xs
xsm
sm
md
lg

Blockchain-Fintech เทคโนโลยีประยุกต์สู่ทุกอุตสาหกรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Blockchain ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในแทบทุกอุตสาหกรรม และโลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้ กระทั่ง DLT กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยลดต้นทุน และทำให้ธุรกรรมมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้น สำคัญต้องพัฒนาภายใต้มาตรฐานที่กำหนดร่วมกัน จะทำให้สามารถเชื่อมต่อระบบต่างๆ ที่สำคัญ ประชาชน และผู้ให้บริการต้องปรับตัว



ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ประชาชนทั่วๆ ไปจะได้ยินคำว่า Fintech ผ่านหูเข้ามาอยู่บ่อยๆ และที่จะได้ยินถี่มากขึ้น ซึ่งหลายคนอาจจะมีความรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ หรืออาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของ Fintech หากจะอธิบายให้เข้าใจง่าย คำว่า Fintech นั้นมาจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยการ คือ “Financial” หรือการเงิน และ “Technology” ซึ่งก็คือเทคโนโลยีนั่นเอง ผสานรวมกันเข้าจนกลายเป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัย และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรมการเงิน การลงทุน และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่คุ้นเคยกันดี เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน ได้แก่ ถอน หรือโอน เงินจากตู้ ATM โดยไม่ใช้บัตร ตลอดจนชำระค่าสินค้าและบริการ (โมบายล์แบงกิ้ง) ขณะที่ในส่วนของการลงทุนนั้น สามารถที่จะเลือกลงทุน เช่น ซื้อกองทุน ซื้อหุ้น ซื้อประกัน ซื้อทองคำได้ด้วยแอปพลิเคชันการลงทุนต่างๆ ที่เชื่อมโยงผ่านระบบการฝากถอนของธนาคารและโบรกเกอร์ หรือแม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างกัน ซึ่งจุดเด่นของฟินเทคก็คือ มีความสะดวก มีความอิสระ ใช้งานง่าย ไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถที่จะทำได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งมีค่าธรรมเนียมต่อการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างต่ำหรืออาจไม่มีในธุรกรรมบางประเภท

จากการเติบโตของเทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น รูปแบบของธุรกรรมทางการเงินจึงได้มีการปรับตัวไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น จากแนวคิดที่มีความหลากหลาย เช่น การนำ Fintech มาเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อในภาคธุรกิจอื่นๆ เช่น E-payment ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากต่อธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมหรือ E-commerce ส่งผลให้เกิดระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้งานง่ายและสะดวก มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถลดระยะเวลาการชำระเงินในรูปแบบเดิมที่ใช้ระยะเวลาในการโอน และรับเงินหลายวันให้รวดเร็วภายในไม่กี่นาที ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ Fintech ยังก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการเชื่อมโยงการเงินและการลงทุนจากพื้นฐานเดิมในรูปแบบใหม่ๆ ผ่านทางเทคโนโลยี Blockchain (บล็อกเชน) ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งปัจจุบัน Blockchain ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

ขณะที่การจัดงานมหกรรมเทคโนโลยีทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ สิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล เอสเอสเอฟ X สวิตช์ (SINGAPORE FINTECH FESTIVAL: SFF x SWITCH 19) ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 11-15 พ.ย. โดย Monetary Authority of Singapore (MAS) ถือเป็นงานสัมมนาและนิทรรศการเกี่ยวกับฟินเทคที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่ง ที่มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากถึง 60,000 คน จาก 130 ประเทศทั่วโลก โดย ก.ล.ต.เป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดแสดง (เอ็กซิบิเตอร์) กว่า 1,000 ราย ซึ่งธีมของงาน Fintech Festival ในปีนี้เน้นหนักไปที่ประเด็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Digital กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยมีวาระที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. Re-imagining Fintech โดย Ravi Menon (Managing Director of MAS) ที่ได้เล่าประสบการณ์ในการผลักดัน และสนับสนุน Fintech ในสิงคโปร์ด้วยการร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ให้บริการด้าน Fintech เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมและ Technology โดย Re-imagining ประกอบด้วย

Digital Infrastructure การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระบบดิจิทัล เช่น การทำ National Digital Identity หรือระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้านอัตลักษณ์ (National Digital ID) เพื่อรองรับธุรกรรมบนดิจิทัลที่รวดเร็วและปลอดภัย น่าเชื่อถือ และยังต่อยอดไปเป็น e-KYC ที่เกี่ยวพันกับภาคธุรกิจและบริการ ตลอดจนถึงด้านระบบรักษาความปลอดภัยในระบบสากล เนื่องจากปัจจุบันปัญหาด้านการสิ้นเปลืองทรัพยากรจากขั้นตอนการทำงานในระบบแอนะล็อกที่ล้าสมัยและประสิทธิภาพต่ำของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้ความน่าเชื่อถือลดต่ำลง สำหรับ National Digital ID (NDID) จะใช้การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Blockchain ซึ่งมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือสูง และยากต่อการปลอมแปลงหรือทำซ้ำในสำเนาเดิม

ขณะที่ในส่วนของ PayNow หรือ (e-payment) คือระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติในการพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการโอนเงินหรือชำระเงิน โดยใช้ระบบ Any ID หรือ NDID ซึ่งจะสามารถทำได้โดยใช้หมายเลขอื่นที่ผู้รับโอนได้ลงทะเบียนไว้กับสถาบันการเงิน และการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะบัตรเดบิตที่มีค่าธรรมเนียมต่ำแทนการใช้เงินสด ตลอดจนระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนในการจัดทำ รวมทั้งการนำส่งรายงานการทำธุรกรรมทางการเงินและการนำส่งภาษีเมื่อมีการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนของภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการรับจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับสวัสดิการของภาครัฐ ควบคู่กับการจ่ายเงินให้แก่ประชาชนโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและเงินสวัสดิการให้แก่ประชาชนได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดความผิดพลาด ความซ้ำซ้อน และโอกาสการทุจริตจากการจ่ายด้วยเงินสดหรือเช็ค

ส่วน Project UBIN (DLT inter-bank payment) ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบของสิงคโปร์ที่ริเริ่มโดย Monetary Authority of Singapore หรือ MAS ที่พยายามผลักดันให้ธนาคารมีการรับชำระเงินระหว่างธนาคารในประเทศสิงคโปร์ผ่านระบบ Blockchain โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างรูปแบบ Token สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางกับกลุ่มบริษัท R3 ที่มุ่งใช้เทคโนโลยี Ethereum Blockchain เพื่อการโอนเงินระหว่างธนาคาร

Innovation หรือนวัตกรรม เช่น APIX - API Exchange ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานและสมาคมต่างๆ ในการพัฒนา Application Program Interface (API) ด้วยการเขียนคำสั่งร่วมกัน หรืออนุญาตให้ software program สามารถสื่อสารระหว่างกันได้จากช่องทาง Operation System (OS) หรือ Application อื่นๆ ซึ่งใช้งานโดยติดตั้ง Function และเรียกใช้งานตามคำสั่งที่เขียนไว้ ซึ่งทั้ง Monetary Authority of Singapore (MAS), World Bank Group’s International Finance Corporation (IFC) and ASEAN Bankers Association ช่วยเอื้อให้ SME สามารถเข้าถึง Technology และ Fintech ได้มากขึ้น

ขณะที่ในส่วนของ Collaboration เช่น Business Sans Borders (BSB) ซึ่งเป็น Technology ที่ช่วยให้ SME เข้าถึงบริการและจับคู่กับผู้ผลิตหรือลูกค้าโดยสามารถทำธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อเพิ่ม ตลอดจนมีความสามารถในการเข้าถึงบริการด้านต่างๆ


ด้าน Regulation ที่จะมีการปรับใช้ Regulatory Sandbox เพื่อให้เกิดการทดลองนวัตกรรมทางการเงิน ช่วยในการกำหนด Regulation ถาวร รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการเริ่มประกอบธุรกิจ เช่น iSTOX

นอกจากนี้ ในส่วนของ Financing เช่น Fintech Research Platform ซึ่งเป็น Platform ที่ทำให้ผู้ลงทุนสามารถเห็นภาพรวมของการลงทุน ตลอดจนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทได้ หรือ Deal Fridays ซึ่งเป็นธุรกิจที่จับคู่ระหว่างผู้ลงทุนกับ Startup




กำลังโหลดความคิดเห็น