อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยขยับอีกระดับ หลังเมสเซ่ร่วมวงสมาคมการบรรจุภัณฑ์ และสมาคมการพิมพ์ จัดงานใหญ่ “งานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นานาชาติ” คาดคนเข้าร่วมงานกว่า 20,000 คน ถือเป็นสัญญาณดี เผยตลาดส่งออกปีที่แล้วเกิน 10,000 ล้านบาท คาดปีนี้ 2553 จะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ถึง 30,000 ขณะที่ยอดบริโภคหนังสือคนไทยอยู่ที่ 2 กิโลกรัม/คน/ปีเท่านั้น คาดปีนี้ขยับสู่ 50 กิโลกรัม/คน/ปี และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า 70 กิโลกรัม/คน/ปี
นายเกอร์นอต ริงลิงก์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดูเซดอร์ฟ เอเชีย จำกัด เปิดเผยว่า งานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นานาชาติ ซึ่งจัดโดยสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมการพิมพ์ และทางบริษัทฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ. 2550 ในครั้งนี้ ที่เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดแสดงก็เพราะว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนที่สูง รวมถึงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าทั่วทวีปเอเชียและในภาพรวมของตลาดทางด้านการพิมพ์ประเทศไทยก็ยังเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย
สำหรับงบประมาณในการจัดงานในครั้งนี้ ทางบริษัทฯใช้งบลงทุนในการจัดงาน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯและใช้งบการตลาดสำหรับงานนี้อยู่ที่ 40% ของงบการลงทุน ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการจัดงานกว่า 15,000 ตารางเมตรของไบเทค บางนา โดยผู้เช่าต่างๆจะเสียค่าเช่าพื้นที่ในอัตรา 250 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อตารางเมตร ซึ่งบู๊ทส์ต่างๆที่มาเช่าในขณะนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีอยู่กว่า 100 กว่าประเทศแล้ว คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานสูงกว่า 20,000 คน ภายใน 4 วันที่จัดงาน
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเข้าชมงาน คาดว่าจะเป็นนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยคิดเป็นสัดส่วนคือ นักธุรกิจในประเทศ จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 2 ใน 3 ของจำนวนผู้เข้าชม ที่เหลือ 1 ใน 3 ก็จะเป็นจำนวนของนักธุรกิจต่างประเทศ แต่คาดว่าอีก 4 ปีจะมีสัดส่วนของนักธุรกิจในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50-50 ของจำนวนคนเข้างานทั้งหมด
“รูปแบบของการจัดงานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นานาชาติ ในครั้งนี้ จะเป็นรูปแบบงานที่เหมือนกับการจัดแสดงงานที่สิงคโปร์ โดยจะจัดงานทุกๆ 2 ปีต่อ 1 ครั้ง เนื่องจากงบประมาณในการจัดงานใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง และเหตุผลที่สำคัญอีกประการคือ ในเรื่องของการพัฒนาเครื่องจักรให้มีคุณภาพมักต้องใช้เวลามาก ซึ่งงานประเภทนี้จะจัดในยุโรปทุกๆ 4 ปี ต่อ 1 ครั้งเลยทีเดียว”
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ชาวต่างชาติให้การยอมรับสถานะของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย เนื่องจากในปีที่ผ่านๆมา การจัดงานในประเทศไทยทุกๆครั้งล้วนแต่เป็นงานเพียงระดับภายในประเทศเท่านั้น ในขณะนี้ถือว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง ซึ่งถือว่าตรงตามกลยุทธ์ที่ทางสมาคมการพิมพ์ไทยได้ประกาศไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ในประเทศไทยนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงทั้งในด้านคุณภาพและความทันสมัยมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งเริ่มมีอัตราการโตที่รวดเร็วช่วง 5 ปีหลังโดยมีอัตราการเติบโตของรายได้ 10% มาตลอด ทำให้เห็นได้ว่าตลาดทางด้านการพิมพ์ในประเทศไทยยังเป็นตลาดที่สามารถโตได้อย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการเติบโตเป็นที่ยังสามารถขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับทางด้านตลาดในประเทศ ประชากรยังมีอัตราการบริโภคหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น อยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ โดยยอดของการบริโภคอยู่ที่ 2 กิโลกรัม/คน/ปี เท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยอ่านหนังสือกันมากขึ้น ในปีนี้สมาคมฯจึงตั้งเป้าไว้ที่ 50 กิโลกรัม/คน/ปี และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะทำให้ได้ถึง 70 กิโลกรัม/คน/ปี
ส่วนทางด้านตลาดการส่งออกนั้น ในปี 2549 ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมการพิมพ์เกิน 10,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2550 นี้ จะมีอัตราการเติบโตของสิ่งพิมพ์อยู่ที่ 10-12% จากยอดรายได้รวมของปีที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าภายในปี 2553 จะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ถึง 30,000 ล้านบาทได้ตรงตามเป้าที่ตั้งเอาไว้อีกด้วย
นายอเนก วิทยะสิรินันท์ นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทย บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆทั้งหลายเมื่อรวมกันอาจมีมูลค่าถึง 140,000 ล้านบาทต่อปี โดยคิดเฉลี่ย 7% ( จาก 3-12% ) ของมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมที่ประมาณ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งตลาดบรรจุภัณฑ์เป็นตลาดที่มีความสำคัญกับสินค้าเกือบทุกประเภท และเนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงในสินค้าอุตสาหกรรมและการเกษตร ทำให้จำเป็นต้องพัฒนาสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อสร้างความได้เปรียบ และในงานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์นานาชาติในครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นเสมือนเวทีของวงการบรรจุภัณฑ์ ที่จะนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้บริการ
นายเกอร์นอต ริงลิงก์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดูเซดอร์ฟ เอเชีย จำกัด เปิดเผยว่า งานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นานาชาติ ซึ่งจัดโดยสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมการพิมพ์ และทางบริษัทฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ. 2550 ในครั้งนี้ ที่เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดแสดงก็เพราะว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนที่สูง รวมถึงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าทั่วทวีปเอเชียและในภาพรวมของตลาดทางด้านการพิมพ์ประเทศไทยก็ยังเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย
สำหรับงบประมาณในการจัดงานในครั้งนี้ ทางบริษัทฯใช้งบลงทุนในการจัดงาน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯและใช้งบการตลาดสำหรับงานนี้อยู่ที่ 40% ของงบการลงทุน ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการจัดงานกว่า 15,000 ตารางเมตรของไบเทค บางนา โดยผู้เช่าต่างๆจะเสียค่าเช่าพื้นที่ในอัตรา 250 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อตารางเมตร ซึ่งบู๊ทส์ต่างๆที่มาเช่าในขณะนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีอยู่กว่า 100 กว่าประเทศแล้ว คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานสูงกว่า 20,000 คน ภายใน 4 วันที่จัดงาน
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเข้าชมงาน คาดว่าจะเป็นนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยคิดเป็นสัดส่วนคือ นักธุรกิจในประเทศ จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 2 ใน 3 ของจำนวนผู้เข้าชม ที่เหลือ 1 ใน 3 ก็จะเป็นจำนวนของนักธุรกิจต่างประเทศ แต่คาดว่าอีก 4 ปีจะมีสัดส่วนของนักธุรกิจในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50-50 ของจำนวนคนเข้างานทั้งหมด
“รูปแบบของการจัดงานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์นานาชาติ ในครั้งนี้ จะเป็นรูปแบบงานที่เหมือนกับการจัดแสดงงานที่สิงคโปร์ โดยจะจัดงานทุกๆ 2 ปีต่อ 1 ครั้ง เนื่องจากงบประมาณในการจัดงานใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง และเหตุผลที่สำคัญอีกประการคือ ในเรื่องของการพัฒนาเครื่องจักรให้มีคุณภาพมักต้องใช้เวลามาก ซึ่งงานประเภทนี้จะจัดในยุโรปทุกๆ 4 ปี ต่อ 1 ครั้งเลยทีเดียว”
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล นายกสมาคมการพิมพ์ไทย ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ชาวต่างชาติให้การยอมรับสถานะของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย เนื่องจากในปีที่ผ่านๆมา การจัดงานในประเทศไทยทุกๆครั้งล้วนแต่เป็นงานเพียงระดับภายในประเทศเท่านั้น ในขณะนี้ถือว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง ซึ่งถือว่าตรงตามกลยุทธ์ที่ทางสมาคมการพิมพ์ไทยได้ประกาศไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ในประเทศไทยนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงทั้งในด้านคุณภาพและความทันสมัยมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งเริ่มมีอัตราการโตที่รวดเร็วช่วง 5 ปีหลังโดยมีอัตราการเติบโตของรายได้ 10% มาตลอด ทำให้เห็นได้ว่าตลาดทางด้านการพิมพ์ในประเทศไทยยังเป็นตลาดที่สามารถโตได้อย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการเติบโตเป็นที่ยังสามารถขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับทางด้านตลาดในประเทศ ประชากรยังมีอัตราการบริโภคหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น อยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ โดยยอดของการบริโภคอยู่ที่ 2 กิโลกรัม/คน/ปี เท่านั้น ดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยอ่านหนังสือกันมากขึ้น ในปีนี้สมาคมฯจึงตั้งเป้าไว้ที่ 50 กิโลกรัม/คน/ปี และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะทำให้ได้ถึง 70 กิโลกรัม/คน/ปี
ส่วนทางด้านตลาดการส่งออกนั้น ในปี 2549 ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมการพิมพ์เกิน 10,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2550 นี้ จะมีอัตราการเติบโตของสิ่งพิมพ์อยู่ที่ 10-12% จากยอดรายได้รวมของปีที่ผ่านมา และเชื่อมั่นว่าภายในปี 2553 จะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ถึง 30,000 ล้านบาทได้ตรงตามเป้าที่ตั้งเอาไว้อีกด้วย
นายอเนก วิทยะสิรินันท์ นายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย เปิดเผยว่า สำหรับประเทศไทย บรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆทั้งหลายเมื่อรวมกันอาจมีมูลค่าถึง 140,000 ล้านบาทต่อปี โดยคิดเฉลี่ย 7% ( จาก 3-12% ) ของมูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมที่ประมาณ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งตลาดบรรจุภัณฑ์เป็นตลาดที่มีความสำคัญกับสินค้าเกือบทุกประเภท และเนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงในสินค้าอุตสาหกรรมและการเกษตร ทำให้จำเป็นต้องพัฒนาสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อสร้างความได้เปรียบ และในงานแสดงสินค้าด้านการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์นานาชาติในครั้งนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นเสมือนเวทีของวงการบรรจุภัณฑ์ ที่จะนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้บริการ