xs
xsm
sm
md
lg

อุตสาหกรรมการพิมพ์

“พาณิชย์” แนะผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
“พาณิชย์” แนะผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) แนะผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย ศึกษาใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ในการผลิตเพื่อสร้างความล้ำหน้าทันสมัยให้กับสินค้าและบริการของไทย ชี้ช่องซื้อเทคโนโลยีราคาจากเนเธอร์แลนด์ หลังพบมีการจดสิทธิบัตรเพิ่ม
กรอ.เผยยอดจดทะเบียนเครื่องจักร 5 เดือนแรกปีงบฯ 61 เพิ่มขึ้นกว่า 23%
นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถิติการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีในช่วงเดือน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60 – ก.พ.61) มีผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร 652 ราย จำนวน 4,537 เคร
จัดงานแพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล
จัดงานแพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล
แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 ครั้งที่ 6 ที่สุดของงานจัดแสดงสินค้าเพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลับมาจัดแสดงที่ประเทศไทยอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 20-23 กันยายน 2560 ซึ่งงานจัดแสดงสินค้า แพ็ค พริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดขึ้นโดยอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรม จัดขึ้นทุกสองปีด้วยความร่วมมือระหว่าง เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย และได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานแสดงสินค้าชั้นนำอันดับหนึ่งของโลกด้านการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์ คือ งานดรูป้า และอินเตอร์แพ็ค จัดโดย เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ กรุ๊ป
เผยเทรนด์บรรจุภัณฑ์อนาคตมุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพ แนะรัฐเร่งส่งเสริม
เผยเทรนด์บรรจุภัณฑ์อนาคตมุ่งเน้นพลาสติกชีวภาพ แนะรัฐเร่งส่งเสริม
ประธานคลัสเตอร์สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ส.อ.ท.เผยเทรนด์บรรจุภัณฑ์ของโลกเริ่มมุ่งสู่บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี เหตุไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอียู แนะรัฐบาลเร่งส่งเสริม มั่นใจ AEC ยังทำให้ไทยผงาดศูนย์กลางการพิมพ์ฯ
ดันไทยก้าวสู่ประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัว
ประเทศไทย กำลังก้าวสู่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว หลายอุตสาหกรรมกำลังอยู่ในก้าวรุกแห่งการพัฒนาครั้งใหญ่ หนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมรวมของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมของเด็กเล่น อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น
แผนธุรกิจสถาบันไทย-เยอรมันดันอุตฯแม่พิมพ์ไทยสู่อินเตอร์
ในยุคที่เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเติบโต และเป็นยุคสมัยแห่งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ธุรกิจหลายด้านเติบโตขึ้น เพื่อพร้อมรับการแข่งขันในตลาดโลกสถาบันไทย-เยอรมัน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม และถือเป็นศูนย์การฝึกอบรม และให้บริการด้านเทคโนโลยี เพื่อการเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมไทย นับเป็นองค์กรที่อยู่ในก้าวย่างของการเติบโตเช่นกัน ที่ผ่านมาสถาบันไทย-เยอรมัน ได้จัดตั้งขึ้นด้วยจากโครงการความร่วมมือ ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมไทยทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถาบันไทย-เยอรมัน ถือเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวสูง มีอิสระในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมและการให้บริการด้านอุตสาหกรรม มีศูนย์ฝึกอบรมทางเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมาตรฐานสูงในระดับสากล สำหรับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยการสนับสนุนทางเทคโนโลยี หลักวิชาการระดับคุณภาพที่ทันสมัย ทั้งเครื่องมือเครื่องจักร หลักสูตรการฝึกอบรม และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในมาตรฐานของประเทศเยอรมัน สถาบัน ฯ เปิดโอกาสให้กับช่างเทคนิค และวิศวกรที่ต้องการปรับปรุง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ทันสมัย ก้าวทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วยความพร้อมทั้งหลักสูตรการฝึกอบรม เทคนิค เครื่องมือและเครื่องจักรของสถาบัน ฯ นับตั้งแต่สถาบัน ฯ ได้เปิดให้บริการด้านการฝึกอบรมทางเทคโนโลยี สถาบัน ฯ เติบโตไปพร้อม ๆ กับบริษัทที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราสูง และการกลับมาใช้บริการซ้ำอีก แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของสถาบันไทย-เยอรมัน สอดคล้องกับนโยบาย ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย และส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมหลักของสถาบันไทย-เยอรมันที่สามารถให้บริการได้มากกว่า โดยยึดเอาการสนับสนุนและร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การให้บริการเครื่องจักรกล CNC, ให้บริการเครื่องตรวจวัดที่ให้ความเที่ยงตรงสูง ทั้งในส่วนของสถานที่ที่สร้างขึ้นมา เพื่อการฝึกอบรมทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเครื่องมือเครื่องจักรที่ดีมีคุณภาพ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สามารถรองรับการจัดสัมมนา การเปิดตัวสินค้า การจัดการประชุมและมีบริการพื้นที่ให้เช่าเป็นสำนักงานชั่วคราวในช่วงเริ่มต้นธุรกิจด้วย สถาบันไทย-เยอรมันได้จัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาและให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและการแข่งขัน ช่วยให้ประสบความสำเร็จในตลาดไทยและตลาดโลก นายณรงค์ วรงค์เกรียงไกร ผู้อำนวยการฝ่ายไทย สถาบันไทยเยอรมัน กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2548 นี้ เป็นก้าวรุกแห่งการเติบโตของสถาบัน ซึ่งนอกจากโครงการใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในหลายด้านแล้ว ที่สำคัญคืองานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ โดยจะจัดให้มีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการแม่พิมพ์รายใหม่ พัฒนาทักษะช่างแม่พิมพ์ทั้งกลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว และผู้ที่กำลังจะเข้าสู่โรงงาน การพัฒนาผู้ชำนาญการโรงงาน (Master Craftsmen) เพื่อการจัดการและการสอนงานในโรงงานตามแบบเยอรมัน รวมทั้งการพัฒนา SMEs และการรวมกลุ่มเครือข่าย (Clusters) ในงานแม่พิมพ์ และงานผลิตชิ้นส่วนความเที่ยงตรงสูง นับจาก ปี 2547 - 2552 สถาบันด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม กำลังจะผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ครั้งใหญ่ โดยใช้งบประมาณราว 1,690 ล้านบาท เพื่อยกระดับและสร้างบุคลากรด้านแม่พิมพ์จำนวนถึง 7,700 คน พัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์ 5 ศูนย์และหนุนให้เกิดสถานประกอบการด้านแม่พิมพ์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนถึง 225 โรงงาน เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านแม่พิมพ์อย่างยั่งยืนและได้มาตรฐานสากล กิจกรรมตามแผนดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานแม่พิมพ์ได้พัฒนาต่อไปอีกขั้นหนึ่งและสามารถแข่งขันในตลาดเสรีได้ดียิ่งขึ้น เพราะอุตสาหกรรมการผลิตแทบทุกสาขาจำเป็นต้องใช้แม่พิมพ์เป็นต้นแบบในการขึ้นรูปชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งที่เป็นโลหะและพลาสติก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นรากฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ สถาบันไทย-เยอรมัน มีเป้าหมาย พัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร และเทคโลยีการผลิตในสถานประกอบการ เพื่อยกระดับความสามารถ และคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น พร้อมกันนี้ ได้ใช้ทรัพยากรของสถาบันฯ สนับสนุนการ พัฒนาบุคลากร เช่น มอบทุนการฝึกอบรมให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาส ทุนการศึกษาให้นักเรียนในโครงการทวิภาคีน่าจับตามองสำหรับย่างก้าวใหม่ของสถาบันไทย-เยอรมัน ที่มุ่งนำความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรภายในมาผสมผสานกับ กิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันภาคอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ให้เติบโต และเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในระดับสากลต่อไป