xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันป๋วย แจงสินเชื่อแบงก์กระจุกรายใหญ่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สถาบันป๋วย ระบุสินเชื่อแบงก์ยังกระจุกตัวรายใหญ่ เอสเอ็มอีไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก จากทั้งหมด 3 ล้านราย ใช้สินเชื่อแบงก์เพียง 5.2 แสนราย หรือประมาณ 17% ของเอสเอ็มอีทั้งหมด พบเอ็นพีแอลพุ่งกลุ่มอุตสาหกรรมก่อนสร้าง เหมืองแร่

นางสาว จารีย์ ปิ่นทอง นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ส่วนบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เข้าถึงสินเชื่อแบงก์ จำนวน 5.2 แสนราย หรือเพียง 17% จากจำนวนเอสเอ็มอีมากกว่า 3 ล้านราย

ภาครัฐ ภาคธนาคาร จะต้องพิจารณาปัจจัยเพิ่มเติมในการสร้าง Credit score สำหรับบริษัทขนาดเล็ก เช่น การชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคที่ตรงเวลา มาคำนวณหรือพิจารณาการให้สินเชื่อกับบริษัทขนาดเล็กด้วย

“ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้ามากู้เงินกับธนาคาร ส่วนใหญ่จะถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อ กันมาใช้การระดมทุนหรือแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สถาบันการเงินชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่เข้าถึงแหล่งเงินได้มากกกว่า เนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกันสูงกว่า รวมถึงความต้องการเงินทุนที่สูงกว่าด้วย” นางสาวจารีย์ กล่าว

สำหรับสถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเอสเอ็มอีนั้น ณ มกราคม 2561 พบว่า หนี้เอ็นพีแอลของเอสเอ็มอีอยู่ที่ 251,767 ล้านบาท หรือ 6.22% ของยอดสินเชื่อคงค้าง จากจำนวนผู้ประกอบการที่มีหนี้เสีย 42,094 ราย ซึ่งพบว่ากลุ่มที่มีหนี้เสียค่อนข้างสูง คือ ธุรกิจเหมืองแร่ ที่มีเอ็นพีแอลสูงถึง 47.19% รองลงมา คือ ก่อสร้างที่มีหนี้เสีย 7.6% และอุตสาหกรรม ที่มีหนี้เสีย 7.01%

นางสาวนฎา วะสี นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธปท. กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า สินเชื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของบริษัทเล็ก ซึ่งต่างไปจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีแหล่งเงินทุนอื่นๆ นอกเหนือจากเงินกู้ลจากสถาบันการเงิน และจากการศึกษายังพบว่า การได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินนั้นจะช่วยลดข้อจำกัดในการลงทุนของบริษัทได้

“สิ่งที่เราตั้งข้อสังเกตุตอนนี้ คือ สินเชื่อยังกระจุกตัวในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ แต่มีกำไรปานกลาง และกลุ่มที่ไม่มีสินเชื่อ กระจุกตัวในบริษัทขนาดเล็ก และมีอัตรากำไรต่ำ และกลุ่มที่มีอัตรากำไรสูง ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อว่า เป็นเพราะเหตุใดบริษัทในกลุ่มหลังที่มผลิตภาพดี และมีศักยภาพดี จึงไม่เข้ามาใช้บริการในตลาดสินเชื่อ” นางสาวนฎา กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น