แม่ชีวัย 86 สุดเจ๋ง เขียนนิยายบนมือถือ
• ญี่ปุ่น : แม่ชี ‘จากุโช เซโตชิ’ วัย 86 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น ได้ นำวรรณกรรมโรแมนติคของญี่ปุ่น ในศตวรรษที่11เรื่อง “The Tale of Genji” (ตำนานเกนจิ) ซึ่งเป็นสุดยอดวรรณกรรมของญี่ปุ่น มาดัดแปลงเป็นนวนิยาย เรื่อง “Tomorrow Rainbow” โดยส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเป็นที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่นว่า นิยายบนมือถือ ซึ่งได้รับความนิยมเช่นเดียวกับหนังสือขายดีทั่วไป เธอเล่าว่าเป็นครั้งแรกที่เธอได้เขียนนิยายบนมือถือ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก และเธอได้ถือโอกาสนี้แก้ไขข้อความบางตอนในวรรณกรรมดังกล่าว
“ฮิคารุ เกนจิ(ตัวเอกของเรื่อง)ไม่ได้รู้สึกเสียใจในความผิดที่ตนได้กระทำ” แม่ชีกล่าว “แต่ถ้าคุณทำความผิด คุณต้องเสียใจกับการกระทำของคุณ ดังนั้น ฉันจึงได้เปลี่ยนให้ฮิคารุพูดว่า “ผมไม่มีความสุขเลย เพราะผมได้ทำผิด”
โดยก่อนที่จะมาเป็นแม่ชีนั้น เธอเคยเป็นนักเขียนมาก่อน และใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน เธอทิ้งสามีและลูก หันไปมีความสัมพันธ์ใหม่กับเด็กหนุ่มคนหนึ่ง จากนั้นก็ไปคบหาและมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งยาวนานกับชายที่มีภรรยาแล้ว จนกระทั่งเธอได้มาบวชเป็นแม่ชีในพุทธศาสนา เมื่อปี 1973 เธอค่อยๆสร้างชื่อเสียงทางด้านงานเขียนมาเป็นลำดับ โดยได้รับใบประกาศเกียรติคุณยกย่องจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮากิฮิโตในปี 2006 หลังจากที่เธอได้เขียนเรื่องเกนจิ ในรูปแบบของนิยายร่วมสมัยเพื่อให้แพร่หลายไปสู่ผู้อ่านในวงกว้างขึ้น
หลังจากที่เธอได้รับเลือกให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์รางวัลนวนิยายผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เธอก็ได้พยายามหาเทคนิคใหม่ๆในการนำเสนอ ล่าสุดเธอเขียนนิยายจบเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และกำลังเตรียมจัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คส์
แม่ชีเซโตชิกล่าวในตอนท้ายว่า
“ฉันจะไม่เขียนนิยายบนมือถืออีกแล้ว”
(จาก Reuters)
ฟ้าชายชาร์ลสเสด็จฯเยือนบุโรพุทโธ
• อินโดนีเซีย : เจ้าฟ้าชายชาร์ลส มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษได้เสด็จฯ ไปเยือนพุทธสถานบุโรพุทโธ ซึ่งอยู่ชานเมืองยอคยาการ์ตาร์ ใจกลางจังหวัดจาวา เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2008 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จฯเยือนประเทศอินโดนีเซีย เป็นเวลา 5 วัน
(จาก Reuters)
พระเซนสื่อธรรมะบนกาน้ำชา
• มาเลเซีย : การเขียนตัวอักษรจีนในรูปแบบต่างๆลงบนกาน้ำชากว่า 500 ใบ อาจเป็นงานที่ยากสำหรับบางคน แต่สำหรับพระอาจารย์ชิเฉิน ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายเซนนั้น มันถือเป็นประสบการณ์ที่แสนสนุก
พระอาจารย์ชิ ประธานสมาคมชาวพุทธมาเลเซีย ใช้เวลาประมาณ 10 วันในเมืองยิซิง (รู้จักกันในนามเมืองหลวงของดิน) ซึ่งอยู่ในจังหวัดเจียงซูของจีน ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานพิเศษเหล่านี้
พระอาจารย์ชิได้พูดถึงรายละเอียด การประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบต่างๆว่า
“วิธีที่ตรงที่สุดคือ การทำให้ตัวอักษรอ้วนขึ้น ผอมลง สูงขึ้น และสั้นลง หรืออาจเปลี่ยนคำให้กลายเป็นภาพวาดขนาดเล็กก็ได้”
พระอาจารย์ชิได้ขีดเขียนตัวอักษรอย่างอิสระ โดยการลากยาว หรือดัดแปลงมุมองศา ทำให้คำที่เขียนขึ้นมานั้นมีลักษณะคล้ายกับคนกำลังนั่งวิปัสสนา หรือกำลังพายเรือ โดยมีแสงสว่างและควัน จางๆลอยอยู่ตรงหน้า
ผลงานของพระอาจารย์ชิได้นำมา จัดแสดงที่หอศิลป์เซียน ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในนิทรรศการนี้ยังมีกาน้ำชาอีกราว 200 ใบ ที่จารึก บทกวีของท่านและความคิดของเซน ย้ำถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ซึ่ง เป็นการเขียนด้วยพู่กันจีน ทำให้กาน้ำชา เหล่านั้นดูงดงามขึ้น
ทั้งนี้ พระอาจารย์ชิใช้พู่กันจีนเขียน ภาพมา 25 ปีแล้ว และผลงานของท่านได้รับรางวัลการสร้างสรรค์ตัวอักษรจีนได้เหมือนภาพวาด โดยท่านได้ความคิดนี้ขณะกำลังแสดงธรรมอยู่ในสหรัฐอเมริกา
(จาก The Star)
จีนอบรมภาษาอังกฤษให้ชาวพุทธ
• จีน : จีนได้เริ่มเปิดโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยนกับชาวต่างชาติ โครงการนี้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยนานาชาติเซี่ยงไฮ้ โดยสมาคมการสื่อสารศาสนาและวัฒนรรมของจีน และสมาคมชาวพุทธของจีน
ชิ เซี่ยวเฟย นายกสมาคมการสื่อสาร ศาสนา และวัฒนรรมของจีน กล่าวในการเปิดโครงการนี้ว่า โครงการนี้จะใช้เวลา 6 เดือนในการฝึกอบรมล่าม สำหรับการประชุมชาวพุทธโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศจีนในปี 2009 โดยได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่ของวัดกว่า 20 คน จากวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว
ชิ กล่าวต่อไปว่า ตนหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดึงดูดเหล่าพุทธศาสนิกชนจำนวนมากให้หันมาศึกษาภาษาต่างประเทศ เพื่อที่จีนจะได้มีพุทธศาสนิกชนที่มีทัศนะกว้างไกล
อาจารย์ยี่เช็ง ประธานสมาคมชาวพุทธของจีน กล่าวว่า จากการที่จีนได้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นระหว่างพุทธศาสนิกชนจีนกับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก จีนจำเป็นที่จะต้องอบรมประชาชน ซึ่งสามารถสอนพุทธศาสนา โดยใช้ภาษาอื่นๆ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นนี้
อนึ่ง จีนได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมชาวพุทธโลกครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2006
(จาก Xinhua)
สาวกรวมตัวต้อนรับ “พระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด” ในเนปาล
• เนปาล : ราม บหาดุร์ บามจัน วัย18 ปี ผู้ซึ่งได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนจำนวนมากที่เชื่อว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด ได้กลับมา ปรากฏตัวอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อพบกับบรรดาสาวกนับพันคนที่มารอพบเขาในป่าเมืองรัตตันปูร์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ราว 160 กม.
บรรดาสาวกเชื่อว่า เขานั่งหลับตาทำ สมาธิใต้ต้นไม้โดยไม่กินข้าวและน้ำ ตั้งแต่มีผู้พบเขาครั้งแรกในป่าทางตอนใต้ของเนปาล เมื่อปี 2005
บามจันในชุดขาวนั่งด้วยกิริยาอาการ และใบหน้าที่สงบนิ่ง ผมยาวสยาย เขาดูแข็งแรง ไม่มีท่าทีของคนอดอาหารและน้ำ และไม่มีคำพูดใดๆหลุดออกจากปากของเขา มีเพียงการเคาะศีรษะเบาๆให้แก่เหล่าสาวกเพื่ออวยพร ซึ่ง สาวกต่างเชื่อกันว่าเป็นสัมผัสอันศักดิ์สิทธิ์
พิษณุ มายา กาดกา หญิงชาวบ้านคนหนึ่งบอกหลังจากได้รับพรว่า “วัน นี้ฉันมีโอกาสได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคนอื่นๆบอกว่าเขา เป็นพระ พุทธเจ้า แต่สำหรับฉัน เขาก็เป็นเพียง พระผู้เป็น เจ้าเท่านั้น”
สำหรับพุทธศาสนา ซึ่งมีผู้นับถือราว 325 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย สอนว่าคนทุกคนเมื่อตายแล้ว จะกลับมาเกิดใหม่ในร่างอื่น แต่ปราชญ์ทางพุทธศาสนาหลายคนไม่เชื่อว่าบามจันคือเจ้าชายสิทธัตถะที่ต่อมาได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า จะกลับชาติมาเกิด
“การเป็นพระพุทธเจ้า หมายถึงการเกิด ครั้งสุดท้าย และเป็นการบรรลุขั้นสูงสุดจะไม่มีการกลับมาเกิดใหม่ แม้ว่าชาวพุทธจะเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายก็ตาม”ราเกซ นักวิชาการด้านพุทธศาสนาในกาฐมาณฑุ กล่าว
ขณะที่มิน บหาดุร์ ชาคยา จาก ศูนย์วิจัยพุทธศาสนาในกาฐมาณฑุ กล่าวว่า “การนั่งสมาธิวิปัสสนาโดยไม่กินอะไรเลยนั้น ไม่ได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด และจำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้ให้มาก”
อย่างไรก็ตาม บามจันไม่เคยพูดถึงการกลับชาติมาเกิดของตน เองเลยสักครั้งเดียว
(จากAP)
พบศิลาจารึกเก่าแก่ของพุทธสมัยพระนางซูสีไทเฮา
• จีน : พบศิลาจารึกโบราณสมัยพระนางซูสีไทเฮาและก่อนหน้านั้น ในบริเวณเทือกเขาใกล้เมืองท่าชิงเต่า ใน มณฑลชานตง ทางตะวันออกของจีน
เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมประจำท้องถิ่นนับแผ่นศิลาจารึกได้มากกว่า 300 แผ่น ซึ่งจารึกคำบูชาพระพุทธเจ้า การวิจัยเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ ของศิลาจารึกเหล่านี้สร้างขึ้นเมื่อกว่า 3 ศตวรรษ โดยเสร็จสิ้นลงในต้นศตวรรษที่ 20
แผ่นศิลาจารึกทั้งหมดนี้ทำขึ้น โดยเหล่านักแสวงบุญระหว่างการเดิน ทางไปยังวัดพุทธที่มีชื่อเสียงซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขา นักวิจัยคาดหวังว่าจะได้พบข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจากการค้นพบแผ่นศิลาจารึกนี้
(จาก CCTV)
ฟรีคลินิกของชาวพุทธในสิงคโปร์ ฉลองครบ 39 ปี
• สิงคโปร์ : สิงคโปร์ แม้ว่าตัวอาคารจะตั้งอยู่ในเขตกีแลง ย่านที่เต็มไปด้วยโสเภณี อันลือชื่อของสิงคโปร์ แต่คลินิกรักษาโรคฟรี ซึ่งดำเนินงานโดยชาวพุทธสิงคโปร์ ก็ถือเป็นเสาหลักของชุมชนนี้มาเกือบ 4 ทศวรรษแล้ว โดยให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้สูงอายุและคนยากจนทุกเชื้อชาติและศาสนา โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
คลินิกซึ่งรักษาผู้ป่วยมากกว่า 700 คนต่อวัน ได้ฉลองครบรอบ 39 ปี ของการเปิดบริการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาชุมชน เยาวชน และการกีฬา วิเวียน บาลากริชนัน ได้กล่าวยกย่องในระหว่างการฉลองครั้งนี้ว่า “เป็นการให้บริการอันประเมินค่ามิได้แก่ชุมชน”
ทั้งนี้คลินิกได้เปิดให้บริการด้านการปรึกษาและการรักษาตามแบบแพทย์ แผนจีน โดยคิดค่าบริการเพียง 1 เหรียญสิงคโปร์ ส่วนคนไข้ที่อายุเกิน 60 ปี ซึ่งมีมากกว่าครึ่งของจำนวนคนไข้ในคลินิก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สามเณรีนังโต หัวหน้าเลขานุการฝ่ายบริหารของคลินิกเปิดเผยว่า เหตุที่ค่ารักษาถูก เพราะได้รับเงินบริจาคจากสมาชิกขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และสาธารณชนทั่วไป
ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น สามเณรีนังโตก็เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดการบริจาค
“สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดในขณะนี้ก็ คือ การรักษาคุณภาพของเราในการให้บริการ”
(จาก The Straits Times)
พบร่องรอยเขตแดนใหม่ของโลกชาวพุทธโบราณ
• อิหร่าน : ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรียวโกกุของญี่ปุ่น ได้ค้นพบร่องรอยของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นวัดพุทธในหมู่ซากปรักหักพัง ใกล้เมืองมาราเกห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ซึ่งการค้นพบนี้อาจเป็นการขยายเขตแดนของโลกชาวพุทธโบราณ
โดยทีมนักวิจัยดังกล่าวได้พบห้องแห่ง หนึ่งมีเสาทรง 8 เหลี่ยม ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับที่พบในวัดพุทธหลายแห่งบนเส้นทางสายไหม ผู้ที่ทำการสักการบูชาจะเดินสวดมนต์ไปรอบๆเสานี้ นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้ค้นพบช่องเล็กๆบนด้านหน้าของเสา ซึ่งถูกใช้เป็นที่วางพระพุทธรูปและรูปเคารพอื่นๆในศาสนา
บริเวณที่ค้นพบนี้ อยู่ห่างราว 1,400 กม.ทางตะวันตกของหมู่ซากปรักหักพังอีกแห่งหนึ่งที่พบในประเทศเติร์กเมนิสถาน ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขอบเขตดินแดนของพุทธศาสนาทางด้านตะวันตก
อนึ่ง เมืองมาราเกห์เคยเป็นเมืองหลวงของอิลคานิด ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ ฮูลากูข่าน ซึ่งเป็นหลานของเจงกีสข่าน
(จาก Mainichi Shimbun)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดยเภตรา)
• ญี่ปุ่น : แม่ชี ‘จากุโช เซโตชิ’ วัย 86 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น ได้ นำวรรณกรรมโรแมนติคของญี่ปุ่น ในศตวรรษที่11เรื่อง “The Tale of Genji” (ตำนานเกนจิ) ซึ่งเป็นสุดยอดวรรณกรรมของญี่ปุ่น มาดัดแปลงเป็นนวนิยาย เรื่อง “Tomorrow Rainbow” โดยส่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเป็นที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่นว่า นิยายบนมือถือ ซึ่งได้รับความนิยมเช่นเดียวกับหนังสือขายดีทั่วไป เธอเล่าว่าเป็นครั้งแรกที่เธอได้เขียนนิยายบนมือถือ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก และเธอได้ถือโอกาสนี้แก้ไขข้อความบางตอนในวรรณกรรมดังกล่าว
“ฮิคารุ เกนจิ(ตัวเอกของเรื่อง)ไม่ได้รู้สึกเสียใจในความผิดที่ตนได้กระทำ” แม่ชีกล่าว “แต่ถ้าคุณทำความผิด คุณต้องเสียใจกับการกระทำของคุณ ดังนั้น ฉันจึงได้เปลี่ยนให้ฮิคารุพูดว่า “ผมไม่มีความสุขเลย เพราะผมได้ทำผิด”
โดยก่อนที่จะมาเป็นแม่ชีนั้น เธอเคยเป็นนักเขียนมาก่อน และใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน เธอทิ้งสามีและลูก หันไปมีความสัมพันธ์ใหม่กับเด็กหนุ่มคนหนึ่ง จากนั้นก็ไปคบหาและมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งยาวนานกับชายที่มีภรรยาแล้ว จนกระทั่งเธอได้มาบวชเป็นแม่ชีในพุทธศาสนา เมื่อปี 1973 เธอค่อยๆสร้างชื่อเสียงทางด้านงานเขียนมาเป็นลำดับ โดยได้รับใบประกาศเกียรติคุณยกย่องจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮากิฮิโตในปี 2006 หลังจากที่เธอได้เขียนเรื่องเกนจิ ในรูปแบบของนิยายร่วมสมัยเพื่อให้แพร่หลายไปสู่ผู้อ่านในวงกว้างขึ้น
หลังจากที่เธอได้รับเลือกให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์รางวัลนวนิยายผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เธอก็ได้พยายามหาเทคนิคใหม่ๆในการนำเสนอ ล่าสุดเธอเขียนนิยายจบเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และกำลังเตรียมจัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คส์
แม่ชีเซโตชิกล่าวในตอนท้ายว่า
“ฉันจะไม่เขียนนิยายบนมือถืออีกแล้ว”
(จาก Reuters)
ฟ้าชายชาร์ลสเสด็จฯเยือนบุโรพุทโธ
• อินโดนีเซีย : เจ้าฟ้าชายชาร์ลส มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษได้เสด็จฯ ไปเยือนพุทธสถานบุโรพุทโธ ซึ่งอยู่ชานเมืองยอคยาการ์ตาร์ ใจกลางจังหวัดจาวา เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2008 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จฯเยือนประเทศอินโดนีเซีย เป็นเวลา 5 วัน
(จาก Reuters)
พระเซนสื่อธรรมะบนกาน้ำชา
• มาเลเซีย : การเขียนตัวอักษรจีนในรูปแบบต่างๆลงบนกาน้ำชากว่า 500 ใบ อาจเป็นงานที่ยากสำหรับบางคน แต่สำหรับพระอาจารย์ชิเฉิน ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายเซนนั้น มันถือเป็นประสบการณ์ที่แสนสนุก
พระอาจารย์ชิ ประธานสมาคมชาวพุทธมาเลเซีย ใช้เวลาประมาณ 10 วันในเมืองยิซิง (รู้จักกันในนามเมืองหลวงของดิน) ซึ่งอยู่ในจังหวัดเจียงซูของจีน ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานพิเศษเหล่านี้
พระอาจารย์ชิได้พูดถึงรายละเอียด การประดิษฐ์ตัวอักษรในรูปแบบต่างๆว่า
“วิธีที่ตรงที่สุดคือ การทำให้ตัวอักษรอ้วนขึ้น ผอมลง สูงขึ้น และสั้นลง หรืออาจเปลี่ยนคำให้กลายเป็นภาพวาดขนาดเล็กก็ได้”
พระอาจารย์ชิได้ขีดเขียนตัวอักษรอย่างอิสระ โดยการลากยาว หรือดัดแปลงมุมองศา ทำให้คำที่เขียนขึ้นมานั้นมีลักษณะคล้ายกับคนกำลังนั่งวิปัสสนา หรือกำลังพายเรือ โดยมีแสงสว่างและควัน จางๆลอยอยู่ตรงหน้า
ผลงานของพระอาจารย์ชิได้นำมา จัดแสดงที่หอศิลป์เซียน ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในนิทรรศการนี้ยังมีกาน้ำชาอีกราว 200 ใบ ที่จารึก บทกวีของท่านและความคิดของเซน ย้ำถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ซึ่ง เป็นการเขียนด้วยพู่กันจีน ทำให้กาน้ำชา เหล่านั้นดูงดงามขึ้น
ทั้งนี้ พระอาจารย์ชิใช้พู่กันจีนเขียน ภาพมา 25 ปีแล้ว และผลงานของท่านได้รับรางวัลการสร้างสรรค์ตัวอักษรจีนได้เหมือนภาพวาด โดยท่านได้ความคิดนี้ขณะกำลังแสดงธรรมอยู่ในสหรัฐอเมริกา
(จาก The Star)
จีนอบรมภาษาอังกฤษให้ชาวพุทธ
• จีน : จีนได้เริ่มเปิดโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยนกับชาวต่างชาติ โครงการนี้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยนานาชาติเซี่ยงไฮ้ โดยสมาคมการสื่อสารศาสนาและวัฒนรรมของจีน และสมาคมชาวพุทธของจีน
ชิ เซี่ยวเฟย นายกสมาคมการสื่อสาร ศาสนา และวัฒนรรมของจีน กล่าวในการเปิดโครงการนี้ว่า โครงการนี้จะใช้เวลา 6 เดือนในการฝึกอบรมล่าม สำหรับการประชุมชาวพุทธโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศจีนในปี 2009 โดยได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่ของวัดกว่า 20 คน จากวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว
ชิ กล่าวต่อไปว่า ตนหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดึงดูดเหล่าพุทธศาสนิกชนจำนวนมากให้หันมาศึกษาภาษาต่างประเทศ เพื่อที่จีนจะได้มีพุทธศาสนิกชนที่มีทัศนะกว้างไกล
อาจารย์ยี่เช็ง ประธานสมาคมชาวพุทธของจีน กล่าวว่า จากการที่จีนได้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นระหว่างพุทธศาสนิกชนจีนกับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก จีนจำเป็นที่จะต้องอบรมประชาชน ซึ่งสามารถสอนพุทธศาสนา โดยใช้ภาษาอื่นๆ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นนี้
อนึ่ง จีนได้เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมชาวพุทธโลกครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2006
(จาก Xinhua)
สาวกรวมตัวต้อนรับ “พระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด” ในเนปาล
• เนปาล : ราม บหาดุร์ บามจัน วัย18 ปี ผู้ซึ่งได้รับการเคารพนับถือจากผู้คนจำนวนมากที่เชื่อว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด ได้กลับมา ปรากฏตัวอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อพบกับบรรดาสาวกนับพันคนที่มารอพบเขาในป่าเมืองรัตตันปูร์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ราว 160 กม.
บรรดาสาวกเชื่อว่า เขานั่งหลับตาทำ สมาธิใต้ต้นไม้โดยไม่กินข้าวและน้ำ ตั้งแต่มีผู้พบเขาครั้งแรกในป่าทางตอนใต้ของเนปาล เมื่อปี 2005
บามจันในชุดขาวนั่งด้วยกิริยาอาการ และใบหน้าที่สงบนิ่ง ผมยาวสยาย เขาดูแข็งแรง ไม่มีท่าทีของคนอดอาหารและน้ำ และไม่มีคำพูดใดๆหลุดออกจากปากของเขา มีเพียงการเคาะศีรษะเบาๆให้แก่เหล่าสาวกเพื่ออวยพร ซึ่ง สาวกต่างเชื่อกันว่าเป็นสัมผัสอันศักดิ์สิทธิ์
พิษณุ มายา กาดกา หญิงชาวบ้านคนหนึ่งบอกหลังจากได้รับพรว่า “วัน นี้ฉันมีโอกาสได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคนอื่นๆบอกว่าเขา เป็นพระ พุทธเจ้า แต่สำหรับฉัน เขาก็เป็นเพียง พระผู้เป็น เจ้าเท่านั้น”
สำหรับพุทธศาสนา ซึ่งมีผู้นับถือราว 325 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย สอนว่าคนทุกคนเมื่อตายแล้ว จะกลับมาเกิดใหม่ในร่างอื่น แต่ปราชญ์ทางพุทธศาสนาหลายคนไม่เชื่อว่าบามจันคือเจ้าชายสิทธัตถะที่ต่อมาได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า จะกลับชาติมาเกิด
“การเป็นพระพุทธเจ้า หมายถึงการเกิด ครั้งสุดท้าย และเป็นการบรรลุขั้นสูงสุดจะไม่มีการกลับมาเกิดใหม่ แม้ว่าชาวพุทธจะเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายก็ตาม”ราเกซ นักวิชาการด้านพุทธศาสนาในกาฐมาณฑุ กล่าว
ขณะที่มิน บหาดุร์ ชาคยา จาก ศูนย์วิจัยพุทธศาสนาในกาฐมาณฑุ กล่าวว่า “การนั่งสมาธิวิปัสสนาโดยไม่กินอะไรเลยนั้น ไม่ได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด และจำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้ให้มาก”
อย่างไรก็ตาม บามจันไม่เคยพูดถึงการกลับชาติมาเกิดของตน เองเลยสักครั้งเดียว
(จากAP)
พบศิลาจารึกเก่าแก่ของพุทธสมัยพระนางซูสีไทเฮา
• จีน : พบศิลาจารึกโบราณสมัยพระนางซูสีไทเฮาและก่อนหน้านั้น ในบริเวณเทือกเขาใกล้เมืองท่าชิงเต่า ใน มณฑลชานตง ทางตะวันออกของจีน
เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมประจำท้องถิ่นนับแผ่นศิลาจารึกได้มากกว่า 300 แผ่น ซึ่งจารึกคำบูชาพระพุทธเจ้า การวิจัยเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ ของศิลาจารึกเหล่านี้สร้างขึ้นเมื่อกว่า 3 ศตวรรษ โดยเสร็จสิ้นลงในต้นศตวรรษที่ 20
แผ่นศิลาจารึกทั้งหมดนี้ทำขึ้น โดยเหล่านักแสวงบุญระหว่างการเดิน ทางไปยังวัดพุทธที่มีชื่อเสียงซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขา นักวิจัยคาดหวังว่าจะได้พบข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจากการค้นพบแผ่นศิลาจารึกนี้
(จาก CCTV)
ฟรีคลินิกของชาวพุทธในสิงคโปร์ ฉลองครบ 39 ปี
• สิงคโปร์ : สิงคโปร์ แม้ว่าตัวอาคารจะตั้งอยู่ในเขตกีแลง ย่านที่เต็มไปด้วยโสเภณี อันลือชื่อของสิงคโปร์ แต่คลินิกรักษาโรคฟรี ซึ่งดำเนินงานโดยชาวพุทธสิงคโปร์ ก็ถือเป็นเสาหลักของชุมชนนี้มาเกือบ 4 ทศวรรษแล้ว โดยให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้สูงอายุและคนยากจนทุกเชื้อชาติและศาสนา โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
คลินิกซึ่งรักษาผู้ป่วยมากกว่า 700 คนต่อวัน ได้ฉลองครบรอบ 39 ปี ของการเปิดบริการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาชุมชน เยาวชน และการกีฬา วิเวียน บาลากริชนัน ได้กล่าวยกย่องในระหว่างการฉลองครั้งนี้ว่า “เป็นการให้บริการอันประเมินค่ามิได้แก่ชุมชน”
ทั้งนี้คลินิกได้เปิดให้บริการด้านการปรึกษาและการรักษาตามแบบแพทย์ แผนจีน โดยคิดค่าบริการเพียง 1 เหรียญสิงคโปร์ ส่วนคนไข้ที่อายุเกิน 60 ปี ซึ่งมีมากกว่าครึ่งของจำนวนคนไข้ในคลินิก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สามเณรีนังโต หัวหน้าเลขานุการฝ่ายบริหารของคลินิกเปิดเผยว่า เหตุที่ค่ารักษาถูก เพราะได้รับเงินบริจาคจากสมาชิกขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และสาธารณชนทั่วไป
ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น สามเณรีนังโตก็เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดการบริจาค
“สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดในขณะนี้ก็ คือ การรักษาคุณภาพของเราในการให้บริการ”
(จาก The Straits Times)
พบร่องรอยเขตแดนใหม่ของโลกชาวพุทธโบราณ
• อิหร่าน : ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรียวโกกุของญี่ปุ่น ได้ค้นพบร่องรอยของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นวัดพุทธในหมู่ซากปรักหักพัง ใกล้เมืองมาราเกห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ซึ่งการค้นพบนี้อาจเป็นการขยายเขตแดนของโลกชาวพุทธโบราณ
โดยทีมนักวิจัยดังกล่าวได้พบห้องแห่ง หนึ่งมีเสาทรง 8 เหลี่ยม ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับที่พบในวัดพุทธหลายแห่งบนเส้นทางสายไหม ผู้ที่ทำการสักการบูชาจะเดินสวดมนต์ไปรอบๆเสานี้ นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้ค้นพบช่องเล็กๆบนด้านหน้าของเสา ซึ่งถูกใช้เป็นที่วางพระพุทธรูปและรูปเคารพอื่นๆในศาสนา
บริเวณที่ค้นพบนี้ อยู่ห่างราว 1,400 กม.ทางตะวันตกของหมู่ซากปรักหักพังอีกแห่งหนึ่งที่พบในประเทศเติร์กเมนิสถาน ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขอบเขตดินแดนของพุทธศาสนาทางด้านตะวันตก
อนึ่ง เมืองมาราเกห์เคยเป็นเมืองหลวงของอิลคานิด ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ ฮูลากูข่าน ซึ่งเป็นหลานของเจงกีสข่าน
(จาก Mainichi Shimbun)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 97 ธ.ค. 51 โดยเภตรา)