ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือน ก.ย.2559 ปรับตัวลดลงเดือนที่สองติดต่อกัน สะท้อนราคาทองมีโอกาสปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยกดดันจากนโยบายดอกเบี้ยของ Fed และทิศทางค่าเงินบาทที่มีโอกาสแข็งค่าจากเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรสินทรัพย์เสี่ยง ด้านแบบสำรวจผู้ค้ารายใหญ่เชื่อ ราคาทองคำโลกน่าจะแกว่งตัวอยู่ในระดับ 1,280-1,380 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศคาดว่าน่าจะอยู่ที่ 21,000-23,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกันยายน 2559 อยู่ในระดับ 52.23 จุด ลดลงจากเดือนก่อน 11.51 จุด หรือลดลงกว่า 18.07% จากระดับ 63.74 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ราคาทองมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้ในเดือนกันยายนนี้ โดยปัจจัยกดดันราคาทองคำ คือ ทิศทางนโยบายทางการเงินของ Fed ที่รอดูสถานการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การแข็งค่าของเงินบาท และแรงขายเก็งกำไรตามลำดับ
ส่วนปัจจัยหลักที่สนับสนุนราคาทองคำ คือ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก และความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย จากคำถามว่า กลุ่มตัวอย่างจะซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้าหรือไม่ พบว่า 47.84% ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า ขณะที่ 35.14% ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำ หรือไม่ในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า และอีก 17.03% คาดว่าจะยังไม่ซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทองคำยังคงมีความน่าสนใจในการหาจังหวะเข้าลงทุน
บทสรุปความคิดเห็นผู้ค้าทองคำ (Gold Trader Consensus) จากผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่ ผู้ค้าส่งทองคำ และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 8 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มผู้ค้ารายใหญ่มีมุมมองราคาทองคำระหว่างเดือนว่า น่าจะใกล้เคียงกับราคาทองคำในเดือนกรกฏาคม 2559 โดยมีกลุ่มผู้ค้าคาดว่า ราคาทองคำในประเทศในเดือนกันยายน 2559 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตัวอย่าง คาดว่าจะใกล้เคียงกันเดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 6 ตัวอย่าง และจะปรับตัวลดลง จำนวน 1 ตัวอย่าง
สำหรับราคาทองคำในตลาดโลกกรอบสูงสุดที่กลุ่มตัวอย่างคาดไว้ระหว่าง 1,340-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่มีความถี่หนาแน่นบริเวณ 1,381-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดให้น้ำหนักระหว่าง 1,241-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยมีค่าความถี่หนาแน่นอยู่บริเวณ 1,281-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ด้านราคาทองคำในประเทศ (ความบริสุทธิ์ 96.5%) กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักราคาสูงสุดระหว่าง 21,500-23,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ และมีค่าความถี่หนาแน่นในช่วง 22,500-23,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 20,500-21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ โดยมีค่าความถี่หนาแน่นในช่วง 21,001-21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ
ดร.พิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกันยายน 2559 อยู่ในระดับ 52.23 จุด ลดลงจากเดือนก่อน 11.51 จุด หรือลดลงกว่า 18.07% จากระดับ 63.74 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ราคาทองมีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงได้ในเดือนกันยายนนี้ โดยปัจจัยกดดันราคาทองคำ คือ ทิศทางนโยบายทางการเงินของ Fed ที่รอดูสถานการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การแข็งค่าของเงินบาท และแรงขายเก็งกำไรตามลำดับ
ส่วนปัจจัยหลักที่สนับสนุนราคาทองคำ คือ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก และความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย จากคำถามว่า กลุ่มตัวอย่างจะซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้าหรือไม่ พบว่า 47.84% ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า ขณะที่ 35.14% ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำ หรือไม่ในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า และอีก 17.03% คาดว่าจะยังไม่ซื้อทองคำในช่วงหนึ่งเดือนข้างหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทองคำยังคงมีความน่าสนใจในการหาจังหวะเข้าลงทุน
บทสรุปความคิดเห็นผู้ค้าทองคำ (Gold Trader Consensus) จากผู้ประกอบกิจการค้าทองคำรายใหญ่ ผู้ค้าส่งทองคำ และผู้ประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับราคาทองคำ จำนวน 8 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มผู้ค้ารายใหญ่มีมุมมองราคาทองคำระหว่างเดือนว่า น่าจะใกล้เคียงกับราคาทองคำในเดือนกรกฏาคม 2559 โดยมีกลุ่มผู้ค้าคาดว่า ราคาทองคำในประเทศในเดือนกันยายน 2559 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตัวอย่าง คาดว่าจะใกล้เคียงกันเดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 6 ตัวอย่าง และจะปรับตัวลดลง จำนวน 1 ตัวอย่าง
สำหรับราคาทองคำในตลาดโลกกรอบสูงสุดที่กลุ่มตัวอย่างคาดไว้ระหว่าง 1,340-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่มีความถี่หนาแน่นบริเวณ 1,381-1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดให้น้ำหนักระหว่าง 1,241-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยมีค่าความถี่หนาแน่นอยู่บริเวณ 1,281-1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ด้านราคาทองคำในประเทศ (ความบริสุทธิ์ 96.5%) กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักราคาสูงสุดระหว่าง 21,500-23,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ และมีค่าความถี่หนาแน่นในช่วง 22,500-23,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 20,500-21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ โดยมีค่าความถี่หนาแน่นในช่วง 21,001-21,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ