โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ชาวกรุงและจังหวัดใกล้เคียง ใครยังไม่มีโปรแกรมไปไหนยกมือขึ้น
ฉันเองพอถึงวันหยุดทีไรก็มักจะหาที่เที่ยวออกไปสำราญกายใจหากำไรให้ชีวิตอยู่เนืองๆ และในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาฉันก็ได้โอกาสออกไปลุยเที่ยวรอบๆกรุงยัง “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” ที่จังหวัดนนทบุรีนี่เอง
การเดินทางมายังวัดแห่งนี้ ฉันมาทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีขาออก เลี้ยวเข้าเส้นราชพฤกษ์แล้วตรงมาเรื่อยๆผ่านวงเวียนผ่านรัตนาธิเบศร์ไปจนเกือบจะถึงสะพานพระราม 4 จะเห็นทางเข้าวัดใหญ่สว่างอารมณ์อยู่ฝั่งตรงข้าม ตรงเข้าไปในซอยเรื่อยๆก็จะมาถึงทางเข้าวัดพอดิบพอดี
สำหรับวัดใหญ่สว่างอารมณ์ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนปลายราว พ.ศ. 1963 แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อว่า วัดน้อย เพราะเรียกตามที่ตั้งที่อยู่ติดคลองบางน้อย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ยิ่ง จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนมาเป็นชื่อ วัดใหญ่บางน้อย เพราะมีเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อน้อย
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2463 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาพักผ่อนอริยบทพร้อมประทับ ณ ตำหนักชั่วคราวที่ข้าหลวงประจำจังหวัดสร้างถวายเป็นเวลาหลายวัน และทรงพอพระทัยในพระตำหนักที่พัก ทรงมีพระอารมณ์ผ่องใสพร้อมทั้งสุขภาพและพลานามัยดีขึ้น จึงได้ขนานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระตำหนักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรุดโทรมมากทางวัดจึงรื้อลง
เมื่อมาถึงวัดเราก็พลาดไม่ได้ที่จะต้องกราบไหว้พระขอพรให้สราญใจกันก่อน ภายใน “พระอุโบสถ” ทรงไทยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 4 ศอก ทำจากศิลาแลง ปางสมาธิ สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานของอุโบสถ ส่วนวิหารที่อยู่ข้างกันนั้น เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนล้าน” ที่ประชาชนนิยมมากราบไหว้ขอพร และเสี่ยงเซียมซีขอโชคลาภ
ใกล้กันเป็น “หอระฆังสูง” ที่มีลักษณะทรงไทยดูอ่อนช้อยสวยงาม ถัดไปเป็น “มณฑปหลวงพ่อกุหลาบ ธัมมวิริโย” อดีตเจ้าอาวาส หรือพระนันทวิริยาจารย์ (พ.ศ. 2443-2519) ซึ่งถือเป็นพระเกจิชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมวัตถุบูชา ว่ากันว่าท่านเป็นศิษย์สายสมเด็จนวม วัดอนงค์ฯ ท่านได้เป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องครั้งสำคัญๆ ของจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา จนหลวงปู่กุหลาบมรณภาพในปี พ.ศ. 2530 พระเครื่องของท่านที่ได้รับความนิยม เช่น พระลอย เหรียญรูปเหมือน และพระปรกใบมะขาม
เลยไปอีกนิดคือ“ศาลาการเปรียญ” ที่หน้าบันทำเป็นรูปพานแว่นฟ้าสองชั้น มีสมุดไทยวางอยู่บนพาน และดูแปลกตากว่าที่เคยเห็นที่วัดอื่นๆ ส่วนอาคารที่น่าสนใจอีหลังก็คือ “อาคารทรงปั้นหยา” ที่ใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นเตี้ยๆ ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยหลังคาทรงปั้นหยาแล้ว ลายฉลุไม้ที่น่าต่างก็เสริมให้อาคารเล็กๆหลังนี้ดูน่ารักดึงดูดสายตามากทีเดียว
ผู้ที่มาเยือนวัดใหญ่สว่างอารมณ์แห่งนี้ นอกจากจะได้ไหว้พระขอพร ชมสถาปัตยกรรมที่สวยงาม หรือร่วมทำบุญบริจาคโลงศพ สะเดาะเคราะห์ ปล่อยหอยปล่อยปลา ให้อาหารปลา ให้ผ่องแผ้วสบายใจแล้ว ก็ยังสามารถมาสรรหาความสุขใส่ท้องที่ “ตลาดริมน้ำ” ที่อยู่ติดกับตลาดแห่งนี้ได้ ซึ่ง คุณสนั่น โตเสือ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาสังคม อบจ.นนทบุรี เล่าให้ฉันฟังว่า แต่เดิมมีตลาดของชาวบ้านที่ค้าขายแลกเปลี่ยนผลผลิตจากสวนกันมาแต่โบราณ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปตลาดของชาวบ้านก็เริ่มวายลงจนหมดไปสักพักใหญ่
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา ทาง อบจ. ก็ได้เข้าไปจัดกิจกรรมงานทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้สวนที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรี ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับจากชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมากมาย ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และบวกกับสถานที่เอื้ออำนวย ทางอบจ. จึงได้จัดฟี้นตลาดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552
โดยมีวัตถุประสงค์จะทำเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับชาวบ้านในละแวก และนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมา ไม่ใช่ตลาดที่คนพลุกพล่าน ต้องการให้ครอบครัวพาลูกหลาน หรือปู่ย่าตายายมาเข้าวัด พร้อมทั้งพักผ่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแถมยังเลือกอิ่มท้องกลับบ้านได้อีกด้วย
จึงได้จัดทำศาลาทรงไทยไว้ 9 หลัง บริเวณริมน้ำ และม้าหินอีกส่วนหนึ่งให้ผู้ที่มาได้ผ่อนคลายอริยาบทกับอาหารการกินและรับลมชมวิวริมแม่น้ำ
ส่วนแม่ค้าก็เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นชาวบ้านในละแวกวัด บ้างก็เอาผักผลไม้สดๆจากสวนมาจำหน่ายตามฤดูกาล สินค้าหัตถกรรม เช่นพวกจักรสาน ร้านต้นไม้ดอกไม้ รวมถึงร้านอาหารการกินทั้งแบบอิ่มเดียวอยู่ หรือแบบกินเล่นทั้งคาวหวานก็มี เช่น บะหมี่เกี๊ยว หอยทอดผัดไทย เย็นตาโฟ ก๋วยจั๊บ น้ำชง น้ำอัดลมโบราณ ไข่นกกระทาครก ขนมครก ทอดมัน กล้วยทอดมันทอด เป็นต้น
และในทุกๆวันเสาร์และอาทิตย์ในบริเวณโดมของตลาดริมน้ำแห่งนี้ยังมีการประกวดมหกรรมดนตรีไทยชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จฯพระเทพฯ ให้ได้ฟังกันเป็นของแถมที่ไพเราะเสนาะหูกันจนถึงสิ้นปี 2554 นี้กันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ยังมีบริการล่องเรือไหว้พระ 9+1 วัด ฟรี วันละ 3 รอบด้วยกัน คือ รอบ 10.00, 11.00 และ 13.00 น. โดยจะเริ่มที่วัดใหญ่สว่างอารมณ์แห่งนี้ และเรือจะล่องต่อไปยังวัดบางจาก, วัดเสาธงทอง, วัดไผ่ล้อม, วัดปรมัยยิกาวาส, วัดฉิมพลีสุทธาวาส, วัดกลางเกร็ด, วัดเชิงเลน, วัดท่าอิฐ และวัดแสงสิริธรรม
เอาเป็นว่าวันหยุดคราวหน้า อยากหาที่สราญใจ “ตลาดริมน้ำและวัดใหญ่สว่างอารมณ์” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์" ตั้งอยู่ที่ ซ.วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ต.อ้อมเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เปิดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาประมาณ 9.00-16.00 น. การเดินทาง จากบรมราชชนนี ใช้เส้นราชพฤกษ์ ผ่านวงเวียนพระราม5 ผ่านทางต่างระดับรัตนาธิเบศร์ มุ่งหน้าถนนชัยพฤกษ์ ขับตามป้ายปากเกร็ดหรือสะพานพระราม4 (แต่ไม่ต้องข้ามสะพาน) ชิดซ้ายเพื่อกลับรถใต้สะพานพระราม4 เมื่อกลับรถมาแล้วจะพบทางเข้าวัดใหญ่สว่างอารมณ์ด้านซ้ายมือ(ใกล้ร้านก๋วยเตี๋ยวเต็กกอ) เลี้ยวซ้ายเข้าไปแล้วตรงไปตลอดทางจะเจอทางเข้าวัดพอดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบจ. นนทบุรี โทร.0-2591-6780
วันหยุดสุดสัปดาห์นี้ชาวกรุงและจังหวัดใกล้เคียง ใครยังไม่มีโปรแกรมไปไหนยกมือขึ้น
ฉันเองพอถึงวันหยุดทีไรก็มักจะหาที่เที่ยวออกไปสำราญกายใจหากำไรให้ชีวิตอยู่เนืองๆ และในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาฉันก็ได้โอกาสออกไปลุยเที่ยวรอบๆกรุงยัง “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” ที่จังหวัดนนทบุรีนี่เอง
การเดินทางมายังวัดแห่งนี้ ฉันมาทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรีขาออก เลี้ยวเข้าเส้นราชพฤกษ์แล้วตรงมาเรื่อยๆผ่านวงเวียนผ่านรัตนาธิเบศร์ไปจนเกือบจะถึงสะพานพระราม 4 จะเห็นทางเข้าวัดใหญ่สว่างอารมณ์อยู่ฝั่งตรงข้าม ตรงเข้าไปในซอยเรื่อยๆก็จะมาถึงทางเข้าวัดพอดิบพอดี
สำหรับวัดใหญ่สว่างอารมณ์ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนปลายราว พ.ศ. 1963 แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อว่า วัดน้อย เพราะเรียกตามที่ตั้งที่อยู่ติดคลองบางน้อย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ยิ่ง จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนมาเป็นชื่อ วัดใหญ่บางน้อย เพราะมีเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อน้อย
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2463 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เสด็จมาพักผ่อนอริยบทพร้อมประทับ ณ ตำหนักชั่วคราวที่ข้าหลวงประจำจังหวัดสร้างถวายเป็นเวลาหลายวัน และทรงพอพระทัยในพระตำหนักที่พัก ทรงมีพระอารมณ์ผ่องใสพร้อมทั้งสุขภาพและพลานามัยดีขึ้น จึงได้ขนานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระตำหนักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรุดโทรมมากทางวัดจึงรื้อลง
เมื่อมาถึงวัดเราก็พลาดไม่ได้ที่จะต้องกราบไหว้พระขอพรให้สราญใจกันก่อน ภายใน “พระอุโบสถ” ทรงไทยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 4 ศอก ทำจากศิลาแลง ปางสมาธิ สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานของอุโบสถ ส่วนวิหารที่อยู่ข้างกันนั้น เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนล้าน” ที่ประชาชนนิยมมากราบไหว้ขอพร และเสี่ยงเซียมซีขอโชคลาภ
ใกล้กันเป็น “หอระฆังสูง” ที่มีลักษณะทรงไทยดูอ่อนช้อยสวยงาม ถัดไปเป็น “มณฑปหลวงพ่อกุหลาบ ธัมมวิริโย” อดีตเจ้าอาวาส หรือพระนันทวิริยาจารย์ (พ.ศ. 2443-2519) ซึ่งถือเป็นพระเกจิชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมวัตถุบูชา ว่ากันว่าท่านเป็นศิษย์สายสมเด็จนวม วัดอนงค์ฯ ท่านได้เป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องครั้งสำคัญๆ ของจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา จนหลวงปู่กุหลาบมรณภาพในปี พ.ศ. 2530 พระเครื่องของท่านที่ได้รับความนิยม เช่น พระลอย เหรียญรูปเหมือน และพระปรกใบมะขาม
เลยไปอีกนิดคือ“ศาลาการเปรียญ” ที่หน้าบันทำเป็นรูปพานแว่นฟ้าสองชั้น มีสมุดไทยวางอยู่บนพาน และดูแปลกตากว่าที่เคยเห็นที่วัดอื่นๆ ส่วนอาคารที่น่าสนใจอีหลังก็คือ “อาคารทรงปั้นหยา” ที่ใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นเตี้ยๆ ซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยหลังคาทรงปั้นหยาแล้ว ลายฉลุไม้ที่น่าต่างก็เสริมให้อาคารเล็กๆหลังนี้ดูน่ารักดึงดูดสายตามากทีเดียว
ผู้ที่มาเยือนวัดใหญ่สว่างอารมณ์แห่งนี้ นอกจากจะได้ไหว้พระขอพร ชมสถาปัตยกรรมที่สวยงาม หรือร่วมทำบุญบริจาคโลงศพ สะเดาะเคราะห์ ปล่อยหอยปล่อยปลา ให้อาหารปลา ให้ผ่องแผ้วสบายใจแล้ว ก็ยังสามารถมาสรรหาความสุขใส่ท้องที่ “ตลาดริมน้ำ” ที่อยู่ติดกับตลาดแห่งนี้ได้ ซึ่ง คุณสนั่น โตเสือ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาสังคม อบจ.นนทบุรี เล่าให้ฉันฟังว่า แต่เดิมมีตลาดของชาวบ้านที่ค้าขายแลกเปลี่ยนผลผลิตจากสวนกันมาแต่โบราณ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปตลาดของชาวบ้านก็เริ่มวายลงจนหมดไปสักพักใหญ่
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา ทาง อบจ. ก็ได้เข้าไปจัดกิจกรรมงานทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้สวนที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรี ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับจากชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมากมาย ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และบวกกับสถานที่เอื้ออำนวย ทางอบจ. จึงได้จัดฟี้นตลาดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552
โดยมีวัตถุประสงค์จะทำเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับชาวบ้านในละแวก และนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมา ไม่ใช่ตลาดที่คนพลุกพล่าน ต้องการให้ครอบครัวพาลูกหลาน หรือปู่ย่าตายายมาเข้าวัด พร้อมทั้งพักผ่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแถมยังเลือกอิ่มท้องกลับบ้านได้อีกด้วย
จึงได้จัดทำศาลาทรงไทยไว้ 9 หลัง บริเวณริมน้ำ และม้าหินอีกส่วนหนึ่งให้ผู้ที่มาได้ผ่อนคลายอริยาบทกับอาหารการกินและรับลมชมวิวริมแม่น้ำ
ส่วนแม่ค้าก็เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นชาวบ้านในละแวกวัด บ้างก็เอาผักผลไม้สดๆจากสวนมาจำหน่ายตามฤดูกาล สินค้าหัตถกรรม เช่นพวกจักรสาน ร้านต้นไม้ดอกไม้ รวมถึงร้านอาหารการกินทั้งแบบอิ่มเดียวอยู่ หรือแบบกินเล่นทั้งคาวหวานก็มี เช่น บะหมี่เกี๊ยว หอยทอดผัดไทย เย็นตาโฟ ก๋วยจั๊บ น้ำชง น้ำอัดลมโบราณ ไข่นกกระทาครก ขนมครก ทอดมัน กล้วยทอดมันทอด เป็นต้น
และในทุกๆวันเสาร์และอาทิตย์ในบริเวณโดมของตลาดริมน้ำแห่งนี้ยังมีการประกวดมหกรรมดนตรีไทยชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จฯพระเทพฯ ให้ได้ฟังกันเป็นของแถมที่ไพเราะเสนาะหูกันจนถึงสิ้นปี 2554 นี้กันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ยังมีบริการล่องเรือไหว้พระ 9+1 วัด ฟรี วันละ 3 รอบด้วยกัน คือ รอบ 10.00, 11.00 และ 13.00 น. โดยจะเริ่มที่วัดใหญ่สว่างอารมณ์แห่งนี้ และเรือจะล่องต่อไปยังวัดบางจาก, วัดเสาธงทอง, วัดไผ่ล้อม, วัดปรมัยยิกาวาส, วัดฉิมพลีสุทธาวาส, วัดกลางเกร็ด, วัดเชิงเลน, วัดท่าอิฐ และวัดแสงสิริธรรม
เอาเป็นว่าวันหยุดคราวหน้า อยากหาที่สราญใจ “ตลาดริมน้ำและวัดใหญ่สว่างอารมณ์” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"ตลาดริมน้ำวัดใหญ่สว่างอารมณ์" ตั้งอยู่ที่ ซ.วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ต.อ้อมเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เปิดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลาประมาณ 9.00-16.00 น. การเดินทาง จากบรมราชชนนี ใช้เส้นราชพฤกษ์ ผ่านวงเวียนพระราม5 ผ่านทางต่างระดับรัตนาธิเบศร์ มุ่งหน้าถนนชัยพฤกษ์ ขับตามป้ายปากเกร็ดหรือสะพานพระราม4 (แต่ไม่ต้องข้ามสะพาน) ชิดซ้ายเพื่อกลับรถใต้สะพานพระราม4 เมื่อกลับรถมาแล้วจะพบทางเข้าวัดใหญ่สว่างอารมณ์ด้านซ้ายมือ(ใกล้ร้านก๋วยเตี๋ยวเต็กกอ) เลี้ยวซ้ายเข้าไปแล้วตรงไปตลอดทางจะเจอทางเข้าวัดพอดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อบจ. นนทบุรี โทร.0-2591-6780