xs
xsm
sm
md
lg

สศค.” เผยส่งออกเดือน ต.ค. ติดลบ 4.5% หวังมาตรการกระตุ้น ศก. ดันจีดีพี 62 โต 2.8%

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สศค. หวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดของรัฐบาลจะช่วยเศรษฐกิจไทยปี 62 เติบโตได้ 2.8% ขณะที่ภาพรวมภาวะเศรษกิจ-การคลังเดือน ต.ค. 61 เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีจากอานิสงส์การบริโภคภายในประเทศที่มีการขยายตัว 6% ด้านส่งออกและการนำเข้ายังคงติดลบ 4.5% และ 7.6% ตามลำดับ ส่งผลให้ไทยมีดุลการค้าเกินดุล 506.5 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ขณะที่การท่องเที่ยวส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวได้ถึง 12.5% ซึ่งสูงสุดในรอบ 19 เดือน

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงแนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่เหลือของปี 62 ว่า แม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.8% เนื่องจากยังคงต้องติดตามสถานการณ์ของภาคส่งออกด้วยว่าจะเติบโตตามเป้าที่ สศค. คาดการณ์ไว้ที่ -2.5% หรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจากหากต้องการให้เศรษฐกิจไทยตลอดปี 62 เติบโตได้ 2.8% แล้วเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ต้องเติบโตที่ 3%

แต่อย่างไรก็ตาม สศค. ยังมองว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาถึงตัวเลขการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดของรัฐบาลที่น่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปี 62 แต่อย่างไรก็ตาม หากการส่งออกของไทยในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่ได้หดตัวมากกว่าที่สศค. เคยประเมินไว้แล้ว เศรษฐกิจไทยในปี 62 ก็น่าจะเติบโตได้ประมาณ 2.6-2.8% ทั้งนี้ หากจะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประเมินไว้ที่ 2.6% แล้ว เศรษฐกไทยในไตรมาสที่ 4 จะต้องเติบโตที่ระดับ 2.8% เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ได้เติบโตแล้วที่ 2.5%

นายวุฒิพงศ์ ยังย้ำด้วยว่า ในช่วงที่เหลือของปี 62 และต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 63 กระทรวงการคลังยังคาดหมายว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบจากการใช้ชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดราว 8 หมื่นล้านบาท และจะมีเงินที่เกิดจากมาตรการให้ความช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวข้าว 2.7-2.8 ล้านบาทนั้น ทั้งนี้ เงินดังกล่าวจะไหลเข้าสู่เศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี 62 ด้วย

ส่วนภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจในเดือน ต.ค. 62 นั้น รองผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากอานิสงส์ของการบริโภคภายในประเทศ โดยสะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่บนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีการขยายตัว 6% ต่อปี ขณะที่การท่องเที่ยวได้ส่งสัญญาณการฟื้นตัวดี สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัว 12.5% ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 19 เดือน

ด้านการส่งออกยังอยู่ในระดับที่ -4.5% ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวลงของสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ทองคำ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องรับสลวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ข้าว ยางพารา เป็นต้น ขณะเดียวกันการนำเข้าก็อยู่ในระดับที่ -7.6% ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ในเดือน ต.ค. 62 ไทยมีดุลการค้าที่เกินดุล 506.5 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ

สำหรับการลงทุนในภาคเอกชนยังคงชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่สะท้อนได้จากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ -13.5% ทั้งนี้เกิดจากฐานตัวเลขดังกล่าวของปี 61 ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนหมวดการก่อสร้างซึ่งสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์นั้นชะลอตัวลง 12.8% แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์แม้จะยังชะลอตัวอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่ -9%

ด้านดัชนีผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังชะลอตัว -8.5% สอดคล้องตามการปรับตัวของดัชนีความเขื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมลงมาอยู่ที่ระดับ 91.2 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการแข็งค่าของเงินบาทที่เป็นปัจจัยลบของภาคส่งออก ตลอดจนความเข้มงวดในการให้สินเชื่อแก่กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

นายวุฒิพงศ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า แม้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมจะชะลอตัวก็ตาม แต่ด้านภาคการท่องเที่ยวยังมีการขยายตัวได้ดี เมื่อพิจารณาจากจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยในเดือน ต.ค. ที่มีทั้งสิ้น 3.04 ล้านคน หรือขยายสูงสุดในรอบ 19 เดือนที่ระดับ 12.5% ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยเป็หลักราว 27.8% ส่วนมูลค่ารายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในไทยจะมีทั้งสิ้น 147,801 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.3%

ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 1% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงจากเดือน ก.ย. 62 ตามการลดลงของราคาค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ส่วนอัตราเงินเหลฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.4% อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.9% ของกำลังแรงงานโดยรวมของประเทศ ขณะที่สัดส่วนหนี้สินสาธารณะเมื่อสิ้นเดือน ก.ย. 62 จะอยู่ที่ 41.1% ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่อยู่ที่ 1% ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.4% สำหรับอัตราว่างงานอยู่ที่ 0.9% ของกำลังแรงงาน สัดส่วนหนี้สาธารณะสิ้นเดือนกันยายน 2562 อยู่ที่ 41.1% ต่อจีดีพี


กำลังโหลดความคิดเห็น