โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

ฉันยังจำภาพ “สนามหลวง” ในสมัยที่ฉันเริ่มเข้ากรุงเทพฯใหม่ๆเมื่อหลายปีก่อนได้ ยามเย็นบนพื้นหญ้าเขียวกระดำกระด่างที่บริเวณโดยรอบคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มีทั้งมาต่อรถ มาพักผ่อน มาดูดวง มาเล่นว่าว และเด็กๆที่วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน ก่อนที่ทางกรุงเทพมหานคร(กทม.)จะปิดปรับปรุง เมื่อต้นปี 2553 และได้มีการเปิดให้ใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีท่ามกลางความเขียวขจีของสนามหญ้าและความสวยงามของสนามหลวงโฉมใหม่ ที่แห่งนี้ถือเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่ว่าง(Open space)สาธารณะประโยชน์ที่อยู่คู่กับคนกรุงมาช้านาน ถูกใช้ ถูกปรับเปลี่ยน(พื้นที่ใช้สอย) และถูกยึด มาหลายต่อหลายรุ่น
โดยกำเนิดของท้องสนามหลวง หรือ “ทุ่งพระเมรุ”นั้น เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินพระราชหฤทัยย้ายพระนครมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ฝั่งเดียวนั้น พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะรังสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นปึกแผ่นเกรียงไกรเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา และสืบทอดโบราณราชประเพณีอันยิ่งใหญ่

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขอบเขตพระบรมมหาราชวังขึ้น และเว้นพื้นที่ที่มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ระหว่างพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง กับพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าไว้ เพื่อสร้างพระเมรุมาศอันงามวิจิตรสำหรับประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุส่งเสด็จองค์สมมุติเทพและพระบรมวงศ์ชั้นสูงคืนสู่สวรรคาลัย และประกอบพระราชพิธีสำคัญของพระนคร
สำหรับพระเมรุมาศอันงามวิจิตรที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกบนพื้นที่แห่งนี้คือ พระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และยังโปรดเกล้าฯให้มีการถวายพระเกียรติยศเฉกเช่นการออกพระเมรุของพระเจ้าแผ่นดินเมื่อครั้งกรุงเก่า ทั้งการบำเพ็ญพระราชกุสลและมหรสพนานาชนิด
ในครั้งนั้นพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างหลั่งไหลมาร่วมงานพระราชพิธี และรื่นเริงกับมหรสพอันหลากหลายรายล้อมรอบพระเมรุ และได้ร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยด้วยความจงรักภักดี และนับแต่นั้นเป็นต้นมา พื้นที่หน้าพระบรมมหาราชวังจึงได้รับการขนานนามว่า “ทุ่งพระเมรุ”

มาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริว่าทุ่งพระเมรุเมื่อว่างเว้นจากการพระราชพิธีก็เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้พื้นที่นี้ปลูกข้าวทำนาหลวง ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าชื่อที่ผู้คนเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ซึ่งนานๆจะมีงานพระเมรุครั้ง เป็นชื่อที่ฟังดูไม่ดี จึงได้พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง” เมื่อ พ.ศ.2398
และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีและประเพณีสำคัญของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ.2425 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี และงานแสดงสินค้านาเชอนนัล เอกฮิบิเชน (National Exhibition) ซึ่งถือเป็นการประกาศความเจริญของประเทศให้ประจักษ์แก่สายตานานาชาติ
ในปี พ.ศ.2440 ท้องสนามหลวงยังถูกใช้เป็นที่ตั้งเวทีขนาดใหญ่สำหรับการรับเสด็จ ร.5 เสด็จกลับจากยุโรปครั้งแรก มาใน พ.ศ.2442 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนราชดำเนิน ปรับรูปลักษณ์ของท้องสนามหลวงให้เป็นวงรีสวยงามดังเช่นจัตุรัสเมืองในเมืองหลวงสำคัญๆของประเทศยุโรป และทรงให้ปลูกต้นมะขามเรียงคู่เป็น 2 แถวโดยรอบเพื่อความร่มรื่นสวยงาม และสื่อถึงความน่าเกรงขาม

นอกจากนี้ยังใช้ท้องสนามหลวงเป็นที่เล่นว่าวซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย ร.4 แต่ไม่นิยมนัก ใช้เป็นสนามแข่งม้าแห่งแรกของสยาม และยังพระราชทานสนามหลวง สนามหน้าศาลสถิตบุติธรรม และสนามไชยให้เป็นสนามกอล์ฟแห่งแรกของสยามอีกด้วย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2455 ท้องสนามหลวงได้บทบาทใหม่ในการเป็นท้องพระโรงกลางแจ้ง สถานที่เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชของพระองค์เอง ซึ่งทำให้พสกนิกรชาวไทยได้แสดงความจงรักภักดีและชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด

ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้จัดพื้นที่สนามหลวงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันรถยนต์ครั้งแรกในสยาม และเมื่อกีฬาฟุตบอลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเหล่าทหารกรมกองต่างๆ จึงได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงสำหรับฝึกซ้อมฟุตบอลด้วย
มาในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ.2475 ทรงโปรดให้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี มีการสวนสนาม พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแห่เหล่าทหาร และเสด็จออกมหาสมาคม ทรงรับการถวายพระพรชัยมงคลจากพสกนิกร

ต่อมาเมื่อ ปี 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศ หลายพื้นที่ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารวมถึงท้องสนามหลวงก็ได้ถูกท่วมจนสามารถนำเรือออกมาพายได้ ถัดมาใน พ.ศ.2489 ในสมัยของรัชกาลที่ 8 พระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสวนสนามของทหารสหประชาชาติ ณ ท้องสนามหลวงแห่งนี้
จนมาในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ในพ.ศ.2491 สนามหลวงถูกใช้เป็นตลาดนัดหลังบ้านเมืองเข้าสู่วิกฤตผลพวงจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และย้ายไปบริเวณพหลโยธินเมื่อ พ.ศ.2524 อันเป็นจุดกำเนิดของตลาดนัดจตุจักรในปัจจุบัน

ใน พ.ศ.2525 ท้องสนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ต่อมาใน พ.ศ.2530 ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จนเมื่อ พ.ศ.2539 ท้องสนามหลวงก็ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และในปีเดียวกันก็ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ประกอบพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ซึ่งถือเป็นการครองราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2551 สนามหลวงได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และถือเป็นงานพระราชพิธีสุดท้ายก่อนจะปิดสนามหลวงชั่วคราว

โดยการปิดท้องสนามหลวงเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์เริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. 2553 เป็นต้นมา ซึ่งได้ส่งมอบให้ทหารเข้าปรับปรุงภูมิทัศน์ และแล้วเสร็จและส่งมอบให้กรุงเทพมหานครพร้อมทั้งเปิดสนามหลวงอีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา
สำหรับ "ท้องสนามหลวงโฉมใหม่" นี้ มีการปรับภูมิทัศน์ให้สดใสโดยคืนพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกหญ้านวลน้อย และวางระบบรดน้ำอัตโนมัติเพื่อบำรุงรักษาหญ้าให้เขียนขจีตลอดปี และยังประดับไม้พุ่มไม้ดอกเพื่อความสดชื่นสวยงาม มีการจัดการกับปัญหาน้ำท่วมขังด้วยระบบระบายน้ำ 3 ระดับ ตั้งแต่ระบายน้ำผิวดินผ่านท่อเป็นวงแบบก้างปลาลงสู่รางระบายน้ำหลักรูปตัวยู เพื่อไหลออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะต่อไป

สำหรับทางเดินก็ได้ปรับโฉมทางเดินใหม่ใส่ใจผู้เดินเท้า ด้วยการสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และปูแผ่นกระเบื้องใหม่ พร้อมซ่อมแซมผิวทางเท้าด้านนอกสนามหลวง รวมทั้งขยายถนนสายกลางเพิ่มเป็น 30 เมตร ในยามค่ำคืนก็สว่างไสวไปด้วยระบบไฟฟ้าที่มีการจัดระเบียบสายไฟลงใต้ดินทั้งหมด พร้อมติดตั้งเสาไฟไล่ระดับเพิ่มแสงสว่างทั่วบริเวณสนามหลวงเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาในเวลากลางคืนได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังติดตั้งกล้องวงจรปิด 2 ระดับ โดยรอบสนามหลวงอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสนามหลวง อาทิ จุดบริการน้ำดื่ม ม้านั่งรอบบริเวณ และทางลาดสำหรับผู้พิการ เป็นต้น และยังได้มีการทำการกำหนดสัดส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่สนามหลวงอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนแรก คือบริเวณพื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้ติดกับพระบรมมหาราชวัง จัดไว้สำหรับงานพระราชพิธี ส่วนที่สองคือด้านทิศเหนือ ด้านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ และในส่วนสุดท้ายคือ ถนนเส้นกลาง สำหรับใช้เป็นทางลาดพระบาทเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และใช้จัดกิจกรรมประเพณีตามโอกาสสำคัญ
ใครที่อยากยลโฉมใหม่ของ "ท้องสนามหลวง" แห่งนี้ ก็สามารถแวะเวียนมากันได้ กทม.เขายังเปิดให้มาพักผ่อนหย่อนใจได้เหมือนเดิม
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“ท้องสนามหลวง” เปิดเวลา 05.00-22.00 น. โดยมีข้อกำหนดดังนี้ ห้ามขายหรือจำหน่ายสินค้า, ห้ามนอน, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย, ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ห้ามอาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใดๆ, ห้ามขูด กะเทาะ ขีดเขียน พ่นสี, ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ด หรือกระทำด้วยประการใดๆให้เกิดความเสียหาย, ห้ามปีนป่าย นั่ง หรือขึ้นไปบนรั้ว หรือต้นไม้, ห้ามเล่นฟุตบอล ตะกร้อ หรือจัดการแข่งขันกีฬาทุกชนิด, ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด, ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด, ห้ามเสพหรือใช้สารเสพติดทุกชนิด และห้ามสูบบุหรี่
ส่วนกิจกรรมที่อนุญาต : สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย, จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ทั่วไป โดยต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจแอบแฝง ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง โดยหน่วยงานหรือองค์กรใดมีความประสงค์จะขอใช้พื้นที่ ต้องยื่นหนังสือขออนุญาตต่อสำนักงานเขตพระนครล่วงหน้าก่อนจัดงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตาม พรบ.โบราณสถาน จำคุก 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในช่วงนี้ได้จัดนิทรรศการท้องสนามหลวงจากอดีตถึงปัจจุบันไว้ภายในโดมชั่วคราวจนถึงวันที่11 ก.ย. 54
ฉันยังจำภาพ “สนามหลวง” ในสมัยที่ฉันเริ่มเข้ากรุงเทพฯใหม่ๆเมื่อหลายปีก่อนได้ ยามเย็นบนพื้นหญ้าเขียวกระดำกระด่างที่บริเวณโดยรอบคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มีทั้งมาต่อรถ มาพักผ่อน มาดูดวง มาเล่นว่าว และเด็กๆที่วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน ก่อนที่ทางกรุงเทพมหานคร(กทม.)จะปิดปรับปรุง เมื่อต้นปี 2553 และได้มีการเปิดให้ใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดีท่ามกลางความเขียวขจีของสนามหญ้าและความสวยงามของสนามหลวงโฉมใหม่ ที่แห่งนี้ถือเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่ว่าง(Open space)สาธารณะประโยชน์ที่อยู่คู่กับคนกรุงมาช้านาน ถูกใช้ ถูกปรับเปลี่ยน(พื้นที่ใช้สอย) และถูกยึด มาหลายต่อหลายรุ่น
โดยกำเนิดของท้องสนามหลวง หรือ “ทุ่งพระเมรุ”นั้น เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินพระราชหฤทัยย้ายพระนครมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ฝั่งเดียวนั้น พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะรังสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นปึกแผ่นเกรียงไกรเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา และสืบทอดโบราณราชประเพณีอันยิ่งใหญ่
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขอบเขตพระบรมมหาราชวังขึ้น และเว้นพื้นที่ที่มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ระหว่างพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง กับพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าไว้ เพื่อสร้างพระเมรุมาศอันงามวิจิตรสำหรับประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุส่งเสด็จองค์สมมุติเทพและพระบรมวงศ์ชั้นสูงคืนสู่สวรรคาลัย และประกอบพระราชพิธีสำคัญของพระนคร
สำหรับพระเมรุมาศอันงามวิจิตรที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกบนพื้นที่แห่งนี้คือ พระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และยังโปรดเกล้าฯให้มีการถวายพระเกียรติยศเฉกเช่นการออกพระเมรุของพระเจ้าแผ่นดินเมื่อครั้งกรุงเก่า ทั้งการบำเพ็ญพระราชกุสลและมหรสพนานาชนิด
ในครั้งนั้นพสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างหลั่งไหลมาร่วมงานพระราชพิธี และรื่นเริงกับมหรสพอันหลากหลายรายล้อมรอบพระเมรุ และได้ร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยด้วยความจงรักภักดี และนับแต่นั้นเป็นต้นมา พื้นที่หน้าพระบรมมหาราชวังจึงได้รับการขนานนามว่า “ทุ่งพระเมรุ”
มาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริว่าทุ่งพระเมรุเมื่อว่างเว้นจากการพระราชพิธีก็เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้พื้นที่นี้ปลูกข้าวทำนาหลวง ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าชื่อที่ผู้คนเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ซึ่งนานๆจะมีงานพระเมรุครั้ง เป็นชื่อที่ฟังดูไม่ดี จึงได้พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง” เมื่อ พ.ศ.2398
และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีและประเพณีสำคัญของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ.2425 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี และงานแสดงสินค้านาเชอนนัล เอกฮิบิเชน (National Exhibition) ซึ่งถือเป็นการประกาศความเจริญของประเทศให้ประจักษ์แก่สายตานานาชาติ
ในปี พ.ศ.2440 ท้องสนามหลวงยังถูกใช้เป็นที่ตั้งเวทีขนาดใหญ่สำหรับการรับเสด็จ ร.5 เสด็จกลับจากยุโรปครั้งแรก มาใน พ.ศ.2442 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตัดถนนราชดำเนิน ปรับรูปลักษณ์ของท้องสนามหลวงให้เป็นวงรีสวยงามดังเช่นจัตุรัสเมืองในเมืองหลวงสำคัญๆของประเทศยุโรป และทรงให้ปลูกต้นมะขามเรียงคู่เป็น 2 แถวโดยรอบเพื่อความร่มรื่นสวยงาม และสื่อถึงความน่าเกรงขาม
นอกจากนี้ยังใช้ท้องสนามหลวงเป็นที่เล่นว่าวซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย ร.4 แต่ไม่นิยมนัก ใช้เป็นสนามแข่งม้าแห่งแรกของสยาม และยังพระราชทานสนามหลวง สนามหน้าศาลสถิตบุติธรรม และสนามไชยให้เป็นสนามกอล์ฟแห่งแรกของสยามอีกด้วย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2455 ท้องสนามหลวงได้บทบาทใหม่ในการเป็นท้องพระโรงกลางแจ้ง สถานที่เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชของพระองค์เอง ซึ่งทำให้พสกนิกรชาวไทยได้แสดงความจงรักภักดีและชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด
ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้จัดพื้นที่สนามหลวงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันรถยนต์ครั้งแรกในสยาม และเมื่อกีฬาฟุตบอลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเหล่าทหารกรมกองต่างๆ จึงได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงสำหรับฝึกซ้อมฟุตบอลด้วย
มาในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ.2475 ทรงโปรดให้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี มีการสวนสนาม พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแห่เหล่าทหาร และเสด็จออกมหาสมาคม ทรงรับการถวายพระพรชัยมงคลจากพสกนิกร
ต่อมาเมื่อ ปี 2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศ หลายพื้นที่ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารวมถึงท้องสนามหลวงก็ได้ถูกท่วมจนสามารถนำเรือออกมาพายได้ ถัดมาใน พ.ศ.2489 ในสมัยของรัชกาลที่ 8 พระองค์เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสวนสนามของทหารสหประชาชาติ ณ ท้องสนามหลวงแห่งนี้
จนมาในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ในพ.ศ.2491 สนามหลวงถูกใช้เป็นตลาดนัดหลังบ้านเมืองเข้าสู่วิกฤตผลพวงจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และย้ายไปบริเวณพหลโยธินเมื่อ พ.ศ.2524 อันเป็นจุดกำเนิดของตลาดนัดจตุจักรในปัจจุบัน
ใน พ.ศ.2525 ท้องสนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ต่อมาใน พ.ศ.2530 ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จนเมื่อ พ.ศ.2539 ท้องสนามหลวงก็ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และในปีเดียวกันก็ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ประกอบพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ซึ่งถือเป็นการครองราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2551 สนามหลวงได้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และถือเป็นงานพระราชพิธีสุดท้ายก่อนจะปิดสนามหลวงชั่วคราว
โดยการปิดท้องสนามหลวงเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์เริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. 2553 เป็นต้นมา ซึ่งได้ส่งมอบให้ทหารเข้าปรับปรุงภูมิทัศน์ และแล้วเสร็จและส่งมอบให้กรุงเทพมหานครพร้อมทั้งเปิดสนามหลวงอีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา
สำหรับ "ท้องสนามหลวงโฉมใหม่" นี้ มีการปรับภูมิทัศน์ให้สดใสโดยคืนพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกหญ้านวลน้อย และวางระบบรดน้ำอัตโนมัติเพื่อบำรุงรักษาหญ้าให้เขียนขจีตลอดปี และยังประดับไม้พุ่มไม้ดอกเพื่อความสดชื่นสวยงาม มีการจัดการกับปัญหาน้ำท่วมขังด้วยระบบระบายน้ำ 3 ระดับ ตั้งแต่ระบายน้ำผิวดินผ่านท่อเป็นวงแบบก้างปลาลงสู่รางระบายน้ำหลักรูปตัวยู เพื่อไหลออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะต่อไป
สำหรับทางเดินก็ได้ปรับโฉมทางเดินใหม่ใส่ใจผู้เดินเท้า ด้วยการสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และปูแผ่นกระเบื้องใหม่ พร้อมซ่อมแซมผิวทางเท้าด้านนอกสนามหลวง รวมทั้งขยายถนนสายกลางเพิ่มเป็น 30 เมตร ในยามค่ำคืนก็สว่างไสวไปด้วยระบบไฟฟ้าที่มีการจัดระเบียบสายไฟลงใต้ดินทั้งหมด พร้อมติดตั้งเสาไฟไล่ระดับเพิ่มแสงสว่างทั่วบริเวณสนามหลวงเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาในเวลากลางคืนได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังติดตั้งกล้องวงจรปิด 2 ระดับ โดยรอบสนามหลวงอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสนามหลวง อาทิ จุดบริการน้ำดื่ม ม้านั่งรอบบริเวณ และทางลาดสำหรับผู้พิการ เป็นต้น และยังได้มีการทำการกำหนดสัดส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่สนามหลวงอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก คือบริเวณพื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้ติดกับพระบรมมหาราชวัง จัดไว้สำหรับงานพระราชพิธี ส่วนที่สองคือด้านทิศเหนือ ด้านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ และในส่วนสุดท้ายคือ ถนนเส้นกลาง สำหรับใช้เป็นทางลาดพระบาทเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และใช้จัดกิจกรรมประเพณีตามโอกาสสำคัญ
ใครที่อยากยลโฉมใหม่ของ "ท้องสนามหลวง" แห่งนี้ ก็สามารถแวะเวียนมากันได้ กทม.เขายังเปิดให้มาพักผ่อนหย่อนใจได้เหมือนเดิม
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“ท้องสนามหลวง” เปิดเวลา 05.00-22.00 น. โดยมีข้อกำหนดดังนี้ ห้ามขายหรือจำหน่ายสินค้า, ห้ามนอน, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย, ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ห้ามอาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใดๆ, ห้ามขูด กะเทาะ ขีดเขียน พ่นสี, ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ด หรือกระทำด้วยประการใดๆให้เกิดความเสียหาย, ห้ามปีนป่าย นั่ง หรือขึ้นไปบนรั้ว หรือต้นไม้, ห้ามเล่นฟุตบอล ตะกร้อ หรือจัดการแข่งขันกีฬาทุกชนิด, ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด, ห้ามดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด, ห้ามเสพหรือใช้สารเสพติดทุกชนิด และห้ามสูบบุหรี่
ส่วนกิจกรรมที่อนุญาต : สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย, จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ทั่วไป โดยต้องเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจแอบแฝง ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง โดยหน่วยงานหรือองค์กรใดมีความประสงค์จะขอใช้พื้นที่ ต้องยื่นหนังสือขออนุญาตต่อสำนักงานเขตพระนครล่วงหน้าก่อนจัดงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตาม พรบ.โบราณสถาน จำคุก 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในช่วงนี้ได้จัดนิทรรศการท้องสนามหลวงจากอดีตถึงปัจจุบันไว้ภายในโดมชั่วคราวจนถึงวันที่11 ก.ย. 54