สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีความทันสมัย และล้ำหน้าในเรื่องของระเบียบวินัย ตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยเพราะมีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นเกาะ การดำเนินชีวิตในพื้นที่จำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ และปีนี้งานสัมมนา Singapore Fintech Festival 2019 ซึ่งจัดในช่วงวันที่ 11-15 พ.ย.ที่ผ่านมาสิงคโปร์จะผลักดันให้ฟินเทคผสมผสานกับวิถีชีวิต โดยขั้นตอนที่สิงคโปร์จะทำ ได้แก่ Build financial system that be resilience to environmental risk หรือการสร้างระบบการเงินที่สอดคล้องกับความเสี่ยง โดยพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจะดำเนินการ คือ Measure การประเมินความเสี่ยงโดยนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมาพิจารณา เช่น การประเมินมูลค่าทรัพย์สินของ Bank, Fund Manager หรือความเสี่ยงในการรับประกันภัยของบริษัทประกัน Mitigate คือจำกัดและลดความเสี่ยง เช่นการหยุดหรือลดการให้เงินทุน ตลอดจนการลงทุนกับกิจการที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการให้เงินทุน หรือสนับสนุนการลงทุนให้กิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Disclose หรือการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงดังกล่าวต่อผู้ลงทุน ซึ่งในอาเซียนมี Sustainability Report for Listed Companies และ MAS จะมีการออก Environmental Risk Management (ENRM) Guidelines เป็นมาตรฐานในการประเมินและจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทั้งภาคธนาคาร ประกันภัย และการจัดการลงทุน เพื่อสร้างโอกาสและสนับสนุน Green Investment
Develop green financial solutions and markets หรือการพัฒนาโซลูชันและตลาดการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ Green bond โดย MAS มี green bond grant scheme และที่สำคัญจะต้องมี common standard สำหรับ greenbond เพื่อเป็นมาตรฐานกลาง เช่น ASEAN Green Bond Standard ได้แก่ Green loan for lending activity สินเชื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Risk transfer solution การบริหารจัดการความเสี่ยงและ Green Fund กองทุนเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดย MAS มี Green Investment Program จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยังยืน และจะนำเงินจำนวน 100 ล้านภายใต้โปรแกรมดังกล่าวไปสนับสนุน BIS Green Bond Fund เพื่อส่งเสริม Global Green Finance Initiative สุดท้ายคือ Green Capabilities การสนับสนุนด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมิน Greenproduct และ Research ต่างๆ
Leverage innovation and technology หรือการยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้แก่ Reach โดยการพัฒนา Digital Platform ซึ่งจะช่วยให้ Green Finance เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น Innovation การสนับสนุนการพัฒนา smart algorithm, smart contract, DLT จะทำให้การทำธุรกรรมโปร่งใสและรวดเร็ว ตลอดจนการนำ Data โดยใช้ Big Data มาประเมินความเสี่ยง
ขณะที่ผู้แทนจาก Standard Chartered, AMTD Group, Bloomberg, Citigroup, HSBC and DBS Group) ได้เปิดเผยมุมมองในประเด็น “2020 : Banking in a new Global context” ว่า ในอนาคตระบบ Blockchain จะเข้ามาแทนที่การทำธุรกรรมแบบเดิมของธนาคาร โดย Digital bank license จะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าสามารถแยกกลุ่มลูกค้าจนตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นและมีธนาคารใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยอาจเข้าเป็นพันธมิตรกับธนาคารที่มีอยู่เดิม ขณะที่ประเด็นที่เกี่ยวกับ Data ในการเก็บข้อมูลนั้นอาจจะไม่สำคัญว่าต้องเก็บในภูมิภาคของท้องถิ่นประเทศนั้น ๆ หรือกระจายการจัดเก็บผ่านระบบเครือข่ายสากล แต่ที่สำคัญคือความปลอดภัยของข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลหรือ data privacy ขณะที่การโอนย้ายข้อมูลของลูกค้าและการทำให้ลูกค้าตระหนักถึงสิทธิและการให้ความเคารพข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะส่งผลให้สามารถนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์พฤติกรรมการลงทุนของลูกค้าได้
ขณะที่ในส่วนของมุมมองกรณี Libra เนื่องจากปัจจุบันมีผู้สนใจ Digital Currency มากขึ้น ดังนั้น Libra จึงเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งแม้ว่า facebook ไม่ให้บริการนี้ก็อาจจะมีผู้เล่นรายอื่นๆ ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือกลไกการคงมูลค่าในการแลกเปลี่ยนเงินและประเด็นการกำกับดูแลเรื่องฟอกเงิน
นอกจากนี้ ประเด็นความท้าทายของการเปลี่ยนแปลง Technology ซึ่งอาจส่งผลต่อประชาชนผู้ใช้ที่ต้องมีการปรับตัว โดยมองว่ากลยุทธ์ใหม่ในการติดต่อลูกค้าต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ อันจะนำไปสู่การเกิด business model ใหม่ๆ และบริษัทต่างๆ ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงให้สามารถควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ขณะเดียวกัน ในงานสัมมนา Singapore Fintech Festival 2019 วันที่ 12 พ.ย. ยังมีวาระที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. Defining the Future of Digital Currency โดยผู้แทนจาก Institute of Digital Currency (People’s Bank of China), Calibra, National Bank of Cambodia, CNN International และ J.P. Morgan ได้ให้มุมมองถึงการพัฒนาด้าน Digital Currency ในปัจจุบัน อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงินและการธนาคาร ซึ่งควรพัฒนาให้มีการกระจายตัวมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการทางการเงินในระบบสากลหรือ global finance ได้ ซึ่งจากการพัฒนา digital currency ของประเทศต่างๆ ที่มีวัฒนธรรม เทคโนโลยี และพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินที่แตกต่างกัน เช่นประเทศจีน จัดให้มีระบบสำรองซึ่งเป็น Redundant Infrastructure รองรับในกรณีที่ระบบหลักเกิดขัดข้อง และจัดให้มีระบบ e-payment รองรับรูปแบบการชำระเงินที่หลากหลาย โดยประชาชนสามารถเข้าถึงได้แม้อยู่ในที่ห่างไกล ขณะที่ประเทศกัมพูชา เน้นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการธนาคารของประชาชน การเชื่อมโยงระบบการรับชำระเงินของแต่ละธนาคารซึ่งยังไม่เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด และการขยายบริการชำระเงินบน Mobile Application
อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่เล็งเห็นว่า DLT เป็นเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยลดต้นทุน และทำให้ธุรกรรมมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหากมีการพัฒนา DLT ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดร่วมกัน จะทำให้สามารถเชื่อมต่อระบบต่างๆ ผ่าน API platform ได้ โดยเฉพาะ Digital Currency ที่โลกกำลังให้ความสนใจคือ Libra ซึ่งมีศักยภาพในการอำนวยความสะดวกสำหรับการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน (Cross-Border Transaction) เนื่องจากจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Facebook มีจำนวนมากและอยู่ในหลายประเทศ
อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) เนื่องจากเงินดิจิทัลมีศักยภาพที่จะ disrupt ธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของระบบการเงิน ซึ่งธนาคารกลางของกัมพูชาตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า และมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและการรับมือกับเงินดิจิทัลแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลหรือ (Regulator) ควรส่งเสริมให้เกิดการทดลองนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยี ส่วนระบบธนาคารกลางของประเทศจีนมุ่งเน้นให้เกิด “cashless society” โดยให้ความสำคัญต่อการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า และการกำกับดูแลเกี่ยวกับการฟอกเงิน
นอกจากนี้ จะเน้นความเป็นกลางทางด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนการนำ DLT และ Digital Wallet มาใช้ โดยเน้นส่งเสริมให้นำไปใช้กับการชำระเงินในชีวิตประจำวันของลูกค้า (รายย่อย) เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้กระทบต่อนโยบายการสำรองเงินของธนาคารกลาง
ขณะที่ผู้แทนจาก Institute of International Finance, Tally Capital, Pantera Capital and Temasek International เปิดเผยถึงแนวโน้มการผลักดันประเทศสิงคโปร์สู่สังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบว่า สิ่งที่ผลักดันให้เกิด Tokenization ได้แก่ การพัฒนาและศักยภาพของอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร มั่นคง และครอบคลุมผู้ใช้บริการในทุกพื้นที่ ซึ่งการทำ Tokenization บน traditional asset (ได้แก่ physical asset เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ) จะทำให้นักลงทุนเกิดความสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม tokenization ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ และอยู่ในระหว่างการทดลอง แต่จากการที่เทคโนโลยี blockchain มีความปลอดภัยสูง และมี smart contract ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นในระบบ จึงมีโอกาสนำไปสู่การเกิดตลาดใหม่ที่มีสภาพคล่องและมีประสิทธิภาพได้อย่างไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม การปรับทัศนคติประชาชนให้ยอมรับหรือใช้ cryptocurrency ในปัจจุบัน ถือว่าอยู่ในระยะกลาง โดยปัญหาที่พบคือการเชื่อมต่อกับระบบงานอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการนำมาใช้กับ blockchain อื่นด้วย จึงต้องมีการทดสอบต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่กระบวนการ tokenization เองนั้นจะต้องอาศัยทรัพยากรมหาศาล สิ่งสำคัญคือการสร้างความร่วมมือด้านดิจิทัลให้เกิดขึ้นในระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมเดียวกัน และการผสมผสานตลอดจนการประยุกต์ใช้ tokenization กับ equity หรือ asset โดยเชื่อมต่อผ่าน API Platform
นอกจากนี้ เทคโนโลยีเว็บไซต์ Web 3.0 ที่จะทำให้การเข้าถึง Cryptocurrency ฝั่งผู้ใช้งานมีความสะดวกมากขึ้น มีการกระจายตัว (decentralize) ของบริการทางการเงิน ตลอดจน application ต่างๆ จึงสนับสนุนให้เกิด economy of scale และจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ต้องมีกระบวนการรู้จักตัวตนของลูกค้า หรือ KYC/CDD และการประเมินความเสี่ยง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการให้บริการการชำระเงินหรือธุรกรรมที่เกี่ยวกับการเงิน
ทั้งนี้ cryptocurrency และการ tokenization ยังคงมีผลกดดันต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินปัจจุบันภาครัฐมีการตื่นตัว โดยธนาคารกลางประเทศต่างๆ ได้มีการศึกษา และสร้าง learning curve ของตนเอง ทำให้มีแนวโน้มว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตก่อน ทั้งนี้ เทคโนโลยี เช่น AI, Machine learning, การเคลื่อนย้ายข้อมูล จะทำให้เกิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ และเกิดผู้เล่นรายใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด
ขณะที่ผู้แทนจาก Paxos, SIX, ASIC, Sygnum and Saudi Payments มองว่า Tokenization ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และสามารถเติบโตได้อีกมากเนื่องจาก Regulator ไม่ควรสร้างกฎเกณฑ์มาปิดกั้นนวัตกรรม แต่ควรกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อการกำกับดูแล และกฎเกณฑ์ดังกล่าวต้องมีความสอดคล้องกับเทคโนโลยี ขณะที่ ICO และการ tokenize asset : ปัจจุบันมี ICO ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างการเป็นเงิน หลักทรัพย์ หรือ network protocol ซึ่งเป็นพื้นที่สีเทาหรือ grey area ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความว่า Token นั้นควรถูกจำแนกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ทั้งนี้ การทำ tokenization ของ asset ต่างๆ จะช่วยแก้ปัญหาการจัดการให้ดีขึ้น จึงมีความแตกต่างจาก ICO โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้กับ tokenized asset สามารถใช้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเช่นเดียวกับ traditional ได้ อย่างไรก็ตาม asset class ที่สามารถใช้ระบบ DLT ได้ ได้แก่ bond, REIT, fund
ทั้งนี้ ประโยชน์ของ tokenization เช่น cash tokenization ช่วยให้สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชม. และผู้ถือสามารถเก็บ token ไว้เองโดยไม่ต้องฝากไว้กับสถาบันการเงินซึ่งอาจต้องเสียค่ารับฝาก ขณะที่ security risk หรือผู้ถือ private key คือผู้ที่มีอำนาจควบคุม ดังนั้น ความไว้วางใจในผู้ถือ key จึงเป็นสิ่งสำคัญ การป้องกันความเสี่ยงจึงต้องมีการกำกับดูแลผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน (custodian) ทั้งนี้ สำหรับ Regulator มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและพยายามเข้าถึงการประกอบธุรกิจเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้มาต่อยอดในการพัฒนากฎเกณฑ์การกำกับดูแลให้เหมาะสม