ตราด - “ตราด-สีหนุวิลล์-เกาะกง” เซ็น MOU บ้านพี่-เมืองน้อง หวั่นเขาพระวิหารกระทบ ขณะการแสดงสินค้าที่สีหนุวิลล์อาจมีปัญหา ด้านหอการค้าตราด ระบุ การค้ายังดี
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่หอการค้าจังหวัดตราด นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานประชุมเตรียมการเซ็น MOU (บันทึกข้อตกลงบ้านพี่เมืองน้อง) ในวันที่ 5-7 สิงหาคม 2551 มี นางดวงใจ จันทร รองประธานหอการค้าจังหวัดตราด ฝ่ายชายแดน และอนุกรรมการด้านชายแดนสภาธุรกิจ ACMECS ร่วมประชุม พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งศุลกากรคลองใหญ่ ขนส่งจังหวัดตราด พาณิชย์จังหวัดตราด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ร่วมประชุม
นายแก่นเพชร กล่าวว่า การเซ็น MOU ครั้งนี้ ต้องการให้เกิดผลทางปฏิบัติมากกว่าการเป็นแค่บันทึกข้อตกลง ธรรมดา ดังนั้น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการเตรียมการและข้อมูลของจังหวัดที่ได้ทำการค้าขายด้วย ซึ่ง จ.เกาะกง และ สีหนุวิลล์ เป็นจังหวัดที่มีนักลงทุนมาลงทุนสูงในปัจจุบัน ทำให้จะเกิดประโยชน์กับ จ.ตราด มาก หากสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ที่จะเป็นวันลงนามในบันทึกข้อตกลง ทาง จ.ตราด จะต้อง เตรียมการให้พร้อมและสมบูรณ์ที่สุด
ขณะที่ นางดวงใจ กล่าวว่า สถานการณ์ในกัมพูชาในขณะนี้ไม่สู้ดี เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร ที่ขณะนี้ทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้วอาจจะมีปัญหาระหว่างกัน ซึ่งที่เป็นห่วงก็คือ ฝ่ายไทยที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องที่รุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯที่นำเรื่องเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นหลัก ส่วนกัมพูชาไม่น่าจะมีปัญหามากนัก โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านที่ปัจจุบันไม่มีความเข้มแข็งมากนัก และรัฐบาลสามารถคุมสถานการณ์ได้จึงไม่น่ามีปัญหาใดๆ
“มองว่า หาก จ.ตราด และ 2 จังหวัดในกัมพูชาสามารถเซ็น MOU ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้จะทำให้ภาพพจน์ของ จ.ตราด ดีและเป็นการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจและภาคราชการยังมั่น คงอยู่”
ทางด้าน นายประเสริฐ ศิริ ผู้ประกอบการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด และอดีตที่ปรึกษา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความรู้สึกทั้ง 2 ฝ่ายมีปัญหาแน่นอนโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่เสียความรู้สึก ว่า เสียศักดิ์ศรี และสูญเสียอธิปไตย ขณะที่ฝ่ายสื่อมวลชนในกัมพูชาทั้งหนังสือพิมพ์ก็ใช้โอกาสนี้ประโคมข่าว ที่กัมพูชาได้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและพูดจาเยาะเย้ยคนไทย
โดยเรื่องนี้ตนเองไม่อยากให้คนไทยได้มีความรู้สึก อย่างที่สื่อมวลชนกัมพูชาปลุกเร้า เพราะนั่นเป็นความรู้สึกที่ไม่ใช่ภาพรวมของรัฐบาลกัมพูชา หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะไทยเป็นผู้ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในกัมพูชาปีละ 4-50,000 ล้านบาท อาจจะได้รับผลกระทบ
“ผมเชื่อว่าเหตุการณ์ในกัมพูชาจะไม่มีอะไรมากนักเพราะรัฐบาลกัมพูชาควบคุมได้ อีกทั้งฝ่ายค้านก็ไม่เข้มแข็ง ปัญหาช่วงที่เกิดขึ้นเหมือนการเผาสถานทูตคงไม่เกิดขึ้น แต่ในส่วนของคนไทยที่อาจจะมีความเคลื่อนไหวใหญ่ จากกลุ่มพันธมิตรฯที่ต้องการใช้ประเด็นเขาพระวิหารล้มรัฐบาลก็เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการค้าขายคงไม่กระทบแต่ที่ยอด การส่งออกลดลงก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเลือกตั้ง และช่วงฤดูมรสุมเรือบรรทุกสินค้าก็ออกไปส่งสินค้าไม่ได้จึงมียอด ส่งออกน้อย เป็นเรื่องปกติ และเมื่อพ้นฤดูมรสุมแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายยอดการค้าขายก็จะดีเหมือนเดิม ยอดการค้าก็ไม่ได้รับผลกระทบ”
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่หอการค้าจังหวัดตราด นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานประชุมเตรียมการเซ็น MOU (บันทึกข้อตกลงบ้านพี่เมืองน้อง) ในวันที่ 5-7 สิงหาคม 2551 มี นางดวงใจ จันทร รองประธานหอการค้าจังหวัดตราด ฝ่ายชายแดน และอนุกรรมการด้านชายแดนสภาธุรกิจ ACMECS ร่วมประชุม พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งศุลกากรคลองใหญ่ ขนส่งจังหวัดตราด พาณิชย์จังหวัดตราด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ร่วมประชุม
นายแก่นเพชร กล่าวว่า การเซ็น MOU ครั้งนี้ ต้องการให้เกิดผลทางปฏิบัติมากกว่าการเป็นแค่บันทึกข้อตกลง ธรรมดา ดังนั้น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการเตรียมการและข้อมูลของจังหวัดที่ได้ทำการค้าขายด้วย ซึ่ง จ.เกาะกง และ สีหนุวิลล์ เป็นจังหวัดที่มีนักลงทุนมาลงทุนสูงในปัจจุบัน ทำให้จะเกิดประโยชน์กับ จ.ตราด มาก หากสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ที่จะเป็นวันลงนามในบันทึกข้อตกลง ทาง จ.ตราด จะต้อง เตรียมการให้พร้อมและสมบูรณ์ที่สุด
ขณะที่ นางดวงใจ กล่าวว่า สถานการณ์ในกัมพูชาในขณะนี้ไม่สู้ดี เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร ที่ขณะนี้ทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้วอาจจะมีปัญหาระหว่างกัน ซึ่งที่เป็นห่วงก็คือ ฝ่ายไทยที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องที่รุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯที่นำเรื่องเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นหลัก ส่วนกัมพูชาไม่น่าจะมีปัญหามากนัก โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านที่ปัจจุบันไม่มีความเข้มแข็งมากนัก และรัฐบาลสามารถคุมสถานการณ์ได้จึงไม่น่ามีปัญหาใดๆ
“มองว่า หาก จ.ตราด และ 2 จังหวัดในกัมพูชาสามารถเซ็น MOU ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้จะทำให้ภาพพจน์ของ จ.ตราด ดีและเป็นการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจและภาคราชการยังมั่น คงอยู่”
ทางด้าน นายประเสริฐ ศิริ ผู้ประกอบการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.ตราด และอดีตที่ปรึกษา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความรู้สึกทั้ง 2 ฝ่ายมีปัญหาแน่นอนโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่เสียความรู้สึก ว่า เสียศักดิ์ศรี และสูญเสียอธิปไตย ขณะที่ฝ่ายสื่อมวลชนในกัมพูชาทั้งหนังสือพิมพ์ก็ใช้โอกาสนี้ประโคมข่าว ที่กัมพูชาได้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและพูดจาเยาะเย้ยคนไทย
โดยเรื่องนี้ตนเองไม่อยากให้คนไทยได้มีความรู้สึก อย่างที่สื่อมวลชนกัมพูชาปลุกเร้า เพราะนั่นเป็นความรู้สึกที่ไม่ใช่ภาพรวมของรัฐบาลกัมพูชา หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะไทยเป็นผู้ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในกัมพูชาปีละ 4-50,000 ล้านบาท อาจจะได้รับผลกระทบ
“ผมเชื่อว่าเหตุการณ์ในกัมพูชาจะไม่มีอะไรมากนักเพราะรัฐบาลกัมพูชาควบคุมได้ อีกทั้งฝ่ายค้านก็ไม่เข้มแข็ง ปัญหาช่วงที่เกิดขึ้นเหมือนการเผาสถานทูตคงไม่เกิดขึ้น แต่ในส่วนของคนไทยที่อาจจะมีความเคลื่อนไหวใหญ่ จากกลุ่มพันธมิตรฯที่ต้องการใช้ประเด็นเขาพระวิหารล้มรัฐบาลก็เป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการค้าขายคงไม่กระทบแต่ที่ยอด การส่งออกลดลงก็เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเลือกตั้ง และช่วงฤดูมรสุมเรือบรรทุกสินค้าก็ออกไปส่งสินค้าไม่ได้จึงมียอด ส่งออกน้อย เป็นเรื่องปกติ และเมื่อพ้นฤดูมรสุมแล้วปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลายยอดการค้าขายก็จะดีเหมือนเดิม ยอดการค้าก็ไม่ได้รับผลกระทบ”