โดย : จุชดานิน
จากการเที่ยวชมบริเวณตัวเมืองของคุนหมิง ก็ทำให้ฉันได้รู้ว่า ทำไมผู้คนจึงเรียกเมืองคุนหมิงว่า “นครคุนหมิง” ความเจริญของบ้านเมือง ตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ สถานที่ช้อปปิ้งมากมาย ทำให้คุนหมิงเป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งของจีนเลยทีเดียว แต่ในความเจริญของเมืองนั้น ก็แฝงไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงธรรมชาติรวมถึงวัดวาอารามที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่แห่งนี้อย่างสงบเหลือเชื่อ
ในบริเวณตัวเมืองคุนหมิง รถพาพวกเราไปจอดส่งอยู่ที่หน้า “วัดหยวนทง” วัดอันสงบท่ามกลางเมืองใหญ่ แต่มากด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติอย่างพวกเรา ระหว่างที่เดินเข้าไปในวัด ไกด์ชาวจีนสปีคไทยของเราเล่าเรื่องราวของวัดหยวนทงให้ฟังว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในเมืองคุนหมิง สร้างมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังมีอายุยาวนานประมาณ 1,200 กว่าปี แต่การสร้างวัดแห่งนี้ดูแล้วจะแปลกตากว่าวัดอื่นๆในจีน เพราะปกติแล้วการสร้างวัดของจีนส่วนมากจะต้องสร้างอยู่บนภูเขา มีแต่วัดหยวนทงที่สร้างแปลกที่สุดในจีนคือสร้างวัดต่ำกว่าภูเขา โดยวิหารจะอยู่ต่ำที่สุด เนื่องจากวัดแห่งนี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดโดยตรง แต่เคยเป็นศาลเจ้าแม่กวนอิมมาก่อน ดังนั้นคำว่า “หยวนทง” จึงเป็นชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ของเจ้าแม่กวนอิม
แต่ปัจจุบันวัดหยวนทงที่เราเห็นอยู่นี้เป็นลักษณะของวัดในสมัยราชวงศ์ชิง เนื่องจากวัดนี้ได้ถูกทำลายในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการบูรณะโดยหูซาน ผู้เป็นคนพลิกประวัติศาสตร์จีน เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศจีนเกิดราชวงศ์ชิง
ไกด์ชาวจีนสปีคไทยคนเดิมของเราเล่าว่า อู๋ซานกุ้ยนั้นรับราชการอยู่ในช่วงปลายของราชวงศ์หมิง รับตำแหน่งให้ไปคุมด้านกำแพงเมืองจีนที่อยู่ติดกับทางทะเล เพื่อกันแมนจูไม่ให้เข้ามาในจีนได้ แต่ต่อมาอู๋ซานกุ้ยถูกชาวนาซึ่งเป็นหัวหน้าปฎิวัติราชวงศ์หมิงจับเอาภรรยาไป อู๋ซานกุ้ยต้องการได้ภรรยาคืนและแก้แค้น จึงเปิดประตูให้แมนจูเข้ามา โดยสัญญาว่าถ้าช่วยให้อู๋ซานกุ้ยได้ภรรยาคืนแล้วจะออกจากจีน
แต่ปรากฏว่าแมนจูไม่ยอมออกจากประเทศจีน และมาสร้างราชวงศ์ใหม่ขึ้นในจีน คือราชวงศ์ชิง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คนจีนกล่าวหาว่าอู๋ซานกุ้ยเป็นคนขายชาติ และถูกคนจีนตามฆ่า อู๋ซานกุ้ยจึงต้องมารับราชการให้แมนจู ในตำแหน่งอ๋องดูแลทางใต้ของประเทศจีนโดยมีสองมณฑลด้วยกันคือ มณฑลกุยโจว และมณฑลยูนนาน ซึ่งมีเมืองเอกตั้งอยู่ที่คุนหมิง และนั้นจึงทำให้อู๋ซานกุ้ยมีโอกาสได้บูรณะวัดหยวนทงแห่งนี้เมื่อสมัยที่มาปกครองที่คุนหมิง วัดนี้จึงมีลักษณะวัดในสมัยราชวงศ์ชิง โดยรูปทรงของวัดจะแตกต่างจากวัดทั่วไปในเมืองจีนอยู่บ้าง เช่น ตรงหน้าของวิหารมีศาลเจ้าแม่กวนอิมอยู่
สำหรับการมายังวัดหยวนทงนี้ฉันถือว่าเป็นการเข้าวัดแบบ 3 in 1 ฟังดูคล้ายกับโฆษณาของเครืองดื่มบางยี่ห้อ แต่นี่คือวัดผสมทั้งวัดไทย พม่า และธิเบต เพราะภายในวัดที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาถึง 3 นิกาย ได้แก่นิกายมหาญาณของพม่า นิกายหินญาณของคนไทย และนิกายลามะของธิเบต
หลังจากที่เข้าประตูใหญ่ของวัด พระองค์แรกที่เราได้เจอคือ “พระสังฆจาย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า พระในอนาคต จะเป็นพระองค์แรกที่ยิ้มและต้อนรับผู้คนที่เข้ามาไหว้พระ เบื้องหลังของพระสังฆจายจะมีพระอยู่องค์หนึ่งที่เรียกว่า อุยโถว เขียนว่า อุ่ยทอ สำหรับพระองค์นี้เป็นพระที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของวัด ดังนั้นเราจะเห็นพระอุ่ยทอหันหน้ามองไปทางวิหารตลอดเวลา
ตอนที่เรากราบไหว้กับพระอุ่ยทอ จะดูได้ว่าวัดนี้สามารถให้พระธุดงค์มาจำวัดได้หรือไม่ โดยดูจากท่าของพระอุ่ยทอ ถ้าพระอุ่ยทอทำท่าไหว้และกระบองวางบนมือ แสดงว่าวัดนั้นสามารถให้พระจากที่อื่นมาจำวัดได้ แต่หากพระอุ่ยทอเอากระบองชี้ดิน แสดงว่าวัดนั้นพระนอกไม่สามารถเข้ามาจำวัดได้ นั่นคือข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆที่ไกด์บอกกับพวกเรา
นอกจากนี้สองข้างของพระอุ่ยทอจะมีเท้าจตุโลกกบาล ซึ่งคนจีนเวลาจะไหว้พระจะไหว้ให้ครบทั้งสี่ทิศ คือทิศเหนือเกี่ยวกับพ่อแม่ ทิศตะวันออกเกี่ยวกับครู ทิศใต้เกี่ยวกับครอบครัว และทิศตะวันตกเกี่ยวกับเพื่อนฝูง พวกเราสามารถซื้อธูปเทียนจากภายในวัดได้ โดยการจุดธูปนั้นคนจีนจะเรียกว่าเผาธูป เพราะเวลาเขาจุดจะจุดเป็นกำควันโขมงตลบอบอวลเชียวหละ ไม่ได้จุด 3 ดอกเหมือนบ้านเรา เห็นแล้วฉันก็เกรงว่าไฟจะไหม้วัดเอาอยู่เหมือนกัน
เมื่อจุดเทียนเผาธูปไว้พระขอพรแล้ว เดินตรงข้ามสะพานไปจะเป็นศาลาแปดเหลี่ยมซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำมรกต ซึ่งเป็นสระน้ำสีเขียว มีสัตว์น้ำทั้งปลา ทั้งเต่าอยู่มากมาย ศาลาแปดเหลี่ยมหลังนี้เป็นศาลาที่อู๋ซานกุ้ยสร้างในสมัยราชวงศ์ชิง ในศาลาประดิษฐาน “เจ้าแม่กวนอิมพันกร” และเจ้าแม่กวนอิมพม่า หรือเรียกว่า “เจ้าแม่กวนอิมหยก” นั่นเอง
ตรงจากศาลาไปจะมีวิหารใหญ่ที่มีสามประตู เนื่องจากคนจีนถือว่าพระพุทธเจ้ามี 3 แบบทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และภายในวิหารนี้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะในวิหารเขาถือว่ามีของเก่าไม่เปิดให้คนเข้าไป เราก็กราบไหว้พร้อมถ่ายรูปกันที่ด้านนอก ฉันสังเกตเห็นว่าตรงหน้าวิหารจะมีกระถางคล้ายเจดีย์เล็กๆ ผู้คนมักจะเอามือลูบแล้วหลับตาเดินวนเป็นวงกลมรอบเจดีย์นี้ ฉันก็ไม่รู้ว่าเจดีย์นี้เรียกว่าอะไร และเขาลูบทำไม เนื่องจากไกด์เดินล่วงหน้าไปแล้ว ฉันจึงไม่ได้ถามไถ่ แต่คิดว่าถ้าลูบแล้วอธิฐานคงจะโชคดีเป็นแน่
หลังจากเก็บภาพอันสวยงามของวัดแล้ว พวกเราก็รีบตามไกด์ไปยังด้านหลังสุดของวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์ไทยซึ่งสร้างในรูปแบบผสมจีน ไทย ภายในโบสถ์ไทยแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” ของไทย ซึ่งจำลองมาจากพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดแห่งนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทย-จีน นับเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในประเทศไทยที่มาตั้งอยู่ในเมืองจีน
ดังนั้นคนไทยเราเมื่อมาถึงคุนหมิงแล้วจะนิยมมากราบไหว้พระพุทธชินราชในวัดแห่งนี้รวมถึงพวกเราด้วย ส่วนทางด้านหน้าโบสถ์มีสิงห์หรือกิเลนยืนเฝ้าอยู่ 2 ข้างซ้ายขวา ผู้คนที่มาไหว้พระพุทธชินราชในโบสถ์ไทยแห่งนี้มักจะนิยมลูบสิงห์จนเงาเลยเชียวหล่ะ ดีจริงๆ ไม่ต้องทำความสะอาดก็มีนักท่องเที่ยวช่วยลูบๆขัดๆให้อยู่แล้ว แถมมันเงากว่าอีกด้วย และนี่ก็ถือเป็นการปิดท้ายการไหว้พระขอพรที่วัดหยวนทง วัดอันยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดแห่งนครคุนหมิง
สถานที่ต่อไปเป็นอีกหนึ่งที่ศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องชื่อลือชาเช่นกัน ชาวจีนว่ากันว่าถ้ามาคุนหมิงก็ต้องไปลอดประตูแห่งนี้ ลอดแล้วได้อะไร??...โปรดติดตามได้ในตอนต่อไป…
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"คุนหมิง" เป็นเมืองเอกในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง 3 ด้าน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นคือวัดวาอารามและป่าหินอันโด่งดัง สำหรับอัตราค่าเงินในเมืองจีนใช้เงินสกุลหยวน โดย 1 หยวนประมาณ 5 บาท เวลาที่จีนเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ทั้งนี้การเข้าวัดจีนต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
จากการเที่ยวชมบริเวณตัวเมืองของคุนหมิง ก็ทำให้ฉันได้รู้ว่า ทำไมผู้คนจึงเรียกเมืองคุนหมิงว่า “นครคุนหมิง” ความเจริญของบ้านเมือง ตึกรามบ้านช่องสูงใหญ่ สถานที่ช้อปปิ้งมากมาย ทำให้คุนหมิงเป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งของจีนเลยทีเดียว แต่ในความเจริญของเมืองนั้น ก็แฝงไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงธรรมชาติรวมถึงวัดวาอารามที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่แห่งนี้อย่างสงบเหลือเชื่อ
ในบริเวณตัวเมืองคุนหมิง รถพาพวกเราไปจอดส่งอยู่ที่หน้า “วัดหยวนทง” วัดอันสงบท่ามกลางเมืองใหญ่ แต่มากด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติอย่างพวกเรา ระหว่างที่เดินเข้าไปในวัด ไกด์ชาวจีนสปีคไทยของเราเล่าเรื่องราวของวัดหยวนทงให้ฟังว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในเมืองคุนหมิง สร้างมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังมีอายุยาวนานประมาณ 1,200 กว่าปี แต่การสร้างวัดแห่งนี้ดูแล้วจะแปลกตากว่าวัดอื่นๆในจีน เพราะปกติแล้วการสร้างวัดของจีนส่วนมากจะต้องสร้างอยู่บนภูเขา มีแต่วัดหยวนทงที่สร้างแปลกที่สุดในจีนคือสร้างวัดต่ำกว่าภูเขา โดยวิหารจะอยู่ต่ำที่สุด เนื่องจากวัดแห่งนี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดโดยตรง แต่เคยเป็นศาลเจ้าแม่กวนอิมมาก่อน ดังนั้นคำว่า “หยวนทง” จึงเป็นชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ของเจ้าแม่กวนอิม
แต่ปัจจุบันวัดหยวนทงที่เราเห็นอยู่นี้เป็นลักษณะของวัดในสมัยราชวงศ์ชิง เนื่องจากวัดนี้ได้ถูกทำลายในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการบูรณะโดยหูซาน ผู้เป็นคนพลิกประวัติศาสตร์จีน เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศจีนเกิดราชวงศ์ชิง
ไกด์ชาวจีนสปีคไทยคนเดิมของเราเล่าว่า อู๋ซานกุ้ยนั้นรับราชการอยู่ในช่วงปลายของราชวงศ์หมิง รับตำแหน่งให้ไปคุมด้านกำแพงเมืองจีนที่อยู่ติดกับทางทะเล เพื่อกันแมนจูไม่ให้เข้ามาในจีนได้ แต่ต่อมาอู๋ซานกุ้ยถูกชาวนาซึ่งเป็นหัวหน้าปฎิวัติราชวงศ์หมิงจับเอาภรรยาไป อู๋ซานกุ้ยต้องการได้ภรรยาคืนและแก้แค้น จึงเปิดประตูให้แมนจูเข้ามา โดยสัญญาว่าถ้าช่วยให้อู๋ซานกุ้ยได้ภรรยาคืนแล้วจะออกจากจีน
แต่ปรากฏว่าแมนจูไม่ยอมออกจากประเทศจีน และมาสร้างราชวงศ์ใหม่ขึ้นในจีน คือราชวงศ์ชิง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คนจีนกล่าวหาว่าอู๋ซานกุ้ยเป็นคนขายชาติ และถูกคนจีนตามฆ่า อู๋ซานกุ้ยจึงต้องมารับราชการให้แมนจู ในตำแหน่งอ๋องดูแลทางใต้ของประเทศจีนโดยมีสองมณฑลด้วยกันคือ มณฑลกุยโจว และมณฑลยูนนาน ซึ่งมีเมืองเอกตั้งอยู่ที่คุนหมิง และนั้นจึงทำให้อู๋ซานกุ้ยมีโอกาสได้บูรณะวัดหยวนทงแห่งนี้เมื่อสมัยที่มาปกครองที่คุนหมิง วัดนี้จึงมีลักษณะวัดในสมัยราชวงศ์ชิง โดยรูปทรงของวัดจะแตกต่างจากวัดทั่วไปในเมืองจีนอยู่บ้าง เช่น ตรงหน้าของวิหารมีศาลเจ้าแม่กวนอิมอยู่
สำหรับการมายังวัดหยวนทงนี้ฉันถือว่าเป็นการเข้าวัดแบบ 3 in 1 ฟังดูคล้ายกับโฆษณาของเครืองดื่มบางยี่ห้อ แต่นี่คือวัดผสมทั้งวัดไทย พม่า และธิเบต เพราะภายในวัดที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาถึง 3 นิกาย ได้แก่นิกายมหาญาณของพม่า นิกายหินญาณของคนไทย และนิกายลามะของธิเบต
หลังจากที่เข้าประตูใหญ่ของวัด พระองค์แรกที่เราได้เจอคือ “พระสังฆจาย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า พระในอนาคต จะเป็นพระองค์แรกที่ยิ้มและต้อนรับผู้คนที่เข้ามาไหว้พระ เบื้องหลังของพระสังฆจายจะมีพระอยู่องค์หนึ่งที่เรียกว่า อุยโถว เขียนว่า อุ่ยทอ สำหรับพระองค์นี้เป็นพระที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของวัด ดังนั้นเราจะเห็นพระอุ่ยทอหันหน้ามองไปทางวิหารตลอดเวลา
ตอนที่เรากราบไหว้กับพระอุ่ยทอ จะดูได้ว่าวัดนี้สามารถให้พระธุดงค์มาจำวัดได้หรือไม่ โดยดูจากท่าของพระอุ่ยทอ ถ้าพระอุ่ยทอทำท่าไหว้และกระบองวางบนมือ แสดงว่าวัดนั้นสามารถให้พระจากที่อื่นมาจำวัดได้ แต่หากพระอุ่ยทอเอากระบองชี้ดิน แสดงว่าวัดนั้นพระนอกไม่สามารถเข้ามาจำวัดได้ นั่นคือข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆที่ไกด์บอกกับพวกเรา
นอกจากนี้สองข้างของพระอุ่ยทอจะมีเท้าจตุโลกกบาล ซึ่งคนจีนเวลาจะไหว้พระจะไหว้ให้ครบทั้งสี่ทิศ คือทิศเหนือเกี่ยวกับพ่อแม่ ทิศตะวันออกเกี่ยวกับครู ทิศใต้เกี่ยวกับครอบครัว และทิศตะวันตกเกี่ยวกับเพื่อนฝูง พวกเราสามารถซื้อธูปเทียนจากภายในวัดได้ โดยการจุดธูปนั้นคนจีนจะเรียกว่าเผาธูป เพราะเวลาเขาจุดจะจุดเป็นกำควันโขมงตลบอบอวลเชียวหละ ไม่ได้จุด 3 ดอกเหมือนบ้านเรา เห็นแล้วฉันก็เกรงว่าไฟจะไหม้วัดเอาอยู่เหมือนกัน
เมื่อจุดเทียนเผาธูปไว้พระขอพรแล้ว เดินตรงข้ามสะพานไปจะเป็นศาลาแปดเหลี่ยมซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำมรกต ซึ่งเป็นสระน้ำสีเขียว มีสัตว์น้ำทั้งปลา ทั้งเต่าอยู่มากมาย ศาลาแปดเหลี่ยมหลังนี้เป็นศาลาที่อู๋ซานกุ้ยสร้างในสมัยราชวงศ์ชิง ในศาลาประดิษฐาน “เจ้าแม่กวนอิมพันกร” และเจ้าแม่กวนอิมพม่า หรือเรียกว่า “เจ้าแม่กวนอิมหยก” นั่นเอง
ตรงจากศาลาไปจะมีวิหารใหญ่ที่มีสามประตู เนื่องจากคนจีนถือว่าพระพุทธเจ้ามี 3 แบบทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และภายในวิหารนี้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะในวิหารเขาถือว่ามีของเก่าไม่เปิดให้คนเข้าไป เราก็กราบไหว้พร้อมถ่ายรูปกันที่ด้านนอก ฉันสังเกตเห็นว่าตรงหน้าวิหารจะมีกระถางคล้ายเจดีย์เล็กๆ ผู้คนมักจะเอามือลูบแล้วหลับตาเดินวนเป็นวงกลมรอบเจดีย์นี้ ฉันก็ไม่รู้ว่าเจดีย์นี้เรียกว่าอะไร และเขาลูบทำไม เนื่องจากไกด์เดินล่วงหน้าไปแล้ว ฉันจึงไม่ได้ถามไถ่ แต่คิดว่าถ้าลูบแล้วอธิฐานคงจะโชคดีเป็นแน่
หลังจากเก็บภาพอันสวยงามของวัดแล้ว พวกเราก็รีบตามไกด์ไปยังด้านหลังสุดของวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์ไทยซึ่งสร้างในรูปแบบผสมจีน ไทย ภายในโบสถ์ไทยแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” ของไทย ซึ่งจำลองมาจากพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดแห่งนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทย-จีน นับเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในประเทศไทยที่มาตั้งอยู่ในเมืองจีน
ดังนั้นคนไทยเราเมื่อมาถึงคุนหมิงแล้วจะนิยมมากราบไหว้พระพุทธชินราชในวัดแห่งนี้รวมถึงพวกเราด้วย ส่วนทางด้านหน้าโบสถ์มีสิงห์หรือกิเลนยืนเฝ้าอยู่ 2 ข้างซ้ายขวา ผู้คนที่มาไหว้พระพุทธชินราชในโบสถ์ไทยแห่งนี้มักจะนิยมลูบสิงห์จนเงาเลยเชียวหล่ะ ดีจริงๆ ไม่ต้องทำความสะอาดก็มีนักท่องเที่ยวช่วยลูบๆขัดๆให้อยู่แล้ว แถมมันเงากว่าอีกด้วย และนี่ก็ถือเป็นการปิดท้ายการไหว้พระขอพรที่วัดหยวนทง วัดอันยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดแห่งนครคุนหมิง
สถานที่ต่อไปเป็นอีกหนึ่งที่ศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องชื่อลือชาเช่นกัน ชาวจีนว่ากันว่าถ้ามาคุนหมิงก็ต้องไปลอดประตูแห่งนี้ ลอดแล้วได้อะไร??...โปรดติดตามได้ในตอนต่อไป…
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"คุนหมิง" เป็นเมืองเอกในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง 3 ด้าน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นคือวัดวาอารามและป่าหินอันโด่งดัง สำหรับอัตราค่าเงินในเมืองจีนใช้เงินสกุลหยวน โดย 1 หยวนประมาณ 5 บาท เวลาที่จีนเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ทั้งนี้การเข้าวัดจีนต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชม