นักวิชาการ กม.ทางทะเล ชี้ชัด “เกาะกูด” และทรัพยากรในอ่าวไทย คือสมบัติของชาติไทยที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในสนธิสัญญากรุงสยาม-กรุงฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ.1907 กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่เกาะกูด รวมถึงเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลที่เขียนขึ้นมาเองก็ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างได้
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ประเทศกัมพูชาได้จัดทำแผนที่และลากเส้นเขตหลักแดนทางทะเลของประเทศกัมพูชาแล้วเตรียมประกาศเป็นหลักเขตแดนร่วมกับไทย แต่แผนที่ดังกล่าวได้มีการลากเส้นเขตแดนผ่านเข้ามาในบริเวณเกาะกูด กล่าวคือได้มีการอ้างว่าพื้นที่บนเกาะกูดครึ่งหนึ่งเป็นของกัมพูชานั้น
วันนี้ (30 มิ.ย.) “ASTV ผู้จัดการออนไลน์” ได้รับข้อมูลและหลักฐานอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวจากนักวิชาการด้านกฎหมายทางทะเล คณะลอจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เปิดเผยข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่ทางการกัมพูชากล่าวอ้างว่า “เกาะกูด” เป็นของกัมพูชานั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะใน “สนธิสัญญาระหว่างกรุงสยาม และกรุงฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1907” (ซึ่งปัจจุบันก็มีหลักฐานดังกล่าวปรากฏอยู่ทั้งที่ในกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศของไทย และกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
“รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม”
นอกจากนี้ เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของประเทศไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗) โดยระบุข้อความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดน เมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม” เช่นเดียวกับในสนธิสัญญา ดังนั้นจึงมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า “เกาะกูด” เป็นสมบัติของไทยอย่างแน่นอน
นักวิชาการผู้นี้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ตั้งแต่อดีต เกาะกูดถือเป็นอาณาเขตพื้นที่ของไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยบนเกาะพบว่ามีหลักศิลาจารึกโบราณแผ่นหนึ่ง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณเกาะกูดแห่งนี้เป็นแผ่นดินสยาม อีกทั้งยังมีการสร้างกระโจมไฟเอาไว้อำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือทางทะเลของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันทั้งพื้นที่ซึ่งแผ่นศิลาจารึกตั้งอยู่ และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ของทหารเรือไทยดูแล จึงยิ่งเป็นสิ่งตอกย้ำได้อย่างชัดเจนว่าไทยได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดนานมากแล้ว และทางกัมพูชาเองก็ไม่เคยอ้างสิทธิ์ใดๆ ดังนั้น การที่กัมพูชาเขียนแผนที่เขตแดนใหม่ว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ซึ่งไทยก็จะต้องมีการดำเนินการเจรจาและชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวต่อไป
ทั้งนี้ หากสังเกตจากในภาพแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาเป็นคนขีดเส้นแบ่งขึ้นมาใหม่ (เส้นประยาว) จะเห็นได้ว่า แผนที่ซึ่งทางกัมพูชาวาดขึ้นนั้น มีการตัดแบ่งเกาะกูดออกเป็น 2 ส่วน เพื่อที่เมื่อลากเส้นเขตแดนทางทะเลแล้วจะปรากฏว่าพื้นที่กรรมสิทธิ์ทางทะเลของกัมพูชา เลยเข้ามาในเขตอ่าวไทยมากยิ่งขึ้น (ซึ่งบริเวณนั้นเองที่เต็มไปด้วยทรัพยากรปิโตรเลียม และน้ำมัน) และหากกัมพูชาจะลากเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลตามที่ควรจะเป็นตามหลักสากล นั่นคือ 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดินของกัมพูชาแล้วก็ได้แนวเขตตามเส้นประสั้น ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชาไม่เหลื่อมล้ำเข้ามาในพื้นที่อ่าวไทย
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพาผู้นี้ระบุว่า สาเหตุที่ตนนำหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวมาเปิดเผยนั้นก็เพื่อต้องการให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ข้อเท็จจริงถึงกรณีดังกล่าว และคลายความกังวลว่าพื้นที่ทะเลในอ่าวไทยจะต้องตกไปเป็นของประเทศกัมพูชา เพราะเท่าที่ตนได้ทำการศึกษาค้นคว้ามานาน ซึ่งก็ได้พบหลักฐานมากมายตามที่กล่าวมา ประกอบอีกหนึ่งหน้าที่ของตนนั้นก็ได้ช่วยงานด้านพื้นที่ทางทะเลของกระทรวงการต่างประเทศมานาน ก็ทำให้ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของข้อพิพาทที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยและกัมพูชาจะต้องนำหลักฐานมาอ้างอิงและอธิบายกับนานาประเทศต่อไป ไม่ได้หมายความว่าเมื่อกัมพูชาทำแผนที่มาแล้วไทยจะต้องยอมรับเสมอไป
“คือที่นำเรื่องนี้มาพูดก็คือ ต้องการอยากจะบอกกับประชาชนทั่วไปว่า ไม่ต้องกังวล เพราะทางกระทรวงการต่างประเทศของไทย ในฝ่ายเทคนิค ฝ่ายกฎหมาย หรือกรมต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมานาน และก็ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมาโดยตลอด ดังนั้น ไม่ต้องกังวล ยืนยันได้ว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และจะไม่เสียไปให้ใครโดยเด็ดขาด ซึ่งเรื่องข้อพิพาทในเขตแดนทางทะเลของเรากับกัมพูชาก็ต้องมีการตกลงเจรจาแบบทวิภาคีกันต่อไป”
พร้อมกล่าวด้วยว่า “ส่วนที่มีการกังวลกันว่าจะมีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่ อันนี้ผมว่าไม่นะ เพราะการเจรจาเรื่องแบบนี้มันถือเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งฝ่ายเทคนิคของกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาดำเนินงาน รัฐบาลหรือรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเจรจาเสียมากกว่า แล้วอีกอย่างหากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเขตแดนจริงก็ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และนานาประเทศ ตลอดจนต้องมีการลงในราชกิจจานุเบกษาที่ประมุขของทั้งสองประเทศจะต้องลงนาม จึงอยากให้ประชาชนได้มั่นใจว่าเรื่องนี้ว่าจะมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส และถูกต้องที่สุด”
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ประเทศกัมพูชาได้จัดทำแผนที่และลากเส้นเขตหลักแดนทางทะเลของประเทศกัมพูชาแล้วเตรียมประกาศเป็นหลักเขตแดนร่วมกับไทย แต่แผนที่ดังกล่าวได้มีการลากเส้นเขตแดนผ่านเข้ามาในบริเวณเกาะกูด กล่าวคือได้มีการอ้างว่าพื้นที่บนเกาะกูดครึ่งหนึ่งเป็นของกัมพูชานั้น
วันนี้ (30 มิ.ย.) “ASTV ผู้จัดการออนไลน์” ได้รับข้อมูลและหลักฐานอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวจากนักวิชาการด้านกฎหมายทางทะเล คณะลอจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เปิดเผยข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่ทางการกัมพูชากล่าวอ้างว่า “เกาะกูด” เป็นของกัมพูชานั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะใน “สนธิสัญญาระหว่างกรุงสยาม และกรุงฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1907” (ซึ่งปัจจุบันก็มีหลักฐานดังกล่าวปรากฏอยู่ทั้งที่ในกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศของไทย และกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
“รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม”
นอกจากนี้ เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของประเทศไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๕ (ค.ศ.๑๙๐๗) โดยระบุข้อความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดน เมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม” เช่นเดียวกับในสนธิสัญญา ดังนั้นจึงมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า “เกาะกูด” เป็นสมบัติของไทยอย่างแน่นอน
นักวิชาการผู้นี้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ตั้งแต่อดีต เกาะกูดถือเป็นอาณาเขตพื้นที่ของไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยบนเกาะพบว่ามีหลักศิลาจารึกโบราณแผ่นหนึ่ง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณเกาะกูดแห่งนี้เป็นแผ่นดินสยาม อีกทั้งยังมีการสร้างกระโจมไฟเอาไว้อำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือทางทะเลของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันทั้งพื้นที่ซึ่งแผ่นศิลาจารึกตั้งอยู่ และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ของทหารเรือไทยดูแล จึงยิ่งเป็นสิ่งตอกย้ำได้อย่างชัดเจนว่าไทยได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดนานมากแล้ว และทางกัมพูชาเองก็ไม่เคยอ้างสิทธิ์ใดๆ ดังนั้น การที่กัมพูชาเขียนแผนที่เขตแดนใหม่ว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งนั้นจึงไม่ถูกต้อง ซึ่งไทยก็จะต้องมีการดำเนินการเจรจาและชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวต่อไป
ทั้งนี้ หากสังเกตจากในภาพแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาเป็นคนขีดเส้นแบ่งขึ้นมาใหม่ (เส้นประยาว) จะเห็นได้ว่า แผนที่ซึ่งทางกัมพูชาวาดขึ้นนั้น มีการตัดแบ่งเกาะกูดออกเป็น 2 ส่วน เพื่อที่เมื่อลากเส้นเขตแดนทางทะเลแล้วจะปรากฏว่าพื้นที่กรรมสิทธิ์ทางทะเลของกัมพูชา เลยเข้ามาในเขตอ่าวไทยมากยิ่งขึ้น (ซึ่งบริเวณนั้นเองที่เต็มไปด้วยทรัพยากรปิโตรเลียม และน้ำมัน) และหากกัมพูชาจะลากเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลตามที่ควรจะเป็นตามหลักสากล นั่นคือ 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดินของกัมพูชาแล้วก็ได้แนวเขตตามเส้นประสั้น ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชาไม่เหลื่อมล้ำเข้ามาในพื้นที่อ่าวไทย
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพาผู้นี้ระบุว่า สาเหตุที่ตนนำหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวมาเปิดเผยนั้นก็เพื่อต้องการให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ข้อเท็จจริงถึงกรณีดังกล่าว และคลายความกังวลว่าพื้นที่ทะเลในอ่าวไทยจะต้องตกไปเป็นของประเทศกัมพูชา เพราะเท่าที่ตนได้ทำการศึกษาค้นคว้ามานาน ซึ่งก็ได้พบหลักฐานมากมายตามที่กล่าวมา ประกอบอีกหนึ่งหน้าที่ของตนนั้นก็ได้ช่วยงานด้านพื้นที่ทางทะเลของกระทรวงการต่างประเทศมานาน ก็ทำให้ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของข้อพิพาทที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยและกัมพูชาจะต้องนำหลักฐานมาอ้างอิงและอธิบายกับนานาประเทศต่อไป ไม่ได้หมายความว่าเมื่อกัมพูชาทำแผนที่มาแล้วไทยจะต้องยอมรับเสมอไป
“คือที่นำเรื่องนี้มาพูดก็คือ ต้องการอยากจะบอกกับประชาชนทั่วไปว่า ไม่ต้องกังวล เพราะทางกระทรวงการต่างประเทศของไทย ในฝ่ายเทคนิค ฝ่ายกฎหมาย หรือกรมต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมานาน และก็ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมาโดยตลอด ดังนั้น ไม่ต้องกังวล ยืนยันได้ว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และจะไม่เสียไปให้ใครโดยเด็ดขาด ซึ่งเรื่องข้อพิพาทในเขตแดนทางทะเลของเรากับกัมพูชาก็ต้องมีการตกลงเจรจาแบบทวิภาคีกันต่อไป”
พร้อมกล่าวด้วยว่า “ส่วนที่มีการกังวลกันว่าจะมีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่ อันนี้ผมว่าไม่นะ เพราะการเจรจาเรื่องแบบนี้มันถือเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งฝ่ายเทคนิคของกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้เจรจาดำเนินงาน รัฐบาลหรือรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเจรจาเสียมากกว่า แล้วอีกอย่างหากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเขตแดนจริงก็ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และนานาประเทศ ตลอดจนต้องมีการลงในราชกิจจานุเบกษาที่ประมุขของทั้งสองประเทศจะต้องลงนาม จึงอยากให้ประชาชนได้มั่นใจว่าเรื่องนี้ว่าจะมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส และถูกต้องที่สุด”