สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากสภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และกระแสคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 8 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ระดับ 1,115.60 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำปิดร่วงลงหลังจาก WGC เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ลดลง 12% สู่ระดับ 914.9 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี เทียบกับไตรมาส 2 ปีที่แล้วที่ 1,038 ตัน เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อในภูมิภาคเอเชียลดการถือครองทองคำ
ความต้องการทองคำในประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ทองคำทั่วโลกนั้น ปรับตัวลดลง โดยความต้องการทองคำในอินเดียทรุดฮวบลง 25% สู่ระดับ 154.5 ตันในไตรมาส 2 จากระดับ 204.9 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนความต้องการทองคำในจีนลดลง 3% สู่ระดับ 216.5 ตัน จากระดับ 224.1 ตันในไตรมาส 2 ปีก่อน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐรายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังร่วงลงเนื่องความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 42.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 44 เซนต์ ปิดที่ 49.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ทำให้นักลงทุนลังเลที่จะเข้าซื้อ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อคืนนี้ มาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.5%
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงยอดค้าปลีกและสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจที่ปรับตัวขึ้นเกินคาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการลดค่าเงินหยวนของจีน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 13 ส.ค. แบบผสมผสาน โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 5.74 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 17,408.25 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 2.66 จุด หรือ 0.13% ปิดที่ 2,083.39 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 10.83 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 5,033.56 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้มีแรงซื้อในรถยนต์ และสินค้าอื่นๆ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวขณะเข้าสู่ไตรมาส 3
ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2013 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นเพียง 5,000 ราย สู่ระดับ 274,000 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 22 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง
นอกเหนือจากข้อมูลเศรษฐกิจแล้ว ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการปรับลดค่าเงินหยวนของจีน หลังจากธนาคารกลางจีนออกแถลงการณ์ยืนยันว่าจะรักษาเสถียรภาพเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และมีความสมดุล ขณะเดียวกันธนาคารกลางจีนระบุว่าไม่เห็นเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจที่จะสนับสนุนให้หยวนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์-COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 8 ดอลลาร์ หรือ 0.71% ปิดที่ระดับ 1,115.60 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำปิดร่วงลงหลังจาก WGC เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ลดลง 12% สู่ระดับ 914.9 ตัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี เทียบกับไตรมาส 2 ปีที่แล้วที่ 1,038 ตัน เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อในภูมิภาคเอเชียลดการถือครองทองคำ
ความต้องการทองคำในประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ทองคำทั่วโลกนั้น ปรับตัวลดลง โดยความต้องการทองคำในอินเดียทรุดฮวบลง 25% สู่ระดับ 154.5 ตันในไตรมาส 2 จากระดับ 204.9 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนความต้องการทองคำในจีนลดลง 3% สู่ระดับ 216.5 ตัน จากระดับ 224.1 ตันในไตรมาส 2 ปีก่อน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐรายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังร่วงลงเนื่องความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 42.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 44 เซนต์ ปิดที่ 49.22 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ทำให้นักลงทุนลังเลที่จะเข้าซื้อ โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ทำให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อคืนนี้ มาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.5%
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงยอดค้าปลีกและสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจที่ปรับตัวขึ้นเกินคาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการลดค่าเงินหยวนของจีน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 13 ส.ค. แบบผสมผสาน โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 5.74 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 17,408.25 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 2.66 จุด หรือ 0.13% ปิดที่ 2,083.39 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 10.83 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 5,033.56 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้มีแรงซื้อในรถยนต์ และสินค้าอื่นๆ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวขณะเข้าสู่ไตรมาส 3
ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2013 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นเพียง 5,000 ราย สู่ระดับ 274,000 ราย โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 22 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง
นอกเหนือจากข้อมูลเศรษฐกิจแล้ว ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข่าวการปรับลดค่าเงินหยวนของจีน หลังจากธนาคารกลางจีนออกแถลงการณ์ยืนยันว่าจะรักษาเสถียรภาพเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และมีความสมดุล ขณะเดียวกันธนาคารกลางจีนระบุว่าไม่เห็นเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจที่จะสนับสนุนให้หยวนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง