โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
อาทิตย์หน้าที่จะถึงนี้ก็จะเป็นวันแห่งความรักของพวกเราชาวพุทธ ที่ไม่ใช่ 14 กุมภา วันวาเลนไทน์ แต่เป็น "9 กุมภา วันมาฆบูชา"(วันจันทร์) ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างก็จะพากันมาทำบุญไหว้พระ และเวียนเทียนกันในตอนค่ำเพื่อเป็นการทำบุญทำกุศลและทำจิตใจให้เป็นสมาธิ
วันนี้ฉันก็มีวัดดีๆมาแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่รู้จะไปทำบุญกันที่ไหน วัดนี้ก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล แถวๆท่าพระจันทร์นี่เอง นั่นก็คือ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร" ที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่และน่าสนใจมากทีเดียว
วัดมหาธาตุฯ เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดสลัก" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อไรและใครเป็นคนสร้าง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรีแล้ว ก็ทรงกำหนดพื้นที่สร้างพระนครทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดสลักก็ได้เข้าอยู่ในเขตพระนครด้วยจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง
จากชื่อวัดสลัก วัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาหลายต่อหลายครั้งก่อนจะมาเป็นวัดมหาธาตุฯ โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสลักนี้มีอาณาบริเวณอยู่ใกล้กับพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรฯ มหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้น
เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตก และสมเด็จพระเจ้าตากสินกำลังยกทัพเรือจากจันทบุรีมาที่บางกอก เรือของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยังติดอยู่ระหว่างทางใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง เมื่อเรือของข้าศึกไล่มาจวนตัวเข้า ก็คิดหาทางเพื่อหลบจากกองทัพพม่า จึงได้นำเรือเข้าชิดฝั่งแล้วคว่ำเรือลง พร้อมกับตรัสอธิษฐานกับพระในวัดร้างนั้นว่า ถ้ารอดจากข้าศึกไปได้ จะกลับมาบูรณะพระอารามให้วิจิตร ซึ่งวัดแห่งนั้นก็คือวัดสลักนั่นเอง และหลังจากที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงบูรณะวัดอย่างที่ตั้งใจ แล้วก็ถวายนามชื่อวัดใหม่ว่า "วัดนิพพานาราม"
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชปรารภกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเรื่องทำสังคายนาพระไตรปิฎก และทรงพระราชดำริเห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้สถานที่ที่วัดนิพพานารามเป็นที่ประชุมในการทำสังคายนา เพราะตั้งอยู่ระหว่างวังหลวงกับวังหน้า สะดวกที่ทั้งสองพระองค์จะทำการอุปภัมภ์ให้การทำสังคายนาลุล่วงไปโดยเรียบร้อย หลังจากนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่อีกครั้งเป็น "วัดพระศรีสรรเพชญดาราม"
หลังจากที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว รัชกาลที่ 1 ก็ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ใช้ชื่อเก่ามาได้ 15-16 ปี โดยคราวนี้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมหาธาตุ" โดยสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานเหตุในการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ว่าเพราะในพระนครหรือเมืองหลวงย่อมต้องมีวัดมหาธาตุเป็นหลัก และวัดแห่งนี้ก็มีพระเจดีย์ที่พระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระมณฑป อีกทั้งวัดนี้ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชเหมือนวัดมหาธาตุที่กรุงเก่าอีกด้วย
แต่ชื่อวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นถูกเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงสวรรคต รัชกาลที่ 5 จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯให้ปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุจนสำเร็จ แล้วจึงโปรดเกล้าฯให้เพิ่มสร้อยต่อชื่อวัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้นว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
เพียงแค่ที่มาของชื่อวัดก็พูดกันได้ยาว แต่หากจะยาวกว่านี้คงจะไม่เหลือเนื้อที่ให้ชมสิ่งต่างๆ ภายในวัด เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า เราเข้าไปเดินชมในวัดกันเลยดีกว่า ฉันเริ่มต้นสำรวจวัดมหาธาตุทางด้านฝั่งสนามหลวงกันก่อน ในบริเวณนี้หลายๆ คนคงจะเคยเห็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่โดดเด่นตรงหัวมุมถนน บางคนก็ทราบว่าเป็นอนุสาวรีย์ของใคร แต่บางคนก็ยังไม่ทราบ จึงขอเฉลยให้ว่านี่คือพระบวรราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นผู้ที่โปรดเกล้าฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนงดงามอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
เดินอ้อมหลังพระบวรราชานุสาวรีย์ไปแล้วก็จะเห็นวิหารเล็กๆอยู่หลังหนึ่ง นั่นก็คือ "วิหารโพธิลังกา" ซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของพระตำหนักอันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังทรงผนวชและได้มาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อทรงศึกษาภาษาบาลี แต่ปัจจุบันได้สร้างวิหารโพธิลังกาไว้แทน และภายในวิหารนั้นก็ได้ประดิษฐาน "พระนาค" พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยไว้ สามารถเข้าไปกราบไหว้กันได้
เดินออกจากวิหารโพธิลังกา ฉันมองเห็นกำแพงใหญ่เป็นแนวยาวไปตลอดทาง นั่นก็คือพระระเบียงที่ล้อมรอบพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปเอาไว้ เมื่อฉันเดินเข้าไปด้านในพระระเบียงซึ่งมีพระพุทธรูปเรียงกันไปตลอดแนวก็พบกับความงดงามและเงียบสงบ ผิดกับด้านนอกที่เปิดให้เป็นที่จอดรถ มีทั้งคนทั้งรถพลุกพล่านจอแจไม่น้อย
สำหรับพระอุโบสถและพระวิหารนั้นเป็นของสร้างใหม่ในสมัยที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงบูรณะวัด เนื่องจากของเดิมถูกไฟไฟไหม้ไปแล้ว การสร้างครั้งใหม่นี้สันนิษฐานว่าเป็นการสร้างให้ใหญ่โตกว่าแต่ก่อน ดังนั้นพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปจึงตั้งอยู่ค่อนข้างเบียดชิดกันสักเล็กน้อย
ฉันเข้าไปกราบพระภายในพระวิหาร ซึ่งด้านในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน พระวิหารหลังนี้มีการบูรณะอีกหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 และสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการบูรณะในครั้งนั้นก็ได้มีการบูรณะบริเวณหน้าบันของพระวิหาร เปลี่ยนลายเป็นรูปจุลมงกุฎของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นศิลปะการจำหลักไม้ หน้าบัน ประดับกระจกลงรักที่งดงามมากชิ้นหนึ่ง
พระวิหารนั้นเปิดให้คนเข้าไปสักการะได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่สำหรับพระอุโบสถนั้นปกติแล้วจะปิดไว้ และจะเปิดในช่วงเช้าและเย็นตอนที่พระเข้าไปทำวัตร ดังนั้นฉันจึงรอเวลาห้าโมงเย็น เมื่อหลวงพี่รูปหนึ่งมาเปิดประตูโบสถ์แล้วฉันจึงขออนุญาตท่านเข้าไปกราบพระด้านในและชมภายในพระอุโบสถด้วย
เมื่อเข้าไปด้านในแล้วฉันก็ต้องตกตะลึงกับความใหญ่โตของพระอุโบสถที่พระสงฆ์สามารถเข้าไปทำสังฆกรรมได้มากถึง 1,000 รูปเลยทีเดียว ภายในพระอุโบสถมี “พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝีมือปั้นของช่างวังหน้าคือพระยาเทวารังสรรค์ โดยนามของพระพุทธรูปนั้นก็ตั้งตามชื่อวัดในสมัยนั้น และยังเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงเคารพศรัทธาสูงสุด โดยพระองค์ได้ถวายพระแสงดาบคู่พระองค์ทำเป็นราวเทียน และโปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสงเป็นพุทธบูชาอีกด้วย
ออกจากพระอุโบสถแล้วคราวนี้มาดูพระมณฑปกันบ้าง พระมณฑปนั้นสร้างขึ้นใหม่ในครั้งที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงบูรณปฏิสังขรณ์วัด แต่เดิมนั้นพระมณฑปนี้มีเครื่องยอดอย่างปราสาท ได้รื้อมาจากที่เตรียมไว้สร้างปราสาท กลางสระ ในพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ จึงมีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยภายในพระมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุ บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนฐานเจดีย์บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกหรือพระราชบิดาของพระองค์ เจดีย์องค์นี้ถือเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่ง แต่หากใครอยากเข้าไปชมคงต้องรอเฉพาะวันพระ หรือจะไปในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ก็ได้
ที่วัดมหาธาตุนี้ยังสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ "ตึกถาวรวัตถุ" อาคารสีน้ำตาลที่อยู่ด้านหลังวัดใกล้กับสนามหลวงเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ โดยอาคารหลังนี้ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วยเหตุผลสองอย่างก็คือเพื่อให้เป็นสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เพราะหลังจากที่โปรดเกล้าฯให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุแล้วแต่ยังไม่มีสถานที่เรียนที่เหมาะสม
และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคต ตามพระราชประเพณีแล้วจะต้องสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ตามพระเกียรติยศขึ้นที่ท้องสนามหลวง แต่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นการสิ้นเปลืองเพราะเป็นการสร้างสำหรับใช้งานชั่วคราวเท่านั้น พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างตึกถาวรวัตถุขึ้นแทน เพื่อหลังจากที่เสร็จงานพระเมรุแล้วจะได้ถวายให้วัดมหาธาตุต่อไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 สอบถามรายละเอียดโทร.0-2221-4859, 0-2222-1867 การเดินทาง มีรถประจำทางสาย 3, 30, 32, 33, 39, 43, 51, 53, 59, 64, 70, 80, 91, 123, 124, 203
อาทิตย์หน้าที่จะถึงนี้ก็จะเป็นวันแห่งความรักของพวกเราชาวพุทธ ที่ไม่ใช่ 14 กุมภา วันวาเลนไทน์ แต่เป็น "9 กุมภา วันมาฆบูชา"(วันจันทร์) ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างก็จะพากันมาทำบุญไหว้พระ และเวียนเทียนกันในตอนค่ำเพื่อเป็นการทำบุญทำกุศลและทำจิตใจให้เป็นสมาธิ
วันนี้ฉันก็มีวัดดีๆมาแนะนำสำหรับคนที่ยังไม่รู้จะไปทำบุญกันที่ไหน วัดนี้ก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล แถวๆท่าพระจันทร์นี่เอง นั่นก็คือ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร" ที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่และน่าสนใจมากทีเดียว
วัดมหาธาตุฯ เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดสลัก" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อไรและใครเป็นคนสร้าง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรีแล้ว ก็ทรงกำหนดพื้นที่สร้างพระนครทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดสลักก็ได้เข้าอยู่ในเขตพระนครด้วยจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง
จากชื่อวัดสลัก วัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาหลายต่อหลายครั้งก่อนจะมาเป็นวัดมหาธาตุฯ โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสลักนี้มีอาณาบริเวณอยู่ใกล้กับพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรฯ มหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้น
เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตก และสมเด็จพระเจ้าตากสินกำลังยกทัพเรือจากจันทบุรีมาที่บางกอก เรือของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยังติดอยู่ระหว่างทางใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง เมื่อเรือของข้าศึกไล่มาจวนตัวเข้า ก็คิดหาทางเพื่อหลบจากกองทัพพม่า จึงได้นำเรือเข้าชิดฝั่งแล้วคว่ำเรือลง พร้อมกับตรัสอธิษฐานกับพระในวัดร้างนั้นว่า ถ้ารอดจากข้าศึกไปได้ จะกลับมาบูรณะพระอารามให้วิจิตร ซึ่งวัดแห่งนั้นก็คือวัดสลักนั่นเอง และหลังจากที่บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงบูรณะวัดอย่างที่ตั้งใจ แล้วก็ถวายนามชื่อวัดใหม่ว่า "วัดนิพพานาราม"
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชปรารภกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเรื่องทำสังคายนาพระไตรปิฎก และทรงพระราชดำริเห็นพ้องต้องกันว่าควรใช้สถานที่ที่วัดนิพพานารามเป็นที่ประชุมในการทำสังคายนา เพราะตั้งอยู่ระหว่างวังหลวงกับวังหน้า สะดวกที่ทั้งสองพระองค์จะทำการอุปภัมภ์ให้การทำสังคายนาลุล่วงไปโดยเรียบร้อย หลังจากนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่อีกครั้งเป็น "วัดพระศรีสรรเพชญดาราม"
หลังจากที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว รัชกาลที่ 1 ก็ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ใช้ชื่อเก่ามาได้ 15-16 ปี โดยคราวนี้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมหาธาตุ" โดยสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานเหตุในการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ว่าเพราะในพระนครหรือเมืองหลวงย่อมต้องมีวัดมหาธาตุเป็นหลัก และวัดแห่งนี้ก็มีพระเจดีย์ที่พระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระมณฑป อีกทั้งวัดนี้ยังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชเหมือนวัดมหาธาตุที่กรุงเก่าอีกด้วย
แต่ชื่อวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นถูกเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงสวรรคต รัชกาลที่ 5 จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯให้ปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุจนสำเร็จ แล้วจึงโปรดเกล้าฯให้เพิ่มสร้อยต่อชื่อวัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้นว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
เพียงแค่ที่มาของชื่อวัดก็พูดกันได้ยาว แต่หากจะยาวกว่านี้คงจะไม่เหลือเนื้อที่ให้ชมสิ่งต่างๆ ภายในวัด เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า เราเข้าไปเดินชมในวัดกันเลยดีกว่า ฉันเริ่มต้นสำรวจวัดมหาธาตุทางด้านฝั่งสนามหลวงกันก่อน ในบริเวณนี้หลายๆ คนคงจะเคยเห็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่โดดเด่นตรงหัวมุมถนน บางคนก็ทราบว่าเป็นอนุสาวรีย์ของใคร แต่บางคนก็ยังไม่ทราบ จึงขอเฉลยให้ว่านี่คือพระบวรราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นผู้ที่โปรดเกล้าฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนงดงามอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
เดินอ้อมหลังพระบวรราชานุสาวรีย์ไปแล้วก็จะเห็นวิหารเล็กๆอยู่หลังหนึ่ง นั่นก็คือ "วิหารโพธิลังกา" ซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของพระตำหนักอันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังทรงผนวชและได้มาประทับที่วัดมหาธาตุเพื่อทรงศึกษาภาษาบาลี แต่ปัจจุบันได้สร้างวิหารโพธิลังกาไว้แทน และภายในวิหารนั้นก็ได้ประดิษฐาน "พระนาค" พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยไว้ สามารถเข้าไปกราบไหว้กันได้
เดินออกจากวิหารโพธิลังกา ฉันมองเห็นกำแพงใหญ่เป็นแนวยาวไปตลอดทาง นั่นก็คือพระระเบียงที่ล้อมรอบพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปเอาไว้ เมื่อฉันเดินเข้าไปด้านในพระระเบียงซึ่งมีพระพุทธรูปเรียงกันไปตลอดแนวก็พบกับความงดงามและเงียบสงบ ผิดกับด้านนอกที่เปิดให้เป็นที่จอดรถ มีทั้งคนทั้งรถพลุกพล่านจอแจไม่น้อย
สำหรับพระอุโบสถและพระวิหารนั้นเป็นของสร้างใหม่ในสมัยที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงบูรณะวัด เนื่องจากของเดิมถูกไฟไฟไหม้ไปแล้ว การสร้างครั้งใหม่นี้สันนิษฐานว่าเป็นการสร้างให้ใหญ่โตกว่าแต่ก่อน ดังนั้นพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปจึงตั้งอยู่ค่อนข้างเบียดชิดกันสักเล็กน้อย
ฉันเข้าไปกราบพระภายในพระวิหาร ซึ่งด้านในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน พระวิหารหลังนี้มีการบูรณะอีกหลายครั้งด้วยกัน ทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 และสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการบูรณะในครั้งนั้นก็ได้มีการบูรณะบริเวณหน้าบันของพระวิหาร เปลี่ยนลายเป็นรูปจุลมงกุฎของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นศิลปะการจำหลักไม้ หน้าบัน ประดับกระจกลงรักที่งดงามมากชิ้นหนึ่ง
พระวิหารนั้นเปิดให้คนเข้าไปสักการะได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่สำหรับพระอุโบสถนั้นปกติแล้วจะปิดไว้ และจะเปิดในช่วงเช้าและเย็นตอนที่พระเข้าไปทำวัตร ดังนั้นฉันจึงรอเวลาห้าโมงเย็น เมื่อหลวงพี่รูปหนึ่งมาเปิดประตูโบสถ์แล้วฉันจึงขออนุญาตท่านเข้าไปกราบพระด้านในและชมภายในพระอุโบสถด้วย
เมื่อเข้าไปด้านในแล้วฉันก็ต้องตกตะลึงกับความใหญ่โตของพระอุโบสถที่พระสงฆ์สามารถเข้าไปทำสังฆกรรมได้มากถึง 1,000 รูปเลยทีเดียว ภายในพระอุโบสถมี “พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝีมือปั้นของช่างวังหน้าคือพระยาเทวารังสรรค์ โดยนามของพระพุทธรูปนั้นก็ตั้งตามชื่อวัดในสมัยนั้น และยังเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงเคารพศรัทธาสูงสุด โดยพระองค์ได้ถวายพระแสงดาบคู่พระองค์ทำเป็นราวเทียน และโปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสงเป็นพุทธบูชาอีกด้วย
ออกจากพระอุโบสถแล้วคราวนี้มาดูพระมณฑปกันบ้าง พระมณฑปนั้นสร้างขึ้นใหม่ในครั้งที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงบูรณปฏิสังขรณ์วัด แต่เดิมนั้นพระมณฑปนี้มีเครื่องยอดอย่างปราสาท ได้รื้อมาจากที่เตรียมไว้สร้างปราสาท กลางสระ ในพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ จึงมีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยภายในพระมณฑปนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุ บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนฐานเจดีย์บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกหรือพระราชบิดาของพระองค์ เจดีย์องค์นี้ถือเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่ง แต่หากใครอยากเข้าไปชมคงต้องรอเฉพาะวันพระ หรือจะไปในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ก็ได้
ที่วัดมหาธาตุนี้ยังสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ "ตึกถาวรวัตถุ" อาคารสีน้ำตาลที่อยู่ด้านหลังวัดใกล้กับสนามหลวงเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ โดยอาคารหลังนี้ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นด้วยเหตุผลสองอย่างก็คือเพื่อให้เป็นสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เพราะหลังจากที่โปรดเกล้าฯให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุแล้วแต่ยังไม่มีสถานที่เรียนที่เหมาะสม
และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคต ตามพระราชประเพณีแล้วจะต้องสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ตามพระเกียรติยศขึ้นที่ท้องสนามหลวง แต่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นการสิ้นเปลืองเพราะเป็นการสร้างสำหรับใช้งานชั่วคราวเท่านั้น พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างตึกถาวรวัตถุขึ้นแทน เพื่อหลังจากที่เสร็จงานพระเมรุแล้วจะได้ถวายให้วัดมหาธาตุต่อไป
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 สอบถามรายละเอียดโทร.0-2221-4859, 0-2222-1867 การเดินทาง มีรถประจำทางสาย 3, 30, 32, 33, 39, 43, 51, 53, 59, 64, 70, 80, 91, 123, 124, 203