“รพี” แจงละเอียดกลางรายการ “คุยคุ้ยหุ้น” พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ” มีบทลงโทษที่ชัดเจนเพียงพอต่อการกำกับดูแลการกระทำความผิดทุกรูปแบบ การตรวจสอบของ ก.ล.ต.เป็นไปอย่างเข้มข้น รัดกุม มุ่งระบุความผิดอย่างชัดเจน
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คุยคุ้ยหุ้น” ช่อง “นิวส์วัน” ดำเนินรายการโดย “สุนันท์ ศรีจันทรา” ชี้แจงขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2559 ทันต่อพฤติกรรม ความผิดต่างๆ ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) หรือการกระทำที่เข้าข่ายไซฟ่อนเงิน ปั่นราคาหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการเพิ่มบทลงโทษทางแพ่ง ที่สามารถเรียกปรับได้สูงกว่ามูลค่าความเสียหาย 3-5 เท่า
“พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มีบทบัญญัติเพียงพอที่จะควบคุม และยับยั้งไม่ให้เกิดพฤติกรรมกระทำผิดต่างๆ เพียงแต่ ก.ล.ต.มีขั้นตอนการดำเนินงานภายในที่เข้มงวด มีกลไกการดำเนินงานเป็นระบบชัดเจน รวมถึงมีการตรวจสอบกันเองในองค์กรเพื่อไม่ให้ใครคนใด นำอำนาจไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ระหว่างการดำเนินงานเราก็เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงด้วย เพราะการที่ ก.ต.ล.จะกล่าวโทษใครถือเป็นเรื่องรุนแรง หากดำเนินการไม่รอบคอบแล้วพลาด ย่อมเป็นการทำลายชื่อเสียงของผผู้ถูกกล่าวหา แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่า ผิดจริงเราก็ดำเนินการอย่างเด็จขาดมาโดยตลอด” นานรพี กล่าว
เลขาธิการ ก.ล.ต.ยอมรับว่าระหว่างการดำเนินงาน ทางหน่วยงานไม่สามารถเปิดเผยขั้นตอนการทำงานได้อย่างชัดเจน เนื่องจากพฤติกรรมความผิดแต่ละกรณีแตกต่างกัน รวมถึงมีหลายกรณีที่ไม่ปรากฏความผิดอย่าง “ชัดเจน” หากเปิดเผยการทำงานอาจส่งผลโดยตรงต่อการสืบค้นข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม อยากให้นักลงทุนติดตามข่าวสาร และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
“อึดอันทั้งสองฝ่าย คนมองว่า ก.ล.ต.ทำงานหรือเปล่า ขอเรียนว่าเราทำงานกันอย่างต่อเนื่อง แต่ระหว่างทางเราพูดอะไรไม่ได้เพราะจะกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะราคาหุ้น ทั้งนี้ อยากให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาด้วยว่าการที่ผู้บริหารมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก.ล.ต.สั่งให้ชี้แจงแล้ว ถ้อยคำที่ชี้แจงมานั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ บริษัทจดทะเบียนนั้นๆ ยังน่าลงทุนอยู่ไหม หากไม่น่าไว้วางใจก็ควรขายหุ้นออกไปก่อนที่จะได้รับความเสียหาย หากไปดูการทำงานที่ผ่านมาของ ก.ต.ล.เราก็ไม่เคยเปิดเผยอะไรมากระหว่างการทำงาน แต่เมื่อผิดเราก็ดำเนินการอย่างเด็จขาดทุกครั้ง” นายรพี กล่าว
พร้อมกันนี้ นายรพี ยืนยันว่า การเพิ่มบทลงโทษทางแพ่งเข้ามาระหว่างรอการพิจารณาคดีทางอาญานั้น เป็นกลไกเร่งรัดให้เกิดการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็น “รูปธรรม” ให้เร็วขึ้น รวมถึงหากสามารถนำฐานการดำเนินความผิดที่ ก.ล.ต.พิจารณาแล้วไป “ขึ้นบัญชีดำ” ไม่ให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับมารับหน้าที่บริหารงานได้อีกต่อไป
ระหว่างการสืบค้นทางสำนักงานฯ ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ “ผู้ตรวจสอบบัญชีพิเศษ” เข้าไปดำเนินการตรวจสอบการทำบัญชีของบริษัทจดทะเบียนแห่งใดแห่งหนี่ง หมายความว่า อาจการลงรายการทางบัญชีที่ซับซ้อน จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญพิเศษเข้ามาดำเนินการ
“ต้องยอมรับว่าขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมายนั้นยาวนานมาก และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกกรณีจะสามารถขึ้นถึงกระบวนการทางศาลได้เสมอไป ดังนั้น หากเราสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ก่อน และสามารถยับยั้งไม่ให้บุคคลที่ทำความผิดกลับเข้ามาบริหารงานได้อีกก็ถือเป็นการลดขั้นตอน ส่วนการทำสำนวณทางคดี ก.ล.ต.เราทำอย่างละเอียดทุกคดี หากมีความเห็นว่าสมควรส่งฟ้อง สำนวนข้อกล่าวหาที่ทำมาสามารถใช้ฟ้องได้ทันที ไม่ต้องกลับมาทำอะไรใหม่” นายรพี กล่าว
ต่อกรณีความขัดแย้งภายในของบริหารบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC นั้น นายรพี แยกเป็น 2 กรณี คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และ 2.การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ กรณีต่าง ซึ่งทาง ก.ล.ต.ก็แยกพิจารณาและดำเนินการตามความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
“ต้องเรียนว่าการทะเละกันของผู้ถือหุ้นเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปดำเนินการเพราะไม่มีข้อกฎหมายใดเปิดทางให้เข้าไป ที่สำคัญต่างคนต่างไม่ยอมกัน เราก็เรียกมาพบหลายครั้ง แต่ต่างก็ไม่ยอมกัน ต้องมองภาพความจริงว่าคนทะเลาะกันจะพาพูดให้ทะเลาะกันก็คงยาก แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เราดำเนินการอย่างแน่นอน แต่ระหว่างดำเนินการนี่เราเปิดเผยไม่ได้ แต่พอทำเสร็จก็ได้เห็นแน่นอน” นายรพี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพาณิชย์ ระบุชัดเจนแล้วว่า ไม่รับจดทะเบียนณะกรรมการชุดใหม่ ดังนั้น ทาง IFEC ต้องคืนอำนาจให้ผู้ถือหุ้น จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใหม่ รวมถึงผู้ถือหุ้นก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะเทคะแนนให้ใครเข้ามาทำหน้าที่บริหารบริษัทดังกล่าวต่อไป
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คุยคุ้ยหุ้น” ช่อง “นิวส์วัน” ดำเนินรายการโดย “สุนันท์ ศรีจันทรา” ชี้แจงขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2559 ทันต่อพฤติกรรม ความผิดต่างๆ ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) หรือการกระทำที่เข้าข่ายไซฟ่อนเงิน ปั่นราคาหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการเพิ่มบทลงโทษทางแพ่ง ที่สามารถเรียกปรับได้สูงกว่ามูลค่าความเสียหาย 3-5 เท่า
“พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มีบทบัญญัติเพียงพอที่จะควบคุม และยับยั้งไม่ให้เกิดพฤติกรรมกระทำผิดต่างๆ เพียงแต่ ก.ล.ต.มีขั้นตอนการดำเนินงานภายในที่เข้มงวด มีกลไกการดำเนินงานเป็นระบบชัดเจน รวมถึงมีการตรวจสอบกันเองในองค์กรเพื่อไม่ให้ใครคนใด นำอำนาจไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ระหว่างการดำเนินงานเราก็เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงด้วย เพราะการที่ ก.ต.ล.จะกล่าวโทษใครถือเป็นเรื่องรุนแรง หากดำเนินการไม่รอบคอบแล้วพลาด ย่อมเป็นการทำลายชื่อเสียงของผผู้ถูกกล่าวหา แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่า ผิดจริงเราก็ดำเนินการอย่างเด็จขาดมาโดยตลอด” นานรพี กล่าว
เลขาธิการ ก.ล.ต.ยอมรับว่าระหว่างการดำเนินงาน ทางหน่วยงานไม่สามารถเปิดเผยขั้นตอนการทำงานได้อย่างชัดเจน เนื่องจากพฤติกรรมความผิดแต่ละกรณีแตกต่างกัน รวมถึงมีหลายกรณีที่ไม่ปรากฏความผิดอย่าง “ชัดเจน” หากเปิดเผยการทำงานอาจส่งผลโดยตรงต่อการสืบค้นข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม อยากให้นักลงทุนติดตามข่าวสาร และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
“อึดอันทั้งสองฝ่าย คนมองว่า ก.ล.ต.ทำงานหรือเปล่า ขอเรียนว่าเราทำงานกันอย่างต่อเนื่อง แต่ระหว่างทางเราพูดอะไรไม่ได้เพราะจะกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะราคาหุ้น ทั้งนี้ อยากให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาด้วยว่าการที่ผู้บริหารมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก.ล.ต.สั่งให้ชี้แจงแล้ว ถ้อยคำที่ชี้แจงมานั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ บริษัทจดทะเบียนนั้นๆ ยังน่าลงทุนอยู่ไหม หากไม่น่าไว้วางใจก็ควรขายหุ้นออกไปก่อนที่จะได้รับความเสียหาย หากไปดูการทำงานที่ผ่านมาของ ก.ต.ล.เราก็ไม่เคยเปิดเผยอะไรมากระหว่างการทำงาน แต่เมื่อผิดเราก็ดำเนินการอย่างเด็จขาดทุกครั้ง” นายรพี กล่าว
พร้อมกันนี้ นายรพี ยืนยันว่า การเพิ่มบทลงโทษทางแพ่งเข้ามาระหว่างรอการพิจารณาคดีทางอาญานั้น เป็นกลไกเร่งรัดให้เกิดการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็น “รูปธรรม” ให้เร็วขึ้น รวมถึงหากสามารถนำฐานการดำเนินความผิดที่ ก.ล.ต.พิจารณาแล้วไป “ขึ้นบัญชีดำ” ไม่ให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับมารับหน้าที่บริหารงานได้อีกต่อไป
ระหว่างการสืบค้นทางสำนักงานฯ ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ “ผู้ตรวจสอบบัญชีพิเศษ” เข้าไปดำเนินการตรวจสอบการทำบัญชีของบริษัทจดทะเบียนแห่งใดแห่งหนี่ง หมายความว่า อาจการลงรายการทางบัญชีที่ซับซ้อน จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญพิเศษเข้ามาดำเนินการ
“ต้องยอมรับว่าขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมายนั้นยาวนานมาก และก็ไม่ได้หมายความว่าทุกกรณีจะสามารถขึ้นถึงกระบวนการทางศาลได้เสมอไป ดังนั้น หากเราสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ก่อน และสามารถยับยั้งไม่ให้บุคคลที่ทำความผิดกลับเข้ามาบริหารงานได้อีกก็ถือเป็นการลดขั้นตอน ส่วนการทำสำนวณทางคดี ก.ล.ต.เราทำอย่างละเอียดทุกคดี หากมีความเห็นว่าสมควรส่งฟ้อง สำนวนข้อกล่าวหาที่ทำมาสามารถใช้ฟ้องได้ทันที ไม่ต้องกลับมาทำอะไรใหม่” นายรพี กล่าว
ต่อกรณีความขัดแย้งภายในของบริหารบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC นั้น นายรพี แยกเป็น 2 กรณี คือ 1.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และ 2.การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ กรณีต่าง ซึ่งทาง ก.ล.ต.ก็แยกพิจารณาและดำเนินการตามความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
“ต้องเรียนว่าการทะเละกันของผู้ถือหุ้นเป็นเรื่องยากที่จะเข้าไปดำเนินการเพราะไม่มีข้อกฎหมายใดเปิดทางให้เข้าไป ที่สำคัญต่างคนต่างไม่ยอมกัน เราก็เรียกมาพบหลายครั้ง แต่ต่างก็ไม่ยอมกัน ต้องมองภาพความจริงว่าคนทะเลาะกันจะพาพูดให้ทะเลาะกันก็คงยาก แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เราดำเนินการอย่างแน่นอน แต่ระหว่างดำเนินการนี่เราเปิดเผยไม่ได้ แต่พอทำเสร็จก็ได้เห็นแน่นอน” นายรพี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพาณิชย์ ระบุชัดเจนแล้วว่า ไม่รับจดทะเบียนณะกรรมการชุดใหม่ ดังนั้น ทาง IFEC ต้องคืนอำนาจให้ผู้ถือหุ้น จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใหม่ รวมถึงผู้ถือหุ้นก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะเทคะแนนให้ใครเข้ามาทำหน้าที่บริหารบริษัทดังกล่าวต่อไป