โดย : เหล็งฮู้ชง
“เซียงขวงดินแดนวิมานหนาวใจสะท้าน หนาวสั่นสะเทือน ภูจงเป็นวงแสงเดือน(ซ้ำ…) เมฆน้อยลอยเลื่อนยามเมื่อคืนเดือนเพ็ญ...”
เพลง : เซียงขวงแดนงาม บทเพลงดั้งเดิมของลาว
...เพราะกลัวคอมมิวนิสต์และทฤษฎีโดมิโนส์จน(ขี้)ขึ้นสมอง อเมริกาจึงเข้าถือหางสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายขวาในประเทศกลุ่มภูมิภาคอินโดจีนอย่างเปิดเผย จนเป็นที่มาของสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1957-1975
สงครามครั้งนั้นคนไทยรู้จักกันดีในนาม“สงครามเวียดนาม” ที่ไม่แต่เฉพาะเวียดนามเท่านั้นที่ถูกบอมบ์แบบไม่ลืมหูลืมตา แต่ในพื้นที่ตอนบนของลาวอย่างแขวงเซียงขวง เมืองซำเหนือ ก็ถูกมะกันอันธพาลถล่มอย่างหนักหนาสาหัสเช่นกัน
แต่สุดท้ายมะกันอันธพาลก็แพ้พ่ายทั้งในเวียดนามและลาว
เป็นตราบาปติดตัวพญาอินทรีมาจนถึงทุกวันนี้
1...
หลังสงครามเวียดนาม(ค.ศ. 1957-1975)หลายเมืองที่โดนพิษสงครามจากอเมริกันอันธพาล พยายามลืมอดีตอันเจ็บปวดหันมาปรับเปลี่ยนเป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือแขวง“เซียงขวง” (คนลาวเขียนเชียงขวาง ออกเสียงเรียกเซียงขวง ส่วนคนไทยเรียกว่า“เชียงขวาง”)ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว
เซียงขวงเป็นหนึ่งในเมืองประวัติศาสตร์สำคัญในสปป.ลาว ในอดีตมีเมืองคูนเป็นเมืองเอก เมืองนี้มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว“ไท(ลาว)พวน”ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของจีนเมื่อราว 2 พันปีที่แล้ว
ช่วงสงครามเวียดนามเมืองคูนถูกอเมริกันนำระเบิดมาทิ้ง(คนลาวเรียกว่า“ทิ่ม”)อย่างหนัก ผู้คนล้มตายมากมาย บ้านเรือนเสียหายยับเยิน จนหลังสงครามทางการลาวต้องย้ายหน่วยราชการมาตั้งเมืองเอกแห่งใหม่ที่เมือง“โพนสะหวัน”ที่อยู่ห่างเมืองคูนราว 30 กม.(เดิมโพนสะหวันชื่อเมือง“แปก” แปลว่า“ต้นสน”ซึ่งมีมากในเมืองนี้เพราะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี)
อย่างไรก็ตามเมืองคูนในวันนี้ยังไม่ถูกลืม เพราะความเป็นเมืองเอกในอดีตผสมกับความเป็นเมืองพวน ทำให้เมืองคูนเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว เมืองนี้มีจุดสนใจสำคัญอยู่ที่“วัดเพีย” (เพียแปลว่าขุนนาง)วัดเก่าแก่อายุนับร้อยปี ในวัดเพียมีซากโบสถ์โบราณที่ถูกมะกันบอมบ์ถล่มเหลือเพียงพื้น เสา และพระพุทธรูปองค์ใหญ่
พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคูน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ราว ค.ศ.1576 องค์เดิมเป็นองค์เล็กทำด้วยทองสำริด ส่วนองค์ที่เห็นในปัจจุบันเกิดจากการสร้างปูนพอกครอบด้านนอกด้วยศิลปะล้านช้าง
มีเรื่องเล่ากันว่า ในปี ค.ศ.1966 มะกัน“ทิ่ม”บอมบ์เมืองคูนอย่างหนัก วัดเพียถูกทำลาย พระสงฆ์- ผู้คนล้มตายมากมาย แต่ไม่น่าเชื่อว่าองค์พระพุทธรูปวัดเพียจะรอดพ้นจากการโจมตีมาได้ทั้งๆที่เป็นเป้าใหญ่ ส่วนที่ไม่น่าเชื่อกว่าก็คือ เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เฒ่าผู้แก่เมืองคูนเล่าว่า เห็นพระพุทธรูปร้องไห้ น้ำตาไหลพรากอาบ 2 แก้ม
เรื่องนี้จริง-เท็จยังไงผมไม่รู้ รู้แต่ว่าอเมริกันถล่มระเบิดจริงแท้แน่นอนแบบไม่ต้องแก้ตัวใดๆ จนทำให้สิ่งศักดิ์คู่เมืองอย่างพระธาตุจอมเพชรที่อยู่ใกล้ๆกับวัดเพียถูกถล่มยอดหักไปด้วย ส่วนพระธาตุฝุ่นอีกหนึ่งโบราณสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่อยู่ละแวกเดียวกันโชคดีไม่ถูกทำลาย จึงเหลือรอดมาให้ชาวบ้านได้เคารพบูชาจนถึงทุกวันนี้
2...
“อย่าเชื่อใจแม่ค้า อย่าเชื่อฟ้าเซียงขวง”
ภาษิตลาวเขาว่าไว้อย่างนั้น เพราะฟ้าเมืองเซียงขวง(ไปจนถึงซำเหนือ)เอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวแจ่มใสกระจ่างจ้า เดี๋ยวมือฟ้ามัวดิน เดี๋ยวฝนตกกระหน่ำไม่ลืมหูลืมตา แต่ทว่าบนท้องฟ้าเซียงขวงจอมโลเลนี่ในสมัยสงครามเวียดนามมีความแน่นอนมาก เพราะทุกๆวันบนท้องฟ้าจะเต็มว่อนไปด้วยเครื่องบินของมะกันบินมาทิ่มระเบิดแบบวินาศสันตะโร(ใช้ฐานทัพบินจากเมืองไทยที่อุดรฯ สัตหีบ) เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม(ค.ศ. 1963-1973) สรุปเป็นตัวเลขให้ไกด์ลาวนำมาบอกเล่ากับนักท่องเที่ยวว่า “ช่วงนั้นอเมริกันทิ่มลูกบอมบ์(ระเบิด)เฉลี่ยแล้วตกวันละ 10 ตัน ในทุกๆ 15 นาที”
สำหรับสาเหตุที่ต้องทิ้งบอมบ์กันแบบบ้าดีเดือด เพราะเมืองเซียงขวงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามกลางเมืองลาว ระหว่างฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา มะกันกลัวคอมมิวนิสต์จะยึดครองลาวและภูมิภาคนี้จึงให้การสนับสนุนรัฐบาลลาวฝ่ายขวา โดยมีชาวม้ง(ในลาว)และทหารรับจ้างไทยร่วมด้วยช่วยกันรบ ทำสงครามกับลาวฝ่ายซ้ายในนาม“ขบวนการประเทดลาว”และชาวไทพวน(ส่วนใหญ่อยู่ในเซียงขวง) โดยมีจีน-รัสเซีย-เวียดนาม สนับสนุน
สงครามครั้งนั้นรบกันยืดเยื้อ 10 ปี ท้ายที่สุดมะกันแพ้พ่ายกลายเป็นตราบาปติดตัว แต่ได้ทิ้งบาดแผลสงครามให้ชาวบ้านในพื้นที่รับไปเต็มๆ โดยเฉพาะระเบิดจำนวนมหาศาลที่ทิ้งลงมานั้น ผ่านมาร่วม 30 ปีแล้วยังมีระเบิดหลงเหลืออยู่อีกเพียบ ที่สำคัญคือลูกระบิดจำนวนมากยัง“ไม่ระเบิด”!!!
นี่เป็นปัญหาหนักใจชาวเซียงขวง เพราะหากใครดวงแตกไปโดนเข้า ถ้าโชคดีก็ตาย โชคร้ายก็พิการ ซึ่งแม้วันนี้จะมีองค์กร MAG(Mines Advisory Group)ยื่นมือเข้ามาช่วยเก็บกู้ แต่ก็ไม่รู้ว่าอีกกี่ชาติ
จะเก็บกู้กันหมดสิ้น
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวเซียงขวง เรื่องนี้ก็ไม่ต้องหวาดหวั่นเพราะตามจุดท่องเที่ยวเขาทำการเก็บกู้ระเบิดปลอดภัย สามารถเที่ยวได้แบบไม่ต้องระแวง เพียงแต่ว่าต้องไปตามเส้นทางที่กำหนด หากใครออกนอกเส้นทางหลุดเข้าไปในพื้นที่สีแดง(พื้นที่ที่ยังเก็บระเบิดไม่หมด) งานนี้คงต้องขึ้นอยู่กับบุญเก่าในชาติปางก่อนของแต่ละคนแล้ว
แต่สำหรับคนเซียงขวงดูเหมือนพวกเขาจะชินกับระเบิดมานานแล้ว(ชินแต่ไม่ใช่ไม่กลัว) นั่นจึงทำให้ทางการลาวทำการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับระเบิดและการเก็บกู้พร้อมด้วยอาวุธสงคราม ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษากันที่ห้องข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวในตัวเมืองโพนสะหวัน ในขณะที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งนำชิ้นส่วนระเบิดทั้งน้อยใหญ่(ที่ระเบิดแล้ว)มาดัดแปลง ทำเสา ทำรั้วบ้าน ปลูกต้นไม้ เตาปิ้งบาร์บีคิว จนกลายเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของเมืองนี้ไป
นับได้ว่าชาวเซียงขวงในปัจจุบันยังคงหนีไม่พ้นจากลูกระเบิดอยู่ดี
3…
เมืองเซียงขวงมีหลายฉายาด้วยกัน ฉายาหลักๆมาจากการเคยเป็นสมรภูมิการสู้รบในสงครามเวียดนาม ทำให้เมืองนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ดินแดนแห่งการปลดแอก(จากอเมริกา) ดินแดนแห่งวีรชน ดินแดนแห่งการปฏิวัติ
ส่วนฉายาอื่นๆก็มี “ดินแดนแห่งนกนางแอ่น” เพราะเมืองนี้มีนกนางแอ่นมาก ทุกวันชาวบ้านจะจับมาขายที่ตลาดโพนสะหวันกันเป็นจำนวนมาก ถอนขน ถลกหนัง มาเสร็จสรรพ พร้อมทำอาหารกินได้เลย
และฉายา“ดินแดนแห่งสาวงาม” ที่ผมชื่นชอบมาก เพราะสาวไท(ลาวพวน)ที่นี่ทั้งสวย ทั้งแกร่ง ต้องจับปืนสู้รบกับข้าศึกทั้งฝ่ายขวาและอเมริกันแบบไม่เกรงกลัว ไม่ใช่พวกสวยไร้สมองแบบดาราบ้านเราบางคน
อีกฉายาหนึ่งคือ“ดินแดนแห่งความหนาว”ที่พอเดินทางเข้าเขตเซียงขวงผมสัมผัสได้ถึงไอแห่งความหนาวเย็นทันที เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่บนระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยเกิน 1,000 เมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
เทือกเขาหลายแนวคือความแปลกตาในระดับอันซีนสำหรับผม เพราะเป็นภูเขาหญ้าเขียวชอุ่ม(ช่วงที่ไปเป็นปลายฝน)สวยงาม แปลกตา ชวนให้นึกถึงภูเขาหญ้าเมืองระนองที่เป็นอันซีนในบ้านเรา แต่ภูเขาหญ้าที่นี่มีขนาดใหญ่และจำนวนเยอะกว่าบ้านเราอยู่มากโขเห็นเป็นแนวกว้างไกลสุดสายตา ยามเช้าวันฟ้าใสจะเห็นสายหมอกขาวลอยอ้อยอิ่ง ยามสาย-ยามเย็นในเทือกเขาบางช่วงบางตอนจะมีชาวบ้านนำวัว-ควายออกหากินหญ้า ดูประหนึ่งฟาร์มปศุสัตว์ในเมืองฝรั่ง
และด้วยบรรยากาศแบบนี้ ชาวลาวหลายคนจึงตั้งฉายาใหม่ให้เซียงขวงเพื่อเป็นกิมมิกทางการท่องเที่ยวว่า“นิวซีแลนด์แดนลาว”
ในขณะที่เพื่อนร่วมทริปคนหนึ่งก็ตั้งฉายาของเมืองนี้อย่างเก๋ไก๋ว่าเป็น“นิวซีลาว” ที่ไม่แน่ว่านี่อาจจะกลายเป็นฉายาใหม่ทางการท่องเที่ยวของเมืองนี้ในอนาคตก็ได้
4...
ใครที่มาเยือนเซียงขวงถ้าไม่ได้ไปเที่ยว“ทุ่งไหหิน” เหมือนกับมาไม่ถึงเซียงขวง เพราะนี่คือสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วโลก มีลักษณะเป็นเนินเขากว้างไกล บนนั้นมีหินรูปทรงคล้ายไห บางใบคล้ายโอ่ง ใบสูงตั้งแต่เอวไปจนสูงท่วมหัว ขนาดแต่ละใบกว้าง 1-2 เมตร ตั้งระเกะระกะเป็นหย่อมๆในจุดชม
บรรดาไหหินเหล่านี้ตามหลักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะทำขึ้นราว 1,800 ปี มาแล้ว(อ้างอิงจากหนังสือ หอมกลิ่นจำปา เบิกฟ้าเมืองลาว โดย : ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) สร้างขึ้นเป็นสุสานหรือฮวงซุ้ย เพราะขุดพบเศษกระดูก ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องใช้โบราณ บรรจุอยู่ในไห ส่วนที่ยังเป็นปริศนาก็คือ คนโบราณนำไหหินมาจากไหน? ขนหินขึ้นไปบนนั้นได้อย่างไร?
ส่วนตามตำนานพื้นบ้านเชื่อว่า นี่คือไหเหล้าของ“ขุนเจือง” (วีรบุรุษชาวลาว ยอดกษัตริย์แห่งล้านช้างเมื่อเกือบพันปีที่แล้ว)และทหาร ทำขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะหลังทำศึกกับพวกญวน(เวียดนาม)
ในขณะที่บางความเชื่อก็หลุดโลกไปเลย เชื่อว่านี่คือหินประหลาดลักษณะเดียวกับสโตนเฮนจ์ ที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ต่างดาวโน่น
เรื่องนี้ใครจะเชื่อหลักวิชาการ ตำนาน หรือเรื่องหลุดโลกก็สุดแท้แต่ แต่เรื่องจริงก็คือในเซียงขวงมีทุ่งไหหินถึง 30 กว่าไห แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ปลอดภัยจากลูกระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้ ทางการลาวจึงเปิดให้เที่ยวชมเพียง 3 ทุ่งเท่านั้น
ทุ่งแรก ตั้งอยู่บนทิวทัศน์อันงดงามของเนินเขาหญ้ากว้างไกล มีไหหินกว่า 300 ไน มากที่สุดในบรรดา 3 ทุ่ง มีจุดชมหลักๆ 2 จุด จุดแรกมีไหใบใหญ่(ดูคล้ายโอ่ง)เป็นไฮไลท์ตั้งเอียงๆอยู่ชาวบ้านเชื่อว่านี่เป็นไหเหล้าของขุนเจือง จุดที่สองต้องเดินจากจุดแรกลงไปข้างล่างเป็นพื้นที่ที่มีไหหินจำนวนมากร่วม 200 ไห ตั้งเรียงรายเต็มท้องทุ่งหญ้า
ทุ่งที่สอง มี 90 กว่าไห มีจุดหลัก 2 จุดเช่นกัน จุดแรกตั้งอยู่ในดงไม้ เป็นไหทรงกระบอกทั้งเตี้ยและสูง บางไหเป็นทรงสี่เหลี่ยมเด่นกว่าเพื่อน ส่วนจุดที่ 2 ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงท่ามกลางทิวทัศน์ขุนเขาที่รายล้อม นับเป็นทุ่งไหที่วิวสวยงามมากๆ
ทุ่งที่สาม มีเกือบ 200 ไห ตั้งอยู่กลางทุ่งนาของชาวบ้าน ล้อมรั้วไม้อย่างดี มีไหเหลี่ยมเตี้ยๆอยู่หลายใบด้วยกัน
สำหรับไหหินใน 3 ทุ่งนั้น มีหลายใบถูกระเบิดมะกันถล่มแหลก แตก หัก พัง นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
นี่แหละหนาสงคราม ไม่เข้าใครออกใคร มันทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นมหันตภัยจากน้ำมือมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดในบรรณพิภพ แต่น่าแปลกที่ไม่ว่ายุคสมัยไหนกลับมีมนุษย์จำนวนหนึ่งยังคงกระหายสงครามอยู่ร่ำไป
*****************************************
แขวงเซียงขวง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว มีพรมแดนติดประเทศเวียดนาม การเดินทาง มีเครื่องบินจากเวียงจันทน์บินไปยังเซียงขวง หากนั่งรถยนต์หรือรถประจำทางจากเวียงจันทน์ จะไปทางวังเวียง ไป 3 แยกพูคูน แล้วแยกขวาไปเซียงขวง(แยกซ้ายไปหลวงพระบาง) สำหรับผู้ที่ต้องการเที่ยวเซียงขวงและเมืองอื่นๆในสปป.ลาวในรูปแบบทัวร์ที่แตกต่าง(หลวงพระบาง-วังเวียง-เซียงขวง(ทุ่งไหหิน)-เวียงจันทน์) สามารถสอบถามได้ที่ สีสันทัวร์ 0-2693-1031-3
“เซียงขวงดินแดนวิมานหนาวใจสะท้าน หนาวสั่นสะเทือน ภูจงเป็นวงแสงเดือน(ซ้ำ…) เมฆน้อยลอยเลื่อนยามเมื่อคืนเดือนเพ็ญ...”
เพลง : เซียงขวงแดนงาม บทเพลงดั้งเดิมของลาว
...เพราะกลัวคอมมิวนิสต์และทฤษฎีโดมิโนส์จน(ขี้)ขึ้นสมอง อเมริกาจึงเข้าถือหางสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายขวาในประเทศกลุ่มภูมิภาคอินโดจีนอย่างเปิดเผย จนเป็นที่มาของสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1957-1975
สงครามครั้งนั้นคนไทยรู้จักกันดีในนาม“สงครามเวียดนาม” ที่ไม่แต่เฉพาะเวียดนามเท่านั้นที่ถูกบอมบ์แบบไม่ลืมหูลืมตา แต่ในพื้นที่ตอนบนของลาวอย่างแขวงเซียงขวง เมืองซำเหนือ ก็ถูกมะกันอันธพาลถล่มอย่างหนักหนาสาหัสเช่นกัน
แต่สุดท้ายมะกันอันธพาลก็แพ้พ่ายทั้งในเวียดนามและลาว
เป็นตราบาปติดตัวพญาอินทรีมาจนถึงทุกวันนี้
1...
หลังสงครามเวียดนาม(ค.ศ. 1957-1975)หลายเมืองที่โดนพิษสงครามจากอเมริกันอันธพาล พยายามลืมอดีตอันเจ็บปวดหันมาปรับเปลี่ยนเป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือแขวง“เซียงขวง” (คนลาวเขียนเชียงขวาง ออกเสียงเรียกเซียงขวง ส่วนคนไทยเรียกว่า“เชียงขวาง”)ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว
เซียงขวงเป็นหนึ่งในเมืองประวัติศาสตร์สำคัญในสปป.ลาว ในอดีตมีเมืองคูนเป็นเมืองเอก เมืองนี้มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว“ไท(ลาว)พวน”ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของจีนเมื่อราว 2 พันปีที่แล้ว
ช่วงสงครามเวียดนามเมืองคูนถูกอเมริกันนำระเบิดมาทิ้ง(คนลาวเรียกว่า“ทิ่ม”)อย่างหนัก ผู้คนล้มตายมากมาย บ้านเรือนเสียหายยับเยิน จนหลังสงครามทางการลาวต้องย้ายหน่วยราชการมาตั้งเมืองเอกแห่งใหม่ที่เมือง“โพนสะหวัน”ที่อยู่ห่างเมืองคูนราว 30 กม.(เดิมโพนสะหวันชื่อเมือง“แปก” แปลว่า“ต้นสน”ซึ่งมีมากในเมืองนี้เพราะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี)
อย่างไรก็ตามเมืองคูนในวันนี้ยังไม่ถูกลืม เพราะความเป็นเมืองเอกในอดีตผสมกับความเป็นเมืองพวน ทำให้เมืองคูนเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว เมืองนี้มีจุดสนใจสำคัญอยู่ที่“วัดเพีย” (เพียแปลว่าขุนนาง)วัดเก่าแก่อายุนับร้อยปี ในวัดเพียมีซากโบสถ์โบราณที่ถูกมะกันบอมบ์ถล่มเหลือเพียงพื้น เสา และพระพุทธรูปองค์ใหญ่
พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคูน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ราว ค.ศ.1576 องค์เดิมเป็นองค์เล็กทำด้วยทองสำริด ส่วนองค์ที่เห็นในปัจจุบันเกิดจากการสร้างปูนพอกครอบด้านนอกด้วยศิลปะล้านช้าง
มีเรื่องเล่ากันว่า ในปี ค.ศ.1966 มะกัน“ทิ่ม”บอมบ์เมืองคูนอย่างหนัก วัดเพียถูกทำลาย พระสงฆ์- ผู้คนล้มตายมากมาย แต่ไม่น่าเชื่อว่าองค์พระพุทธรูปวัดเพียจะรอดพ้นจากการโจมตีมาได้ทั้งๆที่เป็นเป้าใหญ่ ส่วนที่ไม่น่าเชื่อกว่าก็คือ เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เฒ่าผู้แก่เมืองคูนเล่าว่า เห็นพระพุทธรูปร้องไห้ น้ำตาไหลพรากอาบ 2 แก้ม
เรื่องนี้จริง-เท็จยังไงผมไม่รู้ รู้แต่ว่าอเมริกันถล่มระเบิดจริงแท้แน่นอนแบบไม่ต้องแก้ตัวใดๆ จนทำให้สิ่งศักดิ์คู่เมืองอย่างพระธาตุจอมเพชรที่อยู่ใกล้ๆกับวัดเพียถูกถล่มยอดหักไปด้วย ส่วนพระธาตุฝุ่นอีกหนึ่งโบราณสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่อยู่ละแวกเดียวกันโชคดีไม่ถูกทำลาย จึงเหลือรอดมาให้ชาวบ้านได้เคารพบูชาจนถึงทุกวันนี้
2...
“อย่าเชื่อใจแม่ค้า อย่าเชื่อฟ้าเซียงขวง”
ภาษิตลาวเขาว่าไว้อย่างนั้น เพราะฟ้าเมืองเซียงขวง(ไปจนถึงซำเหนือ)เอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวแจ่มใสกระจ่างจ้า เดี๋ยวมือฟ้ามัวดิน เดี๋ยวฝนตกกระหน่ำไม่ลืมหูลืมตา แต่ทว่าบนท้องฟ้าเซียงขวงจอมโลเลนี่ในสมัยสงครามเวียดนามมีความแน่นอนมาก เพราะทุกๆวันบนท้องฟ้าจะเต็มว่อนไปด้วยเครื่องบินของมะกันบินมาทิ่มระเบิดแบบวินาศสันตะโร(ใช้ฐานทัพบินจากเมืองไทยที่อุดรฯ สัตหีบ) เป็นเวลาถึง 10 ปีเต็ม(ค.ศ. 1963-1973) สรุปเป็นตัวเลขให้ไกด์ลาวนำมาบอกเล่ากับนักท่องเที่ยวว่า “ช่วงนั้นอเมริกันทิ่มลูกบอมบ์(ระเบิด)เฉลี่ยแล้วตกวันละ 10 ตัน ในทุกๆ 15 นาที”
สำหรับสาเหตุที่ต้องทิ้งบอมบ์กันแบบบ้าดีเดือด เพราะเมืองเซียงขวงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามกลางเมืองลาว ระหว่างฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา มะกันกลัวคอมมิวนิสต์จะยึดครองลาวและภูมิภาคนี้จึงให้การสนับสนุนรัฐบาลลาวฝ่ายขวา โดยมีชาวม้ง(ในลาว)และทหารรับจ้างไทยร่วมด้วยช่วยกันรบ ทำสงครามกับลาวฝ่ายซ้ายในนาม“ขบวนการประเทดลาว”และชาวไทพวน(ส่วนใหญ่อยู่ในเซียงขวง) โดยมีจีน-รัสเซีย-เวียดนาม สนับสนุน
สงครามครั้งนั้นรบกันยืดเยื้อ 10 ปี ท้ายที่สุดมะกันแพ้พ่ายกลายเป็นตราบาปติดตัว แต่ได้ทิ้งบาดแผลสงครามให้ชาวบ้านในพื้นที่รับไปเต็มๆ โดยเฉพาะระเบิดจำนวนมหาศาลที่ทิ้งลงมานั้น ผ่านมาร่วม 30 ปีแล้วยังมีระเบิดหลงเหลืออยู่อีกเพียบ ที่สำคัญคือลูกระบิดจำนวนมากยัง“ไม่ระเบิด”!!!
นี่เป็นปัญหาหนักใจชาวเซียงขวง เพราะหากใครดวงแตกไปโดนเข้า ถ้าโชคดีก็ตาย โชคร้ายก็พิการ ซึ่งแม้วันนี้จะมีองค์กร MAG(Mines Advisory Group)ยื่นมือเข้ามาช่วยเก็บกู้ แต่ก็ไม่รู้ว่าอีกกี่ชาติ
จะเก็บกู้กันหมดสิ้น
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวเซียงขวง เรื่องนี้ก็ไม่ต้องหวาดหวั่นเพราะตามจุดท่องเที่ยวเขาทำการเก็บกู้ระเบิดปลอดภัย สามารถเที่ยวได้แบบไม่ต้องระแวง เพียงแต่ว่าต้องไปตามเส้นทางที่กำหนด หากใครออกนอกเส้นทางหลุดเข้าไปในพื้นที่สีแดง(พื้นที่ที่ยังเก็บระเบิดไม่หมด) งานนี้คงต้องขึ้นอยู่กับบุญเก่าในชาติปางก่อนของแต่ละคนแล้ว
แต่สำหรับคนเซียงขวงดูเหมือนพวกเขาจะชินกับระเบิดมานานแล้ว(ชินแต่ไม่ใช่ไม่กลัว) นั่นจึงทำให้ทางการลาวทำการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับระเบิดและการเก็บกู้พร้อมด้วยอาวุธสงคราม ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษากันที่ห้องข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวในตัวเมืองโพนสะหวัน ในขณะที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งนำชิ้นส่วนระเบิดทั้งน้อยใหญ่(ที่ระเบิดแล้ว)มาดัดแปลง ทำเสา ทำรั้วบ้าน ปลูกต้นไม้ เตาปิ้งบาร์บีคิว จนกลายเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ของเมืองนี้ไป
นับได้ว่าชาวเซียงขวงในปัจจุบันยังคงหนีไม่พ้นจากลูกระเบิดอยู่ดี
3…
เมืองเซียงขวงมีหลายฉายาด้วยกัน ฉายาหลักๆมาจากการเคยเป็นสมรภูมิการสู้รบในสงครามเวียดนาม ทำให้เมืองนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ดินแดนแห่งการปลดแอก(จากอเมริกา) ดินแดนแห่งวีรชน ดินแดนแห่งการปฏิวัติ
ส่วนฉายาอื่นๆก็มี “ดินแดนแห่งนกนางแอ่น” เพราะเมืองนี้มีนกนางแอ่นมาก ทุกวันชาวบ้านจะจับมาขายที่ตลาดโพนสะหวันกันเป็นจำนวนมาก ถอนขน ถลกหนัง มาเสร็จสรรพ พร้อมทำอาหารกินได้เลย
และฉายา“ดินแดนแห่งสาวงาม” ที่ผมชื่นชอบมาก เพราะสาวไท(ลาวพวน)ที่นี่ทั้งสวย ทั้งแกร่ง ต้องจับปืนสู้รบกับข้าศึกทั้งฝ่ายขวาและอเมริกันแบบไม่เกรงกลัว ไม่ใช่พวกสวยไร้สมองแบบดาราบ้านเราบางคน
อีกฉายาหนึ่งคือ“ดินแดนแห่งความหนาว”ที่พอเดินทางเข้าเขตเซียงขวงผมสัมผัสได้ถึงไอแห่งความหนาวเย็นทันที เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่บนระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยเกิน 1,000 เมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
เทือกเขาหลายแนวคือความแปลกตาในระดับอันซีนสำหรับผม เพราะเป็นภูเขาหญ้าเขียวชอุ่ม(ช่วงที่ไปเป็นปลายฝน)สวยงาม แปลกตา ชวนให้นึกถึงภูเขาหญ้าเมืองระนองที่เป็นอันซีนในบ้านเรา แต่ภูเขาหญ้าที่นี่มีขนาดใหญ่และจำนวนเยอะกว่าบ้านเราอยู่มากโขเห็นเป็นแนวกว้างไกลสุดสายตา ยามเช้าวันฟ้าใสจะเห็นสายหมอกขาวลอยอ้อยอิ่ง ยามสาย-ยามเย็นในเทือกเขาบางช่วงบางตอนจะมีชาวบ้านนำวัว-ควายออกหากินหญ้า ดูประหนึ่งฟาร์มปศุสัตว์ในเมืองฝรั่ง
และด้วยบรรยากาศแบบนี้ ชาวลาวหลายคนจึงตั้งฉายาใหม่ให้เซียงขวงเพื่อเป็นกิมมิกทางการท่องเที่ยวว่า“นิวซีแลนด์แดนลาว”
ในขณะที่เพื่อนร่วมทริปคนหนึ่งก็ตั้งฉายาของเมืองนี้อย่างเก๋ไก๋ว่าเป็น“นิวซีลาว” ที่ไม่แน่ว่านี่อาจจะกลายเป็นฉายาใหม่ทางการท่องเที่ยวของเมืองนี้ในอนาคตก็ได้
4...
ใครที่มาเยือนเซียงขวงถ้าไม่ได้ไปเที่ยว“ทุ่งไหหิน” เหมือนกับมาไม่ถึงเซียงขวง เพราะนี่คือสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อโด่งดังไปทั่วโลก มีลักษณะเป็นเนินเขากว้างไกล บนนั้นมีหินรูปทรงคล้ายไห บางใบคล้ายโอ่ง ใบสูงตั้งแต่เอวไปจนสูงท่วมหัว ขนาดแต่ละใบกว้าง 1-2 เมตร ตั้งระเกะระกะเป็นหย่อมๆในจุดชม
บรรดาไหหินเหล่านี้ตามหลักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะทำขึ้นราว 1,800 ปี มาแล้ว(อ้างอิงจากหนังสือ หอมกลิ่นจำปา เบิกฟ้าเมืองลาว โดย : ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) สร้างขึ้นเป็นสุสานหรือฮวงซุ้ย เพราะขุดพบเศษกระดูก ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องใช้โบราณ บรรจุอยู่ในไห ส่วนที่ยังเป็นปริศนาก็คือ คนโบราณนำไหหินมาจากไหน? ขนหินขึ้นไปบนนั้นได้อย่างไร?
ส่วนตามตำนานพื้นบ้านเชื่อว่า นี่คือไหเหล้าของ“ขุนเจือง” (วีรบุรุษชาวลาว ยอดกษัตริย์แห่งล้านช้างเมื่อเกือบพันปีที่แล้ว)และทหาร ทำขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะหลังทำศึกกับพวกญวน(เวียดนาม)
ในขณะที่บางความเชื่อก็หลุดโลกไปเลย เชื่อว่านี่คือหินประหลาดลักษณะเดียวกับสโตนเฮนจ์ ที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ต่างดาวโน่น
เรื่องนี้ใครจะเชื่อหลักวิชาการ ตำนาน หรือเรื่องหลุดโลกก็สุดแท้แต่ แต่เรื่องจริงก็คือในเซียงขวงมีทุ่งไหหินถึง 30 กว่าไห แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ปลอดภัยจากลูกระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้ ทางการลาวจึงเปิดให้เที่ยวชมเพียง 3 ทุ่งเท่านั้น
ทุ่งแรก ตั้งอยู่บนทิวทัศน์อันงดงามของเนินเขาหญ้ากว้างไกล มีไหหินกว่า 300 ไน มากที่สุดในบรรดา 3 ทุ่ง มีจุดชมหลักๆ 2 จุด จุดแรกมีไหใบใหญ่(ดูคล้ายโอ่ง)เป็นไฮไลท์ตั้งเอียงๆอยู่ชาวบ้านเชื่อว่านี่เป็นไหเหล้าของขุนเจือง จุดที่สองต้องเดินจากจุดแรกลงไปข้างล่างเป็นพื้นที่ที่มีไหหินจำนวนมากร่วม 200 ไห ตั้งเรียงรายเต็มท้องทุ่งหญ้า
ทุ่งที่สอง มี 90 กว่าไห มีจุดหลัก 2 จุดเช่นกัน จุดแรกตั้งอยู่ในดงไม้ เป็นไหทรงกระบอกทั้งเตี้ยและสูง บางไหเป็นทรงสี่เหลี่ยมเด่นกว่าเพื่อน ส่วนจุดที่ 2 ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงท่ามกลางทิวทัศน์ขุนเขาที่รายล้อม นับเป็นทุ่งไหที่วิวสวยงามมากๆ
ทุ่งที่สาม มีเกือบ 200 ไห ตั้งอยู่กลางทุ่งนาของชาวบ้าน ล้อมรั้วไม้อย่างดี มีไหเหลี่ยมเตี้ยๆอยู่หลายใบด้วยกัน
สำหรับไหหินใน 3 ทุ่งนั้น มีหลายใบถูกระเบิดมะกันถล่มแหลก แตก หัก พัง นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
นี่แหละหนาสงคราม ไม่เข้าใครออกใคร มันทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นมหันตภัยจากน้ำมือมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดในบรรณพิภพ แต่น่าแปลกที่ไม่ว่ายุคสมัยไหนกลับมีมนุษย์จำนวนหนึ่งยังคงกระหายสงครามอยู่ร่ำไป
*****************************************
แขวงเซียงขวง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว มีพรมแดนติดประเทศเวียดนาม การเดินทาง มีเครื่องบินจากเวียงจันทน์บินไปยังเซียงขวง หากนั่งรถยนต์หรือรถประจำทางจากเวียงจันทน์ จะไปทางวังเวียง ไป 3 แยกพูคูน แล้วแยกขวาไปเซียงขวง(แยกซ้ายไปหลวงพระบาง) สำหรับผู้ที่ต้องการเที่ยวเซียงขวงและเมืองอื่นๆในสปป.ลาวในรูปแบบทัวร์ที่แตกต่าง(หลวงพระบาง-วังเวียง-เซียงขวง(ทุ่งไหหิน)-เวียงจันทน์) สามารถสอบถามได้ที่ สีสันทัวร์ 0-2693-1031-3