ประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่ “ไทย”
วันที่แลกเปลี่ยนกัน มีปัญหาที่ผมรู้สึก “คาใจ” อยู่เรื่องหนึ่งคือ ความกลัวแนวคิดชาตินิยมแบบสุดขั้วจนเกินจริง
เพื่อนๆ ได้นำเอาบทความชิ้นหนึ่งเขียนโดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งออกมา ท่านเตือนว่า คนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำสัญญาเขาพระวิหารนี้คือ พวกชาตินิยม โดยใช้คำว่า ‘พวกอำมาตยาธิปไตยชาตินิยม’
นี่คือ บทเสนอที่ปิดปากนักวิชาการจำนวนมากที่รักชาติ จนไม่กล้าออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้ เพราะกลัวว่าต้องกลายเป็นพวกอำมาตยาธิปไตยคลั่งชาติจริงตามที่ท่านกล่าว
นอกจากนี้ ใครแสดงความรักชาติในกรณีเขาพระวิหาร ยังอาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายที่ชอบรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ หรือต่อต้านประชาธิปไตยอีก
ผมบ่นกับเพื่อนๆ นักวิชาการที่ไปร่วมเสวนาว่า
“พวกเราเลวทรามต่ำช้ากันอย่างมากๆ เชียวหรือ”
สาเหตุที่พวกเราคัดค้านเรื่องการทำสัญญา ก็เพราะเราเชื่อว่า น่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง และน่าจะนำผ่านสภา พิจารณาจากสภา และถามความเห็นภาคประชาชนก่อน เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน จึงไม่จำเป็นต้องเร่งร้อนไปรีบทำสัญญา
มีนักวิชาการบางท่านเสนอว่า เรา (หรือทางไทย) น่าจะเสนอเป็นเจ้าภาพร่วมกับฝ่ายกัมพูชา
ผมไม่เห็นว่า การเสนอแบบนี้จะถือว่าเป็นอำมาตยาธิปไตยคลั่งชาติ ตรงไหน
และผมก็ไม่คิดว่า หากประชาชนเคลื่อนไหวเดินขบวนขนาดใหญ่คัดค้านเรื่องเขาพระวิหารแล้ว จะก่อเกิด ‘รัฐประหาร’
‘การเดินขบวนภาคประชาชน’ กับ ‘การรัฐประหาร’ ไม่จำเป็นเลย ที่จะต้องกลายเป็นเหตุผลของกันและกัน
ไม่เห็น หรือว่า...... พันธมิตรฯ เดินขบวนกันมานานนับเดือนกว่าแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววเลยว่าจะเกิดการรัฐประหาร
ผมเองเคยไปเที่ยวนั่งคุยกับบรรดาเพื่อนๆ ที่มาร่วมประชุมกับพันธมิตรฯ ว่าคิดอย่างไรกับเรื่องรัฐประหาร ผมกลับพบว่าไม่มีใครแม้สักคนที่เห็นว่า ถ้าทหารทำรัฐประหารแล้ว ทหารจะแก้ปัญหาวิกฤตของสังคมไทยได้
ผมเป็นห่วงว่าถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นจริง พลังพันธมิตรฯ และประชาชนไทยที่ถูกหาว่าคลั่งชาติ จะกลายเป็นกลุ่มพลังที่สำคัญที่ลุกขึ้นต่อต้านการรัฐประหารเสียเอง
มีอีกบทความหนึ่งได้กล่าวอ้างแบบตรงๆ ว่า
“เขาพระวิหารเป็นของขอม” ขอม หรือกัมพูชา จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของเขา เราคนไทยไม่มีสิทธิไปโต้แย้งอะไรทั้งสิ้น
ผมคิดว่า นี่คือการมองประวัติศาสตร์ในมิติของประเทศ ความเป็นชนชาติ และความเป็นเจ้าของ ที่ค่อนข้างแคบไปสักหน่อย
อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมต้องไปช่วยสอนวิชาประวัติศาสตร์ นี่ถือว่าแปลกสักหน่อยเพราะผมเรียนจบมาเรื่อง ‘ระบบโลก’ แต่บังเอิญอาจารย์ของผมเอง แม้ว่าท่านจะนำเสนอทฤษฎีระบบโลก แต่ท่านก็เป็นนักประวัติศาสตร์
ท่านสืบทอดแนวคิดทางประวัติศาสตร์จากอาจารย์ของท่านชื่อ Fernand Braudel
แนวคิดของ Braudel ไม่ได้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักประวัติศาสตร์ไทยมากนัก เพราะท่านเป็นชาวฝรั่งเศส หรือกล่าวแบบตรงๆ คือ ท่านไม่ใช่นักวิชาการประวัติศาสตร์ในค่ายของนักประวัติศาสตร์อเมริกา
ท่านมองประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแบบก้าวผ่านพรมแดน ก้าวผ่านความเชื่อแบบชนชาติ และไม่ได้มองในกรอบความเป็นประเทศที่มีพรมแดนที่ตายตัว
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองจากมิติชนชาติ (ไท) หรือมิติความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ไทยทั่วไปจะเริ่มเรื่องขึ้นที่อาณาจักรสุโขทัย ต่อมาก็ที่อาณาจักรอยุธยา และตามด้วยอาณาจักรรัตนโกสินทร์
ผมเริ่มบรรยายวิชาประวัติศาสตร์โดยกล่าวว่า
“วันนี้ ผมจะสอนประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ ‘ ไทย’ หรือ ไม่ใช่เริ่มต้นที่การหาว่า คนไทยมาจากไหน”
ผมคิดว่า การคิดในมิติของ ‘ไทย’ ‘ขอม’ และอื่นๆ คับแคบเกินไปเพราะไปหลงคิดว่าเราสามารถดำรงตัวตน หรือความเป็นไทย ความเป็นขอม ได้อย่างหนึ่งอย่างใด และรักษาความเป็นตัวตนที่เรียกว่า ‘ไทย’ ว่า‘ขอม’ สืบต่อจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผมจึงกล่าวกับนักศึกษาว่า
‘ตัวตน’ ที่ว่าด้วย ‘ไทย’ ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ในช่วงประวัติศาสตร์นับพันๆ ปี
ดังนั้น เราจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยจาก ‘ความไม่เป็นไทย’ แต่เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมที่เคลื่อนตัวไปในมิติทั่วโลก และเปลี่ยนไปเป็นช่วงๆ หรือตามยุคสมัย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ
กระแสวัฒนธรรม และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนผ่านและพลิกผันไปตามการพลิกผันไปของศูนย์วัฒนธรรมโลกโบราณ (ทางเอเชีย) ซึ่งมีประเทศอินเดีย และประเทศจีน เป็นศูนย์กลาง
เราจึงกลายเป็น ‘มอญ’ หรือบริโภควัฒนธรรมมอญ ในสมัยทวารวดี เพราะวัฒนธรรมมอญได้ไหลผ่านจากอินเดียเข้าสู่ประเทศพม่า และไหลผ่านมาที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนเกิดอารยธรรมที่เรียกว่า ‘ทวารวดี’ ขึ้น
หลังจากนั้น เราเป็น ‘ขอม’ หรือบริโภควัฒนธรรมแบบขอม ในช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมรุ่งเรือง สายวัฒนธรรมนี้เชื่อมตรงต่อกับการแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียตอนใต้ในยุคที่วัฒนธรรมฮินดูรุ่งเรือง
และต่อมา เรามาเป็น ‘ศรีอยุธยา’‘ ในแบบวัฒนธรรมพราหมณ์ และพุทธ (แบบเถรวาท) ช่วงที่วัฒนธรรมแบบศรีอยุธยารุ่งเรือง
ดังนั้น จะเข้าใจ ความเป็นไทย’ ต้องเข้าใจ ความเป็นมอญ และความเป็นขอม ก่อนที่จะเข้าใจความเป็นศรีอยุธยา
ความเป็นมอญได้ก่อวัฒนธรรม (ระดับเมือง) ที่งดงามขึ้นตามลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งด้านเหนือ และดินแดนตอนล่าง แพร่วัฒนธรรมนี้ไปถึงลุ่มน้ำโขงตอนเหนือ
หลังจากนั้น เราได้เปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมแบบขอมในยุคที่ความเป็นขอมเกิดขึ้น ช่วงนี้ ดินแดนแถบนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุคอาณาจักร หรือ Empire ขนาดใหญ่
ผมเชื่อว่า Empire ในยุคขอมนี้ มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดน 2 ฝั่งแม่น้ำ คือ ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง
ศูนย์ของอาณาจักรขอมโบราณ (ทางศาสนา และวัฒนธรรม) ก็คือ เขาพระวิหาร
ดังนั้น เราไม่มีทางเลยที่จะเข้าใจความเป็นไทย ถ้าเราไม่เข้าใจความเป็นมอญ และความเป็นขอม
เราแยกจากความเป็นมอญ เป็นขอม ไม่ได้ เพราะเรามีชีวิตวัฒนธรรมทั้งแบบมอญและแบบขอมนับร้อยๆ ปี
ในช่วงความเป็นขอมนี้ เรารับวัฒนธรรมแบบพุทธ แบบมหายานเข้ามาด้วย
ดังนั้น ความเป็นพุทธแบบมหายาน คือ ความเป็นเราในอดีต ไม่น้อยกว่าความเป็นพุทธแบบเถรวาท
ในโลกยุคโบราณนั้น ไม่มีพรมแดนที่สามารถสกัดกั้นการแพร่ขยายของวัฒนธรรม มีเพียงเส้นทางสายน้ำ (ทะเล) จึงกล่าวได้ว่า “สายน้ำ คือ เส้นทางเดินของชีวิตวัฒนธรรมที่ไร้พรมแดน”
เมื่อความเป็น Empire แบบขอมรุ่งเรืองมาก ความเป็นขอม (มองในแง่ปราสาท) จึงปรากฏขึ้น ตลอดลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง ทั้ง 2 ฝั่ง ให้เราเห็นจนถึงทุกวันนี้
ถ้าเราคิดกันแบบง่ายๆว่า เขาพระวิหารเป็นของขอมเท่านั้น ประเทศไทยคงต้องยกบรรดาปราสาททั้งหมดที่อยู่ในเขตประเทศไทยคืนให้ขอม หรือกัมพูชา ถือครองเพราะน่าจะถือว่าปราสาทเหล่านี้ในช่วงอดีตเจ้าขอมเป็นผู้สร้าง
ปัญหาที่อาจจะหลงเหลือที่น่าช่วยกันคิด เช่นกัน คือประเด็นเรื่องความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ว่ามีแค่ไหน อย่างไร และเปลี่ยนไปอย่างไร
ผมคิดว่า ในยุคมอญ และยุคขอม ความหลากหลายมีน้อยกว่าในยุคอยุธยามาก โดยพิจารณาจากศิลปะการก่อสร้างวัดและปราสาทที่ค่อนข้างจะคล้ายกัน และมีแบบแผนที่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างชัดเจน แต่ก็มีการวิวัฒน์ในแง่ความละเอียดอ่อนและความงามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ในยุคอาณาจักรอยุธยา ฐานรากทางวัฒนธรรมจะเน้นความผสมผสานกันทางวัฒนธรรมมากกว่าแบบวัฒนธรรมสายเดียว
ยกตัวอย่างง่ายๆ ในยุคอยุธยา ฐานวัฒนธรรมสำคัญมีทั้งความเป็นพุทธและความเป็นพราหมณ์ดำรงผสมอยู่ร่วมกัน
หรือกล่าวได้ว่า อาณาจักรอยุธยาค่อนข้างเปิดโลกทางวัฒนธรรมสูงมาก ความเป็นอยุธยาจึงมีทั้งความเป็นมอญ ความเป็นขอม ความเป็นจีน ความเป็นพุทธแบบต่างๆ รวมทั้งความเป็นเปอร์เซีย ความเป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น และอื่นๆ
นอกจากนี้ ในเมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ให้ค่าต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงยอมให้วัฒนธรรมทางเหนือ อีสาน และทางใต้ สามารถดำรงหรือมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของตนเอง
ดังนั้น คำว่า ‘ความเป็นไทยทางวัฒนธรรม’ จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะค้นหา
‘ยากมาก’จนสามารถกล่าวได้ว่า “ไม่มีใครผู้ใดจะค้นหาเจอ”
ไม่เชื่อผม ลองไปเดินเที่ยวที่วัดพระแก้ว
เราจะพบ ‘ความไม่ใช่ไทย’ ในทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการก่อสร้าง แต่ในเวลาเดียวกันจะพบว่า “ความไม่ใช่ไทยทั้งหมด ได้ประกอบกันขึ้นอย่างงดงาม”
จนกล่าวได้ว่า ความเป็นไทย คือ ความไม่ใช่ไทย
และความเป็นไทที่แท้จริงคือ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ความเป็นอยุธยา และความเป็นรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เราไม่ใช่ “ไทย” อีกต่อไป แต่กลับเพิ่มความเป็นไท (อิสระ) ยิ่งขึ้น เพราะก่อเกิดแบบวัฒนธรรมของความเป็นคนไทย ที่เปิดกว้าง และไม่ติดยึดกับอะไร
บทสรุป
ในสมัยที่ผมเรียนปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ วิชาที่สำคัญที่สุดคือ วิชาหลักรัฐศาสตร์ จำได้ว่าผมถูกสอนว่า อะไรคือ รัฐ คำตอบที่ผมได้รับนั้น รัฐ คือดินแดนที่มีพรมแดน มีประชากรแห่งรัฐ และมีอธิปไตยเหนือดินแดน
สมัยนั้น ผมถามอาจารย์ว่า คำอธิบายนี้จะครอบคลุมไปถึง ‘ความเป็นรัฐ’ ในยุคนครรัฐ หรือ เมือง และรัฐโบราณที่เกิดขึ้นในย่านเอเชียได้ด้วยหรือไม่
อาจารย์ทำหน้างงๆ
ผมจำไม่ได้ว่า อาจารย์ตอบว่าอะไรแน่ แต่ผมยังไม่สิ้นข้อสงสัย
ต่อมา หลังจากที่ผมเรียนวิชาประวัติศาสตร์ตามแนวคิดของ Braudel ผมยิ่งมีความสงสัยเพิ่มมากขึ้นในความเชื่อว่า อะไรคือ รัฐ รวมทั้งเรื่อง อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งจริงๆ มาจากชุดความเชื่อเรื่องรัฐชาติ ที่เกิดขึ้นในยุโรปในศตวรรษที่ 15 ถึง 16 เท่านั้น
เมื่อคนไทยหลงเชื่อแนวคิดแบบนี้ (ในลักษณะที่เป็นหลักการทั่วไป) และใช้ความเข้าใจอย่างนี้ไปศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทยในอดีต เราจึงมองย้อนประวัติศาสตร์ด้วยแนวคิดแบบ ‘แยกเขาแยกเรา’ มีตัวตน และเส้นแบ่งเรื่องภาษา วัฒนธรรม ชนชาติ ชั้นชนที่ตายตัว และพรมแดนที่แน่นอน
พอมองย้อนอดีต เราก็วาดภาพประวัติศาสตร์เราเองด้วยประวัติศาสตร์แห่งสงครามระหว่างชนชาติต่างๆ
เราจึงมีภาพร่างกำเนิดประวัติศาสตร์ไทยด้วยเรื่องราวของสงครามระหว่างสุโขทัยกับอาณาจักรขอมจริงหรือ... หรือว่าไม่จริง หรือมีความจริงบ้างก็ไม่มากนัก
เรามองข้ามความเข้าใจเรื่อง บ้านพี่เมืองน้อง ในอดีต ความเชื่อว่า กษัตริย์สุโขทัยก็คือพระญาติกับกษัตริย์ขอมโบราณ
เรามองข้ามความผูกสัมพันธ์ระหว่างกันทางวัฒนธรรม การอพยพโยกย้ายไปมาหาสู่กัน และประเพณีการแต่งงานกันระหว่างผู้คนและชนชั้นนำที่ต่างชนชาติกัน
นอกจากนี้ เราก็สร้างภาพแผนที่ที่บ่งบอกว่าอาณาจักรสุโขทัยมีพื้นที่หรือเขตแดนแค่ไหน อยุธยามีเขตแดนแค่ไหน ซึ่งแผนที่เหล่านี้ไม่เคยมีอยู่จริงทางประวัติศาสตร์
เราสร้างภาพกษัตริย์นักรบ และยกย่องว่าคือ ‘มหาราช’ เพราะสามารถรบขยายพื้นที่หรือดินแดนได้
ในเวลาเดียวกัน เราก็สร้างตัวตนแห่งความเป็นไทยที่ยั่งยืนขึ้น ราวว่าไม่เปลี่ยนแปลง เราก่อเกิดที่ภูเขาอัลไต
นี่คือ ความเป็นไทย และรัฐไทย ที่ถูกสร้างขึ้นในยุคสร้างความเป็นชาติ และฝังเป็นจิตวิญญาณของเราทุกคน เราจึงมองโลกในมิติแยกเราแยกเขา เป็นลาว เป็นไทย และเขมร
จนถึงวันนี้ บรรดาคนไทยที่เดินทางไปเขมร พอได้ยินชื่อเมืองที่ถูกเรียกว่า เสียมเรียบ ก็เข้าใจว่า นี่คือ เมืองที่ชาวเสียมหรือคนไทยยกทัพมาตีเขมร และถูกกวาดล้างทำลายจนเรียบหมด
ทำให้รู้สึกแค้น และเกลียดชังคนเขมรลึกๆ
เราไม่คิด นี่...น่าจะตีความอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เมืองนี้ คือเมืองที่ชาวเสียมเข้ามาอาศัยอยู่ และชาวเสียมเหล่านี้เป็นคนที่ ‘เรียบ’ ร้อยมาก
คนเสียมโบราณน่ารัก เวลาไปอยู่ที่ไหนก็เรียบร้อยน่ารัก เพราะไม่เคยคิดว่า คนขอม คือ ศัตรู แต่คิดว่า พวกเขาคือ เพื่อนมิตร และญาติพี่น้อง
ทุกวันนี้ ความรู้สึกแห่งการเป็นบ้านพี่เมืองน้องนี้ยังคงปรากฏชัดแบบข้ามพรมแดน
อย่างเช่น คนที่อยู่ริมโขงไม่ว่า ฝั่งไทย หรือ ฝั่งลาว เช่นเดียวกับ คนไทย และ คนขอม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขาพระวิหาร ทั้ง 2 ฟากฝั่ง พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข แต่งงานกัน และทำมาหากินร่วมกัน
เรื่อง ‘พรมแดน’ เสียอีก กลับคือสิ่งที่ไปขวางกั้น สกัดกั้นชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน แยกความเป็นไทย ความเป็นลาว ความเป็นขอมออกจากกัน
ผมชอบฟังเพลงเก่า มีเพลงลาวเพลงหนึ่งที่ชอบมาก ชื่อ สองฝั่งโขง เพลงนี้ย้ำเตือนความเชื่อว่า ไทยลาวที่แท้ก็คือ พี่น้องกัน
ไม่จริงหรือว่า! ในอดีต เราไม่เคยมีพรมแดน ทุกคนจึงเป็นพี่น้องกัน
ไม่จริงหรือว่า! พรมแดนแยกเราออกจากกันไม่ได้
ในยุคที่วัฒนธรรมมอญรุ่งเรือง เราทั้งหมดทั้งสองฝั่งน้ำโขงและสายน้ำเจ้าพระยาก็รับวัฒนธรรมแบบมอญ
ไม่จริงหรือว่า! ยุคที่ขอมรุ่งเรือง เราทั้งสองฝั่งโขงและสองฝั่งเจ้าพระยาก็รับวัฒนธรรมแบบขอม
เมื่อยุคศรีอยุธยารุ่งเรือง เรารับวัฒนธรรมแบบผสมผสานโดยมีพุทธ (เถรวาท) พราหมณ์ และพุทธกับผี เป็นหลัก
วันนี้ ถึงเวลาหรือยัง! ที่เราควรจะเริ่มตั้งคำถามต่อความเชื่อซึ่งเรารับเอามาทั้งดุ้นจากโลกตะวันตก ความเชื่อที่ย้ำเน้น ‘ความเป็นเขาความเป็นเรา’ ความเชื่อที่ทำให้เราหลงคลั่งชาติ
ถึงเวลาหรือยัง! ที่เราต้องกลับมาเชื่อเรื่อง ‘ความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง’ อีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ แม้แต่ประเทศย่านยุโรป ชาวยุโรปผู้ให้กำเนิดความคิดเรื่อง รัฐชาติ และ ลัทธิชาตินิยม ยังโยนทิ้งความเชื่อเรื่องรัฐชาติดังกล่าวแล้ว
วันนี้ ยุโรป ได้รวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว
หรือ! เราต้องรอให้ชาวยุโรป เขาโยนทิ้งก่อน เราจึงจะกล้าคิด
เขาพระวิหาร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ของไทย ไม่ใช่ของขอม เพราะไม่มีใครจริงๆ ที่สามารถอ้างความเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้
เขาพระวิหารจึงกลายเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ
วันหนึ่ง คนทั่วโลกจะเดินทางมาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยวบางท่านอาจจะถามเราว่า “ใครเป็นเจ้าของ”
เราก็ต้องตอบว่า
“รู้แต่เรื่องราวว่าใครคือผู้สร้าง และสร้างสมัยไหน แต่ท่านไม่ได้สร้างเพื่อใคร หรือเพื่อตัวท่านเอง หรือตั้งใจให้ใครครอบครอง ท่านเจตนาสร้างศูนย์แห่งจักรวาลนี้เพื่อมวลมนุษยชาติ”
จนกว่าจะพบกันอีก
วันที่แลกเปลี่ยนกัน มีปัญหาที่ผมรู้สึก “คาใจ” อยู่เรื่องหนึ่งคือ ความกลัวแนวคิดชาตินิยมแบบสุดขั้วจนเกินจริง
เพื่อนๆ ได้นำเอาบทความชิ้นหนึ่งเขียนโดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งออกมา ท่านเตือนว่า คนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำสัญญาเขาพระวิหารนี้คือ พวกชาตินิยม โดยใช้คำว่า ‘พวกอำมาตยาธิปไตยชาตินิยม’
นี่คือ บทเสนอที่ปิดปากนักวิชาการจำนวนมากที่รักชาติ จนไม่กล้าออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้ เพราะกลัวว่าต้องกลายเป็นพวกอำมาตยาธิปไตยคลั่งชาติจริงตามที่ท่านกล่าว
นอกจากนี้ ใครแสดงความรักชาติในกรณีเขาพระวิหาร ยังอาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายที่ชอบรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ หรือต่อต้านประชาธิปไตยอีก
ผมบ่นกับเพื่อนๆ นักวิชาการที่ไปร่วมเสวนาว่า
“พวกเราเลวทรามต่ำช้ากันอย่างมากๆ เชียวหรือ”
สาเหตุที่พวกเราคัดค้านเรื่องการทำสัญญา ก็เพราะเราเชื่อว่า น่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง และน่าจะนำผ่านสภา พิจารณาจากสภา และถามความเห็นภาคประชาชนก่อน เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน จึงไม่จำเป็นต้องเร่งร้อนไปรีบทำสัญญา
มีนักวิชาการบางท่านเสนอว่า เรา (หรือทางไทย) น่าจะเสนอเป็นเจ้าภาพร่วมกับฝ่ายกัมพูชา
ผมไม่เห็นว่า การเสนอแบบนี้จะถือว่าเป็นอำมาตยาธิปไตยคลั่งชาติ ตรงไหน
และผมก็ไม่คิดว่า หากประชาชนเคลื่อนไหวเดินขบวนขนาดใหญ่คัดค้านเรื่องเขาพระวิหารแล้ว จะก่อเกิด ‘รัฐประหาร’
‘การเดินขบวนภาคประชาชน’ กับ ‘การรัฐประหาร’ ไม่จำเป็นเลย ที่จะต้องกลายเป็นเหตุผลของกันและกัน
ไม่เห็น หรือว่า...... พันธมิตรฯ เดินขบวนกันมานานนับเดือนกว่าแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววเลยว่าจะเกิดการรัฐประหาร
ผมเองเคยไปเที่ยวนั่งคุยกับบรรดาเพื่อนๆ ที่มาร่วมประชุมกับพันธมิตรฯ ว่าคิดอย่างไรกับเรื่องรัฐประหาร ผมกลับพบว่าไม่มีใครแม้สักคนที่เห็นว่า ถ้าทหารทำรัฐประหารแล้ว ทหารจะแก้ปัญหาวิกฤตของสังคมไทยได้
ผมเป็นห่วงว่าถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นจริง พลังพันธมิตรฯ และประชาชนไทยที่ถูกหาว่าคลั่งชาติ จะกลายเป็นกลุ่มพลังที่สำคัญที่ลุกขึ้นต่อต้านการรัฐประหารเสียเอง
มีอีกบทความหนึ่งได้กล่าวอ้างแบบตรงๆ ว่า
“เขาพระวิหารเป็นของขอม” ขอม หรือกัมพูชา จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของเขา เราคนไทยไม่มีสิทธิไปโต้แย้งอะไรทั้งสิ้น
ผมคิดว่า นี่คือการมองประวัติศาสตร์ในมิติของประเทศ ความเป็นชนชาติ และความเป็นเจ้าของ ที่ค่อนข้างแคบไปสักหน่อย
อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมต้องไปช่วยสอนวิชาประวัติศาสตร์ นี่ถือว่าแปลกสักหน่อยเพราะผมเรียนจบมาเรื่อง ‘ระบบโลก’ แต่บังเอิญอาจารย์ของผมเอง แม้ว่าท่านจะนำเสนอทฤษฎีระบบโลก แต่ท่านก็เป็นนักประวัติศาสตร์
ท่านสืบทอดแนวคิดทางประวัติศาสตร์จากอาจารย์ของท่านชื่อ Fernand Braudel
แนวคิดของ Braudel ไม่ได้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักประวัติศาสตร์ไทยมากนัก เพราะท่านเป็นชาวฝรั่งเศส หรือกล่าวแบบตรงๆ คือ ท่านไม่ใช่นักวิชาการประวัติศาสตร์ในค่ายของนักประวัติศาสตร์อเมริกา
ท่านมองประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแบบก้าวผ่านพรมแดน ก้าวผ่านความเชื่อแบบชนชาติ และไม่ได้มองในกรอบความเป็นประเทศที่มีพรมแดนที่ตายตัว
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองจากมิติชนชาติ (ไท) หรือมิติความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ไทยทั่วไปจะเริ่มเรื่องขึ้นที่อาณาจักรสุโขทัย ต่อมาก็ที่อาณาจักรอยุธยา และตามด้วยอาณาจักรรัตนโกสินทร์
ผมเริ่มบรรยายวิชาประวัติศาสตร์โดยกล่าวว่า
“วันนี้ ผมจะสอนประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ ‘ ไทย’ หรือ ไม่ใช่เริ่มต้นที่การหาว่า คนไทยมาจากไหน”
ผมคิดว่า การคิดในมิติของ ‘ไทย’ ‘ขอม’ และอื่นๆ คับแคบเกินไปเพราะไปหลงคิดว่าเราสามารถดำรงตัวตน หรือความเป็นไทย ความเป็นขอม ได้อย่างหนึ่งอย่างใด และรักษาความเป็นตัวตนที่เรียกว่า ‘ไทย’ ว่า‘ขอม’ สืบต่อจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผมจึงกล่าวกับนักศึกษาว่า
‘ตัวตน’ ที่ว่าด้วย ‘ไทย’ ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ในช่วงประวัติศาสตร์นับพันๆ ปี
ดังนั้น เราจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยจาก ‘ความไม่เป็นไทย’ แต่เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมที่เคลื่อนตัวไปในมิติทั่วโลก และเปลี่ยนไปเป็นช่วงๆ หรือตามยุคสมัย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ
กระแสวัฒนธรรม และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนผ่านและพลิกผันไปตามการพลิกผันไปของศูนย์วัฒนธรรมโลกโบราณ (ทางเอเชีย) ซึ่งมีประเทศอินเดีย และประเทศจีน เป็นศูนย์กลาง
เราจึงกลายเป็น ‘มอญ’ หรือบริโภควัฒนธรรมมอญ ในสมัยทวารวดี เพราะวัฒนธรรมมอญได้ไหลผ่านจากอินเดียเข้าสู่ประเทศพม่า และไหลผ่านมาที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนเกิดอารยธรรมที่เรียกว่า ‘ทวารวดี’ ขึ้น
หลังจากนั้น เราเป็น ‘ขอม’ หรือบริโภควัฒนธรรมแบบขอม ในช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมรุ่งเรือง สายวัฒนธรรมนี้เชื่อมตรงต่อกับการแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียตอนใต้ในยุคที่วัฒนธรรมฮินดูรุ่งเรือง
และต่อมา เรามาเป็น ‘ศรีอยุธยา’‘ ในแบบวัฒนธรรมพราหมณ์ และพุทธ (แบบเถรวาท) ช่วงที่วัฒนธรรมแบบศรีอยุธยารุ่งเรือง
ดังนั้น จะเข้าใจ ความเป็นไทย’ ต้องเข้าใจ ความเป็นมอญ และความเป็นขอม ก่อนที่จะเข้าใจความเป็นศรีอยุธยา
ความเป็นมอญได้ก่อวัฒนธรรม (ระดับเมือง) ที่งดงามขึ้นตามลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งด้านเหนือ และดินแดนตอนล่าง แพร่วัฒนธรรมนี้ไปถึงลุ่มน้ำโขงตอนเหนือ
หลังจากนั้น เราได้เปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมแบบขอมในยุคที่ความเป็นขอมเกิดขึ้น ช่วงนี้ ดินแดนแถบนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุคอาณาจักร หรือ Empire ขนาดใหญ่
ผมเชื่อว่า Empire ในยุคขอมนี้ มีพื้นที่ครอบคลุมดินแดน 2 ฝั่งแม่น้ำ คือ ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง
ศูนย์ของอาณาจักรขอมโบราณ (ทางศาสนา และวัฒนธรรม) ก็คือ เขาพระวิหาร
ดังนั้น เราไม่มีทางเลยที่จะเข้าใจความเป็นไทย ถ้าเราไม่เข้าใจความเป็นมอญ และความเป็นขอม
เราแยกจากความเป็นมอญ เป็นขอม ไม่ได้ เพราะเรามีชีวิตวัฒนธรรมทั้งแบบมอญและแบบขอมนับร้อยๆ ปี
ในช่วงความเป็นขอมนี้ เรารับวัฒนธรรมแบบพุทธ แบบมหายานเข้ามาด้วย
ดังนั้น ความเป็นพุทธแบบมหายาน คือ ความเป็นเราในอดีต ไม่น้อยกว่าความเป็นพุทธแบบเถรวาท
ในโลกยุคโบราณนั้น ไม่มีพรมแดนที่สามารถสกัดกั้นการแพร่ขยายของวัฒนธรรม มีเพียงเส้นทางสายน้ำ (ทะเล) จึงกล่าวได้ว่า “สายน้ำ คือ เส้นทางเดินของชีวิตวัฒนธรรมที่ไร้พรมแดน”
เมื่อความเป็น Empire แบบขอมรุ่งเรืองมาก ความเป็นขอม (มองในแง่ปราสาท) จึงปรากฏขึ้น ตลอดลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง ทั้ง 2 ฝั่ง ให้เราเห็นจนถึงทุกวันนี้
ถ้าเราคิดกันแบบง่ายๆว่า เขาพระวิหารเป็นของขอมเท่านั้น ประเทศไทยคงต้องยกบรรดาปราสาททั้งหมดที่อยู่ในเขตประเทศไทยคืนให้ขอม หรือกัมพูชา ถือครองเพราะน่าจะถือว่าปราสาทเหล่านี้ในช่วงอดีตเจ้าขอมเป็นผู้สร้าง
ปัญหาที่อาจจะหลงเหลือที่น่าช่วยกันคิด เช่นกัน คือประเด็นเรื่องความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ว่ามีแค่ไหน อย่างไร และเปลี่ยนไปอย่างไร
ผมคิดว่า ในยุคมอญ และยุคขอม ความหลากหลายมีน้อยกว่าในยุคอยุธยามาก โดยพิจารณาจากศิลปะการก่อสร้างวัดและปราสาทที่ค่อนข้างจะคล้ายกัน และมีแบบแผนที่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างชัดเจน แต่ก็มีการวิวัฒน์ในแง่ความละเอียดอ่อนและความงามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ในยุคอาณาจักรอยุธยา ฐานรากทางวัฒนธรรมจะเน้นความผสมผสานกันทางวัฒนธรรมมากกว่าแบบวัฒนธรรมสายเดียว
ยกตัวอย่างง่ายๆ ในยุคอยุธยา ฐานวัฒนธรรมสำคัญมีทั้งความเป็นพุทธและความเป็นพราหมณ์ดำรงผสมอยู่ร่วมกัน
หรือกล่าวได้ว่า อาณาจักรอยุธยาค่อนข้างเปิดโลกทางวัฒนธรรมสูงมาก ความเป็นอยุธยาจึงมีทั้งความเป็นมอญ ความเป็นขอม ความเป็นจีน ความเป็นพุทธแบบต่างๆ รวมทั้งความเป็นเปอร์เซีย ความเป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น และอื่นๆ
นอกจากนี้ ในเมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ให้ค่าต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงยอมให้วัฒนธรรมทางเหนือ อีสาน และทางใต้ สามารถดำรงหรือมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของตนเอง
ดังนั้น คำว่า ‘ความเป็นไทยทางวัฒนธรรม’ จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะค้นหา
‘ยากมาก’จนสามารถกล่าวได้ว่า “ไม่มีใครผู้ใดจะค้นหาเจอ”
ไม่เชื่อผม ลองไปเดินเที่ยวที่วัดพระแก้ว
เราจะพบ ‘ความไม่ใช่ไทย’ ในทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการก่อสร้าง แต่ในเวลาเดียวกันจะพบว่า “ความไม่ใช่ไทยทั้งหมด ได้ประกอบกันขึ้นอย่างงดงาม”
จนกล่าวได้ว่า ความเป็นไทย คือ ความไม่ใช่ไทย
และความเป็นไทที่แท้จริงคือ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ความเป็นอยุธยา และความเป็นรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เราไม่ใช่ “ไทย” อีกต่อไป แต่กลับเพิ่มความเป็นไท (อิสระ) ยิ่งขึ้น เพราะก่อเกิดแบบวัฒนธรรมของความเป็นคนไทย ที่เปิดกว้าง และไม่ติดยึดกับอะไร
บทสรุป
ในสมัยที่ผมเรียนปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ วิชาที่สำคัญที่สุดคือ วิชาหลักรัฐศาสตร์ จำได้ว่าผมถูกสอนว่า อะไรคือ รัฐ คำตอบที่ผมได้รับนั้น รัฐ คือดินแดนที่มีพรมแดน มีประชากรแห่งรัฐ และมีอธิปไตยเหนือดินแดน
สมัยนั้น ผมถามอาจารย์ว่า คำอธิบายนี้จะครอบคลุมไปถึง ‘ความเป็นรัฐ’ ในยุคนครรัฐ หรือ เมือง และรัฐโบราณที่เกิดขึ้นในย่านเอเชียได้ด้วยหรือไม่
อาจารย์ทำหน้างงๆ
ผมจำไม่ได้ว่า อาจารย์ตอบว่าอะไรแน่ แต่ผมยังไม่สิ้นข้อสงสัย
ต่อมา หลังจากที่ผมเรียนวิชาประวัติศาสตร์ตามแนวคิดของ Braudel ผมยิ่งมีความสงสัยเพิ่มมากขึ้นในความเชื่อว่า อะไรคือ รัฐ รวมทั้งเรื่อง อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งจริงๆ มาจากชุดความเชื่อเรื่องรัฐชาติ ที่เกิดขึ้นในยุโรปในศตวรรษที่ 15 ถึง 16 เท่านั้น
เมื่อคนไทยหลงเชื่อแนวคิดแบบนี้ (ในลักษณะที่เป็นหลักการทั่วไป) และใช้ความเข้าใจอย่างนี้ไปศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทยในอดีต เราจึงมองย้อนประวัติศาสตร์ด้วยแนวคิดแบบ ‘แยกเขาแยกเรา’ มีตัวตน และเส้นแบ่งเรื่องภาษา วัฒนธรรม ชนชาติ ชั้นชนที่ตายตัว และพรมแดนที่แน่นอน
พอมองย้อนอดีต เราก็วาดภาพประวัติศาสตร์เราเองด้วยประวัติศาสตร์แห่งสงครามระหว่างชนชาติต่างๆ
เราจึงมีภาพร่างกำเนิดประวัติศาสตร์ไทยด้วยเรื่องราวของสงครามระหว่างสุโขทัยกับอาณาจักรขอมจริงหรือ... หรือว่าไม่จริง หรือมีความจริงบ้างก็ไม่มากนัก
เรามองข้ามความเข้าใจเรื่อง บ้านพี่เมืองน้อง ในอดีต ความเชื่อว่า กษัตริย์สุโขทัยก็คือพระญาติกับกษัตริย์ขอมโบราณ
เรามองข้ามความผูกสัมพันธ์ระหว่างกันทางวัฒนธรรม การอพยพโยกย้ายไปมาหาสู่กัน และประเพณีการแต่งงานกันระหว่างผู้คนและชนชั้นนำที่ต่างชนชาติกัน
นอกจากนี้ เราก็สร้างภาพแผนที่ที่บ่งบอกว่าอาณาจักรสุโขทัยมีพื้นที่หรือเขตแดนแค่ไหน อยุธยามีเขตแดนแค่ไหน ซึ่งแผนที่เหล่านี้ไม่เคยมีอยู่จริงทางประวัติศาสตร์
เราสร้างภาพกษัตริย์นักรบ และยกย่องว่าคือ ‘มหาราช’ เพราะสามารถรบขยายพื้นที่หรือดินแดนได้
ในเวลาเดียวกัน เราก็สร้างตัวตนแห่งความเป็นไทยที่ยั่งยืนขึ้น ราวว่าไม่เปลี่ยนแปลง เราก่อเกิดที่ภูเขาอัลไต
นี่คือ ความเป็นไทย และรัฐไทย ที่ถูกสร้างขึ้นในยุคสร้างความเป็นชาติ และฝังเป็นจิตวิญญาณของเราทุกคน เราจึงมองโลกในมิติแยกเราแยกเขา เป็นลาว เป็นไทย และเขมร
จนถึงวันนี้ บรรดาคนไทยที่เดินทางไปเขมร พอได้ยินชื่อเมืองที่ถูกเรียกว่า เสียมเรียบ ก็เข้าใจว่า นี่คือ เมืองที่ชาวเสียมหรือคนไทยยกทัพมาตีเขมร และถูกกวาดล้างทำลายจนเรียบหมด
ทำให้รู้สึกแค้น และเกลียดชังคนเขมรลึกๆ
เราไม่คิด นี่...น่าจะตีความอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เมืองนี้ คือเมืองที่ชาวเสียมเข้ามาอาศัยอยู่ และชาวเสียมเหล่านี้เป็นคนที่ ‘เรียบ’ ร้อยมาก
คนเสียมโบราณน่ารัก เวลาไปอยู่ที่ไหนก็เรียบร้อยน่ารัก เพราะไม่เคยคิดว่า คนขอม คือ ศัตรู แต่คิดว่า พวกเขาคือ เพื่อนมิตร และญาติพี่น้อง
ทุกวันนี้ ความรู้สึกแห่งการเป็นบ้านพี่เมืองน้องนี้ยังคงปรากฏชัดแบบข้ามพรมแดน
อย่างเช่น คนที่อยู่ริมโขงไม่ว่า ฝั่งไทย หรือ ฝั่งลาว เช่นเดียวกับ คนไทย และ คนขอม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขาพระวิหาร ทั้ง 2 ฟากฝั่ง พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข แต่งงานกัน และทำมาหากินร่วมกัน
เรื่อง ‘พรมแดน’ เสียอีก กลับคือสิ่งที่ไปขวางกั้น สกัดกั้นชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน แยกความเป็นไทย ความเป็นลาว ความเป็นขอมออกจากกัน
ผมชอบฟังเพลงเก่า มีเพลงลาวเพลงหนึ่งที่ชอบมาก ชื่อ สองฝั่งโขง เพลงนี้ย้ำเตือนความเชื่อว่า ไทยลาวที่แท้ก็คือ พี่น้องกัน
ไม่จริงหรือว่า! ในอดีต เราไม่เคยมีพรมแดน ทุกคนจึงเป็นพี่น้องกัน
ไม่จริงหรือว่า! พรมแดนแยกเราออกจากกันไม่ได้
ในยุคที่วัฒนธรรมมอญรุ่งเรือง เราทั้งหมดทั้งสองฝั่งน้ำโขงและสายน้ำเจ้าพระยาก็รับวัฒนธรรมแบบมอญ
ไม่จริงหรือว่า! ยุคที่ขอมรุ่งเรือง เราทั้งสองฝั่งโขงและสองฝั่งเจ้าพระยาก็รับวัฒนธรรมแบบขอม
เมื่อยุคศรีอยุธยารุ่งเรือง เรารับวัฒนธรรมแบบผสมผสานโดยมีพุทธ (เถรวาท) พราหมณ์ และพุทธกับผี เป็นหลัก
วันนี้ ถึงเวลาหรือยัง! ที่เราควรจะเริ่มตั้งคำถามต่อความเชื่อซึ่งเรารับเอามาทั้งดุ้นจากโลกตะวันตก ความเชื่อที่ย้ำเน้น ‘ความเป็นเขาความเป็นเรา’ ความเชื่อที่ทำให้เราหลงคลั่งชาติ
ถึงเวลาหรือยัง! ที่เราต้องกลับมาเชื่อเรื่อง ‘ความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง’ อีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ แม้แต่ประเทศย่านยุโรป ชาวยุโรปผู้ให้กำเนิดความคิดเรื่อง รัฐชาติ และ ลัทธิชาตินิยม ยังโยนทิ้งความเชื่อเรื่องรัฐชาติดังกล่าวแล้ว
วันนี้ ยุโรป ได้รวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว
หรือ! เราต้องรอให้ชาวยุโรป เขาโยนทิ้งก่อน เราจึงจะกล้าคิด
เขาพระวิหาร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ของไทย ไม่ใช่ของขอม เพราะไม่มีใครจริงๆ ที่สามารถอ้างความเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้
เขาพระวิหารจึงกลายเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ
วันหนึ่ง คนทั่วโลกจะเดินทางมาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยวบางท่านอาจจะถามเราว่า “ใครเป็นเจ้าของ”
เราก็ต้องตอบว่า
“รู้แต่เรื่องราวว่าใครคือผู้สร้าง และสร้างสมัยไหน แต่ท่านไม่ได้สร้างเพื่อใคร หรือเพื่อตัวท่านเอง หรือตั้งใจให้ใครครอบครอง ท่านเจตนาสร้างศูนย์แห่งจักรวาลนี้เพื่อมวลมนุษยชาติ”
จนกว่าจะพบกันอีก