มูลค่าส่งออกสินค้าเดือน ต.ค.2559 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ 4.2 สะท้อนตลาดโลกยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าของไทย 10 เดือนแรกของปี 2559 หดตัวที่ร้อยละ 1.0 เทียบปีก่อนหน้า
การส่งออกที่หดตัวลงในเดือน ต.ค.2559 นี้ เป็นผลมาจากการหดตัวของสินค้าหลายรายการส่งออกสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเครื่องปรับอากาศในตลาดอาเซียนจากสภาพอากาศที่เริ่มมีอุณหภูมิต่ำลง ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่หดตัวลงในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปนั้น เป็นไปตามวงจรผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมา รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรหลักก็หดตัวลงทุกประเภท โดยการส่งออกข้าว ที่กลับมาหดตัวลงเป็นผลมาจากอุปทานในตลาดโลกที่มีมากขึ้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยังคงเผชิญปัญหาการระบายสต๊อกข้าวโพดของจีน ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังจากไทยลดลงต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การส่งออกปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และยางพารา ก็ยังคงหดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ในขณะที่สินค้าส่งออกหลักอย่างชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าประมง รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4/2559 โดยมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ในเดือน ต.ค.2559 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 14.5 เทียบช่วงเดียวกันกับของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในอัตราที่สูงไปยังประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม เม็กซิโก และจีน สอดคล้องไปกับการส่งออกรถยนต์นั่งไปยังตลาดดังกล่าวที่เติบโตในอัตราที่สูง อย่างไรก็ตาม ภาพการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยที่หดตัวในเดือน ต.ค.2559 มาจากการหดตัวในตลาดออสเตรเลียที่ร้อยละ 14.5 เทียบช่วงเดียวกันกับของปีก่อนหน้า จากการเร่งการส่งออกไปเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า รวมถึงตลาดสหภาพยุโรป (27) และตลาดตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่หดตัวลงมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ฟื้นตัวดี
ในขณะที่การส่งออกสินค้าประมง ในเดือน ต.ค. ยังสามารถเติบโตในในอัตราเลข 2 หลัก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง ที่ความต้องการสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งผลให้ทิศทางในช่วงที่เหลือของปีอีก 2 เดือนข้างหน้าคาดว่าสินค้าประมงยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงจากความต้องการในช่วงเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศไทยก็มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสอดรับต่อความต้องการได้
สำหรับการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2559 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่ายังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกไทยคงจะยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับความผันผวนในตลาดเงินโลกท่ามกลางการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค.2559 นี้ เป็นแรงกดดันต่อราคาทองคำในตลาดโลกให้ลดลงต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้จะขยายตัวเป็นบวก เนื่องจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ จึงทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2559 น่าจะหดตัวที่ร้อยละ -0.5 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
การส่งออกที่หดตัวลงในเดือน ต.ค.2559 นี้ เป็นผลมาจากการหดตัวของสินค้าหลายรายการส่งออกสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเครื่องปรับอากาศในตลาดอาเซียนจากสภาพอากาศที่เริ่มมีอุณหภูมิต่ำลง ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบที่หดตัวลงในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปนั้น เป็นไปตามวงจรผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมา รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรหลักก็หดตัวลงทุกประเภท โดยการส่งออกข้าว ที่กลับมาหดตัวลงเป็นผลมาจากอุปทานในตลาดโลกที่มีมากขึ้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยังคงเผชิญปัญหาการระบายสต๊อกข้าวโพดของจีน ทำให้ความต้องการมันสำปะหลังจากไทยลดลงต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การส่งออกปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และยางพารา ก็ยังคงหดตัวตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
ในขณะที่สินค้าส่งออกหลักอย่างชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าประมง รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4/2559 โดยมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ในเดือน ต.ค.2559 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 14.5 เทียบช่วงเดียวกันกับของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในอัตราที่สูงไปยังประเทศที่มีฐานการผลิตรถยนต์อย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม เม็กซิโก และจีน สอดคล้องไปกับการส่งออกรถยนต์นั่งไปยังตลาดดังกล่าวที่เติบโตในอัตราที่สูง อย่างไรก็ตาม ภาพการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยที่หดตัวในเดือน ต.ค.2559 มาจากการหดตัวในตลาดออสเตรเลียที่ร้อยละ 14.5 เทียบช่วงเดียวกันกับของปีก่อนหน้า จากการเร่งการส่งออกไปเป็นจำนวนมากในช่วงก่อนหน้า รวมถึงตลาดสหภาพยุโรป (27) และตลาดตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่หดตัวลงมากจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ฟื้นตัวดี
ในขณะที่การส่งออกสินค้าประมง ในเดือน ต.ค. ยังสามารถเติบโตในในอัตราเลข 2 หลัก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง ที่ความต้องการสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งผลให้ทิศทางในช่วงที่เหลือของปีอีก 2 เดือนข้างหน้าคาดว่าสินค้าประมงยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงจากความต้องการในช่วงเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศไทยก็มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสอดรับต่อความต้องการได้
สำหรับการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2559 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่ายังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกไทยคงจะยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับความผันผวนในตลาดเงินโลกท่ามกลางการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค.2559 นี้ เป็นแรงกดดันต่อราคาทองคำในตลาดโลกให้ลดลงต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าไทยในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้จะขยายตัวเป็นบวก เนื่องจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ จึงทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2559 น่าจะหดตัวที่ร้อยละ -0.5 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า