สบน. เผยยอดหนี้สินรวมของรัฐบาลเมื่อสิ้นเดือน พ.ค. มีทั้งสิ้นกว่า 6.34 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.9% ของจีดีพี โดยเป็นหนี้ในประเทศ 6.03 ล้านล้านบาท หรือสูงถึง 95% ของหนี้รวมคงค้างของรัฐบาล ส่วนหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือจะเป็นหนี้ระยะยาว และระยะสั้น 85.65% และ 14.35% ตามลำดับ
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อสิ้นเดือน พ.ค. 60 ว่า มีทั้งสิ้น 6,347,824.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.90 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 79,903.50 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยอดรวมหนี้สาธารณะดังกล่าวจะแบ่งเป็นหนี้สินในประเทศ 6,031,071.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.01, หนี้ต่างประเทศ 316,753.18 ล้านบาท หรือประมาณ 9,339.12 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.99 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด ส่วนหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ จะเป็นหนี้ระยะยาว 5,436,751.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 911,073.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
สำหรับรายละเอียดหนี้สาธารณะโดยรวมนั้น จะแบ่งออกเป็นหนี้รัฐบาล 4,912,277.61 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 971,707.95 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 446,277.21 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561.61 ล้านบาท
ด้านรายละเอียดของหนี้รัฐบาล จำนวน 4,912,277.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 88,281.79 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นที่สำคัญนั้นเกิดจากการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 65,000 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่จะครบกำหนดในเดือน มิ.ย. 60
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 31 พ.ค. นายธรัชย์ กล่าวว่า จะมีทั้งสิ้น 971,707.95 ล้านบาท หรือลดลงสุทธิ 1,042.66 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันปรับตัวลดลงสุทธิ 1,592.10 ล้านบาท ตามการชำระคืนต้นเงินกู้ของการยางแห่งประเทศไทย 1,318 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ 1,000 ล้านบาท ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 549 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตรสุทธิ 3,210 ล้านบาท และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,843.87 ล้านบาท
ด้านหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งมีรัฐบาลค้ำประกัน 446,277.21 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,463.58 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขณะที่หนี้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีทั้งสิ้น 17,561.61 ล้านบาทนั้นปรับตัวลดลงสุทธิ 872.05 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากสำนักงานกองทุนอ้อย และน้ำตาลทราย ได้มีการชำระคืนต้นเงินกู้สุทธิ 926.74 ล้านบาท และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้มีการเบิกจ่ายสุทธิ 54.87 ล้านบาท
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อสิ้นเดือน พ.ค. 60 ว่า มีทั้งสิ้น 6,347,824.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.90 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 79,903.50 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยอดรวมหนี้สาธารณะดังกล่าวจะแบ่งเป็นหนี้สินในประเทศ 6,031,071.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.01, หนี้ต่างประเทศ 316,753.18 ล้านบาท หรือประมาณ 9,339.12 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.99 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด ส่วนหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ จะเป็นหนี้ระยะยาว 5,436,751.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 911,073.27 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
สำหรับรายละเอียดหนี้สาธารณะโดยรวมนั้น จะแบ่งออกเป็นหนี้รัฐบาล 4,912,277.61 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 971,707.95 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 446,277.21 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561.61 ล้านบาท
ด้านรายละเอียดของหนี้รัฐบาล จำนวน 4,912,277.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 88,281.79 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นที่สำคัญนั้นเกิดจากการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 65,000 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่จะครบกำหนดในเดือน มิ.ย. 60
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 31 พ.ค. นายธรัชย์ กล่าวว่า จะมีทั้งสิ้น 971,707.95 ล้านบาท หรือลดลงสุทธิ 1,042.66 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันปรับตัวลดลงสุทธิ 1,592.10 ล้านบาท ตามการชำระคืนต้นเงินกู้ของการยางแห่งประเทศไทย 1,318 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ 1,000 ล้านบาท ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 549 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตรสุทธิ 3,210 ล้านบาท และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,843.87 ล้านบาท
ด้านหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งมีรัฐบาลค้ำประกัน 446,277.21 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,463.58 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขณะที่หนี้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีทั้งสิ้น 17,561.61 ล้านบาทนั้นปรับตัวลดลงสุทธิ 872.05 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากสำนักงานกองทุนอ้อย และน้ำตาลทราย ได้มีการชำระคืนต้นเงินกู้สุทธิ 926.74 ล้านบาท และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้มีการเบิกจ่ายสุทธิ 54.87 ล้านบาท