xs
xsm
sm
md
lg

เหมือนนัดกันมากับ "เพื่อไทย" นักพัฒนาบล็อกเชนไทยสร้าง "Wallet 50 ล้านใบ" เสร็จแล้วพร้อมทดสอบใช้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เหมือนนัดกันมา หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดต นายกจากพรรคเพื่อไทยชูนโยบายหาเสียง ด้วยการแจกเงินดิจิทัลให้กับประชาชนทุกคน ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 10000 บาท เพื่อใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องใช้ภายในรัศมี 4 กิโลเมตร จากพิกัดตามภูมิลำเนาที่ระบุในทะเบียนบ้านที่สังกัดเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นประเด็นเรียกเสียงฮือฮา ต่อประชาชนอย่างมาก รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายว่านโยบายการหาเสียงดังกล่าวนั้น "เป็นการกระทำในลักษณะสัญญาว่าจะให้" ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดกฏหมายเลือกตั้งหรือเปล่า แม้ว่าในความเป็นจริงเชิงเทคนิคสามารถทำได้ผ่านทางระบบเทคโนโลยีดิจิทัลวอลเล็ต เหมือนที่ประเทศจีน ได้แจกเงินให้ประชาชนผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดย CBDC เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงของงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จจากมาตรการดังกล่าวเป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทาง ดิจิทัลหยวน (E-CNY) ในการใช้จ่าย และลดต้นทุนด้านการผลิตธนบัตรตลอดจนเหรียญเหรียญกษาปณ์ และการเก็บรักษา อีกทั้งยังสามารถควบคุมการใช้เงินให้อยู่ในวัตถุประสงค์ตามที่โครงการออกแบบมาอย่างดีอีกด้วย

ล่าสุดจากนโยบายการหาเสียงของนายเศรษฐา ซึ่งเหมือนนัดกันมากับทางฝั่งของนักพัฒนาบล็อกเชนชาวไทย คือ โดม เจริญยศ ก็ได้ออกประกาศผ่านทาง Facebook ส่วนตัวว่า ได้ทำการออกแบบระบบสำหรับกระเป๋าเงินดิจิทัลที่สามารถใช้ได้ภานในขอบเขตรัศมี 4 กิโลเมตร จำนวน 50 ล้านใบ (จากค่าเฉลี่ยคนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป) เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียง loadtest หรือทดสอบการใช้งานเท่านั้น


ซึ่งโพสต์ดังกล่าวนั้นดูเหมือนจะสอดรับเข้าแก๊ปกับตรงกับที่นายเศรษฐา ปราศัยไว้ที่สนามฟุตบอลบอลเมืองทอง หากแต่เพียงในขณะนั้นยังไม่ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของระบบการบริการจัดการ ว่าจะใช้แพล็ตฟอร์มบล็อกเชนไหน อิงจากแอปกระเป๋าตังเดิม หรือ พัฒนาสร้างขึ้นมาใหม่

แต่จากการประกาศนโยบายหาเสียงนี้ เหมือนเท่ากับว่าป่าวประกาศเฟ้นหาจอมยุทธฝีมือดีด้านการดิจิทัลบล็อกเชน เพื่อมาระดมสมองในการพัฒนาโครงการแจกเงิน 10000 บาทดิจิทัล ให้ตรงตามเป้าวัตถุประสงค์ โดยชูจุดเด่นที่การใช้จ่ายภายในรัฐมี 4 กิโลเมตรรอบภูมิลำเนาที่สังกัด กับร้านค้าที่ร่วมรายการ โดยจะต้องใช้จ่ายภายใน 6 เดือน และตีกรอบการใช้ในเงื่อนไขที่กำหนด เชื่อมโยงกับระบบที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ ป้องกันการใช้เงินไม่ตรงวัตถุประสงค์ เช่นยาเสพติด การพนัน หรือหนี้นอกระบบ


ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ออกมายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)และนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อขอให้ตรวจสอบและวินิจฉัยกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน และพรรคเพื่อไทย ในนโยบายหาเสียง แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 54 ล้านคนๆ ละ 10,000 บาท เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทย และผู้สมัคร สส.พรรคเพื่อไทย

โดยนายศรีสุวรรณ ตั้งข้อสงสัยว่า การหาเสียงการแจกเงินดิจิทัลดังกล่าว ซึ่งเป็นประชานิยมสุดโต่ง อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างรุนแรงต่อประโยชน์ของประชาชนในวงกว้างทั้งทางบวกและทางลบได้ และมีเสียวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่าจะมีผลกระทบต่อวินัยทางการเงินการคลังของรัฐอย่างมาก ซึ่งอาจเข้าข่ายขัดต่อ พรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 และพรบ.วิธีการงบประมาณ 2561 หรือไม่ อีกทั้งการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทนั้น จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พรก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2561 ประกอบ พรก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) 2561 โดยเคร่งครัด โดยจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ซึ่งเงินจะเหลือถึงประชาชนจริงๆเพียง 8,500 บาท เมื่อสิ้นปีภาษีต้องแจ้งเป็นรายรับต่อสรรพากร รวมทั้งร้านค้าที่รับเงินดิจิทัลด้วย การบอกความจริงไม่หมดเป็นการหลอกลวงจูงใจให้เข้าใจผิด ตาม ม.73(5) ของพรป.เลือกตั้ง 2561 หรือไม่


นอกจากนี้ กรณีดังกล่าวอาจสุ่มเสี่ยงต่อเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นได้ เนื่องจากนายเศรษฐา เคยเป็นผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารธุรกิจสินทรัพทย์ดิจิทัลหรือโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ก่อนที่จะโอนหุ้นทั้งหมดให้กับลูกสาวและลาออกจากทุกตำแหน่งเพื่อมาลงการเมือง แต่จะทำให้สังคมไว้วางใจได้อย่างไรว่า การประกาศแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะไม่เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับอดีตธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของตน ซึ่งแม้จะโอนหุ้นให้ลูกสาวไปแล้ว แต่ก็อาจจะยังเข้าข่ายฝ่าฝืน ม.44 แห่งพรก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2561 ด้วยหรือไม่

"การหาเสียงแจกเงินดิจิทัลของพรรคเพื่อไทยดังกล่าว กกต.ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนทราบถึงคำอธิบายของพรรคเพื่อไทยที่รายงานมายัง กกต.ด้วยว่า 1.วงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดําเนินการมาจากแหล่งใด 2.ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดําเนินนโยบาย 3.ผลกระทบและความเสี่ยงในการดําเนินนโยบาย เพราะหากไม่สามารถชี้แจงได้ก็อาจเข้าข่ายฝ่าฝืน ม.73(1) และ (5) แห่ง พรป.เลือกตั้ง 2561 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดเป็นกลาง ไม่เอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง" นายศรีสุวรรณ กล่าวทิ้งท้าย


กำลังโหลดความคิดเห็น