ไทยเชิญชวนชาติเอเชีย ร่วมกันสร้างบทบาทในเวทีโลก ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนในโลก
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษในงาน Nikei Forum หัวข้อ “The Future Of Asia” โดยย้ำว่า การเดินทางมาเป็นตัวแทนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เนื่องจากผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมงานครั้งนี้แทบทุกประเทศ เช่น สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทยจึงต้องการย้ำถึงความสำคัญต่อการพัฒนาของกลุ่มประเทศ CLMVT เนื่องจากหลายประเทศมหาอำนาจทั่วโลกส่วนใหญ่มุ่งสนใจมาลงทุนในกลุ่มอาเซียน เพราะเป็นกลุ่มประเทศกำลังเติบโต ดังนั้น ไทยจึงหวังเป็นศูนย์กลางของประเทศ CLMVT จึงต้องการชี้แจงนโยบายด้านเศรษฐกิจให้ต่างชาติได้รับทราบ การครบรอบ 130 ปี ทางการค้าการลงทุนของไทย-ญี่ปุ่น จึงต้องการจัดฉลองอันยิ่งใหญ่ระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อกระชับความสัมพันธ์
นายสมคิด ยอมรับว่า ขณะนี้หมอกควันแห่งความไม่แน่นอนได้แผ่กระจายออกไปทั่วโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ รัฐศาสตร์ การเมืองของโลก เริ่มจากการส่งเสริมการค้าเสรีถูกสลัดอย่างไม่ใยดีจากประเทศผู้ริเริ่ม คือ สหรัฐฯ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าการดูแลพันธมิตรทางการค้าในกลุ่ม TPP โดยหันมาเน้นปกป้องมากกว่าการส่งเสริมเสรีการค้า (America First) เพื่อตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่เคยร่วมค้าขายผ่านหลายมาตรการ ทั้งที่ประเทศส่วนใหญ่เคยได้รับการส่งเสริมจากสหรัฐฯ ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นในเอเชีย จึงสร้างความสับสนแก่นานาประเทศจนต้องหาทางตั้งรับผลกระทบจากนโยบายของสหรัฐฯ เพื่อจัดระเบียบใหม่ของโลก หลีกพ้นความไม่แน่นอน กำลังมีจุดเริ่มต้น และแพร่กระจายมาในเอเชีย ความพลิกผันเหล่านี้มีทั้งปัญหาการเมือง รัฐศาสตร์ เริ่มจากอังกฤษต้องออกจากสมาชิกยุโรป (Brexit) กำลังเขย่าเอกภาพ และพลังทางการเมืองของยุโรป ประธานาธิบดีมาครง ของฝรั่งเศส ต้องเผชิญปัญหาหยุดยั้ง หรือการต่อต้าน Globalization และกระแสการมุ่งสลัดตนเองจากกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ได้หรือไม่ และผู้นำสหรัฐฯ ไม่ให้ความสำคัญกับความเป็นปึกแผ่น แต่กลับตอกย้ำ G7 ต้องรับผิดชอบมากขึ้นต่อค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคง กลุ่ม G7 จึงประกาศว่า ห้วงเวลาการพึ่งพาคนนอกหมายถึงสหรัฐฯ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ภายใต้เศรษฐกิที่เปราะบาง พลังทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จึงไม่มีใครสามารถชี้ชัดเจนว่า โลกอีก 1 ปีจะเป็นเช่นไร ดังนั้น การก้าวไปข้างหน้าด้วยความกลมเกลียว จึงเป็นความท้าทายของชาติแห่งเอเชียต้องสร้างพลังแห่งเอเชียให้เป็นความหวังใหม่ การค้าเสรี ประคองเศรษฐกิจโลก เพื่อเป็นแสงนำทางลบหมอกควันที่กำลังหนาทึบขณะนี้ เริ่มจากเมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม จีนได้จัดเวทีประชุมนานาชาติ ประกาศนโยบาย “One Belt One Road” เส้นทางสายไหม เพื่อเชื่อมยุโรป ยูเรเชีย แอฟริกา เพื่อเป็นแพลตฟอร์มใหม่แห่งการค้าเสรีของโลก เพื่อจับมือนานาชาติ และอาจมีแนวทางอื่น เพื่อสร้างความหวังแห่งอนาคตจากเป้าหมายของญี่ปุ่น กับพันธมิตร 12 ชาติ จึงพร้อมสนับสนุนเพื่อให้ชาติสมาชิกสร้างเขตการค้าเสรี (RCEP) ครอบคลุมกลุ่มประเทศอาเซียน กับอีก 6 ประเทศ ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ มีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของโลก หากญี่ปุ่นกระโดดเข้ามาทำหน้าที่แทนสหรัฐฯ หรือการตั้งกลุ่มร่วมกัน เพื่อผลักดันชาติเอเชียร่วมกับจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ต้องเป็นหัวแรงสำคัญผลักดันอย่างสำคัญ
แนวทางผลักดันแห่งเอเชียด้วยการรวบรวมทั้งประเทศใหญ่ ขนาดเล็ก ร่วมถักทอ เพื่อสร้างพลังมุ่งขจัดอุปสรรคของเอเชีย เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหา 4 ด้าน ขจัดอุปสรรค ประกอบด้วย 1.การเชื่อมโยง (Connectivity) ทั้งด้านการขนส่ง คมนาคม การร่วมมือแรงงาน เพื่อสร้างสมรรถนะการผลิตแห่งเอเชียให้เป็นผู้ผลิตมีความสำคัญต่อเวทีโลก 2.ยุทธศาสตร์ร่วมแห่งการพัฒนา (Joint strategy) เนื่องจากหลายประเทศมีความแตกต่าง ความก้าวหน้าวิทยาการ ทรัพยากรมนุษย์ ฉุดรั้งการพัฒนา เพื่อเชื่อมการผลิต ผู้นำนวัตกรรมแห่งอนาคตในทางปฏิบัติจะขับเคลื่อนได้โดยเริ่มตั้งแต่อนุภูมิภาคจากเล็กไปสู่ใหญ่ และเวที REVP หรือ TPP อาจยกระดับการดำรงชีพ ลดการประท้วงของประเทศ CLMVT ไทยจึงประกาศความพร้อมเดินร่วมกันไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงมุ่งผลักดันเพื่อวางยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อทำให้ CLMVT เชื่อมโยงร่วมกันกว้างขึ้นระดับ BIMSTECs, CLMVT รวมทั้งจีน อินเดีย ได้เข้ามามีบทบาท ความเชื่อมโยงเหล่านี้จะเป็นก้าวสำคัญต่อการเกิดรวมตัวของภูมิภาคอย่างแท้จริง
3.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เอเชียมีประชากรนับพันล้านคน ส่วนใหญ่ด้อยพัฒนา อ่อนแอ ไร้การศึกษา และมีแนวโน้มจอ่อนแอลง ความแตกต่างเหลื่อมล้ำมากขึ้น จึงต้องแก้ไขร่วมกัน ทั้งการศึกษา แรงงาน สร้างโอกาสให้แก่ผู้ไร้โอกาส เปลี่ยนจากการเป็นภาระ ปรับให้เป็น “สินทรัพย์แห่งเอเชีย” จึงต้องร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมกับญี่ปุ่น 4.Peace, Trust จากความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี หากสถานการณ์ยังรุนแรง ต้องยอมรับว่า ภูมิภาคเอเชียมีประวัติศาสตร์นานนับร้อยปี หากไม่ระวางอดีต ไม่มองสู่อนาคต จะยากยิ่งก้าวเดินต่อไปได้ เมื่อเอเชียมีความสงบ ชาติทั้งหลายต้องอดกลั้น ทุ่มเทความไว้ใจ เพื่อหันมาสร้างอนาคตแห่งเชียร่วมกัน
“ขณะนี้เป็นโอกาสแห่งการจัดระเบียบโลกใหม จึงมั่นใจเอเชียเป็นความหวังใหม่ โอกาสเปิดให้แล้วแก่เอเชีย แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกัน จึงได้ยกคำพูดของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บอกว่า ทุกคนล้วนมีเป้าหมาย และต่างแสวงหาเป้าหมายจะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายได้สำเร็จ หากต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ ดังนั้น อนาคตต้องรับรู้ตนเอง ทุกประเทศ แม้จะขนาดเล็ก หรือใหญ่ บทบาทแห่งเอเชียยุ่งใหญ่กว่าเป้าหมายของประเทศ จึงจะสร้างความยิ่งใหญ่ได้ ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศใหญ่ จะช่วยเปลี่ยนโอกาสทางการเมือง และก้าวพ้นวิกฤตให้เป็นโอกาสในการปฏิรูป เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจปีนี้เติบโตมากกว่าร้อยละ 3.5 การร่วมมือทั้งเอกชน และรัฐบาล เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ปรับกฎหมาย กฎระเบียบ ล่าสุด ได้รับจัดอันดับดีขึ้นจาก IMD ในอันดับที่ 27 ไทยจึงพร้อมร่วมกับมหามิตรญี่ปุ่นเป็นอีกกำลังหนึ่ง และมีส่วนร่วมสร้างอนาคตแห่งเอเชีย เพื่อเป็นเครื่องจักรเครื่องใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นความหวังใหม่ของโลก” นายสมคิด กล่าว