โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ฉันสังเกตเห็นเมืองหลวงในหลายประเทศ ที่เดี๋ยวนี้ผู้คนในเมืองนั้นๆหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง การใช้พาหนะจากรถยนต์มาประหยัดพลังงานด้วยการปั่นจักรยานไปทำงานกันแล้ว
อย่างที่ กรุงสตอร์คโฮม ประเทศสวีเดน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หรือแม้แต่เพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างประเทศเวียดนาม ฉันก็เคยเห็นว่าผู้คนของเขาปั่นจักรยานกันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด นอกจากไม่เปลืองน้ำมันแล้วยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัวอีกด้วย
ฉันเคยคิดเล่นๆว่าถ้ากรุงเทพมหานครของเรา ผู้คนเปลี่ยนมาใช้จักรยานแทนรถยนต์กันหมด ภาพที่ออกมาหน้าตาจะเป็นอย่างไร แล้ววันนี้ความคิดนั้นดูเหมือนไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อทางกรุงเทพมหานครได้เปิดโครงการ "จักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์" (Green Bangkok Bike) ขึ้น ซึ่งมีไว้บริการนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งส่วนตัวแล้วฉันมองว่านี่แหละคือจุดเริ่มต้นที่ดีของการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในเมืองหลวง ประหยัดเงิน แล้วยังถือเป็นการออกกำลังกายโดยไม่ต้องเข้าสถานออกกำลังกายอีกด้วย
โครงการนี้เปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ส.ค. วันแม่ที่ผ่านมา จักรยานที่มีอยู่ในโครงการมีอยู่ทั้งหมด 300 คัน มีซุ้มและจุดจอด จำนวน 8 จุดรอบเกาะรัตนโกสินทร์ แต่ละจุดมีรถจักรยาน 20 คัน รวม 160 คัน และมีสำรอง 140 คัน จัดขึ้นตามนโยบายกรุงเทพฯ สีเขียว
จุดประสงค์เพื่อรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีโบราณสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย แต่ว่าการจราจรที่แออัด ทำให้การเข้าถึงไม่สะดวก ดังนั้น ทางกรุงเทพมหานคร จึงต้องการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว โดยใช้จักรยาน ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความนิยมในเมืองชั้นนำทั่วโลก
สำหรับจักรยานนั้นถูกออกแบบโดยใช้เป็นสีเขียวเป็นหลัก รูปแบบของจักรยาน มีความเป็นเอกลักษณ์ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสวยงาม สะดวกในการขับขี่ มีระบบล็อกกับจุดจอดเพื่อความปลอดภัย และเป็นระเบียบเรียบร้อย
โดยกรุงเทพมหานครได้ตีเส้นทางจักรยาน ทำป้ายสัญลักษณ์ รวมถึงประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้ช่วยอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้จะมอบหมายให้สำนักงานเขตประสานกับ สน.ในพื้นที่ ดูแลเรื่องการจอดรถสาธารณะทับเส้นทางจักรยานบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ขณะเดียวได้ประสานตำรวจและเทศกิจท้องที่ ประจำตามจุดจอดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้นำรถออกนอกเส้นทาง
มีจักรยานฟรีให้ลองแบบนี้ฉันจะพลาดได้อย่างไร และแล้วก็เกิดอาการนึกสนุกอยากลองใช้บริการปั่นจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ดูบ้าง
ซึ่งการขอยืมจักรยานนั้นก็ง่ายๆสำหรับคนไทย ใช้บัตรประชาชนในการยืม(ทำสำเนา) แต่ชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน และให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเล็กน้อยโดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าการกรอกข้อมูลส่วนตัวถือเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างหนึ่งเพราะทางหากเกิดอุบัติเหตุข้อมูลนี้จะช่วยให้ได้เงินประกันภัยจากทางกรุงเทพมหานคร
กำหนดเวลาในการปั่นตามสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบทั้ง 8 จุด ทางกรุงเทพมหานครเฉลี่ยเวลาอยู่ที่ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ถ้าใครจะปั่นแบบเอื่อยๆชมนกชมไม้แบบเพลินๆแล้วเลยเวลาไปบ้างเขาก็บอกว่าไม่เป็นไรเพียงแต่ต้องคืนในวันที่ยืนและก่อนเวลาปิดทำการเท่านั้นก็พอ ซึ่งเวลาเปิดให้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 18.00 น. ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดให้บริการ 10.00 น. - 20.00 น.
เมื่อกรอกเอกสารเสร็จเรียบร้อยฉันก็เริ่มภารกิจปั่นจักรยานลดโลกร้อนทันที ฉันเริ่มจากสถานีสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ ปั่นไปได้เพียงไม่กี่ก้าวก็ต้องหยุดมองป้อมพระสุเมรุที่ฉันจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางและจุดสิ้นสุด
อ้อ. . . ใครที่กลัวหลงไม่ต้องห่วง เพราะตามสถานีต่างๆเขามีแผนที่แจกเพื่อป้องกันการออกนอกเส้นทาง ที่ถนนพระอาทิตย์ดูจะเป็นจุดเริ่มต้นที่อยู่ไม่น้อย เพราะมีช่องจราจรที่ตีเส้นสีเขียวไว้เพื่อเป็นช่องสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ
ปั่นตามแผนที่ไปเรื่อยๆผ่านถนนสิบสามห้างที่จุดนี้ก็มีสถานีบริการให้ยืมจักรยานอีกหนึ่งจุด แวะไหว้พระที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยฉันฝากจักรยานไว้ชั่วคราวที่ "สถานีถนนสิบสามห้าง" ก่อน จากนั้นแวะซื้อขนมอร่อยแถวย่านบางลำพู ก่อนกลับมาเอาจักรยาน แล้วปั่นผ่านเส้นถนนข้าวสารในยามกลางวันก็ยังมองเห็นชาวต่างชาติคลาคล่ำบ้าง
ปั่นเรื่อยๆตรงไปยัง สี่แยกคอกวัว เลียบเลาะไปบนฟุตบาทก่อนผ่าน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และข้ามฟากไปยัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แวะไหว้เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ก่อนพักเหนื่อยที่ลานคนเมืองมองเสาชิงช้าต้นใหม่ ก่อนปั่นอย่างสบายอารมณ์ชมวัดสุเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ป้อมมหากาฬ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โลหะปราสาท
แล้วกลับเข้าสู่ถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งก็ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง อย่าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วัดมหรรณพาราม ศาลเจ้าพ่อเสือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม สวนสราญรมย์ หอกลอง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) Museum Siam(กระทรวงพาณิชย์เก่า) ย่านปากคลองตลาด ท่าเตียน ท่าช้าง
แล้วเข้าสู่ถนนพระอาทิตย์ และนำรถจักรยานเข้าจอดที่สถานีบริการสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ ฉันใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งตลอดเส้นทางจะมีป้ายสัญลักษณ์สำหรับจักรยานบอกเป็นระยะๆ สำหรับเส้นทางการขี่จักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์
ฉันสอบถามจากเจ้าหน้าที่จึงได้รู้ว่าที่ปั่นมาทั้งหมดเป็นระยะทางรวม 18 กิโลเมตรเชียวน่า แล้วในอนาคตยังจะปรับปรุงให้นักท่องเที่ยวสามารถยืมรถได้โดยใช้บัตรสมาร์ทการ์ด และบัตรเครดิตได้ ซึ่งในส่วนของตัวรถจะมีการติดตั้งระบบจีพีเอส อีกด้วย และหากนักท่องเที่ยวทำจักรยานสูญหาย เช่น จอดทิ้งไว้นอกศูนย์แล้วจักรยานหายไป นักท่องเที่ยวต้องรับผิดชอบค่าเสียหายต่อคัน คันละ6,000 บาท
ส่วนใครที่สงสัยว่า แล้วทางกรุงเทพมหานครเขาจะปล่อยให้จักรยานตากแดดตากฝนอยู่อย่างนั้นหรือ ขอบอกว่าทุกเย็นเขาจะมีการเก็บจักรยานไปไว้รวมกัน 3 จุดหลักคือ ที่ สวนสันติชัยปราการ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. และโรงเก็บจักรยานแถวท่าเตียน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังการปั่นฉันก็มาสำรวจว่าเล่นๆว่าโครงการมีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง เผื่อจะได้นำมาบอกแก่เจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุง ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ความสมบูรณ์ของจักรยานแต่ละคันไม่เหมือนกัน จากการสังเกตพบว่าบางคันสมบูรณ์แต่บางคันเกิดการชำรุด เช่น คอจักรยานหลวม เบรกไม่ดี และล้อรถฝืด สายโช่หลุดบ่อย เป็นต้น
พันธ์พิสุทธิ์ นุราช ผู้ใช้บริการของโครงการจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ คุยกับฉันว่า เขาเกิดความสนใจทันทีที่นั่งรถผ่านตั้งแต่เปิดโครงการมาเขามาปั่นแล้ว 2 ครั้งใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนมีแวะออกนอกเส้นทางบ้าง แวะตามสถานที่ท่องเที่ยวอย่างวัดโพธิ์ วัดอรุณ
"ต้องยอมรับว่าแรกๆก็กลัวแต่ปั่นแล้วสนุกดี ข้อดีของการปั่นจักรยานชมกรุง คือ เราสามารถปั่นได้เรื่อยๆเหนื่อยก็หยุดและข้อเสียที่ประสบกับตัวเอง คือโซ่หลุดบ่อยและอยากให้จักรยานมีกระดิ่งด้วยจะได้ส่งสัญญาณเตือนใช้คนที่เดินอยู่ริมถนนช่วยหลบหน่อย รวมทั้งอยากให้ที่ตะกร้อใช้ของด้วย เพราะเวลาปั่นไม่รู้จะเก็บของไว้ที่ไหน"พันธ์พิสุทธิ์เล่า
ส่วนฉันเองก็พบว่าการปั่นจักรยานตามเส้นทางนั้นพบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีปัญหาเรื่อง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากรัฐบาลทรราช แต่เชื่อว่าคงอีกไม่นานทรราชก็คงไม่มีที่ยืนบนแผ่นดิน ส่วนปัญหาทางด้านการปั่นนั้นก็เช่น บางพื้นที่ยังไม่มีการตีเส้นช่องจราจรสำหรับจักรยานที่เด่นชัด ทำให้บางครั้งต้องไปขับขี่เบียดเสียดกับรถยนต์น่าอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วนรถจะยนต์มีมาก ซึ่งทำให้การขี่จักรยานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
สำหรับเส้นทางที่มีการตีช่องจราจรสำหรับจักรยานนั้น ก็พบว่าบางเส้นมีการใช้ช่องทางจักรยานในการจอดรถ ทั้งรถส่วนตัวและรถทัวร์ขนนักท่องเที่ยว ทำให้จักรยานไม่สามารถขี่ต่อไปได้ต้องหลีกเลี่ยงโดยการขี่เข้าสู่ช่องจราจรที่มีรถวิ่งซึ่งก็เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีก ซึ่งก็คงต้องฝากไว้ให้ปรับปรุงกันด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โครงการ Green Bangkok Bike โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 18.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 20.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองการท่องเที่ยว กทม. โทร 0-2225-7612-5
ฉันสังเกตเห็นเมืองหลวงในหลายประเทศ ที่เดี๋ยวนี้ผู้คนในเมืองนั้นๆหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง การใช้พาหนะจากรถยนต์มาประหยัดพลังงานด้วยการปั่นจักรยานไปทำงานกันแล้ว
อย่างที่ กรุงสตอร์คโฮม ประเทศสวีเดน กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หรือแม้แต่เพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างประเทศเวียดนาม ฉันก็เคยเห็นว่าผู้คนของเขาปั่นจักรยานกันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด นอกจากไม่เปลืองน้ำมันแล้วยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัวอีกด้วย
ฉันเคยคิดเล่นๆว่าถ้ากรุงเทพมหานครของเรา ผู้คนเปลี่ยนมาใช้จักรยานแทนรถยนต์กันหมด ภาพที่ออกมาหน้าตาจะเป็นอย่างไร แล้ววันนี้ความคิดนั้นดูเหมือนไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อทางกรุงเทพมหานครได้เปิดโครงการ "จักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์" (Green Bangkok Bike) ขึ้น ซึ่งมีไว้บริการนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งส่วนตัวแล้วฉันมองว่านี่แหละคือจุดเริ่มต้นที่ดีของการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในเมืองหลวง ประหยัดเงิน แล้วยังถือเป็นการออกกำลังกายโดยไม่ต้องเข้าสถานออกกำลังกายอีกด้วย
โครงการนี้เปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ส.ค. วันแม่ที่ผ่านมา จักรยานที่มีอยู่ในโครงการมีอยู่ทั้งหมด 300 คัน มีซุ้มและจุดจอด จำนวน 8 จุดรอบเกาะรัตนโกสินทร์ แต่ละจุดมีรถจักรยาน 20 คัน รวม 160 คัน และมีสำรอง 140 คัน จัดขึ้นตามนโยบายกรุงเทพฯ สีเขียว
จุดประสงค์เพื่อรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีโบราณสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย แต่ว่าการจราจรที่แออัด ทำให้การเข้าถึงไม่สะดวก ดังนั้น ทางกรุงเทพมหานคร จึงต้องการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว โดยใช้จักรยาน ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความนิยมในเมืองชั้นนำทั่วโลก
สำหรับจักรยานนั้นถูกออกแบบโดยใช้เป็นสีเขียวเป็นหลัก รูปแบบของจักรยาน มีความเป็นเอกลักษณ์ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสวยงาม สะดวกในการขับขี่ มีระบบล็อกกับจุดจอดเพื่อความปลอดภัย และเป็นระเบียบเรียบร้อย
โดยกรุงเทพมหานครได้ตีเส้นทางจักรยาน ทำป้ายสัญลักษณ์ รวมถึงประสานไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้ช่วยอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวด้วย นอกจากนี้จะมอบหมายให้สำนักงานเขตประสานกับ สน.ในพื้นที่ ดูแลเรื่องการจอดรถสาธารณะทับเส้นทางจักรยานบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ขณะเดียวได้ประสานตำรวจและเทศกิจท้องที่ ประจำตามจุดจอดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้นำรถออกนอกเส้นทาง
มีจักรยานฟรีให้ลองแบบนี้ฉันจะพลาดได้อย่างไร และแล้วก็เกิดอาการนึกสนุกอยากลองใช้บริการปั่นจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ดูบ้าง
ซึ่งการขอยืมจักรยานนั้นก็ง่ายๆสำหรับคนไทย ใช้บัตรประชาชนในการยืม(ทำสำเนา) แต่ชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน และให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเล็กน้อยโดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าการกรอกข้อมูลส่วนตัวถือเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างหนึ่งเพราะทางหากเกิดอุบัติเหตุข้อมูลนี้จะช่วยให้ได้เงินประกันภัยจากทางกรุงเทพมหานคร
กำหนดเวลาในการปั่นตามสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบทั้ง 8 จุด ทางกรุงเทพมหานครเฉลี่ยเวลาอยู่ที่ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ถ้าใครจะปั่นแบบเอื่อยๆชมนกชมไม้แบบเพลินๆแล้วเลยเวลาไปบ้างเขาก็บอกว่าไม่เป็นไรเพียงแต่ต้องคืนในวันที่ยืนและก่อนเวลาปิดทำการเท่านั้นก็พอ ซึ่งเวลาเปิดให้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 18.00 น. ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดให้บริการ 10.00 น. - 20.00 น.
เมื่อกรอกเอกสารเสร็จเรียบร้อยฉันก็เริ่มภารกิจปั่นจักรยานลดโลกร้อนทันที ฉันเริ่มจากสถานีสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ ปั่นไปได้เพียงไม่กี่ก้าวก็ต้องหยุดมองป้อมพระสุเมรุที่ฉันจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางและจุดสิ้นสุด
อ้อ. . . ใครที่กลัวหลงไม่ต้องห่วง เพราะตามสถานีต่างๆเขามีแผนที่แจกเพื่อป้องกันการออกนอกเส้นทาง ที่ถนนพระอาทิตย์ดูจะเป็นจุดเริ่มต้นที่อยู่ไม่น้อย เพราะมีช่องจราจรที่ตีเส้นสีเขียวไว้เพื่อเป็นช่องสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ
ปั่นตามแผนที่ไปเรื่อยๆผ่านถนนสิบสามห้างที่จุดนี้ก็มีสถานีบริการให้ยืมจักรยานอีกหนึ่งจุด แวะไหว้พระที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยฉันฝากจักรยานไว้ชั่วคราวที่ "สถานีถนนสิบสามห้าง" ก่อน จากนั้นแวะซื้อขนมอร่อยแถวย่านบางลำพู ก่อนกลับมาเอาจักรยาน แล้วปั่นผ่านเส้นถนนข้าวสารในยามกลางวันก็ยังมองเห็นชาวต่างชาติคลาคล่ำบ้าง
ปั่นเรื่อยๆตรงไปยัง สี่แยกคอกวัว เลียบเลาะไปบนฟุตบาทก่อนผ่าน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และข้ามฟากไปยัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แวะไหว้เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ก่อนพักเหนื่อยที่ลานคนเมืองมองเสาชิงช้าต้นใหม่ ก่อนปั่นอย่างสบายอารมณ์ชมวัดสุเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ป้อมมหากาฬ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โลหะปราสาท
แล้วกลับเข้าสู่ถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งก็ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง อย่าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วัดมหรรณพาราม ศาลเจ้าพ่อเสือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม สวนสราญรมย์ หอกลอง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) Museum Siam(กระทรวงพาณิชย์เก่า) ย่านปากคลองตลาด ท่าเตียน ท่าช้าง
แล้วเข้าสู่ถนนพระอาทิตย์ และนำรถจักรยานเข้าจอดที่สถานีบริการสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ ฉันใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที ซึ่งตลอดเส้นทางจะมีป้ายสัญลักษณ์สำหรับจักรยานบอกเป็นระยะๆ สำหรับเส้นทางการขี่จักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์
ฉันสอบถามจากเจ้าหน้าที่จึงได้รู้ว่าที่ปั่นมาทั้งหมดเป็นระยะทางรวม 18 กิโลเมตรเชียวน่า แล้วในอนาคตยังจะปรับปรุงให้นักท่องเที่ยวสามารถยืมรถได้โดยใช้บัตรสมาร์ทการ์ด และบัตรเครดิตได้ ซึ่งในส่วนของตัวรถจะมีการติดตั้งระบบจีพีเอส อีกด้วย และหากนักท่องเที่ยวทำจักรยานสูญหาย เช่น จอดทิ้งไว้นอกศูนย์แล้วจักรยานหายไป นักท่องเที่ยวต้องรับผิดชอบค่าเสียหายต่อคัน คันละ6,000 บาท
ส่วนใครที่สงสัยว่า แล้วทางกรุงเทพมหานครเขาจะปล่อยให้จักรยานตากแดดตากฝนอยู่อย่างนั้นหรือ ขอบอกว่าทุกเย็นเขาจะมีการเก็บจักรยานไปไว้รวมกัน 3 จุดหลักคือ ที่ สวนสันติชัยปราการ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. และโรงเก็บจักรยานแถวท่าเตียน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังการปั่นฉันก็มาสำรวจว่าเล่นๆว่าโครงการมีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง เผื่อจะได้นำมาบอกแก่เจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุง ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ความสมบูรณ์ของจักรยานแต่ละคันไม่เหมือนกัน จากการสังเกตพบว่าบางคันสมบูรณ์แต่บางคันเกิดการชำรุด เช่น คอจักรยานหลวม เบรกไม่ดี และล้อรถฝืด สายโช่หลุดบ่อย เป็นต้น
พันธ์พิสุทธิ์ นุราช ผู้ใช้บริการของโครงการจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ คุยกับฉันว่า เขาเกิดความสนใจทันทีที่นั่งรถผ่านตั้งแต่เปิดโครงการมาเขามาปั่นแล้ว 2 ครั้งใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนมีแวะออกนอกเส้นทางบ้าง แวะตามสถานที่ท่องเที่ยวอย่างวัดโพธิ์ วัดอรุณ
"ต้องยอมรับว่าแรกๆก็กลัวแต่ปั่นแล้วสนุกดี ข้อดีของการปั่นจักรยานชมกรุง คือ เราสามารถปั่นได้เรื่อยๆเหนื่อยก็หยุดและข้อเสียที่ประสบกับตัวเอง คือโซ่หลุดบ่อยและอยากให้จักรยานมีกระดิ่งด้วยจะได้ส่งสัญญาณเตือนใช้คนที่เดินอยู่ริมถนนช่วยหลบหน่อย รวมทั้งอยากให้ที่ตะกร้อใช้ของด้วย เพราะเวลาปั่นไม่รู้จะเก็บของไว้ที่ไหน"พันธ์พิสุทธิ์เล่า
ส่วนฉันเองก็พบว่าการปั่นจักรยานตามเส้นทางนั้นพบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีปัญหาเรื่อง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากรัฐบาลทรราช แต่เชื่อว่าคงอีกไม่นานทรราชก็คงไม่มีที่ยืนบนแผ่นดิน ส่วนปัญหาทางด้านการปั่นนั้นก็เช่น บางพื้นที่ยังไม่มีการตีเส้นช่องจราจรสำหรับจักรยานที่เด่นชัด ทำให้บางครั้งต้องไปขับขี่เบียดเสียดกับรถยนต์น่าอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วนรถจะยนต์มีมาก ซึ่งทำให้การขี่จักรยานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
สำหรับเส้นทางที่มีการตีช่องจราจรสำหรับจักรยานนั้น ก็พบว่าบางเส้นมีการใช้ช่องทางจักรยานในการจอดรถ ทั้งรถส่วนตัวและรถทัวร์ขนนักท่องเที่ยว ทำให้จักรยานไม่สามารถขี่ต่อไปได้ต้องหลีกเลี่ยงโดยการขี่เข้าสู่ช่องจราจรที่มีรถวิ่งซึ่งก็เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีก ซึ่งก็คงต้องฝากไว้ให้ปรับปรุงกันด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โครงการ Green Bangkok Bike โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 18.00 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 20.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองการท่องเที่ยว กทม. โทร 0-2225-7612-5