบุ
สำหรับโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้นไม่ได้มีเพิ่งไอเดียบรรเจิดมาในปีนี้ หลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว หากแต่มีแนวคิดมาตั้งแต่ปี 2528 แต่หลังจากการศึกษาผลดีผลเสียนับ 10 ปี ในปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติไม่เห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมเสนอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลับไปศึกษาเพิ่มเติม ในเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในลักษณะบูรณาการมากกว่าที่จะเสนอให้มีการสร้างเขื่อนเป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ สมาคมต่อต้านโลกร้อน ยังตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีการเสนอโครงการนี้ใหม่ๆ ในช่วงปี 2528 กรมชลประทานเสนอใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 3,187 ล้านบาท มีความจุของน้ำเหนือเขื่อน 380 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่พอมาเดือนสิงหาคม 2554 กรมชลประทานเพิ่มงบประมาณเป็น 9,629 ล้านบาท โดยลดความจุของน้ำเหนือเขื่อนเหลือ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 8 เดือน กลับมีการเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างไปถึง 13,000 ล้านบาท อันเป็นข้อน่าสงสัยว่า จะเป็นโครงการผลาญงบประมาณของชาติอีกโครงการหนึ่ง จากเงินกู้ 3.5 แสนล้านหรือไม่
ด้าน กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ชาวบ้านจาก ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่เป็นกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่พิทักษ์ต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมาอย่างยาวนาน ก็ถือเป็นอีกกลุ่มที่ออกมาร่วมคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ด้วยอีกแรง โดยกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ได้ออกมาแถลงการณ์คัดค้าน พร้อมระบุว่า
...รัฐบาลไม่ควรกู้เงินมาทำลายป่า เพราะจะทำให้เกิดปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมตามมาในอนาคต และขอให้รัฐบาลยกเลิกการสร้างเขื่อนแม่วงก์ รวมทั้งยุติการผลักดันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่ออนาคตของลูกหลาน และเพื่อป่าไม้ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของมวลมนุษยชาติ
กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า เสนอให้รัฐดำเนินการพัฒนาแก้มลิง พัฒนาระบบเหมืองฝาย โดยใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชนเป็นหลักการสำคัญ พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วทุกพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้เลยภายในหนึ่งปี ทั้งยังส่งกระทบน้อยมากต่อป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งใช้งบประมาณน้อยกว่าเขื่อนขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นการกระจายการจัดการน้ำให้ทุกพื้นที่ได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างแท้จริง ที่สำคัญที่สุด รัฐต้องทำหน้าที่ปกป้องรักษาป่าที่เหลืออยู่อย่าเข้มงวด และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้กลับมาทำหน้าที่รักษาสมดุลธรรมชาติ เพื่ออนาคตของลูกหลานสืบไป...
3...
สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นั้น หากมองแบบลวกๆ อาจจะโทษฟ้าโทษฝน ว่า ไม่เป็นใจต่อเมืองไทยตกหนักมามากเกินไป แต่ถ้ามองกันลึกๆ แล้วปัจจัยหลักของการเกิดน้ำท่วมใหญ่มาจากการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดของรัฐบาลเป็นหลัก
แต่ประทานโทษ!?! พวกนักการเมืองไม่เคยหันมาสำรวจความผิดพลาดของตัวเอง พวกนี้คิดอยู่อย่างเดียวว่าจะหากินกับโครงการใหญ่โดยอ้างเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างไร
ขณะที่เรื่องของการสร้างเขื่อนนั้น บทพิสูจน์ว่า ที่ผ่านมา ประเทศเรามีการสร้างเขื่อนมามากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ เพราะเราได้ทำลายป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ดูดซับน้ำ และชะลอน้ำตามธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก
ที่สำคัญคือ เบื้องหลังของการตัดไม้ทำลายป่าในบ้านเรา หลายเหตุการณ์มีเบื้องหลังมาจากนักการเมืองนั่นเอง
4...
หลังลงจากยอดโมโกจู ได้เวลาต้องล่ำลาจากผืนป่าแม่วงก์ พี่ทิดบอกกับผมด้วยความหวังดีว่า ถ้าปีนี้(2555) เกิดวิกฤติน้ำท่วมอีกให้ขึ้นไปอยู่กับเขาที่แม่วงก์ได้ เพราะในปีที่แล้วบ้านผมที่บางพลัดโดนน้ำท่วมหนักสูงถึงคอ
ครับ เรื่องนี้ผมมิอาจคาดเดาในอนาคตได้ จึงได้แต่เอ่ยปากกล่าวขอบคุณในความหวังดีของพี่ทิดไป
กระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่มีมติ ครม.ให้สร้างเขื่อนขึ้นมา ผมรู้สึกว่าเหตุการณ์มันกลับตาลปัตรจากป่าแม่วงก์ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมก็จะถูกน้ำท่วมกลายเป็นทะเลสาบขึ้นมา
แล้วเมื่อนั้น (วันที่ผมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น) ยอดเขาโมโกจูเหนือ “ทะเลบล็อกโคลี่” ก็จะกลายเป็นยอดเขาเหนือ “ทะเลสาบ”
นับเป็นความมหัศจรรย์เมืองไทย
และนับเป็นอีกหนึ่งผลงานอันน่าอัปยศของนักการเมืองบ้านเรา
ปลายปี 54 ช่วงก่อนวันปีใหม่เพียงไม่กี่วัน...
ผมและคณะภายใต้การนำของ “พี่ทิด -อาทิตย์ แสงจันทร์”กับ “พี่ตอน-ไหนจ้อย แซ่เติ๋น” สองเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า มือฉมังแห่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ได้ใช้เวลา 3 วันเต็มๆ เดินสมบุกสมบันบุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงเขา ข้ามลำห้วย ปีนป่าย ขึ้นไปเป็นผู้พิชิตยอดเขา “โมโกจู” แห่งอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หนึ่งในยอดเขาที่ได้ชื่อว่าโหดที่สุดในประเทศไทย
ครั้นเมื่อสามารถลุยขึ้นไปถึงบนยอดได้ ความท้อแท้ ความเหน็ดเหนื่อย มลายหายไปกลายเป็นความยินดี ความภาคภูมิใจที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราสามารถเอาชนะอุปสรรคความยากลำบากต่างๆ ขึ้นไปยืนอยู่บนนั้น
โดยชัยชนะที่สำคัญนั้นก็คือการเอาชนะใจตัวเองนั่นเอง
1...
ยอดเขาโมโกจู ตั้งอยู่บนบนระดับความสูง 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเล มี “หินเรือใบ” เป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่น บนนี้ให้ความรู้สึกดังรอยต่อของสวรรค์กับโลกมนุษย์ ซึ่งหากสวรรค์มีจริงเราขึ้นสูงทะลุฟ้าไปก็จะเป็นที่อยู่ของเหล่านางฟ้า เทวดา ส่วนถ้าเดินกลับลงไปก็จะเป็นดินแดนของมนุษย์ที่ผมย่ำต๊อกเดินลุยขึ้นมา แต่ถ้าเกิดเล่นพิเรนทร์จนทำให้เกิดพลาดพลั้งตกยอดเขาไป หนทางหลังลาลับย่อมไม่พ้นการไปสวรรค์หรือลงนรก
เมื่อขึ้นมายืนบนยอดเขาโมโกจู ใกล้ชิดหินเรือใบ เราสามารถมองลงไปเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศารอบตัว ซึ่งนอกจากภาพอันน่ายลของขุนเขาน้อยใหญ่ ทะเลหมอกยามเช้า พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตกแล้ว ยังมีภาพความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่วงก์ ที่พี่ตอนแกเรียกว่าเป็น “ทะเลบล็อกโคลี่” เพราะมันเขียวขจีดูไกลๆ คล้ายแปลงบล็อกโคลี่ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมเป็นแผ่นผืนติดต่อกันไปลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศ
ทะเลบล็อกโคลี่ ถือเป็นความภาคภูมิใจของบรรดาพิทักษ์ป่าที่นี่ ที่สามารถดูแลรักษาป่าใหญ่ผืนนี้ไว้ให้ยังคงความสมบูรณ์เป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่สุดท้ายมันได้ถูกทำลายอย่างเลือดเย็นด้วยโครงการสร้าง “เขื่อนแม่วงก์” ที่ไม่นอกจากจะเป็นการทำลายความภาคภูมิใจของผู้พิทักษ์รักษาป่าที่นี่ทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้านแล้ว
นี่ยังถือเป็นหนึ่งในโครงการที่มีการทำลายป่าครั้งมโหฬารอีกครั้งหนึ่งของเมืองไทย
2...
ผืนป่าแม่วงก์ อยู่ภายใต้การดูแลอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปี 2530 มีพื้นที่ 558,750 ไร่ ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ นครสวรรค์ และ กำแพงเพชร
ป่าแม่วงก์ มีอาณาเขตติดกับ 2 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสำคัญ คือ “ห้วยขาแข้ง” (มรดกโลก)และอุ้มผาง ซึ่งชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่า ป่าแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 279,050 ไร่ อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนอีกประมาณ 279,700 ไร่ อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
ป่าแม่วงก์ เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตก ผืนป่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ถ้าเชื่อมรวมกับผืนป่าในพม่าที่มีอาณาเขตติดต่อกัน นี่คือ ผืนป่าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับต้นๆของเอเชีย ป่าใหญ่ผืนนี้
ภายในผืนป่าแม่วงก์ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และ นก ที่นี่มีสภาพของป่าอันหลากหลาย อาทิ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาสูง หรือป่าเมฆ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง อีกทั้งยังมีป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่
ขณะที่ทรัพยากรสัตว์ป่าที่แม่วงก์ มีการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน 22 ชนิด 11 วงศ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 7 ชนิด 4 วงศ์ ปลาน้ำจืด 68 ชนิด 14 วงศ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด 57 ชนิด 26 วงศ์ เช่น วัวแดง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว หมีหมา หมีควาย มี 3 ชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน คือ สมเสร็จ เลียงผา และ เก้งหม้อ โดยในเส้นทางเดินสู่ยอดโมโกจู ผมเห็นเงาไหวๆของเก้งกระโดดผ่านไป ซึ่ง พี่ทิด บอกว่า มันคือเก้งหม้อสัตว์หายากของเมืองไทย ด้านเหล่าพี่ลูกหาบก็พบกับวัวแดง 2 ตัว สวน ถุงเท้า แพมเพอร์ส ออกหากินในระหว่างทาง ส่วนที่พวกเราพบเห็นไปตลอดทาง ก็คือ รอยตีนเสือและขี้เสือ สัตว์ป่าที่เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ซึ่งป่าแม่วงก์ถือเป็นถิ่นที่อยู่ที่หากินของเสือโคร่งที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย
นอกจากนี้ ที่ป่าแม่วงก์ ยังเป็นแหล่งดูนกชั้นดีของเมืองไทย เพราะมีนกมากถึง 305 ชนิด 53 วงศ์ มีนกหายาก อาทิ นกเงือกคอแดง นกกาฮัง นกกระเต็นขาวใหญ่ นกแต้วแร้วใหญ่หัวสีน้ำตาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรของป่าแม่วงก์เหล่านี้ ดูจะไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรต่อประเทศนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ครม.ในวันที่ 10 เม.ย.55 อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
เรื่องนี้ทันทีที่เป็นข่าวออกมา ผู้รู้ทันอย่างสมาคมต่อต้านโลกร้อน ที่นำโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา ได้ออกมาแถลงการณ์คัดค้านทันที โดยเขาระบุว่า หากสร้างเขื่อนแม่วงก์เมืองไทยจะต้องสูญเสียพื้นที่ปาไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปกว่า 13,000 ไร่ ที่ถือเป็นพื้นที่ป่าไม้สักที่มีความหนาแน่นเป็นอันดับสองรองประเทศรองจากผืนป่าในอุทยานแห่งชาติแม่ยม (แก่งเสือเต้น) จ.แพร่ (หนึ่งในพื้นที่ที่ถูกเสนอให้สร้างเขื่อนเหมือนกัน) ซึ่งจะถูกนำมาเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ ในการทำสัมปทานไม้ที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาท
อีกทั้งการก่อสร้างเขื่อนยังเป็นการสร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเมินค่าไม่ได้
“แต่รัฐบาลยุคนี้ กลับใช้ข้ออ้างปัญหาน้ำท่วม เมื่อปี 2554 มาเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างความชอบธรรม ในการเร่งรีบการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยมิได้พิจารณาเลยว่า น้ำท่วมที่ผ่านมาเป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาลและหน่วยงานราชการทั้งระบบ มากกว่าการไม่มีเขื่อนต่างหาก” สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ระบุ
สำหรับโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้นไม่ได้มีเพิ่งไอเดียบรรเจิดมาในปีนี้ หลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว หากแต่มีแนวคิดมาตั้งแต่ปี 2528 แต่หลังจากการศึกษาผลดีผลเสียนับ 10 ปี ในปี 2545 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติไม่เห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมเสนอให้กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลับไปศึกษาเพิ่มเติม ในเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในลักษณะบูรณาการมากกว่าที่จะเสนอให้มีการสร้างเขื่อนเป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ สมาคมต่อต้านโลกร้อน ยังตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อมีการเสนอโครงการนี้ใหม่ๆ ในช่วงปี 2528 กรมชลประทานเสนอใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 3,187 ล้านบาท มีความจุของน้ำเหนือเขื่อน 380 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่พอมาเดือนสิงหาคม 2554 กรมชลประทานเพิ่มงบประมาณเป็น 9,629 ล้านบาท โดยลดความจุของน้ำเหนือเขื่อนเหลือ 258 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 8 เดือน กลับมีการเพิ่มงบประมาณในการก่อสร้างไปถึง 13,000 ล้านบาท อันเป็นข้อน่าสงสัยว่า จะเป็นโครงการผลาญงบประมาณของชาติอีกโครงการหนึ่ง จากเงินกู้ 3.5 แสนล้านหรือไม่
ด้าน กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ชาวบ้านจาก ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ที่เป็นกลุ่มองค์กรชาวบ้านที่พิทักษ์ต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมาอย่างยาวนาน ก็ถือเป็นอีกกลุ่มที่ออกมาร่วมคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ด้วยอีกแรง โดยกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ได้ออกมาแถลงการณ์คัดค้าน พร้อมระบุว่า
...รัฐบาลไม่ควรกู้เงินมาทำลายป่า เพราะจะทำให้เกิดปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วมตามมาในอนาคต และขอให้รัฐบาลยกเลิกการสร้างเขื่อนแม่วงก์ รวมทั้งยุติการผลักดันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่ออนาคตของลูกหลาน และเพื่อป่าไม้ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของมวลมนุษยชาติ
กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า เสนอให้รัฐดำเนินการพัฒนาแก้มลิง พัฒนาระบบเหมืองฝาย โดยใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชนเป็นหลักการสำคัญ พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกระจายทั่วทุกพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้เลยภายในหนึ่งปี ทั้งยังส่งกระทบน้อยมากต่อป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งใช้งบประมาณน้อยกว่าเขื่อนขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นการกระจายการจัดการน้ำให้ทุกพื้นที่ได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างแท้จริง ที่สำคัญที่สุด รัฐต้องทำหน้าที่ปกป้องรักษาป่าที่เหลืออยู่อย่าเข้มงวด และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้กลับมาทำหน้าที่รักษาสมดุลธรรมชาติ เพื่ออนาคตของลูกหลานสืบไป...
3...
สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นั้น หากมองแบบลวกๆ อาจจะโทษฟ้าโทษฝน ว่า ไม่เป็นใจต่อเมืองไทยตกหนักมามากเกินไป แต่ถ้ามองกันลึกๆ แล้วปัจจัยหลักของการเกิดน้ำท่วมใหญ่มาจากการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดของรัฐบาลเป็นหลัก
แต่ประทานโทษ!?! พวกนักการเมืองไม่เคยหันมาสำรวจความผิดพลาดของตัวเอง พวกนี้คิดอยู่อย่างเดียวว่าจะหากินกับโครงการใหญ่โดยอ้างเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างไร
ขณะที่เรื่องของการสร้างเขื่อนนั้น บทพิสูจน์ว่า ที่ผ่านมา ประเทศเรามีการสร้างเขื่อนมามากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ เพราะเราได้ทำลายป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ดูดซับน้ำ และชะลอน้ำตามธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก
ที่สำคัญคือ เบื้องหลังของการตัดไม้ทำลายป่าในบ้านเรา หลายเหตุการณ์มีเบื้องหลังมาจากนักการเมืองนั่นเอง
4...
หลังลงจากยอดโมโกจู ได้เวลาต้องล่ำลาจากผืนป่าแม่วงก์ พี่ทิดบอกกับผมด้วยความหวังดีว่า ถ้าปีนี้(2555) เกิดวิกฤติน้ำท่วมอีกให้ขึ้นไปอยู่กับเขาที่แม่วงก์ได้ เพราะในปีที่แล้วบ้านผมที่บางพลัดโดนน้ำท่วมหนักสูงถึงคอ
ครับ เรื่องนี้ผมมิอาจคาดเดาในอนาคตได้ จึงได้แต่เอ่ยปากกล่าวขอบคุณในความหวังดีของพี่ทิดไป
กระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่มีมติ ครม.ให้สร้างเขื่อนขึ้นมา ผมรู้สึกว่าเหตุการณ์มันกลับตาลปัตรจากป่าแม่วงก์ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมก็จะถูกน้ำท่วมกลายเป็นทะเลสาบขึ้นมา
แล้วเมื่อนั้น (วันที่ผมไม่ต้องการให้เกิดขึ้น) ยอดเขาโมโกจูเหนือ “ทะเลบล็อกโคลี่” ก็จะกลายเป็นยอดเขาเหนือ “ทะเลสาบ”
นับเป็นความมหัศจรรย์เมืองไทย
และนับเป็นอีกหนึ่งผลงานอันน่าอัปยศของนักการเมืองบ้านเรา