บล.กสิกร แนะราคาเป้าหมายหุ้น MACO ที่ 2.19 บาทต่อหุ้น โดยมีมุมมองบวกต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลังของ MACO ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโฆษณา และจากกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนป้ายภาพนิ่งไปสู่ป้ายดิจิทัล อีกทั้งเชื่อว่าผู้ถือหุ้นจะมีมติอนุมัติการซื้อ VGM และสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ MACO ใช้สิทธิเพิ่มทุนเพื่อที่ MACO จะได้นำเงินทุนที่ได้ไปขยายธุรกิจที่ต่างประเทศ เพื่อที่จะนำเงินไปลงทุนกับบริษัทภายในประเทศไทย ซึ่งเมื่อผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเพิ่มทุนจะได้รับ maco-w2 ด้วย 2 หน่วยแถมไปด้วย
บล. กสิกร ประเมินภาพรวมธุรกิจปัจจุบันจากราคาหุ้นของ MACO ที่อาจได้รับแรงกดดันจากการความกังวลในการใช้สิทธิหุ้นเพิ่มทุน และงบไตรมาส 2 ที่ชะลอตัวลง ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการซื้อสะสม โดยความได้เปรียบด้านจุดเด่นในการลงทุน เนื่องจาก MACO เป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณานอกบ้านรายใหญ่อันดับสามของประเทศ โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ VGI Global Media PCL (VGI) สัดส่วนการถือหุ้น 30.38% และ BTS Ground Holdings PCL (BTSG) 18.09% โดยแบ่งลักษณะของสื่อโฆษณาออกเป็น ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาสตรีทเฟอร์นิเจอร์ (ตอม่อใต้บีทีเอส,ตอม่อสะพานข้าม และดิจิทัลบิลบอร์ด โดยคิดเป็นกำลังการผลิตสื่อที่จะสร้างรายได้ทั้งสิ้นเป็นจำนวน 1,400 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน การปรับภาพลักษณ์สื่อโฆษณาจากภาพนิ่งเป็นจอดิจิทัล จำนวน 50 จอ คาดว่าจะทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตสื่อเฉลี่ยปีละ 11% ในระยะ 3 ปีนี้ จาก 1,400 ล้านบาทในปี 2560 ไปถึง 1,900 ล้านบาท นอกจากนี้ เราคาดว่า เครือข่ายป้ายโฆษณาดิจิทัลขนาดใหญ่ของ MACO และกลยุทธ์การรวมแพคเกจสื่อโฆษณาร่วมกับ VGI จะช่วยเพิ่มอัตรากำลังการผลิตสื่อของ MACO และส่งผลให้รายได้ของ MACO เติบโตขึ้นโดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 18.3% ต่อปี
นอกจากนี้ การขยายธุรกิจสื่อ OOH ไปยัง ASEAN เราคาดว่า การเข้าลงทุนใน VGI Global Media (Malaysia) Sdn. Bhd. (VGM) ของ MACO นั้น จะเป็นการเลียนแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของ VGI ในประเทศไทย ผ่านริเริ่มธุรกิจไปยังสื่อในระบบขนส่งมวลชน (Mass transit media) และสื่อในสนามบิน (Airport media) และขยายต่อไปยังสื่อ OOH อื่นๆ เมื่อพิจารณาจากสัญญาการจัดการสื่อที่มีอยู่ของ VGM ตั้งแต่ปี 2019-2023 นั้นเราคาดว่า VGM จะสร้างกำไรให้ MACO ประมาณ 1-14% ของกำไรทั้งหมด และมี Fair Value 381 ล้านบาท คิดเป็น 6.1% ของมูลค่าตลาดปัจจุบันของ MACO
อย่างไรก็ตาม คาดอัตราการเติบโตของกำไร (Core profit growth) เฉลี่ยภายใน 3 ปี (2017-2020) อยู่ที่ 26.3% (CAGR) โดยมีปัจจัยจาก
1. ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท มัลติ ไซน์ จำกัด (MTS);
2. การปรับเปลี่ยนป้ายภาพนิ่งจำนวน 50 ป้าย เป็นป้ายดิจิทัล
3. อัตรากำลังการผลิตสื่อ (utilization) ที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนรายได้ของ MACO ต่อมูลค่าสื่อโฆษณานอกบ้านรวม จะเพิ่มจาก 7.6% ในปี 2017 เป็น 9.7% ในปี 2020
ขณะเดียวกัน ในส่วนของการประเมินมูลค่า ภาพรวมธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นของ MACO จากผลการดำเนินงานที่ดีกว่าคาดการณ์ โดยแนะนำ “ซื้อ” และในราคาเป้าหมายที่ 2.19 บาท จากปัจจัย ได้แก่
1. การฟื้นตัวของ ADEX ที่แข็งแกร่งในครึ่งปีหลังของปี 2018 และ ปี2019
2. การแปลงป้ายบิลบอร์ดดั้งเดิมให้เป็นดิจิทัลที่กำลังดำเนินการอยู่
3. การได้รับอนุญาตให้อัพเกรดสื่อประเภทสตรีทเฟอร์นิเจอร์แบบเดิมให้เป็นดิจิทัลในอนาคต
และ
4. การรับรู้รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ
ขณะที่การแข็งขันกันในธุรกิจระหว่าง MACO และ PLANB นั้น เนื่องจากที่ราคาเป้าหมาย 2.19 บาท หุ้น MACO จะเทรดอยู่ที่ระดับ P/E ปี 2018 ที่ 27.2 เท่า และ P/E ปี 2019 ที่ 22.9 เท่า โดยเมื่อรวมผลกระทบจากการที่บริษัทออกหุ้นใหม่เพิ่มทุน หรือขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น และการรับรู้รายได้เพิ่มจากการควบรวม VGM และ Trans.Ad จะทำให้ P/E ของ MACO ในปี 2018 จะเพิ่มขึ้นเป็น 22.6 เท่า ซึ่งนับว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับ P/E ที่ 33.8 เท่า ของ PLANB
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดจากปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่
1. การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงในตลาด OOH ภายในประเทศ
2. ราคาหุ้นที่โดนกดดันจากจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
3. การขึ้นภาษีป้าย
และ 4. ความล่าช้าจากการรับรู้รายได้จากการขยายธุรกิจในต่างประเทศ