“สุกุมล” เร่งต่ออายุราชการช่างฝีมือกรมศิลป์ ขาดบุคลากรรุ่นใหม่สนใจเข้ามารับราชการ เหตุไม่มีแรงจูงใจเงินเดือน-สวัสดิการน้อย เสนอไอเดียตั้งกองทุนดูแลหลังเกษียณ
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับ พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีแนวคิดเสนอต่ออายุราชการพนักงานราชการของกรมศิลปากรออกไป 5-10 ปี หรือเกษียณอายุ 70 ปี เหมือนเช่นศาล อัยการ นักกฎหมาย โดยจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) โดยถือเป็นเรื่องที่ต้องเร่งผลักดัน เนื่องจากปัจจุบัน ช่างฝีมือ ในสังกัดกรมศิลปากร อาทิ จากสำนักช่างสิบหมู่ สำนักสถาปัตยกรรม ได้มีการเกษียณอายุราชการไปจำนวนมาก ส่วนที่เหลืออยู่ก็น้อยมาก ส่วนใหญ่อายุก็มากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จาก คนอ่านจารึกโบราณในประเทศไทย เหลือเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก เกรงว่าในอนาคต อาจจะไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้ทัน
“เด็กนักศึกษาจบใหม่ ก็ไม่สนใจเข้ามารับราชการ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทั้งในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการก็น้อย หากเราสามารถดูแลกลุ่มช่างฝีมือที่มีอยู่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี”
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ตนมีแนวคิดว่า ในเบื้องต้นอาจจะมีการจัดตั้งกองทุน หรือมูลนิธิเพื่อดูแลกลุ่มบุคลากรช่างฝีมือของกรมศิลปากร เช่นเดียวกับบกองทุนดูแลศิลปินแห่งชาติ และศิลปินผู้ทำคุณประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ช่างฝีมือต่างๆ มีกำลังใจในการทำงาน มีกองทุนสำหรับดูแลในยามที่ไม่สามารถทำงานได้ ที่สำคัญก็จะทำให้ประเทศไทย มีบุคลากรทางวัฒนธรรมที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาสมบัติของประเทศให้คงอยู่ ขณะเดียวกัน ก็อาจจะแบ่งงบประมาณจากกองทุนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและ มีศักยภาพเพียงพอ เข้ามาศึกษางานช่างฝีมือ และเข้ามารับราชการใน วธ.ต่อไปด้วย
“ระบบราชการได้มีการกำหนดเกษียณอายุราชการ 60 ปี แต่ในส่วนของช่างฝีมือกรมศิลปากร เห็นได้ชัดเจนว่า บุคลากรก็มีน้อยอยู่แล้ว และบุคคลที่จบการศึกษาแล้ว มีความรู้ความสามารถปีๆ หนึ่งก็น้อยมาก และไม่สามารถมาทำงานทดแทนกันได้ ดังนั้น คิดว่า กฎระเบียนต่างๆ ก็ควรจะมีการยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของเนื้องาน และสถานการณ์ ดิฉันพร้อมที่จะเร่งผลักดันเรื่องดังกล่าว โดยจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร็วที่สุด” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับ พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีแนวคิดเสนอต่ออายุราชการพนักงานราชการของกรมศิลปากรออกไป 5-10 ปี หรือเกษียณอายุ 70 ปี เหมือนเช่นศาล อัยการ นักกฎหมาย โดยจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) โดยถือเป็นเรื่องที่ต้องเร่งผลักดัน เนื่องจากปัจจุบัน ช่างฝีมือ ในสังกัดกรมศิลปากร อาทิ จากสำนักช่างสิบหมู่ สำนักสถาปัตยกรรม ได้มีการเกษียณอายุราชการไปจำนวนมาก ส่วนที่เหลืออยู่ก็น้อยมาก ส่วนใหญ่อายุก็มากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จาก คนอ่านจารึกโบราณในประเทศไทย เหลือเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมาก เกรงว่าในอนาคต อาจจะไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้ทัน
“เด็กนักศึกษาจบใหม่ ก็ไม่สนใจเข้ามารับราชการ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทั้งในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการก็น้อย หากเราสามารถดูแลกลุ่มช่างฝีมือที่มีอยู่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี”
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ตนมีแนวคิดว่า ในเบื้องต้นอาจจะมีการจัดตั้งกองทุน หรือมูลนิธิเพื่อดูแลกลุ่มบุคลากรช่างฝีมือของกรมศิลปากร เช่นเดียวกับบกองทุนดูแลศิลปินแห่งชาติ และศิลปินผู้ทำคุณประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้ช่างฝีมือต่างๆ มีกำลังใจในการทำงาน มีกองทุนสำหรับดูแลในยามที่ไม่สามารถทำงานได้ ที่สำคัญก็จะทำให้ประเทศไทย มีบุคลากรทางวัฒนธรรมที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาสมบัติของประเทศให้คงอยู่ ขณะเดียวกัน ก็อาจจะแบ่งงบประมาณจากกองทุนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถและ มีศักยภาพเพียงพอ เข้ามาศึกษางานช่างฝีมือ และเข้ามารับราชการใน วธ.ต่อไปด้วย
“ระบบราชการได้มีการกำหนดเกษียณอายุราชการ 60 ปี แต่ในส่วนของช่างฝีมือกรมศิลปากร เห็นได้ชัดเจนว่า บุคลากรก็มีน้อยอยู่แล้ว และบุคคลที่จบการศึกษาแล้ว มีความรู้ความสามารถปีๆ หนึ่งก็น้อยมาก และไม่สามารถมาทำงานทดแทนกันได้ ดังนั้น คิดว่า กฎระเบียนต่างๆ ก็ควรจะมีการยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของเนื้องาน และสถานการณ์ ดิฉันพร้อมที่จะเร่งผลักดันเรื่องดังกล่าว โดยจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร็วที่สุด” รมว.วัฒนธรรม กล่าว