"ซี.พี.แลนด์" ขึ้นแท่นอันดับ 2 ของแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย หรือ Share of Voice (SOV) ใน 9 เดือนแรกของปี 2566 ผลสำรวจจาก Zanroo พร้อมก้าวกระโดดติด Top 10 แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียสูงสุดในครึ่งปีแรกของปี 2566 จากผลสำรวจของ Thailand Social Awards หลังพลิกโฉมภาพลักษณ์ใหม่ให้ทันสมัยในรอบ 4 ทศวรรษ
นางศศินันท์ ออลแมนด์ กรรมการยุทธศาสตร์ ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท ซี.พี.แลนด์ จํากัด (มหาชน) หรือ CP LAND เปิดเผยว่า นับเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายของ CP LAND อย่างมากที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย หลังจากการรีเฟรชแบรนด์ ภายใต้แนวคิด ‘Accessible Communities for Life’ หรือ ‘คุณภาพเพื่อทุกชีวิต’ โดยเราให้ความสำคัญกับ Creative Marketing และกลยุทธ์ ทีมงานทุกคนจะทํางานบนกลยุทธ์เสมอไม่ว่างานเล็กหรือใหญ่ ทฺกอย่างต้องเชื่อมเข้าหากันหมด แคมเปญที่ทำต้องเชื่อมโยงกลับมาที่แบรนด์แม่เสมอ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวก ภายใต้การปรับเปลี่ยนงบประมาณให้ความคุ้มค่ากับผลลัพธ์มากที่สุด หรือ Budget Optimization โดยทีมงานจะนำทุกแคมเปญมาขยายผลต่อยอดทางการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านทุกแพลตฟอร์มของการสื่อสารเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงให้ได้มากที่สุด
เราพยายามสรรค์สร้างและใช้สินทรัพย์ของแบรนด์ (Brand Asset) ทุกอย่างที่มีอย่างคุ้มค่า เลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เข้าใจง่ายสามารถเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่มลูกค้าเรา โดยเฉพาะกลุ่มนิวเจนที่เราเพิ่มการสื่อสารช่องทางออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ แบรนด์ยังต้องสร้างสรรค์การสื่อสารที่หลากหลายและครอบคลุมภาพใหญ่ได้ทุกมิติเพื่อให้สอดคล้องกับ CP LAND ที่มีหลายกลุ่มธุรกิจ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด ทำให้เกิดความคุ้มค่าและสร้างกระแสได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว และได้ผลตอบรับตรงกลุ่มเป้าหมาย จนเป็นที่พูดถึงบนโลกออนไลน์มากขึ้นตามลำดับ
โดยล่าสุด CP LAND ติดอันดับที่ 2 ผลสำรวจจาก Zanroo (แสนรู้) ผู้ให้บริการครบวงจรด้าน Social Listening ให้เป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโซเชียลมีเดีย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (1 ม.ค.-30 ก.ย.2566) และได้อันดับที่ 10 ของแบรนด์กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัยที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียสูงสุด ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 (1 ม.ค.-30 มิ.ย.66) ซึ่งการจัดอันดับดังกล่าวถือเป็นการก้าวกระโดดกว่า 20 อันดับ จากอันดับที่ 30 พุ่งสู่อันดับที่ 10 จากผลสำรวจโดย Thailand Social Awards โดยบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด
การถูกจัดอันดับทั้ง 2 นี้ ส่วนหนึ่งมาจากแคมเปญมิวสิกวิดีโอเพลง ‘หัวใจผูกกัน เวอร์ชัน Happiness Is All Around’ ที่ถูกเรียบเรียงทำนองใหม่ โดยคุณบอย โกสิยพงษ์ ศิลปินนักแต่งเพลงชื่อดัง รวมทั้งแคมเปญ ‘CP LAND Presents เจอสุข เจอนั่น เจอนี่’ ที่นำทัพศิลปินไปส่งมอบความสุขโดยคุณสิงโต นำโชค ศิลปินนักร้องชื่อดังที่มีคาแร็กเตอร์สดใส สนุกสนาน และรักครอบครัว มาเป็นนักแสดงภาพยนตร์โฆษณาผ่านแนวคิด “ความสุขเดินทางได้” ตอบโจทย์การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ พร้อมทั้งมีการดึงอีก 4 ศิลปินนักร้องชื่อดัง ประกอบด้วย ว่าน ธนกฤต, ดา เอ็นโดฟิน, เต๋า เศรษฐพงศ์ และป๊อบ ปองกูล มาร่วมทัพส่งต่อ Key Message “คาราวานความสุข” และร่วมเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencers) ให้ทาง CP LAND โดยสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของ CP LAND และช่องทางออนไลน์ของแต่ละศิลปิน ซึ่งทุกท่านสามารถติดตามวิดีโอบทสรุปเพิ่มเติมได้
https://fb.watch/o39_IwIUBd/?mibextid=kK6hii
นอกจากนี้ CP LAND ยังเดินหน้าสื่อสารอย่างต่อเนื่องผ่านการอัดแคมเปญการตลาดล่าสุดอย่าง สิงโต นำโปร ที่นำคุณสิงโต นำโชค มาต่อยอดแคมเปญ พร้อมประกาศสิทธิประโยชน์พิเศษจากความร่วมมือระหว่าง 17 พันธมิตรทางธุรกิจกับ CP LAND ที่มอบให้กับลูกค้า ตั้งแต่วันนี้-30 พฤศจิกายน 2566
CP LAND มุ่งเน้นสื่อสารการตลาดเชิงสร้าง สรรค์ พร้อมให้ความร่วมมือและสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในอุตสาหกรรมเดียวกันและนอกกลุ่ม ซึ่งภายในปี 2567 คาดว่าจะมีกิจกรรมความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรที่เป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสุขอย่างต่อเนื่องให้สังคม
นายวิสุทธิยา ดารานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์ บริษัท อินเตอร์เน็ต เบส บิซิเนส กรุ๊ป จำกัด หรือ Zanroo กล่าวว่า การจัดอันดับครั้งนี้ถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่ควรค่ากับ CP LAND ในการวางแผนและพัฒนาการสื่อสารบนช่องทางออนไลน์
สำหรับเกณฑ์การวัดผลและจัดอันดับแบรนด์ของ Thailand Social Awards วัดจากประสิทธิภาพการสื่อสาร และการถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดีย 5 ช่องทาง คือ Facebook Instagram Tiktok Twitter และ YouTube เริ่มวันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2566 โดย Thailand Social Awards ได้พัฒนาเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร หรือ Wisesight Brand Metric คำนวณจาก 4 ค่าชี้วัด ได้แก่
1.ค่าชี้วัดแบรนด์ (Brand Score) วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (Owned Media) และจากช่องทางที่คนอื่นพูดกล่าวแบรนด์ (Earned Media) พิจารณาผ่าน 2 มุม คือ การวัดผลประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีรายละเอียดดังนี้
- การวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนผู้ติดตาม (Follower) การเติบโตของผู้ติดตาม (Fan Growth) จำนวนการชมและการมีปฏิสัมพันธ์ (View & Interaction) และจำนวนการกล่าวถึงแบรนด์ต่อหนึ่งผู้ใช้งาน (Unique Daily Social Mentions)
- การวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ ได้แก่ จำนวนการแสดงความคิดเห็นและการส่งต่อ (Comment & Share) การแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จัก (Advocacy) ความสนใจที่จะซื้อ (Intention) และความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ (Sentiment)
2.ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (Owned Score)
3.ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earned Score)
4.ค่าชี้วัดการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ (Sentiment Score)