โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
วันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์มีโปรแกรมไปไหนกันหรือเปล่า? ถ้ายังว่างๆไม่รู้จะไปไหนดีล่ะก็ตามมาทางนี้ ฉันมีที่เที่ยวกินช้อปพร้อมรับบุญใกล้กรุงมาแนะนำให้ได้อิ่มเอมกับวันหยุดกัน เพียงนั่งรถออกมาทางบางนานิดเดียวเท่านั้นก็เข้าสู่เขตจ.สมุทรปราการ จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่บางพลีเพื่อที่วันหยุดนี้เราจะมาเดินเล่นที่ “ตลาดโบราณบางพลี” อำเภอบางพลี กัน
แต่ก่อนที่จะเที่ยวกินช้อป ฉันขอไปกราบไหว้หลวงพ่อโตที่ “วัดบางพลีใหญ่ใน” ให้สบายจิตสบายใจเสียก่อน ซึ่งหลวงพ่อโตองค์นี้มีตำนานเล่ากันมาว่าเป็นพระ 3 พี่น้อง โดยเมื่อประมาณ 200 กว่าปีก่อนมีพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง 3 องค์ ประกอบด้วย หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ปางอุ้มบาตร หลวงพ่อโสธร ปางสมาธิ และหลวงพ่อโต ปางสมาธิ
พระพุทธรูปทั้งสามได้แสดงปาฏิหาริย์ โดยการลอยน้ำมาจากทางเหนือ ล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา พอถึงตำบลหนึ่งก็แสดงองค์ให้ประชาชนเห็น จึงอาราธนาพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำ โดยเกณฑ์จำนวนคนมาช่วยกันฉุดถึงสามแสนคน แต่ฉุดเท่าไรก็ไม่ขึ้น ต่อมาตำบลนี้จึงได้ชื่อว่าตำบลสามแสน แล้วกลายมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน
จนในที่สุดหลวงพ่อบ้านแหลม ได้ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม ส่วนหลวงพ่อโสธร กลับลอยทวนน้ำไปที่แม่น้ำบางปะกงถึงวัดเสาทอน หรือในปัจจุบันคือ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา และพระองค์สุดท้าย คือ หลวงพ่อโต ลอยเข้าไปในคลองสำโรง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ใน หรือ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม จ.สมุทรปราการ แต่บางตำนานก็ว่าพระที่ลอยตามน้ำมามีด้วยกัน 5 องค์ คือเพิ่มหลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไข่ขิง จ.นครปฐม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี เข้าไปด้วย
ส่วนตัววัดแห่งนี้ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ซึ่งเป็นคลองที่ขุดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสายสำคัญในสมัยที่ยังไม่มีถนนหนทาง จากจารึกโบราณกล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหลังเสียกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงออกรบกอบกู้เอกราชหลายครั้ง
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงยาตรากองทัพมาถึงที่แห่งนี้และทรงพยุดทัพพักไพร่พล และทรงได้ทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงตำรับพิชัยสงคราม เมื่อพระองค์ทรงกรีฑาทัพรบได้ชัยชนะกลับมาก็มาทรงโปรดให้สร้างพลับพลาไว้เป็นอนุสรณ์ในชัยชนะและทรงขนานนามว่าพลับพลาชัยชนะสงคราม ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม”และเรียกย่านนี้ว่า “บางพลี” นั่นเอง
นอกจากวัดนี้จะเป็นที่นิยมในการมากราบไหว้ขอพรองค์หลวงพ่อโตแล้ว ความพิเศษอีกหนึ่งอย่างของวัดนี้ก็คือ “สุขาไฮเทค” ซึ่งใช้ทุนสร้างหลายล้านบาท สุขาที่นี่ติดแอร์เย็นฉ่ำ มีสวนสวยอยู่กลางพื้นที่ สะอาดสะอ้านไฮเทคเป็นที่สุด ใครที่มาเยือนวัดบางพลีใหญ่ในแห่งนี้แล้ว ก็ต้องมาทำธุระที่สุขาแห่งนี้สักหน่อย เดี่ยวเขาจะหาว่ามาไม่ถึง
เอาล่ะ เมื่อไหว้พระอิ่มใจ เข้าสุขาไฮเทคสบายกายแล้ว ก็ต้องหาของกินอร่อยๆให้อิ่มท้องกันด้วย ฉันจึงเดินออกมาทางด้านริมน้ำผ่านร้านรวงต่างๆทั้งขายขนม ขายปลาสลิด บ้างก็ขายเครื่องใช้เครื่องแต่งกาย ก็มีให้จับจ่ายเพลิดเพลิน แต่ยังไม่จบแค่นี้หากเดินเลาะทางริมน้ำไปอีกเล็กน้อยจะเจอสะพานไม้เล็กๆนำเข้าสู่ “ตลาดโบราณบางพลี”
ตลาดโบราณแห่งนี้มีอายุมายาวนานกว่า 150 ปี สันนิษฐานว่าชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดแห่งนี้ราว พ.ศ.2400 เดิมชื่อ “ตลาดศิริโสภณ” ตามนานสกุลของผู้ก่อสร้าง ต่อมานายป้อ โตเจริญ (ขุนเจริญ) อดีตกำนันตำบลบางพลีใหญ่และนางเจียม โตเจริญ ได้สร้างตลาดต่อจนถึงบริเวณปากคลองบัวคลี่ รวมเรียกทั้ง 2 ตลาดว่า ตลาดยายเจียม และได้มีการสร้างต่อเติมอีกในช่วงสุดท้ายไปจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เรียกว่าตลาดอาจารย์สุข
โดยตลาดแห่งนี้เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้ และยังคงสภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง มีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพฯ นั่นเพราะการเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจว พาย และแล่นใบเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง
สำหรับฉันการได้มาเดินตลาดบางพลี มันช่างให้อารมณ์ เรโทร ย้อนยุคได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่มีร้านรวงที่เป็นบ้านไม้ทั้งหลังซึ่งยังคงสภาพเดิมที่ดูแล้วชวนให้นึกถึงสมัยเก่าๆที่ฉันเคยเห็นที่บ้านนอกบ้านฉัน พื้นตลาดก็เป็นไม้ สามารถเดินต่อกันไปได้ 2 ช่วง ราว 500 เมตร ส่วนพ่อค้าแม่ขายก็เป็นคนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่มาแต่ดั้งเดิม ถือเป็นธุรกิจครอบครัวที่สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน
โดยช่วงแรกจะมีร้านรวงขายเครื่องสังฆภัณฑ์ ร้านขายอุปกรณ์ทำประมงจับปลาหาหอย หรือจะเป็นอุกรณ์ทำสวนก็มีให้เลือกครบครัน ร้านขายยาที่ดูโบราณเก่าแก่ ร้านขายสารพัดหม้อ เตาอั่งโล่ก็ยังมีให้หาซื้อกัน ครก กระบุง กระจาด สารพัด ร้านขายหมวกสาน เสื้อผ้า ชุดไทย ร้านขนมและอาหารก็มีหลายร้านในช่วงแรกของตลาดโบราณริมคลองสำโรงแห่งนี้ ซึ่งร้านขนมที่นี้ฉันก็แนะนำให้ได้ลิ้มลองกันเช่น ขนมชั้นที่ทำให้เห็นกันจะจะ สดใหม่ร้อนๆ มีส่วนผสมจากสมุนไพรไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอัญชัน ใบเตย ดอกคำฝอย และกาแฟ กินแล้วเหนียวนุ่มอร่อยปาก
หากใครต้องการจะรู้เรื่องราวของตลาดโบราณแห่งนี้ หรือวิถีชีวิตของชาวบางพลี ก็สามารถแวะมาที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ดูชมนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” โดยการจัดสร้างของชาวชุมชนบางพลี ซึ่งจัดแสดงภาพถ่ายสมัยเก่าเมื่อเริ่มแรกตั้งตลาด พร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมสำคัญ และวิถีชีวิตไว้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว
โดยชุมชนคนตลาดแห่งนี้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และมีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมาย หนึ่งในวิถีนั้นคือ “ประเพณีรับบัว” หรือ “โยนบัว” ที่พอถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกชุมชนตลาดน้ำ ก็จะตื่นเช้าออกมาร่วมกันโยนบัว เพื่อสักการะองค์หลวงพ่อโตที่ล่องเรือมาตามลำคลองสำโรง
ระหว่างทางที่เดินไปเต็มไปด้วยร้านรวงทั้งสองข้างทางนำเรามาถึงสะพานข้ามแม่น้ำสั้นๆ ก็ให้เดินข้ามสะพานต่อไปจะเป็นตลาดในช่วงที่ 2 ในช่วงนี้เดินแล้วมีลมอ่อนๆพัดโชยมาทำให้เย็นสบายกว่าช่วงแรก มีร้านของกินคาวหวานมากมายทั้งก๋วยเตี๋ยวหมู ไอศกรีม ขนมจีน ข้าวแกง อาหารตามสั่ง หมูสเต๊ะ และอีกหลากหลายอย่าง รวมถึงสินค้าเครื่องใช้ ของประดับของฝาก หรือหากเดินมาเยอะแล้วรู้สึกเมื่อยล้าก็มาพักนวดขานวดเท้าได้เช่นกัน
เมื่อเดินต่อไปจนสุดทางฉันเห็นเรือวางพาดเรียงไว้กลางน้ำเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งเข้าด้วยกันคือฝั่งที่เป็นศนย์การค้าขนาดใหญ่แบบชาวเมืองและฝั่งตลาดโบราณราว150 กว่าปี ก็ถือเป็นสะพานเรือที่แปลกไปอีกแบบหนึ่ง และเหมือนจะเป็นสะพานข้ามกาลเวลาเลยก็ว่าได้
หากเที่ยวตลาดไหว้หลวงพ่อโตที่วัดบางพลีใหญ่ในยังไม่หนำใจ ก็สามารถล่องเรือชมบรรยากาศ สัมผัสวิถีชีวิตริมคลองสำโรง พร้อมกับขึ้นบกทำบุญไหว้พระอีก 3 วัดริมคลอง ได้แก่ วัดบางพลีใหญ่กลาง วัดบางโฉลงใน และวัดบางโฉลงนอก ซึ่งจะใช้เวลาล่องไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
สำหรับที่ “วัดบางพลีใหญ่กลาง” ซึ่งวัดแห่งนี้จะมีพระนอนองค์มาก ประดิษฐานอยู่ โดยจะมี 3 จุดที่จะให้นักท่องเที่ยวด้มีส่วนร่วม ได้แก่ สักการะพระปางปรินิพาน หรือพระนอนขนาดใหญ่ ลอดโบสถ์เพื่อความเป็นสิริมงคล และจุดสุดท้ายคือการพาไปปิดทองที่หัวใจพระนอนภายในองค์พระนอน
ที่ “ วัดบางโฉลงใน” ที่วัดนี้จะได้สัมผัสกับวิหารเก่าแก่ที่มีอายุราว 250 ปี และส่วนอื่นๆ ของวัด ต่อมาคือ “วัดบางโฉลงนอก” ซึ่งเป็นวัดสุดท้าย โดยที่วัดนี้จะไม่ได้ขึ้นบกไปไหว้พระ แต่จะนั่งอยู่บนเรือเพื่อให้อาหารปลาสวายบริเวณหน้าวัด ถือเป็นการทำทานหลังจากทำบุญไหว้พระมาแล้ว
ใครใคร่สะดวกแบบไหนก็ตามสะดวกตามสบาย ทุกเส้นทางไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดขอให้สุขใจเป็นพอ
*****************************************
การเดินทางมายังวัดบางพลีใหญ่ใน และตลาดโบราณบางพลี จากกรุงเทพ ฯ มุ่งหน้าสู่จ.สมุทรปราการ ใช้ถ.สุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถ.บางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กม. กลับรถเพื่อตัดเข้าถ.กิ่งแก้ว–บางพลี (ประมาณ 2 กม.) เลี้ยวซ้ายถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เดินเท้าอีกนิดไปที่ท้ายวัดริมคลองจะถึงตัวตลาดโบราณบางพลี
วันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์มีโปรแกรมไปไหนกันหรือเปล่า? ถ้ายังว่างๆไม่รู้จะไปไหนดีล่ะก็ตามมาทางนี้ ฉันมีที่เที่ยวกินช้อปพร้อมรับบุญใกล้กรุงมาแนะนำให้ได้อิ่มเอมกับวันหยุดกัน เพียงนั่งรถออกมาทางบางนานิดเดียวเท่านั้นก็เข้าสู่เขตจ.สมุทรปราการ จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่บางพลีเพื่อที่วันหยุดนี้เราจะมาเดินเล่นที่ “ตลาดโบราณบางพลี” อำเภอบางพลี กัน
แต่ก่อนที่จะเที่ยวกินช้อป ฉันขอไปกราบไหว้หลวงพ่อโตที่ “วัดบางพลีใหญ่ใน” ให้สบายจิตสบายใจเสียก่อน ซึ่งหลวงพ่อโตองค์นี้มีตำนานเล่ากันมาว่าเป็นพระ 3 พี่น้อง โดยเมื่อประมาณ 200 กว่าปีก่อนมีพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง 3 องค์ ประกอบด้วย หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ปางอุ้มบาตร หลวงพ่อโสธร ปางสมาธิ และหลวงพ่อโต ปางสมาธิ
พระพุทธรูปทั้งสามได้แสดงปาฏิหาริย์ โดยการลอยน้ำมาจากทางเหนือ ล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา พอถึงตำบลหนึ่งก็แสดงองค์ให้ประชาชนเห็น จึงอาราธนาพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำ โดยเกณฑ์จำนวนคนมาช่วยกันฉุดถึงสามแสนคน แต่ฉุดเท่าไรก็ไม่ขึ้น ต่อมาตำบลนี้จึงได้ชื่อว่าตำบลสามแสน แล้วกลายมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน
จนในที่สุดหลวงพ่อบ้านแหลม ได้ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม ส่วนหลวงพ่อโสธร กลับลอยทวนน้ำไปที่แม่น้ำบางปะกงถึงวัดเสาทอน หรือในปัจจุบันคือ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา และพระองค์สุดท้าย คือ หลวงพ่อโต ลอยเข้าไปในคลองสำโรง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ใน หรือ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม จ.สมุทรปราการ แต่บางตำนานก็ว่าพระที่ลอยตามน้ำมามีด้วยกัน 5 องค์ คือเพิ่มหลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไข่ขิง จ.นครปฐม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี เข้าไปด้วย
ส่วนตัววัดแห่งนี้ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ซึ่งเป็นคลองที่ขุดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสายสำคัญในสมัยที่ยังไม่มีถนนหนทาง จากจารึกโบราณกล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหลังเสียกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงออกรบกอบกู้เอกราชหลายครั้ง
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงยาตรากองทัพมาถึงที่แห่งนี้และทรงพยุดทัพพักไพร่พล และทรงได้ทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงตำรับพิชัยสงคราม เมื่อพระองค์ทรงกรีฑาทัพรบได้ชัยชนะกลับมาก็มาทรงโปรดให้สร้างพลับพลาไว้เป็นอนุสรณ์ในชัยชนะและทรงขนานนามว่าพลับพลาชัยชนะสงคราม ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม”และเรียกย่านนี้ว่า “บางพลี” นั่นเอง
นอกจากวัดนี้จะเป็นที่นิยมในการมากราบไหว้ขอพรองค์หลวงพ่อโตแล้ว ความพิเศษอีกหนึ่งอย่างของวัดนี้ก็คือ “สุขาไฮเทค” ซึ่งใช้ทุนสร้างหลายล้านบาท สุขาที่นี่ติดแอร์เย็นฉ่ำ มีสวนสวยอยู่กลางพื้นที่ สะอาดสะอ้านไฮเทคเป็นที่สุด ใครที่มาเยือนวัดบางพลีใหญ่ในแห่งนี้แล้ว ก็ต้องมาทำธุระที่สุขาแห่งนี้สักหน่อย เดี่ยวเขาจะหาว่ามาไม่ถึง
เอาล่ะ เมื่อไหว้พระอิ่มใจ เข้าสุขาไฮเทคสบายกายแล้ว ก็ต้องหาของกินอร่อยๆให้อิ่มท้องกันด้วย ฉันจึงเดินออกมาทางด้านริมน้ำผ่านร้านรวงต่างๆทั้งขายขนม ขายปลาสลิด บ้างก็ขายเครื่องใช้เครื่องแต่งกาย ก็มีให้จับจ่ายเพลิดเพลิน แต่ยังไม่จบแค่นี้หากเดินเลาะทางริมน้ำไปอีกเล็กน้อยจะเจอสะพานไม้เล็กๆนำเข้าสู่ “ตลาดโบราณบางพลี”
ตลาดโบราณแห่งนี้มีอายุมายาวนานกว่า 150 ปี สันนิษฐานว่าชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดแห่งนี้ราว พ.ศ.2400 เดิมชื่อ “ตลาดศิริโสภณ” ตามนานสกุลของผู้ก่อสร้าง ต่อมานายป้อ โตเจริญ (ขุนเจริญ) อดีตกำนันตำบลบางพลีใหญ่และนางเจียม โตเจริญ ได้สร้างตลาดต่อจนถึงบริเวณปากคลองบัวคลี่ รวมเรียกทั้ง 2 ตลาดว่า ตลาดยายเจียม และได้มีการสร้างต่อเติมอีกในช่วงสุดท้ายไปจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เรียกว่าตลาดอาจารย์สุข
โดยตลาดแห่งนี้เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้ และยังคงสภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง มีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพฯ นั่นเพราะการเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางโดยการแจว พาย และแล่นใบเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง
สำหรับฉันการได้มาเดินตลาดบางพลี มันช่างให้อารมณ์ เรโทร ย้อนยุคได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่มีร้านรวงที่เป็นบ้านไม้ทั้งหลังซึ่งยังคงสภาพเดิมที่ดูแล้วชวนให้นึกถึงสมัยเก่าๆที่ฉันเคยเห็นที่บ้านนอกบ้านฉัน พื้นตลาดก็เป็นไม้ สามารถเดินต่อกันไปได้ 2 ช่วง ราว 500 เมตร ส่วนพ่อค้าแม่ขายก็เป็นคนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่มาแต่ดั้งเดิม ถือเป็นธุรกิจครอบครัวที่สืบทอดกันมาหลายช่วงอายุคน
โดยช่วงแรกจะมีร้านรวงขายเครื่องสังฆภัณฑ์ ร้านขายอุปกรณ์ทำประมงจับปลาหาหอย หรือจะเป็นอุกรณ์ทำสวนก็มีให้เลือกครบครัน ร้านขายยาที่ดูโบราณเก่าแก่ ร้านขายสารพัดหม้อ เตาอั่งโล่ก็ยังมีให้หาซื้อกัน ครก กระบุง กระจาด สารพัด ร้านขายหมวกสาน เสื้อผ้า ชุดไทย ร้านขนมและอาหารก็มีหลายร้านในช่วงแรกของตลาดโบราณริมคลองสำโรงแห่งนี้ ซึ่งร้านขนมที่นี้ฉันก็แนะนำให้ได้ลิ้มลองกันเช่น ขนมชั้นที่ทำให้เห็นกันจะจะ สดใหม่ร้อนๆ มีส่วนผสมจากสมุนไพรไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอัญชัน ใบเตย ดอกคำฝอย และกาแฟ กินแล้วเหนียวนุ่มอร่อยปาก
หากใครต้องการจะรู้เรื่องราวของตลาดโบราณแห่งนี้ หรือวิถีชีวิตของชาวบางพลี ก็สามารถแวะมาที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ดูชมนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” โดยการจัดสร้างของชาวชุมชนบางพลี ซึ่งจัดแสดงภาพถ่ายสมัยเก่าเมื่อเริ่มแรกตั้งตลาด พร้อมกับเล่าประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมสำคัญ และวิถีชีวิตไว้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว
โดยชุมชนคนตลาดแห่งนี้มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และมีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมาย หนึ่งในวิถีนั้นคือ “ประเพณีรับบัว” หรือ “โยนบัว” ที่พอถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกชุมชนตลาดน้ำ ก็จะตื่นเช้าออกมาร่วมกันโยนบัว เพื่อสักการะองค์หลวงพ่อโตที่ล่องเรือมาตามลำคลองสำโรง
ระหว่างทางที่เดินไปเต็มไปด้วยร้านรวงทั้งสองข้างทางนำเรามาถึงสะพานข้ามแม่น้ำสั้นๆ ก็ให้เดินข้ามสะพานต่อไปจะเป็นตลาดในช่วงที่ 2 ในช่วงนี้เดินแล้วมีลมอ่อนๆพัดโชยมาทำให้เย็นสบายกว่าช่วงแรก มีร้านของกินคาวหวานมากมายทั้งก๋วยเตี๋ยวหมู ไอศกรีม ขนมจีน ข้าวแกง อาหารตามสั่ง หมูสเต๊ะ และอีกหลากหลายอย่าง รวมถึงสินค้าเครื่องใช้ ของประดับของฝาก หรือหากเดินมาเยอะแล้วรู้สึกเมื่อยล้าก็มาพักนวดขานวดเท้าได้เช่นกัน
เมื่อเดินต่อไปจนสุดทางฉันเห็นเรือวางพาดเรียงไว้กลางน้ำเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งเข้าด้วยกันคือฝั่งที่เป็นศนย์การค้าขนาดใหญ่แบบชาวเมืองและฝั่งตลาดโบราณราว150 กว่าปี ก็ถือเป็นสะพานเรือที่แปลกไปอีกแบบหนึ่ง และเหมือนจะเป็นสะพานข้ามกาลเวลาเลยก็ว่าได้
หากเที่ยวตลาดไหว้หลวงพ่อโตที่วัดบางพลีใหญ่ในยังไม่หนำใจ ก็สามารถล่องเรือชมบรรยากาศ สัมผัสวิถีชีวิตริมคลองสำโรง พร้อมกับขึ้นบกทำบุญไหว้พระอีก 3 วัดริมคลอง ได้แก่ วัดบางพลีใหญ่กลาง วัดบางโฉลงใน และวัดบางโฉลงนอก ซึ่งจะใช้เวลาล่องไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
สำหรับที่ “วัดบางพลีใหญ่กลาง” ซึ่งวัดแห่งนี้จะมีพระนอนองค์มาก ประดิษฐานอยู่ โดยจะมี 3 จุดที่จะให้นักท่องเที่ยวด้มีส่วนร่วม ได้แก่ สักการะพระปางปรินิพาน หรือพระนอนขนาดใหญ่ ลอดโบสถ์เพื่อความเป็นสิริมงคล และจุดสุดท้ายคือการพาไปปิดทองที่หัวใจพระนอนภายในองค์พระนอน
ที่ “ วัดบางโฉลงใน” ที่วัดนี้จะได้สัมผัสกับวิหารเก่าแก่ที่มีอายุราว 250 ปี และส่วนอื่นๆ ของวัด ต่อมาคือ “วัดบางโฉลงนอก” ซึ่งเป็นวัดสุดท้าย โดยที่วัดนี้จะไม่ได้ขึ้นบกไปไหว้พระ แต่จะนั่งอยู่บนเรือเพื่อให้อาหารปลาสวายบริเวณหน้าวัด ถือเป็นการทำทานหลังจากทำบุญไหว้พระมาแล้ว
ใครใคร่สะดวกแบบไหนก็ตามสะดวกตามสบาย ทุกเส้นทางไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดขอให้สุขใจเป็นพอ
*****************************************
การเดินทางมายังวัดบางพลีใหญ่ใน และตลาดโบราณบางพลี จากกรุงเทพ ฯ มุ่งหน้าสู่จ.สมุทรปราการ ใช้ถ.สุขุมวิท เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกบางนา จากนั้นใช้ถ.บางนาตราด ขับตรงไปประมาณ 12 กม. กลับรถเพื่อตัดเข้าถ.กิ่งแก้ว–บางพลี (ประมาณ 2 กม.) เลี้ยวซ้ายถึงวัดบางพลีใหญ่ใน เดินเท้าอีกนิดไปที่ท้ายวัดริมคลองจะถึงตัวตลาดโบราณบางพลี