โดย : เหล็งฮู้ชง
บ่อยครั้งของการเดินทางที่บางครั้งโชคดี บางทีโชคร้าย
ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมรู้สึกว่าตัวเองค่อนข้างโชคดีเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะบนเส้นทางสู่“เดียงพลาโต”(Dieng Plateau) ระหว่างต้นๆทาง ณ หมู่บ้านรานัง ซารี(Ranoung Sari)ผมมีโอกาสได้สัมผัสกับตลาดนัดพื้นบ้านแบบอินโดที่เขายังคงใช้วิธีนัดขายของกันแบบพื้นถิ่นดั้งเดิม คือนัดขายกันทุกๆ 5 วัน ตามปฏิทินชวา(1 เดือน มี 35 วัน)
ตลาดนัดที่นี่ยังคงอบอวลไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่วางขายแบบแบกะดิน มีทั้ง ของกิน ของใช้ ผัก ผลไม้ มะพร้าว กล้วย และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึงตลาดซื้อขายสัตว์ที่มี แพะ แกะ เป็น ไก่ เป็นตัวชูโรง แต่ที่ผมตื่นตาตื่นใจมากเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นพ่อค้าขายงูที่มีทั้งซากงู(ลอกคราบ)แห้งๆและงูตัวเป็นๆที่เลื้อยชูคอไหวๆ
คุณไกด์ของเราบอกว่าคนแถวนี้นิยมซื้องูไปดองยา แหม...เหมือนบ้านเราเลยแฮะ เพียงแต่ว่าบ้านเรานับวันยิ่งมางูยิ่งหายากมากขึ้น เพราะผืนป่าหดหายเหลือน้อยลงทุกที
“เดียงพลาโต”กสิกรรมเหนือเมฆ
จากตลาดนัดหมู่บ้านรานัง ซารี รถแล่นไต่ระดับความสูงผ่านเมืองโวโนโซโบ(Wonosobo)มุ่งหน้าสู่เดียงพลาโต ดินแดนแห่งขุนเขาที่อยู่ไกลจากตัวเมืองยอกยาการ์ต้า(Yogyakata) ไปทางเหนือราวๆ 135 กม.
เดียงพลาโตหรือ“ที่ราบสูงเดียง”ถือเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของอินโดนีเซีย เป็นเทือกเขาอันสงบงาม อยู่บนระดับความสูง 2,093 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
ด้วยอากาศและภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย ชาวบ้านบนนี้จึงเลือกทำการเกษตรบนที่สูง ซึ่งภาพการทำกสิกรรมที่นี่ผมบอกได้คำเดียวว่าน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์สุดๆ เพราะเป็นการเพาะปลูกบนที่สูงที่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าทุกอณูตารางเมตรไล่ตั้งแต่ไหล่เขาไปจนถึงยอดเขา แถมยังไม่ได้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหากแต่เป็นการปลูกพืชผักขนาดเล็กผสมผสานทั้ง ชา มันฝรั่ง ยาสูบ ผักกาด พริกหยวก หอม กะหล่ำ มะเขือเทศ ฯลฯ
เรียกว่าภูเขาทั้งลูกชาวบ้านเขาสามารถเพาะปลูกได้หมด แถมปลูกอย่างมีศิลปะเป็นเชิงชั้นขั้นบันไดไต่ระดับเป็นระเบียบสวยงาม ดูเข้ากันกับบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย แต่ก็แฝงไว้ด้วยความทรงเสน่ห์อยู่ในที ไม่ว่าจะเป็นสีสันความกลมกลืนต่อภูมิประเทศ การตกแต่งประดับประดา โดยเฉพาะการประดับด้วยกล้วยไม้ กุหลาบหิน และไม้ดอกไม้ใบสีสดใสในหลายบ้านๆนั้น ช่างน่ายลจนผมต้องเอี้ยวคอหันไปมองยามที่รถแล่นผ่านอยู่บ่อยครั้ง
ก่อนถึงยังจุดไฮไลท์ คณะเราแวะถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ ณ จุดชมวิวท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ซึ่งหากใครมาในช่วงบ่ายสายหมอกหนาจะเข้าปกคลุมกลืนกินเดียงพลาโตจนไม่สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ชัดเจน
บริเวณนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นแปลงเกษตรขั้นบันได เส้นสายลายถนน และหมู่บ้านบนหุบเขาตั้งโดดเด่นเหนือม่านเมฆที่ลอยอ้อยอิ่ง และสายหมอกขาวโพลนที่ลอยปกคลุมหมู่บ้านจางๆดูแล้วช่างชวนพิศเพริศแพร้วกระไรปานนั้น
จันทิอรชุน...ปราสาทมหาภารตะ
จากทิวทัศน์ชวนพิศเพลินใจ เราเดินทางไต่ระดับขึ้นไปเพริศแพร้วกันต่อกับโบราณสถานปราสาทหิน“จันทิ”(Candi)แห่งที่ราบสูงเดียงที่สร้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว่า 200 แห่ง ซึ่งในอดีตเดียงพลาโต ถือเป็น“เมืองแห่งพระเจ้า”(City of God) แหล่งอารยธรรมฮินดูรุ่นแรกๆในเกาะชวา(ที่รับต่อมาจากอินเดียอีกที)
เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 เทวสถานมากมายถูกสร้างขึ้นที่เดียง โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าสัญชัยแห่งราชวงศ์มาตารัม(ค.ศ.732-778)นั้นได้มีการสร้างกลุ่ม“จันทิอรชุน”ขึ้นมา เพื่อบูชาแด่ท่านอรชุน เจ้าชายวีรบุรุษของฝ่ายปาณฑพในมหาภารตยุทธ
“จันทิอรชุน” เป็นกลุ่มปราสาทหินเล็กๆ 5 หลัง ประกอบด้วย จันทิอรชุน(Candi Arjuna) จันทิเสมาร์(Candi Semar) จันทิศรีกัณฑิ(Candi Srikandi) จันทิปันตาเทวา(Candi Puntadewa) และจันทิเสมบัดรา(Candi Sembadra)
จันทิอรชุน ถือเป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวแห่งที่ราบสูงเดียง ซึ่งก่อนถึงทางเข้าจะมีเสียงดนตรีจากนักดนตรีเปิดหมวกมาบรรเลงขับกล่อม ที่มือกลองวงนี้เขาสามารถประยุกต์ท่อมาทำเป็นกลองได้อย่างยอดเยี่ยม
ผ่านพ้นจากแนวเสียงเพลงเข้ามาก็เป็นกลุ่มจันทิทั้ง 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาทฮินดูโบราณสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีช่องทางเข้าฝั่งตะวันออกด้านเดียวที่เหลือปิดทึบทำเป็นซุ้มเทพเจ้า อาทิ ซุ้มพระพรหม พระนารายณ์ ส่วนตามทับหลังหน้าต่าง ประตู สลักเป็น“หน้ากาล”จอมกิน หน้าอวบอ้วนแสดงให้เห็นว่าหน้ากาลที่นี่กินอิ่ม กินดีมีสุข ซึ่งทางช่างผู้สร้างอาจต้องการสะท้อนให้เห็นว่าเดียงพลาโตนั้นเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ก็เป็นได้
นอกจากจันทิอรชุนแล้ว ในเขตโบราณสถานเดียงยังมีกลุ่มจันทิต่างๆอีก อาทิ จันทิภีมะ(Candi Bhima) จันทิทวารวดี(Candi Dwarawati) จันทิคโตตกัตชะ(Candi Gatotkaca) เป็นต้น ส่วนถ้าเดินเลยลึกจากจันทิอรชุนเข้าไปตามเส้นทางท่องเที่ยวก็จะพบกับ“พิพิธภัณฑ์เดนาห์”(Denah Museum)ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงเรื่องราวเดียงพลาโตและอารยธรรมฮินดู มีพวกรูปสลักหิน รูปปั้น หน้ากาก ข้าวของเครื่องใช้ ให้นักท่องเที่ยวชมกันพอสมควร
จากพิพิธภัณฑ์ออกจากเขตจันทิอรชุนมุ่งหน้าสู่บ่อโคลนเดือด(อุณหภูมิ 77 องศาเซลเซียส) ที่พ่นควันกำมะถันออกมาขาวคลุ้งฟุ้งกระจาย ซึ่งเจ้าโคลนเดือดนี่ชาวบ้านเขาจับมันส่งท่อแล้วนำไปผลิตเป็นกระแสไฟหล่อเลี้ยงคนได้ทั้งหมู่บ้านเลยทีเดียว
ดูความร้อนจากบ่อโคลนแล้วไกด์พาเราสลับอารมณ์ไปชมทะเลสาบวาร์นา(Telega Warna) ที่ผืนน้ำมีสีเขียวคล้ายมรกต ก่อนร่ำลาเดียงพลาโตดินแดนเกษตรมหัศจรรย์สู่พื้นที่มหัศจรรย์อีกแห่งหนึ่งของยอกยาการ์ตาในช่วงบ่ายของวันนั้น
บุโรพุทโธ...เจดีย์มหัศจรรย์
แม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม(มีมุสลิมมากที่สุดในโลก) แต่อินโดกลับมีสุดยอดพุทธศาสนสถานอย่าง“บุโรพุทโธ”(โบโรบูดูร์(Borobudur) หรือบรมพุทโธ) ตั้งอยู่ในเขต Magelan ที่อยู่ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กม.
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในการเยือนบุโรพุทโธของผม แต่ว่าการมาเยือนที่นี่ทุกครั้งก็สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผมได้เสมอ สำหรับบุโรพุทโธนั้นถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์แห่งอินโด(น้องๆ 7 สิ่งมหัศจรรยของโลก) เป็นมหาเจดีย์สุดอลังการ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราว ค.ศ. 778 ถึง 850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1991
บุโรพุทโธ เป็นงานสถาปัตยกรรมฮินดู-ชวา มีองค์เจดีย์เป็นทรงดอกบัวซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา มีแผนผังซึ่งเชื่อว่าน่าจะหมายถึงคติจักรวาลและอำนาจของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 3 ชั้นหลัก เปรียบเหมือนชีวิตที่แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ชั้น 1 กามาธาตุ(กามธาตุ)หรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันกับความสุขทางโลก ชั้น 2 รูปธาตุ หรือขั้นที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกเพียงบางส่วน และชั้น 3 อรูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนการหลุดพ้นของมนุษย์ไม่ผูกพันใดๆในทางโลกอีกต่อไป
อนึ่งการถ่ายรูปบุโรพุทโธมุมกว้างแบบเต็มองค์ในช่วงบ่ายนั้น ควรไปถ่ายที่สนามหญ้าด้านหลังเพราะจะเป็นมุมตามแสง(ส่วนช่วงเช้าให้ถ่ายด้านหน้า)
เมื่อได้ภาพเป็นที่พอใจแล้วผมจึงค่อยเดินชมสิ่งน่าสนใจต่างๆในบุโรพุทโธ ไล่จากชั้นแรกขึ้นไปซึ่งมีลวดลายประดับและภาพสลักหินนูนต่ำกว่า 160 ภาพ อาทิ ภาพบาปบุญคุณโทษ ภาพกฎแห่งกรรม และภาพวิถีชีวิตชาวชวา ให้ชมกัน
จากนั้นเป็นชั้น 2 หรือชั้น รูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนขั้นตอนการหลุดพ้นจากกิเลสในทางโลกของมนุษย์เพียงบางส่วน ที่ชั้นนี้มีภาพสลักสวยๆงามๆบนระเบียงให้ชมกันเพียบกว่า1,400 ภาพ(ยาวทั้งหมดเกือบ 4 กม.) โดยส่วนใหญ่จะเป็นภาพพุทธประวัติต่างๆ
ต่อจากนั้นก็เป็นชั้น 3 หรือชั้นอรูปธาตุ มีเจดีย์ประธาน(องค์ใหญ่)ประดิษฐานอยู่บนชั้นสูงสุดสื่อถึงแกนจักรวาลหรือการหลุดพ้นในระดับสูงสุด ส่วนรอบๆในชั้นลดหลั่นลงมาก็เรียงรายไปด้วยเจดีย์มากมาย แถมเป็นเจดีย์โปร่งที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในนั้น ซึ่งคนที่นี่มีความเชื่อว่าหากสามารถเอื้อมมือไปสัมผัสกับพระพุทธรูปในเจดีย์ได้ก็จะสมหวังดังที่ตั้งจิตอธิษฐาน หรือถ้าใคร เจ็บไข้ได้ป่วยตรงส่วนไหนของร่างกาย ถ้าสัมผัสตรงส่วนนั้นก็จะทำให้หายเจ็บไข้
สำหรับเรื่องนี้ใครจะเชื่อยังไง“ก็แล่วแต๊” แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาให้ผมได้เห็นก็คือ แทบทุกชนชาติต่างก็มีความเชื่อในทำนองนี้ทั้งนั้น และเจ้าความเชื่อนี่แหละมันได้เป็นกระตุ้นให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์บนพื้นพิภพขึ้นมามากมาย
หนึ่งในนั้นก็คือบุโรพุทโธ...(อ่านเที่ยวอินโดชมอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ในตอนหน้า)
*****************************************
เดียงพลาโตและบุโรพุทโธตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ใช้เวลาเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งราว 2 ชม.ครึ่ง ซึ่งผู้สนใจเที่ยวยอกยาการ์ต้าในเส้นทางนี้ พร้อมสิ่งน่าสนใจอื่นๆ และเที่ยวชมพูเขาไฟโบรโม่ในเมืองสุราบายา สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท“ทรอปิคอล สตาร์ ทราเวล” โทร.0-2513-4913,0-2513-4996 ต่อ 108,08-0088-1876 และสามารถสอบถามเที่ยวบินจากเมืองไทยสู่อินโดซีเซียและเที่ยวบินในประเทศอินโดได้ที่ สายการบินการูด้า โทร.0-2285-6470-3
บ่อยครั้งของการเดินทางที่บางครั้งโชคดี บางทีโชคร้าย
ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมรู้สึกว่าตัวเองค่อนข้างโชคดีเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะบนเส้นทางสู่“เดียงพลาโต”(Dieng Plateau) ระหว่างต้นๆทาง ณ หมู่บ้านรานัง ซารี(Ranoung Sari)ผมมีโอกาสได้สัมผัสกับตลาดนัดพื้นบ้านแบบอินโดที่เขายังคงใช้วิธีนัดขายของกันแบบพื้นถิ่นดั้งเดิม คือนัดขายกันทุกๆ 5 วัน ตามปฏิทินชวา(1 เดือน มี 35 วัน)
ตลาดนัดที่นี่ยังคงอบอวลไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่วางขายแบบแบกะดิน มีทั้ง ของกิน ของใช้ ผัก ผลไม้ มะพร้าว กล้วย และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึงตลาดซื้อขายสัตว์ที่มี แพะ แกะ เป็น ไก่ เป็นตัวชูโรง แต่ที่ผมตื่นตาตื่นใจมากเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นพ่อค้าขายงูที่มีทั้งซากงู(ลอกคราบ)แห้งๆและงูตัวเป็นๆที่เลื้อยชูคอไหวๆ
คุณไกด์ของเราบอกว่าคนแถวนี้นิยมซื้องูไปดองยา แหม...เหมือนบ้านเราเลยแฮะ เพียงแต่ว่าบ้านเรานับวันยิ่งมางูยิ่งหายากมากขึ้น เพราะผืนป่าหดหายเหลือน้อยลงทุกที
“เดียงพลาโต”กสิกรรมเหนือเมฆ
จากตลาดนัดหมู่บ้านรานัง ซารี รถแล่นไต่ระดับความสูงผ่านเมืองโวโนโซโบ(Wonosobo)มุ่งหน้าสู่เดียงพลาโต ดินแดนแห่งขุนเขาที่อยู่ไกลจากตัวเมืองยอกยาการ์ต้า(Yogyakata) ไปทางเหนือราวๆ 135 กม.
เดียงพลาโตหรือ“ที่ราบสูงเดียง”ถือเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของอินโดนีเซีย เป็นเทือกเขาอันสงบงาม อยู่บนระดับความสูง 2,093 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
ด้วยอากาศและภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย ชาวบ้านบนนี้จึงเลือกทำการเกษตรบนที่สูง ซึ่งภาพการทำกสิกรรมที่นี่ผมบอกได้คำเดียวว่าน่าทึ่งและน่าอัศจรรย์สุดๆ เพราะเป็นการเพาะปลูกบนที่สูงที่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าทุกอณูตารางเมตรไล่ตั้งแต่ไหล่เขาไปจนถึงยอดเขา แถมยังไม่ได้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหากแต่เป็นการปลูกพืชผักขนาดเล็กผสมผสานทั้ง ชา มันฝรั่ง ยาสูบ ผักกาด พริกหยวก หอม กะหล่ำ มะเขือเทศ ฯลฯ
เรียกว่าภูเขาทั้งลูกชาวบ้านเขาสามารถเพาะปลูกได้หมด แถมปลูกอย่างมีศิลปะเป็นเชิงชั้นขั้นบันไดไต่ระดับเป็นระเบียบสวยงาม ดูเข้ากันกับบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย แต่ก็แฝงไว้ด้วยความทรงเสน่ห์อยู่ในที ไม่ว่าจะเป็นสีสันความกลมกลืนต่อภูมิประเทศ การตกแต่งประดับประดา โดยเฉพาะการประดับด้วยกล้วยไม้ กุหลาบหิน และไม้ดอกไม้ใบสีสดใสในหลายบ้านๆนั้น ช่างน่ายลจนผมต้องเอี้ยวคอหันไปมองยามที่รถแล่นผ่านอยู่บ่อยครั้ง
ก่อนถึงยังจุดไฮไลท์ คณะเราแวะถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ ณ จุดชมวิวท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ซึ่งหากใครมาในช่วงบ่ายสายหมอกหนาจะเข้าปกคลุมกลืนกินเดียงพลาโตจนไม่สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ชัดเจน
บริเวณนี้เมื่อมองลงไปจะเห็นแปลงเกษตรขั้นบันได เส้นสายลายถนน และหมู่บ้านบนหุบเขาตั้งโดดเด่นเหนือม่านเมฆที่ลอยอ้อยอิ่ง และสายหมอกขาวโพลนที่ลอยปกคลุมหมู่บ้านจางๆดูแล้วช่างชวนพิศเพริศแพร้วกระไรปานนั้น
จันทิอรชุน...ปราสาทมหาภารตะ
จากทิวทัศน์ชวนพิศเพลินใจ เราเดินทางไต่ระดับขึ้นไปเพริศแพร้วกันต่อกับโบราณสถานปราสาทหิน“จันทิ”(Candi)แห่งที่ราบสูงเดียงที่สร้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว่า 200 แห่ง ซึ่งในอดีตเดียงพลาโต ถือเป็น“เมืองแห่งพระเจ้า”(City of God) แหล่งอารยธรรมฮินดูรุ่นแรกๆในเกาะชวา(ที่รับต่อมาจากอินเดียอีกที)
เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 เทวสถานมากมายถูกสร้างขึ้นที่เดียง โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าสัญชัยแห่งราชวงศ์มาตารัม(ค.ศ.732-778)นั้นได้มีการสร้างกลุ่ม“จันทิอรชุน”ขึ้นมา เพื่อบูชาแด่ท่านอรชุน เจ้าชายวีรบุรุษของฝ่ายปาณฑพในมหาภารตยุทธ
“จันทิอรชุน” เป็นกลุ่มปราสาทหินเล็กๆ 5 หลัง ประกอบด้วย จันทิอรชุน(Candi Arjuna) จันทิเสมาร์(Candi Semar) จันทิศรีกัณฑิ(Candi Srikandi) จันทิปันตาเทวา(Candi Puntadewa) และจันทิเสมบัดรา(Candi Sembadra)
จันทิอรชุน ถือเป็นไฮไลท์ทางการท่องเที่ยวแห่งที่ราบสูงเดียง ซึ่งก่อนถึงทางเข้าจะมีเสียงดนตรีจากนักดนตรีเปิดหมวกมาบรรเลงขับกล่อม ที่มือกลองวงนี้เขาสามารถประยุกต์ท่อมาทำเป็นกลองได้อย่างยอดเยี่ยม
ผ่านพ้นจากแนวเสียงเพลงเข้ามาก็เป็นกลุ่มจันทิทั้ง 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาทฮินดูโบราณสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีช่องทางเข้าฝั่งตะวันออกด้านเดียวที่เหลือปิดทึบทำเป็นซุ้มเทพเจ้า อาทิ ซุ้มพระพรหม พระนารายณ์ ส่วนตามทับหลังหน้าต่าง ประตู สลักเป็น“หน้ากาล”จอมกิน หน้าอวบอ้วนแสดงให้เห็นว่าหน้ากาลที่นี่กินอิ่ม กินดีมีสุข ซึ่งทางช่างผู้สร้างอาจต้องการสะท้อนให้เห็นว่าเดียงพลาโตนั้นเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ก็เป็นได้
นอกจากจันทิอรชุนแล้ว ในเขตโบราณสถานเดียงยังมีกลุ่มจันทิต่างๆอีก อาทิ จันทิภีมะ(Candi Bhima) จันทิทวารวดี(Candi Dwarawati) จันทิคโตตกัตชะ(Candi Gatotkaca) เป็นต้น ส่วนถ้าเดินเลยลึกจากจันทิอรชุนเข้าไปตามเส้นทางท่องเที่ยวก็จะพบกับ“พิพิธภัณฑ์เดนาห์”(Denah Museum)ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงเรื่องราวเดียงพลาโตและอารยธรรมฮินดู มีพวกรูปสลักหิน รูปปั้น หน้ากาก ข้าวของเครื่องใช้ ให้นักท่องเที่ยวชมกันพอสมควร
จากพิพิธภัณฑ์ออกจากเขตจันทิอรชุนมุ่งหน้าสู่บ่อโคลนเดือด(อุณหภูมิ 77 องศาเซลเซียส) ที่พ่นควันกำมะถันออกมาขาวคลุ้งฟุ้งกระจาย ซึ่งเจ้าโคลนเดือดนี่ชาวบ้านเขาจับมันส่งท่อแล้วนำไปผลิตเป็นกระแสไฟหล่อเลี้ยงคนได้ทั้งหมู่บ้านเลยทีเดียว
ดูความร้อนจากบ่อโคลนแล้วไกด์พาเราสลับอารมณ์ไปชมทะเลสาบวาร์นา(Telega Warna) ที่ผืนน้ำมีสีเขียวคล้ายมรกต ก่อนร่ำลาเดียงพลาโตดินแดนเกษตรมหัศจรรย์สู่พื้นที่มหัศจรรย์อีกแห่งหนึ่งของยอกยาการ์ตาในช่วงบ่ายของวันนั้น
บุโรพุทโธ...เจดีย์มหัศจรรย์
แม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม(มีมุสลิมมากที่สุดในโลก) แต่อินโดกลับมีสุดยอดพุทธศาสนสถานอย่าง“บุโรพุทโธ”(โบโรบูดูร์(Borobudur) หรือบรมพุทโธ) ตั้งอยู่ในเขต Magelan ที่อยู่ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กม.
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในการเยือนบุโรพุทโธของผม แต่ว่าการมาเยือนที่นี่ทุกครั้งก็สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผมได้เสมอ สำหรับบุโรพุทโธนั้นถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์แห่งอินโด(น้องๆ 7 สิ่งมหัศจรรยของโลก) เป็นมหาเจดีย์สุดอลังการ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราว ค.ศ. 778 ถึง 850 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1991
บุโรพุทโธ เป็นงานสถาปัตยกรรมฮินดู-ชวา มีองค์เจดีย์เป็นทรงดอกบัวซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา มีแผนผังซึ่งเชื่อว่าน่าจะหมายถึงคติจักรวาลและอำนาจของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 3 ชั้นหลัก เปรียบเหมือนชีวิตที่แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ชั้น 1 กามาธาตุ(กามธาตุ)หรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันกับความสุขทางโลก ชั้น 2 รูปธาตุ หรือขั้นที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกเพียงบางส่วน และชั้น 3 อรูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนการหลุดพ้นของมนุษย์ไม่ผูกพันใดๆในทางโลกอีกต่อไป
อนึ่งการถ่ายรูปบุโรพุทโธมุมกว้างแบบเต็มองค์ในช่วงบ่ายนั้น ควรไปถ่ายที่สนามหญ้าด้านหลังเพราะจะเป็นมุมตามแสง(ส่วนช่วงเช้าให้ถ่ายด้านหน้า)
เมื่อได้ภาพเป็นที่พอใจแล้วผมจึงค่อยเดินชมสิ่งน่าสนใจต่างๆในบุโรพุทโธ ไล่จากชั้นแรกขึ้นไปซึ่งมีลวดลายประดับและภาพสลักหินนูนต่ำกว่า 160 ภาพ อาทิ ภาพบาปบุญคุณโทษ ภาพกฎแห่งกรรม และภาพวิถีชีวิตชาวชวา ให้ชมกัน
จากนั้นเป็นชั้น 2 หรือชั้น รูปธาตุ ที่เปรียบเสมือนขั้นตอนการหลุดพ้นจากกิเลสในทางโลกของมนุษย์เพียงบางส่วน ที่ชั้นนี้มีภาพสลักสวยๆงามๆบนระเบียงให้ชมกันเพียบกว่า1,400 ภาพ(ยาวทั้งหมดเกือบ 4 กม.) โดยส่วนใหญ่จะเป็นภาพพุทธประวัติต่างๆ
ต่อจากนั้นก็เป็นชั้น 3 หรือชั้นอรูปธาตุ มีเจดีย์ประธาน(องค์ใหญ่)ประดิษฐานอยู่บนชั้นสูงสุดสื่อถึงแกนจักรวาลหรือการหลุดพ้นในระดับสูงสุด ส่วนรอบๆในชั้นลดหลั่นลงมาก็เรียงรายไปด้วยเจดีย์มากมาย แถมเป็นเจดีย์โปร่งที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในนั้น ซึ่งคนที่นี่มีความเชื่อว่าหากสามารถเอื้อมมือไปสัมผัสกับพระพุทธรูปในเจดีย์ได้ก็จะสมหวังดังที่ตั้งจิตอธิษฐาน หรือถ้าใคร เจ็บไข้ได้ป่วยตรงส่วนไหนของร่างกาย ถ้าสัมผัสตรงส่วนนั้นก็จะทำให้หายเจ็บไข้
สำหรับเรื่องนี้ใครจะเชื่อยังไง“ก็แล่วแต๊” แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาให้ผมได้เห็นก็คือ แทบทุกชนชาติต่างก็มีความเชื่อในทำนองนี้ทั้งนั้น และเจ้าความเชื่อนี่แหละมันได้เป็นกระตุ้นให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์บนพื้นพิภพขึ้นมามากมาย
หนึ่งในนั้นก็คือบุโรพุทโธ...(อ่านเที่ยวอินโดชมอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ในตอนหน้า)
*****************************************
เดียงพลาโตและบุโรพุทโธตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ใช้เวลาเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งราว 2 ชม.ครึ่ง ซึ่งผู้สนใจเที่ยวยอกยาการ์ต้าในเส้นทางนี้ พร้อมสิ่งน่าสนใจอื่นๆ และเที่ยวชมพูเขาไฟโบรโม่ในเมืองสุราบายา สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท“ทรอปิคอล สตาร์ ทราเวล” โทร.0-2513-4913,0-2513-4996 ต่อ 108,08-0088-1876 และสามารถสอบถามเที่ยวบินจากเมืองไทยสู่อินโดซีเซียและเที่ยวบินในประเทศอินโดได้ที่ สายการบินการูด้า โทร.0-2285-6470-3