โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

สำหรับน้องๆนักเรียนนักศึกษา ช่วงนี้ก็คงกำลังเพลิดเพลินกับช่วงเวลาปิดเทอมที่รอคอย พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะส่งเสริมให้น้องๆหนูๆขี้เกียจแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าช่วงปิดเทอมนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนอันแสนสำราญใจ
ฉันเองก็เคยรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน ปิดเทอมนี้จึงอยากชวนน้องๆหนูๆ หรือจะเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาววัยทำงานจนถึงวัยชราก็สามารถเที่ยวกันได้ เพราะที่ “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ตั้งอยู่ไม่ไกล ที่ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร หรือพูดง่ายๆก็อยู่ตรงข้ามวัดโพธิ์นั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงษ์จักรี เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติและปวงชนชาวไทยไว้อย่างคุณาปการมากล้นจนฉันมิอาจจะบรรยายไว้ในที่นี้ได้หมด หากใครสนใจใคร่รู้ก็ต้องมายลกันที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ภายในอาคารราชวัลลภ ของหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง หรือกรมการรักษาดินแดนเดิม
ก่อนที่จะเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ฉันขอท้าวความให้ฟังกันสักหน่อยว่า อาคารราชวัลลภแห่งนี้เป็นอาหารเก่าแก่ โดยแต่เดิมนั้น รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพื้นที่บริเวณสวนเจ้าเชตุนี้ให้กระทรวงกลาโหม เพื่อใช้ในกิจการทหาร แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้สานต่อพระราชดำริเดิม พร้อมพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารราชวัลลภ” และเสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2467 ปัจจุบันมีอายุถึง 85 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2509 เจ้ากรมการรักษาดินแดนในสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญและพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ทำหนังสือขอพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 6 ขึ้น ซึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีการตอบรับและมอบสิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์รัชกาลที่ 6 ที่สามารถจัดรวบรวมได้ให้กับกรมรักษาดินแดน ทำให้พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์ ร.6 แห่งนี้ได้มีการปรับปรุงเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.2550 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา หน่วยบัญชาการกำลังสำรองจึงได้จัดโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ร.6 แห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้

เมื่อขึ้นบันไดไปยังชั้น 2 ของอาคารราชวัลลภอันเก่าแก่และขรึมขลัง ฉันก็มาถึงยังพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 โดยในชั้นนี้เรียกว่า “ห้องพระบารมีปกเกล้า” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ฉันเดินเข้าไปสู่ส่วนที่ 1 นั้นคือ “ส่วนจัดแสดงการเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 6” ตรงหน้าฉันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 ทรงเครื่องทรงพระมหาพิชัยยุทธ ที่ถูกต้องตามตำราพิชัยยุทธนาการโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นชุดทรงที่พระองค์ทรงในวันประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี
ฉันสักการะพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 แล้วก็ย้ายตัวเองเข้าสู่ส่วนที่ 2 นั้นคือ “ส่วนพระราชประวัติ รัชกาลที่ 6” ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวตั้งแต่พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ด้านการศึกษา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ทรงผนวช การอภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ในปี 2468 เป็นต้น

ต่อมาในส่วนที่ 3 “จัดแสดงพระราชกรณียกิจ” ซึ่งในส่วนนี้เราจะได้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่อง “เสือป่า” ซึ่งพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งและสถาปนาขึ้นในปี 2454 อันถือได้ว่าเป็นรากฐานของกำลังสำรองในปัจจุบัน โดยมีการจำลองภาพการซ้อมรบเสือป่า ที่ ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2462 ไว้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจต่างๆอาทิ ด้านการศึกษาทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนแทนวัดประจำรัชกาลนั่นคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนให้เป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้านการปกครอง ทรงทดลองตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ขึ้น เพื่อทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านวรรณกรรม ทรงแต่งวรรณกรรม โครง ฉันท์ กาพย์ กลอง ไว้มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากที่สุดด้วย
การจัดแสดงในส่วนที่ 4 เป็น “การจัดแสดงพระปรีชาชาญด้านการทหาร” โดยนำเสนอเรื่องราวของการที่พระองค์ตัดสินพระทัยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในเชิงบวก จนกระทั่งได้แก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม และภายในส่วนนี้ยังได้จัดแสดงอาวุธที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ด้วย

และในส่วนที่ 5 เป็น “ส่วนจัดแสดงประวัติความเป็นมาของหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง” ที่มีรากฐานมาจากเสือป่าและวิวัฒนาการมาจนเป็นหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในปัจจุบัน โดยภายในห้องพระบารมีปกเกล้านี้มี วีดีทัศน์เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ตามจุดต่างๆให้ผู้เข้าชมได้ฟังเพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
หมดจากชั้นแรกของพิพิธภัณฑ์ ฉันขึ้นไปต่อยังชั้นถัดไป หน้าห้องพิพิธภัณฑ์มีรูปปั้นพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต มหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ในตอนปฐมวัยท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งต่อมายกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่านได้ศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และสอบผ่านเป็นบัณฑิตรุ่นแรก

ต่อมาในปี 2457 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิต (พระยาพานทอง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีอันเป็นบรรดาศักดิ์สุดท้ายของท่านเมื่อเป็นฆาราวาส และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตท่านได้อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลจนกระทั่งมรณภาพ
หลังจากกราบไหว้พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิตแล้ว ฉันกลับหลังหันเข้าสู่ “ห้องรามจิตติ” ภายในห้องนี้จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ ได้แก่ ฉลองพระองค์, ฉลองพระบาท, พระมาลา, เครื่องหมายต่างๆซึ่งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้รับมอบจากสำนักพระราชวัง และเพื่อเป็นการรักษาของใช้ส่วนพระองค์เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด จึงได้จัดแสดงในรูปแบบของการอนุรักษ์

ซึ่งหากใครได้มายลโฉมฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท แล้วฉันต้องขอบอกเลยว่าจะอึ่งทึ่ง!! เพราะนอกจากจะมีฉลองพระองค์นับร้อยๆ ชุดแล้ว แต่ละชุดยังมีหลายหลากสีสัน และหลากหลายสไตล์ ฉลองพระองค์บางชุดที่จัดแสดงไว้ก็เข้าคู่กับฉลองพระบาทและพระมาลา ถ้าในสมัยนี้ก็เรียกได้ว่า แม็ทชิ่ง จนเหล่าดีไซน์เนอร์ต้องอายเป็นแน่แท้ จนฉันแอบคิดว่าพระองค์ท่านทรงเป็นผู้นำแฟชั่นเป็นอย่างมาก ใครไม่เชื่อก็ต้องลองมาดูด้วยตาตนเอง
จากส่วนจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ด้านในสุดของห้องรามจิตติ เป็นการจัดแสดงการจำลองห้องทรงงานของรัชกาลที่ 6 พร้อมทั้งจัดแสดงลายพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังเป็นห้องที่ประดิษฐานพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 ทรงชุดเสือป่าราบหลวง และยังมีธงที่สำคัญๆ ได้แก่ ธงมหาศาลทูลธวัช หรือที่รู้จักกันในนาม ธงเสือป่า และธงยุวชนทหาร มาจัดแสดงอีกด้วย

และอีกหนึ่งจุดที่ไม่ควรพลาดก็คือ บริเวณระเบียงด้านนอกห้องทรงงานนี้ มองออกไปจะเห็นพระบรมมหาราชวังในมุมที่สวยงามหาชมได้ยากอีกด้วย
สำหรับน้องๆหนูๆวัยเรียน การได้มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 แห่งนี้นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังได้ความรู้สำหรับนำไปใช้ประกอบการเรียนได้ดีอีกด้วย เห็นมั๊ยล่ะว่าปิดเทอมนี้ก็ได้ความรู้จากนอกห้องเรียนไม่น้อยเลยทีเดียว

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 และ3 อาคารราชวัลลภ(อาคารอุโมงค์) หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หากมาเป็นหมู่คณะควรแจ้งให้ทางพิพิธภัณฑ์ทราบลวงหน้าเพื่อจัดหาเจ้าหน้าที่บรรยาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง โทร.0-2221-4870, 0-2221-9132
สำหรับน้องๆนักเรียนนักศึกษา ช่วงนี้ก็คงกำลังเพลิดเพลินกับช่วงเวลาปิดเทอมที่รอคอย พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะส่งเสริมให้น้องๆหนูๆขี้เกียจแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าช่วงปิดเทอมนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนอันแสนสำราญใจ
ฉันเองก็เคยรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน ปิดเทอมนี้จึงอยากชวนน้องๆหนูๆ หรือจะเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาววัยทำงานจนถึงวัยชราก็สามารถเที่ยวกันได้ เพราะที่ “พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ตั้งอยู่ไม่ไกล ที่ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร หรือพูดง่ายๆก็อยู่ตรงข้ามวัดโพธิ์นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงษ์จักรี เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติและปวงชนชาวไทยไว้อย่างคุณาปการมากล้นจนฉันมิอาจจะบรรยายไว้ในที่นี้ได้หมด หากใครสนใจใคร่รู้ก็ต้องมายลกันที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ภายในอาคารราชวัลลภ ของหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง หรือกรมการรักษาดินแดนเดิม
ก่อนที่จะเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ฉันขอท้าวความให้ฟังกันสักหน่อยว่า อาคารราชวัลลภแห่งนี้เป็นอาหารเก่าแก่ โดยแต่เดิมนั้น รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพื้นที่บริเวณสวนเจ้าเชตุนี้ให้กระทรวงกลาโหม เพื่อใช้ในกิจการทหาร แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในปี พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงได้สานต่อพระราชดำริเดิม พร้อมพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารราชวัลลภ” และเสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2467 ปัจจุบันมีอายุถึง 85 ปี
ต่อมาในปี พ.ศ.2509 เจ้ากรมการรักษาดินแดนในสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญและพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ทำหนังสือขอพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 6 ขึ้น ซึ่งทางสำนักพระราชวังได้มีการตอบรับและมอบสิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์รัชกาลที่ 6 ที่สามารถจัดรวบรวมได้ให้กับกรมรักษาดินแดน ทำให้พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 นี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีสิ่งของเครื่องใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์ ร.6 แห่งนี้ได้มีการปรับปรุงเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.2550 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา หน่วยบัญชาการกำลังสำรองจึงได้จัดโครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ร.6 แห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้
เมื่อขึ้นบันไดไปยังชั้น 2 ของอาคารราชวัลลภอันเก่าแก่และขรึมขลัง ฉันก็มาถึงยังพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 โดยในชั้นนี้เรียกว่า “ห้องพระบารมีปกเกล้า” ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ฉันเดินเข้าไปสู่ส่วนที่ 1 นั้นคือ “ส่วนจัดแสดงการเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 6” ตรงหน้าฉันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 ทรงเครื่องทรงพระมหาพิชัยยุทธ ที่ถูกต้องตามตำราพิชัยยุทธนาการโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นชุดทรงที่พระองค์ทรงในวันประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี
ฉันสักการะพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 แล้วก็ย้ายตัวเองเข้าสู่ส่วนที่ 2 นั้นคือ “ส่วนพระราชประวัติ รัชกาลที่ 6” ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวตั้งแต่พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ด้านการศึกษา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ทรงผนวช การอภิเษกสมรส จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ในปี 2468 เป็นต้น
ต่อมาในส่วนที่ 3 “จัดแสดงพระราชกรณียกิจ” ซึ่งในส่วนนี้เราจะได้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเรื่อง “เสือป่า” ซึ่งพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งและสถาปนาขึ้นในปี 2454 อันถือได้ว่าเป็นรากฐานของกำลังสำรองในปัจจุบัน โดยมีการจำลองภาพการซ้อมรบเสือป่า ที่ ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2462 ไว้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีพระราชกรณียกิจต่างๆอาทิ ด้านการศึกษาทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนแทนวัดประจำรัชกาลนั่นคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนให้เป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้านการปกครอง ทรงทดลองตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ขึ้น เพื่อทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้านวรรณกรรม ทรงแต่งวรรณกรรม โครง ฉันท์ กาพย์ กลอง ไว้มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากที่สุดด้วย
การจัดแสดงในส่วนที่ 4 เป็น “การจัดแสดงพระปรีชาชาญด้านการทหาร” โดยนำเสนอเรื่องราวของการที่พระองค์ตัดสินพระทัยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในเชิงบวก จนกระทั่งได้แก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม และภายในส่วนนี้ยังได้จัดแสดงอาวุธที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ด้วย
และในส่วนที่ 5 เป็น “ส่วนจัดแสดงประวัติความเป็นมาของหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง” ที่มีรากฐานมาจากเสือป่าและวิวัฒนาการมาจนเป็นหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในปัจจุบัน โดยภายในห้องพระบารมีปกเกล้านี้มี วีดีทัศน์เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ตามจุดต่างๆให้ผู้เข้าชมได้ฟังเพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
หมดจากชั้นแรกของพิพิธภัณฑ์ ฉันขึ้นไปต่อยังชั้นถัดไป หน้าห้องพิพิธภัณฑ์มีรูปปั้นพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต มหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ในตอนปฐมวัยท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งต่อมายกฐานะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่านได้ศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และสอบผ่านเป็นบัณฑิตรุ่นแรก
ต่อมาในปี 2457 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิต (พระยาพานทอง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีอันเป็นบรรดาศักดิ์สุดท้ายของท่านเมื่อเป็นฆาราวาส และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตท่านได้อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลจนกระทั่งมรณภาพ
หลังจากกราบไหว้พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิตแล้ว ฉันกลับหลังหันเข้าสู่ “ห้องรามจิตติ” ภายในห้องนี้จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ ได้แก่ ฉลองพระองค์, ฉลองพระบาท, พระมาลา, เครื่องหมายต่างๆซึ่งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองได้รับมอบจากสำนักพระราชวัง และเพื่อเป็นการรักษาของใช้ส่วนพระองค์เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด จึงได้จัดแสดงในรูปแบบของการอนุรักษ์
ซึ่งหากใครได้มายลโฉมฉลองพระองค์ ฉลองพระบาท แล้วฉันต้องขอบอกเลยว่าจะอึ่งทึ่ง!! เพราะนอกจากจะมีฉลองพระองค์นับร้อยๆ ชุดแล้ว แต่ละชุดยังมีหลายหลากสีสัน และหลากหลายสไตล์ ฉลองพระองค์บางชุดที่จัดแสดงไว้ก็เข้าคู่กับฉลองพระบาทและพระมาลา ถ้าในสมัยนี้ก็เรียกได้ว่า แม็ทชิ่ง จนเหล่าดีไซน์เนอร์ต้องอายเป็นแน่แท้ จนฉันแอบคิดว่าพระองค์ท่านทรงเป็นผู้นำแฟชั่นเป็นอย่างมาก ใครไม่เชื่อก็ต้องลองมาดูด้วยตาตนเอง
จากส่วนจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ด้านในสุดของห้องรามจิตติ เป็นการจัดแสดงการจำลองห้องทรงงานของรัชกาลที่ 6 พร้อมทั้งจัดแสดงลายพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังเป็นห้องที่ประดิษฐานพระบรมรูปจำลองรัชกาลที่ 6 ทรงชุดเสือป่าราบหลวง และยังมีธงที่สำคัญๆ ได้แก่ ธงมหาศาลทูลธวัช หรือที่รู้จักกันในนาม ธงเสือป่า และธงยุวชนทหาร มาจัดแสดงอีกด้วย
และอีกหนึ่งจุดที่ไม่ควรพลาดก็คือ บริเวณระเบียงด้านนอกห้องทรงงานนี้ มองออกไปจะเห็นพระบรมมหาราชวังในมุมที่สวยงามหาชมได้ยากอีกด้วย
สำหรับน้องๆหนูๆวัยเรียน การได้มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6 แห่งนี้นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังได้ความรู้สำหรับนำไปใช้ประกอบการเรียนได้ดีอีกด้วย เห็นมั๊ยล่ะว่าปิดเทอมนี้ก็ได้ความรู้จากนอกห้องเรียนไม่น้อยเลยทีเดียว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6” ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 และ3 อาคารราชวัลลภ(อาคารอุโมงค์) หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง เลขที่ 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หากมาเป็นหมู่คณะควรแจ้งให้ทางพิพิธภัณฑ์ทราบลวงหน้าเพื่อจัดหาเจ้าหน้าที่บรรยาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองยุทธการและการข่าว หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง โทร.0-2221-4870, 0-2221-9132