ปี 2558 นับว่าเป็นอีกปีที่ยากลำบากของทอง จากการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลกดดันราคาทองคำ จนทำให้ราคาทองคำร่วงลงกว่า 10% แล้วในปีนี้ โดยภาวะอ่อนแอของราคาทองในปี 2558 เป็นผลมาจากหลายเหตุการณ์ประกอบ ได้แก่ เงินเฟ้อที่ต่ำลง ดอลลาร์สหรัฐที่พุ่งขึ้นท่ามกลางคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย และอุปสงค์ที่ซบเซาสำหรับทองเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอลง ทาง YLG ได้ประมวลภาพรวมของราคาทองคำในปีนี้ สรุปได้ดังนี้
ไตรมาสแรกของปี 2015 ในเดือนมกราคม ราคาทองคำทำระดับสูงสุดของปี 2015 ที่ 1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร แต่ในช่วงเดือนมีนาคม ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับ1,047 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสุดในรอบ 12 ปี จากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรปได้เริ่มโครงการซื้อพันธบัตรภายใต้มาตรการ QE ทำให้เงินยูโรเทียบกับดอลลาร์อ่อนค่า
ไตรมาส 2 ของปี 2015 ราคาทองคำได้รับปัจจัยหนุนจากวิกฤตการเงินในประเทศกรีซ ในเดือนพฤษภาคม ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากข้อมูลตลาดแรงงาน ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อน
ไตรมาส 3 ของปี 2015 ในเดือนกรกฎาคม ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม ราคาทองคำฟื้นตัวต่อเนื่องจากการที่ธนาคารกลางจีนได้สร้างความตกตะลึงด้วยการปรับลดค่าเงินหยวนลงถึง 1.9% จนถือเป็นการปรับลดค่าเงินหยวนครั้งใหญ่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา สร้างความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นำโดยเศรษฐกิจของจีน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อเข้ามาในตลาดทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่การประชุมในเดือนกันยายนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจโลก ความผันผวนในตลาดการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำต่อเนื่องในช่วงท้ายของไตรมาส 3 ของปี
ไตรมาส 4 ของปี 2015 ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,190 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ยังอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้เกิดกระแสคาดการณ์เพิ่มขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะยังตรึงอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น และวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ราคาทองคำร่วงลง แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010 ที่ระดับ 1,046.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากกระแสการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความผิดหวังจากการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป และในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ในการประชุมเดือนธันวาคม หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลงราคาทองคำพยายามฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายปี และปัจจุบันซื้อขายอยู่บริเวณ 1,170 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้ ราคาทองในปี 2559 ราคาทองอาจจะยังคงเผชิญต่อช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างต่อเนื่อง แต่การทิศทางราคาทองคำน่าจะขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะตัดสินใจคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วเพียงใด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอุปสงค์ในตลาดยังคงส่งผลต่อราคาทองคำเช่นกัน ในสัปดาห์ต่อไป ทาง YLG จะมาประเมินว่าในปี 2559 ทองคำมีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด และจะมีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อราคาทองคำ เพื่อให้นักลงทุนทองคำทุกท่านสามารถเตรียมพร้อมเพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมในปี 2559 ต่อไป
ไตรมาสแรกของปี 2015 ในเดือนมกราคม ราคาทองคำทำระดับสูงสุดของปี 2015 ที่ 1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร แต่ในช่วงเดือนมีนาคม ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับ1,047 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสุดในรอบ 12 ปี จากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรปได้เริ่มโครงการซื้อพันธบัตรภายใต้มาตรการ QE ทำให้เงินยูโรเทียบกับดอลลาร์อ่อนค่า
ไตรมาส 2 ของปี 2015 ราคาทองคำได้รับปัจจัยหนุนจากวิกฤตการเงินในประเทศกรีซ ในเดือนพฤษภาคม ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1,232 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากข้อมูลตลาดแรงงาน ยอดค้าปลีก และความเชื่อมั่นผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปก่อน
ไตรมาส 3 ของปี 2015 ในเดือนกรกฎาคม ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับ 1,080 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม ราคาทองคำฟื้นตัวต่อเนื่องจากการที่ธนาคารกลางจีนได้สร้างความตกตะลึงด้วยการปรับลดค่าเงินหยวนลงถึง 1.9% จนถือเป็นการปรับลดค่าเงินหยวนครั้งใหญ่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา สร้างความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นำโดยเศรษฐกิจของจีน ส่งผลให้เกิดแรงซื้อเข้ามาในตลาดทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่การประชุมในเดือนกันยายนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจโลก ความผันผวนในตลาดการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำต่อเนื่องในช่วงท้ายของไตรมาส 3 ของปี
ไตรมาส 4 ของปี 2015 ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,190 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ยังอ่อนแอกว่าที่คาด ทำให้เกิดกระแสคาดการณ์เพิ่มขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะยังตรึงอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น และวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ราคาทองคำร่วงลง แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010 ที่ระดับ 1,046.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากกระแสการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความผิดหวังจากการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป และในที่สุดธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ในการประชุมเดือนธันวาคม หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลงราคาทองคำพยายามฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายปี และปัจจุบันซื้อขายอยู่บริเวณ 1,170 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้ ราคาทองในปี 2559 ราคาทองอาจจะยังคงเผชิญต่อช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างต่อเนื่อง แต่การทิศทางราคาทองคำน่าจะขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะตัดสินใจคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วเพียงใด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอุปสงค์ในตลาดยังคงส่งผลต่อราคาทองคำเช่นกัน ในสัปดาห์ต่อไป ทาง YLG จะมาประเมินว่าในปี 2559 ทองคำมีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด และจะมีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อราคาทองคำ เพื่อให้นักลงทุนทองคำทุกท่านสามารถเตรียมพร้อมเพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมในปี 2559 ต่อไป